วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2010, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1.gif
1.gif [ 20.32 KiB | เปิดดู 3871 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
จะเป็น วิปัสสนา ได้ ต้องมีโยนิโสมนสิการ


คุณเฉลิม ฯ อะไรคือโยนิโสมนสิการครับ คุณพูดชัดๆเป็นภาษาที่เราๆท่านๆเข้าใจหน่อยครับ

โยนิโสมนสิการ คือ ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ม.ค. 2010, 18:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์ว่าตนเองรู้ปริยัติ คือ รู้ทั้งสมถยานิก และ วิปัสสนายานิกว่างั้น

กรัชกายรู้งูๆปลาๆ อย่างเก่งก็แค่ รู้หนอๆๆ ปวดหนอๆๆ กำจัดอภิชฌาโทมนัสไม่ได้

จึงมีคำถามๆคุณข้างล่างนี้อ่านดูครับ


ตอนแรก ๆ เวลาปฏิบัติ ก็เข้าใจว่ารับมือรับเจ้ากรรมนายเวร ได้ ทั้งที่เราก็ขอเขาก่อนนั่งสมาธิ ทุกครั้ง จนกระทั่งคืนวันอังคาร วันพระน่ะค่ะ ขณะกำลังทำสมาธิอยู่ จู่ร่างของเราก็เหมือนถูกตึง เราก็ปล่อยตามสะบายแค่ตามดู คิดว่าเป็นนิมิตธรรมดา แต่ไม่ใช่ค่ะ เพราะนิมิตธรรมดา เรากำหนดรู้มักจะหายไปได้ เอง แต่นี้ไม่ใช่ เขาวิ่งผ่านตัวเราไปค่ะ กระแสของเขา ตอนที่ผ่านร่าง เหมือนจิตกับกายเราจะแยกออกจากกัน ความเจ็บปวดที่เราเคยปวด(เวทนา) ที่นั่งสมาธิตอนแรก ไม่เจ็บเท่านี้ เหมือนร่างกายเราถูกฉีด เหมือนเส้นเลือดจะระเบิดประมาณนั้นจริง ๆ ค่ะ เราแผ่เมตตาให้เขา เขาก็ไม่ยอม แรงเหวี่ยงเยอะมาก ๆ ทั้่งที่ห้อง ปิดหมดเปิดแอร์ นะ แต่มีกระแสลมหมุนตลอดเวลา นึกถึงครูบาอาจารย์ เขาเลยปล่อย เราเป็นไข้วันรุ่งขึ้นเลยค่ะ


http://board.palungjit.com/f4/ท่านมีวีธีรับมือกับเจ้ากรรมนายเวร-เวลาเข้ากรรมฐานอย่างไรคะ-176301.html

เขาเป็นอะไรครับ แล้วจะต้องทำไงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณเฉลิม ฯ อะไรคือโยนิโสมนสิการครับ คุณพูดชัดๆเป็นภาษาที่เราๆท่านๆเข้าใจหน่อยครับ

โยนิโสมนสิการ คือ ?



ขอนำคำสอนของครูบาอาจารย์ ที่สอนเกี่ยวกับเรื่อง โยนิโสมนสิการ เกี่ยวกับการกำหนด นามรูป ดังนี้


คำถาม โยนิโสมนสิการสำคัญอย่างไร? โดย หลวงพ่อเสือ
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... topic=7508

คำตอบ โยนิโสมนสิการ คือ การวางใจได้อย่างแยบคาย เป็นอาหารสำคัญของปัญญา ถ้าไม่มีโยนิโสมนสิการ วิปัสสนาคือตัวปัญญาก็เกิดขึ้นไม่ได้

เพราะถ้าจะทำให้จิตอยู่นิ่งเป็นอารมณ์ๆเดียวก็จะเป็นสมถะหรือมีสมาธิมากไป ในเวลานั่งจึงต้องรู้ความจริงในวิปัสสนาว่า นั่งอยู่ก็รู้สึกตัวว่าเป็นรูปนั่ง เดินอยู่ก็รู้สึกตัวว่าเป็นรูปเดิน ยืนอยู่ก็รู้สึกตัวว่าเป็นรูปยืน ไม่ใช่เป็นรูปเหมือนกันหมด

เราต้องกำหนดให้แยบคายว่า นี่รูปเดิน นี่รูปยืน นี่รูปนอน คนละรูปกัน ไม่ใช่กำหนดรูปอย่างเดียว ต้องให้เห็นความแตกต่างระหว่างรูปด้วย การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่าการมองได้อย่างแยบคายว่าเป็นอาการที่ทรงตัวอยู่อย่างนั้น คือรูปยืน อาการที่เดินอยู่คือรูปเดิน อาการที่นั่งอยู่คือรูปนั่ง ต้องกำหนดทุกท่าและมีการวางใจให้ถูกต้อง

หรือว่านามกำลังทำงานอยู่ก็รู้ว่านามอะไรด้วย ไม่ใช่นาม นาม นาม นาม.. ไม่รู้นามอะไร เช่น กำหนดรู้สึกนามเป็นทุกข์ นามได้ยิน นามเห็น นามฟุ้ง นามโกรธ นามหงุดหงิด นามเบื่อ เป็นต้น

เราจะเห็นว่าชีวิตของเรานี้มีสิ่งที่เข้ามาสารพัด มีความวุ่นวาย ยุ่งเหยิง ไม่เป็นชิ้นเป็นอันเลย และก็ไม่ใช่มีเพียงอย่างเดียว มีสารพัดอย่างที่เข้ามา และออกไปตามเหตุตามปัจจัย

---------------------------------------------------
เพื่อความสะดวกในการศึกษาและทำความเข้าใจ
จึงขอนำกระทู้ที่ท่าน อาจารย์บุษกร เมธางกูร
ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
มารวมไว้ในกระทู้นี้อีกครั้งหนึ่ง

รวมกระทู้วิปัสสนาและโยนิโสมนสิการ
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... topic=3295
--------------------------------------------

โยนิโสมนสิการ …
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... topic=1814

๑. ความหมาย

โยนิโสมนสิการ คือการทำอารมณ์โดยแยบคาย แยบคายอย่างไร แยบคายคือ ในอารมณ์อันเดียวกัน จะเป็นรูปารมณ์…หรือสัททารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม…เป็นปัจจัยให้รักก็ได้ ให้โกรธก็ได้ ให้เป็นกุศลก็ได้ ให้เป็นปัญญาก็ได้ ถ้าคนๆ นั้นมีโยนิโสมนสิการ คือ ถ้าทำอารมณ์โดยแยบคายแล้วก็จะเข้าใจ ทำความรู้สึกในอารมณ์นั้น กิเลสก็เข้าไม่ได้ในอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็เป็นอาหารของปัญญาไป นี่คือ โยนิโสมนสิการ หรือ…

โยนิโสมนสิการ คือ การทำเข้าไว้ในใจโดยถูกอุบาย หรือถูกวิธีการ ถูกทาง …ถูกอุบายหรือถูกวิธีการอะไร …อุบายหรือวิธีการให้เกิดปัญญานั้นเอง การรู้ถูกรู้จริงก็คือปัญญา



๒. อิริยาบถในการดำรงชีวิต

การดำรงชีวิตของคนเรานั้น การเป็นอยู่ได้ในชีวิตประจำวันต้องอาศัยอิริยาบถเป็นสำคัญ อิริยาบถ ได้แก่ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน

อิริยาบถเป็นธรรมะ แม้พระอรหันต์ก็ยังต้องใช้อิริยาบถแต่การใช้อิริายาบถของท่านไม่เหมือนการใช้อิริยาบถของปุถุชน อิริยาบถของท่านใช้ไปในสิ่งที่จำเป็น จะเคลื่อนไหวไปตามวิบากขันธ์ แต่อิริยาบถของเราโดยมากใช้ไปตามอำนาจของกิเลส ดังนั้นการใช้อิริยาบถนี้เป็นไปได้ ๒ อย่าง คือ

เป็นไปด้วยอำนาจของกิเลสอย่างหนึ่ง

เป็นไปด้วยอำนาจของวิบากอย่างหนึ่ง

อิริยาบถที่เป็นไปด้วยอำนาจของวิบาก พระอรหันต์ยังใช้อยู่ แต่ถ้าเป็นไปด้วยอำนาจของกิเลส พระอรหันต์ไม่มีแล้ว …เพราะท่านไม่มีกิเลสแล้ว

๓. อิริยาบถเกี่ยวข้องกับกิเลสอย่างไร

การไปปฏิบัติวิปัสสนา ก็เพื่อจะละกิเลส …แต่คนเราก็ไม่ทราบว่าละกิเลสที่ไหน …กิเลสอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ …อิริยาบถน่ะจะไปพิจารณาทำไม ..ก็ไม่เห็นจะมีกิเลสอะไรเลย อิริยาบถก็เป็นของธรรมดา …

กิเลสน่ะอยู่ที่จิตใจต่างหาก ถ้าทำให้ใจนิ่งเสียอย่าง ให้ใจสงบๆ กิเลสก็หมดไปแล้ว จะต้องมาเกี่ยวข้องอะไรกับอิริยาบถเล่า คือเขาคิดว่าที่อาศัยของกิเลสคือใจเท่านั้น เขาเข้าใจกันอย่างนี้ เขาไม่เคยนึกเลยว่า อิริยาบถเป็นที่อาศัยของกิเลส

อิริยาบถเป็นที่อาศัยของกิเลสได้อย่างไร

ตามปกติคนเรา จะใช้อิริยาบถไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน คือไม่นั่งก็นอน ไม่นอนก็ยืน ไม่ยืนก็เดิน เช่นนี้อยู่เสมอในชั่วชีวิตของคนๆ หนึ่ง …การเปลี่ยนอิริยาบถจากอิริยาบถเดิมไปเป็นอิริยาบถใหม่ มักจะเกิดขึ้นด้วยความรู้สึกว่าอยากเปลี่ยน… เมื่อมีความรู้สึกว่าอยากเปลี่ยนนั่นก็คือมีตัณหาเกิดขึ้นแล้ว คืออยากเปลี่ยนอยากเดินเกิดขึ้น …เมื่อตัณหาเกิดขึ้นแล้ว ทิฏฐิก็เห็นว่าเดินเป็นสุข เดินให้ความสบาย…ทิฏฐิก็เข้าอีก …

ดังนั้นทั้งตัณหาและทิฏฐิก็เข้าอาศัยในอิริยาบถที่เปลี่ยนทุกครั้งไปอยู่เสมอ ..เป็นอย่างนั้นไปตลอดชีวิต …นี่แหละคือกิเลสอาศัยอยู่ในอิริยาบถ


-------------------------------------------------------------------

โยนิโสมนสิการ โดย อาจารย์วิชิต ธรรมรังษี

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... topic=2144

----------------------------------------------

คุณกรัชกาย หรือ ท่านผู้สนใจ ค้นหากระทู้เกี่ยวกับ โยนิโสมนสิการ จากท่านผู้รู้ ได้ที่

ค้นกระทู้
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... er=dokgaew

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณเฉลิม ฯ อะไรคือโยนิโสมนสิการครับ คุณพูดชัดๆเป็นภาษาที่เราๆท่านๆเข้าใจหน่อยครับ

โยนิโสมนสิการ คือ ?


คุณกรัชกายครับ โยนิโสมนสิการ มีความสำคัญมาก ๆ เป็นอาหารของปัญญา

ไม่ใช่ว่าคุณจะมานั่งท่อง รู้หนอ ๆ ๆ , เห็นหนอ ๆๆๆๆๆ สาระพัดหนอของคุณแล้วจะถือว่า รู้อย่างถูกต้องแล้ว หรือ ภาวนา พุทโธ ๆๆๆๆๆๆ

ความรู้ความเข้าใจก่อนปฏิบัติ ระหว่างปฏิบัติจึงมีความสำคัญมาก ๆ


http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm

นกการเวกสำคัญที่ เสียง
สตรีสำคัญที่ รูป
บุรุษสำคัญที่ วิทยาคุณ
นักพรตสำคัญที่ การอบรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาฯ สำคัญที่ ความเข้าใจ

-------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง


คุณกรัชกายครับ อย่าได้นำเอาทิฏฐิของตนเอง ไปเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าเลยครับ

จินตามยปัญญา ย่อมเกิดได้กับ พระมหาโพธิสัตว์

ไม่ใช่จะนั่งสมาธิแล้ว จะเกิดความรู้เอง แบบท่าน

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง


viewtopic.php?f=2&t=28547&st=0&sk=t&sd=a&start=0

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิม ฯ ขอรับ คุณมองไม่เห็นคำถามนี้ครับ
ที่ถามว่า



กรัชกาย เขียน:
คุณเฉลิมศักดิ์ว่าตนเองรู้ปริยัติ คือ รู้ทั้งสมถยานิก และ วิปัสสนายานิกว่างั้น

กรัชกายรู้งูๆปลาๆ อย่างเก่งก็แค่ รู้หนอๆๆ ปวดหนอๆๆ กำจัดอภิชฌาโทมนัสไม่ได้

จึงมีคำถามๆคุณข้างล่างนี้อ่านดูครับ


ตอนแรก ๆ เวลาปฏิบัติ ก็เข้าใจว่ารับมือรับเจ้ากรรมนายเวร ได้ ทั้งที่เราก็ขอเขาก่อนนั่งสมาธิ ทุกครั้ง จนกระทั่งคืนวันอังคาร วันพระน่ะค่ะ ขณะกำลังทำสมาธิอยู่ จู่ร่างของเราก็เหมือนถูกตึง เราก็ปล่อยตามสะบายแค่ตามดู คิดว่าเป็นนิมิตธรรมดา แต่ไม่ใช่ค่ะ เพราะนิมิตธรรมดา เรากำหนดรู้มักจะหายไปได้ เอง แต่นี้ไม่ใช่ เขาวิ่งผ่านตัวเราไปค่ะ กระแสของเขา ตอนที่ผ่านร่าง เหมือนจิตกับกายเราจะแยกออกจากกัน ความเจ็บปวดที่เราเคยปวด(เวทนา) ที่นั่งสมาธิตอนแรก ไม่เจ็บเท่านี้ เหมือนร่างกายเราถูกฉีด เหมือนเส้นเลือดจะระเบิดประมาณนั้นจริง ๆ ค่ะ เราแผ่เมตตาให้เขา เขาก็ไม่ยอม แรงเหวี่ยงเยอะมาก ๆ ทั้่งที่ห้อง ปิดหมดเปิดแอร์ นะ แต่มีกระแสลมหมุนตลอดเวลา นึกถึงครูบาอาจารย์ เขาเลยปล่อย เราเป็นไข้วันรุ่งขึ้นเลยค่ะ


http://board.palungjit.com/f4/ท่านมีวีธีรับมือกับเจ้ากรรมนายเวร-เวลาเข้ากรรมฐานอย่างไรคะ-176301.html

เขาเป็นอะไรครับ แล้วจะต้องทำไงต่อไป



คุณตอบเขาหน่อยครับ เอาเห็นๆนี่ล่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar_2834.gif
avatar_2834.gif [ 4.42 KiB | เปิดดู 3798 ครั้ง ]
โยนิโสมนสิการ (คิดแยบคาย) การรู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี มีหลายแบบพึงศึกษาจากลิงค์ เป็นต้น นี้

viewtopic.php?f=2&t=22303&p=109458#p109458

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 10:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




picture-3996.gif
picture-3996.gif [ 11.4 KiB | เปิดดู 3768 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ขอรับ หายไปไหนอีกแล้วววว ตอบหน่อยดิขอรับ :b32:

ถ้างั้นถามใหม่ คุณเคยได้ยิน พรหมชาลสูตร ไหมครับ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 10:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 00:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนากรรมฐานเป็นการคิดค่ะ คิดในสมาธิค่ะ คิดเทียบกับสัจธรรม โดยคนที่รู้จักสัจธรรมจริงๆจะทำให้ปัญญาพัฒนาค่ะ

สัจธรรมจะเข้าใจได้ต้องทำสมาธิแบบสมถะก่อนค่ะ

คนเราเข้าใจผิด เพราะอยากมีปัญญาเลยไปวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งผิดหลักค่ะ เพราะไม่เข้าใจสัจธรรม

ถ้าน้องอยากเริ่ม ก็เริ่มที่พุทโธ ยุบหนอพองหนอ กำหนดความคิดไว้ที่ลมหายใจ บังคับความคิดนั่นแหละค่ะ ตบให้อยู่ที่ลมหายใจให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
chulapinan เขียน
วิปัสสนากรรมฐานเป็นการคิดค่ะ คิดในสมาธิค่ะ คิดเทียบกับสัจธรรม โดยคนที่รู้จักสัจธรรมจริงๆจะทำให้ปัญญาพัฒนาค่ะ

สัจธรรมจะเข้าใจได้ต้องทำสมาธิแบบสมถะก่อนค่ะ

คนเราเข้าใจผิด เพราะอยากมีปัญญาเลยไปวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งผิดหลักค่ะ เพราะไม่เข้าใจสัจธรรม

ถ้าน้องอยากเริ่ม ก็เริ่มที่พุทโธ ยุบหนอพองหนอ กำหนดความคิดไว้ที่ลมหายใจ บังคับความคิดนั่นแหละค่ะ ตบให้อยู่ที่ลมหายใจให้ได้
วิปัสสนากรรมฐานเป็นการคิดค่ะ คิดในสมาธิค่ะ คิดเทียบกับสัจธรรม โดยคนที่รู้จักสัจธรรมจริงๆจะทำให้ปัญญาพัฒนาค่ะ

สัจธรรมจะเข้าใจได้ต้องทำสมาธิแบบสมถะก่อนค่ะ

คนเราเข้าใจผิด เพราะอยากมีปัญญาเลยไปวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งผิดหลักค่ะ เพราะไม่เข้าใจสัจธรรม

ถ้าน้องอยากเริ่ม ก็เริ่มที่พุทโธ ยุบหนอพองหนอ กำหนดความคิดไว้ที่ลมหายใจ บังคับความคิดนั่นแหละค่ะ ตบให้อยู่ที่ลมหายใจให้ได้



จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา ของอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241

ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์
!
!
!
กำลังใจของผู้ปฏิบัติในระยะนี้ จะอ่อนแอเกิดความท้อถอย คิดว่า ตนหมดวาสนาที่จะปฏิบัติธรรมเสียแล้วทำให้ไม่อยากปฏิบัติต่อไป และไม่อยากแม้แต่จะเข้าห้องปฏิบัติของตนเอง ถ้าปฏิบัติอยู่ในสำนักวิปัสสนาก็อยากจะหนีไปเสีย เพราะความเบื่อหน่าย และบางทีจะเตรียมเก็บข้าวของหีบห่อเพื่อกลับบ้าน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า ความรู้หรืออารมณ์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้าขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์อย่างนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติทุกคน ฉะนั้นจะต้องพยายามปฏิบัติต่อไป ด้วยน้ำใจอันหนักแน่นไม่ท้อถอย และอย่าเลิกร้างการปฏิบัติเสียเป็นอันขาด อีกไม่ช้านักก็จะถึงจุดมุ่งหมายปลายทางอันเป็นยอดปรารถนา
ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ซึ่งโบราณขนานนามว่า " ญาณม้วนเสื่อ " เพราะเมื่อถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะม้วนเสื่อและเก็บข้าวของกลับบ้านเนื่องจากเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย
เมื่อได้หันกลับมาตั้งใจปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งวิปัสสนาต่อไป ความเบื่อหน่ายและความท้อถอยก็จะค่อยๆ อันตรธานและหายไป ให้เปลี่ยนวิธีเดินจงกรมใหม่ คือเพิ่มการเดินห้าจังหวะเข้าด้วย

------------------------------------------------------------------
ฝากถึงการนั่งคิดด้วยนะครับ หากขาดโยนิโสมนสิการ ก็จะคิดว่าตนเองเกิด วิปัสสนาญาณ จนกระทั่ง ไปถึง นิพพาน แบบผิด ๆ นะครับ

อ้างคำพูด:
ถ้าน้องอยากเริ่ม ก็เริ่มที่พุทโธ ยุบหนอพองหนอ กำหนดความคิดไว้ที่ลมหายใจ บังคับความคิดนั่นแหละค่ะ ตบให้อยู่ที่ลมหายใจให้ได้


ตบได้ บังคับได้ ก็จะเกิดความเป็น อัตตา ขึ้นมาแบบ อาจารย์กรัชกาย นะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตบได้ บังคับได้ ก็จะเกิดความเป็น อัตตา ขึ้นมาแบบ อาจารย์กรัชกาย นะครับ



ความหมายคำวา "อัตตา" ตามที่คุณเฉลิมศักดิ์คาดคิด คือ อะไร ยังไงครับ อัตตา

ลองบอกให้พอเห็นภาพหน่อยดิขอรับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกายเขียน
ความหมายคำวา "อัตตา" ตามที่คุณเฉลิมศักดิ์คาดคิด คือ อะไร ยังไงครับ อัตตา

ลองบอกให้พอเห็นภาพหน่อยดิขอรับ


คือการรู้สึกว่า มีตัวมีตน , สามารถที่จะไปบังคับให้อยู่ในความต้องการของเราได้

โดยเฉพาะแนวยุบหนอ พองหนอ ของคุณกรัชกาย มีโอกาสที่จะเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมา

เช่น ภาวนาปวดหนอ ๆ ๆ เพื่อให้หายปวด ด้วยอำนาจของสมาธิ ทำได้ก็เกิด อภิชฌา ความพอใจ ถือว่าอยู่ในการ control ของเรา ทำไม่ได้ก็หงุดหงิด (โทมนัส )

สมัยผมฝึกยุบหนอ พองหนอ เวลาเดินต้อง ทำท่าทางให้ช้า ๆ กำหนดได้ ๖ จังหวะ ดูแล้วเกิดความรู้สึกว่า เรากำลังเดินกรรมฐานอยู่ เห็นคนอื่น ๆ เดินแบบธรรมดา ก็ถือว่าตนเหนือกว่าเขา

ตอนนี้ผมเลิกทำแล้วนะครับ เพราะค้นพบแนวทางที่แก้ยุบหนอพองหนอได้แล้ว

หรือ อีกตัวอย่างหนึ่ง ของการปฏิบัติแล้วเกิด อัตตา

อ้างคำพูด:
chulapinan เขียน
วิปัสสนากรรมฐานเป็นการคิดค่ะ คิดในสมาธิค่ะ คิดเทียบกับสัจธรรม โดยคนที่รู้จักสัจธรรมจริงๆจะทำให้ปัญญาพัฒนาค่ะ

สัจธรรมจะเข้าใจได้ต้องทำสมาธิแบบสมถะก่อนค่ะ

คนเราเข้าใจผิด เพราะอยากมีปัญญาเลยไปวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งผิดหลักค่ะ เพราะไม่เข้าใจสัจธรรม

ถ้าน้องอยากเริ่ม ก็เริ่มที่พุทโธ ยุบหนอพองหนอ กำหนดความคิดไว้ที่ลมหายใจ บังคับความคิดนั่นแหละค่ะ ตบให้อยู่ที่ลมหายใจให้ได้


แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ โดยกรัชกาย
(แต่ผมว่าแก้ได้หายขาดเลย )
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241

การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้

แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป

ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้

ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น

ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา

เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง
--------------------------------------------------

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คือการรู้สึกว่า มีตัวมีตน , สามารถที่จะไปบังคับให้อยู่ในความต้องการของเราได้


คุณเฉลิมฯเอ๋ย ไปจำสำนวนการพูดการตอบปัญหามาจากบอร์ดลานธรรมเสวนา :b32:

ดูสถานการณ์จริงนะขอรับท่านเฉลิมฯ นึกดีๆ

เอาคุณเฉลิม ฯ เองนั่นแหละเป็นตัวอย่าง

คุณจะเดินข้ามถนน (ทางม้าลาย) แต่สัญญาณไฟคนข้ามยังแดงอยู่ อีกทั้งรถก็วิ่งอย่างรวดเร็ว

คุณจะหยุดยืนรอสัญญาณไฟ หรือ คุณจะเดินข้ามถนนไปทั้งยังงั้นแหละ เพราะบังคับให้อยู่ในความต้องการไม่

ได้

ตอบหน่อย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ โดยกรัชกาย
(แต่ผมว่าแก้ได้หายขาดเลย )


แก้แบบคุณเขาเรียกว่าแก้ด้วยตัณหา คือ ไม่ทำ เพราะทำกลัวจะประสบทุกข์ หรือพรากจากสุขที่กำลังเสพอยู่

แนวปฏิบัติแบบนี้อัดแน่นด้วยตัณหาอุปาทาน :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ โดยกรัชกาย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241
(แต่ผม(เฉลิมศักดิ์)ว่าแก้ได้หายขาดเลย )


แก้แบบคุณเขาเรียกว่าแก้ด้วยตัณหา คือ ไม่ทำ เพราะทำกลัวจะประสบทุกข์ หรือพรากจากสุขที่กำลังเสพอยู่

แนวปฏิบัติแบบนี้อัดแน่นด้วยตัณหาอุปาทาน



คุณกรัชกายครับ ที่คุณพูดประชดประชัน ผมว่า นับถือ อาจารย์แนบ เป็นศาสดี นั้น ไม่ถูกต้องนะครับ

เพียงแต่แนวทางคำสอนของท่าน นำไปสู่ กิจที่สำคัญ ที่พระบรมศาสดา วางไว้ คือ ทุกขอริยสัจ มีกิจให้กำหนดรู้ แล้วละตัณหา

แนวทางการปฏิบัติ ไม่ได้ให้ ให้ทนทุกข์ กับเวทนาต่าง ๆ ในอิริยาบถเก่า และ ไม่ให้ยินดี กับ สุขเวทนา ในอิริยาบถ ใหม่ จึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นการเจริญ สติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา ที่เว้นกั้น อภิชฌา (ตัณหา ความพอใจ) โทมนัส ( ความไม่พอใจ) ได้

ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm


กิจของอริยสัจ มีอย่างไร ?

ในอริยสัจนี้พระพุทธองค์ท่านวางกิจไว้อย่างไร ? คือการปฏิบัติในอริยสัจธรรมนี้ เราจะทำอย่างไร ? อริยสัจนั้นมี ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และท่านวางกิจในอริยสัจไว้ดังนี้

๑. ทุกข์ เป็นกิจที่ต้องกำหนดรู้

๒. สมุทัย เป็นกิจที่ต้องละให้หมดไป

๓. นิโรธ เป็นกิจที่ต้องทำให้แจ้ง

๔. มรรค เป็นกิจที่ต้องเจริญให้เกิดขึ้น

เราต้องเข้าใจในกิจ หน้าที่อย่างนี้เสียก่อน เมื่อเราเข้าใจในกิจหน้าที่ของอริยสัจดีแล้ว เวลาปฏิบัติก็ให้เป็นไปตามกิจ หรือหน้าที่นั้น

ปฏิบัติอย่างไร ?
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm


คุณกรัชกายครับ เมื่อก่อนผมก็ปฏิบัติยุบหนอพองหนอ แบบคุณนี้แหละ และก็เข้าใจว่านี้แหละคือ วิปัสสนา การท่อง ทุกข์หนอ ๆ ๆ ทนอยู่กับความทุกข์ จนทุกข์หายไป จนเกิด ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แบบที่คุณกรัชกายเป็นนี้แหละครับ

หรือต้องนั่งภาวนาให้ได้ 1 ชม. ทนทุกข์ก่อนค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ ทำได้ก็ดีใจ ทำไม่ได้ก็ไม่พอใจ

ดีนะครับ ตอนนั้น ไม่มีใครมาสอบอารมณ์ผม แล้วยกย่องผมเป็น ผู้มีวิปัสสนาญาณ หรือได้เป็นโสดา

ไม่งั้น ผมคงต้องอัดแน่นด้วยตัณหาอุปาทานแบบคุณกรัชกาย แล้วตั้งตนเป็นอาจารย์นี้แหละ

ข้อสังเกต การปฏิบัติยุบหนอ พองหนอ แล้วสอบอารมณ์กันเอง ญาณ จะขึ้นง่ายมั่ก ๆ บรรลุได้เร็ว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
คือการรู้สึกว่า มีตัวมีตน , สามารถที่จะไปบังคับให้อยู่ในความต้องการของเราได้


คุณเฉลิมฯเอ๋ย ไปจำสำนวนการพูดการตอบปัญหามาจากบอร์ดลานธรรมเสวนา :b32:

ดูสถานการณ์จริงนะขอรับท่านเฉลิมฯ นึกดีๆ

เอาคุณเฉลิม ฯ เองนั่นแหละเป็นตัวอย่าง

คุณจะเดินข้ามถนน (ทางม้าลาย) แต่สัญญาณไฟคนข้ามยังแดงอยู่ อีกทั้งรถก็วิ่งอย่างรวดเร็ว

คุณจะหยุดยืนรอสัญญาณไฟ หรือ คุณจะเดินข้ามถนนไปทั้งยังงั้นแหละ เพราะบังคับให้อยู่ในความต้องการไม่

ได้

ตอบหน่อย :b1:


คุณเฉลิมฯ ทำมองไม่เห็นคำถามนี้อีก ของจริงๆ คุณไม่มีรู้สักอย่างนะครับ พูดเพ้อเจ้อล่ะถนัดนัก :b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร