วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 16:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=2&t=21049

อ้างคำพูด:
เครียด .. อ่านแล้วรู้สึกเครียดมากๆกับบุคคลที่ชอบยกบทความของครูบาฯมาอ้าง แต่สภาวะของผู้ปฏิบัติยังไปไม่ถึง คุยกันชาตินี้ ยังไม่รู้เลยว่าจะสื่อกันเข้าใจไหม ไปพูดเรื่องฌาน ให้ คนที่ยังไม่ได้ฌานฟัง

เอาเป็นว่า บายดีกว่าค่ะ คิดแล้ว ได้กุศลไม่คุ้มกับการเสี่ยงอกุศล

เอาแนวปฏิบัติคุณมาสนทนาจะดีกว่า อย่ายกเอาของครูบาฯมาอ้างเลยค่ะ นรกจะกินหัวเอา ไม่เอาด้วยหรอกค่ะ แค่วิจารณ์ไปแค่นั้น ตัวเองก็รู้สึกหนาวๆร้อนๆละ ทั้งๆที่จิตไม่ได้คิดละเมิดครูบาฯเลยแม้แต่สักนิดเดียว เพียงพูดตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง


คุณวลัยพร ครับ คุณคงนั่งสมาธิแนวพองหนอ ยุบหนอ , ยุบหนอ พองหนอ ได้ฌานแล้วนะครับ

แล้วคุณ ออกจากอัปปนาสมาธิ มาเจริญวิปัสสนาอย่างไร

พระไตรปิฏก อรรถกถา แสดงไว้ถูกต้อง ตามอัตตโนมติอาจารย์คุณ หรือ ผลการปฏิบัติของคุณหรือไม่ ?

สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
31955.ประสพการณ์ การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน โดยคุณวลัยพร
viewtopic.php?f=2&t=31955&start=30

อ้างคำพูด:
walai says: พอรู้ว่าระลึกคือความรู้ตัว ก็สงสัยอีก ความรู้ตัวคืออะไร
แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่า รู้ตัว และ รู้ตัวกับรู้สึกตัวนี่แตกต่างกันยังไง

เห็นไหม รายละเอียดสภาวะของสติและสัมปชัญญะ ในสติปัฏฐานสูตร ถึงมีแยกหมวดไว้
เรื่องกายานุสติ กับ สัมปชัญญะบัพ ถ้ามันตัวเดียวกัน คงไม่แยกออกไว้แบบนั้น
แต่ที่เราถูกฝึกมา มองดูเหมือนว่า เมื่อมี สติ ก้ต้องมีสัมปชัญญะคู่กันอยู่แล้ว ของตาย

says: ไม่ใช่เลย บางทีก็รู้เท้าลอยๆแล้วคิดไปเรื่อยๆ สัมปัญชัญญะนี่เกิดยากเหมือนกันนะคะนี่

walai says: แนวพองหนอ ยุบหนอ เขาจึงเน้นเรื่องการกำหนดต้นจิตเพราะเหตุนี้
เพื่อสร้างกำลังของสติให้มีกำลังมากขึ้น และสร้างตัวสัมปชัญญะให้เกิดมีกำลังมากขึ้น
ไม่ใช่รู้บ้างไม่รู้บ้างหรือรู้แบบลอยๆ

ถ้าสัมปชัญญะเกิด จะรู้เท้าชัด
ถ้าเกิดทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ จะรู้ตัวทั่วพร้อมหรือรู้ชัดทั้งตัว คือ กายทั้งหมด

says: รอบสอง เสร็จแล้วค่ะ 40/10 ค่ะ
ก็รู้เท้า มีความอยากค่ะ มีตัวจ้องมองสภาวะ มีความไม่พอใจสภาวะกำหนดรู้หนอไปค่ะ
มีมดกัดค่ะ มีเจ็บๆ เย็นแปลบๆแสบๆ

พอมานั่งก็ ลอยบ้างรู้ท้องบ้างค่ะ หมดแล้วค่ะพี่

walai says: 10 นาที ยังลอยเลยนะเนี่ย

says: ใช่ค่ะ ยังรู้ท้องแผ่วๆด้วยค่ะไม่ชัด

walai says: ไม่เป็นไรค่ะ ค่อยๆทำไป ปรับเปลี่ยนไป
ถ้าคราวหน้าเดิน 40 นั่ง 10 นาที ยังมีลอยอีก ให้ลดนั่งเหลือ 5 นาที ค่ะ



นึกภาพออกเลยว่าแนวพองหนอ ยุบหนอ ของคุณวลัยพร ต้องกำหนดอิริยาบถไว้ล่วงหน้า มีท่าทางที่กำหนดไว้ในใจแล้ว ว่าต้องเดินกี่ step เวลาเท่าไหร นั่งกี่นาที ฯลฯ

ยิ่ง สร้างอิริยาบถ ให้ช้ามาก ๆ แล้วบริกรรมตามให้ได้ ๖ ระยะ ถือว่า เป็นสุดยอดของการกำหนดแล้วครับ แสดงว่าผู้นั้น เห็นการเกิดดับได้ ๖ ระยะ




ผมว่าการปฏิบัติแนวคุณวลัยพรก็คล้ายกับแนว วัดมหาธาตุ ต่างกันเพียงสมมุติเล็กน้อย เช่น

ยุบหนอ พองหนอ กับ พองหนอ ยุบหนอ

แค่สมมุติบัญญัติ เล็กน้อยเหล่านี้ ยังแตกต่างกัน แล้วรายละเอียดการปฏิบัติ ของอาจารย์แต่ละท่าน ยิ่งแตกต่างกันไปอีก เพราะอัตตโนมติของอาจารย์แต่ละท่านก็ต่างกันไป





อ่านแล้วอย่างฮามากมาย :b32:
การที่ไม่รู้ แล้วยอมรับว่าไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรเลย
นี่ไม่รู้ยังไม่พอ มีการคาดเดาอีก มีให้ค่าอีกว่า ต้องอย่างงั้นอย่างงี้




chalermsak เขียน:
นึกภาพออกเลยว่าแนวพองหนอ ยุบหนอ ของคุณวลัยพร ต้องกำหนดอิริยาบถไว้ล่วงหน้า มีท่าทางที่กำหนดไว้ในใจแล้ว ว่าต้องเดินกี่ step เวลาเท่าไหร นั่งกี่นาที ฯลฯ

ยิ่ง สร้างอิริยาบถ ให้ช้ามาก ๆ แล้วบริกรรมตามให้ได้ ๖ ระยะ ถือว่า เป็นสุดยอดของการกำหนดแล้วครับ แสดงว่าผู้นั้น เห็นการเกิดดับได้ ๖ ระยะ



มาอีกละ เกิด-ดับ รู้สึกจะชอบกันจริงๆ แต่กิเลสดันมองไม่เห็น
ต้องเดินกี่สเตป เอาจังหวะอะไรดีล่ะ สโลว์หรือลุมบ้าหรือจังหวะอื่นๆดีล่ะ :b32:

ถ้าไม่รู้จักเรื่องการฝึกกำหนดต้นจิตน่ะ อย่าไปพูด อายเขา
ที่เขียนไปน่ะ คือความชื่นชมในอุบายการใช้ฝึกกำหนดต้นจิตเพื่อเป็นเหตุให้
เกิดสติ สัมปชัญญะ ได้ต่อเนื่อง รู้จักไหมจ๊ะ ความชื่นชมน่ะ :b1:

แค่คำพูดว่า " เดินให้รู้เท้า " แค่นี้ยังไม่เข้าใจว่า เดินให้รู้เท้าเป็นยังไง
เดินแค่ให้รู้ว่าเดิน รู้เท้าที่เดินน่ะ รู้จักป่ะ? หรือต้องให้ขยายใจความให้ชัดเจนมากกว่านี้? :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

อ้างคำพูด:
เครียด .. อ่านแล้วรู้สึกเครียดมากๆกับบุคคลที่ชอบยกบทความของครูบาฯมาอ้าง แต่สภาวะของผู้ปฏิบัติยังไปไม่ถึง คุยกันชาตินี้ ยังไม่รู้เลยว่าจะสื่อกันเข้าใจไหม ไปพูดเรื่องฌาน ให้ คนที่ยังไม่ได้ฌานฟัง

เอาเป็นว่า บายดีกว่าค่ะ คิดแล้ว ได้กุศลไม่คุ้มกับการเสี่ยงอกุศล

เอาแนวปฏิบัติคุณมาสนทนาจะดีกว่า อย่ายกเอาของครูบาฯมาอ้างเลยค่ะ นรกจะกินหัวเอา ไม่เอาด้วยหรอกค่ะ แค่วิจารณ์ไปแค่นั้น ตัวเองก็รู้สึกหนาวๆร้อนๆละ ทั้งๆที่จิตไม่ได้คิดละเมิดครูบาฯเลยแม้แต่สักนิดเดียว เพียงพูดตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง


คุณวลัยพร ครับ คุณคงนั่งสมาธิแนวพองหนอ ยุบหนอ , ยุบหนอ พองหนอ ได้ฌานแล้วนะครับ

แล้วคุณ ออกจากอัปปนาสมาธิ มาเจริญวิปัสสนาอย่างไร



นี่ก็อีก อ่านแล้วอย่างฮา ขออภัยด้วยถ้าฮาตลอด เพราะรู้สึกแบบนั้นจริงๆ
คนทำฌานยังไม่ได้ แต่ดันมาวิเคราะห์สภาวะในเรื่องฌาน :b1:

ที่คำถามที่ถามๆไป ไม่ยักจะตอบมา
กลับมาชวนสนทนาในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้

เอาคำสอนต่างๆตัดแปะต่อไปตามสบายนะคะ
เพราะเหตุตรงนั้นอย่างน้อยก็ยังเป็นกุศล cool

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
[

มาอีกละ เกิด-ดับ รู้สึกจะชอบกันจริงๆ แต่กิเลสดันมองไม่เห็น


:b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 17 ก.ค. 2010, 07:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 22:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


นี่ก็อีก อ่านแล้วอย่างฮา ขออภัยด้วยถ้าฮาตลอด เพราะรู้สึกแบบนั้นจริงๆ
คนทำฌานยังไม่ได้ แต่ดันมาวิเคราะห์สภาวะในเรื่องฌาน :b1:

ที่คำถามที่ถามๆไป ไม่ยักจะตอบมา
กลับมาชวนสนทนาในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้

เอาคำสอนต่างๆตัดแปะต่อไปตามสบายนะคะ
เพราะเหตุตรงนั้นอย่างน้อยก็ยังเป็นกุศล cool


กบฯ..ฌาน..เฌิน..อะไร ๆ ก็ไม่รู้จัก :b7: :b7:

แต่..ขออนุญาต..ฮา :b12: :b12:

ฮา..แบบไม่รู้เรื่อง...นี้..สบายดีแท้ :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 17 ก.ค. 2010, 07:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำพระสูตร ที่ตรัสถึงบุคคล ๔ จำพวก

สมาธิสูตรที่ ๑
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปรกติได้ความสงบใจในภาย
ใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคนใน
โลกนี้ มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจ
ในภายในจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน
ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ มี
ปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำ
พวก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๕๒๕ - ๒๕๓๔. หน้าที่ ๑๐๙.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=92

อรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมาธิสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถสฺส ได้แก่ อัปปนาจิตตสมาธิในภายในของตน.
บทว่า อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนาย ความว่า วิปัสสนาญาณที่กำหนดสังขารเป็นอารมณ์.
ที่แท้วิปัสสนาญาณนั้นนับว่าเป็นอธิปัญญาและเป็นวิปัสสนาในธรรมทั้งหลาย กล่าวคือปัญจขันธ์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.

จบอรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------

สมาธิสูตรที่ ๒
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจใน
ภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคน
ในโลกนี้ มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบ
ใจในภายในจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน
ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้มี
ปรกติได้ความสงบใจในภายในทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน
แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงตั้งอยู่ในความสงบใจในภายใน
กระทำความเพียรในอธิปัญญา และความเห็นแจ้งในธรรม สมัยต่อมา เขาย่อม
เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งใน
ธรรม บุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบ
ใจในภายใน พึงตั้งอยู่ในอธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แล้วกระทำความ
เพียรในความสงบแห่งใจในภายใน สมัยต่อมา เขาย่อมเป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญา
และความเห็นแจ้งในธรรม ทั้งได้ความสงบใจในภายใน บุคคลไม่มีปรกติได้
ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงกระทำ
ฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและ
สัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลมีผ้านุ่งห่มถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำฉันทะ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและ
สัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ผ้าหรือที่ศีรษะ ฉันใด บุคคลนั้นก็
พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ
สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ ฉันนั้น
เหมือนกัน สมัยต่อมา เขาย่อมเป็นผู้มีปรกติ ได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้
อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้มีปรกติได้
ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงตั้งอยู่ใน
กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วกระทำความเพียรให้ยิ่ง เพื่อความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน
โลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๕๓๕ - ๒๕๖๕. หน้าที่ ๑๐๙ - ๑๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=93

อรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ ๓
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสมาธิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยโค กรณีโย ความว่า พึงทำความประกอบขวนขวาย.
บทว่า ฉนฺโท คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจใคร่จะทำ.
บทว่า วายาโม คือ ความเพียร.
บทว่า อุสฺสาโห คือ ความเพียรยิ่งกว่าวายามะนั้น.
บทว่า อุสฺโสฬฺหี ความว่า ความเพียรมาก เสมือนยกเกวียนที่ติดหล่ม.
บทว่า อปฺปฏิวานี ได้แก่ ไม่ถอยกลับ.

จบอรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ ๓
-----------------------------------------------------
อรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ ๔
พึงทราบวินิจฉัยในตติยสมาธิสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส สงฺขารา ทฏฺฐพฺพา เป็นต้น พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมดาว่าสังขารทั้งหลาย พึงพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง พึงกำหนดโดยความไม่เที่ยง พึงเห็นแจ้งโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาก็อย่างนั้นดังนี้.
แม้ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส จิตฺตํ สณฺฐเปตพฺพํ เป็นต้นพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงน้อมใจไปด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงให้เป็นสมาธิด้วยปฐมฌาน จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทุติยฌานเป็นต้น ก็อย่างนั้นดังนี้.
ในพระสูตร ๓ สูตรเหล่านี้ ตรัสสมถะและวิปัสสนาเป็นโลกิยะและโลกุตระอย่างเดียว.

จบอรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ ๔




ซึ่งผมเข้าใจว่า ผู้ได้ความสงบภายใน หมายถึง บุคคลที่ได้อัปปนาสมาธิ
ผู้ได้ อธิปัญญา หมายถึง บุคคลที่ได้วิปัสสนาญาณ
ความเห็นแจ้งในธรรม คือ ผู้ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์, วิมุตติ ,พระอริยะบุคคล

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าเหนื่อยอยู่นะถ้าปลาจะพยายามอธิบายให้นกฟังว่า ท้องฟ้านั้นไม่น่าอยู่ จงมาอยู่ในน้ำด้วยกันเถิด ขณะที่นกก็พยายามตอบโต้ว่า บนฟ้านี้สวยงามนักด้วยทิวทัศน์และมีลมเย็นสบาย ทำไมเราต้องไปอยู่ในน้ำที่เปียกแฉะกับท่าน นกจงโบยบินไปตามวิธีของนกเถิด ปลาก็อยู่ส่วนปลา มีความสุขในถิ่นที่และวิถีของตน
สงฆ์จะได้ไม่แตกแยก และวิถีทั้งสองพุทธองค์บัญญัติไว้ว่ามีจริงปฏิบัติสำเร็จได้จริง อย่างนี้จะต้องให้ใครมารับรองแทนพุทธองค์อีก ใครกล่าวผิดตีความผิดจะเป็นการกล่าวตู่ ยิ่งใครไปพูดถึงเรื่องฌาณเรื่องเจโตวิมุติ ว่าไม่ดี ว่าเสียหายมันเป็นดาบสองคม ไม่อยากพูดเลยคำนี้ กราบขอโทษครูบาอาจารย์สายปัญญาวิมุติทั้งหมด ถ้าคำพูดนี้ ต้องทำให้ทุกคนเสียใจ เสียกำลังใจ พระพุทธองค์ ทรงสำเร็จด้วยเจโตหรือปัญญาวิมุติ พระสาวกองค์ที่1และ2 คืออาลารดาบทกับอุทกดาบส ก่อนสำเร็จก็ได้ฌาณที่8แล้วทั้ง2รูป แม้แต่พระสารีบุตรผู้เป็นเลิศในทางปัญญา ก่อนบรรลุก็ผ่านองค์ฌาณตามลำดับขั้น พุทธองคยังทรงเอาเรื่องการบรรลุของพระสารีบุตร ไปเป็นตัวอย่างในการสอนภิกษุรุ่นหลังเป็นอันมาก
...กราบขอโทษอีกครั้งกับการตีความเข้าข้างตนเอง พระพุทธองค์ ตรงตรัสเรื่องนี้หรือไม่หนอว่า นักเรียนที่สอบได้ที่1และได้เลขตัวเดียวมีน้อย แต่นักเรียนที่สอบได้ที่เลข2ตัวจนกระทั่งนักเรียนที่สอบได้แบบเกือบตกมีมากกว่า แล้วจริงๆพระพุทธองค์สอบได้ที่เท่าไรกันหนอ/อย่ากล่าวตู่กันอีกเลย เจริญในธรรม/...เจโตวิมุติ...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร