วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




58.jpg
58.jpg [ 33.97 KiB | เปิดดู 2584 ครั้ง ]
ที่ถามข้างบนพึงศึกษาดังนี้



กรรม 12


กรรม 12 หรือ กรรมสี่ 3 หมวด ตามที่ท่านแสดงไว้ในอรรถกถาและฎีกาทั้งหลาย มีหัวข้อและ

ความหมายโดยย่อดังนี้


หมวดที่ 1 ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล


1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันคือภพนี้ ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่กระทำ

ในขณะแห่งชวนจิตดวงแรกในบรรดาชวนจิตทั้ง 7 แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ พูดเป็นภาษาวิชาการว่า ได้แก่

ชวนเจตนาที่หนึ่ง กรรมนี้ให้ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาตินี้ ก็กลายเป็น

อโหสิกรรม ไม่มีผลต่อไป เหตุที่ให้ผลในชาตินี้ เพราะเป็นเจตนาดวงแรก ไม่ถูกกรรมอื่นครอบงำ

เป็นการปรุงแต่งแต่เริ่มต้น จึงมีกำลังแรง แต่ไม่ให้ผลต่อจากชาตินี้ไปอีก เพราะไม่ได้การเสพคุ้น

จึงมีผลเล็กน้อย ท่านเปรียบว่าเหมือนพรานเห็นเนื้อ หยิบลูกศรยิงไปทันที ถ้าถูกเนื้อก็ล้มที่นั่น

แต่ถ้าพลาด เนื้อก็รอดไปเลย



2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า ได้แก่ กรรมดีก็ตาม

ที่กระทำในขณะแห่งชวนจิตดวงสุดท้ายในบรรดาชวนจิตทั้ง 7 แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ

พูดเป็นภาษาวิชาการว่า

ได้แก่ ชวนเจตนาที่ 7 กรรมนี้ให้ผลเฉพาะในชาติถัดจากนี้ไปเท่านั้น ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาติ

หน้า ก็กลายเป็นอโหสิกรรม ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเป็นเจตนาท้ายสุดของชวนวิถี เป็นตัวให้สำเร็จ

ความประสงค์ และได้ความเสพคุ้นจากชวนเจตนาก่อนๆมาแล้ว แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีกำลังจำกัด

เพราะเป็นขณะจิตที่กำลังสิ้นสุดชวนวิถี


3. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่ทำในขณะ

แห่งชวนจิตทั้ง 5 ในระหว่างคือในชวนจิตที่ 2-6 แห่งชวนวิถีหนึ่งๆพูดเป็นภาษาวิชาการว่า ได้แก่

ชวนเจตนาที่สองถึงที่หก

กรรมนี้ให้ผลได้เรื่อยไปในอนาคต เมื่อเลยจากภพหน้าไปแล้ว คือได้โอกาสเมื่อใด ก็ให้ผลเมื่อนั้น

ไม่เป็นอโหสิกรรม ตราบเท่าที่ยังอยู่ในสังสารวัฏ ท่านเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อตามทันเมื่อใด

ก็กัดเมื่อนั้น


4. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ซึ่งไม่ได้โอกาสที่จะให้ผล

ภายในเวลาที่จะออกผลได้ เมื่อผ่านล่วงนั้นไปแล้ว ก็ไม่ให้ผลอีกต่อไป


(อโหสิกรรมนี้ ความจริงเป็นคำสามัญแปลว่า “กรรมได้มีแล้ว” แต่ท่านนำมาใช้เป็นคำศัพท์เฉพาะ

ในความหมายว่า "มีแต่กรรมเท่านั้น วิบากไม่มี" - ดู วิสุทธิ.3/223/ ย่อจาก ขุ.ปฏิ.31/523/414

มิใช่แปลว่า เลิกให้ผล หรือ ให้ผลเสร็จแล้ว อย่างที่แปลแบบให้เข้าใจกันง่ายๆ ตามสำนวนที่เคยชิน)



หมวดที่ 2 ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่


5. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ได้แก่ กรรมคือเจตนาดีก็ตาม

ชั่วก็ตาม ที่เป็นตัวทำให้เกิดขันธ์ที่เป็นวิบาก ทั้งในขณะที่ปฏิสนธิและในเวลาที่ชีวิตเป็นไป

(ปวัตติกาล)


6. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน ได้แก่ กรรมพวกเดียวกับชนกกรรม ซึ่งไม่สามารถให้เกิดวิบาก

เอง แต่เข้าช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ทำให้สุขหรือทุกข์ ที่เกิดขึ้นในขันธ์ ซึ่งเป็น

วิบากนั้นเป็นไปนาน


7. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น ได้แก่ กรรมฝ่ายตรงข้ามกับชนกรรม ซึ่งให้ผลบีบคั้นผลแห่งชนก

กรรมและอุปัตถัมภกรรมทำให้สุขหรือทุกข์ที่เกิดในขันธ์ ซึ่งเป็นวิบากนั้น ไม่เป็นไปนาน


8. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน ได้แก่ ฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังแรง เข้าตัดรอนความสามารถ

ของกรรมอื่นที่มีกำลังน้อยกว่าเสีย ห้ามวิบากของกรรมนั้นขาดไปเสียทีเดียวแล้วเปิดช่องแก่วิบากของ

ตน เช่น ปิตุฆาตกรรมของพระเจ้าอชาติศัตรูที่ตัดรอนกุศลกรรมของพรองค์เสีย เป็นต้น



หมวดที่ 3 ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามแง่ที่ยักเยื้องกันคือ ลำดับความแรงในการให้ผล


9. ครุกรรม กรรมหนัก ได้แก่ กรรมที่มีผลแรงมาก ในฝ่ายดีได้แก่ สมาบัติ 8

ในฝ่ายชั่วได้แก่

อนันตริยกรรมมีมาตุฆาตเป็นต้น ย่อมให้ผลก่อนและครอบงำกรรมอื่นๆเสีย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่

ไหลบ่ามาท่วมทับน้ำน้อยไป


10. พหุลกรรมหรืออาจิณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ได้แก่ กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ประพฤติ

มาก หรือทำบ่อยๆ สั่งสมเคยชินเป็นนิสัย เช่น เป็นคนมีศีลดี หรือเป็นคนทุกศีล เป็นต้น

กรรมไหนทำบ่อยทากเคยชิน มีกำลังกว่า ก็ให้ผลได้ก่อน เหมือนนักมวยปล้ำลงสู้กัน

คนไหนแข็งแรง ก็ชนะไป กรรมนี้ต่อเมื่อไม่มีครุกกรรม จึงจะให้ผล


11. อาสันกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ได้แก่ กรรม ที่กระทำหรือระลึกขึ้นมา

ในเวลาใกล้จะตาย จับใจอยู่ใหม่

ถ้าไม่มีกรรม 2 ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ

(แต่คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี ว่า อาสันนกรรมให้ผลก่อนอาจิณณกรรม) เปรียบเหมือนโคแออัด

อยู่ในคอก พอนายโคบาลเปิดประตูออก โดใดอยู่ริมประตูคอก แม้เป็นโคแก่อ่อนแอ

ก็ออกไปได้ก่อน


12. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ ได้แก่ กรรมที่ทำด้วยเจตนาอันอ่อน

หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นๆ โดยตรง

เป็นกรรมที่เบา เปรียบเหมือนลูกศรที่คนบ้ายิงไป ต่อเมื่อไม่มีกรรมสามข้อก่อน กรรมนี้จึงจะให้ผล


viewtopic.php?f=4&t=19058

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 18:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะภายใน หรือ ทวาร ๖ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๖

คำว่า อินทรีย์ แปลว่า ภาวะที่เป็นใหญ่ หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่

หรือเป็นเจ้าการในเรื่องนั้นๆ เช่น ตา เป็นเจ้าการในการรับรู้รูป

หู เป็นเจ้าการในการรับรู้เสียง เป็นต้น

อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ และมนิทรีย์

คำว่า อินทรีย์ นิยมใช้กับอายตนะ ในขณะทำหน้าที่ของมัน ในชีวิตจริง และเกี่ยวกับจริยธรรม

เช่น การสำรวมอินทรีย์ เป็นต้น



ส่วนอายตนะ นิยมใช้ในเวลาพูดถึงตัวสภาวะที่อยู่ในกระบวนธรรม เช่น อาศัยจักขุ อาศัยรูป

เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น

และเมื่อพูดถึงสภาวะลักษณะ เช่นว่า จักขุไม่เที่ยง เป็นต้น

อีกคำหนึ่งที่ใช้พูดกันบ่อย ในเวลากล่าวถึงสภาวะในกระบวนธรรม คือคำว่า ผัสสายตนะ แปลว่า

ที่เกิดหรือบ่อเกิดแห่งผัสสะ คือที่มาของการรับรู้นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะภายนอก หรือ อารมณ์ ก็มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก คือ โคจร ( ที่เที่ยว, ที่หากิน)

และวิสัย (สิ่งผูกพัน, แดนดำเนิน)

และ ชื่อที่ควรกำหนดเป็นพิเศษ ใช้เฉพาะกับอารมณ์ ๕ อย่างแรก ซึ่งมีอิทธิพลมาก ในกระบวนธรรม

แบบเสพเสวยโลก หรือ แบบสังสารวัฏ คือ คำว่า กามคุณ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่

ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)

กามคุณ ๕ หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เฉพาะที่น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามสุข สุขในการสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ ตัวอย่างในทางจริยธรรมขั้นต้น เช่น

หันเข้าหาการพนัน การดื่มสุรา และสิ่งเริงรมย์ต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างดังนี้ คือ

รูปทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยตา...

เสียงทั้งหลายทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยหู...

กลิ่นทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยจมูก...

รสทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยลิ้น...

โผฏฐัพพะทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก

ชักให้อยากได้ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้แล คือ กามคุณ ๕

อาศัยกามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ มีความสุขความฉ่ำใจใดเกิดขึ้น นี้คือส่วนดี

ของกามทั้งหลาย” นี้ เรียกว่า กามสุข”


“คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม ๒ อย่างคือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑


(วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่อยากได้)

(กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


มีพุทธพจน์ว่า “อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลกหาใช่เป็นกามไม่

ราคะที่เกิดจากความคิดของคน (ต่างหาก) เป็นกาม

อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมดำรงอยู่ (ตามสภาพของมัน) อย่างนั้นเอง

ดังนั้น ธีรชนทั้งหลายจึงขจัด (แต่เพียง) ตัวความอยาก (ตัณหาฉันทะ) ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น

(คือมิใช่กำจัดอารมณ์วิจิตร) “


(องฺ.ฉกฺก.22/334/460)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 14:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะ มีความหมายหลายนัย เช่น แปลว่า เป็นที่สืบต่อแห่งจิตและเจตสิก คือเป็นที่ที่จิตและ

เจตสิกทำหน้าที่กันง่วน

เป็นที่แผ่ขยายจิตและเจตสิกให้กว้างขวางออกไป

เป็นตัวการนำสังสารทุกข์อันยืดเยื้อให้ดำเนินสืบต่อไปอีก

เป็นบ่อเกิด

แหล่ง

ที่ชุมนุม เป็นต้น

(ดู วิสุทธิ.3/61/ สงฺคห.ฎีกา 227)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue สาธุค่ะ...คุณครู
จะสอบตกมั๊ยน้า...นี่เพิ่งเบื้องต้นเอง
ขอเรียน กขค ละกันนะ :b16: :b27: :b5:

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




482595bp20ksiiv6.gif
482595bp20ksiiv6.gif [ 5.66 KiB | เปิดดู 2381 ครั้ง ]
ศึกษาต่อที่

viewtopic.php?f=7&t=31610

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณกรัชกาย

:b48: ธรรมะรักษาค่ะ :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร