วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเดิมจากตอนที่ ๕ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า
"การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ที่ถูกต้องและเป็นไปตามหลักธรรมชาติ ย่อมมีเพียงรูปแบบเดียว วิธีการปฏิบัติ แบบเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยกแตกแขนง ด้วยความอวดรู้ อวดฉลาด รู้เท่าไม่ถึงกาล "
ที่ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนั้น ก็เพราะเกิดจากสาเหตุแห่งการทำความเข้าใจในความหมายของภาษา อีกทั้งรวมไปถึงความรู้ ในหลักวิชาการด้านต่างๆของผู้ที่ศึกษา ในพระไตรปิฏก มีความรู้ไม่เพียงพอ จะเรียกว่า มีความรู้น้อยไม่รอบด้านก็ว่าได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พอเขาเหล่านั้น ได้อ่านได้ศึกษาในพระไตรปิฏก ก็เกิดความเข้าใจไปในทางที่บิดเบือนหลักความจริง เพราะความไม่รู้จักความหมายของภาษา หรือบริบท คำแวดล้อมของภาษาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกนั่นเอง จึงทำให้เกิดสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆที่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างเข้าใจเอาเองโดยไม่ได้ศึกษา ค้นคว้า ว่าอะไร คือสมาธิ สมาธิเกิดขี้นได้อย่างไร ผลแห่งความมีสมาธิ เรียกว่า อะไร และผลแห่งสมาธิทั้งหลายเหล่านั้น มีผลต่อสภาพร่างกาย หรือมีผลต่อระบบการทำงานของร่างกายอย่างไร ฯลฯ.
ความในพระไตรปิฏก ไม่ว่าจะ เป็น "สติปัฎฐาน ๔" หรือ "กรรมฐาน ๔๐" แท้จริงแล้ว"เป็นหลักธรรม หรือ เป็นหลักการ หรือวิธีการชั้นวิปัสสนา ไม่ใช้ชั้นสมาธิ เบื่องต้น ข้อย้ำว่า ทั้ง สติปัฏฐาน ๔ และ กรรมฐาน ๔๐ เป็นหลักธรรม หรือเป็นหลัการ หรือวิธีการชั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ชั้นสมาธิเบื้องต้น" อีกทั้ง หลักธรรมทั้งสองหมวดดังที่ได้กล่าวไป ก็เป็นเพียงหัวข้อหลักใหญ่ ซึ่งเป็นตัวรายละเอียด หรือเป็นตัวแยกแยะ เพื่อให้คิดพิจารณา จนจำ ทำความเข้าใจ เป็นการเฉพาะ เช่น อสุภกรรมฐาน อย่างนี้เป็นต้น มาถึงจุดนี้ ท่านทั้งหลายต้องกลับไปอ่านด้านบนให้เกิดความเข้าใจให้ดี เพราะการจะอธิบายนั้น หาคำมาอธิบายไม่ค่อยได้
เอาเป็นว่า สติปัฏฐานสี่นั้น เป็นหลักธรรม หรือหลักการ หรือวิธีการ ในอันที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจ จดจำแก้ไข ในด้านร่างกาย ในด้านควานมรู้สึก ในด้าน สภาพสภาวะจิตใจ และในด้านความรู้ทางหลักวิชชาการที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือความรู้ตามหลักธรรม ที่มีอยู่ โดยความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แยกกันมิได้ เพื่อสร้าง สติ คำว่าจะสติในที่นี้ คือความระลึกได้ อันจักต้องมีสมาธิ เป็นปัจจัย ที่สำคัญยิ่ง ซึ่งข้าพเจ้าเคยได้สอนให้ไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ข้พาเจ้าจะอธิบายอีกครั้งหนึ่งในตอนต่อไป

ส่วน "กรรมฐาน ๔๐ กอง" ก็เช่นกัน ล้วนเป็นหลักการหรือวิธีการเฉพาะทาง เฉพาะด้าน ซึ่งควบคู่ กับ สติปัฏฐาน ๔ จะเรียกว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ได้ แต่ กรรมฐาน เป็นการเจาะจง เป็นเรื่องๆไป
หากท่านทั้งหลายที่ยังไม่รู้ ไม่ได้เรียนในเรื่องดของสติปัฏฐาน และกรรมฐาน ๔๐กอง ก็สามารถศึกษาได้ตามเวบธรรมะต่างๆ เขามีสอนให้เกือบทุกเวบฯ
เมื่อท่่านทั้งหลายได้อ่าน แล้วคิดพิจารณา ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔, และกรรมฐาน ๔๐ กอง ดังที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไปแล้ว และเกิดความเข้าใจ ไม่มีข้อขัด หรือคัดค้าน ข้าพเจ้าก็จะกล่าวหรือสอน ถึง วิธีการปฏิบัติ สมาธิขั้นพื้นฐาน ชั้นเบื้องต้น อันเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ก่อนที่ก้าวไปสู่ขั้น สติปัฏฐาน ๔ หรือกรรมฐาน ๔๐ กอง เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันรูปแบบเดียวกัน ไม่แตกแยก ทางความคิดว่า การปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติสมาธิ เป็นอย่างไรกันแน่ ในตอนต่อไป

เขียนโดย
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ :b8: :b8:

ความสว่างสุกใสของดวงจิต
หมั่นพินิจด้วยปัญญายิ่งสุกใส
อบรมจิตทีละนิดทำเรื่อยไป
อย่าเฉไฉผลัดวันจนเป็นปี :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร