วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 16:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับคุณกรัชกายด้วยครับ

อย่างในกรณีที่ เราหยิบหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง

เราจำได้ว่าเราเคยอ่านแล้ว อันนี้เป็นสัญญา

แล้วเรายังจำบทความในหนังสือเล่มนั้นได้อีก

อันนี้เป็นสติ ผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




15.jpg
15.jpg [ 93.62 KiB | เปิดดู 4021 ครั้ง ]
กรณีคุณวรานนท์ คือ เรื่องราวผ่านมาแล้ว แล้วระลึกได้ว่า....เทียบตัวอย่างนี้ครับ


วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนากับนาย ข. ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อน
ถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร นาย ก. นึกทบทวนดู จำได้ว่า
พบปะสนทนากับ นาย ข. การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 19:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงดูหน้าที่ระหว่างสัญญา กับ สติ ต่ออีกครับ แล้วจะเข้าใจมากขึ้น


สัญญา สติ - ความจำ


มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่อง ความจำว่า ตรงกับธรรมข้อใด

คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ

คำว่า สติ โดยทั่วไป แปลกันว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และมีตัวอย่างที่เด่น เช่น

พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางความจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่าสติ

ดังพุทธพจน์ว่า “อานนท์ เป็นเลิศกว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ”

(องฺ.เอก.20/149/32)

เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำ ไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม

และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้ สัญญา และ สติ เป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญ

ที่สุด

สัญญา ก็ดี สติ ก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยวและเหลื่อมกันกับความจำ กล่าวคือ ส่วนหนึ่งของ สัญญา

เป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ

แม้ สติ ก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความ

หมายของกระบวนการทรงจำ

ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญ คือ สัญญา และ สติ ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 10:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา (perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะ

ต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆ ได้

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

สัญญา กำหนดหมาย หรือ หมายรู้อารมณ์เอาไว้ เมื่อประสบอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น

มาจับเทียบหมายรู้ว่า ตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่า จำได้

ถ้ามีข้อแตกต่าง ก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้ หรือ หมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่

ใช่นั่นใช่นี่ (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี

สิ่งที่กำหนดหมายเอาไว้ (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี เรียกว่า สัญญา


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

คัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงลักษณ์หน้าที่เป็นต้นของสัญญาไว้ว่า

สัญญา มีลักษณะจำเพาะคือสัญชานน์ -จำได้ รู้จัก

มีหน้าที่ทำเครื่องหมายไว้เป็นปัจจัยแห่งการจำได้ (หรือรู้จัก)ต่อไปว่า "นั่นคือสิ่งนั้น" เหมือนดังช่างไม้

เป็นต้น ทำเครื่องหมายไว้ที่วัสดุมีตัวไม้เป็นอาทิ

มีผลปรากฏ คือ ปรากฏ คือ เกิดความยึดถือไปตามเครื่องหมายที่กำหนดเอาไว้ เหมือนพวกคนตาบอดคลำ

ช้าง ยึดถือไปตามเครื่องหมายที่ตนจับได้ (ว่าช้างเป็นอย่างนั้นๆ)

มีปทัฏฐาน คือ อารมณ์ตามที่ปรากฏ เหมือนลูกเนื้อเห็นหุ่นคนที่ผูกด้วยมัดหญ้า สำคัญหมายว่าเป็นคนจริงๆ

(วิสุทธิ.3/35)

ถ้าเทียบกับหลักจิตวิทยาฝ่ายตะวันตก สัญญา จะครอบคลุมเรื่อง perception,conception และ

recognition (แต่ ไม่ใช่ memory ทั้งหมด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 10:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาดูความหมายคำว่า วิญญาณ บ้าง อาจเห็นภาพรวมของนามขันธ์อื่นๆด้วย




(คำอธิบาย ท่านอาศัยเค้าความจากบาลี และอรรถกถาบางแห่ง โดยเฉพาะ ม.มู.12/494/536
ม.อ. 2/462 ฯลฯ)


วิญญาณขันธ์ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕

และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย

และการรู้อารมณ์ทางใจ



วิญญาณ แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์

หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือ ความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐานและเป็นทางเดิน

ให้แก่นามขันธ์อื่นๆ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์)

เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด เป็นทั้งความรู้ต้น และความรู้ตาม

ที่ว่า เป็นความรู้ต้น คือ เป็นความรู้เริ่มแรก เมื่อเห็น ได้ยิน เป็นต้น (เกิดวิญญาณขึ้น)

จึงจะรู้สึกชื่นใจ หรือ บีบคั้นใจ (= เวทนา) ตัวอย่าง เช่น

เห็นท้องฟ้า (= วิญญาณ)

รู้สึกสบายชื่นใจ (= เวทนา)

หมายรู้ว่า ท้องฟ้า สีคราม สดใส ฟ้าสาย ฟ้าบ่าย (= สัญญา

ชอบใจฟ้านั้น อยากเห็นฟ้านั้นนานๆ ไม่อยากให้เวลาผ่านไป

โกรธชายคาที่บังไม่ให้เห็นฟ้านั้นเต็มที่

คิดหาวิธี ที่จะทำให้ได้นั่งดูฟ้านั้นได้สบายๆ ชัดเจน และนานๆ ฯลฯ (= สังขาร)

รู้สึกบีบคั้นไม่สบาย ( = เวทนา)

ก็รู้ว่า เป็นทุกข์ ( = วิญญาณ)

หมายรู้ว่า อย่างนี้เป็นสุข อย่างนั้นเป็นทุกข์ (= สัญญา) ก็รู้ไปตามนั้น

เมื่อคิดนึกปรุงแต่งตั้งเจตน์จำนงไปอย่างใดๆ (= สังขาร) ก็ย่อมมีความรู้ควบอยู่พร้อมกัน

ด้วยโดยตลอด

กระแสความรู้ยืนพื้น ซึ่งเกิดดับ ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ควบไปกับนามขันธ์อื่นๆ หรือ

กิจกรรมทุกอย่างในจิตใจ นี้เรียกว่า วิญญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ก.ย. 2009, 15:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 21:32
โพสต์: 82

ที่อยู่: นครศรีธรรมราช

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:

:b42: เป็นการดีที่ทำให้คนไม่รู้ได้รู้มากยิ่งขึ้น :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ และจะมาอ่านใหม่ หลายๆ เที่ยวนะคะ :b8:

:b43: :b52: :b51: :b50: :b49: :b46: :b47: :b45: :b41: :b51: :b52: :b50: :b48: :b43: :b41: :b45: :b46: :b47:
รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรม ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้คำศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียวก็
เป็นพุทธธรรม
แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี ก็หาใช่
พุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเลีย



อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจได้
โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที หรือ
แม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้ คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละจะเป็นสื่อ
แห่งการสอนที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว


หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุดก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น
เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น


โดยนัยนี้ คำศัพท์ อาจเป็นเครื่องสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึง
พุทธธรรมก็ได้
เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือ รู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง รู้กาลควรใช้
ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พุทธธรรม ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้คำศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียวก็
เป็นพุทธธรรม
แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี ก็หาใช่
พุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเลีย

อนุโมทนา สาธุ :b8:
ว่างๆ จะแวะมาติดตามอ่านครับ :b1:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ชาวพุทธบ้านเรา ได้ยินคำว่า อริยะ บ่อยๆ เช่น ผู้นั้นผู้นี้เป็นพระอริยะขั้นนี้ขั้นนั้น
ดูคล้ายๆ ต้องการศัพท์ หรือ ต้องการเป็นอริยะกันมากๆ
มาดูที่มาของศัพท์นั้นกันว่ามีที่มาอย่าง่ไร เดิมมาจากไหน แล้วพระพุทธเจ้านำมาใช้และให้ความหมายใหม่อย่างไร
พิจารณาดูอาจเห็นหลักธรรมกว้างไกลขึ้น ทั้งศัพท์ธรรมและความหมาย



คำว่า อริยะ ตรงกับสันสกฤตว่า อารยะ เป็นชื่อเรียกเผ่าชนที่อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ของชมพูทวีป คือประเทศอินเดียเมื่อหลายพันปีมาแล้ว และรุกไล่ชนเจ้าถิ่นเดิมให้ถอยร่นลงไปทางใต้และ
ป่าเขา

พวก อริยะ หรือ อารยะนี้ (เวลาเรียกเป็นเผ่าชนนิยมใช้ว่า พวกอริยกะ หรือ อารยัน) ถือตัวว่าเป็น
พวกเจริญ
และเหยียดชนเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นพวกมิลักขะ หรือ มเลจฉะ คือพวกคนเถื่อน คนดง
คนดอย เป็นพวกทาส หรือ พวกทัสยุ

ต่อมา เมื่อพวกอริยะเข้าครอบครองถิ่นฐานมั่นคงและจัดหมู่ชนเข้าในระบบวรรณะลงตัวโดยให้พวกเจ้าถิ่นเดิม
หรือพวกทาสเป็นวรรณะศูทรแล้ว

คำว่า อริยะ หรือ อารยะ หรืออารยัน ก็หมายถึงชน ๓ วรรณะต้นคือ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์
ส่วนพวกศูทรและคนทั้งหลายอื่น เป็นอนารยะทั้งหมด

การถืออย่างนี้เป็นเรื่องของชนชาติ เป็นไปตามกำเนิดจะเลือกหรือแก้ไขไม่ได้ เมื่อพระพุทธเจ้าออก
ประกาศพระศาสนา พระองค์ได้ทรงสอนใหม่ว่า ความเป็นอริยะ หรือ อารยะไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด
แต่อยู่ที่ธรรมซึ่งประพฤติและฝึกฝนอบรมให้มีขึ้นในจิตใจของบุคคล ใครจะเกิดมาเป็นชนชาติใด วรรณะไหน
ไม่สำคัญ ถ้าประพฤติอริยธรรมหรืออารยธรรม ก็เป็นอริยะคืออารยะชนทั้งนั้น ใครไม่ประพฤติก็เป็น
อนารยะ หรือ อนารยชนทั้งสิ้น

สัจธรรมก็ไม่ต้องเป็นของที่พวกพราหมณ์ผูกขาดโดยจำกัดตามคำสอนในคัมภีร์พระเวท แต่เป็นความจริง
ที่เป็นกลางมีอยู่โดยธรรมดาแห่งธรรมชาติ ผู้ใดรู้แจ้งเข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่โดยธรรมดานี้
ผู้นั้นก็เป็นอริยะหรืออารยะ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษาพระเวทของพราหมณ์แต่ประการใด และเพราะการรู้
สัจธรรมนี้ ทำให้คนเป็นอริยะ สัจธรรมนั้นจึงเรียกว่า อริยสัจ

เมื่อว่าตามหลัก บุคคลที่จะเข้าใจอริยสัจ ก็คือท่านที่เป็นโสดาบันขึ้นไป ดังนั้นคำว่า อริยะ ที่ใช้ในคัมภีร์
ทั่วไป จึงมีความหมายเท่ากับทักขิไณยบุคคล และอริยสัจ ๔ บางคราวท่านก็เรียกว่า อริยธรรม หรือ
อายธรรม (ขุ.สุ. 25/330/543)

อย่างไรก็ตาม คำว่า อริยธรรม หรือ อารยธรรมนี้ ท่านไม่ได้จำกัดความหมายตายตัว
แต่ยักเยื้องใช้ได้กับธรรมหลายหมวด (ดู ที.อ.2/323 ฯลฯ) บางทีผ่อนลงหมายถึงกุศลกรรมบถ
๑๐ บ้าง ศีล ๕ บ้างก็มี ซึ่งโดยหลักการก็ไม่ขัดกันแต่ประการใด เพราะผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ได้อย่าง
ถูกต้อง ตามความหมายอย่างแท้จริง (ไม่กลายเป็นสีลัพพตปรามาสไป) และมั่นคงยั่งยืนไม่ด่าง
พร้อยตลอดชีวิต ก็คือคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันขึ้นไป

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ก.ค. 2009, 19:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: (ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวช)

ขนมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ (เหลือเฟือ) พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดให้พระอานนท์แจกทานแก่คน อดอยาก พระอานนท์จึงแจก มีนักบวชนอกศาสนาที่เป็นผู้หญิงมารับแจกด้วย เผอิญให้เกินไป 1 ก้อน แก่นักบวชหญิงนั้น ด้วยเข้าใจผิด พวกเขาเองจึงล้อกันว่า พระอานน์เป็นชู้ของหญิงนั้น และภิกษุรูปหนึ่งฉันเสร็จก็เอาข้าวสุกคลุกเนยใสให้แก่อาชีวกผู้หนึ่ง มีผู้เห็นว่าไม่เหมาะสม (เพราะการยื่นให้ด้วยมือแสดงคล้ายเป็นศิษย์ หรือคฤหัสถ์ประเคนของพระ จะกลายเป็นเหยียดหยามตัวเองลงเป็นคฤหัสถ์) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามให้อาหารแก่ชีเปลือย แก่ปริพพาชก ด้วยมือของตน ทรงปรับอาบัติปาจิตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด


:b8: ขออำนาจกุศลที่ข้าพเจ้าแผยแพร่ธรรมนี้บูชา คุณครูอาจารย์ด้วยความเคารพนอบน้อมตลอดทั้ง :b8: บูชามารดาบิดาด้วยบุญนี้หนอ และขอให้กัญญามิตรมีดวงเห็นธรรมทุกท่านเทอญ
( หากมีข้อความผิดพลาดกลาบขออภัยในความผิดนี้ด้วยจิตที่นอบน้อมครับ )


:b8: :b8: เทพบุตร :b8:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่จะช่วยแนะความรู้คิดแก่ผู้อื่น อาจถือโยนิโสมนนิการ ๓ อย่าง ต่อไปนี้เป็นหลักสำหรับตรวจสอบ
พื้นเพทางด้านภูมิปัญญา หรือ ความรู้คิดของบุคคล คือ

๑. การคิดแบบปัจจยาการ คือ ดูว่า เขามีความคิดเป็นเหตุเป็นผล รู้จักคิดเหตุผล หรือ
เป็นคนมีเหตุผล รู้จักสืบค้นเหตุปัจจัย หรือไม่

๒. การคิดแบบวิภัชชวาท คือ ดูว่า เขารู้จักมองสิ่งทั้งหลาย หรือเรื่องราวต่างๆได้หลายแง่
หลายมุม รู้จักแยกแยะแง่ด้านต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ ไม่มองแง่เดียว ไม่คิดคลุมเครือ ดังนี้เป็นต้น

๓. การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ ดูว่า เขาพูดฟังหรืออ่านอะไร สามารถจับหลัก
จับประเด็น หรือ แก่นของเรื่อง (ธรรม) และเข้าใจความหมาย ความมุ่งหมาย หรือคุณค่า
ประโยชน์ หรือ แนวที่จะกระจายขยายความของเรื่องนั้นๆ (อรรถ) หรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายศัพท์ที่พบเห็นบ่อยๆ


ยถาภูตญาณทัสสนะ การรู้เห็นตามที่มันเป็น (knowing and seeing things as

they are)

นิพพิทา ความหน่าย (disenchantment)

วิราคะ ความคลายความติดปลีกตัวออกได้ (detachment)

วิมุตติ ความหลุดพ้น (freedom)

ขยญาณ ความหยั่งรู้ว่าสิ้นอาสวะกิเลส = การบรรลุอรหัตผล

ภาวนา การทำให้เกิดมี, การทำให้มีให้เป็น, การทำให้เจริญ, การเจริญ, การเพิ่มพูน,

การบำเพ็ญ, การอบรม, หรือ การฝึกอบรม


ภาวนามีสาม เหมือนสิกขา คือ
กายภาวนา ฝึกอบรมกาย
จิตตภาวนา ฝึกอบรมจิต
ปัญญาภาวนา ฝึกอบรมปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2009, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะอาจารย์

อ้างคำพูด:
ถามวิธีที่ให้ได้ปัญญา ถามง่ายแต่การตอบ+การปฏิบัติหินครับ

แต่จะตอบรวมๆให้เห็นภาพก่อน
วิธีใดก็ได้ที่ปฏิบัติแล้วรู้เข้าใจชีวิต หรือ ร่างกายกับจิตใจของตนเองเนี่ยตามที่มันเป็น หรือ ตามเป็นจริง
ก็วิธีนั้นแหล


รู้และเข้าใจชีวิต นี่พอจะได้อยู่

แต่การปฏิบัติสิคะ หินสุดๆ

ปัญหาคือว่า.....มักจะเผลอสติค่ะ
แล้วจิตมันก็ตกวูบลงไปในวังวนเดิมอีก (เป็นพักๆ ตามกฏไตรลักษณ์..นี่ก็เข้าใจนะคะ)
ทุกวันนี้ก็ตามรู้ ตามดูอยู่ ...เกิดแล้ว มาแล้ว เด๋วก็จะหายไป...เป็นต้น

ขอเทคนิคสำหรับฆราวาสเลยได้มั้ยคะ เช่นกำหนดตารางการปฏิบัติ หรืออะไรทำนองนี้ค่ะ
เอาแค่ดึงคนขึ้นจากปากเหวก่อน ยังไม่ต้องส่งขึ้นนิพพานนะคะอาจารย์ :b3:

(จะถูกทุบแบบกระท้อนป่าวเนี่ย...)รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายขององค์ธรรม ต่างๆ แห่งปฏิจจสมุปบาท สั้นๆง่ายๆ


1. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา

2. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้

3. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

4. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

5. สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

6.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

7. เวทนา การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

8.ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง

หรือ ทำลาย

9.อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว

10.ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

11.ชาติ การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับ เป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท

ความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ

12.ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัวได้อยู่ครอบครอง

ภาวะชีวิตนั้นๆ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ

หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คืออาการหรือรูปต่างๆของความทุกข์

อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมม กดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหา

และ ปมก่อปัญหาต่อๆไป


(นี้ตามแนวพระสูตร แต่แนวอภิธรรมต่างจากนี้บ้าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร