วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 07:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 11168 ครั้ง ]
พระพุทธศาสนาสอนปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อกำจัดกิเลสกำจัดนิวรณ์กำจัดทุกข์โทมนัส ฯลฯ แต่ดูเหมือนปัจจุบันมีสำนักสอนกรรมฐานหลายๆ ที่สอนนอกลู่นอกทางนอกธรรม พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสกำจัดทุกข์ดังกล่าว แต่สำนักบางแห่งสอนอิงแอบอภินิหาริย์ บ้างก็สอนให้ถอดจิตถอดวิญญาณ เป็นต้น ซึ่งล้วนก่อทุกข์เกิดโทษเกิดอันตรายถึงเพี้ยน สติแตกขวัญกระเจิงได้ทั้งนั้น

ตัวอย่างชัดๆ มีสำนักแห่งหนึ่งสอนภาคปฏิบัติเพี้ยนไป บวกไม่เข้าใจพุทธธรรมคำสอน ไม่รู้หลักการปฏิบัติกรรมฐานทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และจุดหมายท้ายสุดว่าคืออะไร เช่นว่า


นักเรียนสาว ม.4 ที่ถูกงูเหลือมรัดเล่านาทีระทึกว่า ทางโรงเรียนได้ให้นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้น ม.4 ไปนั่งปฏิบัติธรรมที่นักนักสงฆ์สะพานยาว ตำบลเนินมะกอก 3 วัน 2 คืน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ปรากฏว่าทาง พระอาจารย์สายฝน ปัณฑิโต ได้ให้พวกตนเลือกว่า จะไปนั่งกับโลงศพหรือจะไปอยู่ในกรงงูเหลือม

ซึ่งตนเองก็เลยเลือกที่จะอยู่ในกรงงูเหลือม เพราะกลัวเนื่องจากเห็นเพื่อนๆ ที่ไปนั่งในโลงศพ กลับออกมาสติแตกหลอนจนร้องหวีดว่า กลัวผีเหมือนคนบ้าจนน่ากลัว ซึ่งเป็นโลงศพจริง ไม่ใช่โลงศพปลอม

พอถึงเวลา 23.00 น. มีแม่ชี ใช้ผ้ามัดตา จากนั้นให้ตนเองนั่งท่อง "พองหนอยุบหนอ" 4 คำ นำงูเหลือมขนาดใหญ่มาวางบนตัก

จากนั้นงูเหลือมได้เลื้อยขึ้นมาบริเวณแขนถึงลำคอ และรัดลำคอจนหายใจไม่ออกแทบจะขาดใจตาย จึงได้สติร้องให้คนช่วยนานกว่า 10 นาที ตอนนั้นก็ถูกบังคับให้นั่งปฎิบัติธรรมต่อ ซึ่งเจ็บที่บริเวณใบหน้าลำคอดวงตาเป็นอย่างมาก จนกระทั้งรุ่งเช้าเพื่อนมาเห็นเข้าจึงได้ไปตามอาจารย์มาและถึงได้ไปหาหมอ ซึ่งก่อนจะไปหาหมอ พระอาจารย์สายฝนบอกว่า ไม่ต้องไป อาการอย่างนี้เข้าญาณแล้ว 3-7 วันก็หาย

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 0&catid=19

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 พ.ค. 2009, 13:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้จะกล่าวอย่างไรดี :b23:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อมิตาพุทธ เขียน:
ไม่รู้จะกล่าวอย่างไรดี :b23:

น่ากลัวมากสำหรับการสอนที่ผิด นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียทรัพย์สินอีก
ผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกๆหลานปฏิบัติธรรม ควรพิจารณาด้วยว่าไหนจริงไหน
ไม่ใช่ กรณีนั่งในกรงงูเหลือม ถ้าเด็กเป็นอะไรไป มันไม่คุ้มกันเลย ไหนจะต้อง
มีกรรมติดตามกันไปอีกไม่รู้กี่ภพ ช่วยกันดูแลหน่อยนะค่ะ

:b21: :b21: :b21: :b21: :b21:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุคะ่อาจารย์

:b47: ได้ยินข่าวเหมือนกันค่ะ และที่ทราบเรื่องละเอียด
ก็ที่อาจารย์เอามาโพสต์ ไม่ค่อยได้ดูข่าวค่ีะ

:b47: เป็นลักษณะการทรมาน กายและใจ เป็นสิ่งที่
พระพุทธเจ้าไม่ให้ทำ ที่พระท่านที่สอนไปเช่นนั้นทำให้ลักษณะ
การสอนที่บิดเบือนไป คงจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้
ศาสนาเสื่อมลง ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาธรรมให้รู้แก่นที่แท้จริง
เห็นว่าถ้าปฏิบัติธรรม ต้องลำบากและทุกข์ขนาดนี้คงจะ
มองเป็นแง่ลบไปทั้งหมด เป็นกรรมที่สร้างกับมหาชน
เพราะคนรู้เห็นกัน มากมาย แต่คงเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ซึ่งกันและกัน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายเข้าไปแก้ถ้อยคำบางคำที่ท่าน admin หลังไมค์ติงว่าแรงไป จึงต้องแก้ตามคำท้วงติงนั้น
เอาไว้กรัชกายไปหาที่เขียนใหม่เอากันตรงไปตรงมาเลย :b1: บุคคลเสื่อมสิ้นได้ แต่หลักการต้องอยู่

เพราะอะไร ? เพราะว่ากรัชกายไม่ต้องการให้บุคคลไม่ว่าใคร ซึ่งไม่รู้ไม่เข้าใจการปฏิบัติกรรมฐานได้แพร่ขยายมิจฉาปฏิปทากว้างออกไปๆ อันจะก่อทุกข์โทษแก่ผู้มีศรัทธาปสาทะในการปฏิบัติธรรม หรือ
ปฏิบัติกรรมฐาน ต้องเสียขวัญเสียกำลังใจ จนขาดความเชื่อมั่นหมดศรัทธาต่อภาวนามัยกุศล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังกล่าวข้างต้นว่า ผู้สอนให้ศรัทธาสาธุชนปฏิบัติกรรมฐาน ตนเองจะต้องรู้เบื้องต้นของการปฏิบัติก่อนว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน จะไปไหน และที่สุดของการปฏิบัตินั้น คือ อะไร (เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด)
สามขั้นตอนนี้สัมพันธ์กันและสำคัญมากๆ เมื่อเริ่มต้นถูกทางก็ผ่านหนึ่งขั้นตอน

กำลังปฏิบัติอยู่ มีปัญหาก็แก้ให้เราได้ถูกต้องเป็นมัชฌิมาของมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึงเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ในขณะนั้นๆได้เรื่อยๆ อย่างนี้ก็พอเป็นที่ไว้ใจได้อีกเปลาะหนึ่ง

ส่วนผล กับที่จบสิ้นบริบูรณ์ ซึ่งไม่ใช่ของง่ายนัก ก็ว่าไปปฏิบัติไปตามสติกำลังของตน


เบื้องต้นศรัทธาสาธุชนจะเข้าไปอาศัยสำนักไหน พึ่งพิงอาจารย์ใดควรสอนถามหลักดังกล่าวก่อน
เมื่ออธิบายไม่ได้ หรือ พูดออกนอกทางนอกธรรมนั้น พึงระมัดระวังตน

พิจารณาจุดหมายปลายทางการปฏิบัติก่อน นำมาย่อๆพอเข้าใจ

(จุดจบพรหมจรรย์)

“ความสิ้นราคะ (โลภะ)สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ที่จบของพรหมจรรย์ “

(ผลของพรหมจรรย์)

“โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล เหล่านี้เรียกว่า ผลของพรหมจรรย์”

(ที่จบสิ้นบริบูรณ์)

“ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยดังนี้แล พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและคำสรรเสริญเป็นอานิสงส์
มิใช่มีความเพียบพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความเพียบพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความเพียบพร้อมด้วยญาณทัสสะเป็นอานิสงส์
หากแต่พรหมจรรย์นี้มีอกุปปาเจโตวิมุตติเป็นที่หมาย เป็นแก่น เป็นที่จบสิ้นบริบูรณ์”

.............

อกุปปาเจโตวิมุตติ - ภาวะที่จิตหลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ ไม่เสื่อมไม่กลับกลาย

(ดูความหมายพรหมจรรย์ลิงค์นี้ด้วย)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14354

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อมิตาพุทธ เขียน:
ไม่รู้จะกล่าวอย่างไรดี :b23:


ใช่ ไม่รู้จะว่ายังไงดี...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ถ้ายังสอนกันผิด ๆ อยู่อย่างนี้
คงแย่แน่ ๆ เลย


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาการปฏิบัติท่ามกลาง หรือ ขณะกำลังเดินทาง ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงของโยคีเอง ซาบซึมถึงจิตวิญญาณกว่าการฟังเทศน์ฟังธรรม ๑๐๐ กัณฑ์ ซึ่งผู้นอกนี้ไม่รู้ไม่เข้าใจสภาพจิตและความรู้สึกของโยคีนี้ได้

หากจะพูดให้เห็นภาพแบบนักศึกษา (ปริยัติ) โยคีผู้นี้มีครบทุกอย่างขณะนั้นๆ จะเอาอะไร
สมถะหรือสมาธิเขาก็มีและประสบอยู่ สัมปชัญญะหรือวิปัสสนาหรือปัญญา เขาก็มีและประสบอยู่ สภาพจิตที่ว่างจากกิเลสเขาก็มีและประสบอยู่ ลักษณะของสติที่ทำงานของมันอยู่ เขาก็เห็นและประสบอยู่
ความสุขจากการปฏิบัตินี้เขาก็ประสบและรู้ชัด ไตรลักษณ์เขาก็เห็นและประสบอยู่ ฯลฯ เพียงแต่คุณธรรม ตือ สติปัญญาเป็นต้น กำลังไม่พอ จึงยังมีกิเลสนิวรณ์แทรกเป็นบางช่วง
ดูครับ




กระผม ได้ปฎิบัติ โดยการนั่งสมาธิมาได้ในระยะหนึ่ง หลายคืนที่ผ่านมา กระผมนั่งสมาธิเช่นทุกวันที่เคยทำ แต่ในคืนนั่น มันเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ผม ไม่รู้หนทางว่าจะปฎิบัติ หรือกำหนดจิตอย่างไรต่อไป

จึงขอโปรดผู้รู้ ที่เคยปฎิบัติมาแล้ว โปรด ให้คำแนะนำด้วยครับ

ในวันนั่น ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พอง หนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อนของกระเพาะอาหารเวลาลมหายใจเข้าไปและออกมาครับ
กระผม คิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และผมก็ได้รู้สึกว่า ร่างกายของผมเหมือนไม่มี เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก หายไปไหน
ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป ผมพยายาม กำหนดต่อไป แต่คราวนี้มันกำหนด
ยุบหนอ พองหนอ ไม่ได้เสียแล้วเพราะ เหมือนกับว่า ร่างกายนี้ไม่มีอยู่ครับ

ผมเลย ใช้การกำหนดดูจิต ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป จน ผมเริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกครั้ง คือ ผมไม่ได้หายใจ แต่ ใจผม ยังคงหยุดอยู่ที่ สิ่งแรกอยู่ แต่รู้สึก สิ่งนั่น ที่ใจนึกถึงนั่น มันเด่นชัดมากขึ้น
ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะ หนึ่งครับ แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรต่อไปแล้ว เพราะ เหมือนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรเลยครับ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่าง หายไปหมด คือ เหมือนร่างกาย ก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด เหมือนกับว่า
ไม่มีอะไรอยู่ข้างกายแบบนี้อ่ะครับ

ผมเลย นึกในใจอยากออกจากสมาธิ ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายของผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆ แล้วก็รู้สึกว่า มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว กลับมาอีกครั้ง รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง ผมค่อย ๆๆถอดออกจากสมาธิ แล้วลืมตา
ในตอนนั้น
ในตอนที่รู้สึกถึงร่างกายอ่ะครับ ผมกลับมีความรู้สึกอีกอย่าง เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก คือ เหมือนว่า
ร่างกายผมอ่ะครับมันสกปรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง (ไม่ได้กิเลสนะครับ แต่เป็นความรู้สึกใน
ตอนนั้น)

และผมก็เกิดความกลัวไปหมด กลัวจะผิดศีล 5 กลัวภัยในแต่ละวัน เหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะนั่นเลยครับ
หลังจากคืนนั่น ในคืนต่อ ๆ มา ผมก็นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อกัน
แต่ ทุก ๆ คืน จนถึงวันนี้ ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย ที่จะทำงาน ไม่อยาก เจอหน้าภรรยา ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ ไม่อยากเจอหน้าลูก เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร แม้แต่ตัวเอง
วัน ๆอยากนั่งทำสมาธิ เพราะ ในช่วงที่ เล่าให้ฟัง มันมีความสุขมาก เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย

--ในสิ่งที่ผมถามและอยากรู้นะครับ คือ
1. ผมปฎิบัติผิดตรงไหนหรอเปล่าครับ
2. ถ้าไม่ผิด ผมจะปฎิบัติยังไงต่อครับ
3. สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมในขณะนั่นมันคืออะไรกันแนะครับ


(ช๊อตต่อไป)


เมื่อวานนี้ ได้นั่งพิจารณา อารมณ์และตามดูจิต ยืน เดิน นั่ง นอน ได้แทบทั้งวัน รู้สึกถึงความเย็น สงบ ใครนินทา กล่าวร้าย ไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย มันนิ่งได้ทั้งวันจริง ๆ
พอตกดึก มาเจริญสติอีกครั้ง คราวนี้ มีอาการเช่นเดิม คือ เหมือนสภาพร่างกายหายไปแบบตอนแรก
แต่ครั้งนี้ เกิด นิมิตเป็นลูกแก้วใสสว่าง ขึ้นมา จากลูกเล็ก ๆๆกลายเป็นลูกใหญ่ แล้ว คือเวลาเราหลับตาอ่ะครับ มันจะดำ ๆๆใช่ไหมครับ แต่พอ ลูกแก้วขนาดจนเต็มความรู้สึกเหมือนสว่างไสวไปหมด เป็นสี ขาว มีประกาย ทั่วที่หลับตาอยู่นั่นเอง และพอ กำหนดให้มันเล็กลง มันก็เล็กได้ดังใจ เหมือนกับว่า ในขณะนั่นจิตจะสั่งการอะไร ได้หมด

ความรู้สึกเบื่อหน่ายเริ่มหายไปแล้ว แต่รู้สึก กายนี้มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ สิ่งใด ๆ ก็ทุกข์ เกิดแล้วดับ วนเวียนไปไม่หมดสิ้น
พิจารณาอยู่นาน เหมือนกัน ตอนนั่นไม่รู้สึกอะไรแล้ว ลมหายใจขาดหายไป
ความรู้สึกรอบตัว อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็งรอบ ๆ ตัว หายไป หลังจากกำหนด ลูกแก้ว ให้เล็กจนหายไป ภาพกลับมาเหมือนตอนหลับตาปกติ
คราวนี้ เกิดนิมิตใหม่ คือ ได้เห็น ช่วงเวลาตอนบ่าย ตอนเช้า ทุก ๆ ขณะที่กระทำสิ่งใดไปในแต่ล่ะวัน ค่อย ๆปรากฎเป็นภาพอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกับว่า ได้กลับไปอยู่ในสถานการณ์นั่น ๆ อีกครั้งหนึ่ง
ได้เห็น สิ่งที่ทำไป ในอดีต ค่อย ๆๆ ผุดขึ้นมาที่ละนิด ๆ จนได้รู้สึกถึงตอนวัยรุ่น ตอนเด็ก ๆๆ ได้ทำอะไรลงไปบ้าง
บางขณะ ได้ทำอะไรดีดี จิตก็ รู้สึกดี ก็ตามพิจารณารู้ว่า รู้สึกดีตลอด
บางขณะ ได้ทำอะไรชั่ว ก็ได้ตามพิจารณาว่าทำชั่ว
สภาพจิตเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง รู้ถึงตอนที่ พ่อมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล
พอถึงตอนนี้ ในความรู้สึกเหมือนน้ำตาไหล ที่เห็น พ่อแม่ อยู่ด้วยกัน (ความเป็นจริงไม่อยู่แล้ว)
เลยอธิฐานขอออกจากสมาธิ ภาพเหล่านั่นก็หายไป
แล้วความรู้สึก ถึงสภาวะรอบตัว และร่างกายกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ออกจากสมาธิครับ

---สิ่งที่ผมเห็น ผมคิดไปเองหรือเปล่าครับ หรือว่าผมปฎิบัติอะไรผิดอีกแล้วคราวนี้
++ความรู้สึกหลาย ๆ อย่าง ไม่เคยจำได้ แต่เห็นเป็นภาพอย่างชัดแจ้ง
เมื่อเช้าได้ถามแม่ ในหลายๆเรื่องที่จำไม่ได้ แต่เห็นในนิมิตนั่น
แม่ก็บอกว่าจริงทุกเรื่อง และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตของผมจริง ๆ

ช่วยแนะนำการปฎิบัติต่อไป ให้ผู้โง่เขลาในธรรมด้วยครับ ไม่อยากยึดติดกับอะไร ให้เป็นทุกข์อีกต่อไป

...........

นักปฏิบัติพึงเรียนรู้คำว่า "ปัจจุบันขณะ" "ปัจจุบันอารมณ์" ลิงค์นี้ด้วย

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22378

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุดหมายปลายทางนำมาแสดงแล้ว
ในท่ามกลางระหว่างเดินทางก็ยกตัวอย่างมาแล้ว

ต่อไปจุดเริ่มต้นจุดสตาร์ตที่ผู้แนะนำผู้อื่นควรรู้และอธิบายได้เป็นลำดับๆไป เมื่อถูกโยคีซักถาม
เพราะ


การปฏิบัติธรรมจะเปรียบไปก็เหมือนการเดินทาง จะต้องรู้ว่าทางไหนที่จะไป อย่างน้อยต้องรู้ว่า
จะตั้งต้นที่ไหน
ถ้ายังตั้งต้นไม่ได้ การเดินทางต่อๆไปก็ยังไม่อาจมีขึ้นได้ การเดินทางเป็นฉันใด
ในการปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น เริ่มแรกทีเดียว จะต้องมีความเห็นมีความเข้าใจ หรืออย่างน้อยเชื่อถือ
ถูกต้องตามแนวทางที่จะปฏิบัติเสียก่อน จึงจะดำริคิดการต่อไปและประพฤติปฏิบัติให้ถูกทางได้
การปฏิบัติธรรมจึงต้องอาศัยพื้นฐานความเข้าใจที่เป็นต้นทุนไว้ก่อน
เมื่อสัมมาทิฏฐิเบิกช่องทาง หรือ ตั้งต้นให้แล้ว องค์มรรคข้ออื่นๆ ก็เกิดตามได้เป็นลำดับไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทดสอบขั้นต่อไปว่า ปฏิบัติถูกหลักหรือไม่ พึงสอบทานด้วย "ธรรมานุธรรมปฏิบัติ"

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย คือ หลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ หลักเบื้องต้นเอื้อหรือเป็นไปเพื่อหลักเบื้องปลาย เช่น ปฏิบัติศีลถูกหลัก
เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน มิใช่ปฏิบัติงมงาย ไร้หลักการ หรือ ทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ


นำมาลงตรงนี้ย่อๆ ดูรายละเอียดที่ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=1&t=22369&start=30

รูปแบบกรรมฐานที่ชาวพุทธใช้ปฏิบัติกันอยู่ เป็นต้นว่า พอง-ยุบ พุทโธ ฯลฯ เรียกว่า อนุธรรมหรือธรรมย่อย
เมื่อนำปฏิบัติก็พึงให้สอดคล้องกับหลักธรรมใหญ่ เช่น สติปัฏฐานสี่ โลกุตรธรรม ๙ เป็นต้น จึงจะเป็นไป
เพื่อการดับทุกข์โทมนัส ได้แท้จริง


สติปัฏฐานสี่ศึกษาที่

viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากอาการต่างๆ ที่เขียนมา ก็รู้แล้วครับว่า มันไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ฐาน

ฐานไม่มั่นคงพอ ยังไม่ทำฐานให้แข็งแรงพอ

ก็ก้าวขึ้นไปแล้ว มันก็ไม่มั่นคง สงสัยเป็นของแท้แน่นอน

พระท่านที่ปฏิบัติถูกต้องทุกท่าน ต่างก็เริ่มที่พื้นฐานเสียก่อน เมื่อฐานดี มั่นคง เกิดอะไรขึ้นก็พิจารณารู้ตามได้ตลอด ไม่งง สงสัย รู้แล้วก็ละวาง รู้แล้วละวางไปเรื่อยๆ จนไม่สงสัย

สรุปคือ

ต้องเริ่มใหม่ครับท่าน ต้องหันมาศึกษาตามลำดับขั้นตอนครับ ไม่มีทางลัดหรือวิธีลัดที่จะเข้าถึงพระนิพพานนะครับ

ย้ำให้ชัดๆ

ให้หยุด อย่าไปทำต่อ เดี๋ยวก็เป็นบ้า พระพุทธเจ้าก็บอกไว้แล้วว่า ผู้จะทำกรรมฐานจะต้องทำยังไงให้ได้เสียก่อน ศึกษาให้ดีครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นมิจฉาทิฐิ หลงทางกันไปใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ
:b1:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่รวมภาคปฏิบัติกรรมฐานทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด คือผลที่ได้รับจากการปฏิบัติธรรมแล้ว
พอๆสรุปได้ว่า ผู้แนะนำเขาที่เป็นข่าวนั้นไม่มีความรู้ความเข้าใจเลยทุกขั้นตอน

แล้วที่ว่า (พอถึงเวลา 23.00 น. มีแม่ชี ใช้ผ้ามัดตา จากนั้นให้ตนเองนั่งท่อง"พองหนอยุบหนอ" 4 คำ นำงูเหลือมขนาดใหญ่มาวางบนตัก)

ก็ยังนำเอากรรมฐาน คือ อาการท้องพอง กับ ท้องยุบ ไปใช้ผิดที่ผิดทางอีก
เรื่องนี้ยังเข้าใจผิดกันอยู่มาก แม้ผู้ใช้พองยุบเป็นกรรมฐานเองก็ยังมีเข้าใจผิดอยู่
บางคนยึดติด “หนอ” ไปก็มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำตัวอย่างพุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติธรรมแนวหนึ่ง ซึ่งให้เห็นการที่โพธิปักขิยธรรมทั้งหมด
เนื่องอยู่ด้วยกันกับมรรคมีองค์ ๘ และเป็นวิธีปฏิบัติที่มองเผินๆอาจว่าง่าย ไม่มีอะไรมาก คือ
สำหรับผู้พร้อมแล้วก็ง่าย แต่ผู้ไม่พร้อมอาจยาก และอาจต้องปฏิบัติอะไรๆอื่นอีกมากเพื่อทำให้พร้อม




“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ตามเป็นจริง (ตามที่มันเป็น) ซึ่งจักษุ...
ซึ่งรูปทั้งหลาย... ซึ่งจักขุวิญญาณ...ซึ่งจักขุสัมผัส.. ซึ่งเวทนา สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ติดใคร่ใน (จักษุเป็นต้นที่กล่าวมาแล้ว) นั้น
เมื่อเขาไม่ติดใคร่ ไม่ผูกรัดตัว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงความไม่เติบขยายต่อไป
ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ ซึ่งประกอบด้วยความกำหนัดยินดี คอยเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆก็ถูกละได้
ความกระวนกระวายกายก็ดี ความกระวนกระวายใจก็ดี
ความแผดเผาทางกายก็ดี ความแผดเผาทางใจก็ดี
ความเร่าร้อนกายก็ดี ความเร่าร้อนใจก็ดี ก็ถูกละได้
เขาย่อมได้เสวยทั้งสุขทางกาย ทั้งสุขทางใจ
บุคคลที่เป็นเช่นนั้นแล้วมีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความดำริใด ความดำรินั้นก็เป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามใด ความพยายามนั้นก็เป็นสัมมาวายามะ
มีสติใด สตินั้นก็เป็นสัมมาสติ
มีสมาธิใด สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ดีตั้งแต่ต้นทีเดียว
มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะของเขา ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้”



“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้ แม้สติปัฏฐาน ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
แม้สัมมัปปธาน ๔ ...แม้อิทธิบาท ๔ ...แม้อินทรีย์ ๕ ...แม้พละ ๕... แม้โพชฌงค์ ๗
ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
เขาย่อมมีธรรม ๒ อย่างนี้คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันเป็นไป
ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) ด้วยอภิญญา เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา เขาก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงให้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น”


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าไหน พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา ได้แก่ สิ่งที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ฯลฯ ”
“ธรรมเหล่าไหน พึงละด้วยอภิญญา ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา..
“ธรรมเหล่าไหน พึงทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ได้แก่ สมถะ และวิปัสสนา”
“ธรรมเหล่าไหน พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ”

(ม.อุ.14/828-831/523-6 ฯลฯ)

...........

ดูความหมายศัพท์ อภิญญา ที่

viewtopic.php?f=1&t=22369&st=0&sk=t&sd=a&start=30

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร