วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 5136 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ ที่คุณพูดประชดประชัน ผมว่า นับถือ อาจารย์แนบ เป็นศาสดี นั้น ไม่ถูกต้องนะครับ



ศาสดี ก็ถูกแล้วนี่ครับ (อิตถีลิงค์)

แต่ไม่เป็นไรเมื่อคุณท้วงติงว่าไม่ถูกต้อง จะทำเสียให้ถูก...เอาเป็นว่าเป็น "ศาสดีกูร" ของคุณ

สำหรับคุณ เฉพาะคุณ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ม.ค. 2010, 22:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์ขอรับ หวังว่าคุณคงกลับมาตอบปัญหา "อัตตา"นะครับ

เรื่องนี้นักธรรมบ้านเราพูดถึงกันบ่อยและถกเถียงกันมาก

อ้างอิงอีกครั้ง


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
กรัชกายเขียน
ความหมายคำวา "อัตตา" ตามที่คุณเฉลิมศักดิ์คาดคิด คือ อะไร ยังไงครับ อัตตา

ลองบอกให้พอเห็นภาพหน่อยดิขอรับ

(คุณเฉลิม ฯ ตอบ)

คือการรู้สึกว่า มีตัวมีตน , สามารถที่จะไปบังคับให้อยู่ในความต้องการของเราได้


(กรัชกายถามต่อ...)

คุณจะเดินข้ามถนน (ทางม้าลาย) แต่สัญญาณไฟคนข้ามยังแดงอยู่ อีกทั้งรถก็วิ่งอย่างรวดเร็ว

คุณจะหยุดยืนรอสัญญาณไฟ หรือ คุณจะเดินข้ามถนนไปทั้งยังงั้นแหละ เพราะบังคับให้อยู่ในความต้องการ

ไม่ได้
ตอบหน่อยขอรับ



ไม่ใช่ตอบไม่ได้แล้ว ขอตัวไปวิปัสสนาเนื่องในวันเกิดอีกนะครับ เพิ่งผ่านหยกๆเอง

จะฟังเพลงรอคำตอบจากคุณ :b12:

http://music.postjung.com/212795.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ม.ค. 2010, 18:50, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความหมายคำวา "อัตตา" ตามที่คุณเฉลิมศักดิ์คาดคิด คือ อะไร ยังไงครับ อัตตา

ลองบอกให้พอเห็นภาพหน่อยดิขอรับ

(คุณเฉลิม ฯ ตอบ)

คือการรู้สึกว่า มีตัวมีตน , สามารถที่จะไปบังคับให้อยู่ในความต้องการของเราได้


(กรัชกายถามต่อ...)

คุณจะเดินข้ามถนน (ทางม้าลาย) แต่สัญญาณไฟคนข้ามยังแดงอยู่ อีกทั้งรถก็วิ่งอย่างรวดเร็ว

คุณจะหยุดยืนรอสัญญาณไฟ หรือ คุณจะเดินข้ามถนนไปทั้งยังงั้นแหละ เพราะบังคับให้อยู่ในความต้องการไม่ได้ ตอบหน่อยขอรับ



คุณกรัชกายครับ ในการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา นั้น สถานที่ควรเป็นที่ สัปปายะ , เอื้ออำนวยต่อการเจริญ สติปัฏฐาน ส่วน ในการเดินข้ามถนน คงใช้เพียง สติธรรมดาก็พอ

แต่เมื่อ เจริญสติปัฏฐาน ควรมีหลักปฏิบัติ เพื่อลดความเป็นอัตตา ดังนี้



29201.การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201&p=174190#p174190

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้

------------------------------------------------------------------------------

คำอธิบายจาก พระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก

http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=71&

มีผู้ปฏิบัติบางรายก้มหน้าก้มตาเดินกลับไปกลับมาช้าๆ นานนับเป็นชั่วโมง ท่านก็จะเดินไปหาพร้อมตั้งคำถามว่า


“ขอโทษ ...กำลังทำอะไรอยู่ครับ...”

“กำลังดูรูปเดินครับ”

“แล้วเห็นหรือเปล่าครับ”

“...........”

“ที่บอกว่าดูรูปเดิน ดูตรงไหนครับ”

“ดูตรงขาครับ”

“อ้าว แล้วรูปนั่งไม่มีขาหรือไง รูปนั่งและรูปเดินเป็นคนละรูปนะครับ แต่ก็มีขาทั้งคู่ แม้รูปในอิริยาบถอื่นก็มีขาทั้งนั้น ...แล้วที่ว่าดูตรงขานะ ดูอย่างไรครับ “

“ก็ดูเวลาที่ ขาขวาย่าง ...ขาซ้ายย่าง”

“แล้วตอนดูนั้น กำหนดอย่างไร”

“ผมก็กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ”

“อ๋อ..ผมเข้าใจแล้วล่ะ”

ว่าแล้ว พ่อก็ชวนคุณลุงคนนั้นไปนั่งคุยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา สิตางศุ์จึงรีบตามไปนั่งฟังด้วย

“ คุณต้องทำความเข้าใจในอารมณ์ของการปฏิบัติวิปัสสนาก่อนนะครับ ขอโทษครับ …คุณทราบไหมครับว่าอารมณ์ หมายถึงอะไร“

“ทราบครับ อารมณ์ หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปรู้ครับ”

“ถูกต้องครับ เพียงแต่ว่า อารมณ์ที่นำมาดูในการปฏิบัติวิปัสสนานั้นต้องเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ ไม่ใช่อารมณ์บัญญัติ

เหมือนสมาธิ ที่มีการกำหนดว่า พุท-โธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง หรือจะเป็น...หนอต่างๆ อย่างที่คุณกำหนด แล้วประการสำคัญรูป – นาม ที่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์นั้นต้องเป็นปัจจุบันธรรมด้วย คือขณะที่กำลังมี กำลังเป็นที่สติเข้าไปพิจารณาได้ ....”

“...อ้าว งั้นที่ผมทำมานี้ก็ไม่ถูกนะซิครับ”

“ถูกครับ ถูก ถ้าเป็นการทำสมาธิ หรือที่เรียกว่าสมถกรรมฐาน ซึ่งหมายถึงการนำเอาคำ หรือภาพที่สร้างขึ้นมาเพ่ง หรือท่องอย่างซ้ำ ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ หรือบังคับตนเองให้ติดอยู่ในคำหรือภาพนั้น เป็นการตั้งใจให้มั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการเพียงเรื่องเดียวไม่ให้ใจคิดฟุ้งซ่านออกไปจากเรื่องนั้น ก็อย่างเช่นที่คุณตั้งใจดูเดิน แล้วกำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ คำเหล่านี้เป็นบัญญัติธรรมจึงจัดเป็นสมถกรรมฐาน”

“แล้วที่ถูก ผมจะต้องทำอย่างไรครับ”

“ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่า ที่คุณมาเข้าปฏิบัตินี้มีเป้าหมายอะไร”

“เพื่อที่จะไม่ต้องเกิดอีกครับ “

“ทำไมจึงไม่อยากเกิดล่ะครับ “

“ไม่อยากมาประสบกับความทุกข์อีก”

“แล้วคุณทราบหรือไม่ครับว่า อะไรที่ทำให้เราต้องเกิด ตัวการอะไรที่ทำให้เราต้องมาประสบกับความทุกข์”

“กิเลสครับ …เห็นพระท่านเทศน์ว่า คนเราถ้าหมดกิเลส ก็ไม่ต้องเกิด แต่จะต้องปฏิบัติธรรม เพื่อนผมเขาบอกว่า ที่นี่เป็นสำนักปฏิบัติ ผมจึงมา…”

“งั้นคุณก็มาถูกที่ ถูกทางแล้วล่ะครับ เพราะที่นี่เป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งเป็นการปฏิบัติในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็น เอกายมัคโค หมายถึงเป็นทางสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งมีเพียงสายเดียวเท่านั้น …แล้วคุณทราบมาก่อนหรือเปล่าครับว่า วิปัสสนานี้ต่างกับสมาธิราวกับฟ้าและดินทีเดียว..”

“ไม่ทราบครับ เวลาผมไปปฏิบัติที่ไหนๆ เขาก็บอกว่าเป็นการปฏิบัติวิปัสสนากันทั้งนั้น ทั้งๆ ที่แต่ละแห่งมีแนวทางการปฏิบัติไม่เหมือนกัน”

“ครับ..ผมเองก็เคยเข้าใจผิดมาก่อน เพราะได้รับการบอกเล่ามาเช่นเดียวกับคุณ จนกระทั่งผมได้มาศึกษาพระอภิธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก ที่ได้อธิบายว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ผมขอยกเอาพระบาลีมากล่าวอ้างว่า

…กิเลเส สเมตีติ สมโถ
แปลว่า ธรรมชาติใด ย่อมยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สมถ

…ขันธาทิสังขตธัมเม อนิจจาทิวิวิธากาเรน ปัสสตีติ วิปัสสานา
แปลว่า ปัญญาใดย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า วิปัสสนา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 06:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกายถามต่อ...)

คุณจะเดินข้ามถนน (ทางม้าลาย) แต่สัญญาณไฟคนข้ามยังแดงอยู่ อีกทั้งรถก็วิ่งอย่างรวดเร็ว

คุณจะหยุดยืนรอสัญญาณไฟ หรือ คุณจะเดินข้ามถนนไปทั้งยังงั้นแหละ เพราะบังคับให้อยู่ในความต้องการไม่ได้ ตอบหน่อยขอรับ


คุณกรัชกายครับ ในขณะข้ามถนน ผมก็ไม่ต้องไปท่อง ไฟแดงหนอ ๆ ๆ ไฟเขียวหนอ ๆ ๆ

เดินข้ามถนนหนอ ๆ ๆ ๆ

ผมก็มีสติรู้ทุกอย่าง ก็ไม่จำเป็นต้องไปท่อง ก็รู้อยู่แล้ว


แล้วในการปฏิบัติวิปัสสนา ผมก็ไม่ต้องท่องเช่นเดียวกัน ก็มีความรู้สึกตรงนั้นได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




51429ddb3t02334.gif
51429ddb3t02334.gif [ 57.45 KiB | เปิดดู 5057 ครั้ง ]
chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกายถามต่อ...)

คุณจะเดินข้ามถนน (ทางม้าลาย) แต่สัญญาณไฟคนข้ามยังแดงอยู่ อีกทั้งรถก็วิ่งอย่างรวดเร็ว

คุณจะหยุดยืนรอสัญญาณไฟ หรือ คุณจะเดินข้ามถนนไปทั้งยังงั้นแหละ เพราะบังคับให้อยู่ในความต้องการไม่ได้ ตอบหน่อยขอรับ


คุณกรัชกายครับ ในขณะข้ามถนน ผมก็ไม่ต้องไปท่อง ไฟแดงหนอ ๆ ๆ ไฟเขียวหนอ ๆ ๆ

เดินข้ามถนนหนอ ๆ ๆ ๆ

ผมก็มีสติรู้ทุกอย่าง ก็ไม่จำเป็นต้องไปท่อง ก็รู้อยู่แล้ว


แล้วในการปฏิบัติวิปัสสนา ผมก็ไม่ต้องท่องเช่นเดียวกัน ก็มีความรู้สึกตรงนั้นได้



ถามอย่างตอบอย่าง ถามถึงกรณี อัตตา อนัตตา แต่ไพล่ไปพูดเรื่องอื่น เหมือน

พูดกับเด็ดสองขวบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตตา...สมาธิ
อนัตตา...วิปัสนา



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ลานธรรมเสวนา ก็มีการสนทนาในเรื่องนี้ เช่นกันครับ

ผมก็ยังยืนยันใน พระไตรปิฏก อรรถกถา เช่นเดิม

กระทู้ ความหมายของสมถะและวิปัสสนา มีในพระไตรปิฎกไหมครับ

http://larndham.org/index.php?/topic/38 ... 59__st__0&

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 22:03
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: พระพุทธองค์ดำรัสไว้ว่า "ทางสายนี้เป็นทางสายเอก เพื่อความบริสุทธ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงจากความโศกความร่ำไร เพื่อความสิ้นไปจากทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทางสายนี้คือสติปัฏฐาน 4 ประการนั่นเอง" วิปัสสนากรรมฐานก็คือทางสายเอกนี้ขออนุโมทนา :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เรื่องราวของคำศัพท์ที่เรียกๆกัน
เช่นคำว่า ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ก็ไปเปลี่ยนคำเรียกกันใหม่ว่า เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
ทั้งๆที่ การเจริญสติปัฏฐาน 4 นั้น เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งๆที่ สมถะก็มีบ่งบอกแยกสภาวะไว้ชัดเจนแล้วว่ามีอะไรบ้าง
ส่วนวิปัสสนานั้น คือ รู้อารมณ์ปัจจุบัน หรือ สภาวะที่เกิดขึ้นที่ปัจจุบัน
ไม่ใช่นำสติปัฏฐาน 4 มาพูดๆกันว่า เป็นวิปัสสนากรรมฐานกันไปหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
------------------------------------------------------------------------------

คำอธิบายจาก พระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก

http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=71&


“ถูกต้องครับ เพียงแต่ว่า อารมณ์ที่นำมาดูในการปฏิบัติวิปัสสนานั้นต้องเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ ไม่ใช่อารมณ์บัญญัติ

เหมือนสมาธิ ที่มีการกำหนดว่า พุท-โธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง หรือจะเป็น...หนอต่างๆ อย่างที่คุณกำหนด แล้วประการสำคัญรูป – นาม ที่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์นั้นต้องเป็นปัจจุบันธรรมด้วย คือขณะที่กำลังมี กำลังเป็นที่สติเข้าไปพิจารณาได้ ....”

“...อ้าว งั้นที่ผมทำมานี้ก็ไม่ถูกนะซิครับ”

“ถูกครับ ถูก ถ้าเป็นการทำสมาธิ หรือที่เรียกว่าสมถกรรมฐาน ซึ่งหมายถึงการนำเอาคำ หรือภาพที่สร้างขึ้นมาเพ่ง หรือท่องอย่างซ้ำ ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ หรือบังคับตนเองให้ติดอยู่ในคำหรือภาพนั้น เป็นการตั้งใจให้มั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการเพียงเรื่องเดียวไม่ให้ใจคิดฟุ้งซ่านออกไปจากเรื่องนั้น ก็อย่างเช่นที่คุณตั้งใจดูเดิน แล้วกำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ คำเหล่านี้เป็นบัญญัติธรรมจึงจัดเป็นสมถกรรมฐาน”

“แล้วที่ถูก ผมจะต้องทำอย่างไรครับ”

“ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่า ที่คุณมาเข้าปฏิบัตินี้มีเป้าหมายอะไร”

“เพื่อที่จะไม่ต้องเกิดอีกครับ “

“ทำไมจึงไม่อยากเกิดล่ะครับ “

“ไม่อยากมาประสบกับความทุกข์อีก”

“แล้วคุณทราบหรือไม่ครับว่า อะไรที่ทำให้เราต้องเกิด ตัวการอะไรที่ทำให้เราต้องมาประสบกับความทุกข์”

“กิเลสครับ …เห็นพระท่านเทศน์ว่า คนเราถ้าหมดกิเลส ก็ไม่ต้องเกิด แต่จะต้องปฏิบัติธรรม เพื่อนผมเขาบอกว่า ที่นี่เป็นสำนักปฏิบัติ ผมจึงมา…”

“งั้นคุณก็มาถูกที่ ถูกทางแล้วล่ะครับ เพราะที่นี่เป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งเป็นการปฏิบัติในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็น เอกายมัคโค หมายถึงเป็นทางสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งมีเพียงสายเดียวเท่านั้น …แล้วคุณทราบมาก่อนหรือเปล่าครับว่า วิปัสสนานี้ต่างกับสมาธิราวกับฟ้าและดินทีเดียว..”

“ไม่ทราบครับ เวลาผมไปปฏิบัติที่ไหนๆ เขาก็บอกว่าเป็นการปฏิบัติวิปัสสนากันทั้งนั้น ทั้งๆ ที่แต่ละแห่งมีแนวทางการปฏิบัติไม่เหมือนกัน”

“ครับ..ผมเองก็เคยเข้าใจผิดมาก่อน เพราะได้รับการบอกเล่ามาเช่นเดียวกับคุณ จนกระทั่งผมได้มาศึกษาพระอภิธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก ที่ได้อธิบายว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ผมขอยกเอาพระบาลีมากล่าวอ้างว่า

…กิเลเส สเมตีติ สมโถ
แปลว่า ธรรมชาติใด ย่อมยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สมถ

…ขันธาทิสังขตธัมเม อนิจจาทิวิวิธากาเรน ปัสสตีติ วิปัสสานา
แปลว่า ปัญญาใดย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า วิปัสสนา





นี่แหละตัวอย่างของคนที่รู้ไม่จริง
ส่วนคนที่อ่านน่ะรู้แค่ไหนก็ตีความได้แค่นั้น
ที่มาเชื่อๆกัน เพราะเคยสร้างเหตุร่วมกันมา

คำว่า " สติปัฏฐาน 4 " จะถูกทำลายลงเพราะมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้แหละ
เพราะอีกหน่อยจะติดปากเรียกแต่ว่า ทำวิปัสสนากรรมฐาน
ทั้งๆที่เห็นๆอยู่ชัดๆว่ากำลังเจริญสติกัน

จะขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ หรือจะเดินไม่ต้องใช้คำภาวนา
ก็ล้วนแต่เป็นการเจริญสติในอริยาบทเดิน ใครบอกว่า เดินแล้วไม่บริกรรม นี่เถียงตายเลยนะ
การเอาจิตรู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน ก็ยังอยู่ในรูปของการบริกรรมอยู่ เพื่อให้เกิดสติ สัมปชัญญะ
ถ้าตราบใดที่สติ สัมปชัญญะยังไม่มากพอที่จะรู้ลงไปในอริยาบทนั้นได้เองล่ะก็
ยังต้องมีการบริกรรมร่วมอยู่ดีแหละค่ะ




chalermsak เขียน:

“ครับ..ผมเองก็เคยเข้าใจผิดมาก่อน เพราะได้รับการบอกเล่ามาเช่นเดียวกับคุณ จนกระทั่งผมได้มาศึกษาพระอภิธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก ที่ได้อธิบายว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ผมขอยกเอาพระบาลีมากล่าวอ้างว่า

…กิเลเส สเมตีติ สมโถ
แปลว่า ธรรมชาติใด ย่อมยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สมถ

…ขันธาทิสังขตธัมเม อนิจจาทิวิวิธากาเรน ปัสสตีติ วิปัสสานา
แปลว่า ปัญญาใดย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น
ปัญญานั้นจึงชื่อว่า วิปัสสนา




ตรงที่ยกนำมากล่าวอ้างตรงนี้ เขาเรียกว่า " อารมณ์ "
อารมณ์ของสมถะ คือ
…กิเลเส สเมตีติ สมโถ
แปลว่า ธรรมชาติใด ย่อมยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สมถะ

อารมณ์ของวิปัสสนา คือ
…ขันธาทิสังขตธัมเม อนิจจาทิวิวิธากาเรน ปัสสตีติ วิปัสสานา
แปลว่า ปัญญาใดย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น
ปัญญานั้นจึงชื่อว่า วิปัสสนา


.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
จะขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ หรือจะเดินไม่ต้องใช้คำภาวนา
ก็ล้วนแต่เป็นการเจริญสติในอริยาบทเดิน ใครบอกว่า เดินแล้วไม่บริกรรม นี่เถียงตายเลยนะ
การเอาจิตรู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน ก็ยังอยู่ในรูปของการบริกรรมอยู่ เพื่อให้เกิดสติ สัมปชัญญะ
ถ้าตราบใดที่สติ สัมปชัญญะยังไม่มากพอที่จะรู้ลงไปในอริยาบทนั้นได้เองล่ะก็
ยังต้องมีการบริกรรมร่วมอยู่ดีแหละค่ะ



คุณวลัยพร ครับ ไม่จำเป็นเลยต้องไป บริกรรม(กำหนดอาการของกาย ให้สอดคล้องกับ การบริกรรม) ซ้ายย่ายหนอ ขวาย่างหนอ ท้องยุบหนอ พองหนอ สารพัดหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ

คุณวลัยพรครับ เอาตัวอย่างในชีวิตประจำวันครับ ในขณะดู โทรทัศน์ ผมก็รู้ตัวอยู่ว่าดูโทรทัศน์ ไม่เห็นต้องบริกรรม ดูโทรทัศน์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ

ในขณะปฏิบัติวิปัสสนา ในหมวดอิริยาบถบรรพะ เช่นกัน

ผมก็ ทำความรู้สึกไปยัง อาการของการเดินได้ โดยพิจารณาในอาการก้าว

ไม่ได้อยู่ที่ การไปบริกรรมคำภาวนา แล้วไปกำหนดอาการกายให้สอดคล้องกับคำภาวนา

แต่ข้อสำคัญ อยู่ที่ สติมา สัมปชาโณ อาตาปี

ดัง พระไตรปิฏก อรรถกถา และพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก

viewtopic.php?f=2&t=29011&st=0&sk=t&sd=a&start=44

การเดินของตนให้แปลกไปจากท่าทางการเดินของผู้ไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ ค่อยๆ ยก ค่อยๆ ย่าง ค่อยๆ ก้าว จะยกเท้าก้าวอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อทำอิริยาบถให้ผิดปกติไปอย่างนี้ ก็ย่อมเล็งเห็นอิริยาบถที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนี้ ว่าเป็นสาระ เป็นของดี เป็นของมีประโยชน์ อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงในรูปอิริยาบถว่า รูปเดินเป็นต้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเห็นว่า ไม่เป็นสาระนั่นเอง ย่อมมีได้ยาก เหตุเพราะเข้าไปตั้งความเป็นสาระไว้เสียก่อนแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติโดยประการที่ป้องกันมานะด้วย คือต้องมีการสำเหนียกอยู่เสมอว่า การเดินเป็นของรูปเท่านั้น ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้กรรมฐาน นี้เป็นข้อที่แปลกไปจากประการแรก แห่งประการที่ ๒

ประการที่ ๓ กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, คือ การเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุไร ก็พึงตอบได้ว่าการเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าการเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุ เพราะปัจจัย ไม่ใช่ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเดินนั้น ได้แก่ วาโยธาตุ คือธาตุลมอันเกิดจากจิตที่ประสงค์จะเดิน กล่าวคือ เมื่อจิตคือความคิดว่าจะเดินเกิดขึ้น จิตนั้นย่อมยังวาโยธาตุให้ตั้งขึ้นบริเวณอวัยวะที่จะเคลื่อนไหว โดยเฉพาะขาทั้งสอง วาโยธาตุนั้นย่อมผลักดันให้อวัยวะเคลื่อนไหวไปตามความประสงค์ของจิต อาการก้าวไปจึงเกิดขึ้น เรียกว่า เกิดการเดิน เพราะฉะนั้น วาโยธาตุที่เกิดจากจิตที่มีความประสงค์จะเดิน พร้อมทั้งจิตนั้นนั่นแหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการเดิน เพราะเหตุนี้แหละ จึงเกิดการเดิน
!
!
อนึ่ง เพราะเหตุที่ไม่มีสติอย่างนี้ นั่นเอง ความรู้ว่าเป็นรูปเดินของเขา จึงเป็นความรู้ของสัญญา บริกรรมไปตามสัญญาเท่านั้น ไม่ใช่ความรู้ของสัมปชัญญะ เพราะเรียนรู้แล้วจำได้ด้วยสัญญามาก่อนว่า อาการอย่างนี้ท่าทางอย่างนี้เรียกว่า รูปเดิน แม้ว่าได้รู้อยู่บ่อย ๆ ก็เกี่ยวกับว่า ตนคอยบริกรรมเอาเท่านั้น ไม่ใช่เพราะเกิดปัญญา ดุจเดียวกับคนที่เจริญกสิน นึกถึงดวงกสินมีปฐวีกสินเป็นต้น บริกรรมไปว่า “ ปฐวี ปฐวี, ดิน ดิน “ เป็นต้น ฉะนั้นอย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มีทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ


อ้างคำพูด:
คุณวลัยพร เขียน
นี่แหละตัวอย่างของคนที่รู้ไม่จริง
ส่วนคนที่อ่านน่ะรู้แค่ไหนก็ตีความได้แค่นั้น
ที่มาเชื่อๆกัน เพราะเคยสร้างเหตุร่วมกันมา

คำว่า " สติปัฏฐาน 4 " จะถูกทำลายลงเพราะมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้แหละ
เพราะอีกหน่อยจะติดปากเรียกแต่ว่า ทำวิปัสสนากรรมฐาน
ทั้งๆที่เห็นๆอยู่ชัดๆว่ากำลังเจริญสติกัน

จะขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ หรือจะเดินไม่ต้องใช้คำภาวนา
ก็ล้วนแต่เป็นการเจริญสติในอริยาบทเดิน ใครบอกว่า เดินแล้วไม่บริกรรม นี่เถียงตายเลยนะ
การเอาจิตรู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน ก็ยังอยู่ในรูปของการบริกรรมอยู่ เพื่อให้เกิดสติ สัมปชัญญะ
ถ้าตราบใดที่สติ สัมปชัญญะยังไม่มากพอที่จะรู้ลงไปในอริยาบทนั้นได้เองล่ะก็
ยังต้องมีการบริกรรมร่วมอยู่ดีแหละค่ะ


คุณวลัยพรครับ พิจารณาดู จาก อรรรถกถา ฏีกา ให้ดีนะครับ

การบริกรรมซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ ล้วนเป็นการสร้างอิริยาบถพิเศษขึ้นมา และยังมีคำบริกรรมมาปิดบัง สติ สัมปชัญญะ อีก

คุณวลัยพร ครับ คงต้องไปหาเหตุ ให้ได้พบกับ กัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก ผู้ชี้แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาได้ถูกต้อง

http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm
นกการเวกสำคัญที่ เสียง
สตรีสำคัญที่ รูป
บุรุษสำคัญที่ วิทยาคุณ
นักพรตสำคัญที่ การอบรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาฯ สำคัญที่ ความเข้าใจ


คุณวลัยพร การปฏิบัติวิปัสสนา ต้องอาศัยความเข้าใจ (คันถธุระ) ไม่ใช่ การยึดในรูปแบบใดแบบหนึ่ง

ยึดติด อาจาริยวาท อัตตโนมติ เชื่อเพราะปฏิบัติตามกันมา เชื่อเพราะผู้สอนดูน่าเชื่อถือ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 17 ก.พ. 2010, 06:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เวลาอ่านตัวหนังสือน่ะ อ่านให้ละเอียดนะคะว่าที่ walaiporn เขียนมาทั้งหมดนั้น
หมายถึงอะไรค่ะ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาจะเถียงงงงงงงงง

กลับไปอ่านของ walaiporn โพสไว้ หลายๆรอบนะคะ
แค่ตัวหนังสือง่ายๆแค่นี้ก็ยังอุตส่าห์ตีความมั่วตั้วได้อีกแฮะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:


คุณวลัยพร การปฏิบัติวิปัสสนา ต้องอาศัยความเข้าใจ (คันถธุระ) ไม่ใช่ การยึดในรูปแบบใดแบบหนึ่ง

ยึดติด อาจาริยวาท อัตตโนมติ เชื่อเพราะปฏิบัติตามกันมา เชื่อเพราะผู้สอนดูน่าเชื่อถือ



ใครหนออออ :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.พ. 2010, 07:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
เวลาอ่านตัวหนังสือน่ะ อ่านให้ละเอียดนะคะว่าที่ walaiporn เขียนมาทั้งหมดนั้น
หมายถึงอะไรค่ะ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาจะเถียงงงงงงงงง

กลับไปอ่านของ walaiporn โพสไว้ หลายๆรอบนะคะ
แค่ตัวหนังสือง่ายๆแค่นี้ก็ยังอุตส่าห์ตีความมั่วตั้วได้อีกแฮะ


อัตตโนมติ (ความเห็นส่วนตัว) อาจาริยวาท ที่ไม่ได้อ้างอิงจากพระไตรปิฏก และแนวทางปฏิบัติที่ขัดแย้งกับ อรรถกถา ผมไม่อ่านให้เสียเวลาหรอกครับ

ผมขอกลับไปอ่าน และ ฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนา ในแนวทางที่ผมมั่นใจดีกว่า



29201.การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา และพระวิปัสสนาจารย์ที่ทรงพระไตรปิฏก
viewtopic.php?f=2&t=29201

อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
เวลาอ่านตัวหนังสือน่ะ อ่านให้ละเอียดนะคะว่าที่ walaiporn เขียนมาทั้งหมดนั้น
หมายถึงอะไรค่ะ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาจะเถียงงงงงงงงง

กลับไปอ่านของ walaiporn โพสไว้ หลายๆรอบนะคะ
แค่ตัวหนังสือง่ายๆแค่นี้ก็ยังอุตส่าห์ตีความมั่วตั้วได้อีกแฮะ


คุณวลัยพรครับ นึกถึงในชีวิตประจำวันนะครับ

ตอนเราดูโทรทัศน์อยู่ ก็ไม่เห็นต้องไปท่อง ดูโทรทัศน์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ก็รู้ว่าเรากำลังดูโทรทัศน์อยู่

ในการปฏิบัติวิปัสสนาก็เช่นเดียวกัน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ไม่น่าจะสอบตกภาษาไทยเลยนะ แค่ตัวหนังสือง่ายๆกลับอ่านแล้วตีความแบบผิดๆ :b1:
ยังจะมาหนอมาแหนอีก กลับไปอ่านให้ดีๆ ว่าเขียนแบบที่คุณนำมาพูดหรือ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร