วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 08:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209363.jpg
m209363.jpg [ 86.33 KiB | เปิดดู 4035 ครั้ง ]
(ต่อไปความหมายคำว่า สัญญา สังเกต ความหมายสัญญาไว้ก่อน เพราะว่าทำงานร่วมกับสติ

อย่างใกล้ชิด ขณะกำหนดรู้นามรูปแต่ละขณะๆ)



สัญญา ความกำหนดได้ หรือ หมายรู้ คือกำหนดรู้อาการ เครื่องหมายลักษณะต่างๆ

อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์นั้นๆได้


ว่าโดยสภาพปรุงแต่ง สัญญาแบ่งคร่าวๆได้ ๒ ระดับ คือ


๑. สัญญาขั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น

หมายรู้ว่า สีเขียว ขาว ดำแดง ฯลฯ แบน ยาว สั้น เป็นต้น รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับบัญญัติ

ต่าง ๆ ว่าแมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ


๒. สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ไปตามคิดปรุงแต่ง หรือตามความรู้ความเข้าใจ

ในระดับต่างๆ เช่น หมายรู้ว่าสวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น


ถ้าแยกย่อยออกไป สัญญาซ้อนเสริม หรือ สัญญาสืบทอดนี้ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ


-สัญญา ซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกว่า ปปัญจสัญญา คือสัญญาที่ซับซ้อน

หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฏฐิ

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่า สัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือสัญญาที่ประกอบด้วย

กิเลส

สัญญาพวกนี้ ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือและห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้

ไม่เป็นเรื่องของความรู้

แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้

กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ฯลฯ


-สัญญาที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือ เกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญา

บ้าง

วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญา ที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง

เป็นสัญญา ที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญา และ ความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้

ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร

หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น



พระอรหันต์ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจากอาสวะ คือสัญญาไร้กิเลส-(ม.อุ.14/341/232)

พระอรหันต์ ก็หมายรู้ปปัญจสัญญาตามที่ปุถุชนเข้าใจ หรือ ตามที่ท่านเองเคยเข้าใจ เมื่อครั้งยัง

เป็นปุถุชน

แต่ท่านหมายรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ เช่นในการช่วยแก้ไขปัญหาของผู้อื่น

ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตนออกรับการกระทบ

แม้ผู้ปฏิบัติก็พึงดำเนินตามแนวทางเช่นนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ย. 2009, 19:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา โดยทั่วไป เป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ หรือ ทำความรู้จักเท่านั้น
(ขุ.ปฏิ.31/58/33)

แต่สัญญาเจือกิเลส หรือ ปปัญจสัญญา เป็นปหาตัพพธรรม* คือ เป็นสิ่งที่ควรละหรือกำจัดให้สิ้นไป
(องฺ.ฉกฺก.22/381/497 ฯลฯ )

ส่วนสัญญา ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และ ส่งเสริมกุศลธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม คือ สิ่งที่ควร
เจริญ ควรทำให้เกิดมีให้มี และให้เพิ่มพูนขึ้นจนใช้ประโยชน์บริบูรณ์


.........

*สัญญาที่เป็นภาเวตัพพธรรม อาจเรียกว่า วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา)
ตามนัย องฺ.ฉกฺก.22/306/373 บ้าง
เรียกว่า นิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้ทำลายกิเลส) ตามนัย สํ.อ.3/45/ บ้าง
และบางแห่งเรียกว่า กุศลสัญญา บางแห่งเรียก อวิปริตสัญญา (สัญญาไม่วิปริต)ตามเนตติ.175 บ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


มีเก้าอี้ว่างไหมครับเนี่ย จะมาเรียนด้วยครับ :b16:

สาธุ กับ ท่าน กรัชกาย ด้วยครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ดูความหมาย สัญญา เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย)


คำที่ควรเข้าใจ คือ ปปัญจะ หมายถึง อาการที่คลอเคลียพัวหันอยู่กับอารมณ์นั้น และคิดปรุงแต่ง

ไปต่างๆ ด้วยแรงตัณหา มานะ และทิฏฐิผลักดัน หรือ เพื่อสนองตัณหา มานะ และทิฏฐิ คือ ปรุงแต่ง

ในแง่ที่จะเป็นของฉัน ให้ตัวฉันเป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นไปตามความเห็นของฉัน ออกรูปออกร่างต่างๆ

มากมายพิสดาร จึงทำให้เกิด ปปัญจสัญญา ต่างๆ คือ สัญญาทั้งหลายที่เนื่องด้วยปปัญญจะนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะอาจารย์

:b47: ตามอ่านกระทู้ที่อาจารย์โพสต์มาตลอดค่ะ
พร้อม ๆ กับสำรวจตัวเองไปด้วย ตรงนี้จริง ๆ ค่ะ
ปปัญจสัญญา ความคลอเคลียพัวพัน คนไร้สาระ
สังเกตพอหลง อาการที่จิตเคยชิน กับอารมณ์เกิดความ
เกี่ยวข้องต่อเนื่อง สร้างสรรจินตนาการมากมาย วิจิตร
พิสดารเหลือเชื่อพอนึกได้(มีสติ) มันก็ขาดแล้วเผลอ
มันก็โผล่มาอีก

:b47: บางครั้งคนไร้สาระก็ปล่อยมันค่ะ เหมือน ๆคน
นั่งดูไปแกจะจิตนาการก็ช่าง ไม่ใช่ฉัน รู้สึกเหมือนเบื่อ
เกิด ๆ - ดับ ๆ แต่เผลอก็ยังถูกลากอยู่ค่ะ

:b47: จุดนี้เป็นจุดสำคัญ บางครั้งสัญญานั้นไม่ได้คิด
ขึ้นมาเอง แต่เป็นการไปประสบกับเหตุการณ์ สิ่งของ สถานที่
หรือบุคคล สติเอาไม่ทัน เกิดความพัวพัน ปปัญจสัญญา
ขึ้นมาทันที ทั้ง ๆ รู้ ค่ะว่า สายใยนี้จะก่อทุกข์ แต่จิตไม่
ฟังลงไปคลุกจนได้

:b47: คนไร้สาระ รู้สึกว่าขัดแย้งน้อยลงค่ะกับสภาวะ
แต่รู้สึกว่ายังไม่พอ ที่จะให้จิตยอมรับ เพราะสังเกตว่ามัน
ยังค้นหาทางอยู่ (หาทางแก้ค่ะ) แต่ไม่ถูกเหวี่ยงเหมือนเมื่อก่อน

:b47: คำว่า ปปัญจสัญญา = เกลียวปัจจากร ไหมค่ะ?
เคยเห็นผ่านตามาค่ะ
(อาจารย์ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม กรุณาชี้แนะด้วยค่ะ)


:b8: :b8: :b8:
กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำว่า ปปัญจสัญญา = เกลียวปัจจากร ไหมค่ะ?
เคยเห็นผ่านตามาค่ะ



ปปัญจะ + สัญญา = ปปัญจสัญญา (แปลตามศัพท์ว่า สัญญาเป็นเครื่องเน้นช้า)


คำว่า “เกลียวปัจจากร” ไม่เคยเห็น เคยเห็นแต่ คำว่า ปัจจยาการ (อาการที่เป็นปัจจัย)
ในอภิธรรมใช้เรียกหลัก อิทัปปัจจยตา (การประชุมปัจจัยของสิ่งเหล่านี้ หรือ ภาวะที่มีอันนี้ ๆ เป็นปัจจัย)
อิทัปปัจจยตา ก็เป็นขื่อหนึ่งของหลักปฏิจจสมุปบาท

อ้างคำพูด:
บางครั้งคนไร้สาระก็ปล่อยมันค่ะ เหมือน ๆคน
นั่งดูไปแกจะจิตนาการก็ช่าง ไม่ใช่ฉัน รู้สึกเหมือนเบื่อ
เกิด ๆ - ดับ ๆ แต่เผลอก็ยังถูกลากอยู่ค่ะ



ต้องมีงานปัจจุบันอารมณ์แต่ละขณะๆให้จิตทำด้วย ไม่อย่างนั้นก็ไหลไปตามความเคยชิน (เหมือนลูกวัวที่ยัง
ไม่หย่านม หิวก็วิ่งเข้าหาแม่โคนมฉะนั้น)

หมายความว่า ยึดงานที่เราทำ ณ ขณะนั้นๆ ทำอะไรอยู่ล่ะ สมมุติกำลังพิมพ์อยู่ ก็เอาการเคลื่อนไหว
ของนิ้วของมือของกายทั้งหมดเป็นอารมณ์ให้จิตรับรู้ สนใจอยู่กับการจัดวรรคตอน จิตก็ทำงานง่วนเพลินลืมเวลาด้วยซ้ำ
กรณีอื่นก็เทียบหลักนี้

หากต้องการจะนั่งดูความคิด หลังว่างจากงานประจำแล้ว ก็ต้องมีอารมณ์ปัจจุบันเช่นกัน (ไม่ใช่นั่งลอยๆ) คือผูกจิตไว้กับลมเข้าลมออก ยึดลมเข้าลมออกเป็นอารมณ์ หรือจะเอาอาการท้องพองท้องยุบให้มันทำ
ให้มันทำงานอยู่ที่ฐานนั้นเป็นหลัก แต่เมื่อมันแว้บ ไปจินตนาการ เรื่องใดๆ ไม่อยู่กับลมเข้าลมออกซึ่งเป็นปัจจุบันอยู่ รู้สึกตัวก็รู้ว่า มันเป็นอย่างนั้นๆ หรือกำหนดซ้ำที่ความคิดนั่น (คิดหนอๆ) จบขณะหนึ่ง

แล้วกลับมาทำงานที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ คือลมเข้าลมออกต่อ.... แว้บไปอีก (ก็ใช้วิธีการเดิม) รู้ตัวว่ามันเป็นอย่างนั้นๆไปแล้ว หรือกำหนดจิตซ้ำลงไป (คิดหนอๆๆ ) จบขณะหนึ่ง


(อธิบาย ขณะนั้น ความคิดที่แว้บ รู้สึกตัว (คิดหนอๆๆ)ความคิดเป็นฐานของสติ-สัมปชัญญะแล้ว ไม่ใช่เสียเปล่า หรือ วิตกว่า ทำไมฟุ้งซ่านจัง ไม่ใช่ เอาความคิดนั้นเป็นอาหารของสติเป็นต้นเสีย)
หากให้พูดถึงหลักปฏิบัติจริงๆ แล้วมีนิดเดียว

การปฏิบัติต้องใช้ทั้งกายและจิต หรือความคิดไปด้วยกัน จะตามรู้แต่ความคิดอย่างเดียว ไม่มีวันจบ
สุดท้ายก็หาที่ยึดที่ยันไม่ได้ก็เคว้งคว้าง เมื่อเป็นดังนั้นตนเองจะเบื่อความคิดตนเอง- (หากมันเบื่อเพราะเห็นความจริงแล้ว อย่างนี่มันวางเองเลย จะไม่ยึดมั่นอารมณ์ใดๆ รู้แต่ไม่ยึด ... แต่ถ้ามีเรา...เข้าไปชักจูงให้มันเบื่อ อันนี้ล่ะยุ่ง จะรู้สึกเบื่อจริงโว้ยๆๆ แต่ยังทางออกไม่ได้ จึงอึดอัดๆ เพราะไม่มีทางออก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 มิ.ย. 2009, 19:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบขอบพระคุณค่ะ อาจารย์

:b47: คนไร้สาระจะลองเอาลมเป็นเครื่องอยู่ตามที่
อาจารย์แนะนำค่ะ อาจารย์พูดถูกเหมือนคนไร้สาระ
ไปชักนำเบื่อมังค่ะ

:b47: ช่วงเวลาทำงานค่อนข้างจะหลงค่ะเพราะต้อง
ใช้ความคิดมาก จะใช้การเคลื่อนไหวร่้างกายประกอบด้วย
เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลย เวลาพิมพ์คอมนี่ค่ะ มีความรู้สึก
เหมือนจะรู้อาการได้ง่ายกว่า ความคิดขาดห้วง ลง
ขณะที่รู้อาการเคลื่อนไหวร่างกาย รู้สึกกายกับจิต
แยกกัน เห็นแต่ความเคลื่อนไหว แต่ไม่มีเรารู้สึกจะ
ขาดเป็นขณะ ตรงนี้รู้ถูกไหมค่ะ

กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คนไร้สาระจะลองเอาลมเป็นเครื่องอยู่ตามที่
อาจารย์แนะนำค่ะ อาจารย์พูดถูกเหมือนคนไร้สาระ
ไปชักนำเบื่อมังค่ะ

ช่วงเวลาทำงานค่อนข้างจะหลงค่ะเพราะต้อง
ใช้ความคิดมาก จะใช้การเคลื่อนไหวร่้างกายประกอบด้วย
เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลย เวลาพิมพ์คอมนี่ค่ะ มีความรู้สึก
เหมือนจะรู้อาการได้ง่ายกว่า ความคิดขาดห้วง ลง
ขณะที่รู้อาการเคลื่อนไหวร่างกาย รู้สึกกายกับจิต
แยกกัน เห็นแต่ความเคลื่อนไหว แต่ไม่มีเรารู้สึกจะ
ขาดเป็นขณะ ตรงนี้รู้ถูกไหมค่ะ



ที่ว่า ใช้ลม เป็นต้น เป็นกรรมฐาน (ดูความหมายกรรมฐานข้างต้นประกอบ)
ก็ตอนที่เราว่างจากงานประจำวันแล้วๆอยู่เงียบๆ คนเดียว ไม่ได้ทำอะไรแล้วว่างั้นเถอะ
ก็ยึดลมเข้าลมออกเป็นสรณะ

เมื่อมีงานประจำต้องใช้ความคิดวางแผนการณ์ ก็คิดได้โดยมีสติควบคุมการคิดนั้น ไม่ให้คิดลอยๆแบบฝันๆ
คิดอยู่บนฐานความเป็นจริง มีสิ่งรองรับก็ได้ไม่เสียหายอะไร


กายหยาบกว่าความคิดสัมผัสง่ายรู้ได้ง่ายกว่าความคิด แต่เมื่อตามรู้ดูการเคลื่อนไหวกายแล้ว จะคิดว่า
ไม่ตามดูจิตก็ไม่ถูกนะครับ

หากจะมีคำถามว่า เราเอาอะไรดูกาย ?
คำตอบ ก็เอานามธรรมหรือจิตนั่นแหละดูกาย
ชีวิตมีแค่ ๒ อย่างคือกายกับใจ ไม่มีมากไปกว่านี้

ดูกายก็เท่ากับรักษาจิตให้อยู่กับรูปธรรมคือกาย ก็เข้าหลักสติปัฏฐาน คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พูดวนไปมาอยู่แค่นี้เอง

ดูการเคลื่อนไหวกาย ก็ดูกาย ไม่ใช่ดูเวทนา หรือดูจิต หรือดูธรรม ดูอันใดก็อัน
แต่เมื่ออันใดกระทบความรู้สึกแรง แล้วรู้สึกก็ฉวยอันนั้นเป็นอารมณ์ ก็เข้าหลักสติปัฏฐานอีก
มันมีแค่นี้จริงๆนะคุณ

แต่ผู้ปฏิบัติบางคนกลัวผิดกลัวพลาด อย่ากลัว พลิกแผลงได้ คิดอยู่บนฐานกายกับความรู้สึกคิด
ก็ใช้ได้ สังเกตเอง

ในบางรายก็ซื่อเกินไป อาจารย์บอกให้ทำยังไงก็ทำยังงั้นจริงๆ ฝืนจนเกร็งกลัวผิดธรรม
ผิดทาง ให้เดินจงกรม ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เกร็งตัวจนตะคริวกิน ขาสั่นเดินไม่ออกก็มี

นึกถึงการฝึกซ้อมกีฬา มีการยิงธนูเป็นต้นครับ ยิงไม่ถูกเป้าเอาใหม่ฝึกใหม่ ฝึกอยู่นั่น
เมื่อคิดอยู่บนฐานกายอยู่กับความรู้สึกนึกคิดแล้ว คิดอะไรก็รู้ ทำอะไรก็รู้ ใช้ได้แล้ว

แต่หากกำหนดตรึงความคิดด้วยก็จะดี คำบริกรรมมีค่าเพียงตรึงจิตให้แนบแน่นกับอารมณ์ดีขึ้นเท่านั้น
มองคำบริกรรมลักษณะนี้ ไม่พึงคิดเป็นอย่างอื่นด้วยทิฏฐิ
กรัชกายอยากได้คนที่กล้าซักถามแบบถึงพริกถึงขิงนะ :b14:

คนไร้สาระอ่อนน้อมเกินจนกรัชกายเกรงใจ บางครั้งกลัวคำพูดที่ตรงไปตรงมาจะกระทบกระเทือนความรู้สึก
ทางลบเอา :b3:


สุดท้ายจะบอกคนไร้สาระว่าลมหายใจเข้าออก หรือ อาการท้องพองกับท้องยุบเนี่ย มีปริศนาอะไรซ่อนอยู่
ที่มนุษย์ไม่รู้อีกมากมายนัก ไม่ใช่ให้ดูลมเท่ห์ ๆ อุเทน พรหมมินทร์ :b32:หรือยึดมั่นถือมั่นลมหายใจ
จนวางไม่ลง ไม่ใช่ไม่ใช่เลยครับ :b1:

เฉพาะลมเข้าลมออกก็ดี ร่างกายทั้งองคาพยบก็ดี ความรู้สึกนึกคิดก็ดี เป็นธรรมชาติ แล้วในธรรมชาติ
มีกฏไตรลักษณ์อยู่ทั้งนั้น นี่คือปริศนาธรรมที่มนุษย์ต้องค้นหาในกายใจนี้
เห็นไตรลักษณ์ทางกายก็เห็นไตรลักษณ์ของจิตหรือของความคิด เพราะกายกับใจทำงานสัมพันธ์กัน
เป็นเหตุปัจจัยกันและกัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 03:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณค่ะ อาจารย์

:b47: มีอะไรก็บอกได้ค่ะ เพราะถ้าทำผิดแล้วคงจะแก้ยาก
โดยปกติ ส่วนตัวก็จะเป็นคนอย่างนี้ค่ะ อ่อนน้อมแต่ไม่อ่อนแอค่ะ
อาจารย์คงจะหมายถึงว่า ทำให้เป็นธรรมชาติ เพราะเวลาที่จะรู้
จริง ๆ แล้วสติที่ไประลึกรู้ คงไม่ได้แยกกายแยกจิต

:b47: ช่วงนี้จะฝึกตรงนี้ไปก่อน รออ่านที่อาจารย์โพสต์ ถ้ามี
ข้อสงสัยจะรบกวนถามใหม่ค่ะ

:b8: :b8: :b8:
กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อาจารย์คงจะหมายถึงว่า ทำให้เป็นธรรมชาติ เพราะเวลาที่จะรู้
จริง ๆ แล้วสติที่ไประลึกรู้ คงไม่ได้แยกกายแยกจิต




ข้อว่า “แยกกายแยกจิต” เห็นพูดๆ กันบ่อยที่บอร์ดหนึ่ง แต่ฟังแล้วยังเบลอๆ ไม่แน่ชัด
บางทีเตลิดออกไปจากชีวิตจริงในปัจจุบัน
บ้างก็ว่า แยกรูปแยกนาม นี่ก็เคยได้ยิน แต่ประเด็นนี้แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดาของมัน ...
ผู้สอนกลับคาดคั้นเซ้าซี้ถามผู้ปฏิบัติ....
จะให้ข้อสังเกตสั้นๆ "แยกกายแยกจิต" เป็นไปได้ในชีวิตปัจจุบัน ตัวอยาง เช่น ...ผู้ถูก
ทุกขเวทนาเบียดเบียนทางกายแล้ว ความทุกข์ก็จำกัดขอบเขตอยู่แค่กายเท่านั้น ไม่กระทบกระทั่งไปถึงจิต
คือจิตใจไม่เจ็บปวดตามกาย เป็นอิสระลอยอยู่เหนือทุกข์เวทนาทางกายนั้น


อาจารย์คงจะหมายถึงว่า ทำให้เป็นธรรมชาติ



การฝึกอบรมจิต หรือจะเรียกว่าอะไรสุกแล้วแต่ ขั้นแรกอาจไม่เป็นธรรมชาติ ยังเก้ๆ กังๆ เหมือนคนหัดขับ
รถใหม่ๆ ยังเก้ๆกังๆ มองแข้งมองขามองเกียร์ สองมือจับพวงมาลัยมั่น ตาจ้องเขม็งไปข้างหน้าแทบไม่
กระพริบตา...พักแล้วรู้สึกปวดเมื่อยไปทั้งตัว บางคนถึงเป็นไข้
ครั้นฝึกขับบ่อยๆจนชำนาญแล้ว แค่เราจับพวงมาลัยถือไว้เบา ๆ จะเหยียบเบรกเหยียบครัช
ดูเหมือนมันเป็นไปเอง

การฝึกจิตก็คล้ายๆกรณีนี้ แรกๆ เหมือนมันอึดอัดขัดข้องวุ่นวายไปหมด ...แต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จนสติ
สัมปชัญญะ เป็นต้น เจริญงอกงามทำงานของตนได้ราบรื่น กิเลสที่เคยคอยกีดขวางก็ถูกกำจัดไป
การรับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู เป็นต้น เหมือนองค์ธรรมมีสติเป็นต้น จะเกิดพลันทันเหตุการณ์อย่างเป็นไป
เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เสริมสาระ คห. ก่อนหน้าโน่นอีกหน่อย)


ขันธ์ทั้ง ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์เป็นส่วนร่างกาย

นามขันธ์ทั้ง ๔ เป็นส่วนใจ

มีทั้งกายและใจจึงจะเป็นชีวิต

กายกับใจ ทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี

ตัวอย่าง เช่น กิจกรรมของจิตใจ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยอารมณ์ คือ

รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

อารมณ์ทั้ง ๕ ก็ดี

ตา หู จมูก ลิ้น กายก็ดี ต่างก็เป็นรูปธรรม อยู่ในรูปขันธ์ คือ เป็นฝ่ายกาย

พูทธธรรมถือว่า กายเป็นเสมือนอุปกรณ์สำเร็จรูป ที่สร้างขึ้นมารับใช้กิจกรรมของจิตใจ

ถือว่า จิตใจเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมของชีวิต มีความกว้างขวาง ซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เป็นที่ให้คุณค่า

และความหมายแก่ชีวิต และ เกี่ยวข้องโดยตรงกับพุทธธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สัญญา เอาเท่าที่กล่าวมานั้นก่อน จะกล่าวถึงเมื่อทำงานร่วมกับสติ
พึงจำความหมายสัญญาไว้ก่อนว่า มีกี่อย่าง



ต่อไปความหมาย คำว่า สติ

สติ เป็นอีกศัพท์หนึ่งความหมายหนึ่ง ที่ถูกกล่าวถึงบ่อย แต่โดยมาก มักพูดถึงสติโดดๆ ตัวเดียว
(แม้ศัพท์อื่นๆ เช่น สมาธิ เป็นต้นก็เหมือนกัน จะพูดตัวเดียว แง่มุมเดียว) จึงทำให้ขาดธรรมสัมพันธ์
ที่เรียกว่า สัมปยุตธรรม (ธรรมที่ประกอบร่วมขณะนั้นๆ) จึงติดตัน


ในแบบนวโกวาท สติ ท่านแปลไว้สั้นๆ ไม่ได้ขยายความอะไรไว้เลย
เริ่มมาก็ ธรรมมีอุปการมาก ๒ อย่าง คือ

๑ .สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

สั้นเกินไปก็มีปัญหา ทำให้คาดเดากันไปต่างๆไม่มีหลัก
สติ ของท่านมีหลักสำหรับใช้อยู่ คือ ต้องอาศัยอารมณ์ เช่นในสติปัฏฐานท่านกล่าวไว้ชัดว่า
มีฐานสำหรับระลึกอยู่ ๔ ฐาน


พิจารณาสติว่าเกี่ยวข้องกับอารมณ์อย่างไร


สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอม
ให้ลอยผ่าน หรือ คลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือ ดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไป
ก็ได้

สติ จึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้ ระลึกได้ ไม่เผลอ
สติเป็นการริเริ่มเองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตน์จำนง (เจตนา) ในเมื่ออารมณ์อาจจะไม่ปรากฏ
อยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ จึงจัดอยู่ในจำพวกสังขาร

(ความหมายของสังขาร จะนำมาภายหลัง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตการทำงานร่วมกันระหว่างสติกับสัญญา (อาจพอมองเห็นแนวการปฏิบัติ กรรมฐานรูปแบบต่าง ๆ )



สัญญา บันทึกเก็บไว้ (ดูความหมาย สัญญา)

สติ ดึงออกมาใช้

สัญญาดี คือ รู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบ สร้างขึ้นเป็นรูปเป็นร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยง

กันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจและความเข้าใจ เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี

สติดี คือ มีความสามารถในการระลึก (ซึ่ง อาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบ

ผ่องใส ตั้งมั่น (เชื่อมถึงสมาธิ) เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เกิด

ความจำดี

(ที่เห็นชัดช่วงที่กล่าวนี้ มี สติ สัญญา สมาธิ ทำงานร่วมกันสนับสนุนกัน ทั้งทำให้มองเห็นภาพว่า คนที่ฝึกกรรมฐานทำสมาธิจึงจำเก่งความจำดี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif
0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif [ 47.97 KiB | เปิดดู 4168 ครั้ง ]
เพื่อเข้าใจหน้าที่สติกับสัญญาง่ายขึ้น ดูอุปมาเปรียบเทียบ ดังนี้



นายแดง กับ นายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกจากกันไป ต่อมาอีกสิบปี นายแดงพบนายดำอีก จำได้ว่า

ผู้ที่ตนพบนั้นคือนายดำ แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่า ตนกับนายดำเคยไปเที่ยวด้วยกันที่นั่นๆ ได้ทำสิ่ง

นั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา

การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เป็นสติ


วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนากับนาย ข. ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อนถามว่า

เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร นาย ก. นึกทบทวนดู จำได้ว่าพบปะ

สนทนากับ นาย ข. การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ


เครื่องรับโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง

สมุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่อีกมุมห้องหนึ่ง

นายเขียว เปิดสมุดหาเลขหมายโทรศัพท์ ที่ตนต้องการพบแล้ว อ่านและกำหนดหมายเลขเอาไว้ แล้วเดิน

ไปหมุนหมายเลขที่เครื่องโทรศัพท์ตามต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ตลอด

การอ่านและกำหนดหมายเลขที่สมุดโทรศัพท์ เป็นสัญญา

การนึกหมายเลขนั้นตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ไป เป็นสติ


เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้ว ก็กำหนดหมายได้ทันที แต่เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏอยู่ และถ้าอารมณ์นั้น

เป็นธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย

อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือ ดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็นอารมณ์ของจิต แล้วสัญญา

จะกำหนดหมายอารมณ์นั้นสำทับเข้าอีกให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 10:16, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร