วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




25.jpg
25.jpg [ 84.39 KiB | เปิดดู 2752 ครั้ง ]
อุปาทาน - ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว


อุปาทาน เป็นกิเลสที่สืบเนื่องจากตัณหา


อุปาทานมี ๔ คือ

กามุปาทาน- ความยึดมั่นในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ

ทิฏฐุปาทาน-ความยึดมั่นในทิฏฐิ คือ ความเห็น ลัทธิ ทฤษฎีต่างๆ

สีลัพพตุปาทาน-ความยึดมั่นในศีลและพรต ว่าจะทำให้คนบริสุทธิ์ได้

อัตตวาทุปาทาน-ความยึดมั่นในอัตตา สร้างตัวตนขึ้นยึดถือไว้ด้วยความหลงผิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 10:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายมุมกว้างของ อุปาทาน ๔ ต่อไปนี้


๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (Clinging to sensuality)

เมื่ออยากได้ ดิ้นรนแส่หาก็ยึดมั่นติดพันในสิ่งที่อยากได้นั้น

เมื่อได้แล้วก็ยึดมั่น เพราะอยากสนองความต้องการให้ยิ่งๆขึ้นไป และกลัวหลุดลอยพรากไปเสีย

ถึงแม้จะผิดหวังพรากไป ก็ยิ่งปักใจมั่นด้วยความผูกใจอาลัย ความยึดมั่นแน่นแฟ้นขึ้นเพราะสิ่ง

สนองความต้องการต่างๆ ไม่ให้ภาวะเต็มอิ่ม หรือ สนองความต้องการได้เต็มขีดที่อยากจริงๆ

ในคราวหนึ่งๆ จึงพยายามเพื่อเข้าถึงขีดที่เต็มอยากนั้นด้วยการกระทำอีกๆ และเพราะสิ่งเหล่านั้น

ไม่ใช่ของของตนแท้จริง จึงต้องยึดมั่นไว้ ด้วยความรู้สึกจูงใจตนเองว่า เป็นของของตน

ในแง่ใดแง่หนึ่งให้ได้

ความคิดจิตใจของบุถุชน จึงไปยึดติดผูกพันข้องอยู่กับสิ่งสนองความอยากอย่างใดอย่างหนึ่ง

อยู่เสมอ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ และเป็นกลางได้ยาก



(กาม สิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 และความใคร่ในสิ่งสนองความต้องการเหล่านั้น)



๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทฤษฎี หรือ ทิฏฐิต่างๆ (Clinging to Views)

ความอยากให้เป็น หรือไม่ให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตนต้องการ

ย่อมทำให้เกิดความเอนเอียงยึดมั่นในทิฏฐิ ทฤษฎี หรือ หลักปรัชญาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่เข้ากับความต้องการของตน

ความอยากได้สิ่งสนองความต้องการของตนก็ทำให้ยึดมั่นในหลักการ แนวความคิดความเห็น

ลัทธิ หลักคำสอนที่สนอง หรือเป็นไปเพื่อสนองความต้องการของตน

เมื่อยึดถือความเห็น หรือหลักความคิด อันใดอันหนึ่งว่า เป็นของตนแล้ว

ก็ผนวกเอาความเห็น หรือหลักความคิดนั้น เป็นตัวตนของตนไปด้วย

จึงนอกจากจะคิดนึกและกระทำการต่างๆ ไปตามความเห็นนั้นๆแล้ว เมื่อมีทฤษฎี

หรือ ความเห็นอื่นๆ ที่ขัดแย้งกับความเห็นที่ยึดไว้นั้น ก็รู้สึกว่าเป็นการคุกคามต่อตัวตน

ของตนด้วย เป็นการเข้ามาบีบคั้น หรือ จะทำลายตัวตนให้เสื่อมด้อยลง พร่องลง

หรือสลายตัวไปอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้องต่อสู้รักษาความเห็นนั้นไว้ เพื่อศักดิ์ศรีเป็นต้นของตัวตน

จึงเกิดการขัดแย้งที่แสดงออกในภายนอก เกิดการผูกมัดตัวให้คับแคบ สร้างอุปสรรค

กักปัญญาของตนเอง ความคิดเห็นต่างๆ ไม่เกิดประโยชน์ตามความหมาย

และวัตถุประสงค์แท้ๆ ของมัน ทำให้ไม่สามารถถือเอาประโยชน์จากความรู้

และไม่สามารถรับความรู้ต่างๆได้เท่าที่ควรจะเป็น


(ทิฏฐิที่สนองตัณหาขั้นพื้นฐานที่สุด ก็ คือ สัสสตทิฏฐิ กับ อุจเฉททิฏฐิ และทิฏฐิที่อยู่ในเครือเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 11:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต (Clinging to mere rule and ritual)

ความอยากได้ อยากเป็นอยู่ ความกลัวต่อความสูญสลายของตัวตน โดยไม่เข้าใจกระบวนการ

แห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ผสมกับความยึดมั่นใน ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทำให้ประพฤติปฏิบัติไปตามๆกัน

อย่างงมงาย ในสิ่งที่นิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ ที่จะสนองความอยากของตนได้ ทั้งที่ไม่มองเห็นความ

สัมพันธ์โดยตรงของเหตุผล

ความอยากให้ตัวตนคงอยู่มีอยู่ และความยึดมั่นในตัวตน แสดงออกมาภายนอก

หรือทางสังคมในรูปของความยึดมั่น ในแบบแผนความความประพฤติต่างๆ การกระทำสืบๆกันมา

ระเบียบวิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธี ตลอดจนสถาบันต่างๆที่ แน่นอนตายตัว

ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยไม่ตระหนักรู้ในความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์

และความสัมพันธ์โดยเหตุผล

กลายเป็นว่า มนุษย์สร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อกีดกั้น ปิดล้อมตัวเอง และทำให้แข็งทื่อ

ยากแก่การปรับปรุงตัว และการที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งทั้งหลายที่ตนเข้าไปสัมพันธ์


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ในเรื่องสีลัพพตุปาทานนี้ มีคำอธิบายของท่านพุทธทาสภิกขุ ตอนหนึ่ง ที่เห็นว่า

จะช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นอีก ดังนี้

เมื่อมาประพฤติศีล หรือ ธรรมะข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ไม่ทราบความมุ่งหมาย ไม่คำนึงถึงเหตุผล

ได้แต่ลงสันนิษฐานเอาเสียว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เมื่อลงได้ปฏิบัติของศักดิ์สิทธิ์แล้ว

ย่อมต้องได้รับผลดีเอง

ฉะนั้น คนเหล่านี้จึงสมาทานศีล หรือประพฤติธรรมะ แต่เพียงตามแบบฉบับ ตามตัวอักษร

ตามประเพณี ตามตัวอย่าง ที่สืบปรัมปรากันมาเท่านั้น

ไม่เข้าถึงเหตุผลของสิ่งนั้นๆ แต่เพราะอาศัยการประพฤติกระทำมาจนชิน

การยึดถือจึงเหนียวแน่น เป็นอุปาทานชนิดที่แก้ไขยาก

ต่างจากอุปาทานข้อที่สองข้างต้น ซึ่งหมายถึงการถือในตัวทิฏฐิ หรือ ความคิดเห็นที่ผิด

ส่วนข้อนี้ เป็นการยึดถือในตัวการปฏิบัติ หรือ การกระทำทางภายนอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 11:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน- (Clinging to the ego-belief)

ความรู้สึกว่า มีตัวตนที่แท้จริงนั้น เป็นความหลงผิดที่มีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

และยังมีปัจจัยอื่นๆที่ช่วยเสริมความรู้สึกนี้อีก เช่น

ภาษาอันเป็นถ้อยคำสมมุติ สำหรับสื่อความหมายที่ชวนให้มนุษย์ผู้ติดบัญญัติ มองเห็นสิ่งต่างๆ

แยกออกจากกัน เป็นตัวตนที่คงที่

แต่ความรู้สึกนี้ กลายเป็นความยึดมั่นเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กล่าว คือ เมื่ออยากได้

ก็ยึดมั่นว่ามีตัวตน ที่เป็นผู้ได้รับและเสวยสิ่งที่อยากนั้น มีตัวตนที่เป็นเจ้าของสิ่งที่ได้นั้น

เมื่ออยากเป็นอยู่ ก็อยากให้มีตัวตนอันใดอันหนึ่งเป็นอยู่

เมื่ออยากไม่เป็นอยู่ ก็ยึดในตัวตนอันใดอันหนึ่งที่จะให้สูญสลายไป

เมื่อกลัวว่า ตัวตนจะสูญสลายไป ก็ยิ่งตะเกียกตะกายย้ำ ความรู้สึกในตัวตน ให้แน่นแฟ้นหนักขึ้น

ไปอีก

ที่สำคัญ คือ ความอยากนั้นสัมพันธ์กับความรู้สึกว่า มีเจ้าของผู้มีอำนาจควบคุม คือ มีตัวตนที่เป็น

นายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปอย่างที่อยากให้เป็นได้ และก็ปรากฏว่ามีการบังคับบัญชาได้

สมปรารถนาบ้างเหมือนกัน จึงหลงผิดไปว่า มีตัวฉัน หรือ ตัวตนของฉันที่เป็นเจ้าของ

เป็นนายบังคับสิ่งเหล่านั้นได้


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


แต่ความจริงมีอยู่ว่า การบังคับบัญชานั้น เป็นไปได้เพียงบางส่วนและชั่วคราวเท่านั้น

เพราะสิ่งที่ยึดว่า

เป็นตัวตนนั้น ก็เป็นเพียงปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

ไม่สามารถบังคับบัญชาสิ่งอื่นๆ ที่เข้าไปยึด ให้เป็นตามที่อยากให้เป็นได้ถาวรและเต็มอยากจริงๆ

การที่รู้สึกว่า ตัวเป็นเจ้าของควบคุมบังคับบัญชาได้อยู่บ้าง

แต่ไม่เต็มสมบูรณ์จริงๆ เช่นนี้ กลับเป็นการย้ำความหมายมั่น และตะเกียกตะกายเสริมความรู้สึกว่า

ตัวตนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก

เมื่อยึดมั่นในตัวตนด้วยอุปาทาน ก็ไม่รู้จักที่จะจัดการสิ่งต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่จะให้มันเป็นไป

อย่างนั้นๆ

กลับหลงมองความสัมพันธ์ผิด ยกเอาตัวตนขึ้นยึดไว้ในฐานะเจ้าของที่จะบังคับควบคุมสิ่งเหล่านั้น

ตามความปรารถนา

เมื่อไม่ทำตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย และสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นไปตามความปรารถนา

ตัวตนก็ถูกบีบคั้นด้วยความพร่องเสื่อมด้อยและความสูญสลาย

ความยึดมั่นในตัวตนนี้นับว่า เป็นข้อสำคัญ เป็นพื้นฐานของความยึดมั่นข้ออื่นๆ ทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 11:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




908650e6nbhrlj0r.gif
908650e6nbhrlj0r.gif [ 119.8 KiB | เปิดดู 2751 ครั้ง ]
ว่าโดยสรุป อุปาทานทำให้มนุษย์บุถุชน มีจิตใจไม่ปลอดโปร่งผ่องใส

ความคิดไม่แล่นคล่องไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่สามารถแปลความหมาย ตัดสิน

และกระทำการต่างๆ ไม่ตามแนวทางแห่งเหตุปัจจัย ตามที่มันควรจะเป็น โดยเหตุผลบริสุทธิ์

แต่มีความติดข้อง ความเอนเอียง

ความคับแคบ ความขัดแย้ง และความรู้สึกถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

ความบีบคั้นเกิดขึ้น เพราะความยึดว่าเป็นตัวเรา ของเรา เมื่อเป็นตัวเราของเรา

ก็ต้องเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น

แต่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปตามที่เราอยากให้เป็น เมื่อมันไม่อยู่ในบังคับ

ความอยากกลับเป็นอย่างอื่นไปจากที่อยากให้เป็น ตัวเราก็ถูกขัดแย้งกระทบกระแทกบีบคั้น

สิ่งที่ยึดถูกกระทบเมื่อใด ตัวเราก็ถูกกระทบเมื่อนั้น

สิ่งที่ยึดไว้มีจำนวนเท่าใด ตัวเราแผ่ไปถึงไหน

ยึดไว้ด้วยจำนวนเท่าใด ตัวเราที่ถูกกระทบ ขอบเขตที่ถูกกระทบ และความแรงของการกระทบ

ก็มีมากเท่านั้น

และผลที่เกิดขึ้น มิใช่แต่เพียงความทุกข์เท่านั้น แต่หมายถึงชีวิตที่เป็นอยู่และกระทำการต่างๆ

ตามอำนาจความยึดความอยาก ไม่ใช่เป็นอยู่และทำการด้วยปัญญาตามเหตุปัจจัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 11:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายง่ายๆ

แง่หนึ่งสำหรับแสดงความสัมพันธ์ภายในวงจรปฏิจจสมุปบาทช่วงนี้ เช่น เมื่อประสบสิ่งใด

ได้รับเวทนาอันอร่อย ก็เกิดตัณหาชอบใจ อยากได้สิ่งนั้น แล้วเกิดกามุปาทาน

ยึดติดในสิ่งที่อยากได้นั้น ว่าจะต้องเอา ต้องเสพ ต้องครอบครองสิ่งนั้นให้ได้ เกิดทิฏฐุปาทาน


ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องอย่างนี้จึงจะดี ได้อย่างนี้จะเป็นสุข ต้องได้เสพเสวยครอบครองสิ่งนั้น

หรือ ประเภทนี้ ชีวิตจึงมีความหมาย หลักการ หรือ คำสอนอะไรๆ จะต้องส่งเสริมการแสวงหา

และได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ จึงจะถูกต้อง เกิด สีลัพพตุปาทาน ว่าเมื่อจะประพฤติปฏิบัติศีล

พรต ขนบธรรมเนียม ระเบียบ แบบแผนอย่างใดๆ ก็มองในแง่เป็นวิธีการ

ที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่อยากได้นั้น หรือ จะต้องเป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งที่อยากได้นั้น

จึงจะยอมประพฤติปฏิบัติ และเกิด อัตตวาทุปาทาน

ยึดติดถือมั่น ในตัวตนที่จะได้จะเสพ จะครอบครองสิ่งที่อยากได้นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 11:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18.jpg
18.jpg [ 32.87 KiB | เปิดดู 2749 ครั้ง ]
อุปาทาน ๔ มาใน ที.ปา.11/262/242 อภิ.วิ.35/963/506 ฯลฯ โดยเฉพาะ อัตตวาทุปาทาน

เมื่อวิเคราะห์ออกไปจะเห็นว่า เป็นการยึดมั่นในเรื่องขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามบาลีว่า

“บุถุชน...ย่อมเข้าใจว่ารูปเป็นอัตตา หรือ เข้าใจว่าอัตตามีรูป หรือ เข้าใจว่ารูปอยู่ในอัตตา

หรือ เข้าใจว่าอัตตาอยู่ในรูป

เข้าใจว่า เวทนา...สัญญา...สังขาร...(ทำนองเดียวกัน)

เข้าใจว่า วิญญาณเป็นอัตตา หรือ อัตตามีวิญญาณ หรือ ว่าวิญญาณอยู่ในอัตตา

หรือ ว่าอัตตาอยู่ในวิญญาณ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 11:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b26: อ่านไป อ่านมา อดสงสัยไม่ได้ว่า ท่านกรัชกาย คงเคยบวชเรียนมานาน
หรือจะเป็นพระสงฆ์ ถ้าไม่ใช่ ก็คงเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับหนังสือธรรมะ
ชอบศึกษาธรรมะ ถึงได้รู้ลึกซึ้งนัก เห็นยกมาทั้งบาลี-สันสกฤต

อีกข้อ คงไม่มีงานประจำกระมัง ถึงได้มีเวลาเข้าตอบปัญหา คาใจแฟนๆ
ได้มากมายขนาดนี้ ไม่เบื่อบ้างหรือ เห็นเป็นสมาชิกตั้งแต่ 2006 แล้ว :b27:

:b8: อมิตพุทธ

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร