วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 05:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ ๙
ในตอนที่ ๙ นี้จะสืบเนื่องสัมพันธ์ต่อจากตอนที่ ๘ จะเป็นการอธิบายให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาท หน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ศรัทธาในศาสนาใดใดก็ตาม ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ซึ่งคงมีหลายๆท่านที่พอมีความรู้ หรืออาจจะเป็นอาจารย์สอนด้านปฏิบัติสมาธิ เกิดความคิดว่า ทำไม ข้าพเจ้าไม่อธิบายวิธีปฏิบัติ ทำไม่ต้องเยิ่นเย้อ ยืดยาด สาธยาย อธิบายความ ทำให้เกิดความเบื่อสำหรับ ผู้จิตใจรุ่มร้อน ดังเด็กน้อย อยากได้ของเล่น ฉันใดก็ฉันนั้น
ความจริงแล้ว การเรียนรู้ หรือศึกษา ในศาสนา ไม่ได้สร้างให้เกิดความเบื่อ การศึกษาหรือเรียนรู้ ทางศาสนานั้น สนุก แปลก ใหม่อยู่เสมอ หากท่านทั้งหลายได้สัมผัสศาสนาอย่างแท้จริง ไม่มีการเบื่อ เพราะเมื่อเรียนรู้ หรือศึกษา ไปเรื่อย ก็จะพบ ความแปลกมหัศจรรย์ ในระบบการทำงานของสรีระร่างกาย ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านความคิดความรู้สึก อันเกิดจากจิต ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับ ความรู้ที่แต่ละบุคคลได้สั่งสมมา
ในตอนที่๘ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า " การทำใจให้สงบ มิให้คิดฟุ้งซ่านนี้ มีแนวทางการปฏิบัติ หลายด้าน หลายรูปแบบ ยังจะไม่กล่าวถึง เอาเป็นเพียงว่า จะกล่าวถึงเฉพาะการปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีความตั้งมั่น หรือความตั้งมั่นในจิตใจ หรือ สมาธิ เพราะ สมาธิ เป็นปัจจัย หรือเครื่องมือ หรือสิ่งที่จักสร้าง ความมีสติให้กับตัวท่านทั้งหลาย ที่สำคัญยิ่ง"
ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า "สมาธิ" กับการ "ทำให้สงบ มิให้คิดฟุ้งซ่านนั้น " ไม่เหมือนกัน แต่มีความคล้ายคลึงกัน และสัมพันธ์กัน เพราะ
สมาธิ นั้น ทางด้านสภาวะภาพ หรือกายภาพ ของมัน คือ การที่บุคคลมีความสามารถควบคุมคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และคลื่นไฟฟ้าหรือความคิด,หรือความรู้ ความจำ จากสมอง ให้มีระเบียบ แบบแผน ไม่สับสน วุ่นวาย สามารถจัดลำดับ ว่าควรใช้คลื่นฯใดใด ในกิจการใด หรือไม่ควรใช้คลื่นฯใด หรือ สามารถจัดลำดับของ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อระงับ หรือเพื่อปฏิบัติ หรือเพื่อทำให้เกิดสภาพสภาวะแห่งความรู้สึก ตาม ความคิด ความรู้ ความจำ จากสมอง อย่างเป็นระเบียบ อย่างเป็นระบบ มิให้เกิดความสับสน วุ่นวาย
ดังนั้น สมาธิ จึง ต่างจากการ "ทำให้สงบ" เพราะการทำใจให้สงบนั้น หมายถึง การได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ แล้วเกิดความคิด ตามความรู้ ความจำ หากต้องการทำให้ให้สงบ ก็จะมีวิธีการหลายรูปแบบ ดังที่ท่านทั้งหลาย ที่ได้เรียน ได้ศึกษา คงจักมีความรู้อยู่บ้างแล้ว เพราะวิธีการทำให้สงบนั้น จะทำให้เกิดการควบคุม ไม่ให้บุคคลเกิดความคิดฟุ้งซ่าน หรือคิดตามความรู้ ความจำ ที่ได้ประสบมา หรือปรุงแต่ง จาก ความรู้ ความจำเหล่านั้น
อ่านมถึงตรงนี้ ท่านทั้งหลาย ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะทั้ง "สมาธิ" และ"อุบายทำให้ใจสงบ" หรือ"การฝึกจิตให้สงบ" ใกล้เคียงกันมาก แทบแยกไม่ออกเลยก็ว่าได้ แต่หากท่านทั้งหลายได้สังเกต พฤติกรรมของตัวท่านเองแล้วจะพบว่า "ก่อนที่ท่านทั้งหลาย จะทำสิ่งใดก็ตามแต่ หรือก่อนที่ท่านทั้งหลายจะเอาใจจดจ่อในส่งใดก็แล้วตาม คามตั้งมั่นในจิตใจ จะเกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ "การที่ท่านมีความตั้งใจ หรือมีความต้องการ ที่จะประกอบกิจกรรมใดใดก็ตาม ความตั้งใจ ความต้องการของท่านนั้น คือ "สมาธิ" นั่นก็หมายความว่า สมาธิ จะเกิดขึ้นก่อนเพียงเล็กน้อย หากท่านไม่สนใจ หรือไม่ได้สังเกต จะไม่รู้เลยว่า ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะประกอบกิจจกรรมใดใด หรือก่อนที่ท่านทั้งหลายจะเอาใจเข้าไปผูกอยู่ หรือการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น สมาธิ คือ ความตั้งมั่นในจิตใจ ได้เกิดขึ้นแล้ว
ด้วยเหตุที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป ท่านทั้งหลาย ทั้งในอดีต และปัจจุบัน เกิดความหลงผิด ด้วยอวิชชา คือความไม่รู้ อีกทั้งไม่สังเกต หรือสนใจตัวเอง จึงเกิดการเข้าใจไปในทางที่ผิดๆมาโดยตลอด ว่า "สมาธิ" กับ "การฝึกจิตให้สงบ" หรือ "อุบายการทำใจให้สงบ" เป็นสิ่งๆเดียวกัน
แต่ในทางกลับกัน "อุบายการทำใจให้สงบ" หรือ "การฝึกจิตให้สงบ" นั้น ก็สามารถสร้าง "สมาธิ" หรือความตั้งมั่นในจิตใจได้
อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี หรือหากจะอธิบายในอีกรูปแบบหนึ่ง "อุบายการทำใจให้สงบ" หรือ การฝึกจิตให้สงบ"นั้น มีความหมาย หรือ วิธีการ หรือหลักการ ที่หลากหลายรูปแบบ หากท่านทั้งหลาย ได้เรียน ได้ศึกษา "สติปัฏฐาน๔" และ "กรรรมฐาน ๔๐ กอง ประกอบด้วย ก็จะเกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๘ ก.ค. ๒๕๕๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ยินมาว่า สมาธิในการปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิของคนทั่วไปเป็นมิจฉาสมาธิ เลยไม่รู้ว่าสมาธิทังสองนี้แตกต่างกันอย่างไร พอจะอธิบายได้กระจ่างได้ใหมครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ได้ยินมาว่า สมาธิในการปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิของคนทั่วไปเป็นมิจฉาสมาธิ เลยไม่รู้ว่าสมาธิทังสองนี้แตกต่างกันอย่างไร พอจะอธิบายได้กระจ่างได้ใหมครับ


ตอบ.....
สิ่งที่คุณได้ยินมา เป็นความเข้าใจผิด หรือหลงผิดของผู้รู้คนนั้นขอรับ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะไม่อธิบายในรายละเอียด เนื่องจาก ความรู้ของข้าพเจ้าแตกต่าง จากสิ่งที่มีอยู่เดิม ดังนั้นจึงจะไม่อธิบาย
แต่หากคุณต้องการศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องที่คุณถามมา ก็ให้คุณอ่านกระทู้ " การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ตอนที่ ๑๐ (สิบ) " โดยละเอียด และคิดพิจารณาให้ดี ก็จะเกิดความเข้าใจในเรื่อง "สมาธิ" อย่างถ่องแท้ขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron