วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 20:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




flower1_div_md_wht.gif
flower1_div_md_wht.gif [ 9 KiB | เปิดดู 9645 ครั้ง ]
(พุทธธรรมหน้า 803)

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน เป็นวิธีปฏิบัติที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือ

กันอย่างสูง

ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว

เป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมามาก

แต่พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว่เขวอยู่มาก เช่นเดียวกัน

จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร


สติปัฏฐานมีหัวข้อตามลำดับ ดังนี้

-คำจำกัดความสัมมาสติ

-สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

-สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

-กระบวนการปฏิบัติ (อุบายวิธีการปฏิบัติ)

-บทบาทสติในกระบวนการกำจัดอาสวกิเลส (หรือการพัฒนาปัญญา)

-ผลของการปฏิบัติ

-สติที่ตามทันขณะปัจจุบันเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา

-สติในฐานะความไม่ประมาท (อัปปมาทธรรม )

-สติโดยคุณค่าทางสังคม


(พึงเลือกอ่านตามหัวข้อที่ต้องการศึกษา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 19:54, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำจำกัดความสัมมาสติ


สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ 2 ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา

มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้



“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส

ในโลกเสียได้

3) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้

4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส

ในโลกเสียได้

(ที.ม. 10/299/349ฯลฯ )


คำจำกัดความอีกแบบหนึ่ง ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมว่า ดังนี้

“สัมมาสติ เป็นไฉน ? สติ คือ การคอยระลึกถึงอยู่เนือง ๆ การหวนระลึก (ก็ดี)

คือ ภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม (ก็ดี)

สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นสัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นี้เรียกว่า

สัมมาสติ”


(อภิ.วิ. 35/182/104 ฯลฯ )



:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ



1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย

2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา

3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต

4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ในภาษาอังกฤษ สติที่ใช้กันว่า Mindfulness, attentiveness

ส่วน อัปปมาทะ มีคำนิยมใช้หลายคำ Heedfulness. Watchfulness ฯลฯ

(พอเป็นตัวอย่าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 18:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1588005lhu1nq7vr7.gif
1588005lhu1nq7vr7.gif [ 27.38 KiB | เปิดดู 9683 ครั้ง ]
สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


สติปัฏฐาน (สติ+ปัฏฐาน) แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง

การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ

โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า



“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก (ทางเดียว) เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อข้ามพ้นความโศก และ ปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์ และ โทมนัส

เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔” *


(* ที.ม.10/273/325 ; ม.มู.12131/103 สติปัฏฐานมาใน อภิ.วิ.35/431-464/257-279 ด้วย)


การเจริญสติปัฏฐาน เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว

ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้

หรือ จะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐาน

นี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้

วิปัสสนา เป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก

พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่อง ที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร

จากการศึกษาคร่าวๆ ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไป นี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น

ทั้งในแง่สาระสำคัญขอบเขต ความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝน

ปฏิบัติ โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปว่าเป็นไปได้ และ มีประโยชน์เพียงใด
เป็นต้น


สาระสติปัฏฐาน มีใจความโดยสังเขป คือ

1. กายานุปัสสนา การพิจารณากาย หรือ ตามดูรู้ทันกาย

1. 1 อานาปานสติ คือไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก

โดยอาการต่างๆ

1.2 กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือ ร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ๆ ก็รู้ชัดในอาการ

ที่เป็นอยู่นั้นๆ

1.3 สัมปชัญญะ คือ สร้าง ในการกระทำทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่น

การก้าวเดิน การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

การตื่น การนอนหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น

1.4 ปฏิกูลมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า ซึ่งมีส่วนประกอบ

ที่ไม่สะอาดต่างๆ มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน

1.5 ธาตุมนสิการ คือ พิจารณากายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ

1.6 นวสีวถิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตาย ใหม่ๆ

ไปจนถึงกระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตน ว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้น

เหมือนกัน



2. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนาคือ

เมื่อเกิดรู้สึกสุขก็ดี

ทุกข์ก็ดี

เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ


3. จิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันจิต คือ

จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ

ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ ในขณะนั้นๆ


4. ธัมมานุปัสสนา การตามดูรู้ทันธรรม คือ

4.1 นิวรณ์ * คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่

ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้นได้อย่างไร

ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร

ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

4.2 ขันธ์ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่าง คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร

4.3 อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอก แต่ละอย่างๆ

รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ

รู้ชัดว่า สัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร

ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร

ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร

4.4 โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร

ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร

4.5 อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* นิวรณ์ สิ่งที่กีดกั้นขัดขวางการทำงานของจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.พ. 2010, 12:35, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายใน

(= ของตนเอง) อยู่บ้าง

ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอก (= ของคนอื่น) อยู่บ้าง

พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่บ้าง

พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง

พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง

ก็แล เธอมีสติปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ เพียงพอให้เป็นความรู้ และพอสำหรับระลึกเท่านั้น

และเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆในโลก


(กาย เปลี่ยนเป็น เวทนา จิต ธรรม ตามแต่กรณีนั้นๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 18:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน


จากใจความย่อ ของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย)

ไม่ใช่หลักการ

ที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือ จำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง

โดยเหตุนี้ จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญ

หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแล

ทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ

ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1

เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1

ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ 1

ความนึกคิดไตร่ตรอง 1


ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย

ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม

จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐาน แต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า

ในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย

ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ (เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ

อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ)

ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่



1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง

และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)


ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา


ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น

หรือ การกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร

และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิด ใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ



ข้อความที่ว่า “กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้” แสดงถึงท่าที ที่เป็นผลจากการมีสติสัมปชัญญะ

ว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้ และขัดเคืองเสียใจในกรณีนั้นๆ


ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิด ความเสื่อมสิ้นไปนั้น

แสดงถึงการพิจารณาเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์

จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือการมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่น ที่ว่า


“กายมีอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งเหล่านั้น ตามที่เป็นอย่างนั้นของมันเอง

โดยไม่เอาความรู้สึกสมมุติและยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา

เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น

ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าทีของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอก

และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 08:29, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกบาลีที่สำคัญ มาแปลและแสดงความหมายไว้ โดยย่อ ดังนี้

-กาเย กายานุปสฺสี - แปลว่า พิจารณาเห็นกายในกาย

คือมองเห็นในกายว่าเป็นกาย

มองเห็นกายตามสภาวะ ซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประกอบกันเข้า แห่งส่วนประกอบ คือ อวัยวะน้อยใหญ่

ต่างๆ

ไม่ใช่มองเห็นกายเป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่น นางนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้

หรือเห็นชายนั้นหญิงนี้ ในผมในขน ในหน้าตา เป็นต้น

หมายความว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดูตรงกันกับสิ่งที่เห็น

คือ ดูกายก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง

ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง

ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบ อยากชมบ้าง เป็นต้น

เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “ สิ่งที่ดูมองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น

ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้” *


-อาตาปี สัมปชาโน สติมา = แปลว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ได้แก่

มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อ

ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ

(ตรงกับหลักในมหาจัตตารีสกสูตร) ความเพียร คอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่

ไม่ให้รีรอล้า หรือ ถอยหลัง จึงไม่เปิดช่อง ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น

แต่เป็นแรงเร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น


สัมปชัญญะ คือ ตัวปัญญา ที่พิจารณา และรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนด

ทำให้ไม่หลงใหลไปได้ และ เข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง

สติ คือ ตัวกำหนดจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน


-วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ = แปลว่า กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่ง เบิกบาน ไม่มีทั้งความติดใจ

อยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน


-อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย = แปลว่า

เธอมีสติ ปรากฏชัดว่า "กายมีอยู่" เพียงเพื่อเป็นความรู้ และพอสำหรับระลึกเท่านั้น คือ

มีสติกำหนดชัดเจน ตรงความจริงว่า มีแต่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคลล หญิง ชาย ตัวตน ของตน

ของเขา ของใคร เป็นต้น

ทั้งนี้ เพียงเพื่อเป็นความรู้ และ สำหรับใช้ระลึก คือ เพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ หรือ

เพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน

มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุงแต่งฟ่ามเฝือไป

แม้ในเวทนา จิต และธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้


-อนิสฺสิโต จ วิหรติ = แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย คือ มีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด

ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคคลนี้ เป็นต้น

ว่าตามหลัก คือ ไม่ต้องเอาตัณหาและทิฐิเป็นที่อิงอาศัย หรือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น

เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็รับรู้โดยตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่

ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหา และทิฐิมาช่วยวาดภาพ ระบายสี เสริมแต่งและกล่อมให้เคลิ้มไป ต่างๆ

โดยฝากความคิดนึก จินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น


-น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ = แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก คือ

ไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ ไม่ว่า จะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร

หรือวิญญาณว่า เป็นอัตตา หรืออัตตนียา เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น


-อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง ข้อความนี้ อาจารย์หลายท่าน

อธิบายกันไปต่างๆ

แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า ภายใน หมายถึง ของตนเอง

ภายนอก หมายถึง ของผู้อื่น

และมตินี้ สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง เช่นว่า

"ภิกษุตามเห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ?

ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้น มีราคะก็รู้ชัดว่า จิตของผู้นั้นมีราคะ ฯลฯ"


(อภิ.วิ.35/445-7/263-5)



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


* ที.อ. 2/472; ม.อ. 1/333; วิภงฺค.อ. 284 ข้อความว่า “กายในกาย” นี้

อรรถกถาอธิบายไว้ถึง 4-5 นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสน

กัน คือ ตามดูกายในกาย

ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม

ในกาย อีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ

ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่ากายทั้งหมดนั้นไม่มี

อะไรนอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป ไม่มีนาย ก. นาง ข. เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 19:03, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางท่าน อาจสงสัยว่า ควรหรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกายใจของคนอื่น

และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร

เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง

และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น

เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา

ก็พึงเกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่เราเท่านั้น คือ รู้ตรงไปตรงมา

แค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น (ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้

ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอดรู้) จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคนอื่น

ทำให้เกิดราคะบ้าง โทสะบ้าง เป็นต้น

ถ้าไม่รู้ หรือ ไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป

มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจของผู้อื่นแต่ประการใด


อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตน

ที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิด แล้วก่อปัญหาขึ้นได้เลย

การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิต

วิเคราะห์ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) ในสมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า

สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง

และใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย
*

.......

* ดู N.P. Jacobson. Buddhism: the Religion of Analysis ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 พ.ค. 2010, 19:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณกรัชกาย ที่นำธรรมมะสาระดีๆมาใหัอ่านอยู่ประจำ
ขอให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 21:35
โพสต์: 13


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ อนุโมทนา บุญด้วยคับผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กระบวนการปฏิบัติ หรือ วิธีปฏิบัติ โยคีส่วนมากยังจับหลักไม่ได้ คือ ยังไม่เข้าใจว่า จะเริ่มต้นยังไง

ยิ่งฟังมามากสำนักมากอาจารย์ยิ่งสับสนเข้าไปใหญ่ พิจารณาหลักที่เป็นวิชาการก่อน



กระบวนการปฏิบัติ (หรือขั้นเตรียมการ)


๑ . องค์ประกอบ หรือ สิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้ มี ๒ ฝ่าย คือ

- ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยกำหนด หรือ คอยสังเกตเพ่งพิจารณา ซึ่งก็ได้แก่

สติกับสัมปชัญญะที่เกาะจับ กาย เวทนา จิต และธรรม ที่เป็นไปแต่ละขณะๆ

ดู ข้อ ๓ ประกอบ )

-กับฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกกำหนด หรือถูกสังเกตเพ่งพิจารณา ได้แก่ กาย เวทนา จิต

และธรรม ที่เกิดแต่ละขณะๆ ดูข้อ ๒ ประกอบ )


๒. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ หรือถูกกำหนดเพ่งพิจารณา ก็คือ สิ่งธรรมดาสามัญ

ที่มีอยู่กับตัวของทุกคนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ

เฉพาะที่เป็นปัจจุบัน คือ ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ ในขณะนั้นๆ เท่านั้น

(ปัจจุบันขณะ)


๓ . องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือคอยกำหนดคอยเพ่งพิจารณา เป็นตัวการหลัก

ของสติปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ

สติ เป็นตัวเกาะจับสิ่งที่จะพิจารณาเอาไว้ (ตามเกาะจับ กาย เวทนา จิต ธรรม

แต่ละขณะที่เป็นปัจจุบัน คือ สิ่งใดกระทบรู้สึก พึงเกาะจับสิ่งนั้น แต่ละขณะๆไป)


สัมปชัญญะ เป็นตัว ปัญญา ตระหนักรู้สิ่ง หรือ อาการที่ถูกพิจารณานั้นว่า คือ อะไร

มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น เมื่อกำหนดพิจารณาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่นการเดิน ก็รู้ตัว

ว่า เดินทำไม เพื่อไปไหน เป็นต้น และเข้าใจสิ่งนั้น หรือการกระทำนั้น

ตามความเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น โดยไม่เอาความรู้สึกเป็นต้นของตนเองเข้าเคลือบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 19:17, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทำความเข้าใจคำว่า ปัจจุบัน ขั้นฝึกจิตเพิ่มอีกซักหน่อย เพราะยังมีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก เมื่อเข้าใจผิด ก็จึงเป็นเหตุให้การปฏิบัติสติปัฏฐานคลาดเคลื่อนด้วย ตามปัจจุบันธรรมไม่ทัน


ว่าโดยความหมายทางธรรมขั้นการฝึกอบรมทางจิตใจ คำว่า ปัจจุบัน หมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้น

เป็นอยู่ ในความหมายที่ลึกซึ้งนี้ เป็นอยู่ในปัจจุบัน หมายถึงมี

สติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆ ขณะ

ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้ว เกิดความชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจขึ้น ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้น ที่สร้าง

ซ้อนขึ้นในใจ ก็เป็นอันตกไปอยู่ในอดีต ตามไม่ทัน หลุดหลงไปจากขณะปัจจุบันแล้ว หรือ

จิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบันไปเกาะเกี่ยวกับภาพสิ่งที่ยังไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 พ.ค. 2009, 18:27, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


กายนี้ไม่มีกายนี้มีแต่โรค สกปรก โสโครกวันหนึ่งต้องจากกัน
เวทนานี้ไม่มี ไม่เจ็บ ไม่มีความรู้สึกใดๆ รู้เพียงว่าอาการ เกิดขึ้น ไม่กะวนกะวายตามอาการไป
จิตนี้เพียงอาศัย ใช้ มองไม่เห็น วันหนึ่ง จะไม่ เห็น ไม่ สัมผัส กัน อีก ชั่วนิรันดร
ธรรม นี้เป็น ของยาก ผู้ใด ไม่ ลุถึงฌาน ญาน ไม่อาจ พิจารณา ได้ตามจริงเพียงนึกๆคิด
วันหนึ่งรู้แล้ว ละ วาง จบ :b23:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



มีข้อที่ควรระวังที่ควรย้ำไว้เกี่ยวกับความเข้าใจผิด ที่อาจเป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดพลาดเสียผลได้
กล่าวคือ



มีบางคนเข้าใจความหมายของคำแปล สติ ที่ว่า ระลึกได้

และ

สัมปชัญญะที่ว่า รู้ตัว ผิดพลาดไป

โดยเอาสติ มากำหนดนึกถึงตนเอง และ รู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่

กลายเป็นการสร้างภาพตัวตนขึ้นมา และจิตก็ไปจดจ่อกับภาพตัวตนอันนั้น

เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา

หรือ อย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน- ( คือ ไม่อยู่ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นขณะปัจจุบัน

แต่ละขณะๆ) ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนที่จะได้ผลดี ก็กลับกลายเป็นเสียไป

(เพราะมัวนึกว่า ฉันกำลังทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ จึงหลุดจากปัจจุบันอารมณ์ตามไม่ทัน)


สำหรับผู้ที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้

การคุมจิตไว้กับอารมณ์

การคุมจิตไว้กับสิ่งที่กำลังทำ


มองความหมายของสัมปชัญญะ ในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังทำ

กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าฉันทำนั่นทำนี่)

ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่กำลังทำ หรือ กรรมฐาน)

ไม่ใช่นึกถึงตัว (ตัวผู้ทำ)

ให้สติ ตามกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือ กำลังเป็นไป

จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือ ตัวผู้ทำเลย คือ ใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น

จนกระทั่งความรู้สึกว่า ตัวฉัน หรือ ความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.ย. 2009, 11:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2009, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเจริญสัมมาสติถูกวิธีก็กำจัดกิเลสที่ทำให้จิตเครื่องเศร้าหมองได้เองในตัวแล้ว

ดูข้อความต่อไปนี้




บทบาทสติในกระบวนการกำจัดอาสวกิเลส

ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของสติ คือ การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์

ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป หรือ ไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

แต่คอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง มุ่งหน้าเข้าหาอารมณ์นั้นๆ

เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใดแล้ว ก็เข้าจับดูติดๆไป ไม่ยอมให้คลาดหาย คือ

นึกถึงหรือระลึกไว้เสมอ ไม่ยอมให้หลงลืม

มีคำเปรียบเทียบว่า เหมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ หรือเหมือนนายประตู

เพราะเฝ้าอายตนะต่างๆที่เป็นทางรับอารมณ์ ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา

เหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือ สัญญา ที่มั่นคง หรือ สติปัฏฐานต่างๆ


เมื่อนำลักษณะการทำหน้าที่ของสติ ที่กล่าวแล้วนั้นมาพิจารณาประกอบ จะมองเห็นประโยชน์

ที่มุ่งหมายของการปฏิบัติฝึกฝนในเรื่องสติ ดังนี้



๑. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้และ กระแส

ความคิด

เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ ตรึงกระแสความคิด ให้นิ่งเข้าที่ และ ทำให้จิต

เป็นสมาธิได้ง่าย


๒ . ทำให้ร่างกายและจิตใจ อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า เป็นตัวของตัวเอง เพราะมีความโปร่งเบา

ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ

และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกออย่างได้ผลดี


๓ . ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิ อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด

ทำขอบเขตการรับรู้ และ ความคิดให้ขยายออกไปโดยมิติต่างๆ หรือ ให้เป็นไปต่างๆได้


๔ . โดยการยึด หรือจับเอาอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า จึงทำให้การ

พิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่ เท่าที่เป็นพื้นฐานในการสร้างเสริม

ปัญญาให้เจริญบริบูรณ์


๕ . ชำระพฤติกรรมต่างๆ ทุกอย่าง (ทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ให้บริสุทธิ์ อิสระ

ไม่เกลือกกลั้ว หรือ เป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน และร่วมกับสัมปชัญญะ

ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือเหตุผลบริสุทธิ์ล้วนๆ


ประโยชน์ข้อที่ ๔ และ ๕ นับว่าเป็นจุดหมายขั้นสูง จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้

เป็นพิเศษ ซึ่งตามคำจำกัดความในข้อ สัมมาสติ ก็ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 19:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




30.jpg
30.jpg [ 87.61 KiB | เปิดดู 9665 ครั้ง ]
อาการที่เป็นอยู่โดยมี สติสัมปชัญญะ ตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง

ที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือ มีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบัน กล่าวคือสติกำหนดตามทัน

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ หรือ กระทำในขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ

ไม่ปล่อยให้คลาดกันไป ไม่ติดข้องค้างคา หรือ อ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว

ไม่ลอยคว้างไปข้างหน้า เลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มา และ ยังไม่มี

ไม่เลื่อนไหลถอยลงสู่อดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต


หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงจัดทำในอนาคต ก็เอาสติกำหนดจับสิ่งนั้นมา

ให้ปัญญาพิจารณาอย่างมีความมุ่งหมาย

ทำให้เรื่องนั้นๆ กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอยละห้อยเพ้อ

ของความเป็นอดีตหรืออนาคต

การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้ ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา

ไม่ถูกตัณหาล่อไว้หรือชักจูงไปนั่นเอง

แต่เป็นการเป็นอยู่ด้วยปัญญา ทำให้พ้นจากอาการต่างๆ ของความทุกข์ เช่น ความเศร้าซึมเสียดาย

ความร้อนใจกลุ้มกังวล เป็นต้น และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใส

เบาสบายของจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.ย. 2009, 11:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร