วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 11:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 02:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[“Lotus in Snow” by jiraphon jumparphank; artgazine.com]


ป ฏิ ป ท า ข อ ง นั ก ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม
ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)

ดังที่ทราบแล้วว่า จิตสำนึกแท้ของเราเท่านั้น
เป็นจิตอันผุดผ่องแท้โดยธรรม

สำหรับกิเลสตัณหา อุปาทาน
เป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาแฝง เข้ามาสิง เข้ามาครอบงำจิตอยู่
จนทำให้ชีวิตต้องดิ้นไปในดงทุกข์
เหยียบขวากหนามของความขมขื่นนานาประการ
ซวนเซเถลไถลล้มลุกคลุกคลาน จนเกิดอารมณ์ต่างๆ
สร้างความเศร้าหมองให้แก่จิตใจ

ซึ่งสิ่งเศร้าหมองเหล่านั้นได้แก่

ความโลภ ความโกรธ ความพยาบาท ความเบียดเบียน
ความลบหลู่คุณคน ความริษยา ความตระหนี่หวงแหน
มารยา ความถือตัว ความมัว และความประมาท เป็นอาทิ


สิ่งโสมมเหล่านี้ทำให้ชีวิตต้องโศก
โลกก็เลยเศร้าเร้นลึก

ซึ่งกิเลส ตัณหา อุปทานอันเป็นสิ่งสกปรกนี้
มิใช่สิ่งปรารถนาของใคร มันไม่ใช่ธาตุแท้ของผู้ใด
มิใช่สิ่งเอื้อต่อความสุขตามธรรม
มันเป็นเพียงแขกจรเข้ามาเท่านั้น

แต่ความเขลาทำให้เราไปบำรุงบำเรอมัน
เสียจนอ้วนพี มีกำลังวังชา แล้วยึดครองใจเราไปเสียได้


ดังนั้นวัตรปฏิปทา ที่หลวงพ่อคงท่านแนะนำ
จึงมุ่งเน้นที่การขับไล่แขกจรอันเลวร้าย
กล่าวคือ กิเลส ตัณหา และอุปทานเหล่านั้น
ให้ปราศไป นำอิสรภาพของใจให้กลับคืนมา
คงเอกภาวะอันผุดผ่องตามเดิม


การที่จะขับไล่ซาตานที่ครอบครองใจอยู่มานานออกไปได้นั้น

เราจะต้องสร้างจิตใจให้มี อำนาจ (บารมี) เข้มแข็ง
ความแก่กล้าในธรรม (อินทรีย์)
เจริญสติ (ความล่วงรู้) ให้ตั้งมั่น

และรักษาสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) ไว้ให้บริบูรณ์

จึงจะมีพละกำลังพอที่จะเอาชนะอวิชชา
และอุปทาน ตัณหา กิเลส
ซึ่งเป็นลูกหลาน เหลน โหลน ของอวิชชาเสียได้


ด้วยเหตุนี้ ปฏิปทาของนักปฏิบัติธรรม
จึงค่อนข้างเคร่งครัดในการบริโภค
การนอน การพูด การบำเพ็ญตบะ
และสามัคคีธรรมในหมู่คณะ
ดังนี้

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ก า ร บ ริ โ ภ ค อ า ห า ร

นักปฏิบัติควรบริโภคอาหารวันละ ๑ หรือ ๒ ครั้ง
เป็นอาหารที่วิรัติจากการเบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
บริโภคโดยการสำรวมคือนำอาหารทุกอย่างใส่ภาชนะเดียวกัน
คลุกเคล้าให้เข้ากันเพื่อทำลายรสจำเพาะที่พอใจ หรือไม่พอใจ
ใครจะผสมน้ำเพื่อให้รสเจือจางลงด้วยก็ได้


อาหารที่ไม่เบียดเบียน ไม่สั่งฆ่า ไม่มีส่วนในกรฆ่า
คือวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดของนักปฏิบัติธรรม
พึงสังวรไว้ว่า เรากำลังจะตัดกรรมตัดเวร
ที่ได้เบียดเบียนปวงสัตว์น้อยใหญ่มาเป็นเวลานาน
จนต้องชดใช้กรรมกันอยู่

ดังนั้นต่อไปนี้จงตั้งปณิธานให้แน่วแน่ว่า
เราจะไม่ทำลายชีวิตสัตว์ แม้แมลงตัวน้อยให้ล่วงไป
เราจะไม่เบียดเบียนชีวิตใดใด
และใครฆ่าสัตว์เพื่อเอาเนื้อมาให้เราเป็นเฉพาะ
เราก็จะไม่บริโภคเนื้อสัตว์นั้น


ญาติโยมที่จะถวายภัตตาหารแก่สงฆ์
ก็พึงถวายแต่หารที่เว้นจากการเบียดเบียนเท่านั้น
เพราะการฆ่าสัตว์ถวายเนื้อแก่สงฆ์เป็นบาปใหญ่
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในชีวกสูตรไว้ว่า

“ผู้ฆ่าสัตว์อุทิศพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต
ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากโดยฐานะ”


รูปภาพ

คือ

๑. ข้อที่กล่าวว่า จงไปสัตว์ตัวโน้นมา
สัตว์นั้นถูกลากคอมา ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

๒. ข้อที่กล่าววาจาฆ่าสัตว์ตัวนี้
เมื่อสัตว์ถูกฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

๓. คนย่อมรุกรานพระตถาคต และสาวกแห่งพระตถาคต
ด้วยเรื่องเนื้อสัตว์อันไม่สมควร


การบริโภคอาหารตามปฏิปทานี้
เป็นการเกื้อกูลแก่กรรมฐานโดยตรง


ด้วยการบริโภคปริมาณน้อย

ทำให้ให้เกิดกามราคะ ทำให้ไม่เกิดถีนมีทธะ
การบริโภคอาหารที่ไม่เบียดเบียน
ทำให้ไม่เกิดกำหนัดราคะ
ทำให้ไม่เกิดบ่วงเวรกับสัตว์ทั้งปวง
ทำให้เมตตาเจริญเป็นต้น

แต่หากใครยังรู้สึกว่าปฏิบัติได้ยาก
ด้วยมีความอยากในรสอาหาร
หรือปรารถนาปริมาณมากๆ ก็พึงลงอดอาหารดู


(มีต่อ : การอดอาหาร)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ก า ร อ ด อ า ห า ร

มิใช่จะสนับสนุนให้ทุกคนอดอาหาร

แต่สำหรับบุคคลที่ถูกกิเลสครอบงำอยู่โดยมาก
เห็นอาหารที่ชอบก็น้ำลายไหล
ได้รับอาหารน้อยก็กระสับกระส่วย
การควรลองงดการบริโภคลงบ้าง เพื่อประโยชน์ต่อไปนี้

๑. พิจารณาเวทนาที่เกิดขึ้นในร่างกาย

๒. เจริญความอดทนเพื่อขัดกิเลส

ดังพุทธพจน์ที่ว่า

“ความอดทนเป็นครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง”

๓. เจริญความเพียรเพื่อขุดกิเลส

ดังพุทธพจน์ที่ว่า

“ความเพียรเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย”

๔. เข้าถึงความอยู่รอดได้โดยไม่มีอาหารไดยไม่หวั่นไหว

ดังพุทธภาษิตเปรียบเทียบว่า

“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีความอดทนไม่หวั่นไหว
เสมือนช้างหลวงของแผ่นดิน ในข้อที่ว่า
เมื่อไม่ได้รับหญ้า น้ำ แม้วันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน
ก็ย่อมไม่สะทกสะท้าน”


๕. พัฒนาอำนาจจิตให้กล้าแข็ง

ในขณะที่อดอาหารนั้น
ร่างกายจะไม่ได้เคลื่อนจากพลังจากสารอาหาร
เพราะไม่ได้รับอาหาร แต่เคลื่อนไหวด้วยอำนาจจิตโดยตรง
(ช่วงนี้นักปฏิบัติจะเห็นอำนาจจิตได้ชัด)

ด้วยเหตุนี้จะทำให้จิตกล้าแข็งขึ้นมาก
นี่คือเหตุผลที่มุนีผู้บำเพ็ญอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย
มักบริโภคอาหารแต่น้อย
ควรฝึกฝนจิตใจให้อยู่เหนือความเคยชิน


๖. เมื่อผ่านการอดอาหารมาระยะหนึ่งแล้ว
จะพบความเป็นจริงที่ว่า
แท้จริงแล้ว ความหิวและความอยากในรสอาหาร
ล้วนเป็นอารมณ์ที่ปรุงแต่งยึดถือกันจนเคยชินเท่านั้น


รูปภาพ

เมื่อกระจ่างดังนี้ ควรฝึกฝนจิตใจให้อยู่เหนือความเคยชิน
จากนั้นความอยาก และความติดใจในรสอาหาร
ก็จะจางคลายหายไป เมื่อเรารู้เท่าทันอนุกิเลสเหล่านี้แล้ว

สำหรับการอธิษฐานอดอาหารนั้นมี ๕ ประการ คือ

๑. อดอาหารขบเคี้ยว ดื่มแต่น้ำเปล่า

๒. อดอาหารขบเคี้ยว ดื่มแต่น้ำปานะและน้ำเปล่า

๓. อดอาหารหนัก รับประทานแต่ผักผลไม้และน้ำเปล่า
(เหมาะสำหรับคนที่ติดอุปาทานในข้าวว่า
ถ้าวันไหนไม่รับประทานข้างวันนั้นท้องไม่อิ่ม)


๔. งดอาหารคาวหวาน รับประทานแต่ข้าวเปล่าและน้ำเปล่า
(เหมาะสำหรับคนที่มีความอยากในรสอาหารต่างๆ)

๕. จำกัดจำนวนคำที่บริโภค เช่น ๓๐ คำ บ้าง,
๒๐ คำบ้าง, ๑๐ คำบ้าง, ๗ คำบ้าง ๓ คำบ้าง เป็นต้น
(เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานในปริมาณมาก)

สำหรับจำนวนวันในการอดอาหารนั้น
ขึ้นอยู่กับความมั่นใจของแต่ละคน
บางคนอาจอธิษฐานอด ๓ วัน, ๕ วัน, ๗ วัน, ๙ วัน
ตามที่เห็นเหมาะสมกับตนเอง

สำหรับนักปฏิบัติใหม่ไม่ควรอดเกิน ๕ วัน


(มีต่อ : การนอน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ก า ร น อ น

นักปฏิบัติควรนอนวันละ ๓-๕ ชั่วโมง
ทั้งนี้เพื่อบำเพ็ญจิตให้ตื่นตัว
เต็มเปี่ยมด้วยสัมปชัญญะเสมอ

เพราะการนอนมากทำให้ประสาทมึน สมองชา
กายอ่อนแรง เลือดไหวเวียนไม่ดี
จิตใจเงื่องหงอยเซื่องซึม และหมดอาลัยตายอยาก
ไม่เป็นผู้ตื่นรู้ผู้เบิกบาน

นักปฏิบัติจึงนอนแต่น้อย
เพื่อปลุกจิตให้ตื่นรู้อยู่เสมอ

แต่หากใครถูกถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน)
ครอบงำอยู่เป็นประจำ ก็ลองอดนอนดู


(มีต่อ : การอดนอน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ก า ร อ ด น อ น

หากใครถูกความง่วงเหงาหาวนอนง่วงซึมครอบงำอยู่ตลอดเวลา
ก็อาจยืนหยัดขจัดถีนมิทธะนั้นได้ด้วยการอดนอน
ซึ่งวิธีการนี้ตรงกับการค้นพบกับจิตบำบัดสมัยใหม่ที่พบว่า

“การให้คนนอนน้อยๆ และปลุกให้ตื่นแต่กลางดึก
จะช่วยลดอาการของโรคจิตประเภท Depressive (หดหู่ ท้อถอย) ลงได้”


โดยปกติแล้ว อารมณ์ถีนมิทธะเกิดจากสาเหตุ ประการคือ

๑. ร่างกายเพลียจัด เพราะการออกกำลังหักโหมจนเกินไป

๒. กระเพาะตึงเครียดเพราะบริโภคอาหารมากเกิน

๓. ใจหมกมุ่นอยู่กับความวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

๔. ใจหดหู่ท้อถอย

๕. เสียสติเพราะของมึนเมา
แม้เสพมานานแล้ว ฤทธิ์ของความมึนเมาอาจจะคงค้างอยู่
ในรูปของความเคยชิน กดประสาทอยู่ได้


ดังนั้นนักปฏิบัติผู้อธิษฐานอดนอน ๑ คืน ก็ดี ๒ คืนก็ดี ๓ คืนก็ดี
(นักปฏิบัติใหม่ไม่ควรเกิน ๓ คืน) พึงเจริญธรรมต่อไปนี้


๑. เวลาทำงานควรทำงานอยู่ด้วยสติอันสำรวมอยู่ตลอด

จะทำให้ร่างกายไม่เสียพลังงานมาก จะไม่เพลีย
และในขณะที่มีสติก็จะมีปัญญาพิจารณาในงานที่กระทำโดยรอบคอบ
มีความผิดพลาดน้อย หรือไม่บกพร่องเลย
ตามกำลังสติปัญาที่ตั้งไว้โดยชอบ

๒. รู้จักปริมาณการบริโภค

๓. พิจารณากายคตาสติ ปลงสังขาร

ทรงจิตตื่นรู้อยู่ด้วยความเบิกบาน

๔. บำเพ็ญฌานให้มาก

เพื่อให้เกิดปีติหล่อเลี้ยงความตื่นรู้อันเบิกบานนั้น
(พรหมนั้นเสวยปีติเป็นอาหารโดยไม่บริโภคธาตุหยาบๆ เลย)

๕. เจริญสัมปชัญญะให้แจ่มใสในอุเบกขาอันตั้งมั่น

จิตจะไม่หวั่นไหวไปด้วยเวทนาใดใด

หากนักปฏิบัติกระทำได้ดังนี้
ก็จะไม่ถูกความง่วงเหงาหาวนอนเข้าครอบงำ
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเสียเวลาไปกับการหลับ

(เพราะในขณะที่หลับ จิตจะหยุดการพัฒนาไปชั่วขณะ)

รูปภาพ

แต่หากแม้ผู้แม้ปฏิบัติได้ดังนี้แล้ว ยังรู้สึกว่ายาก
หรือยังไม่สามารถขจัดความง่วงงุนไปได้โดยเด็ดขาด
ก็ให้เลือกกระทำดังต่อไปนี้

๑. เดินจงกรมเสมอๆ

๒. แหงนดูดาวบนท้องฟ้า

๓. เอาน้ำล้างหน้าหรือลูบตาบ่อยๆ

๔. สนทนากับเพื่อพรหมาจารีในเรื่องที่เป็นกุศล
หรือในเรื่องที่เป็นอัศจรรย์

๕. อยู่ในที่กลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ชุมชน

๖. ถ้าอยู่ที่กลางชุมชนแล้ว ยังสามารถหลับได้อีก
ก็ให้เข้าไปอยู่ในถ้ำ ในป่าชัฏ หรือในป่าช้าที่ว่าน่ากลัว
ความกลัวจะทำให้ระวังตัว จิตตื่นรู้อยู่เสมอ

๗. หากกระทำดังกล่าวจนเคยชินไม่กลัวแล้ว
ยังง่วงงุนอยู่อีก ก็ให้เจริญกสิณไฟ กสิณแสงสว่าง
กสิณสีแดง หรือกสิณสีเหลือง กองใดกองหนึ่งหนึ่ง


เมื่อได้พยายามตามนี้แล้ว
นักปฏิบัติก็จะประสบความสำเร็จตามความเพียร


(มีต่อ : การพูด)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ก า ร พู ด

โดยปกตินักปฏิบัติที่ปฏิบัติดีแล้ว
จะมีจิตใจอันตื่นรู้เบิกบานอ่อนโยน
เจรจาด้วยวาจาสุภาษิต

อันมีลักษณะ ประการ คือ

๑. เป็นสัจจะ

๒. มีสาระประโยชน์

๓. ไพเราะ อ่อนหวาน

๔. กล่าวออกมาจากใจจริงด้วยความเมตตา

๕. เจรจาถูกต้องตามกาล


นักปฏิบัติที่ปฏิบัติดีแล้ว
จะไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย
ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดใส่ร้าย และไม่นินทากัน

แต่หากผู้ใดยังรู้ตัวว่าตัวยังมีการพูดจาที่ไม่ดี
อันควบคุมได้ยาก ก็พึงลองอดพูดดู


(มีต่อ : การอดพูด)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ก า ร อ ด พู ด

การพูดนั้นเป็นกรรมสำคัญประการหนึ่งคือวจีกรรม
มีผลมากต่อจิตใจและวิถีชีวิต


หากพูดดีก็จะได้รับผลดีเป็นอเนกอนันต์ เป็นที่สบายของตนเอง
เป็นที่เกื้อกูลต่อสังคม และเป้นที่รักของคนทั้งหลาย

หากพูดไม่ดีก็จะมีผลร้ายมาก
ทำให้ผู้พูดฟุ้งซ่าน หวาดระแวงเสียพลังปราณ
สูญกำลังภายในและเสื่อมสติได้โดยง่าย
ไม่เป็นที่เกื้อประโยชน์ต่อส่วนรวม
ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของคนทั้วหลาย

บางครั้งคำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ไตร่ตรองโดยรอบคอบ
อาจทำให้เกิดความรุ้สึกไม่ดีในจิตใจของชนทั้งหลาย
คลื่นเสียงของคำพูดหมดไปแล้ว
แต่ใจของผู้คนยังดูดซึมความหมายในความรู้สึก


ดังนั้น คำพูดจึงเป็นดาบสองคม
หากใช้ดีก็จะให้ผลดี
หากใช้ไม่ดีก็จะทำร้ายทั้งตนเอง และทำลายสังคมได้


ด้วยเหตุนี้ใครที่ยังเป็นคนพูดปด พดส่อเสียด
พูดหยาบคาย พูดเพ้อเจ้อ พูดใส่ร้าย
หรือชอบพูดนินทาผู้อื่นโดยควบคุมตัวเองได้ยาก
ก็ลองอธิษฐานจิตงดพูดดู
จะกำหนดเวลาเป็นวัน หรือเดือน หรือสัปดาห์ก็ได้

รูปภาพ

เมื่อนักปฏิบัติงดพูดควรกระทำดังนี้

๑. ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบใดที่จะอาจต้องใช้วาจาสื่อความต่อกัน

๒. ประกาศให้เพื่อนพรหมาจารีทราบโดยทั่วกัน
เพื่อมิให้เพื่อนสหธรรมิกผู้ใดมารบกวนไต่ถามเรื่องต่างๆ

๓. พยายามปลีกเร้นให้มาก อย่าคลุกคลีกับหม่คณะ

๔. เวลาเดินผ่านผู้คน จงสำรวม กาย สงบวาจา และดูใจตนเองอยู่

๕. เมื่อไม่ขยับปากนานๆ เชื้อแบคทีเรียอาจเพาะตัวได้มาก
(ปกติก็มีอยู่บ้างแล้ว) อาจรู้สึกเหนอะหนะในปาก
ควรแปรงฟันหรือบ้วนปากบ่อยๆ

๖. เมื่ออธิษฐานอดพูดแล้ว ก็ไม่ควรออกไปนอกวัด หรือนอกบ้าน
เพราะอาจทำให้ประสบความลำบากได้


การอธิษฐานงดพูด มี ๒ ประการ คือ

๑. งดพูด แต่สวดมนต์ทำวัตรปกติ

๒. งดออกเสียงทุกชนิด (แม้งดออกเสียงก็ให้สวดมนต์ในใจ)


ที่สำคัญคือให้ดูใจของตนเอง
ในขณะที่จิตปรุงแต่งวจีสังขาร และอยากขยับปากพูด
หากคิดปุ๊ปก็พูดปั๊ป จะไม่ทันได้เห็นกระบวนการของมัน
จุงทำให้ควบคุมไม่ได้


แต่เมื่ออธิษฐานงดพูดอยู่
จะเห็นกระบวนการปรุงแต่งของความคิด
ที่เป็นรากเหง้าขับดันให้มนุษย์พูด
เมื่อเข้าใจกระบวนการของวจีสังขารโดยถ่องแท้แล้ว
ก็ควบคุมวาจาได้โดยง่าย


จากนั้นก็เพียรพัฒนาใจให้ดี ฝึกความคิดให้งาม
เพื่อต่อไปจะได้พูดสิ่งที่ดีงามเกื้อกูลต่อกัน ในการเข้าสู่วิมุติ
พาหมู่คณะเข้าสู่ความผาสุกโดยไม่เนิ่นช้า

เมื่องดพูดจนครบกำหนดแล้ว
นิสัยพูดมาก พูดพล่าม พูดไม่งาม พูดไม่ดี จะค่อยๆหายไป

พึงจำไว้ว่า การอธิษฐานอดข้าวก็ดี อดนอนก็ดี อดพูดก็ดี
มิได้สนับสนุนให้ทำเสมอไป
ให้ทำเพียงเพื่อละกิเลสและอุปาทานเดิมที่ติดยึดมามากเท่านั้น
เพื่อขจัดความเคยชินอันเลวร้ายออกไปเสียได้แล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องกระทำอีกต่อไป


ดังพุทโธวาทที่ตรัสสอนไว้ใน เทวทหสูตร ว่า

“ภิกษุพึงพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า
ถ้าอยู่สบาย อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม
ถ้าตั้งตนไว้ในทุกข์ อกุศลธรรมจะเสื่อม และกุศลธรรมจะเจริญ
ก็จงตั้งตนไว้ในทุกข์ เพื่อให้อกุศลธรรมเสื่อม และกุศลธรรมเจริญ

แต่ในสมัยอื่นจะไม่ทำเช่นนั้น
เพราะสำเร็จประโยชน์แล้วจึงไม่ทำเช่นนั้นอีก

เปรียบเสมือนช่างศร ย่างลูกศร
ดัดลูกศรที่ง่ามไม้ ทำให้ศรใช้การได้
เมื่อเข้าที่แล้วก็ไม่ต้องย่างหรือดัดซ้ำอีก
อย่างนี้ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่ความพยายามความเพียรมีผล”


เมื่อบำเพ็ญดังนี้แล้ว
นักปฏิบัติย่อมพบความก้าวหน้าในการฝึกจิตตามลำดับ

แต่หากผู้ใดยังรู้สึกใจของตนยังไม่กล้าแข็ง
หรือมีอำนาจเพียงพอที่จะเอาชนะกิเลส
หรือควบคุมตัวเองให้อยู่ในครรลองคลองธรรมอันงามได้
ก็ให้เจริญตบะอันแก่กล้าต่อไป


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “วัตรปฏิปทาของนักปฏิบัติธรรม” : การบริหารดวงชะตาชีวิต, โดย ไชย ณ พล,
จัดพิมพ์โดย สถาบันธรรมาธิปไตย, หน้า ๑๐๒-๑๑๓)


:b8: :b8: :b8:

โปรดติดตามกระทู้ภาคต่อของท่านผู้เขียนเดียวกันนี้ ในนามปากกาอื่นๆ ได้ใน :
“ตบะอันแก่กล้า : อัคร ศุภเศรษฐ” (ไชย ณ พล/ศิยะ ณัญฐสวามี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21061


:b44: รวมคำสอน “ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=48689


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: :b8: :b48:

ธรรมรักษาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2018, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุค่ะท่านอาจารย์
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 17:00 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร