วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2009, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธพจน์จากพระไตรปิฏก

อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา
http://www.84000.org/true/568.html

สมถะหรือวิปัสสนาก่อน?
http://www.84000.org/true/220.html

พระพุทธพจน์เกี่ยวกับวิปัสสนา
http://geocities.com/toursong1/kam/pt.htm

----------------------------------------------------------------

บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้ามรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอเธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

จบปฏิปทาวรรคที่ ๒

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๐๘๓ - ๔๒๙๙. หน้าที่ ๑๗๖ - ๑๘๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=161

----------------------------------------------------------------


พุทธวิทยาน่ารู้
โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10073


โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอ ๆ ว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย
อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนวคือ
แนวที่ ๑ เรียกว่า “ สมถยานิก “ คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ การเจริญวิปัสสนาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ สมถยานิกะ “ ถ้าสำเร็จมรรค – ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า “ เจโตวิมุติ “ อาจจะมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือผู้ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น
แนวที่ ๒ เรียกว่า “ วิปัสสนายานิกะ “ คือ ผู้เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วน ๆ ทีเดียว โดยไม่จำเป็นจะต้องไปทำฌานสมาบัติอะไรให้เกิดขึ้นก่อนก็ได้ พอเริ่มทำก็กำหนดนามรูปกันทีเดียว หมายความว่า พอตนเรียนอารมณ์ พร้อมทั้งวิธีกำหนดจากอาจารย์ผู้สอนจนเข้าใจแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติหลังจากที่ตนได้สถานที่ที่สบาย บุคคลสบาย ละปลิโพธกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ หมดเลย ก็ทำวิปัสสนาได้ทีเดียว พอวิปัสสนาเกิดขึ้นตนเองก็จะต้องประคองพลธรรมทั้ง ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอภาคกัน ในไม่ช้าก็จะสามารถแยกฆนสัญญาออกจากกันได้
เมื่อสามารถทำลายฆนสัญญาให้แตกออกจากกันได้แล้ว นามรูปก็จะปรากฏขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัติพยายามทำต่อไปโดยไม่ลดละ ก็จะสามารถบรรลุถึงมรรค – ผล ได้ตามประสงค์ วิธีปฏิบัติแบบหลังที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ ปัญญาวิมุติ “ และจะได้ชื่อพิเศษว่า “ สุขวิปัสสโก “ ที่มักแปลกันว่า “ เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง “ นอกจากนั้น ยังได้พูดถึงความสามารถของพระอริยบุคคลทั้ง ๒ จำพวกนี้ไว้อีกว่า
๑. สมถะยานิกะ ทำลายตัณหาก่อน
๒. วิปัสสนายานิกะ ทำลายอวิชชาก่อน

อันที่จริง ตัณหาเป็นอกุศลเหตุเดียว มีอาณาเขตแคบ ส่วนอวิชชานั้น เป็นอกุศล ๒ เหตุ มีอาณาเขตกว้างขวาง อันนี้หมายความว่า ในที่ใดมีตัณหาในที่นั้นก็จะต้องมีอวิชชาเกิดร่วมด้วยเสมอไป แต่ตรงกันข้ามในที่ใดมีอวิชชาในที่นั้นจะมีตัณหาเกิดร่วมด้วยก็ได้ ไม่เกิดร่วมด้วยก็ได้ เพราะอวิชชาเป็นบาปที่ทั่วไปในอกุศลทั้งปวง อันนี้พูดกันเฉพาะสหชาติ แต่ถ้าจะพูดกันโดยอารัมมณสัตติและอุปนิสสยสัตติแล้ว อวิชชาก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นบิดาของตัณหา เพราะเป็นอดีตเหตุนั่นเอง ส่วนตัณหาเล่า ก็มีฐานะเป็นเสมือนบุตร ที่เป็นเช่นนี้ เพราะตนเป็นได้เพียงปัจจุบันเหตุในอันที่จะส่งผลต่อไปในอนาคตภพนั่นเอง

เพื่อสนับสนุนเรื่องเกี่ยวกับบาทฐานของวิปัสสนาที่กำลังจะพูดกันนี้ จึงใคร่ขอยกหลักฐานจากยุคนัทธวรรค ซึ่งมีมาในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย แห่งปฏิปทาวรรค ฉบับฉัฏฐะ หน้า ๔๗๕ ข้อ ๑๗๐ แล้วแก้ด้วยอรรถกถาชื่อ "มโนรถปูรณี ฉบับ ฉัฏฐะ" ภาค ๒ หน้า ๓๔๖ ข้อ ๑๗๐ และขยายด้วยอังคุตตรฎีกาชื่อ "สารัตถมัญชุสา" ภาค ๒ หน้า ๓๔๔ ข้อ ๑๗๐ ว่า

บาลีตอนที่ ๑

อิธ อาวุโส ภิกฺขุ สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ, ตสฺส สมถปุพฺพงฺคมิ วิปสฺสนํ ภาวยโต มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรติ. ตสฺส มคฺคํ อาเสวโต ภาวยโต พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียติ, อนุสยา พฺยนฺติ โหนฺติ.

ความว่า

ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อเธอทำวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นให้เจริญอยู่ มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญบำเพ็ญให้มากขึ้น เมื่อเธอ(ไม่ยอมลดละ) ปฏิบัติเจริญ บำเพ็ญมรรคนั้นให้มากๆ เธอย่อมละสังโยชน์เสียได้ อนุสัยทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นโทสชาติที่มอดไหม้หมดไปฯ

อรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๑

สมถปุพฺพงฺคมนฺติ สมถํ ปุพฺพงฺคมํ ปุเรจาริกํ กตฺวา. มคฺโค สญชายตีติ ปฐโม โลกุตฺตรมคฺโค นิพฺพตฺตติ โส ตํ มคฺคนฺติ เอกจิตฺตกฺขณิกมคฺคสฺส อาเสวนาทีนิ นตฺถิ, ทุกติ ยมคฺคาทโย ปน อุปฺปาเทนฺโต ตเมว อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรตีติ วุจฺจติ.

ความว่า

พระบาลีบทว่า "สมถปุพฺพงฺคมํ" แก้ว่า ทำสมถะให้เป็นเบื้องต้น คือ ทำให้เป็นปุเรจาริก (นำไปข้างหน้า)
พระบาลีสองบทที่ว่า "มคฺโค สญฺชายติ" แปลว่า โลกุตตรมรรคที่หนึ่ง (พระโสดาปัตติมรรค) บังเกิดอยู่ฯ
พระบาลีสามบทที่ว่า "โส ตํ มคฺคํ" ท่านแก้ไว้ว่า กิจทั้งหลายมีอาเสวนะเป็นต้น หาได้มีแก่มรรคที่เกิดเยงขณะจิตเดียวไม่ แต่เมื่อบำเพ็ญมรรคเบื้องสูงทั้งหลาย มีมรรคที่สองเป็นต้นให้เกิดขึ้น มรรคที่สองเป็นต้นนั่นเอง จึงจะตรัสเรียกว่า "อาเสวติ ภาเวติ และ พหุลีกโรติ" ได้ฯ

ฎีกาแก้ขยายความตอนที่ ๑

สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ อิทํ สมถยานิกสฺสวเสน วุตฺตํ. โส หิ ปฐมํ อุปจารสมาธึ วา อปฺปนาสมาธึ วา อุปฺปาเทติ, อยํ สมโถ, โสตญฺจ ตํสมฺปยุตฺเต จ ธมฺเม อนิจฺจามีหิ วิปสฺสติ, อยํ วิปสฺสนา, อิอติ ปฐมํ สมโถ, ปจฺฉา วิปสฺสนา, เตนวิจฺจติ "สมถปุพูพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวตีติ."

ความว่า

บาลีข้อที่ว่า "สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ" นี้ ท่านพูดไว้ด้วยอำนาจของสมถยานิกะฯ เพราะโยคีบุคคลผู้นั้นทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน..อันนี้เป็นสมถะ โยคีบุคคลผู้นั้นจึงใช้ปัญญาพิจารณาถึงสมาธินั้น และธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธินั้น ให้เห็นแจ้งด้วยลักษณะมีอนิจจลัษกาณะเป็นต้น..อันนี้จัดเป็นวิปัสสนา ด้วยประการดังทีได้กล่าวมานี้ สมถะจึงเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาจึงเกิดในภายหลัง ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า "เจริญวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นเบื้องต้น"เข้าไว้ฯ

ข้อที่ควรสังเกตในข้อที่ ๑ นี้ ก็มีอยู่ว่า การเจริญวิปัสสนาในแบบที่ ๑ นี้ เป็นการเจริญสมาธิให้เกิดขึ้นก่อนแล้วจึงเจริญปัญญาให้เกิดต่อภายหลัง แต่ถ้าขืนเจริญแต่สมาธิเรื่อยไปโดยไม่เปลี่ยนอารมณ์ด้วยการออกจากฌานสมาธิแล้ว รับรองว่าวิปัสสนาปัญญาจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย ไม่ต้องดูอื่นไกล ขอให้ดูดาบสทั้งสองที่เป็นอาจารย์สอนพระพุทธองค์ตอนเมื่อก่อนตรัสรู้เถิด ปรากฏว่าท่านดาบสทั้งสองไม่อาจทำวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการอาศัยสมาธิแบบนั้นเป็นบาทฐาน ผลที่สุดก็ต้องตายจากโลกนี้ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นอรูปภพ ซึ่งมีอายุยืนถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เป็นตัวอย่างฯ

บาลีตอนที่ ๒

ปุน จปรํ อาวุโส ภิกฺขุ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ, ตสฺส วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาวยโต มคฺโค สญชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา พฺยนฺตี โหนฺติ.

ความว่า

ผู้มีอายุ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเจริญสมถะ ที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อเธอทำสมถะ อันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ทำให้เกิดอยู่ มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญ บำพ็ญมรรคนั้นให้มากขึ้น เมื่อเธอปฏิบัติเจริญ บำเพ็ญมรรคนั้นให้มากๆ เธอก็ย่อมจะละสังโยชน์ทั้งหลายเสีย อนุสัยทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้หมดไปฯ

อรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๒

วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมนฺติ วิปสฺสนํ ปุพฺพงฺคมํ ปุเรจาริกํ กตฺวา สมถํ ภาเวติ, ปกติยา วิปสฺสนาลาภี วิปสฺสนาย ฐตฺวา สมาธึ อุปฺปาเทตีติ อตฺโถ

ความว่า

พระบาลีข้อที่ "วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมนฺติ" ความว่า โยคีบุคคลทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือ ให้เป็นตัวนำแล้วจึงเจริญสมถะตามปกติ ผู้ที่ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนาแล้ว จึงทำสมาธิให้เกิดขึ้นฯ

ฎีกาแก้ขยายความตอนที่ ๒

วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวตีติ อทํ ปน วิปสฺสนายานิกสฺส วเสน วุตตํ. โส ตํ วุตฺตปฺปการํ สมถํ อสมฺปาเทตฺวา ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธ อนิจฺจาทีหิ วิปสฺสติ.

ความว่า

ส่วนพระบาลีข้อที่ว่า "เจริญสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น" นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจของพระวิปัสสนายานิก คือ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาล้วนๆ เธอยังมิได้ทำสมถะที่มีประการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นให้สมบูรณ์เลย ก็พิจารณาเบญจขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปทานโดยความเป็นอนิจจะเป็นต้น

ตรงตอนที่ ๒ นี้ก็หมายความว่า ท่านเจริญเฉพาะวิปัสสนาล้วนๆ มาก่อน ...ยังมิทันที่เธอจะทำสมถะให้สมบูรณ์เลย ก็ใช้ปัญญาพิจารณาถึงเบญจขันธ์โดยความเป็นไตรลักษณ์เสียแล้ว...นี่เป็นคำอธิบายตามนัยของฎีกา

ส่วนคำของอรรถกถาท่านหมายความง่ายๆ ว่า ได้วิปัสสนาแล้วแต่อยากได้ฌานก็ทำฌานให้เกิดขึ้นเท่านั้น เราก็พอจะถือเอาความได้ว่า พระอริยะผู้ที่เป็นวิปัสสนาลาภี คือ ผู้ที่ได้วิปัสสนาจนเป็นพระโสดา - สกทาคามี -อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อย่าง นี้เรียกว่า ทำสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นฯ

บาลีตอนที่ ๓

ปูน จปรํ อาวุโส ภิกฺขุ สมถวิปสฺสนํ ยุคนทธฺ ภาเวติ ตสฺส สมถวิปสฺสนํ ยุคนฺธํ ภาวยโต มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ หุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา พฺยนฺติ โหนฺติ.

ความว่า

ข้ออื่นยังมีอยู่อีกผู้มีอายุ ภิกษุผู้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญ กระทำมรรคนั้นให้มาก เมื่อเธอปฏิบัติเจริญ(และ) ทำมรรคนั้นให้มาก สังโยชน์ทั้งหลายก็ย่อมถูกละเลยไป อนุสัยทั้งหลายย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้หมดไปฯ

คำแปลอรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๓ อันมี "ยุคนทฺธํ ภาเวตีติ ยุคนทฺธํ กตฺวา ภาเวติ.ฯ " เป็นต้น ความว่า

พระบาลีข้อที่ว่า "เจริญควบคู่กันไป" นั้น พระอรรถกถาจารย์ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า เจริญทำให้ควบคู่กันไป ฯ

ในการเจริญดังกล่าวเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจที่จะเข้าสมาบัติด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละ แล้วก็พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตดวงนั้นนั่นเอง แต่โยคีบุคคลผู้นี้เข้าสมาบัติได้เพียงใด ก็ย่อมพิจารณาสังขารได้เพียงนั้น พิจารณาสังขารได้เท่าใด ก็เข้าสมาบัติได้เท่านั้น ที่ว่านี้หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า ตนเข้าปฐมฌานได้ ออกจากปฐมฌานแล้ว ก็พิจารณาสังขารทั้งหลายอีก เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ก็เข้าตติยฌาน ฯลฯ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เมื่อออกจากอรูปสมาบัติที่ ๔ แล้วก็ได้พิจารณาสังขารทั้งหลาย ตามวิธีอย่างที่ได้อธิบายมานี้ ชื่อว่าเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปด้วยประการฉะนี้ฯ

ข้อสังเกตตามที่พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์อธิบายมา จะเห็นได้ว่าเป็นการยากที่เราจะไปตีความเอาโดยพลการ เพราะถ้าไม่ตรงต่อคำอธิบายของท่านแล้ว แทนที่จะเป็นการช่วยกันเผยแผ่พระพุทะศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป กลับจะเป็นการช่วยกันทับถมคำสอนของท่านให้เสื่อมสูญลงโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้นท่านผู้ที่รักจะช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะอธิบายอะไรก็ควรที่จะตรวจตราดูเสียให้เรียบร้อยก่อน เพราะการบรรยายธรรมเป็นการแนะแนวในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เพื่อให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ซึ่งไม่เหมือนกับการ้องเพลงที่จะชวนให้คนฟังเกิดแต่กิเลสเป็นความเศร้าหมองอย่างเดียว

ถ้าเราจะสรุปความในท่อนที่ ๓ ที่ท่านได้อธิบายมา เราก็พอจะจับใจความของท่านได้ว่า ในการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปนั้น ที่จริงก็คือ การเจริญสมะจนได้ฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จึงจะพิจารณาสังขารต่อไป จนกว่าจะเกิดมรรคนั่นเอง

เพราะท่านปฏิเสธไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนักปฏิบัติคนใดดอก ที่จะสามารถเข้าสมาบัติด้วยจิตดวงนั้นแล้วก็พิจารณาสังขารด้วยจิตดวงนั้นได้

บาลีตอนที่ ๔

ปุน จปรํ อาวุโส ภิกขุโน ธมฺมุทธจฺจวิคฺคหิตํ มานสํ โหติ, โส อาวุโส สมโย ยํ ตํ จิตฺตํ อชฺฌตฺตเมว สนฺติฏฐติ สนฺนิสีทติ เอโกทิ โหติ สมาธิยติ, ตสฺส มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรติ. ตสฺส ตํ มคฺคํ อาเสวโต ภาวยโต พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา ยนตี โหนฺติ .

ความว่า

ผู้มีอายุ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีใจปราศจากความฟุ้งซ่านในอริยธรรม ผู้มีอายุ สมัยนั้น จิตดวงนั้นก็ย่อมตั้งมั่นดิ่งลงในภายในทีเดียว เป็นเอกุคคตารมณ์เป็นสัมมาสมาธิ มรรคย่อมเกิดพร้อมแก่เธอ เธอปฏิบัติเจริญ ทำมรรคนั้นให้มากๆ เมื่อเธอปฏิบัติเจริญบำเพ็ญมรรคนั้นให้มากได้ เธอก็ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายเสียได้ อนุสัยทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้ไปในที่สุดฯ

อรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๔

ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตนฺติ สมถวิปสฺสนาธมฺเมสุ ทสวิปสฺสนุหกิเลสสงฺขาเตน อุทฺธจฺเจน วิคฺคหิตนฺติ อตฺโถ โส อาวุโส สมโยติ อิมินา สตฺสตฺนํ สปฺปายํ ปฏิลาภกาโล กถิโต. ยํ ตํ จิตฺตนฺติ นสฺมึ สมเย ตํ วิปสฺสนาวิถึ ปจฺโจตฺถริตฺวา ตสฺมึเยว โคจรชฺฌตฺตสงฺขาเต อารมฺมเณ สนฺติฏฐติ. สนฺนิสีทตีติ อารมฺมณวเสน สมฺมา นิสีทติ. เอโกทิ โหตีติ เอกคฺคํ โหติ. สมาธิยตีติ สมฺมา อาธิยติ สุฏฐปิตํ โหติ. เสสเมตฺถ อุตฺตา นมตฺถเมว

ความว่า

พระบาลีที่ว่า"ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ" ความว่า คลายออกจากความฟุ้งซ่าน คือ ความเศร้าหมองของวิปัสสนา ๑๐ ประการ ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา คือ จับอารมณ์ได้ดีแล้วนั่นเอง

พระพุทธองค์ตรัสถึงเวลาที่ได้สัปปายะ ๗ อย่างไว้ด้วยพระบาลีข้อที่ว่า "โส อาวุโส สมโย" นี้

พระบาลีที่ว่า "ยํ ตํ จิตฺตํ" คือ ในสมัยใดจิตปรากฏก้าวลงสู่วิถีของวิปัสสนานั้น ฯ

พระบาลีสองบทที่ว่า "อชฺฌตฺตเมว สนฺติฏฐติ" ความว่า จิตนั้นแผ่ตรงไปเฉพาะวิปัสสนาวิถีได้แล้ว ก็ย่อมจะตั้งมั่นได้ในอารมณ์ คือ อารมณ์ที่เป็นภายในนั้นเท่านั้น ฯ

บทที่ว่า "สนฺนิสีทติ" ได้แก่แนบสนิทดีด้วยอำนาจของอารมณ์ฯ

สองบทที่ว่า "เอโกทิ โหติ" คือ เป็นจิตที่มีอารมณ์เป็นอันเดียว

บทว่า "สมาธิยติ" หมายความว่า เป็นจิตที่ดำรงอยู่ได้โดยชอบ คือ เป็นจิตที่ได้ตั้งไว้ดีแล้วนั่นเอง

แปลฎีกาแก้ขยายความตอนที่ ๔ มี ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตมานสนฺติ เป็นต้น ความว่า

คำของอรรถกถาบทที่ว่า "ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตมานสํ" ความว่า ความฟุ้งซ่านที่ปรากฏในวิปัสสนูปกิเลส มีแสงสว่างป็นต้นว่า "เป็นอริยธรรม" คือความฟุ้งชื่อว่า "ธัมมุทธัจจะ" จิตใจที่จับอารมณ์ผิดพลาดเป็นไป โดยการดำเนินออกจากวิถีของวิปัสสนา เพราะความฟุ้งซ่านไปในธรรมนั้น จัดเป็นจิตใจที่จับอารมณ์ผิดพลาด เพราะความฟุ้งซ่านไปในธรรมนั่นเอง

คำนี้สมจริงตามบาลีปฏิสัมภิทามรรค หน้า ๒๙๑ ฉบับฉัฏฐะว่า

ใจที่จับอารมณ์ผิดพลาดเพราะความฟุ้งซ่านในธรรมปรากฏขึ้น ผู้ปฏิบัติที่กำลังใส่ใจโดยความเป็นอนิจจะ แสงสว่างก็เกิดขึ้น ก็ย่อมรำพึงถึงแสงสว่าง

"แสงสว่างเป็นธรรมะ ความฟุ้งซ่านที่เกิดเพราะความสนใจถึงแสงสว่างนั้น ผู้ปฏิบัติที่มีใจจับอารมณ์ผิดพลาดเพราะความฟุ้งซ่านนั้น ก็ย่อมหารู้ชัดถึงความปรากฏโดยความเป็นอนิจจะตามความเป็นจริงไม่ได้ ความปรากฏโดยความเปฌนทุกขะ ฯลฯ เป็นอนัตตะก็หารู้ชัดตามความเป็นจริงไม่ได้เช่นกัน

แต่ถ้าเมื่อเธอมนสิการโดยความเป็นอนิจจะเหมือนอย่างนั้น ญาณความรู้ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ฯลฯ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์(การตัดสินใจเชื่อ) ปัคคาหะ(ความเพียรเกินไป) อุปัฏฐาน(ความปรากฏชัดเกินไป) อุเบกขา (วางเฉยเกินไป)นิกันติ(ความต้องการ ๙ ข้อข้างต้น)เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติก็นึกถึงความต้องการว่า "นิกันติ" เป็นธรรมะ ความฟุ้งซ่านย่อมเกิดเพราะความมนสิการผิดพลาดนั้น

เพราะความฟุ้งซ่านอันนั้นเป็นเหตุ เธอผู้มีใจจับอารมณ์ผิดพลาด ก้ย่อมหารู้ชัดถึงความปรากฏโดยความเป็นอนิจจะตามความเป็นจริงไม่ได้ ความปรากฏโดยความเป็นทุกขะ และอนัตตะ ก็หารู้ชัดตามความเป็นจริงไม่ได้เช่นกัน

หมายเหตุ ตามคำอธิบายของท่าน ก็พอจะจับใจความได้ว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ คือ ขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาไปจนกระทั่งถึงอุทยัพพยญาณ หรือตีรณปริญญา ถ้าเกิดอุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น หากไปมนสิการถึงอุปกิเลสดังว่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสนใจพอใจในแสงสว่างเป็นต้น จิตก็จะฟุ้งซ่านตกจากวิปัสสนาวิถีไป ไม่อาจที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ได้โดยชัดเจนนั่นเอง เพราะวัตถุประสงค์ของการเจริญวิปัสสนานั้น ก็จำเป็นจะต้องปลูกโยนิโสมนสิการ ให้ตั้งมั่นอยู่แต่เฉพาะลักษณะของนามรูปเท่านั้นนั่นเองฯ

ตามที่ได้อธิบาย พร้อมทั้งยกเอาหลักฐานมาเป็นเครื่องยืนยันทั้งหมดนี้ จะเห็นได้แล้วว่าเป็นเรื่องที่น่าระมัดระวัง ในการเผยแผ่ธรรมะชั้นสูงเป็นกรณีพิเศษทีเดียว ถ้าไม่จำเป็นแล้วขออย่าได้ผลีผลามใช้ความเห็นของตนแสดงออกเป็นอันขาด เพราะถ้านักปราชญ์ที่เขาคงแก่เรียนไปรู้เข้า มิใช่จะเสียหายเฉพาะตัวเองเท่านั้น ยังเสียไปถึงคนที่หลงเดินตามปฏิปทาที่ตัวสอนอีกมากมายด้วย จึงขอสะกิดใจไว้เพียงเท่านี้ฯ

สรุปความแตกต่างเกี่ยวกับสมถะและวิปัสสนาโดยสังเขป

๑. สมถะ คือตัวสมาธิ ส่วนวิปัสสนา ก็คือ ตัวปัญญา

๒. ศีลธรรมดา มีอารมณ์เป็นภายนอก ส่วนศีลที่เกิดร่วมกับวิปัสสนานั้น เป็นศีลที่มีอารมณ์เป็นภายใน หมายถึงอินทรีย์สังวรศีลนั่นเอง เพราะอินทรีย์สังรศีล เป็นศีลที่มรประสิทธิภาพในอันที่จะกางกั้นอาสวธรรมที่จะไหลเข้าทางตาเป็นต้นได้

๓. สมถะ มีประสิทธิภาพในการกำจัดกิเลสอย่างกลาง ด้วยอำนาจของวิขัมภนปหาน ส่วนวิปัสสนานั้นมีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้ด้วยอำนาจของตทังคปหาน

๔. สมถะ ไม่สามารถจะละหรือทำลายอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดได้ เพราะแม้ในฌานสมาบัติเองก็ยังมีอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดนอนเนื่องอยู่ เหตุนั้นจึงทำให้ผู้ได้ฌานสมาบัติยังมีความชื่นชมยินดีในความสุขที่เกิดจากฌานนั้นอยู่ ส่วนวิปัสสนานั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเปิดเผยความจริงของนามรูปที่อวิชชาคือความไม่รู้ อันเป็นตัวปิดบังความจริงเอาไว้ เมื่ออวิชชาทำกิจปกปิดความจริงไม่ได้แล้ว ก็ได้ชื่อว่า "กำลังถูกวิปัสสนาทำลายให้หมดไปในตัวอีกส่วนหนึ่งด้วย"

๕. สมถะ เมื่อทำไปจนเกิดผลก็ทำให้เกิดความสงบสุข ส่วนวิปัสสนานั้นเมื่อทำไปจนเกิดวิปัสสนาแล้ว ก็ทำให้เห็นแต่ทุกข์อย่างเดียว เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นทุกขืแล้ว ตัณหาและทิฏฐิก็ไม่อาจจะอาศัยเกิดได้ในอารมณ์เช่นที่ว่านั้น

๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และอัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ ที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว

๘. การทำสมถะเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไปเป็นชั่วโมงหรือ ๒ ชั่วโมงก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น

๙. สมถะ ใช้อารมณ์เป็นบัญญัติ เช่น บัญญัติกสิณ หรืออสุภะเป็นต้น ส่วนวิปัสสนานั้น ต้องใช้สภาวะคือ นามรูป มาเป็นอารมณ์จึงจะใช้ได้

๑๐. อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา ที่จะพึงได้จากการปฏิบัติก็แตกต่างกันทั้งในส่วนปัจจุบัน และอนาคต คืออานิสงส์ของสมถะในชาติปัจจุบันนั้น ทำให้ได้อภิญญา เหาะเหินเดินอากาศหรือดำไปในดินดุจดำน้ำเป็นต้นก็ได้ อานิสงส์ของสมถะในอนาคตชาติคือชาติหน้านั้น ถ้าฌานไม่เสื่อม ก็ช่วยให้ได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่ในพรหมโลกตามอำนาจของฌานนั้นๆ

ส่วนอานิสงส์ของวิปัสสนาในชาติปัจจุบันนั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้สิ้นจากอาสวะกิเลส คือกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ หรือสิ้นจากกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดนั่นเอง ส่วนอานิสงส์ในอนาคตชาตินั้น ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากชาติกันดาร ชรากันดาร และมรณะกันดาร ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตายในชาติอื่นๆ อีกต่อไป ดังนั้นสมถะกับวิปัสสนาจึงมีความแตกต่างกันดังแสดงมาโดยสังเขปดังนี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 493&Z=7552

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
รู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยัง
จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.


อรรถกถา

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น
ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก
และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
ครั้นเธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูป
นั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
เธอนั้นข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณา
กลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วน
เบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ)
กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึง
ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปใน
สรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับ
ติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล
ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปาน-
กรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียง
เท่านี้แล.
นี้พรรณนาปฐมจตุกกะโดยอาการทุกอย่าง
ก็เพราะใน ๓ จตุกกะนอกนี้ ขึ้นชื่อว่านัยแห่งการเจริญกรรมฐาน
แผนกหนึ่งย่อมไม่มี; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความแห่ง ๓ จตุกกะ
เหล่านั้น โดยนัยแห่งการพรรณนาตามบทนั่นแล.
บทว่า ปีติปฏิสํเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติ
ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น
ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ และโดย
ความไม่งมงาย.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ,
ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้า
สมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงายอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณา
ปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้น
รู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา.
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ
นั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น , เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลม
หายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น.
ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุ
รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว,
เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา
เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วย
ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อ
ละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้น เป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้*.
แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล. แต่ในสองบท
นี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ : - พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วย
อำนาจแห่งฌาน ๓, พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌาน
ทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร. ก็บรรดาสองบทนี้ ใน
สุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิ
แห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่าง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.
สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิต-
สังขารที่หยาบ ๆ เสีย. ความดับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย
ดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วย
ปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรูปทีเดียว, ใน
จิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะ
พระบาลีว่า สัญญาและเวทนา เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็น
จิตสังขาร* ดังนี้ จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.
แม้ในจตุกกะที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้
แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.
สองบทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
เราจักยังจิตให้บันเทิง คือให้ร่าเริง ได้แก่ ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก.
ในสองบทนั้น ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยอำนาจ
สมาธิ และด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ.
เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุต ในขณะแห่งสมาบัติ.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณา
อยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วย
ฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิง
อยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง
หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือ ตั้งจิต
ไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่า เมื่อ
เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน
โดยความสิ้น ความเสื่อม ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)
ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้
ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมี
อารมณ์เดียวชั่วขณะ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้
พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน คือ เมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจาก
วิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วย
จตุตถฌาน. ก็หรือว่า เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่
สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้น
เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุ
ปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง) เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากสุข
สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่า
เป็นทุกข์) จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา
(ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน) จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วย
นิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) จากราคะ (ความ
กำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความ
กำหนัด) จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความ
พิจารณาเห็นธรรมเห็นเครื่องดับ) จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏิ-
นิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หาย
ใจเข้าและหายใจออกอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.
ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้
พึงทราบ อนิจจัง (ของไม่เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตา (ความเป็นของไม่
เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึง
ทราบ อนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
ในลักษณะ ๔ อย่าง มีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า อนิจจัง ได้แก่
เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความ
เสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

--------------------------------------

วิสุทธิมรรค

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7 ... 4%E0%B9%90

๑. นามรูปววัฏฐาน หรือ สังขารปริเฉท)

โยคาวจรผู้ปรารถนาจะบรรลุ ทิฏฐิวิสุทธิ นั้น (ถ้าเป็น) สมถะยานิกะ (ผู้มีสมถะเป็นทางดำเนิน) ครั้นออกจากรูปาวจรญาณ ญาณใดญาณหนึ่ง เว้นแต่เนวสัญญา

(หน้าที่ 238)
นาสัญญายตนะแล้ว ก่อนอื่นพึงกำหนดองค์ทั้งหลายของญาณมีวิตกเป็นต้น และธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยองค์ของญาณนั้น (เช่น เวทนา สัญญา เป็นต้น) โดยลักษณะและรส (หน้าที่) เป็นต้น (ของธรรมนั้น ๆ) ครั้นแล้ว พึงกำหนดแม้ทั้งหมด (ดังกล่าวมา) นั้นว่า “นาม” โดยความหมายว่า “น้อมไป” เพราะมุ่งหน้าน้อมไปสู่อารมณ์ แต่นั้นเมื่อโยคาวจรผู้นี้แหละจะพิจารณาดู นาม นี้อาศัยอะไร จึงเป็นไป? ก็เห็นหทยรูป (หัวใจ) เป็นที่อาศัยของนาม เปรียบเหมือนบุรุษเห็นงูภายในเรือน จึงติดตามมันไป ก็พบที่อาศัยของมัน ฉะนั้น ครั้นแล้ว โยคาวจรผู้นั้นก็กำหนด รูป ว่า ภูตรูปทั้งหลายเป็นที่อาศัยของหทยรูป และอุปาทายรูปทั้งหลายนอกนั้นก็อาศัยภูตรูป ท่านโยคาวจรนั้นกำหนดแม้ทั้งหมดนั้นว่า “รูป” เพราะ (มัน) เสื่อมสลาย แต่นั้น ก็กำหนดนามรูปโดยสังเขปว่า นาม มีการน้อมไปเป็นลักษณะ รูป มีการเสื่อมสลายเป็นลักษณะดังนี้
(๑. กำหนดนามและรูปทางธาตุ ๔)

ส่วนโยคาวจรผู้เป็น วิปัสสนายานิกะ (ผู้มีวิปัสสนาเป็นทางดำเนิน) ล้วน ๆ หรือว่า ผู้เป็นสมถยานิกะนั้นนั่นเอง กำหนดธาตุ ๔ โดยสังเขปหรือโดยพิสดาร ด้วยมุขในการกำหนดธาตุเหล่านั้นๆ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วใน จตุธาตุววัฏฐาน มุขใดมุขหนึ่ง ครั้นแล้วเมื่อธาตุทั้งหลายปรากฏชัดแจ้งแก่โยคาวจรผู้นั้นโดยรส (หน้าที่) และโดยลักษณะของมันตามเป็นจริง รูป ๑๐ ในเส้นผมซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ก็ปรากฏโดย กายทสกะ อย่างนี้ก่อนคือ ธาตุ ๔ สี ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โอชา ๑ ชีวิต ๑ กายประสาท ๑ และรูปอีก ๑๐ ก็ปรากฏโดย ภาวทสกะ (คือ ๑๐ เหมือนกายทสกะ ต่างกันแต่เปลี่ยน กายประสาท เป็น ภาวะ คือ เพศชาย หรือ เพศหญิง) เพราะมีภาวะ (เพศ) อยู่ในเส้นผมซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นเหมือนกัน และรูปอีก ๒๔ คือ โอชัฏฐมกะ (รูปมีโอชะเป็นที่ ๘ ได้แก่ ธาตุ ๔ สี ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ และโอชะเป็นที่แปด ๑) ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐาน ๑ โอชัฏฐมกะ ซึ่งมีฤดูเป็นสมุฏฐาน ๑ โอชัฏฐมกะ ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ๑ (๘ + ๓ = ๒๔) ก็ปรากฏในเส้นผมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น จึงปรากฏเป็นรูป ๔๔ - ๔๔ ในโกฏฐาส ๔ ซึ่งมีสมุฏฐาน ๔ ด้วยอาการดังกล่าวนี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสังเกตนะครับ ในการเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน นั้น ต้องออกจากฌาน มาพิจารณา นามรูป โดยอาศัย ขณิกสมาธิ

ซึ่ง แนวทางการทำสมาธิ ของครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ไม่ได้ อธิบายถึงรายละเอียดในขั้นตอนของการ ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา

ทำให้ ผู้ปฏิบัติสมาธิส่วนมาก เข้าใจว่า การเจริญสมาธิ กับ วิปัสสนาคือสิ่งเดียวกัน

เข้าใจว่า รูปฌาน อรูปฌาน คือ วิปัสสนาญาณ

จนเข้าใจว่า ฌานขั้นสูง คือ พระนิพพาน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป และ ปรมัตถธรรม โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 61&start=0

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา (อาจารย์แนบ มหานีรานนท์)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... cac77b0e03

---------------------------------------------------------------------
จากการบรรยายของ พระมหาประกอบ ปภงฺกโร สำนักวิปัสสนาขามสะแกแสง นครราชสีมา

หลักของสมถะและวิปัสสนา

หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย
หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ
หลักของวิปัสสนา ต้องการให้ ปัญญา รู้เหตุผลตามความจริงและสภาวธรรม ไม่ใช่ต้องการให้นิ่ง หรือ สงบ หรือ สุขสบาย แต่ต้องการให้ความจริงของธรรมชาติ ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์เท่านั้น
หลักของปัญญาในทางที่ถูกต้องนั้น ยิ่งเพ่งยิ่งรู้ ยิ่งเพ่งอารมณ์ที่เป็นความจริงได้มากเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งรู้เหตุผลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งเกิดความเห็นถูกมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความสงสัยและความเห็นผิด ก็จะยิ่งหมดไปเท่านั้น กิเลส คือ ความเห็นผิดและความสงสัย ถูกละไปหมดเท่าใด จิตใจก็จะบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสมากขึ้นเท่านั้น
ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นชื่อของปัญญา ที่รู้ความจริง แล้วละกิเลสให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นี่คือหลักการของ วิปัสสนา

สมถะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาอย่างไร ?

สมถภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์ มิใช่เป็นทางปฏิบัติเพื่อพ้นความทุกข์โดยตรง ทั้งยังไม่เป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ๔ ประการ เช่น การปฏิบัติของท่านอาฬารดาบส กาลมโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ที่สำเร็จอรูปฌาน ถึงอากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเคยสอนการทำฌานแก่พระพุทธเจ้ามาก่อน ก็ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะสมถะไม่อาจหยั่งสู่สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง และไม่อาจทำลายความเห็นผิดที่คิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เป็นเราได้
เมื่อไม่รู้ว่า รูปนาม ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีอยู่ที่ รูปนาม แต่พระพุทธองค์ประสงค์จะอนุเคราะห์แก่บรรดาฌานลาภีบุคคล ที่เคยเจริญสมถภาวนามาจนสำเร็จฌานชำนิชำนาญแล้ว ก็ให้ยกองค์ฌานคือ สภาวะของ นามธรรม มีวิตก วิจาร ปิติ สุข (เวทนา) เอกัคคตา (สมาธิ) ขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยต้องออกจากฌานเสียก่อน และมีความชำนิชำนาญในวสี ๕ ประการด้วย นามธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ มีสภาพธรรมที่เป็นความจริง จึงจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ปรากฏได้
อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌานหรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาจึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาไว้ โดยหมายถึงการได้ฌานแล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมื่อเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า สมถยานิกกะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ว วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ใดเมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า วิปัสสนายานิกกะ
แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

ความแตกต่างระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา

๑. โดยปรารภผล
สมถะ เพ่ง เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง

๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมากเพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา ต้องมีรูปนาม เป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด – ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง

๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา มีปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๔. โดยการละกิเลส
สมถะ ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส

๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน

๕. โดยอานิสงส์
สมถะ ให้อยู่เป็นสุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ข้อสังเกตนะครับ ในการเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน นั้น ต้องออกจากฌาน มาพิจารณา นามรูป โดยอาศัย ขณิกสมาธิ

ซึ่ง แนวทางการทำสมาธิ ของครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ไม่ได้ อธิบายถึงรายละเอียดในขั้นตอนของการ ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา

ทำให้ ผู้ปฏิบัติสมาธิส่วนมาก เข้าใจว่า การเจริญสมาธิ กับ วิปัสสนาคือสิ่งเดียวกัน

เข้าใจว่า รูปฌาน อรูปฌาน คือ วิปัสสนาญาณ

จนเข้าใจว่า ฌานขั้นสูง คือ พระนิพพาน



สวัสดีค่ะคุณเฉลิมศักดิ์ :b8:

ไม่ได้เจอกันนานเลยนะคะ :b1:

คุณยังคงเข้าใจผิดเหมือนเดิมเลยนะคะเกี่ยวกับเรื่องฌาน ไปนำมาจากไหนคะ หรือวิเคราะห์เอาเอง จากตรงนี้คะที่คุณโพสมา

ข้อสังเกตนะครับ ในการเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน นั้น ต้องออกจากฌาน มาพิจารณา นามรูป โดยอาศัย ขณิกสมาธิ


เรื่อง ฌาน ยังมีความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนกันเยอะ ถ้าพูดแล้วยาวมากๆเลยค่ะ เอาเป็นว่าขอพูดแค่ตรงที่คุณเข้าใจคลาดเคลื่อนผิดไปนะคะ เอาตรงนี้ก่อนละกัน

คำว่า เจริญวิปัสสนา คุณเข้าใจว่าอย่างไรคะ

มันมี 2 แบบนะคะ
1.วิปัสสนา เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
2.วิปัสสนาญาณ รู้แจ้งแทงตลอด

เห็นไหมคะ .. แค่ 2 ข้อนี้ เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่เกิดขึ้นก็แตกต่างกัน สมาธิที่เป็นบาทให้เกิดสภาวะนั้นๆก็แตกต่างกัน การที่เราเอาตำรามาน้อมเอาคิดเอาเองว่าจะต้องอย่างโน้นอย่างนี้ มันเลยสร้างวาทะกรรมไม่รู้จบ ต้องปฏิบัติจนผ่านสภาวะนั้นๆแล้วถึงจะเข้าใจค่ะ

ตกลงแล้วคุณหมายถึงตัวไหนคะ เพราะส่วนมากผู้ที่รู้ปริยัติ แต่การปฏิบัติยังไปไม่ถึงสภาวะนั้นๆ เลยค่อนข้างจะยึดมั่นในตัวหนังสือ ทำให้เกิดข้อถกเถียงไม่รู้จบ บางทีไปกล่าวละเมิดครูบาฯท่านอีก กลายเป็นว่าสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นโดยเจตนารู้เท่าไม่ถึงการณ์อีก ทำให้กิดเป็นปัญหาสำหรับตัวผู้ปฏิบัติเอง เพราะผู้นั้นจะปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเลย จะติดขัดตลอดเวลา :b12:

ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนสนทนาธรรมกันนะคะ ขอเป็นสนทนาไปทีละขั้นนะคะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

สวัสดีครับ คุณวลัยพร ผมนำมาจาก อรรถกถา ในเรื่อง การเจริญอานาปานสติ ครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 493&Z=7552

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

-----------------------------
อรรถกถา

สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือ ตั้งจิต
ไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่า เมื่อ
เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน
โดยความสิ้น ความเสื่อม ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)
ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้
ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมี
อารมณ์เดียวชั่วขณะ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.





สวัสดีครับ คุณวลัยพร ผมนำมาจาก อรรถกถา ในเรื่อง การเจริญอานาปานสติ ในคำตอบที่สองครับ

รวมทั้ง อรรถกถา ที่อธิบายถึงวิธีการเจริญวิปัสสนา ในคำตอบที่ ๑ ครับ

เมื่อก่อนก็เข้าใจแบบคุณวลัยพร ที่ว่า การจะเจริญ(ปฏิบัติ)วิปัสสนา นั้น ต้องอาศัยฌานจากสมาธิขั้นสูงเท่านั้น และต้องอยู่ในฌานหรือ อัปปนาสมาธิ เท่านั้น จึงจะเจริญ(ปฎิบัติ) วิปัสสนาได้

เมื่อพูดถึงเรื่อง ฌาน ชาวพุทธส่วนใหญ่ ก็จะนึกถึง การนั่งสมาธิจนอัปปนาสมาธิขั้นต่าง ๆ เท่านั้น

จนมีการกล่าวอ้าง พระพุทธพจน์


อนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ให้ยืนยงคงอยู่คู่อริยมรรคกันเถิด โดยคุณตรงประเด็น

พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”



ซึ่งมีครูบาอาจารย์หลายท่าน รวมทั้งคุณตรงประเด็น ที่ยึดถือว่า คือ รูปฌาน อรูปฌาน จาก อัปปนาสมาธิเท่านั้น และยึดมั่นนี้คือ สัมมาสมาธิ

และปฏิเสธ ขณิกสมาธิ ว่าไม่สามารถนำไปปฏิบัติ(เจริญ) วิปัสสนา ให้เกิด วิปัสสนาญาณ จนบรรลุมรรคผลได้

( ในลานธรรมเสวนา คุณตรงประเด็น เปรียบ ขณิกสมาธิ กับแม่ค้าขายกล้วยแขก ที่เป็นของพื้น ๆ )


---------------------------------------------------------



21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ


อ้างคำพูด:
ความแตกต่างกันระหว่างฌานทั้ง ๒
viewtopic.php?f=2&t=21062

กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์

กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน ๕ + อรูปฌาน ๔ ) ส่วนลักขณูปนิชฌาน ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุศลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม





แต่ในเมื่อ ศึกษาในเรื่อง ฌานให้ละเอียด จึงพบว่า ฌาน ที่ประกอบด้วยปัญญา ที่จะนำสู่พระนิพพาน คือ ลักขณูปนิชฌาน

แต่ ผมเข้าใจว่า คุณวลัยพร คงยึดติด กับในรูปแบบ ของ อารัมมณูปนิชฌาน เท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณ เฉลิมศักดิ์ :b8:

คุณนี่ ... ชอบคาดเดาเอาเอง .. อยู่พอดีเลย :b1:

สะดวกไหมคะ .. ต้องรีบไปไหม .. พอดีตอนนี้ว่าง .. พอจะคุยกันได้ ..

คุณถามได้ค่ะ อย่าคาดเอาเอง มันไม่ใช่แบบที่คุณคิด

ความคิดเห็นของคุณตรงประเด็น อันนั้นก็ส่วนของคุณตรงประเด็น อย่าเอาความคิดเห็นของคนอื่นไปปนเลยค่ะ ดิฉันไม่ใช่คนประเภทเอาจากตำรามาพูดแล้วมานั่งคาดเดาสภาวะเอาเองนะคะ ว่าจะต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันไม่ใช่เลยค่ะ :b12:

ต้องปฏิบัติผ่านสภาวะนั้นๆแล้ว เมื่อมาอ่านถึงจะเข้าใจในสภาวะนั้นๆค่ะ :b20:

อ้าว .. ไปซะละ ... :b9:

งั้นเดี๋ยวจะเขียนไว้ให้ตรงที่คุณคาดเดาเอานะคะ สนทนากันได้ค่ะ :b20:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะส่วนมากผู้ที่รู้ปริยัติ แต่การปฏิบัติยังไปไม่ถึงสภาวะนั้นๆ เลยค่อนข้างจะยึดมั่นในตัวหนังสือ ทำให้เกิดข้อถกเถียงไม่รู้จบ บางทีไปกล่าวละเมิดครูบาฯท่านอีก กลายเป็นว่าสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นโดยเจตนารู้เท่าไม่ถึงการณ์อีก ทำให้กิดเป็นปัญหาสำหรับตัวผู้ปฏิบัติเอง เพราะผู้นั้นจะปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเลย จะติดขัดตลอดเวลา

ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนสนทนาธรรมกันนะคะ ขอเป็นสนทนาไปทีละขั้นนะคะ


คุณวลัยพรครับ คันถธุระ หรือ ปริยัติ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญของนักปฏิบัตินะครับ เหมือนต้องรู้แผนที่ก่อนเดินทาง ไม่งั้นก็เดินหลงทางครับ

มีนักปฏิบัติท่านหนึ่ง ที่ผมนับถือมาก ๆ ท่านเป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ต้องมีเหตุผล คลายสงสัยก่อน ท่านจึงลงมือปฏิบัติ

ท่านผู้นั้นคือ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ครับ

คุณวลัยพร ลองศึกษาปฏิปทาของท่านดูครับ

ประวัติการปฏิบัติธรรม
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... -07-01.htm


จิตวสุทธิ (สมาธิวิสุทธิ ) โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm

ศีล กำจัด กิเลสอย่างหยาบ

สมาธิ กำจัด กิเลสอย่างกลาง

ปัญญา กำจัด กิเลสอย่างละเอียด

ท่านแสดงไว้ 3 ขั้นอย่างนี้ ถ้าหากว่าสมาธิสามารถทำให้หมดจดจากกิเลสได้ โดยไม่ต้องอาศัยปัญญาคือ วิปัสสนาปัญญา แล้ว ท่านฤาษีชีพราหมณ์เมื่อครั้งก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ ซึ่งท่านเหล่านี้ก็มีสมาธิแข็งแกร่งมากที่สุด จนกระทั่งสามารถจะเป็นบาทของอภิญญาได้ ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้

ถึงแม้สมาธิที่พระพุทธเจ้าจะทรงทำตามลำดับของฌานก็ไม่ยิ่งไปกว่าของเขา ไม่เกินเขา เพราะของเขานั่นน่ะ เป็นที่สุดแล้ว สมาธิในโลกไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าที่สุดถึงเช่นนั้นแล้ว ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้

พระพุทธองค์ยังได้ ตรัสถึงดาบสทั้งสองท่าน ที่ได้ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นสูงว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ ถ้าหากว่าสมาธิอันนั้น เป็นประโยชน์แก่ปัญญา ทำสมาธิให้มาก ๆ ปัญญาต้องเกิดขึ้นเอง พวกทำสมาธิก็ต้องเกิดปัญญาแล้ว และพระพุทธเจ้าก็คงจะไม่ตรัสว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ เลย

มรรคผลนั้นจะบรรลุได้ ต้องด้วย ปัญญา

ไม่ใช่ด้วย สมาธิ อย่างแน่นอน

การเจริญวิปัสสนาของท่านผู้ที่ได้ฌาน เมื่อทำฌานได้แล้ว จะทำอย่างไรเล่า จึงจะทำลายวิปลาสในสมาธิออกเสียได้ เพราะตามธรรมดาผู้ที่ได้ฌานแล้วนั้น ย่อมเป็นสุข และ ย่อมเพลิดเพลินในสุขนั้น

ก็มีอีกนัยหนึ่ง ซึ่งเป็นนัยของวิปัสสนาที่เกิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้บอกทางแนะนำให้ โดยมีพราหมณ์ ถามว่า เมื่อเข้า รูปฌาน หรือ อรูปฌาน แล้ว พระองค์จะทรงแนะนำอะไรกับเขาบ้าง

ก็มีอยู่ทางเดียว อย่างเช่น ปฐมฌาน ก็มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 5 องค์

สุขนี้นั้นเกิดจากอะไร

เกิดจาก ปีติ ปีติเป็นเหตุ

ปีติ นั้นเกิดจาก สมาธิ

ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขนั้น เพราะ “ ปีติ “ เป็นองค์สำคัญ เวลายกขึ้นสู่ “ วิปัสสนา “ ท่านจึงเอา “ ปีติ “ ซึ่งเป็นองค์ของ “ ฌาน “ นั้นแหละขึ้นสู่วิปัสสนา

ปีติ นี้เป็น นามธรรม อาศัยเกิดที่ หทัยวัตถุ ไม่ใช่เกิดจาก ตา หู หรือ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ ไม่ใช่อย่างนั้น

“ ปีติ “ นี้เกิดจาก “ หทัยวัตถุ “ ซึ่งเป็นรูป

พิจารณาอย่างนี้แล้ว ท่านก็เพ่งปีติ

ตามธรรมดาการทำฌาน ไม่ได้เพ่ง “ นามรูป “ แต่เพ่ง “ กสิณ “ มีเพ่ง น้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นต้น

แล้วแต่ตัวกรรมฐานที่จะให้ได้ในฌานนั่น อารมณ์ของปีติ หรือ อารมณ์ของฌานในปีตินั้น มีอารมณ์กรรมฐานที่ตนเพ่งมาก่อนเป็นนิมิต หรือ เป็น ปฏิภาคนิมิต หรือ อุคคหนิมิต จากอารมณ์นั้นแล้วจึงได้เข้าถึงฌานในฌานนั้นก็มีอารมณ์อยู่อย่างนั้น

แต่เวลาที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนานั้น ไม่ได้เพ่งอารมณ์กรรมฐานมีกสิณ เป็นต้น อารมณ์เหล่านั้นเป็น บัญญัติธรรม ไม่มีสภาวะที่จะให้เห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้

เพราะฉะนั้นจะยกขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาไม่ได้ ท่านก็ยกเอาปีติ เพราะเป็น นามธรรม เป็นนามขันธ์ เป็น สังขารขันธ์ มีสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงยกเอาปีติขึ้นเพ่ง

ธรรมชาติของปีตินั้น จะเพ่ง หรือ ไม่เพ่ง ก็มีการ เกิด – ดับ และจิตเป็นสมาธิ ก็มีการเกิด – ดับ เมื่อปีติที่อาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ปีติก็เกิด – ดับอยู่เป็นธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ว่าเกิด – ดับ ติดต่อรวดเร็วมาก จนกระทั่งไม่สามารถจะเข้าไปรู้ว่า เขาไม่เที่ยง หรือ เขาเกิด – ดับได้ และก็ไม่ได้ดูด้วย

เพราะว่าผู้ได้ “ ปฐมฌาน “ ก็เพ่งโดยต้องการที่จะได้ “ ทุติยฌาน “ “ ตติยฌาน “ ตลอดไปจนกระทั่งถึง “ อรูปฌาน “ จิตก็ไปมุ่งอย่างนี้ หาได้ยกเอาองค์ปีตินั้นขึ้นพิจารณาไม่

ที่นี้ถึงเวลาที่จะทำวิปัสสนาตามนัยของวิปัสสนาแล้วท่านก็ให้ยกเอาปีติขึ้นดู คือให้เปลี่ยนอารมณ์จากกรรมฐานโดยกลับมายกปีติเพ่ง และผู้ได้ฌานท่านมีจิตละเอียดแล้ว ปัญญาก็ละเอียด

ถ้าจิตไม่ละเอียดปัญญาไม่ละเอียดแล้ว ก็ไม่สามารถจะทำฌานได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้ที่ทำฌานได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาละเอียดสุขุม

ทีนี้เมื่อยกปีติขึ้นเพ่ง ปีติที่แสดงความเกิดดับนั้น ก็ทนต่อการพิสูจน์ ก็ต้องแสดงความเกิดขึ้น และความดับไปให้ผู้เพ่งเห็น

เมื่อเห็นว่าปีติมีการไม่เที่ยง หรือเป็นทุกข์ หรือเป็น อนัตตา อย่างนี้แล้ว จิตก็ยกขึ้นสู่วิปัสสนา ด้วยอำนาจของการเพ่งปีตินั่นเอง ก็ดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาได้ เมื่อเห็นว่า ปีติ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วนั่นเอง ก็จะถ่ายถอนความยินดี ความเพลิดเพลินในฌานนั้น

วิปลาสก็จะจับในอารมณ์นั้นไม่ได้เลย

สุขวิปลาสก็จับไม่ได้ เพราะว่ามีทุกขลักษณะอยู่

นิจจวิปลาสก็จับไม่ได้ เพราะเห็นอยู่ว่าไม่เที่ยง

อัตตวิปลาสก็จับไม่ได้ เพราะปีตินั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่หญิงชายอยู่ในอำนาจของใคร ไม่ใช่ใครทำให้อยู่ในอำนาจได้ เพราะเขาเป็น อนัตตา อยู่ในตัวนั่นเอง

ฉะนั้นเมื่อเห็นอย่างนี้ จึงจะไถ่ถอนความเพลิดเพลินในฌาน หรือในสมาธินั้นได้ ฌาน นั้นจึงเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

เพราะว่าเป็นฌานที่เพ่งลักษณะ คือเพ่งลักษณะอันใด อันหนึ่งในลักษณะทั้ง 3 นั้น ถ้าฌานใดที่ไม่เพ่งลักษณะ หรือ ไม่มีลักษณะเพ่ง เพราะไม่ได้อาศัยอารมณ์ที่เป็นนามรูป ที่เป็นบาทของวิปัสสนาแล้ว

ฌาน นั้นเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน เพราะเป็นฌานที่เพ่งกสิณ

สำหรับ ลักขณูปนิชฌาน นั้น กิเลสอาศัยไม่ได้ กิเลสจับไม่ได้ วิปลาสก็จับไม่ได้ จิตที่เป็นสมาธิอย่างนั้นเรียกว่า จิตตวิสุทธิ

ข้อนี้ขอให้ท่านพึงสังเกต ที่ดิฉันยกเอา “ ปีติ “ ขึ้นมานี้ หมายถึงว่าแล้วแต่ฌานอะไร

เพราะ ปฐมฌาน และ ทุติยฌาน “ ปีติ “ ย่อมมีกำลัง ก็ยกปีติขึ้น ถ้าเป็น ตติยฌาน หรือ จตุตถฌาน ปัญจมฌาน นั้นปีติอ่อน องค์ฌานละวิตก วิจาร ละปีติไปแล้ว ฌานนั้นก็ไม่ต้องยกปีติขึ้น

ยก เวทนา คือ สุขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา ขึ้นเป็นประธานในที่นั้น แต่ว่าอารมณ์ละเอียดสูงมาก

ถ้าสมาธิใดที่ผู้ทำนั้นเพ่งลักษณะ สมาธินั้นก็ถือว่าเป็นบาทของวิปัสสนา ก็เรียกสมาธินั้นว่า “ จิตตวิสุทธิ “ ได้ กรรมฐานที่จะให้เกิดวิปัสสนาได้นั้นอยู่ที่อะไร…?

โปรดเข้าใจคำว่า “ สมาธิ “ และ “ วิปัสสนา “ ด้วยว่าจะแยกกันที่ตรงไหน แยกกันที่ “ อารมณ์ “ เท่านั้น

ถ้าท่านเข้าใจอย่างนั้นแล้ว ท่านจะไปทำวิปัสสนาที่ไหน โดยท่านถามเขาถึงอารมณ์เท่านั้นแหละว่า “ ที่สำนักนี้เขาใช้อะไรเป็นกรรมฐาน “ เมื่อเขาบอกแล้วเราก็จะตัดสินใจได้ทันทีว่า กรรมฐาน อันนี้เป็นวิปัสสนาหรือไม่ใช่

เหมือนเช่นไปถามเขาว่า “ ท่านกินอะไรจึงจะได้รสหวาน “ ถ้าเขาบอกว่า “ กินน้ำตาล “ เราก็รู้ได้ว่าถูกต้อง ถ้าเขาบอกว่า กินเกลือ หรือ กินมะนาว อย่างนี้ เราก็รู้ได้ทันทีว่าไม่ถูกต้อง

เพราะฉะนั้นการทำกรรมฐานก็เหมือนกัน กรรมฐานอันใดที่จะสามารถให้เกิดวิปัสสนาได้หรือไม่นั้นอยู่ที่อารมณ์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณวลัยพรครับ คันถธุระ หรือ ปริยัติ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญของนักปฏิบัตินะครับ เหมือนต้องรู้แผนที่ก่อนเดินทาง ไม่งั้นก็เดินหลงทางครับ

ไม่ได้พูดเล๊ย .. ว่าปริยัติไม่สำคัญ .. ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ... ปริยัติไม่จำเป็นต้องลอกจากตำรา สิ่งที่ครูบาฯทั้งหลายนำมาสอนลูกศิษย์ นี่ก็คือ ปริยัติ เพียงแต่ตำราน่ะ เราสามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ค่ะ :b12:

มีนักปฏิบัติท่านหนึ่ง ที่ผมนับถือมาก ๆ ท่านเป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ต้องมีเหตุผล คลายสงสัยก่อน ท่านจึงลงมือปฏิบัติ


งั้นหรือคะ .. อย่าลืมว่าบัวยังมีสี่เหล่า .. กุศลแต่คนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากันนะคะ :b1:


คุณวลัยพรครับ คันถธุระ หรือ ปริยัติ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญของนักปฏิบัตินะครับ เหมือนต้องรู้แผนที่ก่อนเดินทาง ไม่งั้นก็เดินหลงทางครับ

มันไม่ใช่ 100% ไม่ใช่หรือคะ ปริยัติ ถ้านำมาใช้ไม่ถูกจังหวะ ไม่ถูกช่วงเวลาก็เป็นพิษต่อผู้นั้นได้นะคะ :b5:


คุณนี่นักอ่านจริงๆเลยนะคะ เป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่จะให้ดี น่าจะทำให้เห็นผลด้วยตัวเองด้วยนะคะ แล้วปริยัติที่คุณนำมาเอ่ยอ้างจะกลายเป็นตำราศักดิ์สิทธิ์ทันทีเลยค่ะ อันนี้พูดจริงนะ ไม่ใช่การประชดประชัน :b1:


มีนักปฏิบัติท่านหนึ่ง ที่ผมนับถือมาก ๆ ท่านเป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ต้องมีเหตุผล คลายสงสัยก่อน ท่านจึงลงมือปฏิบัติ

แล้วเคยเจอไหมคะ พวกไม่ขี้สงสัยน่ะค่ะ ยังมีอยู่นะคะไม่ใช่ไม่มี


เรื่องอาจารย์แนบก็ส่วนอาจารย์แนบ การยึดมั่นถือมั่นในครูบาฯที่ตัวเองศรัทธาและเคารพ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ดิฉันเองก็เคยยึดมั่นถือมั่นหลวงพ่อจรัญแบบประมาณว่า ใครอย่าแตะ .. แต่เดี๋ยวนี้วางหมดค่ะ ตอนนี้ยกท่านไว้เหนือศรีษะ ไม่นำท่านลงมาให้วุ่นวายหรอกค่ะ :b1:


เดี่ยวมานะคะ ขอตัวให้อาหารน้องมะเหมียวกับน้องกระต่ายก่อนค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นขออนุโมทนาในความเพียรที่คุณมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเผยแผ่ความรู้ด้านปริยัติ :b8:

เพียงจะบอกว่า เดินทางสายกลางดีกว่าค่ะ อะไรตึงไปนักก็จะก่อให้เกิดแต่ปัญหาในการสร้างวาทะกรรมให้เกิดขึ้น :b8:


เสียดาย .. การตัดๆ เอาข้อความมาแปะๆ นี่ ทำไม่เป็น .. ก็ขอก๊อปข้อความที่คุณนำมาโพส แล้วตอบละกันนะคะ :b5:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

คุณเข้าใจคำว่าวิจัยไหมคะ คือ ผู้นั้นอาจจะปฏิบัติ เมื่อเห็นผลแล้ว จึงนำมาเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ แต่บางคนเพียงศึกษาตำรา แล้วมาวิเคราะห์หาเหตุและผลกันเอาเอง แล้วนำมาสรุปข้อมูลออกมา

เอ่อ... จะบอกว่า ตาลายค่ะกับตัวหนังสือ :b20:

เดี๋ยวจะค่อยไล่ลงมาทีละข้อความค่ะ มีเวลาอีกนิดนึง :b6:



๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และอัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ ที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว


อันนี้ก็ไม่จริงค่ะ อานาปนสติก็สามารถทำให้เกิดฌานสมาบัติได้

๘. การทำสมถะเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไปเป็นชั่วโมงหรือ ๒ ชั่วโมงก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น

นี่ก็ไม่จริงค่ะ ถ้าเจาะจงสมาธิระดับอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ อริยาบทนอนก็ทำได้ แล้วอย่าลืมว่า ขณิกสมาธิก็จัดว่าเป็นสมถะ ฉะนั้น สามารถทำได้ทุกอริยาบทค่ะ


จากข้อความ ข้อ ๖ นั้น คำว่า สมถะ คือ ผลของการทำสมาธิ ทำแล้ว จิตสงบ ถูกไหมคะ ผลของการทำสมาธิ ไม่ได้มีแค่ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิเท่านั้น ขณิกสมาธิ ก็จัดว่าเป็นสมถะค่ะ ส่วนการที่กล่าวอ้างว่า ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ อันนี้ข้อแย้งว่าไม่จริงค่ะว่าจะเป็นแค่ขณิกสมาธิเท่านั้น จริงอยู่ ถ้าเป็นสมาธิอุปจารสมาธินี่ก็เกิดนิมิต สมาธิอัปปนาสมาธิก็ดับอย่างเดียว ขาดการรับรู้ .. [color=#0000FF]แต่ อย่าลืมว่า นิมิตนั้น เราสามารถพลิกมาเป็นวิปัสสนาได้ โดยการดู แต่ไม่เอาใจเข้าไปข้องในสภาวะนั้น คือ ไปชอบหรือไปชัง เพียงเมื่อเห็นว่า นิมิตนั้นไม่เที่ยง นิมิตนั้นก็ดับไป นี่คือ วิปัสสนานั่นเอง[/color]


ส่วนที่เหลือทั้งหมด เดี๋ยวจะมาเพิ่มเติมนะคะ ตรงไหนที่คุณคิดว่ามีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน แสดงความคิดเห็นได้เต้มที่เลยค่ะ ไม่ต้องเกรงใจ ขอตัวไปทำงานก่อนค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอย้อนกลับไปตอนแรกเลยนะคะ

แนวที่ ๑ เรียกว่า “ สมถยานิก “ คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ การเจริญวิปัสสนาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ สมถยานิกะ “ ถ้าสำเร็จมรรค – ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า “ เจโตวิมุติ “ อาจจะมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือผู้ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น


มันไม่แน่เสมอไปค่ะ ที่จะต้องทำแบบที่กล่าวมา จริงๆแล้ว การเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ( ฌาน ) มีแต่ความดับ ไม่สามารถจะยกอะไรมาพิจรณาได้เลย ยกเว้นสมาธิคลายตัวออกมาแล้วเท่านั้น ถึงจะมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้น แต่ส่วนมาก ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกตัวเมื่อสมาธิคลายหมดแล้ว ไม่ก็ต้องอาศัยให้ผู้อื่นสะกิด ถึงจะรู้สึกตัว ...

บอกแล้ว เรื่องฌานน่ะ ไม่ใช่แค่ศึกษาจากตำรา แล้วนำมาวิเคราะห์เอาเอง ผู้ที่ไม่เคยผ่านสภาวะนี้ก็ได้แต่คาดเดากันไปต่างๆนาๆ ว่าจะต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้

บางคนมีกุศลเก่าติดตัวมา ได้จตุตถฌานติดตัวมาเลย ... แต่ยังไงก็แล้วแต่ เหตุเนื่องจากวิบากกรรม ส่วนมากก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่ทั้งนั้น เพียงแต่จะไปได้ไวกว่าผู้อื่นเท่านั้นเอง

ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างสิคะ ไม่ใช่จู่ๆพระองค์จะตรัสรู้ได้ทันที ก็ต้องมีชีวิตไม่แตกต่างจากเราๆท่านๆทั้งหลายหรอกค่ะ เพียงแต่ด้วยพระบารมีที่สร้างสั่งสมมาทุกภพทุกชาติเลยได้เกิดเป็นกษัตริย์

จากข้อความข้างบนที่นำมาอ้างเหมือนกัน เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ ใช่ซะที่ไหนล่ะเนี่ย .. กว่าจะหลุดจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ มันไปทีละฌานนะ ไม่ใช่ จากฌาน 1 ไปถึง ฌาน 4 ในขณะเดียวกัน อ่านเจอมาเยอะละนักวิจัย แต่สภาวะไปไม่ถึง

กราบขออโหสิกรรมมาณที่นี้ด้วยค่ะ พูดแบบกลางๆ ใจไม่เคยคิดหมิ่นครูบาฯแต่อย่างใด ทั้งสิ้น รักและเคารพในครูบาฯทุกๆท่าน

:b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เครียด .. อ่านแล้วรู้สึกเครียดมากๆกับบุคคลที่ชอบยกบทความของครูบาฯมาอ้าง แต่สภาวะของผู้ปฏิบัติยังไปไม่ถึง คุยกันชาตินี้ ยังไม่รู้เลยว่าจะสื่อกันเข้าใจไหม ไปพูดเรื่องฌาน ให้ คนที่ยังไม่ได้ฌานฟัง :b5:

เอาเป็นว่า บายดีกว่าค่ะ คิดแล้ว ได้กุศลไม่คุ้มกับการเสี่ยงอกุศล :b5:

เอาแนวปฏิบัติคุณมาสนทนาจะดีกว่า อย่ายกเอาของครูบาฯมาอ้างเลยค่ะ นรกจะกินหัวเอา ไม่เอาด้วยหรอกค่ะ แค่วิจารณ์ไปแค่นั้น ตัวเองก็รู้สึกหนาวๆร้อนๆละ ทั้งๆที่จิตไม่ได้คิดละเมิดครูบาฯเลยแม้แต่สักนิดเดียว เพียงพูดตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง :b8:

เอาเป็นว่า ถ้าคุณยังมีการยกบทความของครูบาฯมาเอ่ยอ้างอีก ไม่ขอสนทนาด้วยค่ะ ตัวเองต้องพยายามรักษาจิตไว้ให้ดี แค่คิดละเมิดครูบาฯ ไม่ว่าท่านใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ล้วนส่งผลต่อการปฏิบัติทั้งสิ้น :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัยด้วยที่ต้องให้คะแนนติดลบกับคุณ เพราะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของคุณ คุณกำลังทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การที่เราจะนำบทความใดๆของครูบาฯมาโพสนั้น ผู้ปฏิบัติควรผ่านสภาวะนั้นๆให้ได้ก่อน จึงจะเห็น หรือ รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ไม่ใช่อ่านแล้วคาดเดาเอาเอง

อันตรายมากๆ เป็นเหตุให้เกิดการสร้างกรรมต่อตัวผู้ปฏิบัติเอง และต่อตัวผู้อื่นที่มาแสดงความคิดเห็น

ขออโหสิกรรมจริงๆค่ะ หวังดีต่อคุณเฉลิมศักดิ์จริงๆ ไม่คิดร้ายแต่อย่างใด คุณควรจะพิจรณาตัวเองนะคะว่า ทุกวันนี้ ปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเพราะอะไร การศึกษาเป็นส่งที่ดีค่ะ แต่ที่ดีที่สุดคือต้องลงมือทำด้วย เพราะผลที่ได้นั้นตรงกับปริยัติทุกอย่าง ตัวผู้ปฏิบัติเองจะได้ถ่ายทอดข้อมูลนั้นได้ถูกต้องและสมบูรณ์ จะมีแต่กุศลและให้ได้ผลอนันต์ต่อตัวผู้ปฏิบัติเองและต่อผู้อื่นๆ

อย่าเพียรสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปค่ะ เสียดายในส่วนดีที่คุณมีอยู่ พูดจากใจจริงเลยค่ะ

:b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10073

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10078

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10082

๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และอัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ ที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว



อ้างคำพูด:
อันนี้ก็ไม่จริงค่ะ อานาปนสติก็สามารถทำให้เกิดฌานสมาบัติได้


คุณวลัยพรครับ อาจจะเข้าใจผิดนะครับ ท่านพระครูศรีโชติญาณ ท่านก็สรุปว่า อานาปนสติ หรือ การกำหนดลมหายใจ ด้วยประตูใจ นั้น เป็นการทำสมถะ เพื่อให้เกิด ฌานสมาบัติได้

แต่การปฏิบัติวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ด้วยการโยนิโสมนสิการ อารมณ์ตามทวารต่าง ๆ ได้ทั้ง ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ )


คุณวลัยพร ครับ ลองศึกษา องค์ธรรมจาก สติปัฏฐาน ที่ ผู้ทรงพระไตรปิฏก และ เชี่ยวชาญในการปฏิบัติวิปัสสนา ได้สรุปไว้ดังนี้

หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป และ ปรมัตถธรรม โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 61&start=0


สติปัฏฐาน ๔ นี้ มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อิริยาบถ, สัมปชัญญะและจตุธาตุมนสิการ เป็นวิปัสสนา
ส่วนอานาปานปัพพะ, ปฏิกูลปัพพะ และอสุภ ๙ ปัพพะ ต้องเจริญสมถะก่อน แล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง

สำหรับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ

สงเคราะห์สติปัฏฐาน ๔ ลงในขันธ์ ๕ หรือรูปนาม ได้ดังนี้

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ เวทนา เป็น นามธรรม
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรม
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ ขันธ์ ๕ เป็น รูปกับนาม

สรุปอารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ ก็ได้แก่ รูปธรรม กับ นามธรรม

-------------------------------------------------------


คุณวลัยพรครับ การสรุปของอาจารย์แนบ อาจจะขัดแย้งกับความรู้สึกส่วนตัว ผมก็เป็นครับเมื่อก่อน เพราะเข้าใจว่า ขณะทำสมาธิ ด้วยการกำหนดลมหายใจ พร้อมคำบริกรรมต่าง ๆ เช่น ยุบหนอ พองหนอ นั้นคือการปฏิบัติวิปัสสนา

แต่เมื่อได้มาศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา ประกอบ จึงได้เข้าใจว่า สิ่งที่อาจารย์แนบ แสดงไว้ไม่ขัดแย้งต่อ พระไตรปิฏก อรรถกถา แต่อย่างใด


ดังที่คุณวลัยพร สงสัยเช่นกัน

อ้างคำพูด:
คุณยังคงเข้าใจผิดเหมือนเดิมเลยนะคะเกี่ยวกับเรื่องฌาน ไปนำมาจากไหนคะ หรือวิเคราะห์เอาเอง จากตรงนี้คะที่คุณโพสมา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร