วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
นิพพานที่นี้ เดี๋ยวนี้ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/nippan_now93.html

พระพุทธเจ้า เอออวย,สวมรอย เรื่อง ภพภูมิต่าง ๆ (หลักกรรมการเวียนว่าย ตายเกิด) กับศาสนาพราหมณ์ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

คุณ mes ครับ ต่างจากทิฏฐิ ของท่านพุทธทาส ที่สอนให้ไปนิพพานง่าย ๆ ที่นี้เดี๋ยวนี้ โดยไม่ปูพื้นฐานของ สัมมาทิฏฐิก่อน


ที่ผมยกขึ้นมาข้างต้นนั้นเป็นตัวอย่างของอวิชชา

เกิดจากความพยาบาท ทำให้อโยนิโสมนสิการ

ขาดสติปัฏฐาน คือสมาธิ อย่างที่ผู้เขียนข้อความข้างต้ตนยกขึ้นมาเอง

ความพยาบาทเป็นนิวรณ์คือ

กามฉันท พยาบาท ถีนมิทะ อุธัจจะกุกุจจะ วิกิจฉา

เป็นเครืองปิดกั้น กดทันจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง

จิตที่ถูกพยาบาทครอบง่ำ เปรียบเเสมือนภาชนะใส่น้ำที่เอาไฟลน เดือดพล่าน มีไอพลุ่ง คนตาดีมอง

ดูเงาหน้าตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง

บุคคลเช่นนี้จักประจักษ์แจ้งในญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์

สามัญ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไกลัง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

มีพุทธพจน์บางแห่งตรัสว่า

ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้ง5 และเริ่มทำความเพรียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ไม่เลือนหลง

กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์หนึ่งเดียว

ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็นตาม ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความเพรียร

มีโอตตัปปะได้เริ่มระดมความเพรียรอย่างต่อเนืองสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวอย่างเด็ดเดียวแล้ว



ความพยาบาททั้งหลายเกิดจากการขาดสติ

เมื่อขาดสติ ก็ขาดสมธิ อโยนิโสมนสิการ จึงเกิดความพยาบาทยกเอาท่านพุทธทาสขึ้นมาเสียดส่ใส่

ร้าย ไม่เป็นสัมมาวาจา เป็นปิสุณาวาจา เป็นอกุศลกรรม

ซึ่งท่านพุทธทาสคงไม่เดือดร้อน

คนที่ร้อนคือเจ้าของปิสุณาวาจา ที่เป็นผู้หว่าวเมล็ดกรรมนั้น

จิตใจเขาคงเดือดพล่านอยู่ทุกกาลเวลา จึงยกขึ้นมาเหมือนฉายหนังซ้ำที่ไม่มีวันจบสิ้น

ผู้ที่มีสติสัมปะชัญญะคงไม่ประพฤติและไม่มีใครควรประพฤติ

ทางแก้คือต้องเจริญสติด้วยเมตตาธรรมให้มากๆ

จะได้ไม่เป็นดอกบัวในโคนตรม


นี่เป็นหลักฐานที่ว่า

หากขาดสมาธิก็ไร้ปัญญา

ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้มีสติสมาธิ



สัทธรรมปฏิรูปนั้นไม่ได้กำหนดอยู่แค่การบิดเบือนพระธรรมเท่านั้น

แต่การกล่าวเกิดพระพุทธธรรมก็เป็นสัทธรรมปฏิรูปเช่น

การที่พระเทวทัตทูลขอพระพุทธเจ้าให้เลิกเสวยเนื้อสัตว์

หรือการเหมารวมว่า

สุตะเป็นแค่คันธธุระเท่านั้น

ทั้งที่การสุตะที่มาจากโปรโตโฆษะมีทั้งการแนะนำจากกัลลยาณมิตร สนทนาธรรมทั่วไป

หรือธรรมเสวนา ธรรมสากัจฉา

หรือการตรวจสอบกรรมฐานจากกรรมฐานจรรย์

ไม่จำเป็นต้องปริยัติอย่างเดียวเท่านั้นซึ่งเป็นการกล่าวเกินพระพุทธเจ้า

การมีกัลยาณมิตรเป็นอรุณรุ่งแห่งบุพกาลการบรรลุมรรคผล


อัตตโนมัติของการอวดตนที่กล่าวเกิดพระพุทธเจ้าดังกล่าวนี้เป็นอุปทาน

เป็นอวิชชา เป็นสัทธรรมปฏิรูปแท้จริง

ผู้กล่าวเรียกว่า โมฆะบุรุษ


โยนิโสมนสิการหรือการวิปปัสนาจึงเป็นทางเอก

แต่หากขาดเอก้สคคตา ก็หลงทาง

จึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท


และการยกธรรมะที่ไม่ครอบคลุมด้วเจตนาไม่บริสุทธิ์ใจ

ทำให้ปฏิบัตืผิด

เห็นเรื่องฌาณเป็นเรื่องไม่สำคัญไม่ให้มุ่งปฏิบัตโดยไม่มีเหตุผล

ทั้งที่เป็นเรื่องของจริตของปัจเจกบุคคล


อย่างนี้ก็เป็นสัทธรรมปฏิรูปเช่นกัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหอๆๆ

นั่งสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขนาดพระสารีบุตร ยักษ์ย่องมาตีหัวได้

วิปัสสนากรรมฐาน ขาดสติ ไหลไปกับการวิปัสสนา จากสังขารและวิญญาน
พระอนุรุธ สาธยายธรรมจากวิปัสสนา อันขาดองค์แห่งวิปัสสนา ปรุงไปกับสังขาร และวิญญาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


03-พระสารีบุตรเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา

http://www.84000.org/one/1/03.html

พระเถระถูกนันทกยักษ์ทุบ

สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ส่วนพระ
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานเถระ อัครสาวกทั้งสองได้ปลีกตัวจาริกไปอยู่ ณ
กโปตกันทราวิหาร (วิหารที่สร้างใกล้ซอกเขาซึ่งเป็นที่อยู่ของนกพิราบ)
ในดิถีคืนเดือนเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง พระสารีบุตรเถระซึ่งปลงผมใหม่ ๆ นั่งเข้าสมาธิ
อยู่ในที่กลางแจ้ง ขณะนั้นมียักษ์ ๒ ตน ผ่านมาทางนั้น ยักษ์อีกตนหนึ่ง เป็นสัมมาทิฏฐิ เคารพ
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ยักษ์นันกะ เห็นพระเถระแล้วนึกอยากจะตีที่ศีรษะของท่านจึงบอก
ความประสงค์ของตากับสหาย แม้ยักษ์ผู้เป็นสหายจะกล่าวห้ามปรามถึง ๓ ครั้งว่า:-
“อย่าเลยสหาย อย่าทำร้ายสมณศากยบุตรพุทธสาวกเลย สมณะรูปนี้มีคุณธรรมสูงยิ่งนัก
มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
ยักษ์นันทกะ ไม่เชื่อคำห้ามปรามของสหาย ใช้ไม้กระบองตีพระเถระ ศีรษะอย่างเต็ม
แรง ซึ่งความแรงนั้นสามารถทำให้ช้างสูง ๘ ศอก จมดินได้ หรือสามารถทำลายยอดภูเขาขนาด
ใหญ่ให้ทลายลงได้ และในทันใดนั้นเอง เจ้ายักษ์มิจฉาทิฏฐิ ตนนั้นก็ร้องลั่นว่า “โอ๊ย ! ร้อนเหลือ
เกิน” พอสิ้นเสียงร่างของมันก็จมลงในแผ่นดิน เข้าไปสู่ประตูมหานรกอเวจี ณ ที่นั้นเอง
เหตุการณ์ครั้งนี้ พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้เห็นโดยตลอด ด้วยทิพยจักษุ รุ่งเช้าจึง
เข้าไปหาพระสารีบุตรแล้วถามว่า:-
“ท่านสารีบุตร ยังสบายดีอยู่หรือ ที่ยักษ์ตีท่านนั้น อาการเป็นอย่างไรบ้าง ?”
“ท่านโมคคัลลานะ ผมสบายดี แต่รู้สึกเจ็บที่ศีรษะนิดหน่อย”
พระมหาโมคคัลลานะ ได้ฟังแล้วก็กล่าวว่า “น่าอัศจรรย์จริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
ท่านสารีบุตรนี่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง ๆ ถูกยักษ์ตีรุนแรงขนาดนี้ ยังบอกว่าเพียงแต่เจ็บที่
ศีรษะนิดหน่อย”
ส่วนพระสารีบุตร ก็กล่าวชมพระมหาโมคคัลลานะว่า “ช่างน่าอัศจรรย์ เช่นกัน ท่าน
โมคคัลลานะ ท่านก็มีฤทธานุภาพมากหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ท่านเห็นแม้กระทั่งยักษ์ ส่วนผมเอง
แม้แต่ปีศาจคลุกฝุ่นสักตน ก็ยังไม่เคยเห็นเลย”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับเสียงการสนทนาของพระเถระทั้งสอง ด้วยพระโสต
ทิพย์ จึงทรงเปล่งพุทธอุทานนี้ว่า:-
“ผู้ใดมีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดุจภูเขา
ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันชวนให้ขัดเคือง
ผู้อบรมจิตได้อย่างนี้ ความทุกข์จะมีได้อย่าง

-------------------------------------------------------------
11-พระอนุรุทธเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
http://www.84000.org/one/1/11.html

พระอนุรุทธะ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เรียนกรรมฐานจากพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแล้ว
เข้าไปสู่ป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน ขณะเจริญสมณธรรมอยู่นั้นได้ตรึกถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ
คือ:-
๑ ธรรมนี้ของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความปรารถนาใหญ่
๒ ธรรมนี้ของผู้สันโดษ ยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
๓ ธรรมนี้ของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่
๔ ธรรมนี้ของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
๕ ธรรมนี้ของผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
๖ ธรรมนี้ของผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
๗ ธรรมนี้ของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม
เมื่อพระเถระตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จไปยังที่อยู่ของพระเถระ ทราบว่าเธอ
กำลังตรึกอยู่อย่างนั้น ทรงอนุโมทนาว่า ดีล่ะ ดีล่ะ แล้วทรงแนะให้ตรึกในข้อที่ ๘ ว่า
๘ ธรรมนี้ของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า

ได้รับยกย่องผู้มีทิพยจักษุญาณ
ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ตรัสสอนพระเถระแล้ว ได้เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วน
พระอนุรุทธะ ได้บำเพ็ญสมณธรรมต่อไป ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ตั้งแต่นั้นมา ท่านได้ตรวจดู
สัตว์โลกด้วยทิพยจักษุญาณเสมอ ยกเว้นขณะกำลังฉันภัตตาหารเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา ได้ตรัสยกย่องชมเชยท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้มีทิพยจักษุญาณ


--------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
enlighted
เหอๆๆ

นั่งสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขนาดพระสารีบุตร ยักษ์ย่องมาตีหัวได้

วิปัสสนากรรมฐาน ขาดสติ ไหลไปกับการวิปัสสนา จากสังขารและวิญญาน
พระอนุรุธ สาธยายธรรมจากวิปัสสนา อันขาดองค์แห่งวิปัสสนา ปรุงไปกับสังขาร และวิญญาน



คุณ enlighted แสดงทิฏฐิอะไรออกมา ระวังขี้กลากขึ้นหัวน่ะ เหอ ๆๆๆ

วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ตั้งมั่นกัปรมัตถ์อารมณ์ หยุดการปรุ่งแต่ง (สังขาร หรือ กรรม) เป็นกุศล ที่เหนือกว่ากุศลใด เป็นการหยุดสังขาร (กรรม) จึงได้ชื่อว่า วิวัฏคามนีกุศล

ศึกษาได้ที่


ธรรมภาคปฏิบัติ ทางบำเพ็ญวิวัฏคามินีกุศล โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา
โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

สมถะ-วิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=2&

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้ง5 และเริ่มทำความเพรียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ไม่เลือนหลง

กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์หนึ่งเดียว

ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็นตาม ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความเพรียร

มีโอตตัปปะได้เริ่มระดมความเพรียรอย่างต่อเนืองสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวอย่างเด็ดเดียวแล้ว



ความพยาบาททั้งหลายเกิดจากการขาดสติ

เมื่อขาดสติ ก็ขาดสมธิ อโยนิโสมนสิการ จึงเกิดความพยาบาทยกเอาท่านพุทธทาสขึ้นมาเสียดส่ใส่

ร้าย ไม่เป็นสัมมาวาจา เป็นปิสุณาวาจา เป็นอกุศลกรรม

ซึ่งท่านพุทธทาสคงไม่เดือดร้อน

คนที่ร้อนคือเจ้าของปิสุณาวาจา ที่เป็นผู้หว่าวเมล็ดกรรมนั้น

จิตใจเขาคงเดือดพล่านอยู่ทุกกาลเวลา จึงยกขึ้นมาเหมือนฉายหนังซ้ำที่ไม่มีวันจบสิ้น

--------------------------------------------------


28195.การยกหลักฐานอ้างพระไตรปิฎก ถ้าไม่ดูอรรถกถา มีโอกาสผิดพลาด
viewtopic.php?f=2&t=28195

เช่นกันครับ คุณ mes กรณีที่ท่านพุทธทาสกล่าวหา อรรถกถาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์(วิสุทธิมรรค) พระอนุรุทธาจารย์(อภิธัมมัตถสังคหะ) ว่า นำคติของศาสนาพราหมณ์ มาปลอมปนพระสัทธรรม จนพระพุทธศาสนาล่มสลายไปจากอินเดีย พระมหาเถระเหล่านั้น ก็หาได้ขุ่นข้องใจไม่

แต่ พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังอย่างพวกผม ได้ศึกษาผลงานของท่านเหล่านั้น ประกอบพระไตรปิฏก ทำให้ได้เข้าใจในพระพุทธพจน์มากขึ้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ครับ อัตตโนมติของท่านพุทธทาส ที่ไปอธิบายการเจริญวิปัสสนา

อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์ โดย พุทธทาสภิกขุ
http://sites.google.com/site/smartdhamm ... uddhadhasa


อ้างคำพูด:
วินิจฉัยในอานาปานสติขั้นที่สิบหกสิ้นสุดลงเพียงเท่านี้.
http://sites.google.com/site/smartdhamm ... buddhadhas

สำหรับจตุกกะที่สี่นี้ จัดเป็นธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนาด้วยกันทั้งนั้น. ขั้นแรกพิจารณาความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งสรุปรวมลงได้เป็นสุญญตา มีความหมายสำคัญอยู่ตรงที่ว่างอย่างไม่น่ายึดถือ ขืนยึดถือก็เป็นทุกข์.ขั้นต่อมากำหนดพิจารณา ในการทำความจางคลายจากความยึดถือ ต่อสิ่งเหล่านั้นเพราะเกลียดกลัวโทษ กล่าวคือ ความทุกข์อันเกิดมาจากความยึดถือ. ขั้นต่อมาอีกกำหนดพิจารณาไปในทำนองที่จะให้เห็นว่า มันมิได้มีตัวตนอยู่จริงไปทั้งหมดทั้งสิ้นหรือทุกสิ่งทุกอย่าง การยึดถือเป็นยึดถือลม ๆ แล้ง ๆ เพราะว่าตัวผู้ยึดถือก็ไม่ได้มีตัวจริง สิ่งที่ถูกยึดถือก็ไม่ได้มีตัวจริง แล้วการยึดถือมันจะมีตัวจริงได้อย่างไร ;พิจารณาไปในทางที่จะดับตัวตนของสิ่งทั้งปวงเสียโดยสิ้นเชิง. ส่วนขั้นที่สี่อันเป็นขั้นสุดท้ายนั้น กำหนดพิจารณาไปในทางที่สมมติเรียกได้ว่า บัดนี้ได้สลัดทิ้งสิ่งเหล่านั้นออกไปหมดแล้ว ด้วยการทำให้มันว่างลงไปได้จริง ๆ คือสิ่งทั้งปวงเป็นของว่างไปแล้ว และ จิตก็มีอาการที่สมมติเรียกว่า “เข้านิพพานเสียแล้ว” คือสลายตัวไปในความว่างหรือสุญญตานั้น ไม่มีอะไรเหลืออยู่เป็นตัวตน เพื่อยึดถืออะไร ๆ ว่าเป็นของตนอีกต่อไปเลย.

การปฏิบัติหมวดนี้ ได้ชื่อว่าพิจารณาธรรม ก็เพราะพิจารณาที่ตัวธรรม ๔ ประการโดยตรง คือพิจารณาที่ อนิจจตา วิราคะ นิโรธะ และปฏินิสสัคคะ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วต่างจากจตุกกะที่หนึ่ง เพราะในที่นั้นพิจารณากายคือลมหายใจ ;ต่างจากจตุกกะที่สอง เพราะในที่นั้นพิจารณาเวทนาโดยประการต่าง ๆ ; ต่างจากจตุกกะที่สาม เพราะในที่นั้นพิจารณาที่จิตโดยวิธีต่าง ๆ ; ส่วนในที่นี้เป็นการพิจารณาที่ธรรม กล่าวคือ สภาวะธรรมดา ที่เป็นความจริงของสิ่งทั้งปวง ที่รู้แล้วให้จิตหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ต่างกันเป็นชั้น ๆ ดังนี้.



อานาปานสติ จตุกกะที่สี่จบ.


ประมวลจตุกกะทั้งสี่

จตุกกะที่หนึ่งเป็นสมถภาวนาล้วน ส่วนจตุกกะที่สองและที่สามเป็นสมถภาวนาที่เจือกันกับวิปัสสนาภาวนาส่วนจตุ กกะที่สี่นี้ เป็นวิปัสสนาภาวนาถึงที่สุด.สมถภาวนา คือการกำหนดโดยอารมณ์หรือนิมิต เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต มีผลถึงที่สุดเป็นฌาน ; ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น กำหนดโดยลักษณะคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำจิตให้รู้แจ้งเห็นแจ้งในสิ่งทั้งปวงมีผลถึงที่สุดเป็นญาณ : เป็นอันว่าอานาปานสติทั้ง ๑๖ วัตถุนี้ ตั้งต้นขึ้นมาด้วยการอบรมจิตให้มีกำลังแห่งฌานด้วยจตุกกะที่หนึ่ง แล้วอบรมกำลังแห่งญาณให้เกิดขึ้นผสมกำลังแห่งฌานในจตุกกะที่สอง ที่สาม โดยทัดเทียมกัน และกำลังแห่งญาณเดินออกหน้ากำลังแห่งฌาน ทวียิ่งขึ้นไปจนถึงที่สุดในจตุกกะที่สี่ จนสามารถทำลายอวิชชาได้จริงในลำดับนั้น.

วินิจฉัยในอานาปานสติ อันมีวัตถุสิบหก และมีจตุกกะสี่ สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้.



---------------------------------------------

คุณ mes ครับ จากอัตตโนมติของท่านพุทธทาส ที่อธิบายการเจริญวิปัสสนา โดยอานาปานสติ นั้น จะคลาดเคลื่อนไปจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา

เพราะ อานาปานสติ ในเบื้องต้น จะเจริญเป็น สมถะภาวนา ให้เกิดฌานก่อน ( ปฐมฌาน(ฌาน ๑) - จตุตถฌาน(ฌาน ๔) ) แล้วจึงยกองค์ฌาน ขึ้นสู่ วิปัสสนา

เรียก การปฏิบัติวิปัสสนา แนวนี้ว่า สมถะยานิกะ

ดังปรากฏหลักฐาน ในพระไตรปิฏก อรรกถา ดังนี้

viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.


--------------------------------------------------------------------

วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา ( ศึกษาเทียบกับ อานาปานสติ ๑๖ ขั้น ของท่านพุทธทาส)
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry580075

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่ผูกพยาบาทย่อมหาทางออกไม่พบ

จิตใจจึงวนเวียนอยู่ในห้วงแห่งพยาบาท

เป็นวิบากของสัตว์โลกคนนั้นเอง


ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ ไม่ใช่อภิปรัชญา

ปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่

รายละเอียดในการปฏิบัติแตกต่างกันไปตามจริตตามอัธยาศรัยของแต่ละคน

คนประพฤติปฏิบัติธรรมไม่มาทุ่มเถียงว่าวิธีใครดีกว่าใคร

คงมุ่งหน้าหาทางออก นิสรณะ


ตั้งแต่ที่ผมอ่านเจอความเห็นที่เฉลิมศักดิ์เขียนในหลายเวป

ก็เป็นเรื่องซ้ำๆ และแสดงความอวดรู้ เสียดสีดูถูกดูแคลนผู้อื่นจนเกิดปํญหากับผู้อื่นมาตลอด

แทนที่จะแก้ไขกลับสร้างเป็นนิสัยถาวร

เป็นที่หน้ารังเกียจ


พระพุทธเจ้าสอนให้คนเป็นผู้ใจกว้าง เป็นผู้ให้

จะทรงสั่งสอนใครก็ถามก่อนว่ามีศาสดาท่านใดที่คนผู้นั้นนับถืออยู่หรือไม่

ไม่เหมือนเฉลิมศักดิ์ที่เที่ยวยัดเยียดคนที่ตนหลงใหลอย่างท่านเสือ ท่านบุญมี ท่านแนบ

แล้วด่าท่านพุทธทาส

ทั้งหมดเป็นอคติทั้งสิ้น

เป็นการขาดปัญญา ไร้สติ ไม่รู้จักกรรมฐาน

อวดแต่ทฤษฎีที่ผมสังเกตุดูแล้วพบว่าเฉลิมศักดิ์เองคงไม่เข้าใจเข้าถึง

มิเช่นนั้นคงไม่ อุธัจจะกุกุจจะ เช่นนั้น

ถ้าคิดว่าด่าพระแล้วทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นก็จงด่าไปสร้างเวรสร้างกรรมสร้างพยาบาทให้หนักๆเข้า

ในเมื่อพูดไม่เชื่อสอนให้ไม่ฟังก็เลือกขุ่มนรกเอาเอง

เสียแรงที่เรียนอภิธรรมมา

ความรู้ท่วมห้วเอาตัวไม่รอด


สู้คนที่มีศรัทธา มีสัมมาทิฐิมุ่งหน้าปฏิบัติกรรมฐานไม่ได้


ข้อความอ้างอิงที่เฉลิมศักดิ์ยกมาตามวิธีการเดิมๆที่ย้ำทำผมบอกได้เลยว่าเฉลิมศักดืไม่เข้าใจหรอก

คือยกเอามาข่มคนอื่นเป็นการอวดรู้เท่านั้น เอาเข้าจริงเป็นแค่ใบลานเปล่า


ผมจะบอกให้

กรรมฐานเมื่อปฏิบัติเป็นธรรมชาติของการต่อเนือง

ตามทฤษฎีนั้นเป็นแค่ภาษาที่สื่อให้เข้าใจได้

ผมเฝ้าสังเกตุว่าเฉลิมศักดิ์รู้จริงตามที่อวดอ้างหรือเปล่า

ก็พบว่าไม่รู้จริงแนนอน

เพราะถ้ารู้จริงจะไม่เอาแต่ยกลิงค์มาอวด ยกพระไตรปิฎกมาอ้าง

อย่างฌาณหนึ่งถึงฌาณสี่เฉลิมศักดิ์ทำอย่างกับเหมือนชั้นเรียนประถมหนึ่งถึงประถมสี่

ว่ามาเป็นฉากๆ

ทั้งที่ในทางปฏิบัติที่แท้จริงนั้นไม่ใช่

บางครั้งถึงฌาณใหนเจ้าตัวยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

บางเวลายังเข้าฌาณโดยไม่รู้ตัวก็ยังมี


เตือนเฉลิมศักดิ์หลายข้อหลายอย่างก็ไม่นำไปไตร่ตรองมนสิการ

อย่างเรื่องสอนเกินพระพุทธเจ้า เรื่องที่ตัวเองไม่เคยได้ทำหรือยังทำไม่ได้อย่าเทียวมาสาธยาย

เรื่องท่านพุทธทาสถ้าไม่ชอบก็เก็บไว้ในใจ

อย่าสร้างกรรม สร้างบาป

ถูกผิดที่ท่านสอนก็คัดกรองเอาส่วนดีมา

อย่าโง่


คนโง่รู้ว่าไฟร้อนแล้วยังเอามาลนมือถือว่าเป็นพวกปัญญาอ่อน เป็นบัวใต้น้ำเป็นอาหารของเต่าของปลา

นี่สั่งสอนมาจนขนาดนี้มีเมตตาให้ขนาดนี้ถ้ายังจะโง่อีกก็สุดแตวิบากของเฉลิมศักดิ์



ในเวปธรรมจักรแห่งนี้ผมเชื่อว่ามีอริยะบุคคลอยู่หลายท่าน

แต่ละท่านปิดบังตนเองสุดขีด

เฉลิมศักดิ์ทราบไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเฉลิมศักดิ์จะยกเอาคำกล่าวหากับลิงค์เก่าๆม่ฉายหนังซ้ำซากก็พอได้แล้ว หยุดได้แล้ว

เกรงใจคนอื่นบ้าง ที่ตอบสนองความใคร่ตนเองด้วยวิธีการนี้ ยังที่เคยทำมานับครั้งไม่ถ้วน

ไร้สาระ น่าเบื่อหน่าย ไม่เกิดปัญญากับใคร อย่าสร้างปัญหาอีก

ไม่ใช่แนวทางที่พระพุทธเจ้าสอน


อดีตก็ผ่านไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง

จงอย่าหวนอาลัยหมกหมุ่นกับอดีต อย่าฟุ้งซ่านถึงอนาคต

จงตามดูรู้ทันกับปัจจุบัน

อยู่กับปัจจุบันด้วยด้วยปัญญา

ความพยาบาทอาฆาตแค้นมิใชเส้นทางสู่นิพพาน



พระพุทธธรรมเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งนัก

อรหันต์เท่านั้นที่เข้าใจเข้าถึง

การที่ปุถุชนตัดสินว่าใครกล่าวพระธรรมถูกหรือผิดมิใช่วิสัยที่จะทำได้

ตัวอย่างที่เฉลิมศักดิ์หลงใหลเสน่หาในอรรถกถาจารย์ก็เกิดฉันทาคติว่าอรรถกถาจารย์กล่าวพระธรรมถูก

พระพุทธทาสกล่าวผิด

เป็นการตัดสินที่ตัวเองก็ไม่รู้

แต่ก็หลับหูหลับตากล่าวหาร่ำไปทำอย่างกับตนเองเป็นพระอรหันต์

ไม่เกิดประโยชน์อะไร

จะให้ใครมานับถือเฉลิมศักดิ์มากขึ้นก็เปล่า

ไปไหนมีแต่ทะเลาะกับคนที่นั่น

ไม่มีใครยอมรับ

แต่ไม่รู้ตัว



เรื่องเทวดาก็เป็นอีกเรื่องที่เฉลิมศักดิ์เชื่อว่ามีทั้งๆที่ก็ไม่เคยพบ

แต่ยื่นยันเหมือนกับตาเห็น

คือจะได้เหนือกว่าคนอื่นว่ากูรู้ (ไม่ใช่กุรู)

สวรรค์เทวดาจะมีจริงหรือไม่ผู้ที่รู้ก็ไม่มีหลักฐานมายื่นยันว่ามีจริง

พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นเรื่องอาจินไตรย์

ไม่ต้องรู้

ไม่เกี่ยวกับการดับทุกข์

เหมือนคนถูกลูกธนูยิงพอหมอจะรักษาก็บอกว่าถ้าไม่รู้ว่าผู้ยิงเป็นใครชาตตระกูลอะไรจะไม่ยอมให้รักษา

อย่างนั้นก็รอวันตายสถานเดียว



สวรรค์เทวดาจะมีหรือไม่มีไม่เกี่ยวกับการเกิดทุกข์

ทุกข์คือ โศกะปริเทวะทกขะโทมนัสอุปาสายาท

ทุกข์นี้เกิดจากชาติเป็นปัจจัย

ชาติเกิดจากภพเป็นปัจจัย

ภพเกิดจากตัญหาเป็นปัจจัย

จากจะพ้นทุกข์ได้ต้องตัดตัญหา

โดยเฉพาะตัญหาที่เกิดจากอุปาทานขันธ์5

ไม่เห็นมีสวรรค์เทวดาที่ไหนมาเกี่ยวข้องเส้นทางหลุดพ้น นิสรณะเข้าสู่นิพพานเลย


อีกประการหนึ่ง

เฉลิมศักดิ์ไม่เคยปฏิบัติจริงแน่นอนจึงเอาปรมัตถ์ไปปนกับสมมุติ

คือเอาวิธีการปฏิบัติไปปนกับตำรา

มันคนละเรื่องกัน

ตัวอย่า

ปฏิจจสมุทบาปเป็นทฤษฎีล้วนๆ

เวลาในการปฏิบัติต้องอาศัยอริยะสัจจคือนิโรธวารได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา

อ่านตำรามาแล้วเข้าใจว่าทุกคนจะบรรลุธรรมได้ต้องเหมือนตำราบอกเปียบ

อย่างนั้นเป็นความเช้าใจแบบโง่ๆ

พระอรหันต์บางท่านปฏิบัติธรรมเป็นหลายปียังไม่หลุดพัน

บางท่านเกิดปัญญาขึ้นทันทีทันใดในชั่ววูบก็สำเร็จอรหันต์แล้ว

ไม่มีกฎตายตัว

มีแต่แนวทางหลักการการปฏิบัติตนของผู้ที่ต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์เรียกว่า

ประพฤติพรหมจรรย์

เป็นขั้นความเพียรหรือสัมมาวายามะ

สุตรสำเร็จในการสำเร็จอรหันต์เหือนเรียนปริญญาตรี โท เอก ไม่มี

อีกตัวอย่างที่เป็นนิสัยเสียดสีผู้อื่นของเฉลิมศักดิ์

เห็นไหมว่าความไม่ดีผิดหลักอริยะมรรคของเฉลิมศักดิ์มีมากมายขนาดไหน

เรียกว่าอวิชชาของเฉลิมศักดิ์

ในเรื่องการทำสมาธิ

รายลัเอียดใครจะใช้การภาวนาว่าหนอ ว่าสัมมาอรหันต์

เฉลิมศักดิ์ก็ทนได้ทั้งที่เขาไม่ได้ไปทำบนไหนของเฉลิมศักดิ์

ไปว่าเป็นแหน่บ้าง

เที่ยวสู่รู้ว่า

เจโตวิมุติมีน้อยกว่าปัญญาวิมุตติ

ต้องใช้แตตำราของ แนบ ของบุญมี ของท่านเสือ เป็นต้น

ทำอย่างกับผู้อื่นเป็นวัวเป็นควายให้จูงง่ายๆ


ในการปฏิบัติต้องแล้วแต่ใครถนัด

ใครที่มีจริตในทางทำสมาธิถึงฌาณก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา

สุดท้ายต้องใช้ปัญญาในการเข้าสู่อรหันต์

ทุกคนรู้

แต่ให้ถึงเวลาก่อน

ไม่ใช่เที่ยวมายกคำกล่าวว่าผู้ที่สำเร็จด้วยเจโตวิมุติมีน้อย

มันเกิดประโยชน์อะไรในทางธรรมะ

ทำให้ผู้ที่เพิ่งเริมปฏิบัติธรรมสับสน

ตัดทางสู่ความสำเร็จ



ที่ยกมาทั้งหมดสรุปได้ว่า

เฉลิมศักดิ์ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม

แต่เป็นพวกสัทธรรมปฏิรูปแน่นอน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธพจน์

viewtopic.php?f=2&t=21062

สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


------------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
คุณ mes
ในการปฏิบัติต้องแล้วแต่ใครถนัด

ใครที่มีจริตในทางทำสมาธิถึงฌาณก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา

สุดท้ายต้องใช้ปัญญาในการเข้าสู่อรหันต์

ทุกคนรู้

แต่ให้ถึงเวลาก่อน

ไม่ใช่เที่ยวมายกคำกล่าวว่าผู้ที่สำเร็จด้วยเจโตวิมุติมีน้อย

มันเกิดประโยชน์อะไรในทางธรรมะ


คุณ mes ครับ การกล่าวเช่นนั้น ไม่ถูกต้องครับ ในการปฏิบัติต้องแล้วแต่ใครถนัด

ปริยัติศาสนา หรือ คันถธุระ มีส่วนสำคัญมาก เปรียบเหมือนแผนที่ ที่ใช้ประกอบการเดินทาง

บางคนยังไม่รู้ตัวเอง เลยว่า มีจริตแบบไหน, สมถะ-วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร , จะปฏิบัติวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน แบบไหน ?

ได้แต่เชื่อตามกันมา ตามที่ตนเองถนัด บางสำนักก็ถนัดด้านการทำสมาธิ แต่ไม่เข้าใจเรื่องวิปัสสนา

ซึ่งผมก็เคยเป็นแบบนั้นเหมือนกัน ชมรมพุทธศาสน์ไปปฏิบัติธรรมที่ไหนก็ไป เขาเรียกการนั่งสมาธิว่าเป็นวิปัสสนาก็เรียกตามเขาไป ( พาไปสวนโมกข์, วัดธรรมกาย ก็ตามเขาไป )

อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
เที่ยวสู่รู้ว่า

เจโตวิมุติมีน้อยกว่าปัญญาวิมุตติ

ต้องใช้แตตำราของ แนบ ของบุญมี ของท่านเสือ เป็นต้น

ทำอย่างกับผู้อื่นเป็นวัวเป็นควายให้จูงง่ายๆ


จนกระทั่งได้มาพบ กับพระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก รวมทั้งพระอภิธรรม
(ต่างจาก ท่านพุทธทาส ที่ได้แต่กล่าวโจมตี พระอภิธรรม และ คณาจารย์ผู้เผยแพร่ )

คุณ mes ครับ ตำราของหลวงพ่อเสือ อาจารย์แนบ อาจารย์บุญมี

หรือ ของท่านใดก็แล้วแต่ หากเป็นการนำพระไตรปิฏก อรรถกถา มาอธิบาย ให้เกิดศรัทธา ๔ หรือ ความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนา เห็นภัยในวัฏฏะสงสารแล้วปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อสั่งสมบารมี เพื่อการพ้นทุกข์ต่อไป

ย่อมควรศึกษา ครับ

และนี่ก็เป็นตำราของอาจารย์ไชยวัฒน์ ที่ถ่ายทอดจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา


ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ท่านจำแนกบุคคลผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานเป็น ๒ จำพวก คือ บุคคลตัณหาจริต ๑ บุคคลทิฏฐิจริต ๑ และแม้ใน ๒ จำพวกนี้แต่ละจำพวก ก็ยังจำแนกออกเป็น ๒ อีก คือ พวกที่มีปัญญาทึบ ๑ พวกที่มีปัญญากล้า ๑ แล้วกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
" มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส โอฬาริกํ กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค, ติกฺขสฺส สุขุมํ เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ฯลฯ ฯเปฯ ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค " (สุมงฺคลวิลาสินี ๒/๔๖๘)
แปลว่า " กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นข้อที่หยาบ เป็นหนทางหมดจดสำหรับบุคคลตัณหาจริต ผู้มีปัญญาทึบ, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นข้อที่ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับบุคคลตัณหาจริตผู้มีปัญญากล้า, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งไม่แตกประเภทเกินไปนัก เป็นทางหมดจด สำหรับบุคคลทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาทึบ, ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งแตกประเภทยิ่ง เป็นทางหมดจด สำหรับบุคคลทิฏฐิจริตผู้มีปัญญากล้า " ดังนี้

คำพูดในอรรถกถาตอนนี้ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้

ชื่อว่า บุคคลตัณหาจริต ได้แก่ ผู้มากด้วยตัณหา แม้ว่าเขาจะเป็นผู้มีทิฏฐิด้วย แต่ก็มีตัณหานั่นแหละ ออกหน้าเป็นประธาน กล่าวคือ เป็นผู้มีปกติประพฤติทางกาย ทางวาจา และทางใจ ด้วยอำนาจความอยาก ยินดีพอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย จึงจัดว่า เป็นผู้ไม่หมดจด คือไม่บริสุทธ์ เพราะตัณหาหากว่าใช้อารมณ์กรรมฐานที่ไม่เหมาะสมแก่จริต ปฏิบัติไป การปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่สะดวก เพราะมีตัณหาเกลือกกลั้ว ไม่สามารถทำให้ก้าวหน้าไปจนบรรลุวิสุทธิมรรคคือพระนิพพานได้ เพราะฉะนั้น จึงควรใช้อารมณ์กรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต คือเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา ตัณหาจะได้ไม่กำเริบ ทำให้การปฏิบัติดำเนินไปโดยสะดวก สามารถทำให้ก้าวหน้าไปจนบรรลุวิสุทธิธรรมได้ ได้แก่ รูปกายที่จะแสดงความเป็นของไม่งาม น่าเกลียด เป็นปฏิกูลให้ปรากฏและเวทนาที่จะแสดงความเป็นทุกข์ให้ปรากฏด้วยว่า ความเป็นของไม่งาม น่าเกลียดเป็นปฏิกูล และความเป็นทุกข์ เป็นสภาพที่ตัณหาเบือนหนี ไม่อยากได้ ไม่เป็นที่อาศัยเกิดแห่งตัณหาโดยตรง เพราะตัณหามีปกติอยากได้ อาศัยเกิดในอารมณ์ที่อยู่ว่างามบ้าง ว่าเป็นสุขบ้าง เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานซึ่งเป็นการพิจารณารูปกายและเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานซึ่งเป็นการพิจารณาเวทนา ๒ ข้อนี้ จึงเหมาะสมแก่บุคคลตัณหาจริต
!
!

อีกอย่างหนึ่ง แม้จะไม่มีการวินิจฉัยด้านจริตและปัญญาด้วยเหตุด้วยผลดังกล่าวมานี้ก็ตาม แต่เนื่องจากในยุคสมัยนี้ ขาดแคลนกัลยาณมิตร หรืออาจารย์ผู้ทรงญาณปัญญา ที่สามารถสอบสวนสภาพจิตใจของผู้อื่นอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้จะบอกได้ว่า ผู้นั้นผู้นี้ควรเจริญสติปัฏฐานข้อใด หมวดไหน จึงจะเหมาะสมต่อสภาพจิตใจของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นแหละ เพราะเทียบสติปัฏฐานข้ออื่นแล้ว จะเป็นข้อที่เจริญได้ง่ายกว่า เพราะข้อนี้มีการพิจารณารูปธรรมเป็นหลัก ก็การพิจารณารูปธรรมซึ่งเป็นของหยาบ ทำได้ง่ายกว่าการพิจารณานามธรรม มีเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นของละเอียด

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔

viewtopic.php?f=2&t=29201

---------------------------------------------------------------

แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

http://www.dhammajak.net/samati/samati17/s1710.php

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 03:27
โพสต์: 12

แนวปฏิบัติ: ธรรมชาติแห่งธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: สูตรเว่ยหล่าง
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool smiley cool smiley cool smiley tongue tongue tongue



เมื่อจิตเราตรงแน่ว....ตรงแน่วต่อสัจธรรม......อันเป็นธรรมชาติแห่งธรรม
จิตเราก็เป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา
เป็นสมาธิ.......ที่ไม่ต้องเข้าไม่ต้องออก
นิ่ง..............แต่เคลื่อนไหวได้

สำหรับผู้ที่ใจเป็นพุทธะแล้ว
การนั่งสมาธิ.....ก็เป็นเพียงอริยาบทหนึ่ง......ไม่ต่างจากการนั่งกินข้าว หรือดูหนังฟังเพลง


สัมมาสมาธิ......คือปกติแห่งการตั่งใจมั่นในความดับแห่งจิต
การเป็นปกติ....คือธรรมชาติแห่งธรรม.....


หากยังมีความลังเลสงสัยในธรรมอยู่หลายส่วน......แล้วไปนั่งสมาธิ
การนั่งเช่นนี้....เป็นเพียงการทำกรรมฐาน.....เพื่อระงับนิวรณ์...ชั่วคราวเท่านั้น
นิวรณ์....คือสิ่งๆหนึ่งที่เข้ามาขวาง ทำให้เราไม่สามารถบรรลุธรรมได้
เช่นความฟ้งซ่านรำคาญใจ เป็นต้น


cool tongue cool tongue smiley smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
เรื่องเทวดาก็เป็นอีกเรื่องที่เฉลิมศักดิ์เชื่อว่ามีทั้งๆที่ก็ไม่เคยพบ

แต่ยื่นยันเหมือนกับตาเห็น

คือจะได้เหนือกว่าคนอื่นว่ากูรู้ (ไม่ใช่กุรู)

สวรรค์เทวดาจะมีจริงหรือไม่ผู้ที่รู้ก็ไม่มีหลักฐานมายื่นยันว่ามีจริง

พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นเรื่องอาจินไตรย์

ไม่ต้องรู้

ไม่เกี่ยวกับการดับทุกข์


นี่คือผลของการเชื่อตามทิฏฐิของท่านพุทธทาส ครับ

คุณ mes อาจจะเชื่อว่า เทวดา ก็คือ คนทั่วไปนี่แหละ ที่พร้อมด้วยสุขเวทนา ส่วนเปรต อสุรกาย คือ คนที่เต็มไปด้วย ทุกขเวทนา เต็มไปด้วย ความหิว

นรก สวรรค์ พระพุทธเจ้า ก็ทรงเอออวย สวมรอยกับความเชื่อโง่ ของศาสนาพราหมณ์ในยุคนั้น เพราะไปคัดค้านคนโง่ไม่ไหว

เทวดามีจริงหรือ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

http://www.buddhadasa.com/index_subj.html
-----------------------------------------------------------------

คุณ mes ครับ ถึงผมจะไม่เคย เห็นเทวดา , เปรต, สัตว์นรก , อสุรกาย

แต่ผมก็เชื่อว่า โอปปาติกะ และ หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด มีจริง ครับ

ถึงแม้ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นทาสของพระพุทธองค์จะสอนไม่ให้เชื่อ

แต่ผมเชื่อตามพระพุทธองค์ ครับ ถึงผมจะพิสูจน์ไม่ได้ แต่เชื่อแล้ว ก็เกิดความอุ่นใจ ครับ
(คุณ mes จะเรียกผมว่าโง่เป็นควาย อีกครั้ง ผมก้ญอมรับครับ )

ตอบกระทู้ นรก-สวรรค์ ของศิษย์ท่านพุทธทาส ที่เชื่อว่านรก-สวรรค์ ที่เป็นภพภูมิไม่มี
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16994

กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิต
ปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิต
บริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ใน
ปัจจุบันนี้แล้ว คือ
ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่า
เมื่อเราแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็น
สิ่งที่เป็นไปได้ นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครอง
ตนอยู่ โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติ
ปัจจุบันนี้แล้ว นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๒ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่วก็เป็นอันทำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อ
ใครๆ ที่ไหนทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้มิได้ทำบาปกรรมเล่า นี้เป็นความอุ่น
ใจประการที่ ๓ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ ในกรณีนี้ เราก็มอง
เห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์
จะตรัสธรรมเป็นกลางๆ เป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความ
ปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึงว่าหลักธรรมนั้นเป็น
ของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชักจูงให้เขาเชื่อหรือเลื่อมใส
ต่อพระองค์ หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์

------------------------------------------------------------

เมื่อครั้งเรียนมหาลัยทางวิทยาศาสตร์ อ่านตำราของท่านพุทธทาสมากครับ จนไม่เกิดศรัทธา ๔ (ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาทางธรรม) แต่หลงผิดคิดว่าตนเองฉลาดมาก ๆ ทั้งที่ทิฏฐิตอนนั้น คือ นัตถิกทิฏฐิ

มิจฉาทิฏฐิที่พระเจ้าปายาสิเคยมี(ไม่เชื่อโลกหน้ามี)
เป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งพุทธกาล การถามตอบระหว่างพระอริยสงฆ์กับพระเจ้า ปายาสิ
http://larndham.org/index.php?showtopic=12737&st=16



ลัทธินัตถิกทิฏฐิ กล่าวโดยเนื้อหาก็คือปรัชญาจากการมีรากฐานอยู่ก่อนแล้วในระบบความคิดความเชื่อเดิมของสังคมอินเดียหากเทียบกับลัทธิปรัชญาตะวันตกนัตถิกทิฏฐิก็คือปรัชญาวัตถุนิยม (Mate-rialistic philosophy) ซึ่งผู้ศึกษาปรัชญาสายตะวันออกและตะวันตกย่อมจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
หลักการทั่วไปของลัทธินัตถิกทิฏฐิ หรือปรัชญาวัตถุนิยมของตะวันตก(Materialistic philosophy) มีเนื้อหาสอดคล้องกันตรงที่ต่างยอมรับว่าโลกและชีวิตเป็นผลผลิตของการรวมกันอย่างลงตัวของวัตถุหรือสสาร ไม่มีจิตวิญญาณที่เป็นนามธรรม ความจริงมีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุและความจริงนี้ต้องพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสเท่านั้น ไม่มีความจริงอื่นนอกเหนือไปกว่านี้
แต่พระพุทธศาสนากล่าวว่า ความจริงไม่ได้มีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุหรือสสารเท่านั้น ยังมีความจริงอีกมากมายที่เรามองไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แต่อาจพิสูจน์และสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสที่ ๖ (ESP = Extra Sensory Perception) คือจิตหรือใจ
เมื่อวัตถุนิยมปฏิเสธความจริงทางนามธรรม ก็เท่ากับปฏิเสธเรื่องบุญ บาป ความดี ความชั่ว กฏแห่งกรรม เทวดา พระนิพพาน และพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งพระนิพพานด้วย การปฏิเสธบุญบาป เป็นต้น ก็เท่ากับเป็นการปฏิเสธระบบคุณค่าหรือกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมจริยธรรมที่ทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบร่มเย็นไปด้วยโดยปริยาย


-----------------------------------------

คุณ mes ครับ การที่คุณศึกษาตำราของท่านพุทธทาสมาก ๆ แล้ว ไม่ทำให้คุณเย็นใจลงได้ ไม่รู้จะเริ่มศึกษาพระไตรปิฏก อรรถกถา ให้เกิดความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาทางธรรม (ศรัทธา ๔) ได้อย่างไร

ศรัทธา ๔
http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&

จะเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร มีความเพียรเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนา ได้หรือไม่ ?

ผมว่าวางตำราของท่านพุทธทาสลงเสียเถิดครับ อย่าได้ยึดติดในทิฏฐิเกินไป ปิดกั้นตนเองเปล่า ๆ

คุณ mes ครับ คุณจะแสดงความโกรธด้วยการด่าผม ผมคงไม่ด่าตอบหรอกครับ เพราะเวปนี้เป็นการสนทนาธรรม

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=16&


สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

-------------------------------------------
สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้

-----------------------------------------------------

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
หน้าต่างที่ ๔ / ๑๒.


๔. เรื่องนางปติปูชิกา [๓๖]
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=4

อายุของมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ ปี
ฝ่ายนางเทพธิดานอกนี้ กำลังประดับอยู่นั่นเอง ตลอดกาลเท่านี้. เทพบุตรเห็นนางนั้น กล่าวว่า "เธอหายหน้าไปตั้งแต่เช้า, เธอไปไหนมา?"
เทพธิดา. ดิฉันจุติค่ะ นาย.
เทพบุตร. เธอพูดอะไร?
เทพธิดา. ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ นาย.
เทพบุตร. เธอเกิดแล้วในที่ไหน?
เทพธิดา. เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกรุงสาวัตถี.
เทพบุตร. เธอดำรงอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้นสิ้นกาลเท่าไร?
เทพธิดา. ข้าแต่นาย ดิฉันออกจากท้องมารดา โดยกาลอันล่วงไป ๑๐ เดือน ในเวลาอายุ ๑๖ ปี ไปสู่ตระกูลสามี คลอดบุตร ๔ คน ทำบุญมีทานเป็นต้น ปรารถนาถึงนาย มาบังเกิดแล้วในสำนักของนายตามเดิม.
เทพบุตร. อายุของมนุษย์มีประมาณเท่าไร?
เทพธิดา. ประมาณ ๑๐๐ ปี.
เทพบุตร. เท่านั้นเองหรือ?
เทพธิดา. ค่ะ นาย.
เทพบุตร. พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณเท่านี้เกิดแล้ว เป็นผู้ประมาทเหมือนหลับ ยังกาลให้ล่วงไปหรือ? หรือทำบุญมีทานเป็นต้น?
เทพธิดา. พูดอะไร นาย, พวกมนุษย์ประมาทเป็นนิตย์ ประหนึ่งถือเอาอายุตั้งอสงไขยเกิดแล้ว ประหนึ่งว่าไม่แก่ไม่ตาย.
ความสังเวชเป็นอันมาก ได้เกิดขึ้นแก่มาลาภารีเทพบุตรว่า "ทราบว่า พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเกิดแล้ว ประมาท นอนหลับอยู่, เมื่อไรหนอ? จึงจักพ้นจากทุกข์ได้."
____________________________
๑- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/หน้า ๑๖. ได้แก่ อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๔๖-๕๑

๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่า ๑ วันในสวรรค์

---------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ไม่ใช่เที่ยวมายกคำกล่าวว่าผู้ที่สำเร็จด้วยเจโตวิมุติมีน้อย

มันเกิดประโยชน์อะไรในทางธรรมะ

ทำให้ผู้ที่เพิ่งเริมปฏิบัติธรรมสับสน

ตัดทางสู่ความสำเร็จ



ที่ยกมาทั้งหมดสรุปได้ว่า

เฉลิมศักดิ์ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม

แต่เป็นพวกสัทธรรมปฏิรูปแน่นอน



ถูกต้องที่ว่าผม ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม เพราะไม่มีความเพียรเท่าไหร ตกอยู่ในความประมาท
(พึ่งเริ่มศึกษาแนวทางการปฏิบัติธรรม)
ทำเหมือนมีอายุเป็น อสงไขย ไม่แก่ตายง่าย ๆ

ดังที่เทพธิดานางปติปูชิกา กล่าวถึง พวกมนุษย์ เรา

ยิ่งในปัจจุบัน ยิ่งเห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ

แต่ผมขอแย้งในเรื่องที่ว่าผม เป็นพวกสัทธรรมปฏิรูป

หลักการต่าง ๆ ผมก็ได้นำมาจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา ต่าง ๆ

ต่างจากทิฏฐิของคุณ mes ที่ไม่เคยนำ พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา ต่าง ๆ มาอ้างอิงเลย

มีแต่อ้างทิฏฐิของท่านพุทธทาสเท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8951248-1.jpg
Y8951248-1.jpg [ 53.76 KiB | เปิดดู 6121 ครั้ง ]
สวัสดีขอรับทั้งสองท่าน :b8:

ขอหนับหนุนให้คุณเฉลิมศักดิ์ กับ mes เปิดกระทู้ใหม่สนทนากันสองต่อสองเพื่อความง่ายต่อการติดตามอ่าน

กรัชกายเป็นแฟนคุณเฉลิมศักดิ์นานมาแล้วตั้งแต่ลานธรรมเสวนาจนถึงลานธรรมจักรนี่ คุณเฉลิมศักด์มีอะไรๆดีๆ

น่าค้นหาเยอะครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="เฉลิมศักดิ์)]ถูกต้องที่ว่าผม ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม เพราะไม่มีความเพียรเท่าไหร ตกอยู่ในความประมาท
(พึ่งเริ่มศึกษาแนวทางการปฏิบัติธรรม)
[/quote]

ผมถึงได้เรียกคุณว่า

ตาบอดครำช้างไหงละ

ที่เขียนมาทั้งหมดเกิดจากอคติทั้งนั้น

คือกูเชื่อว่าอย่างน้

เพราะไม่ปฏิบัติจริงรู้จริงน่ะซิ

ขอโทษคุณกรัชกาย

ผมคงใช้เนื้อที่กระทู้นี้เท่านี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบดังมายาเกรด a
สัมมาสมาธิ เปรียบดังมายา เกรด a

มิจฉาวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบดังมายา เกรด f
มิจฉาสมาธิ เปรียบดังมายา เกรด f

อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
enlighted
เหอๆๆ

นั่งสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขนาดพระสารีบุตร ยักษ์ย่องมาตีหัวได้

วิปัสสนากรรมฐาน ขาดสติ ไหลไปกับการวิปัสสนา จากสังขารและวิญญาน
พระอนุรุธ สาธยายธรรมจากวิปัสสนา อันขาดองค์แห่งวิปัสสนา ปรุงไปกับสังขาร และวิญญาน



03-พระสารีบุตรเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา

พระเถระถูกนันทกยักษ์ทุบ
http://www.84000.org/one/1/03.html


11-พระอนุรุทธเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
http://www.84000.org/one/1/11.html


คุณ enlighted แสดงทิฏฐิอะไรออกมา ระวังขี้กลากขึ้นหัวน่ะ เหอ ๆๆๆ

วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ตั้งมั่นกัปรมัตถ์อารมณ์ หยุดการปรุ่งแต่ง (สังขาร หรือ กรรม) เป็นกุศล ที่เหนือกว่ากุศลใด เป็นการหยุดสังขาร (กรรม) จึงได้ชื่อว่า วิวัฏคามนีกุศล


------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
enlighted
สัมมาวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบดังมายาเกรด a
สัมมาสมาธิ เปรียบดังมายา เกรด a

มิจฉาวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบดังมายา เกรด f
มิจฉาสมาธิ เปรียบดังมายา เกรด f
อิอิ


พจนานุกรมพุทธศาสตร์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มิจฉาสมาธิ
มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
(ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐)



คุณ enlighted นึกจะพูดอะไรก็พูด ใช้ความรู้สึกส่วนตัว มากล่าวตู่พระสัทธรรม พระสงฆ์

เตือนอีกครั้ง ว่า นรกจะกินหัวนะครับ อิอิ


สมาธินั้น มีทั้งที่เป็น มิจฉา และ สัมมาสมาธิ

ส่วน วิปัสสนา เป็นญาณที่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของ รูป นาม ซึ่งต้องอาศัยฐาน ของ สมาธิที่เป็น ขณะ ๆ ๆ ( ขณิกสมาธิ) เป็นอย่างน้อย ( วิปัสสนายานิก) หรือ สำหรับ ผู้ที่ทำสมาธิจนได้ฌาน มาแล้ว ก็ต้องต่อยอดขึ้นสู่ การเจริญวิปัสสนา ( สมถยานิก)

ศัพท์ คำว่า มิจฉาวิปัสสนา จึงไม่เคยอ่านเจอ

แต่การปฏิบัติ ที่เข้าใจเรื่อง วิปัสสนา ผิด ๆ เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิในวิปัสสนากรรมฐาน เช่น สมาธิกับวิปัสสนาคือสิ่งเดียวกัน , ความสุขจากนั่งสมาธิ จนได้ฌาน คือ วิปัสสนาญาณ

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

ถาม – ตอบ เรื่อง “ ศีลวิสุทธิ “ โดย อ.แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-03.htm

1. สัมมาทิฏฐิในกรรมบถ ก็ต้องละมิจฉาทิฏฐิในกรรมบถ สัมมาทิฏฐิ อันนี้เรียกว่า กัมมัสสกตาปัญญา คือ ปัญญาที่เชื่อ หรือรู้เหตุผลของกรรมว่า ผลของกรรมมีอยู่กรรมดีย่อมให้ผลเป็นสุข กรรมชั่วย่อมให้ผลเป็นทุกข์ เขาเข้าใจดี เขารู้และเขาเชื่อด้วยความเชื่อของท่านผู้นี้ถูก เมื่อความเชื่อถูก หรือความเห็นถูกอย่างนี้เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ความเห็นทีว่ากรรม และผลของกรรมไม่มี ตายแล้วสูญไป หรือ ไม่มีใครเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ความเห็นผิดอย่างนี้ก็ตกไป

2. สัมมาทิฏฐิในสมาธิ ผู้ที่เห็นว่า สมาธินี้มีอานิสงส์มาก ทำให้จิตสงบจากอกุศลต่างๆ สามารถจะมีความสุขในปัจจุบันได้ และเกิดชาติหน้าก็ยังมีความสุขใน “ สุคติ “ อีก จะได้ภพที่ดี ๆ ภพที่เป็นสุข ไม่มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นเขามีความเห็นอย่างนี้ ก็เป็นความเห็นถูกเพราะว่าสมาธินี้มีผลอย่างนั้นจริงๆ

3. สัมมาทิฏฐิในฌาน ถ้าไม่เชื่อว่าฌานนี้ให้ผลเป็นสุข ไม่เชื่อว่าสามารถจะให้ไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกได้ ถ้าเข้าใจอย่านี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าคนที่เข้าใจอานิสงส์ถูกต้องแล้วก็เป็นสัมมาทิฏฐิในเรื่องฌาน “ มิจฉาทิฏฐิ “ ในอานิสงส์ ของฌานก็หมดไป แต่ว่า สัมมาทิฏฐิ 2 อย่างนี้ ภายนอก พระพุทธศาสนาก็มีได้ การทำบุญทำทานก็ดี สมาธิก็ดี ฌานก็มีสรุปแล้ว สัมมาทิฏฐิ 2 อย่างนี้ มีได้ทั้งนอก และในพระพุทธศาสนา

4. สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา คือเข้าใจถูกว่า อะไรเป็นวิปัสสนา อะไรไม่ใช่วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนานี้ มีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา เรียกว่า “ ศาสนาสัมมาทิฏฐิ “ บางคนยังไม่เข้าใจสนวิปัสสนา การทำก็ยังไม่เกิดวิปัสสนาที่แท้จริง แต่เข้าใจว่าเกิดแล้ว นี่ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิในวิปัสสนา ถ้าผู้ที่เข้าใจหรือเข้าถึงวิปัสสนา โดยถูกต้องแล้ว ความเห็นถูกอันเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็สามารถละมิจฉาทิฏฐิในความเข้าใจผิดจากวิปัสสนานั้นได้ และละตลอดไปจนกระทั่งถึง มรรค ผล นิพพาน ปัจจเวก ทั้ง 4 นี้ มีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น มรรค ผล เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ตนได้เข้าไปเห็นถูกต้องแล้วอันนี้ก็ละมิจฉาทิฏฐิที่เข้าใจผิด

5. สัมมาทิฏฐิในนิพพาน บางท่านคิดว่า พระนิพพานคงจะเที่ยง คงจะไม่ตาย เรานี้จะเข้าไปเสวยสุขในพระนิพพาน อันเป็นเมืองแก้วที่มีความสุขสบาย ถ้าเราไปอยู่ในนิพพาน คงจะเป็นสุขไม่มีความทุกข์เลย ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จัดเป็น “มิจฉาทิฏฐิในนิพพาน“ เพราะนิพพานนั้นไม่มีสุขเวทนาให้ปรากฏเลย พระนิพพานนั้นดับเสียซึ่งขันธ์ 5

-----------------------------------

จิตตวิสุทธิ ( สมาธิวิสุทธิ , สัมมาสมาธิ ) โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm

--------------------------------
ชีวิตจะยุติการเกิดได้อย่างไร โดย อภิธรรมมูลนิธิ

http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

มีพุทธวจนะกล่าวไว้ว่า

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้ง และขับไล่วิปลาสธรรมให้ออกไปได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่างๆ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา

ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง

สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือการปฏิบัติวิปัสสนา เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายวิปลาสธรรมทั้ง ๔ ได้ และเมื่อใดที่วิปลาสธรรมถูกทำลายลง เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงสภาวธรรมแห่งไตรลักษณ์ หากบุคคลใดได้ประจักษ์แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่กำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์โดยตรง


----------------------------------------------------------

มีตัวอย่างของความเห็นผิด ที่คุณกรัชกายแสดง เกี่ยวกับ วิปัสสนูกิเลส

ทั้งที่ อาการผิดปกติดังกล่าว เกิดจาก เริ่มมีสมาธิ แล้วจิตปรุงแต่งไปเอง เท่านั้นครับ

เป็นอาการที่เกิด วิปัสสนึก คิดปรุงแต่งว่า ตนเอง ได้เจริญวิปัสสนาญาณ ขั้นโน้น ขั้นนี้แล้ว

ซึ่งไม่มีโอกาส ได้เกิด วิปัสสนูกิเลส เลยครับ

เพราะ ยังไม่ได้ เจริญ วิปัสสนา เลยครับ ( ทำเพีงสมาธิ ขั้นต้น )

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
viewtopic.php?f=2&t=18776&st=0&sk=t&sd=a&start=45
สังเกตดูอาการของปีติภาคปฏิบัติแต่ละอย่างๆ ซึ่งเกิดขณะปฏิบัติกรรมฐาน

ธัมมุทธัจจ์ 10 อย่าง (วิปัสสนูกิเลส)

3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน

3.4 มีอาการคล้ายๆ ละลอกคลื่นซัด

-------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ สมถะ-วิปัสสนา

วิปัสสนูปกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา และเป็นสหชาตธรรมของวิปัสสนาด้วย เพราะผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเกิดญาณแก่กล้าถึงตรุณอุทยัพพยญาณแล้ว เป็นที่แน่นอนที่ต้องเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันเป็น อมัคค ไม่ใช่ทางที่ให้ถึงความบริสุทธิหมดจด วิปัสสนูปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง ดังมีคาถาที่ ๒๔ แสดงว่า
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/085.htm


------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
mes
ในเวปธรรมจักรแห่งนี้ผมเชื่อว่ามีอริยะบุคคลอยู่หลายท่าน

แต่ละท่านปิดบังตนเองสุดขีด


คุณ mes หมายถึงคุณกรัชกาย ด้วยหรือไม่ครับ

แต่ผมว่าคุณกรัชกาย อธิบายการปฏิบัติแบบผิด ๆ ปฏิรูปพระสัทธรรม คงจะไม่ใช่อริยะบุคคล

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร