วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 16:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๙. ปฏิปทาที่ไม่หวั่นไหว

ปัจจัยที่ ๙ ที่จะนำไปสู่ความเจริญของพละก็คือ
จิตใจที่จะทำให้เรามุ่งเดินหน้าอย่างไม่วอกแวก หรือยอมพ่ายแพ้
จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย

อะไรคือเป้าหมายของการปฏิบัติ

เรามาศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา ทำไม
การเข้าใจจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติเป็นเรื่องสำคัญ


แต่ที่สำคัญกว่านั้น เราต้องซื่อสัตย์กับตนเอง
เพื่อที่เราจะได้รู้ปฏิปทาของตนเอง
ในการบรรลุเป้าหมายที่ว่านั้น มีมากน้อยเพียงไร


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2009, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


กุศลกรรมและศักยภาพของมนุษย์

เราลองมาพิจารณาศีลดู
การได้มีโอกาสอันประเสริฐที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
และเข้าใจว่า โอกาสนี้มาจากกุศลกรรมแล้ว
เราควรที่จะพยายามใช้ชีวิตให้เต็มศักยภาพสูงสุดของมนุษย์

ความหมายอันเป็นนัยยะที่ดีงามของคำว่า “ มนุษย์ ”
ก็คือ ความเมตตาและความกรุณาอันสูงส่ง


มนุษย์ทุกคนก็ควรที่จะพยายามรักษาคุณสมบัติข้อนี้ให้สมบูรณ์มิใช่หรือ

หากเราสามารถปลูกฝังความเมตตากรุณาขึ้นในจิตใจ
เราก็จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างกลมเกลียว และมีความสุข
คุณธรรมเกิดจากการคำนึงถึงความรู้สึกของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งผู้อื่นและตนเอง

การที่คนเรามีศีลธรรม
ไม่เพียงแต่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นเท่านั้น
แต่ยังปกป้องตนเองจากความทุกข์ในอนาคต
เราทั้งหลายควรที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำที่มีผลเสีย
และประกอบแต่กุศลกรรมซึ่งจะช่วยให้เราพ้นทุกข์อย่างถาวร


กรรมเป็นทรัพย์สมบัติที่แท้จริงของเราเพียงอย่างเดียว
จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากเรายึดแนวคิดเช่นนี้
เป็นหลักของความประพฤติ การปฏิบัติธรรม และเป็นหลักของชีวิต
ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว

กรรมจะติดตามเราไปทุกหนทุกแห่งในชาตินี้และชาติหน้า
นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญและเมตตาเรา
และเราจะมุ่งหวังความสุขได้ทั้งชาตินี้
และชาติต่อ ๆ ไป จนกว่าจะถึงพระนิพพาน

การประกอบอกุศลกรรม
ทำให้เสื่อมเกียรติ และเสียชื่อเสียงแม้ในชาตินี้
นักปราชญ์จะตำหนิ ดูหมิ่นเรา
และเราก็ไม่อาจหลีกพ้นผลของกรรมนั้นในอนาคต

เนื่องจาก กรรม อาจก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย
กรรมจึงอาจเปรียบได้กับอาหาร
อาหารบางชนิดมีความเหมาะสม และช่วยบำรุงสุขภาพ
ในขณะที่อาหารบางประเภทเป็นพิษต่อร่างกาย


หากเรารู้ว่าอาหารชนิดใดมีคุณค่า
และรับประทานอาหารนั้นในเวลาและปริมาณที่เหมาะสม
เราก็จะมีชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข

ในทางกลับกัน หากเราไม่อาจอดกลั้นความยั่วยวนของอาหาร
ที่ทำลายสุขภาพและเป็นพิษ
เราก็ต้องรับผล เราอาจเจ็บป่วย และทุกข์ทรมาน และอาจตายได้


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2009, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


กัลยาณกิจ

การให้ทาน หรือความใจกว้างจะช่วยลดความโลภในจิตใจ
ศีลห้าช่วยควบคุมอารมณ์
และกิเลสอย่างหยาบในส่วนของความโลภและความโกรธได้

ด้วยการรักษาศีลนี้
จิตใจจะได้รับการควบคุมในระดับที่ไม่ให้เกิดผลทางกาย
หรือแม้แต่ทางวาจาได้


ผู้ที่รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ก็จะเป็นผู้น่าเคารพ
แม้ว่าใจจิตใจอาจเต็มไปด้วยความทุกข์ ทรมาน
จากความร้อนใจ ความโกรธ ความโลภ
และเล่ห์เพทุบายต่าง ๆ ที่ยังมีกำลังมาก

ดังนั้น ในขั้นต่อไปจึงต้องมี การภาวนา
ซึ่งเป็นภาษาบาลี หมายถึงการพัฒนาจิตใจให้ดีงาม


โดยส่วนแรกของการภาวนา
คือการป้องกันอกุศลจิตมิให้เกิดขึ้น
และส่วนที่สอง
คือทำให้เกิดปัญญาในขณะที่จิตปราศจากอกุศลแล้ว


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2009, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความสุขจากสมาธิและวิปัสสนูกิเลส

สมถภาวนา หรือการเจริญสมาธิ
มีพลังที่จะทำให้จิตสงบ วิเวก และห่างไกลจากกิเลส
โดยกดข่มกิเลสไว้ ไม่ให้ส่งผลร้าย

สมถภาวนามิได้มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา
แต่มีในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนาฮินดู
สมาธิเป็นการปฏิบัติอันน่าชมเชย
โดยผู้ปฏิบัติสามารถทำจิตให้บริสุทธิ์ได้
ในระหว่างที่จิตจดจ่ออยู่กับเป้าหมายของการทำสมาธิ

ผู้ปฏิบัติจะสามารถบรรลุถึง ปีติ ความสุข และความสงบอย่างลึกซึ้ง
บางครั้งพลังจิตที่พิเศษก็อาจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีนี้


ทว่าความสำเร็จของสมถภาวนา
มิได้ทำให้เกิดปัญญาญาณเห็นสัจธรรมของรูปและนามต่าง ๆ
กิเลสจะถูกกดข่มไว้แต่มิได้ถอนราก
จิตใจยังมิได้หยั่งลงสู่สภาวะความเป็นจริง


ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงยังมิได้พ้นจากสังสารวัฏ
และอาจกลับลงสู่อบายภูมิได้ในอนาคต
ดังนั้น แม้ว่าเราอาจได้รับผลดีมากมายจากสมาธิ
แต่ก็อาจกลับเป็นผู้ที่ล้มเหลวในที่สุดได้


หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้พระอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
พระองค์ทรงใช้เวลา ๔๙ วัน อยู่ที่พุทธคยา เสวยวิมุติสุข
แล้วทรงพิจารณาว่า โลกถูกทับถมด้วยกิเลส
และคนยังจมอยู่ในความมืดมนอนธกาลยิ่งนัก
ทำให้พระองค์ทรงเล็งเห็นความยากลำบากอย่างยิ่ง
ในการจะสั่งสอนเวไนยสัตว์

แล้วพระองค์ก็ทรงระลึกถึงบุคคลสองคน
ซึ่งอาจรองรับธรรมะของพระองค์ได้
เนื่องจากมีจิตที่สะอาดและมีกิเลสเบาบางอยู่แล้ว
ทั้งสองท่านได้แก่ อดีตพระอาจารย์ของพระองค์คือ
อาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่ละท่านมีลูกศิษย์มากมาย


เนื่องจากท่านได้บรรลุสมาธิขั้นสูง
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสามารถปฏิบัติตามคำสอน
ของพระอาจารย์ทั้งสองอย่างเชี่ยวชาญแล้ว
แต่ทรงตระหนักว่าพระองค์ทรงต้องการบรรลุสิ่งที่สูงส่งกว่าคำสอนเหล่านั้น


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2009, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปัญญาในการหลุดพ้น

อะไรเล่าที่ขาดหายไปในการเจริญสมถกรรมฐาน
ตอบง่าย ๆ ก็คือ สมถภาวนาไม่สามารถก่อให้เกิดความเข้าใจในสัจธรรมได้

ความเข้าใจนี้จะเกิดขึ้นได้จาก วิปัสสนากรรมฐาน เท่านั้น
มีเพียงปัญญาญาณที่เห็นลักษณะของรูปและนามที่แท้จริงเท่านั้น
จึงจะทำลายความคิดเรื่องอัตตา
ความเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ได้


หากปราศจากความเห็นแจ้ง
ซึ่งเกิดจากการระลึกรู้ด้วยความปล่อยวางแล้ว
เราจะไม่อาจหลุดพ้นจากความคิดเรื่องอัตตาได้เลย

มีเพียงปัญญาที่รู้แจ้งที่จะเข้าใจ หลักของเหตุและผล
ซึ่งหมายถึงการเห็นความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันของรูปแลนาม


ปัญญานี้จะทำให้ละทิ้งอุปาทานว่า
สิ่งต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ โดยปราศจากเหตุ
มีเพียงการเห็นแจ้งปรากฏการณ์ของรูปและนาม
ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างรวดเร็วเท่านั้น
ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นจากความวิปลาสที่ว่า
สิ่งต่าง ๆ มีความเที่ยง คงทน และต่อเนื่องไม่สิ้นสุด


ด้วยการรู้แจ้งด้วยตนเองถึงธรรมชาติอันแท้จริงของความทุกข์เท่านั้น
ที่จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในวัฏสงสาร
ด้วยการรู้แจ้งว่าปรากฏการณ์ทางกาย ทางจิต
ดำเนินไปตามกฎของธรรมชาติ
โดยปราศจากผู้ใดหรือสิ่งใดบังคับควบคุมเท่านั้น
จึงจะทำให้บุคคลคลายจากความยึดมั่นในอัตตาได้


นอกเหนือจากการพัฒนาปัญญาไปตามลำดับขั้นจนถึงพระนิพพานแล้ว
เราจะไม่อาจเข้าใจความสุขที่แท้จริงได้
ด้วยพระนิพพานเป็นเป้าหมาย
ผู้ปฏิบัติจึงควรทุ่มเท ความเพียร บากบั่น
ไม่ท้อถอย มุ่งมั่นจนกว่าจะถึงจุดหมาย

ประการแรก ผู้ปฏิบัติต้องมีความเพียรเมื่อจะเริ่มปฏิบัติ
โดยเอาจิตจับอยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง และเฝ้าดูอย่างต่อเนื่อง
อาจมีการจัดช่วงเวลาการเดิน
และการนั่งอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
เรียกว่าเป็น “ ความเพียรเริ่มแรก ”
ที่จะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่หนทางแห่งสติปัฏฐานและคืบหน้าต่อไป

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2009, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


แม้จะเกิดมีอุปสรรค
ผู้ปฏิบัติก็จะยังคงประพฤติปฏิบัติต่อไป
และเอาชนะอุปสรรคด้วยความอดทน
หากเบื่อหรือง่วง ให้รวบรวมพลังขึ้นต่อสู้
หากรู้สึกเจ็บปวด ให้พยายามเอาชนะจิตใจที่อ่อนแอ
ซึ่งคอยจะล่าถอยและไม่ต้องการเผชิญหน้ากับความเจ็บปวด

ความเพียรระดับนี้เรียกว่า
“ ความเพียรที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง ”
ซึ่งจะทำให้โยคีหลุดพ้นจากความเกียจคร้าน
โดยมีความมุ่งมั่น ไม่ท้อถอย จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย


หลังจากนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเอาชนะความยากลำบากเหล่านี้
และเริ่มพบกับความสงบแล้ว
โยคีต้องไม่ปล่อยใจตามสบาย
แต่จะยังคงเร่งความเพียรให้เกิดปัญญาสูงยิ่ง ๆ ขึ้น
เรียกว่า “ ความเพียรอย่างแรงกล้าเพื่อไปให้ถึงความหลุดพ้น ”


ดังนั้น ปัจจัยที่ ๙ ข้างต้น
ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาพละทั้ง ๕ แท้จริงแล้ว
หมายถึงการใช้ความเพียรใสระดับต่าง ๆ เป็นขั้น ๆ
โดยไม่หยุดยั้ง ลังเล ยอมแพ้ หรือล่าถอยจนกว่าจะถึงจุดหมาย


เมื่อเราดำเนินไปตามแนวทางนี้
ใช้ประโยชน์จากปัจจัยทั้งเก้าประการ
พละทั้ง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
ก็จะเฉียบแหลม และหยั่งลึกมากขึ้น ๆ
จนสามารถนำจิตไปสู่ความหลุดพ้นได้


อาตมาหวังว่า โยคีคงจะสามารถตรวจสอบการปฏิบัติของตนเองได้
และหากยังพบข้อบกพร่องในบางด้าน
ก็ขอให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข้างต้น

ขอให้โยคีมีความพากเพียรมุ่งหน้าต่อไป
จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ปรารถนาด้วย เทอญ ฯ


สาธุ...สาธุ...สาธุ

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : รู้แจ้งปรมัตถธรรมด้วยการเจริญพละ ๕
โดย พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ จาก ชมรมกัลยาณธรรม)

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara122.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

สาธุ....


ขอขุดกระทู้ขึ้นมาเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ สมาชิกใหม่ๆจะได้อ่านบ้างค่ะ :b16:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2015, 05:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 14:07
โพสต์: 278


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
Kiss :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร