วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 23:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ ความหมายในภาษาไทย ที่แปลว่า ทนได้ยาก อาจให้ความรู้สึกว่าเข้ากันดีกับ

ทุกขเวทนา เช่นความเจ็บปวด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า เป็นสิ่งที่คนทนได้ยาก แต่นั่นเป็นเพียง

ถ้อยคำแสดงความหมายที่พอดีมาตรงกับความรู้สึก

ความจริง (ทุกข์) ความหมายนั้นเป็นสำนวนในภาษาบาลี ซึ่งหมายถึงคงทนอยู่ไม่ได้ ซึ่งเป็น

ลักษณะของสังขาร (สังขารขันธ์) ทั้งหมดทุกอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-คำว่า สังขาร ในไตรลักษณ์ พึงเข้าใจ ว่าต่างกับ สังขารในขันธ์ ๕

ในขันธ์ ๕ สังขาร = ความดีความชั่วที่ปรุงแต่งจิตใจ เป็นนามธรรมอย่างเดียว

ส่วนในไตรลักษณ์ สังขาร = สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง หรือที่เกิดจากส่วนประกอบ

ต่างๆ ประชุมกันเข้า จะเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมก็ตาม คือ เท่ากับขันธ์ ๕ ทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์อภิธรรมแบ่งนิยาม หรือ กฎธรรมชาติ (กฎแห่งกรรม) เป็น ๕ อย่าง คือ


๑. อุตุนิยาม (physical inorganic order) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ

โดยเฉพาะเรื่องลมฟ้าอากาศ และฤดูกาลในทางอุตุนิยม อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์

๒. พืชนิยาม (physical organic order) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์

รวมทั้งพันธุกรรม

๓. กรรมนิยาม (order of act and result) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรม

มนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ

๔. ธรรมนิยาม (order of the norm) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และความเป็น

เหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย

๕. จิตตนิยาม (psychic law) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของจิต


(ที.อ.2/34; สงฺคณี อ. 408)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายสังขาร การปรุงแต่งการกระทำทางกาย (volitional acts of the body)

วจีสังขาร การปรุงแต่งคำพูด (volitional acts of speech)

มโนสังขาร การคิดนึกปรุงแต่งในใจ (volitional acts of mind)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ธรรมะสวัสดีค่ะจารย์
s006
คำว่า พุทธภูมิ คืออะไร หมายความว่าอย่างไรค่ะ

ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ คือ พระโพธิสัตว์หรือคะ ท่านบำเพ็ญเพียรอย่างไรคะ

:b16: :b8: สาธุค่ะจารย์

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำว่า พุทธภูมิ คืออะไร หมายความว่าอย่างไรค่ะ

ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ คือ พระโพธิสัตว์หรือคะ ท่านบำเพ็ญเพียรอย่างไรคะ



พุทธภูมิ คืออะไร หมายความว่าอย่างไรค่ะ


ตามตัวอักษร แปลว่า ภูมิของพุทธะ หมายถึงบุคคลผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ในอนาคตกาลโพ้น

ในที่นี้หมายถึงพระโพธิสัตว์ หรือ คนที่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า

ท่านบำเพ็ญเพียรอย่าง ? เห็นที่บอร์ดพลังจิตเขาลงไว้อย่างนี้



บารมีต้น...
อุปบารมี(บารมีกลาง)....
ปรมัตถบารมี....

ปัญญาธิกะ....
ศรัทธาธิกะ....
วิริยาธิกะ....

ห้วงระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมี....
ธรรมของพระโพธิสัตว์เจ้า....
นิยตโพธิสัตว์....

การพยากรณ์....
การจะได้รับคำพยากรณ์....

http://board.palungjit.com/f13/วิสัยการปรารถนา-และการปฏิบัติ-เพื่อพุทธภูมิ-16896.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
:b47: อนุโมทนาสาธุ ด้วยความเคารพ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการสร้างสัมมาทิฏฐิ มีข้อความในพระไตรปิฎก ๒ อย่าง


“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ

และโยนิโสมนสิการ”

(องฺ.ทุก. 20/371/110)




๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน

แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย

การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม

ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others;

inducement by others)


ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่ง

ศรัทธา



๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด

คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย

โดยมองตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และ โดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้

ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอด

แห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical

reflection; reasoned or systematic attention)


ข้อ ๒ นี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่ง

ปัญญา


ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้คือ ปรโตโฆสะ (ที่ไม่ถูกต้อง)

และ อโยนิโสมนสิการ

(องฺ.ทสก.24/93/201)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (สํ.สฬ. 18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม

จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า “คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น”

และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า “ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้า คนเมาพูด

ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:


ขอถามคั่นรายการนะคะว่า สอบอารมณ์ หมายถึงอะไร หรือทำยังไงคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 13:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:


ขอถามคั่นรายการนะคะว่า สอบอารมณ์ หมายถึงอะไร หรือทำยังไงคะ



สอบ ก็สอบถามนี่ล่ะ

อารมณ์ ก็คือสิ่งที่เกิดในขณะปฏิบัติกรรมฐานนั่น

สอบอารมณ์ ก็คือสอบถามสิ่งหรือสภาวธรรมที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติในขณะนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หรือ ทำยังไงคะ



ทำยังไง ? เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง คือหลังจากสอบอารมณ์ หรือ สอบสวนทวนความจากผู้ปฏิบัติ

แล้ว ผู้สอบอารมณ์ (เขานิยมเรียกกันว่า อาจารย์สอบอารมณ์ (กรรมฐาน) หรือเรียกว่า อะไรก็

บัญญัติชื่อเรียกเอา) ต้องเป็นผู้มีประสบการณ์จากการปฏิบัตินั้นด้วย จึงจะสอบอารมณ์

ฟังอารมณ์ที่โยคีพูดเล่าให้ฟังรู้เรื่อง เข้าใจภาวะที่โยคีประสบขณะปฏิบัตินั่นเป็นอะไร

เกิดจากอะไร แก้ยังไง เป็นขั้นตอนสำคัญ


หากผู้สอบอารมณ์ไม่มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติแล้ว เขาจะไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้

http://www.free-webboard.com/look.php?n ... chat&qid=5

ซึ่งปรากฏแก่โยคีขณะปฏิบัติได้เลย ซ้ำร้ายคำแนะนำกลับก่อโทษให้แก่ผู้ปฏิบัติด้วยซ้ำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 16:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




missphukettsunami.jpg
missphukettsunami.jpg [ 141.68 KiB | เปิดดู 3114 ครั้ง ]

มีตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งให้คุณรินสังเกต ดูที่ทำตัวหนา พิจารณาปฏิกิริยาของทุกข์เวทนาที่เกิด




ส่วนนั่ง วันนี้ทรมานมากๆ ตอนแรกๆก็ดีอยู่ สักแป๊ปเดียวเองค่ะ อาการปวดหลัง ก็เริ่มกำหนด

ครั้งเดียวหายก่อน สักพักมาใหม่เหมือนเดินเลย

ถ้าโผล่มาก็แป๊ปเดียวหาย แต่ถ้าค่อยๆมาจะต้องกำหนดนาน คือยิ่งกำหนดก็ยิ่งปวดเพิ่มขึ้นๆ

จนปวดสุดๆ แล้วจะค่อยๆหายไปๆ แต่ไม่หายไปหมดนะค่ะ จะมีเหลือไว้หน่อยหนึ่ง

แล้วก็ย้ายไปปวดที่อื่นแทน แล้วก็กลับมาที่เดิมสลับไปๆมาๆ


กำหนดตามนั้น ทันบ้างไม่ทันบ้าง แล้ววันนี้คิดมากกว่านิมิต นิมิตจะตามคิดมา บ้างนิดหน่อย

วูบวาบก็กลับมาอีกแล้วค่ะ


ส่วนอาการปวดนั้น มีความรู้สึกว่า เหมือนเวลาเรากำมือแล้วปล่อย กำแล้วปล่อยแบบนั้นแหละ


แต่ต้องปวดมากๆนะค่ะ

ถ้าน้อยๆไม่รู้สึกแบบนั้น อธิบายไม่ถูกค่ะ แต่รู้ว่ามันค่อยบ้างแรงบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 16:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 640

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เรียนถามคุณกรัชกายค่ะ
ขอคำอธิบาย...ของคำว่า อโหสิกรรม


กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 2
อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก
(ข้อ ๔ ในกรรม ๑๒)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

373 กรรมเก่า-กรรมใหม่ คืออะไร

ปัญหา กรรมเก่า กรรมใหม่ คืออะไร ? ความดับแห่งกรรม และทางปฏิบัติเพื่อดับกรรมคืออะไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่าคืออะไร ตามอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่งสำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา... เรียกว่ากรรมเก่า
“กรรมใหม่ คืออะไร กรรมที่บุคคลทำด้วยวาจา ใจ ในบัดนี้ นี่เราเรียกว่ากรรมใหม่
“ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน...ความดับใดกระทบกับความพ้นทุกข์เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เรียกว่า ความดับแห่งกรรม
“ทางปฏิบัติเพื่อ ความดับแห่งกรรมคืออะไร ... อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทางปฏิบัติเพื่อความดับแห่งกรรม”


กรรมสูตร สฬา. สํ. (๒๒๗-๒๓๐)
ตบ. ๑๘ : ๑๖๖ ตท. ๑๘ : ๑๔๙
ตอ. K.S. ๔ : ๘๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมชาติของจิตนั้นไหลลงต่ำ
จะขึ้นสูงต้องออกแรงทวนกระแส
เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่าเราคิดดีได้เป็นปกติหรือยัง
ถ้ายัง ก็ยอมรับตรงๆ ว่ายัง..
อย่าหลอกตัวเองว่าดีแล้ว
เพราะผลเสียหายไม่ใช่ใครอื่น นอกจากตัวเราเองที่ยังหลงวน
ไม่รู้ตัวว่าขาดเสบียงเพื่อความพร้อมตาย...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร