วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




q1.jpg
q1.jpg [ 30.13 KiB | เปิดดู 3868 ครั้ง ]
ต่อไปเป็นผลของการปฏิบัติสติปัฏฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของการปฏิบัติ


๑. ในแง่ของความบริสุทธิ์ - เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการกำหนด อย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจ

สิ่งนั้นตามที่มันเป็น ย่อมเป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ

จะเกิดขึ้นได้ และในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตามที่มันเป็น

ไม่ใส่ความรู้สึก ไม่สร้างความคิดคำนึง ตามความโน้มเอียงและความใฝ่ใจต่างๆ ที่เป็นสกวิสัย

(subjective) ลงไป ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น

ความโกรธจะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะ ใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น


๒ . ในแง่ของความเป็นอิสระ -เมื่อมีสภาพจิตที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ ๑ . แล้ว ก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย

โดยจะไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เพราะอารมณ์เหล่านั้นถูกใช้ เป็นวัตถุสำหรับศึกษา

พิจารณาแบบสภาวะวิสัย (objective) ไปหมด เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะที่เป็นสกวิสัย

(subjective) สิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัยแก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ ของเขา จะหลุดพ้น

จากการถูกบังคับ ด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูงใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ

unconscious motivations) เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย (คือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหา

และทิฏฐิ) ไม่ยึดมั่นสิ่งใดในโลก


๓. ในแง่ของปัญญา - เมื่ออยู่ในกระบวนการทำงานของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด

เพราะจะไม่ถูกเคลือบ หรือ หันเหไปด้วยความรู้สึก ความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นได้ตาม

ที่มันเป็น คือ รู้ตามความจริง


๔.ในแง่ความพ้นทุกข์ - เมื่อจิตอยู่ในภาวะตื่นตัว เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิต

อยู่ได้เช่นนี้ ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวก หรือ ลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์

ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้านกระหายอยาก (อภิชฌา) และความขัดเคืองกระทบใจ

(โทมนัส) ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆ เป็นภาวะจิตที่ เรียกว่า พ้นทุกข์

มีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย สงบ เป็นตัวของตัวเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ส.ค. 2009, 18:17, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกกล่าวในแง่ต่างๆ

เมื่อสรุป ตามแนวปฏิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์ ก็ได้ความว่า

เดิมมนุษย์ไม่รู้ว่า ตัวตนที่ตนยึดถือไว้

ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรมนามธรรมส่วนย่อย จำนวนมากมายที่สัมพันธ์เนื่องอาศัย

เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน กำลังเกิดขึ้นและเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไป อยู่ตลอดเวลา

เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด

ความปรารถนา

ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ

ความเห็น การรับรู้ เป็นต้น ในขณะนั้นๆ ว่า

เป็นตัวตนของตน แล้วตัวตนนั้น ก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป รู้สึกว่าฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่

ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯลฯ


การรู้สึกว่า ตัวฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น

ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ หลอกเอานั้นเอง

เมื่อตกอยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด

จึงถูกชักจูงบังคับให้คิดเห็นรู้สึก และ ทำการต่างๆ ไปตามอำนาจของสิ่งที่ตนยึดว่า

เป็นตัวตนของตนในขณะนั้นๆ



ครั้นมา ปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานแล้ว

ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรมแต่ละอย่าง ที่เป็นส่วนประกอบของกระแสนั้น

กำลังเกิดดับอยู่ตามสภาวะของมัน

เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแส แยกแยะออกมองเห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ เป็นขณะๆ

มองเห็นอาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้ว ย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือเอาสิ่งนั้นๆ

เป็นตัวตนของตน และสิ่งเหล่านั้นก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ ในบงการของมัน


ถ้าการมองเห็นนี้ เป็นไปอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่า ความหลุดพ้น

ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินในรูปใหม่

เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระไม่มีความเอนเอียงยึดติดเงื่อนปมต่างๆ ในภายใน

เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่


กล่าวอีกนับหนึ่งว่า เป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์

ดุจร่างกาย ที่เรียกว่า มีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วน ปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่

ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน

จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งที่เป็นเงื่อนปม เป็นอุปสรรคถ่วง

ขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ปลอดโปร่งพร้อมที่จะดำรงชีวิต

อยู่ เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกด้วยความเข็มแข็งและสดชื่นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.ย. 2009, 11:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้อาจสรุปด้วยพุทธพจน์ดังต่อไปนี้


"ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ คือ โรคทางกาย 1 โรคทางใจ 1 สัตว์ทั้งหลายที่ยืนยันได้ว่า

ตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลาทั้งปี ก็มีปรากฏอยู่ ผู้ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอด

เวลา 2 ปี...3 ปี...4 ปี...5 ปี...10 ปี...20 ปี...30 ปี...40 ปี...50 ปี...

100 ปี ก็มีปรากฏอยู่ แต่สัตว์ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางใจเลย แม้ชั่วเวลาเพียงครู่หนึ่งนั้น หาได้ยาก

ในโลก ยกเว้นแต่พระขีณาสพทั้งหลาย"

องฺ. จตุกฺก. 21/157/191



(การสนทนาระหว่างพระสารีบุตรกับนกุลพราหมณ์ผู้โสดาบันหลังจากเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า)


พระสารีบุตร: “แน่ะท่านคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านก็บริสุทธิ์เปล่งปลั่ง

วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหรือ ?”



คฤหบดีนกุลบิดา: “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไฉนจะไม่เป็นเช่นนี้เล่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหลั่งน้ำอมฤตรดข้าพเจ้าแล้ว ด้วยธรรมีกถา”


พระสารีบุตร: “พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลั่งอมฤตรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร ?”


คฤหบดี: “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลว่า พระพุทะเจ้าข้า ข้าพระองค์ชราแล้ว เป็นคนแก่เฒ่า

ล่วงกาลผ่านวัยมานาน ร่างกายก็มีโรครุมเร้า เจ็บป่วยอยู่เนื่องๆ

อนึ่งเล่า ข้าพระองค์มิได้ (มีโอกาส) เห็นพระผู้มีพระภาค และภิกษุทั้งหลาย ผู้ช่วยให้เจริญใจอยู่

เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดประทานโอวาทสั่งสอนข้าพระองค์ในข้อธรรมที่จะเป็นไป

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ชั่วกาลนาน”



พระพุทธเจ้า: “ถูกแล้ว ท่านคฤหบดี เป็นเช่นนั้น อันร่างกายนี้ ย่อมมีโรครุมเร้า ดุจดังว่า

ฟองไข่ ซึ่งผิวเปลือกห่อหุ้มไว้ ก็ผู้ใดที่บริหารร่างกายนี้อยู่ จะยืนยันว่าตนไม่มีโรคเลย

แม้ชั่วครู่หนึ่ง จะมีอะไรเล่า นอกจากความเขลา

เพราะเหตุฉะนั้นแล ท่านคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้ว่า “ถึงกายของเราจะมีโรค

รุมเร้า แต่ใจของเราจักไม่มีโรครุมเร้าเลย” พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค

ทรงหลั่งอมฤตรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถา ดังนี้แล”


(สํ.ข.17/2/2)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ คือคำว่า ขณะปัจจุบัน หรือ ปัจจุบันขณะ ไว้ก่อน

แล้วจะนำคำอธิบายมากล่าวภายหลัง เพราะว่ามีความสำคัญในภาคปฏิบัติทางจิตมากมาย




เหตุใดสติตามทันขณะปัจจุบันจึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา ?


กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆ คน ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันก็ คือ

การรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ สุขสบายบ้าง ทุกข์ระคายเจ็บปวด ไม่สบายบ้าง

เฉยๆบ้าง

เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ

ถ้าสุขสบายที่สิ่งใด ก็ชอบใจติดใจสิ่งนั้น

ถ้าไม่สบายได้ทุกข์ที่สิ่งใด ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น

เมื่อชอบก็อยากรับรู้อีก อยากเสพซ้ำ หรืออยากได้ อยากเอา

เมื่อไม่ชอบก็เลี่ยงหนี หรือ อยากกำจัด อยากทำลาย


กระบวนการนี้ ดำเนินไปตลอดเวลา

มีทั้งที่แผ่วเบา ผ่านไปโดยไม่มีได้สังเกต และที่แรงเข้ม สังเกตได้เด่นชัด

มีผลต่อจิตใจอย่างชัดเจนและสืบเนื่องไปนาน


ส่วนใดแรงเข้ม หรือ สะดุดชัด ก็มักชักให้มีความคิดปรุงแต่งยืดเยื้อเยิ่นเย้อออกไป

ถ้าไม่สิ้นสุดที่ในใจ ก็ผลักดันแสดงออกมาเป็นการพูด การกระทำต่างๆ ทั้งน้อยและใหญ่

ชีวิตของบุคคล บทบาทของเขาในโลก และการกระทำต่อกันระหว่างมนุษย์

ย่อมสืบเนื่องออกมาจากระบวนธรรมน้อยๆ ที่เป็นไปในชีวิตแต่ละขณะๆ นี้เป็นสำคัญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 10:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ค่อ)


ในทางปัญญา การปล่อยให้จิตใจให้เป็นไปตามกระบวนธรรมข้างต้นนั้น คือ เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกสุขสบาย

ก็ชอบใจ ติดใจ

เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ก็ขัดใจ ไม่ชอบใจ

ข้อนี้เป็นเครื่องกีดกั้นปิดบัง ทำให้ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง หรือตามสภาวะที่แท้

ของมัน ทั้งนี้เพราะจิตใจที่เป็นเช่นนี้ จะมีสภาพต่อไปนี้

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

-ข้องอยู่ที่ความชอบใจ หรือความขัดใจ ตกอยู่ในอำนาจของความติดใจ หรือขัดใจนั้น ถูกความชอบ

หรือไม่ชอบนั้นเคลือบคลุม ทำให้มองเห็นเอนเอียงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ตรงตามที่มันเป็นจริง


-ตกลงไปในอดีตหรืออนาคต กล่าวคือ เมื่อคนรับรู้แล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตของเขาจะ

ข้องหรือขัดอยู่ ณ ส่วนหรือจุดหรือแง่ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจของอารมณ์นั้น

เก็บเอาไปทะนุถนอมคิดปรุงแต่งตลอดจนฝันฟ่ามต่อไป


การข้องอยู่ที่ส่วนใดก็ตาม ซึ่งชอบใจหรือไม่ชอบใจ และการจับอยู่กับภาพของสิ่งนั้นซึ่งปรากฏอยู่ในใจ

ของตน คือ การเลื่อนไหลลงสู่อดีต

การคิดปรุงแต่งต่อไปเกี่ยวกับสิ่งนั้น คือ การเลื่อนลอยไปในอนาคต

ความรู้ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็คือภาพของสิ่งนั้น ณ จุดหรือตอนที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ

หรือ ซึ่งเขาได้คิดปรุงแต่งต่อไปแล้ว ไม่ใช่สิ่งนั้นตามที่มันเป็นของมันเองในขณะนั้นๆ


-ตกอยู่ในอำนาจของความคิดปรุงแต่ง จึงแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ หรือประสบการณ์นั้นๆ

ไปตามแนวทางของภูมิหลัง หรือความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้ เช่น

ค่านิยม ทัศนคติ หรือทิฐิที่ตนยึดถือนิยม เชิดชู เรียกว่า จิตตกอยู่ในภาวะถูกปรุงแต่ง

ไม่อาจมองอย่างเป็นกลางให้เห็นประสบการณ์ล้วนๆ ตามที่มันเป็น


-นอกจากถูกปรุงแต่งแล้ว ก็จะนำเอาภาพปรุงแต่งของประสบการณ์ใหม่นั้นเข้าไปร่วมในการปรุงแต่ง

ต่อไปอีก เป็นการเสริมซ้ำการสั่งสมนิสัย ความเคยชินของจิตให้แน่นหนายิ่งขึ้น


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

ความเป็นไปเช่นนี้ มิใช่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหยาบๆ ตื้นๆ ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมทั่วไป

เท่านั้น

แต่ท่านมุ่งเน้นกระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทำให้ปุถุชนมองเห็นสิ่งทั้งหลาย

เป็นของคงที่ เป็นชิ้นเป็นอัน มีสวยงาม น่าเกลียด ติดในสมมุติต่างๆ

ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ดี กระบวนธรรมเช่นนี้ เป็นความเคยชินหรือนิสัยของจิต ที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมาคนละนานๆ

เกือบจะว่าตั้งแต่เกิดทีเดียว 20-30 ปีบ้าง 40-50 ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคย หัดตัดวงจรลบ

กระบวนกันมาเลย

การจัดการแก้ไข จึงมิใช่จะทำได้ง่ายนัก ในทันทีที่รับรู้อารมณ์หรือมีประสบการณ์ ยังไม่ทันตั้งตัว

ที่จะยั้งกระบวน จิตก็แล่นไปตามความเคยชินของมันเสียก่อน

ดังนั้น การแก้ไขในเรื่องนี้ จึงมิใช่จะเพียงตัดวงจรล้างกระบวนธรรมนั้นลงเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไข

ความเคยชิน หรือนิสัยที่ไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีกด้วย




องค์ธรรมสำคัญ ที่จะใช้เป็นตัวเบิกทาง และเป็นหลักรวมพล ทั้งสองกรณี ก็คือ สติ

การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้

กล่าวคือเมื่อมีสติ ตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ ตลอดเวลา

ย่อมสามารถตัดวงจรทำลายกระบวนธรรมฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย

ค่อยๆ แก้ไขความเคยชินเก่าๆ พร้อมกับสร้างแนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย



:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

จิตที่มีสติกำกับ ให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบัน จะมีสภาพตรงข้าม กับจิตที่เป็นตามกระบวนธรรม

ข้างต้น คือ



-ความชอบใจ หรือขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะการที่จะชอบใจหรือ ขัดใจ จิตจะต้องข้องขัดอยู่ ณ

จุดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง และชะงักค้างอยู่ คือ ตกลงในอดีตไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต

ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต

ความชอบ ใจ ไม่ชอบใจ กับการตกอดีต เป็นอาการที่เป็นไปด้วยกัน เมื่อไม่ข้อง ไม่ค้างอยู่ตามดูทันอยู่

กับสภาวะที่กำลังเป็นไปอยู่ การตกอดีต ลอยอนาคต ก็ไม่มี

-ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งเนื่องด้วยภูมิหลังที่ได้สั่งสมไว้ ชักจูงแปลประสบการณ์หรือสิ่งที่รับรู้ให้เอนเอียง

บิดเบือนหรือย้อมสีไปตามอำนาจของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ

-ไม่ปรุงแต่งเสริมซ้ำ หรือ เพิ่มกำลังแก่ความเคยชินผิดๆ ที่จิตได้สั่งสมเรื่อยมา

-เมื่อตามรู้ดูทันทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทุกขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็นต้นของตน

ที่ไม่พึงปรารถนา หรือที่ตนเองไม่ยอมรับปรากฏออกมาด้วย

ทำให้ได้รับรู้สู้หน้า เผชิญสภาพที่เป็นจริงของตนเองตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกตนเอง

และทำให้สามารถชำระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

นอกจากนั้น ในด้านคุณภาพจิตก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส โปร่ง เบิกบาน เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบจำกัดให้คับแคบ

และไม่ถูกเคลือบคลุมให้หมองมัว


สิ่งทั้งหลาย ตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน

พูดเป็นภาพพจน์ว่า ความจริงเปิดเผยตัวมันอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน

หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป หรือ ไม่ก็ถึงกับหลอกลวงตัวของมนุษย์เอง


ตัวการที่ปิดบัง บิดเบือน หรือ หลอกลวง ก็คือ การตกลงไป ในการแสของกระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้น

เครื่องปิดบัง บิดเบือน หรือหลอก ก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชิน คอยชักลากให้เสียอีก โอกาสที่จะรู้ความ

จริงก็แทบ

ไม่มี ในเมื่อความเคยชินหรือติดนิสัยนี้ มนุษย์ได้สั่งสมต่อเนื่อง กันมานานนักหนา การปฏิบัติ เพื่อแก้ไข

และสร้าง

นิสัยใหม่ ก็ควรจะต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน


เมื่อใดสติตามทัน ทำงานสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ คนไม่ปิดบังตัวเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง

และพ้นจากอำนาจความเคยชิน หรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว

เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมัน และรู้เข้าใจความจริง

ถึงตอนนี้ ถ้าอินทรีย์อื่นๆ โดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมทำงานกับสติ หรือ อาศัยสติ

คอยเปิด

ทางให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดญาณทัศนะ ความหยั่งเห็นตามเป็นจริง ที่เป็นจุดหมายของ

วิปัสสนา


แต่การที่ปัญญินทรีย์ เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลำดับ รวมทั้ง

การเล่าเรียนสดับฟังในเบื้องต้นด้วย

การเล่าเรียนสดับฟังและการคิดเหตุผล เป็นต้น จึงมีส่วนเกื้อกูลแก่การรู้แจ้งสัจธรรมได้

ความจริง สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญา หรือ การใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา

แต่ปัญญาจะได้โอกาส และจะทำงานได้อย่างปลอดโปรงเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วย

กำกับหนุนอยู่ด้วย

การฝึกสติ จึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา



พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติเพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง

ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็ง

หรือชำนาญคล่องแคล้วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน*


ปัญญา ที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆ ไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า

สัมปชัญญะ
ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงาน

อยู่กับสติ

การพูดจากล่าวขาน มักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลัก หรือ ตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา

สติ จะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ ปัญญา


ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาพที่มันเป็น

เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือวิปัสสนา

(อภิ.วิ. 35/612/337 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 19:16, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




75.jpg
75.jpg [ 71.64 KiB | เปิดดู 3506 ครั้ง ]
(ขยายเนื้อความ คห.ข้างบนที่มีเครื่องหมาย *)


สติเกิดร่วมกับปัญญา จึงจะมีกำลัง ขาดปัญญาย่อมอ่อนกำลัง (ม.อ.3/28 วิภงฺค.อ.406)

ปัญญาปราศจากสติ ไม่มีเลย (วิสุทธิ.ฎีกา) 1/302)

ผู้ปราศจากสติ ย่อมไม่มีอนุปัสสนา (เช่น ที.อ.2/474 สํ.อ.3/270)

พูดถึงสติอย่างเดียว เล็งถึงปัญญาด้วย ( เช่น องฺ.อ.3/127 ฯลฯ)

(พึงทราบว่า ธรรมะเป็นสหชาตธรรม อาศัยกันและกันเกิด มิใช่เกิดโดดๆลอยๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อบ่มเพาะสติปัฏฐานมา ระยะหนึ่งแล้วเห็นได้ว่า อารมมณ์ กิเลส เช่นโทสะไม่ลอลงนี้ แสดง ว่าไร ท่านกัรชกาย ผมอยากขด ความรู้เรื่อง วัดผล ของ สังโยชน เรื่อง สักกายะฐิทิ หน่อยท่าน
เพื่อวัดแล้ว ก้าวข้าม ได้ ก็จะได้ ปฏิบัติเรื่อง วิกิจฉา ต่อไป เพราะบ่มเพาะสติปัฏฐานมา ไม่ เห็นสติตามอารมณ์ ได้ หลังจาก โกรธ แล้วจึง รู้สึกตัว

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณบุญชัย เราไปสนทนากันที่นี่ดีกว่า จะได้เป็นสัดเป็นส่วนไม่ปะปนกัน

viewtopic.php?f=2&t=22186

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติในฐานะความไม่ประมาท หรือ อัปปมาทธรรม (พึงศึกษาพุทธพจน์ต่อไปนี้ก่อน)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


“ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด

รอยเท้าช้าง เรียกว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความเป็นของใหญ่ ฉันใด

กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท

ได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่า เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น”


(สํ.ม.10/253/65...)


“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือ ให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความไม่ประมาทเลย

เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป”

องฺ.เอก.20/60/13


“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่...ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น

ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความไม่ประมาทเลย”

(องฺ.เอก.20/116/23)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2009, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ในปัจฉิมวาจา พระพุทธเจ้าเมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เป็นพระดำรัสในเรื่อง

อัปปมาทธรรม ดังนี้



“สิ่งทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา

ท่านทั้งหลายจงยัง ประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท”

(ที.ม.10/143/180)



“เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิตฉันใด

ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น

ของอริยอัษฏางคิกมรรคแห่งภิกษุฉันนั้น....



ธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีอุปการมากเพื่อการเกิดขึ้นของอริยอัษฏางคิกมรรค (มรรคมีองค์ ๘) ก็คือความ

ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท...

เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นเหตุให้อริยอัษฏางคิกมรรค ซึ่งยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น

หรืออริยอัษฏางคิกมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อม

ด้วยความไม่ประมาทนี้เลย

ภิกษุไม่ประมาทพึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เธอจักเจริญ จักกระทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฏางคิกมรรค”


(สํ.ม. 19/135/37 ฯลฯ)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสร้างอัปปมาท คือ การรักษาใจด้วยสติ โดยตนเอง ในฐานะ 4 คือ

1. ...จิตของเรา อย่าติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ

2. ...จิตของเรา อย่าขัดเคืองในธรรมที่ชวนให้เกิดความขัดเคือง

3. ...จิตของเรา อย่าหลงในธรรมที่ชวนให้เกิดความหลง

4. ...จิตของเรา อย่ามัวเมาในธรรมที่ชวนให้เกิดความมัวเมา

เมื่อจิตของภิกษุ ไม่ติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ เพราะปราศจากราคะแล้ว ไม่ขัดเคือง...

ไม่หลง...ไม่มัวเมาแล้ว ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้งและไม่ (ต้อง) เชื่อถือ

แม้แต่เพราะถ้อยคำของสมณะ”

(องฺ.จตุกฺก. 21/117/161)



ถาม “มีบ้างไหม ธรรมข้อเดียวที่จะยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ*

และ สัมปรายิกัตถะ *

ตอบว่า “มี”

ถาม “ธรรมนั้น คือ อะไร ?”

ตอบ “ธรรมนั้น คือ ความไม่ประมาท”


(สํ.ส.15/378/125 ฯลฯ )


“ดูกรมหาบพิตร ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วนั้น สำหรับผู้มีกัลยาณมิตร มีกัลยาณธรรม

มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา หาใช่สำหรับผู้มีปาปมิตร ผู้มีปาปสหาย ผู้มีปาปชนเป็นที่คบหาไม่

ความมีกัลยาณมิตรนั้น เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว”



“เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

มีกัลยาณธรรม มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา

พระองค์ทรงมีกัลยาณมิตรนั้น จะต้องทรงดำเนินพระจริยาอาศัยธรรมข้อนั้นอยู่

ประการหนึ่ง คือ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมทั้งหลาย”


“เมื่อพระองค์ไม่ประมาท ดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่

พวกฝ่ายใน...เหล่าขัตติยบริวาร...

ปวงเสนาข้าทหาร...ตลอดจนชาวนิคมชนบท ก็จะพากันคิดว่า พระเจ้าอยู่หัว

ทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ทรงดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาท

ถึงพวกเราก็จะไม่เป็นผู้ไม่ประมาท จะเป็นผู้อยู่ด้วยอาศัยความไม่ประมาทด้วย”



“ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท ดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่

แม้ตัวพระองค์เอง ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา

แม้พวกฝ่ายในก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา (ตลอดจน) แม้เรือนคลังยุ้งฉาง ก็เป็นอันได้รับ

การคุ้มครองรักษา”

(สํ.ส.15/381-384/127-129)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 21:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูที่ท่านอธิบาย "สติในฐานะความไม่ประมาท" ต่ออีกเล็กน้อย โดยเฉพาะคำว่า สติว่ามีความ

หมายกว้างเพียงใดทั้งในแง่จริยธรรมด้วย


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

สติ แปลกันง่ายๆว่า ความระลึกได้ ความไม่ลืม ความไม่เผลอ ไม่เลินเล่อ

ไม่ฟั่นเพื่อนเลื่อนลอย ความระมัดระวัง

ความตื่นตัวต่อหน้าที่ภาวะที่พร้อมอยู่เสมอในอาการคอยรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

และตระหนักว่า ควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไร

โดยเฉพาะในจริยธรรม การทำหน้าที่ของสติ มักถูกเปรียบเทียบเหมือนกับนายประตู ที่คอยระวังเฝ้า

ดูคนเข้าออกอยู่เสมอ และคอยกำกับการโดยปล่อยคนที่ควรเข้าออก ให้เข้าออกได้ และคอยกันห้าม

คนที่ไม่ควรเข้าไม่ให้เข้าไป คนที่ไม่ควรออกไม่ให้ออกไป

สติ จึงเป็นธรรมที่สำคัญในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติ

หน้าที่ และเป็นตัวคอยป้องกันยับยั้งตนเอง ทั้งที่จะไม่ให้หลงเพลินไปตามความชั่ว

และที่จะไม่ให้ความชั่วเล็ดลอดเข้าไปในจิตใจได้

พูดง่ายๆว่า ที่จะเตือนตน ในการทำความดี และไม่เปิดโอกาสแก่ความชั่ว


พุทธธรรมเน้นความสำคัญของสติเป็นอย่างมาก ในการปฏิบัติจริยธรรมทุกขั้น

การดำเนินชีวิต หรือการประพฤติปฏิบัติโดยมีสติกำกับอยู่เสมอนั้น มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า

อัปปมาท หรือ ความไม่ประมาท


อัปปมาทนี้ เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง สำหรับความก้าวหน้าในระบบจริยธรรม

มักให้ความหมายว่า การเป็นอยู่โดยไม่ขาดสติ ซึ่งขยายความได้ว่า การระมัดระวังอยู่เสมอ

ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความเจริญก้าวหน้า

ตระหนักดีถึงสิ่งที่จะต้องทำ และต้องไม่ทำ ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย

กระทำการด้วยความจริงจัง และพยายามเดินรุดหน้าอยู่ตลอดเวลา

กล่าวได้ว่า อัปปมาทธรรมนี้ เป็นหลักความรู้สึกรับผิดชอบตามแนวของพระพุทธศาสนา

ในแง่ความสำคัญ อัปปมาทจัดเป็นองค์ประกอบภายใน เช่นเดียวกับโยนิโสมนสิการ

คู่กับหลักกัลยาณมิตรที่เป็นองค์ประกอบภายนอก

พุทธพจน์แสดงความสำคัญของอัปปมาทนี้ บางทีซ้ำกับโยนิโสมนสิการ เหตุผลก็คือธรรม

ทั้งสองอย่างนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่ต่างแง่กัน

โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบฝ่ายปัญญา เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กระทำการ

ส่วนอัปปมาท เป็นองค์ประกอบฝ่ายสมาธิ เป็นตัวควบคุมและเร่งเร้าให้มีการใช้อุปกรณ์นั้น

และก้าวหน้าต่อไปเสมอ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 07:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2009, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติพิจารณาโดยคุณค่าทางสังคม



:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


พุทธพจน์แสดงคุณค่าของสติในเสทกสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยง

ให้เห็นความหมายและคุณค่าในทางปฏิบัติใกล้ชิดกันของอัปปมาทกับสติ

ช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมทั้งสองข้อนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น และในเวลาเดียวกัน

จะแสดงให้เห็นท่าทีของพุทธธรรมต่อชีวิตในทางสังคม

ยืนยันได้ว่าพุทธธรรมมองเห็นชีวิตด้านในของบุคคล โดยสัมพันธ์กับคุณค่าด้านนอกคือทางสังคม

ด้วย และถือว่า คุณค่าทั้งสองด้านนี้เชื่อมโยงเนื่องถึงกัน ไม่แยกจากกัน และสอดคล้อง เป็นอัน

หนึ่งอันเดียวกัน



“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นักกายกรรมยกลำไม้ไผ่ขึ้นแล้ว เรียกศิษย์มาบอกว่า

มานี่แน่ะเธอ เจ้าไต่ไม้ไผ่ขึ้นไปแล้วจง (เลี้ยงตัว) อยู่เหนือต้นคอของเรา” ศิษย์รับคำแล้ว

ก็ไต่ลำไม้ไผ่ขึ้นไป ยืน (เลี้ยงตัว) อยู่บนต้นคอของอาจารย์

คราวนั้น นักกายกรรม ได้พูดกับศิษย์ว่า “นี่แน่ะเธอ เธอจงรักษาฉันนะ ฉันก็จะรักษาเธอ

เราทั้งสอง ระวังรักษากันและกันไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย

และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”



ครั้นอาจารย์ กล่าวอย่างนี้แล้ว ศิษย์จึงกล่าวกับอาจารย์บ้างว่า “ท่านอาจารย์ขอรับ จะทำอย่างนั้น

ไม่ได้ ท่านอาจารย์ (นั่นแหละ) จงรักษาตัวเองไว้

ผมก็จักรักษาตัวผมเอง เราทั้งสองต่างระวังรักษาตัวของเราไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย

จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นั้นเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ดุจเดียวกับที่ศิษย์พูดกับ

อาจารย์นั่นเอง เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตัวเอง” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (คือ มีสติไว้)

เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐานเหมือนกัน”

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วย เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย”

“เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น อย่างไร ? ด้วยการหมั่นปฏิบัติ ด้วยการเจริญอบรม

ด้วยการทำให้มาก อย่างนี้แล เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วย”

“เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน อย่างไร ? ด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยความมีเมตตาจิต

ด้วยความเอ็นดูกรุณา อย่างนี้แล เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย”



“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตน” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน

เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน

เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่นด้วย เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนเองด้วย”

(สํ.ม. 19/758-762/224-225)

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 07:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 3620 ครั้ง ]
การฝึกอบรมจิตภาวนา หรือจะบัญญัติชื่อว่า อะไรก็ตาม

ธรรมชาติก็คงเป็นไปตามวิถีของมัน ซึ่งมีหลากหลาย

ขณะที่ปฏิบัติไป ๆ อาจประสบสิ่งที่ตนไม่เคยคิดเคยเห็นทุกขั้นทุกตอน

ภาวะเป็นต้นเหล่านี้ไม่มีแจกแจงรายละเอียดไว้ในตำรา แต่ก็รวมลงในทุกข์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก

อวิชชาตัณหาอุปาทานนั่นเอง

เช่นรายนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในร้อยในพันเท่านั้น



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


อาการแบบนี้เรียกว่าหลงผิดเรื่องสติปัฏฐานสี่ หรือเปล่าคะ (วอนผู้รู้ช่วยตอบ)


ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบศึกษาเรื่องศาสนาและปรัชญามานาน จนกระทั่งวันหนึ่ง

ได้นั่งวิปัสสนากรรมฐานจน กระทั่งจู่ ๆ เกิดเสียงดังก้องในโสตประสาทราวกับเสียงสวรรค์

(ใช่หรือไม่ก็ไม่ทราบ) ตรัสว่า อันทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเกิดจากธรรมชาติ เกิดขึ้นและดับลง

ทุกสิ่งล้วนว่างเปล่าไร้ซึ่งอัตตา
วินาทีนั้น

ดิฉันรู้สึกปลื้มปิติราวกับได้พานพบกับโลกแห่งแสงสว่าง ถึงขั้นที่ว่าไม่ยอมลุกจากที่นั่ง

ไม่รับรู้สิ่งภายนอก ไร้ซึ่งอารมณ์ทุกอย่างล้วนว่างเปล่าไปหมด

ตอนนั้นดิฉันยอมรับว่าหลงคิดไปว่า นี่แหล่ะคือสุขแท้ คือความว่าง คือนิพพานที่เฝ้าค้นหา

จนระยะหลังเกิดยึดติดกับความปิตินี้ จึงถึงขั้นไม่สามารถรับรู้โลกภายนอกได้อีกต่อไป

เวลามีใครมาเรียกดิฉันก็จะไม่ได้ยิน ไม่ตอบสนอง หรือถ้าตอบก็จะตอบเพียงสั้น ๆ

และล้วนแต่เป็นหลักธรรมคำสอนไปเสียหมด

(ใครไม่เคยเห็นก็จะหลงเข้าใจไปว่าเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ไปโน่น) อาการของดิฉันเป็นหนักมาก

จนภายหลังต้องเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลและใช้เวลานานกว่าจะหายเป็นปกติ

ภายหลังเคยเห็นผู้รู้ท่านหนึ่ง มาตั้งกระทู้ไว้เกี่ยวกับข้อควรระวังเรื่องหลงผิดเรื่องสติปัฏฐานสี่

จึงทำให้รู้ว่า อาการของตนนั้นน่าจะเกิดจากการนั่งวิปัสสนาแบบผิด ๆ และรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ดังกล่าว

ไม่ทราบว่า ผู้ใดเคยมีอาการแบบดิฉันบ้างคะ และถ้ามีควรจะแก้ไขอย่างไร เคยมีคนบอกว่า

นั่งวิปัสสนาต้องควบคู่ไปกับสติ แต่ดิฉันก็ไม่ทราบว่ามันคืออะไร

ทุกวันนี้ยังนึกกลัวอยู่ว่า ถ้านั่งแล้วเกิดความรู้สึกอย่างเดิมอีก แล้วจะดึงตัวเองกลับคืนสู่โลก

แห่งความจริงได้หรือเปล่า และถ้าปล่อยไปจะเป็นอะไรไหม เพราะตอนนั้นยอมรับว่า

มีความสุขมาก จนถึงขั้นยอมตายเลยก็ว่าได้ดิฉันควรทำยังไงดีคะ

รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยค่ะ


http://board.palungjit.com/f4/อาการแบบนี้เรียกว่าหลงผิดเรื่องสติปัฏฐานสี่-หรือเปล่าคะ-วอนผู้รู้ช่วยตอบ-193828.html

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:



เมื่อธรรมชาติปรากฏอย่างนั้น พึงกำหนดรู้ตามที่มันเป็น ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดตามนั้น "เสียงหนอๆๆ"

กำหนดรู้แล้วๆกัน

เมื่อกำหนดตามนั้นแล้วจิตจะไม่ปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 19:23, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร