วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์ทราบค่ะ
ที่ว่่ารู้สึกถึงหัวเข่านั้นคือ รู้อาการเคลื่อนค่ะรู้ว่าเข่าก็เคลื่อน

ไตรลักษณ์นั้นทราบแต่ความหมาย แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร? สามัญญลักษณะนั้น
ไม่ทราบจริงๆค่ะ

จะลองตรองดูตอนออกจากบัลลังค์ตามที่อาจารย์แนะนำนะค่ะ

ส่วนรูปกับนาม คือกายกับจิตใช่ไหมค่ะ?

ข้อแนะนำ 1-3 ทำอยู่ค่ะ แต่ไม่ได้รายงาน กำนดทุกครั้งว่า "อยากนั่งหนอ"
"อยากเดินหนอ" เวลาอยู่ในสมาธิ กลืนน้ำลาย ก็กำหนด "รู้หนอ" เพราะกลืนเร็ว
ได้ยินเสียงก็กำหนด ทุกอย่างประมาณสามครั้งบ้าง หกครั้งบ้างค่ะ ที่กำหนดหาย
ยากคือเสียงค่ะ ไม่ค่อยหาย เพราะห้องที่ทำสมาธิอยู่ใกล้ห้องซักผ้าจะได้ยินเสียงเครื่อง
ตลอดเวลา ก็กำหนดตามที่อาจารย์บอกว่าหกที่ให้ละเลย ก็กลับมาที่เดิมคืออยากเดินหนอ
อยากนั่งหนอ

มีรายงานเพิ่มเติมเมื่อเช้าไม่ได้รายงานเพราะรีบพิมพ์ก็เลยลืมค่ะ ไม่รู้ว่าจะสำคัญไหม?คิดไป
คิดมา น่าจะเรียนให้อาจารย์ทราบ

คือขณะที่เดินมีครั้งหนึ่งที่ "ยกหนอ" "ย่างหนอ" เหยียบหนอ" กำหนดตามทันทุกอย่างแต่
มีเสียงซ้อน และภาพซ้อน คือพอยกหนอ กำลังย่างหนอ ก็มีเสียงและภาพยกหนอตามมา
พอเหยียบหนอ ก็มีภาพและเสียงย่างหนอตามมา เหมือนเสียงสะท้อนในหุบเขา ชัดมากนะค่ะ
ครบทั้งยกย่างเหยียบเลย ไม่ทันกำหนดค่ะ พอครั้งต่อไปก็หายไป ขณะเดินเป็นครั้งเดียว
เหมือนมีคนอีกคนหนึ่งซ้อนตัวเราอยู่ค่ะ ที่ทำตามเราเกือบจะทัน ช้ากว่ากันนิดเดียวค่ะ

ตอนนั่งก็เหมือนกันค่ะ ขณะที่ยุบหนอ กำลังพอง ก็มีเสียงและภาพยุบหนอซ้อนขึ้นมา
พอถึงตอนพองหนอ กำลังยุบหนอ ก็มีภาพและเสียงซ้อนพองหนอมาอีก เหมือนมีอีกคน
ทำตาม หรือเรามีสองคนในตัวเราแบบนั้นแหละค่ะ เป็นประมาณสามครั้งของยุบและพอง
ไม่ได้กำหนด เพราะไม่ทราบว่าจะกำหนดว่าอะไร? ต่อจากนั้นตอนยุบหนอมีความรู้สึกว่า
ยุบจนแฟ๊บเห็นกระดูกสันหลังแนวตั้งและมีซี่โครงขวางสามซี่ตัดกระดูกสันหลัง สี่ดำสนิทเลย
ชัดมาก เป็นติดต่อกันสามครั้ง คือพอพองหนอก็หายไป พอยุบหนออีกครั้งก็เป็นอีก แล้ว
ไม่ทันได้กำหนดก็หายไปเองค่ะ
จึงเรียนมาเพื่อให้อาจารย์พิจารณาค่ะ เมื่อเช้าไม่ได้เรียนให้ทราบเพราะรีบและลืมค่ะ

อนุโมทนา เจริญในธรรมนะค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์ทราบค่ะ
เพิ่งเสร็จจากการเจริญภาวนาค่ะ สารภาพว่ามัวแต่คิดเรืองไตรลักษณ์
คิดไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง? รู้แต่ว่าคือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปใช่ไหมค่ะ?
รายละเอียดมากกว่านี้คิดไม่ออกจริงๆค่ะ
ส่วนเรืองรูปกับนาม ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ค่ะ? ถ้าอาจารย์จะกรุณาโพสต์ให้ก็
จะเป็นพระคุณยิ่ง
รายงานการปฏิบัตินะค่ะ วันนี้เดินแทบจะไม่มีปรากฎการณ์อะไรเลย นอกจากมีความ
รู้สึกว่า ยกย่างเหยียบเกือบจะเป็นอันเดียวกันแล้ว(ความรู้สึกนะค่ะ) แว่บออกก็เหมือน
เมื่อวานคือแป๊ปๆค่ะ ก็กำหนดไปตามนั้น เห็นหนอ เสียงหนอ รู้หนอ อยากเดินหนอ
อ้อ มีเพิ่มอีกหนึ่งคือ "เบื่อหนอ"ค่ะ มีความรู้สึกเบื่อก่อนจะครบเวลาประมาณอีกห้านาที

แต่ตอนนั่ง พอกำหนดอยากนั่งหนอ แล้วพองยุบได้ไม่ถึงห้านาที มีความรู้สึกว่าท่อนล่าง
คือหน้าตักกับมือที่วางอยู่นุ่มจนอ่อนและเบาเหมือนเป็นหมอกควัน ก็กำหนดรู้หนอหกครั้ง
ก็ไม่หายค่ะ ก็กลับมาที่กรรมฐานเดิม สักพักมีความรู้สึกว่าหนักและรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน
คือทั้งเท้าตักและมือที่วางอยู่เป็นอันเดียวกันจากหนักเป็นหิน ก็เปลี่ยนเป็นเบาขึ้นมาหน่อย
แต่ไม่เบาเหมือนครั้งแรกค่ะ ก็กำหนดว่ารู้หนอ ไม่หายค่ะ จนครบกำหนด พอจะออกมี
อาการเบื่ออีก ก็กำหนด เบื่อหนอ อยากออกหนอ พอถึงเวลาออก ก็กำหนด ออกหนอ
พอออกแล้ว ความรู้สึกที่หน้าตักเบาขึ้นมาค่ะ ขณะที่นั้งปวดหลังกำหนดแล้วไม่หาย คงเป็น
เพราะจากงานค่ะ วันนี้ปวดทั้งวัน
อีกนิดก็คือลมแอร์ที่เป่าลงมาโดนเบาๆ ตอนแรกก็กำหนดเย็นหนอหกครั้งตามที่อาจารย์แนะนำ
ไม่หายก็กลับไปที่กรรมฐาน แต่พอนั่งไปได้สักพัก ลมที่เป่าลงมามันเป็นสีขาวสลับดำค่ะ ตอน
แรกไม่รู้ว่าอะไร เหมือนคนเอาผ้ามาสะบัดข้างๆ ก็กำหนดรู้หนอ ก็ไม่หาย ก็เลยกลับมาที่กรรมฐาน
ก็ไม่หาย นึกรู้ว่าเป็นลมแอร์ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นสีขาวสลับดำ จริงแล้วลมแอร์อ่อนมากๆ
ไม่แรงเลยนะค่ะ คือถ้าปกติโดนที่รู้ว่าเป็นลมแอร์เพราะเย็นเท่านั้นเอง ไม่ได้ติดใจแต่เล่าเพื่อการ
พิจารณาค่ะ อีกนิดค่ะ วันนี้มีความรู้สึกว่าร้อนแว่บหนึ่ง ทั้งๆที่อยู่ห้องแอร์ และมีอาการเบื่อนิดหนึ่ง
และกระสับกระส่ายอยากออกอีกนีดหนึ่ง กำหนดตามก็หายค่ะ

เรียนมาเพื่อทราบ ขอบคุณค่ะ อนุโมทนา เจริญในธรรมนะค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรลักษณ์เป็นสมมุติ อย่าไปยึดเวลาปฏิบัติมีอารมณ์เดียวตามรู้ตามจริง และวางเฉย
สมมุติ กะเปาะไข่ จะถูกลูกไก่เจาะ ต่อเมื่อลูกไก่โตเต็มที่ แล้วจเกะเปษะออกมาเองไม่มีอะไรไปเร่ง
ไปทำให้มันออกมา ก่อนเวลามันก็ตาย ฉันใด เรานักปฏิบัติก็ ทำๆๆๆตามรู้ตามจริงอย่างตั้งใจไปๆก็พอ
ถึงเวลาเราก็เจาะ กะเปาะกิเลส3ตัว ทั้งทุกข์หลุดพ้นเป็นสมุจเฉทปะหาน จบทั้งภพ
:b6:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีภาวนาพระไตรลักษณ์

พระไตรลักษณ์ เดิมทีนั้นเรียกกันว่า ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา)ที่หมายความว่า ความกำหนดที่แน่นอนแห่งธรรมหรือธรรมชาตินั่นเอง, ส่วนไตรลักษณ์ และคำว่าสามัญลักษณะ ที่มีความหมายเดียวกันนั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลังในยุคอรรถกถา, เป็นธรรมที่แสดงถึงลักษณะหรือกฏของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ และเป็นสิ่งลี้ลับ แต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านได้ทรงหงายของที่ควํ่าอยู่ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยประสงค์ว่าผู้มีจักษุจะได้แลเห็น กล่าวคือทรงแสดงสภาวธรรมหรือธรรมชาติอันลี้ลับที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้อย่างแจ่มแจ้งมาก่อน และโดยเฉพาะในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพื่อนำไปใช้ในการดับทุกข์ อันยากยิ่งต่อการหยั่งรู้ได้อย่างแจ่มแจ้งแท้จริง, ทรงเปิดหงายของที่คว่ำอยู่ ขึ้นแสดงแก่ชาวโลกด้วยพระกรุณาคุณ ทรงแสดงพระไตรลักษณ์อันเป็นสภาวะแห่งธรรมหรือธรรมชาติของเหล่าสังขารและธรรมทั้งปวง ว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงอันเกิดแต่เหตุปัจจัยล้วนสิ้นว่า ต่างล้วนอยู่ภายใต้อํานาจของ อนิจจัง, ทุกขัง และธรรมทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตา, เป็นธรรมที่ทำให้เกิดนิพพิทาญาณคือความหน่ายจากการไปรู้ความจริง จึงคลายกำหนัดหรือตัณหา เพื่อการนําออกและละเสียซึ่งเหล่าตัณหา,อุปาทานในขั้นปัญญาหรือวิปัสสนา ดังมีพุทธพจน์ตรัสสอนเกี่ยวกับธรรมนิยาม ใน อุปาทสูตร ไว้ดังนี้

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง
(อนิจจัง - อนิจจตา)

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
สังขารทั้งปวง
คงทนอยู่ไม่ได้
(ทุกขัง- ทุกขตา)

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ธรรมทั้งปวง
ไม่เป็นตัวตน
(อนัตตา- อนัตตตา)


โปรดสังเกตุคำว่าสังขารและธรรมในพระดำรัสนี้ ดังนั้นก่อนอื่น จึงควรทําความเข้าใจในคําว่าสังขารและธรรมให้ถูกต้องดีงามเสียก่อน จึงจะเจริญวิปัสสนาได้แจ่มแจ้ง

สังขาร ในทางพุทธศาสนาหรือทางธรรมแปลว่า สิ่งปรุงแต่ง หรือ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น, สิ่งหรือผลที่เกิดขึ้น มาแต่มีเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยคือเครื่องสนับสนุนปรุงแต่งแก่กันและกันขึ้นมา จึงมิได้หมายถึงสังขารที่แปลกันทั่วไปว่าร่างกายแต่อย่างเดียว แต่เป็นภาษาธรรมหรือบาลีที่มีความหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น จึงครอบคลุมทั้งฝ่ายรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น และกาย ดังเช่น สังขารร่างกาย โต๊ เสื้อ ฯลฯ. และฝ่ายนามธรรม ที่แม้ไม่มีตัวตนเป็นกลุ่มก้อนให้สัมผัสได้ด้วยอายตนะภายในทั้ง ๕ เหมือนรูปธรรมแต่สามารถสัมผัสสรู้มวลของเหตุได้ด้วยอาตนตนะที่๖ คือใจ ดังเช่น เวทนา สัญญา วิญญาณ ฯลฯ.ที่ต่างล้วนเกิดแต่เหตุมาเป็นปัจจัยกันทั้งสิ้น ที่จักกล่าวแสดงโดยละเอียดเป็นลำดับไป ดังนั้นทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรมจึงล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆหรือหลายๆสิ่ง มาเป็นปัจจัยหรือประชุมหรือรวมตัวกัน เพื่อยังให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งๆขึ้น, อันเมื่อรวมตัวหรือประชุมกันอยู่นั้น หรือก็คือปรุงแต่งกันอยู่นั้น โดยความจริงแท้แล้วจึงเป็นมายาที่เพียงแต่ แลดูเสมือนว่า หรือประหนึ่งว่า ดั่งเป็นสิ่งๆเดียวหรือชิ้นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแท้ขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์)แล้ว "ยังคงมีสภาพเกิดจากการประกอบหรือประชุมปรุงกันอยู่" กล่าวคือ ย่อมไม่สามารถเชื่อมหรือรวมกันจนเป็นสภาวะสิ่งๆเดียวหรือเนื้อเดียวกันอย่างแท้จริงได้ มันเองก็มีสภาวะที่ถูกบีบคั้นปรุงแต่งให้เกิดขึ้น จึงมีความไม่เสถียรหรือแปรปรวนโดยธรรมหรือธรรมชาติ ก็เพราะความที่ไม่ใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริง นั่นเอง หรือก็คือมันจึงเกิดสภาวะที่ไม่สามารถรวมตัวกันอยู่ได้อย่างเที่ยงแท้และถาวรโดยธรรมหรือธรรมชาติ อุปมาอย่างหยาบๆพอให้เห็นได้ก็คือ เหล็กชิ้นเดียว ย่อมมีความแข็งแรงกว่าเหล็กที่นำมาประกอบกันหรือปรุงแต่งประกอบกันด้วยน๊อตหรือกาว แม้ต่างต้องแปรปรวนแตกหักดับไปเหมือนกันก็ตามที กล่าวคือธรรมชาติมีสภาวธรรมที่มีแรงบีบคั้น ผลักดันให้สังขารคืนสภาพ สู่สภาพเดิมๆ หรือธรรมชาติเดิมๆ โดยวิธีการต่างๆกันไปนั่นเอง

สังขารในไตรลักษณ์จึงหมายถึง สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน จึงหมายถึง ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมาแต่เหตุปัจจัยนั่นเองทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม(คือทั้งฝ่ายวัตถุ และทั้งฝ่ายจิต), โลกียธรรม โลกุตรธรรม กาย จิต ขันธ์๕ ทุกๆสิ่ง...ฯลฯ. อันยกเว้นแต่เพียงสิ่งเดียวคือ อสังขตธรรม ที่หมายถึง ธรรมหรือสิ่งที่ไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง อันได้แก่เหล่า สภาวธรรมหรือธรรมชาติ นั่นเอง ดังเช่น พระนิพพาน ฯลฯ.

[ควรทำเข้าใจความหมายของสังขาร ที่เจาะจงเฉพาะทางของสังขารนั้นๆ ดังเช่น สังขารในปฏิจจสมุปบาท, สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในไตรลักษณ์ให้ชัดเจน ที่แม้ล้วนเป็นสังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น มิฉนั้นเมื่อเวลาพิจารณาเจริญวิปัสสนาหรือโยนิโสมนสิการจะเกิดความสับสนและงุนงง จนเกิดวิจิกิจฉาในธรรมขึ้นได้, คลิกดูคําอธิบายเฉพาะเจาะจงภายหลังได้ ที่นี่ ]

"สังขาร"ที่กล่าวว่า สิ่งปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ด้วยเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน ดังเช่น สังขารร่างกาย ก็เป็นสังขารที่เกิดแต่เหตุปัจจัยของธาตุ ๔, ชีวิต ก็เป็นสังขารที่เกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕, แม้แต่เวทนาหรือเวทนาขันธ์ คือความรู้สึก อันเป็นนามธรรม ก็เป็นสังขารอย่างหนึ่งเช่นกัน ก็เกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง หรือการเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึง"เกิด"ขึ้น ดังนี้

อายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ๖ ผัสสะ สัญญา เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข, ทุกข์, ไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา

กล่าวคือ จะพิจารณาเห็นได้ว่าเวทนานั้นเกิดขึ้นหรือมีชาติขึ้นมาแต่เหตุปัจจัยมาปรุงแต่งกันดังข้างต้น คือ เกิดแต่เหตุอันมีอายตนะภายนอกต่างๆ กับอายตนะภายในต่างๆ ตลอดจน วิญญาณ๖ จึงยังให้เกิดการผัสสะกันขึ้น และเกิดสัญญาขึ้น กล่าวคือ มีเหตุต่างๆเหล่านี้ มาเป็นปัจจัย ยังให้เกิดเวทนาขึ้น ฯ. ดังนั้นเวทนาแม้เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตนแท้จริง เป็นนามธรรม เป็นความรู้สึกรับรู้เมื่อเกิดการผัสสะขึ้นเท่านั้น จึงเป็นสังขารในทางธรรมเช่นกัน, ขันธ์อื่นๆทุกขันธ์ก็เป็นสังขารดังนี้เช่นกัน, จิต ก็เป็นสังขารอย่างหนึ่ง เกิดแต่เหตุปัจจัยของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และยังต้องอาศัยสังขารกายหรือรูปเป็นเหตุปัจจัยร่วมอีกด้วย, โต๊ะ ก็เป็นสังขาร เกิดแต่เหตุปัจจัยของไม้ ตะปู กาว ตลอดจนกรรม(การกระทำ)ในการประกอบกันขึ้น ฯ., การพูด การคิด การกระทำทางกายต่างๆ ก็ล้วนเป็นสังขาร เป็นผลที่เกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ ที่ทำงานประสานเนื่องสัมพันธ์กัน จึงเกิดสังขารที่เรียกกันเจาะจงเฉพาะตัวลงไปอีกว่าสังขารขันธ์, เมฆที่เห็นบนทั้งฟ้า ก็เกิดแต่เหตุปัจจัยของการระเหยของนํ้า ไอนํ้า ฝุ่น ความร้อนเย็น ฯ. จึงเป็นสังขาร, พระอาทิตย์ก็เป็นสังขาร เกิดแต่เหตุปัจจัยของมวลหมู่ก๊าซต่างๆ ตลอดจนการลุกไหม้ ฯ., รถยนต์ก็เป็นสังขาร เกิดแต่เหตุปัจจัยของวัตถุธาตุต่างๆมาประกอบกัน พร้อมทั้งการกระทำ(กรรม)เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น, ลองพิจารณาในสิ่งต่างๆที่ท่านได้เห็น ท่านได้ยิน ท่านได้สัมผัสด้วยอายตนะใด ฯ. ต่างล้วนเป็นสังขาร กล่าวคือ เกิดแต่เหตุต่างๆมาประชุมเป็นปัจจัยกันนั่นเอง ที่สำคัญที่สุดที่ควรรู้ยิ่ง แม้แต่ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นสังขารเช่นกัน จึงมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นไปดังวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จึงเกิดขึ้นเป็นความทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนได้ ดังนั้นสังขารจึงครอบคลุมแทบทุกสรรพสิ่งจริงๆ ยกเว้นเพียงอสังขตธรรมหรือธรรมที่ไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจจัยปรุงแต่งเท่านั้น

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณทักทาย
สภาวะที่เกิดแก่คุณนั้น ผมได้อ่านแล้ว โดยปกติเมื่อถึงสภาวะตอนนี้ บางคน
จะส่งให้ผู้ปฏิบัติเข้าเขตวิปัสสนาญาณเลย แต่ผมเห็นว่า น่าจะกดไว้หน่อยหนึ่งก่อน
ซัก ๑-๒ วันก่อน เพราะอินทรีย์(ความเป็นใหญ่ในกิจ)ของคุณบางอย่างยังอ่อนไป
น่าจะต้องเสริมเข้าไปบ้าง แต่ เพียงย่อเท่านั้น เนื้อความโดยมากมีอยู่ตามเวบธรรมะทั่วไป
จะลองหารายละเอียดเพิ่มก็ได้

ลองทำความรู้จักในเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนากันก่อน

ในบรรดาสิ่งทั้งปวงในโลก ที่ปรากฏให้คุณทักทายได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัส ไม่ว่าจะทาง
ใดๆก็ตาม เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย(หมายถึงการสัมผัสได้ เช่น การจับต้อง) และใจ สิ่งนั้นจะเป็น
อะไรก็ตาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ท่านจัดเป็น ๒ อย่าง คือ รูป และ นาม

คำว่า รูป หมายถึงสิ่งที่ปรากฏ กล่าวคือปรากฏแก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และในขณะเดียว
กันเอง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็จัดเป็นรูปไปด้วย
นาม หมายถึง จิตที่น้อมไปรับรู้ลักษณะอาการของรูป น้อมไปเข้าใจ รู้สึกถึงอาการต่างๆของรูป
โดยที่ลักษณะหรือสัณฐานของนามนั้นไม่มี จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น

ทั้ง ๒ อย่างนี้มีตัวอย่างคือ เมื่อคุณเห็นแจกัน แจกันปรากฏได้แก่ตาคุณ ฉนั้น แจกันกับตาเป็นรูป
ใจที่รู้ว่าแจกัน จัดเป็นนาม หรือ เมื่อความเจ็บปวดเกิดขึ้น ความเจ็บปวดนั้นเป็นรูปส่วนใจที่รู้สึกเจ็บ
นั้นเป็นนาม เสียงเพลงเกิดขึ้น หูได้ยินเสียงนั้น หูและเสียงเป็นรูป ใจที่รู้ว่าเสียงเป็นนาม

ในที่นี้จะกล่าวง่ายๆ และอธิบายในส่วนที่จะเข้ามาเกี่ยวกับการปฏิบัติของคุณโดยตรงเท่านั้น เพราะ
ไม่ใช่การแต่งหนังสือ ตอนนี้คุณอยู่สภาวะในระดับใด ควรรู้ควรเข้าใจเรื่องใด ก็จะเติมในส่วนนั้น

ขันธ์ ๕

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ ประกอบไปด้วย ๒ อย่างคือ รูปและนาม
โดยที่เราเห็นรูปต่างๆกันไป เราสัมผัสต่างๆกันไป จึงเกิดเป็นบัญญัติเพื่อความเข้าใจกันได้ เรียกว่า
สมมติบัญญัติ(รู้โดยสมมติ)หรือสมมติสัจจะ(จริงโดยสมมติ) สิ่งที่เป็นสมมติบัญญัติหรือสมมติสัจจะนั้น
ไม่ใช่สิ่งที่จริงแท้ เมื่อไล่ย้อนตามที่มาที่ไปก็จะไม่ใช่ความจริง เช่น รถ ที่เราเรียกว่ารถ แท้จริงนั้น
เมื่อไล่ตามที่มาที่ไป ก็หารถไม่เจอ เจอแต่ ล้อ ยาง น๊อต เป็นตั้น เมื่อใช้สมมติบัญญัติหรือสมมติสัจจะ
กันมาก ก็มองไม่เป็นความจริงในข้อนี้ กลับยึดถือเป็นของจริงแท้ไป เรียกในภาษาธรรมะว่า อัตตา
คือไปถือความเป็นตัวเป็นตนไป เช่น เมื่อพูดถึงรถ ก็ไม่มีใครคิดถึง ล้อ ยาง คิดเป็นรถเป็นคันๆเลย

ข้อนี้ฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้น อวัยวะทุกส่วนล้วนประกอบขึ้นมาจาก
ธาตุต่างๆ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อมาประชุมกันแล้ว วิวัฒนาการเข้ากับธรรมชาติ(เหตุ,ปัจจัย) ก็เป็นร่าง
กายให้เราเห็น เมื่อไม่ได้นึกถึงความจริงนี้ การยึดถือเป็นอัตตาหรือเป็นตัวเป็นตนก็เกิดขึ้น เป็นที่มา
ของทุกข์ต่างๆและทำให้วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนี้

แต่มีความจริงอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่าจริงอย่างยิ่ง กล่าวคือ ไม่มีอะไรจะจริงไปกว่านี้แล้ว จริงโดยที่สุด
ไม่สามารถไล่ย้อนไปพบสิ่งอื่นได้อีก เรียกว่า จริงโดยปรมัตถ์ หรือ ปรมัตถสัจจะ มี ๔ อย่างคือ
จิต เจตสิก รูป นิพพาน
การอธิบายนิพพานต้องยกไว้ก่อน ให้รู้ไว้ว่า นิพพานคือสภาวะดับตัณหา และมีอยู่จริงโดยปรมัตถ์เท่านั้นพอ

ท่านอธิบาย จิต เจตสิก รูป ดังนี้

จิต หมายถึง ตัวรู้ คือ รู้สภาวะต่างๆ รู้ลักษณะต่างๆ รู้อารมณ์ต่างๆ
เจตสิก หมายถึงสิ่งที่ประกอบเข้ากับจิต คือ เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต มีที่เกิดเดียวกับจิต และมีสภาพกลมกลืน
ไปกับจิต
รูป ความหมายตามที่อธิบายไปบางส่วนแล้ว

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ล้วนประกอบด้วยขันธ์ ๕ ขันธ์ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

รูป ตามความหมายที่อธิบายย่อๆไว้แล้ว
เวทนา ได้แก่ ความรู้สึก ท่านจัดเป็น ๓ คือ สุข ทุกข์ และ เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
สัญญา ได้แก่ การจำได้หมายรู้ เป็นส่วนความจำของจิต
สังขาร ได้แก่ อารมณ์หรือสิ่งที่มาปรุงแต่งจิต ให้เป็นไปต่างๆนานๆ เช่น รัก เกลียด ชอบ เป็นต้น
วิญญาณ ได้แก่ การรับรู้ คือ จิต นั่นเอง

ทั้ง ๕ อย่างนี้ ท่านจัดเป็น จิต เจตสิก รูป ได้ดังนี้

วิญญาณ จัดเป็น จิต
เวทนา สัญญา สังขาร จัดเป็น เจตสิก
รูป จัดเป็นรูปดังเดิม

และ จิต เจตสิก รูป เมื่อสรุปแล้ว จัดเป็น ๒ คือ รูป และนาม โดยที่ จิต เจตสิก เป็นนาม รูป เป็นรูป
ถ้าในคนและสัตว์ ก็เรียกว่ามีรูปนาม หรือ กายใจ นั่นเอง

ไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ

คำว่า ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะ ๓ อย่างคือ
อะนิจจะตา ความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ตั้งอยู่เหมือนเมื่อเกิดขึ้น (อะนิจจัง)
ทุกขตา ความเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้น (ทุกขัง)
อนัตตะตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตน (อนัตตา)

ลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้ มีอยู่ในรูปและนาม หรือ กายและใจ ทุกอย่างทุกประเภท ท่านจึงเรียกลักษณะ
๓ อย่างนี้ว่า สามัญญะลักษณะ คือ ลักษณะที่ทั่วไปแก่รูปนามทั้งปวง และเมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
เมื่ออินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าแล้ว เริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ลักษณะทั้ง ๓ นี้จะปรากฏให้เห็นพร้อมกับการ
รับรู้รูปนามที่ปรากฏ โดยย่อที่ปรากฏให้เห็นมีดังนี้

อะนิจจะลักษณะ ความไม่เที่ยง คือรูปนาม หรือ ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นทางทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เมื่อเกิดขึ้น ย่อมดับไปพร้อมกัน เกิดที่ใด ย่อมดับไปที่นั่น เกิดขึ้นแล้ว ดับไปทันที
ทุกขะลักษณะ ความเป็นสภาพถูกบีบคั้น หมายถึงรูปนามที่เกิดทางทวาร ๖ ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและดับไป
ตลอดเวลา ทุกข์ แปลว่าทนไม่ได้ ที่ว่าทนไม่ได้เพราะถูกบีบคั้น คือถูกบีบคั้นด้วยการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
อนัตตลักษณะ ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตน คือรูปนามทั้งหมด ล้วนมาจากธาตุ แปรเปลี่ยนไปตามเหตุ
ตามปัจจัยที่ปรุงแต่งสืบๆมา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

สิ่งที่ปิดบังไม่ให้เห็นลักษณะทั้ง ๓

อนิจจตา ความไม่เที่ยง มี สันตติ ปิดบังไว้ สันตติ ได้แก่การสืบต่อของรูปและนามอย่างต่อเนื่องไป ในกรณีของรูป
คล้ายกับการ์ตูนที่เราดูอยู่ มาจากการสืบต่อของภาพแต่ละเฟรม เช่น ใน ๑ วินาที ใช้ภาพทำภาพเคลื่อนไหว ๒๑ ภาพ
เป็นต้น แต่ของรูปนั้น ละเอียดกว่ามาก ในหนึ่งขณะ อาจกล่าวได้ว่า เป็นล้านๆเฟรมเลย ตามจำนวนของจิตที่รับรู้
การสืบต่อที่รวดเร็วนี้ ทำให้เราไม่เห็นว่า รูปที่เกิดขึ้นอันแรกดับไป รูปที่เกิดใหม่ เกิดขึ้น ดับไป รูปต่อๆมาก็เกิดขึ้น
ดับไป สืบๆกันไป สืบต่อกันอย่างรวดเร็ว เพราะเหตุนี้เอง เราจึงไม่เห็นความจริงของการเกิดดับของรูปนาม เราเห็นแค่
การเกิดดับที่หยาบที่สุด คือ จากเดก็กเป็นผู้ใหญ่ แล้วแก่ เป็นต้น ในการยกแขนแต่ละครั้ง มีรูปเกิดขึ้นดับไป สืบต่อกัน
ไปอย่างมากมายและรวดเร็ว ทำให้เราเข้าใจว่า แขนที่ยกนั้น เป็นอันเดียวกันตลอด แท้จริงแล้ว เป็นตามที่อธิบายมา
นามก็เช่นเดียวกัน ในการคิด ๑ ขณะ หรือที่สมัยนี้ประมาณเพื่อง่ายต่อการศึกษาคือ ๑ วินาที มีจิตหรือนามนี้ เกิดขึ้น
นับล้านๆดวง(ในปรมัตถ์บอกไม่ได้ว่าเป็นดวง แต่คำนี้ใช้เป็นหน่วยของจิต เพื่อง่ายต่อการศึกษา) เกิดดับสืบต่อกันไป
อย่างรวดเร็วตามสภาวะของรูปที่จิตกำลังรับรู้อยู่เสมอ โดยจิตที่เกิดก่อนสำเนาลักษณะจิตจากดวงแรกแล้วเกิด ดวงต่อๆ
มาก็เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เอง การสืบต่อนี้ จึงปกปิดข้อเท็จจริงของรูปนามไว้ ทำให้เราเข้าใจว่า เป็นรูปนามอันเดียวกัน
เช่น เราวันนี้กับเมื่อวานเป็นคนเดียวกันเป็นต้น แท้จริงแล้ว คนละรูปละนาม แต่ว่า สำเนาแล้วสืบต่อกันมาอย่างรวดเร็ว
จนจับไม่ได้

ทุกขตา ความถูกบีบคั้นจากการเกิดดับ เป็นเหตุให้ทนไม่ได้ ก่อนอื่น ต้องเข้าใจเรื่องทุกข์ให้มากกว่านี้อีกหน่อย
ทุกขะลักษณะมี ๓ คือ

๑.ทุกข์แท้ ได้แก่การทนไม่ได้ต่อเวทนาที่ไม่สบายกายหรือใจ ในขณะที่รับรู้อยู่
๒.ทุกข์แปรเปลี่ยน ได้แก่ สุขที่กำลังได้รับอยู่ทางกายทางใจ ไม่ตั้งอยู่แบบเดิม แปรเปลี่ยนไปตามขณะ
๓.ทุกประจำสังขาร ได้แก่ ลักษณะที่ถูกบีบคั้นด้วยความเกิดดับอยู่เสมอ เช่น รูปนามเกิดดับ จากเด็กสู่ชรา เป็นต้น

ทุกขตาตามที่อธิบายมา ๔กปิดบังด้วยอิริยาบถ คำว่า อิริยาบถ หมายถึง ไปสู่กิริยาอื่น คือเมื่อนั่งนาน หรือ นอนนาน
ยืนนานๆ เดินนานๆ ก็เกิดความไม่สบาย เป็นทุกข์ ก็เปลี่ยนอิริยาบถไป พลิกบ้าง เดินบ้าง ก็ทำให้สบายขึ้น ทำให้ไม่
ได้นึกถึงความทุกข์จากหยาบไปสู่ละเอียด ต่อเมื่อมาปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว จักเห็นข้อนี้ได้ชัด

อนัตตะตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตน มี ฆะนะสัญญา ปิดบังไว้ คำว่าฆะนะ แปลว่ากลุ่มหรือก้อน กล่าว
คือ เราเข้าใจว่า เป็นตัวเป็นตน เพราะมีกลุ่มก้อนเหล่านี้ปิดบังไว้

๑.กลุ่มก้อนของการสืบต่อ เช่น รูปนามสืบต่อกันอย่างรวดเร็วจึงดูเหมือนว่าเป็นตัวเป็นตน ไม่สามารถแยกรูปนามได้
๒.กลุ่มก้อนโดยความเป็นก้อน คือ รูปนามรวมกันอยู่ เกาะกันอยู่ ดุจก้อนดินเหนียว เราจึงเข้าใจว่าเป็นตัวตน เช่น ดื่มน้ำ
เราก็รู้ว่าดื่มน้ำ โดยแยกไม่ออกว่า ขณะนั้น มีทั้งรูปที่ดื่ม(คนดื่มกับน้ำ) และใจที่รับรู้ (นาม)
๓.กลุ่มก้อนโดยกิจ กล่าวคือเราทำสิ่งใดก็ตาม รูปนามแต่ละขณะต่างกัน แต่ทำหน้าที่อย่างเข้ากัน เราจึงสำคัญเป็นตัวตน เช่น
ในขณะกินน้ำ รูปนามตอนนั้นมีทั้ง ยืน(ถ้ายืน) ยกแขน กลืน รู้รส ความรู้สึกในท้อง ความรู้สึกอิ่มน้ำ เป็นต้น
นามก็รู้ตามลักษณะของรูปไปเช่นรับรู้ยืน รับรู้รสเป็นต้น แต่ตอนนั้นเราแยกไม่ออก ไม่เข้าใจรูปนามโดยความไม่ใช่ตัวตน
ไม่มีตัวตน เราจึงรับรู้เพียงว่า กิน หรือ ดื่มน้ำ
๔.กลุ่มก้อนของอารมณ์ อารมณ์ต่างๆที่จิตรับรู้อยู่ ต่างสภาวะกัน เกิดดับสืบกันไป แต่ทำหน้าที่ประสานกัน เช่น การเห็นสีขาว
และสีดำ จิตแต่ละขณะที่เห็นมีอารมณ์ที่คล้ายกัน แต่จิตที่เห็นสีขาวดับไป จิตที่เห็นสีดำเป็นจิตอื่น ไม่ใช่จิตที่เห็นสีขาว เป็นต้น
เราแยกกันไม่ออก เลยเข้าใจว่าเป็นตัวตน(อันเดียวกัน)

ในข้อเหล่านี้เป็นแต่เพียงย่อๆเท่านั้น เห็นว่ากำลังพอดี ให้ลองอ่านแล้วทำความเข้าใจ เปรียบเทียบกับสภาวะที่เกิดขึ้นกับเรา

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนอาจารย์ทราบค่ะ

ที่ว่่ารู้สึกถึงหัวเข่านั้นคือ รู้อาการเคลื่อนค่ะรู้ว่าเข่าก็เคลื่อน

เป็นเรื่องปกติที่กายสงบ เวลาอะไรทำงานอยู่ในร่างกายเรา เราจะรู้สึกง่าย
แต่จริงแล้ว ข้อนี้ถ้าลองทำความเข้าใจเรื่องเหตุผลของรูปนาม คุณจะเข้าใจ
รูปนามอีกมิติหนึ่งเลย กำหนดรู้หนอๆ แล้วไปที่เท้าที่เรากำหนดอยู่ครับ

ไตรลักษณ์นั้นทราบแต่ความหมาย แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร? สามัญญลักษณะนั้น
ไม่ทราบจริงๆค่ะ
จะลองตรองดูตอนออกจากบัลลังค์ตามที่อาจารย์แนะนำนะค่ะ
ส่วนรูปกับนาม คือกายกับจิตใช่ไหมค่ะ?


ผมโพสย่อๆไว้แล้ว ลองอ่านดู แล้วลองเปรียบเทียบว่าอะไรเป็นรูปเป็นนาม
อะไรเป็นไตรลักษณ์ ลองค่อยๆพิจารณาดูเวลาว่างๆ ลองทบทวน อันนี้จะเรียกว่า
ประจักษ์เลย ไม่ใช่อ่านหนังสือแล้วนึกเอา ลองดูว่า อาการไหนจะเป็นอะไร เรียกว่าอะไร
ข้อนี้เองที่ผมต้องให้คุณอยู่สภาวะนี้ไว้ก่อน เพราะปัญญินทรีย์คุณน้อยไป(ปัญญาในการ
กำจัดกิเลส) ถ้าผ่านไปโดยที่ไม่เพิ่มตรงนี้ เมื่อไปสูงอีกหน่อย คุณจะไม่เข้าใจสภาวะ แล้ว
จะทิ้งกรรมฐานเลย เพราะที่คุณเจออยู่ตอนนี้ เล็กน้อยมาก สูงขึ้นไปถ้าไม่เข้าใจเรื่อง
สภาวะหรือไตรลักษณ์ คุณทิ้งกรรมฐานง่ายๆเลย บางทีเบื่อหรือกลัวหรือหลงผิดไปเลย

ข้อแนะนำ 1-3 ทำอยู่ค่ะ

อนุโมทนาครับที่ยังรักษาข้อกำหนดได้ดี สัทธินทรีย์ (ศรัทธา ความเชื่อ , การเชื่อคำแนะนำ
จัดเป็นความเชื่อที่อยู่ในอินทรีย์ ๕ ด้วยโดยอนุโลม)
แนะนำข้อนี้ว่า เวลาได้รับสภาวะจากข้างนอก ถ้าเป็นสภาวะเกิดซ้ำๆ บ่อยๆ ก็กำหนดตามที่คุณเข้า
ใจเลย การกลืนน้ำลายข้อนี้ ถ้าสติไว จะรู้จิตที่อยากกลืนได้ง่าย ผมใช้อยู่คือ อยากกลืนหนอ
กลืนหนอ - รู้อาการไหลลงของน้ำลายที่คอ

มีรายงานเพิ่มเติมเมื่อเช้าไม่ได้รายงานเพราะรีบพิมพ์ก็เลยลืมค่ะ ไม่รู้ว่าจะสำคัญไหม?คิดไป
คิดมา น่าจะเรียนให้อาจารย์ทราบ


ระวังนะครับ การส่งอารมณ์ไม่ครบ แม้จะปฏิบัติดี ก็อาจทำให้วิปัสสนาเจริญได้ช้ากว่าที่ควร
ข้อนี้สำคัญเลย

คือขณะที่เดินมีครั้งหนึ่งที่ "ยกหนอ" "ย่างหนอ" เหยียบหนอ" กำหนดตามทันทุกอย่างแต่
มีเสียงซ้อน และภาพซ้อน คือพอยกหนอ กำลังย่างหนอ ก็มีเสียงและภาพยกหนอตามมา
พอเหยียบหนอ ก็มีภาพและเสียงย่างหนอตามมา เหมือนเสียงสะท้อนในหุบเขา ชัดมากนะค่ะ
ครบทั้งยกย่างเหยียบเลย ไม่ทันกำหนดค่ะ พอครั้งต่อไปก็หายไป ขณะเดินเป็นครั้งเดียว
เหมือนมีคนอีกคนหนึ่งซ้อนตัวเราอยู่ค่ะ ที่ทำตามเราเกือบจะทัน ช้ากว่ากันนิดเดียวค่ะ
ตอนนั่งก็เหมือนกันค่ะ ขณะที่ยุบหนอ กำลังพอง ก็มีเสียงและภาพยุบหนอซ้อนขึ้นมา
พอถึงตอนพองหนอ กำลังยุบหนอ ก็มีภาพและเสียงซ้อนพองหนอมาอีก เหมือนมีอีกคน
ทำตาม หรือเรามีสองคนในตัวเราแบบนั้นแหละค่ะ เป็นประมาณสามครั้งของยุบและพอง


สาธุ อนุโมทนากับคุณทักทาย
ผมยังไม่บอกว่าคืออะไร แต่ถ้าเทียบกับจุดประสงค์ของการปฏิบัติ
ได้ ๑๕ ส่วนใน ๑๐๐ ส่วน แต่ก็ดีครับ ดีกว่าคนเกิดมาทั้งชีวิตแล้วไม่เห็นสภาวะอันนี้
ลองดูครับ ตรงนี้ที่คุณไม่รู้ เพราะขาดอินทรีย์คือปัญญา สภาวะนี้ เมื่อประสบ ต้องเข้าใจ หากไม่
เข้าใจ ไม่เรียกว่าวิปัสสนา เพราะไม่มีปัญญาเห็น
สติดี สมาธิดี ก็เห็นได้

ให้กำหนด รู้หนอๆ ครับ เมื่อหายไป ก็กลับไปที่มูลกรรมฐาน มาพิจารณานอกบัลลังค์


ไม่ได้กำหนด เพราะไม่ทราบว่าจะกำหนดว่าอะไร?

กำหนด รู้หนอ ครับ คือรู้ในสิ่งที่เห็น


ต่อจากนั้นตอนยุบหนอมีความรู้สึกว่า
ยุบจนแฟ๊บเห็นกระดูกสันหลังแนวตั้งและมีซี่โครงขวางสามซี่ตัดกระดูกสันหลัง สี่ดำสนิทเลย
ชัดมาก เป็นติดต่อกันสามครั้ง คือพอพองหนอก็หายไป พอยุบหนออีกครั้งก็เป็นอีก แล้ว
ไม่ทันได้กำหนดก็หายไปเองค่ะ
จึงเรียนมาเพื่อให้อาจารย์พิจารณาค่ะ เมื่อเช้าไม่ได้เรียนให้ทราบเพราะรีบและลืมค่ะ
อนุโมทนา เจริญในธรรมนะค่ะ


อนุโมทนาอีกครั้งครับ บุญของคุณที่เห็นแบบนี้ ตอนนี้ผมมั่นใจแล้วว่า การปฏิบัติของคุณ
เข้าเขตวิปัสสนาญาณแล้วอย่างอ่อน คุณไวมาก แสดงว่าอินทรีย์ได้ดุลย์กันดีพอควร
อาการแรกผมไม่บอก แต่อาการนี้ผมบอก เพราะมุมนี้ผมไม่ได้เขียนไว้ตรงๆใน
การอธิบายย่อไว้ กำหนด รู้หนอๆ ใจเป็นกลางนะครับ อีกอย่าง อาจารย์ผมเคยอธิบายให้เมื่อผมเจอ

อาการนี้เรียกว่า การเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง เป็นการเห็นโดยกลาปสัมมสนนัย
คือการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยอำนาจวิปัสสนาในรูป(กาย)และนาม(ใจที่รับรู้ขณะนั้น)
โดยความเป็นของสะอาด ประณีต สกปรก ดีเลว เพราะตกอยู่ในลักษณะ ๓
คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่,ไม่มี ตัวตน
ตรงนี้ เมื่อคุณเห็นแล้วว่ารูปปัจจุบันที่คุณกำหนดอยู่แท้จริงแล้ว จักมีสภาพแบบนี้เอง
เป็นกระดูก เป็นโครง เมื่อก่อนเรายึดถือว่าเป็นกาย เป็นตน เอวสวย อกสวน คุณก็ลองซิครับ
ลองน้อมมาใส่ส่วนอื่นๆว่า แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะอย่างไร ของเรา ของเขา ก็ไม่ต่างจากนี้เท่าไร
เป็นเช่นนี้หมด เพราะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โอกาสมาให้พิจารณาแล้วครับ ที่เห็นเรียกว่าประจักษ์
ถ้าคุณนำข้อนี้ไปพิจารณารูปอื่นๆตามนัยนี้ เรียกว่า คุณรู้โดยอนุมาน เข้าตำรา เมื่อรู้ประจักษ์
แล้ว ก็เป็นอันอนุมานสิ่งอื่นได้ถูกต้อง
กำหนดว่า เห็นหนอๆ การพิจารณาควรมาทำภายนอกบัลลังค์

บางคนกลัว บางคนนอนไม่หลับ ผมเห็นครั้งแรกน่ากลัวกว่านี้ อืดเลย เน่าเลย ในสมาธิยิ่งกลัว
ยิ่งเลื่อนมาไกล้ๆ เหมือนเอาตาที่เน่าแดงก่ำอืดๆมาชนตาผมเลย นึกได้ว่าน่าจะเป็นอาการไตรลักษณ์
เลยกำหนด เห็นหนอๆ เมื่อหายไปยังติดตาอยู่ เลยพิจารณาเข้าสังขารตัวเองเลย ว่าวันหนึ่ง
ก็ต้องเป็นแบบนี้ คนอื่นก็เป็น ได้กำไรไป
ส่วนอาการแรก เมื่อผมเจอ ผมตกใจ เสียงดังมากเหมือนฟ้าลั่นเลย พบทั้งเดินทั้งนั่ง
แต่รูปแบบไม่เหมือนกัน อาการจะคล้ายกัน ลองอ่านที่ผมโพสไว้ครับ คุณอาจจะเข้าใจได้ดีกว่าเดิม

วันนี้แนะนำให้ตามเดิมก่อน อยากให้สภาวะปรากฏอีกหน่อย อินทรีย์บางอย่างยังตามตัวอื่นอยู่
ลองดูสภาวะอีกวันหนึ่ง แล้วจะลองเปลี่ยนระยะการเดินกับเวลา

อนุโมทนาครับคุณทักทาย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 29 ก.ค. 2009, 23:19, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
เรียนอาจารย์ทราบค่ะ
เพิ่งเสร็จจากการเจริญภาวนาค่ะ สารภาพว่ามัวแต่คิดเรืองไตรลักษณ์
คิดไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง? รู้แต่ว่าคือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปใช่ไหมค่ะ?
รายละเอียดมากกว่านี้คิดไม่ออกจริงๆค่ะ
ส่วนเรืองรูปกับนาม ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ค่ะ? ถ้าอาจารย์จะกรุณาโพสต์ให้ก็
จะเป็นพระคุณยิ่ง


ตอนนี้เลิกคิดเรื่องไตรลักษณ์ก่อน ไม่เร่งให้รู้ ไปเรื่อยๆ ว่างๆค่อยคิก

taktay เขียน:
รายงานการปฏิบัตินะค่ะ วันนี้เดินแทบจะไม่มีปรากฎการณ์อะไรเลย นอกจากมีความ
รู้สึกว่า ยกย่างเหยียบเกือบจะเป็นอันเดียวกันแล้ว(ความรู้สึกนะค่ะ) แว่บออกก็เหมือน
เมื่อวานคือแป๊ปๆค่ะ ก็กำหนดไปตามนั้น เห็นหนอ เสียงหนอ รู้หนอ อยากเดินหนอ
อ้อ มีเพิ่มอีกหนึ่งคือ "เบื่อหนอ"ค่ะ มีความรู้สึกเบื่อก่อนจะครบเวลาประมาณอีกห้านาที


ลองเดินช้าๆลงหน่อยอีกนิด เวลากำหนดลงตรงหนอ ให้หยุดเป็นระยะนิดนึง
ถูกแล้วครับกำหนดว่า เบื่อหนอ

taktay เขียน:
แต่ตอนนั่ง พอกำหนดอยากนั่งหนอ แล้วพองยุบได้ไม่ถึงห้านาที มีความรู้สึกว่าท่อนล่าง
คือหน้าตักกับมือที่วางอยู่นุ่มจนอ่อนและเบาเหมือนเป็นหมอกควัน ก็กำหนดรู้หนอหกครั้ง
ก็ไม่หายค่ะ ก็กลับมาที่กรรมฐานเดิม สักพักมีความรู้สึกว่าหนักและรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน
คือทั้งเท้าตักและมือที่วางอยู่เป็นอันเดียวกันจากหนักเป็นหิน ก็เปลี่ยนเป็นเบาขึ้นมาหน่อย
แต่ไม่เบาเหมือนครั้งแรกค่ะ ก็กำหนดว่ารู้หนอ ไม่หายค่ะ จนครบกำหนด พอจะออกมี
อาการเบื่ออีก ก็กำหนด เบื่อหนอ อยากออกหนอ พอถึงเวลาออก ก็กำหนด ออกหนอ
พอออกแล้ว ความรู้สึกที่หน้าตักเบาขึ้นมาค่ะ ขณะที่นั้งปวดหลังกำหนดแล้วไม่หาย คงเป็น
เพราะจากงานค่ะ วันนี้ปวดทั้งวัน
อีกนิดก็คือลมแอร์ที่เป่าลงมาโดนเบาๆ ตอนแรกก็กำหนดเย็นหนอหกครั้งตามที่อาจารย์แนะนำ
ไม่หายก็กลับไปที่กรรมฐาน แต่พอนั่งไปได้สักพัก ลมที่เป่าลงมามันเป็นสีขาวสลับดำค่ะ ตอน
แรกไม่รู้ว่าอะไร เหมือนคนเอาผ้ามาสะบัดข้างๆ ก็กำหนดรู้หนอ ก็ไม่หาย ก็เลยกลับมาที่กรรมฐาน
ก็ไม่หาย นึกรู้ว่าเป็นลมแอร์ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นสีขาวสลับดำ จริงแล้วลมแอร์อ่อนมากๆ
ไม่แรงเลยนะค่ะ คือถ้าปกติโดนที่รู้ว่าเป็นลมแอร์เพราะเย็นเท่านั้นเอง ไม่ได้ติดใจแต่เล่าเพื่อการ
พิจารณาค่ะ อีกนิดค่ะ วันนี้มีความรู้สึกว่าร้อนแว่บหนึ่ง ทั้งๆที่อยู่ห้องแอร์ และมีอาการเบื่อนิดหนึ่ง
และกระสับกระส่ายอยากออกอีกนีดหนึ่ง กำหนดตามก็หายค่ะ
เรียนมาเพื่อทราบ ขอบคุณค่ะ อนุโมทนา เจริญในธรรมนะค่ะ
:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41: [/color][/i]



ช่วงนี้อาการของสภาวะจะเป็นอย่างที่คุณแจ้งมา ต้องระวังหน่อย
อาการฟุ้งซ่าน เมื่อถึงช่วงนี้จะมากกว่าปกติ ตามลักษณะไตรลักษณ์ที่จะเริ่มปรากฏ
ยิ่งถ้าทำงานมาแล้ว ความเหนื่อยทางกายใจยังไม่สงบพอ ฟุ้งจะออกมามาก กำหนดวุ่นวาย
และเมื่อคุณฟุ้งกับเรื่องไตรลักษณ์อยู่ ก็จะทำให้สติสมาธิไม่ดีเหมือนวันก่อน
อาการหนัก อาการเบาของกาย หรือการมองสิ่งต่างๆ เข้าใจสิ่งต่างๆไม่ปกติเหมือนเดิม
มีสาเหตุมาจากสมาธิอย่างหนึ่งและสภาวะตามลำดับของญาณ
ระยะนี้เป็นช่วงที่สภาวะธรรมจะออกมามากมาย อันเก่าหาย อันใหม่มา ควรตั้งใจ
ใส่ใจ และกำหนดให้ดี เพราะระยะนี้ถือว่าสำคัญ

กำหนดตามที่รู้เห็นครับ ถ้าคิไม่ออก กำหนด รู้หนอๆ คือจิตรู้อาการนั้นๆ

แนะนำ.....

ให้เดินมากกว่านั่ง ผมไม่อยากให้นั่งมากเลยในวันนี้ เดินนั่งปกติไปก่อน แต่
ถ้าอาการต่างๆที่เล่ามายังมีอยู่หรือมีอยู่แล้วกำหนดไม่หาย ให้ลุกเดิน ระยะเวลาคือ
เท่าที่เหลืออยู่ของการนั่ง เร่งสติให้พอดีกับสมาธิก่อน วางใจเป็นกลางนะครับ
อย่าปรุงแต่งเพิ่มเมื่อพบกับสภาวะอะไร ที่ติดกันมากๆ ตรงนี้ครับ

ถ้ามีอะไรที่เกินสติที่จะรับได้ ให้หยุดก่อนครับ พักผ่อนก่อนก็ได้ แล้วโพสไว้
ผมจะแว๊บมาดูบ่อยๆ ระยะนี้ผมกังวลเหมือนกัน เพราะคุณเร็วมาก

อนุโมทนาครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 02:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เมาตัวหนังสือตายเลย :b32:

อะแฮ่มม!!! .. ท่าทางแนวเดียวกัน ( ตัวหนังสือ ) ไปยาวได้เลย

สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นถนัดสภาวะ ไม่ชอบบรรยาย เพราะบรรยายไม่เป็น :b32:


ส่วนคุณทักทาย ขอชื่นชมนะคะ เก็บรายละเอียดของสภาวะได้ดีมาก

ถ้ากำหนดรู้หนอๆๆๆ ยังไม่หายล่ะก็ ให้หายใจยาวๆแล้วเอาจิตปักไปที่ลิ้นปี่ พร้อมๆกับ

กำหนดรู้หนอๆๆๆ สิคะ ช่วยได้เยอะเลย รู้จักลิ้นปี่ไหมคะ ช่องกลางระหว่างทรวงอกเราน่ะค่ะ

ส่วนอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมดน่ะ ไม่มีอะไรหรอก เป็นเรื่องของสภาวะที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง

เรื่องไตรลักษณ์น่ะไม่ต้องไปสนใจหรอก เดี๋ยวจะพาฟุ้งเอาเปล่าๆ ( อันนี้ความคิดของข้าพเจ้าเอง )

ถ้าวันใดเห็นไตรลักษณ์ มันจะแจ้งออกมาจากจิตเอง พอแจ้งออกมามันจะอ้อๆๆๆๆ ...

ไม่ต้องไปคิดพิจรณาว่านี่คือไตรลักษณ์ ( อันนี้เรื่องจริง )

แต่ก็ไม่แน่นะ เพราะท่าทางคุณสองคนจะค่อนข้างคล้ายคลึงกันในเรื่องการเก็บรายละเอียด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 03:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ต้องขอภัยด้วยค่ะคุณทักทาย มัวแต่กระเซ้าเย้าแหย่คุณกาม :b9:

เลยลืมบอกอารมณ์กรรมฐานหลักไปค่ะ

หลักๆจริงๆแล้วมีเพียงเวทนา อาการพองยุบ และลมหายใจ เท่านั้นเอง

ให้พยายามจับอารมณ์หลักไว้ เช่นลมหายใจชัด ให้จับลมหายใจ

คือเฝ้าดู รู้ลงไป แล้วเอาจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจขณะนั้น

พอท้องพองยุบชัดกว่า ให้เปลี่ยนที่จับ ให้มาจับที่ท้องพองยุบแทน

พอเวทนาเกิดชัดกว่า ให้เปลี่ยนที่มาจับเวทนาแทน

ทำอย่างนี้สลับไปมา เท่านั้นเอง ถ้าจะเห็นไตรลักษณ์ จะแจ้งออกมาจากจิตเอง

ส่วนเรื่องอื่นๆที่เล่ามา เป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้น พอตัวนี้หายไป ตัวใหม่โผล่มา

ถึงคุณไม่กำหนดมัน มันก็หายไปเอง จริงๆแล้วสภาวะเขาสาแสดงไตรลักษณ์

ให้เห็น เพียงแต่คุณยังไม่เห็นมันเท่านั้นเอง

อาการเบื่อ เที่ยงไหม เบื่อเพราะอะไร เบื่อเพราะเกิดความไม่ชอบใจ

มันมีเท่านี้เอง ชอบใจกับไม่ชอบใจ

เวลาชอบใจก็อยากจะนั่งนานๆ เวลาไม่ชอบใจก็เบื่อหน่าย

นี่ไตรลักษณ์ก็มาแสดงให้เห็นว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง

สภาวะจะแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เพียงแต่คุณยังไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงได้เท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 30 ก.ค. 2009, 03:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์ทราบค่ะ จะขอรายงานก่อนที่จะ
อ่านที่อาจารย์โพสต์มาใหม่ เพราะกลัวว่าจะปรุงแต่งถ้าได้อ่านข้อความ
ของอาจารย์ก่อน ถ้าอันไหนที่อาจารย์โพสต์มาให้แล้ว ไม่ต้องเป็นกังวล
นะค่ะจะกลับไปอ่านหลังจากรายงานนี้เสร็จ

คือเมื่อคืนนี้หลังจากที่รายงานการปฏิบัติให้อาจารย์ทราบแล้วก็เข้านอน โดย
กำหนด "อยากนอนหนอ" พอล้มตัวนอนก็กำหนดพองยุบ ได้ไม่กี่ครั้งก็หลับไป
ตอนพองหรือยุบไม่ทราบ ปกติจะเป็นคนที่หลับลึกคือไม่ค่อยตื่นจนกว่าจะเช้า แต่
เมื่อคืนนี้พอหลับไปได้สักแป๊ป(รู้สึกว่าแป๊ปเดียวจริงๆ) ได้ยินเสียงเหมือนนกหวีด แต่
แหลมกว่า ดังหนึ่งครั้งก็ตื่น รีบกำหนด"เสียงหนอ" แล้วก็หลับไปอีกแป๊ปเดียวก็ได้ยิน
อีกครั้งหนึ่ง ที่นี่ก็กำหนดว่า "รู้หนอ" ครั้งนี้ไม่ยอมหลับง่ายๆ คือกระสับกระส่าย
พลิกไปพลิกมา รู้สึกร้อน ทั้งที่เปิดทั้งแอร์และพัดลม ก็กำหนดพองยุบต่อ ได้สักพัก
กำลังเคลิ้มๆจะหลับ ได้ยินเสียงฝีเท้าคนเดินเข้ามาที่ห้อง ก็นึกว่าเพื่อนที่อยู่ด้วยกัน
กำหนดพองยุบไปเรื่อยๆ เสียงฝีเท้าไม่ยอมหายคือถ้าเป็นเพื่อนถ้าเขาจะเข้ามาในห้อง
ถ้าเห็นว่าหลับอยู่เขาจะออกไป แบบไม่ให้ได้ยินเสียง แต่นี่เหมือนกับจงใจจะให้รู้เดิน
ไปเดินมาประมาณหนึ่งหรือสองนาที ก็นึกรู้ว่าคงไม่ใช่เพื่อน ก็เลยกำหนดว่า"รู้หนอ"
แล้วก็ขนลุก ตามด้วยกลัว ก็กำหนด "กลัวหนอ" พร้อมกับขนลุกนิดหนึ่ง เบาๆ กระทั่งหลับไปตอนไหนไม่ทราบเหมือนกัน

ตื่นมาตอนเช้าใจหมกหมุ่นอยู่แต่เเรื่องไตรลักษณ์ ขณะทำงานก็คิด แต่ก็กำหนดทุกอย่าง
เท่าที่จะนึกได้ จับหนอ ถูกหนอ หิวหนอ กลืนน้ำลายหนอ คิดหนอ จนกระทั่งอยากเดิน
หนอ อยากภาวนาหนอ พอเสร็จงาน ก็เข้าไปเดิน และนั่งได้อีกหนึ่งบัลลังค์

เดินกำหนดตั้งแต่ยืนหนอ อยากเดินหนอ แล้วก็ย่างหนอ เสียงหนอ เห็นหนอ ทุกอย่าง
มีจางๆค่ะ คือคิดก็จางๆไม่ชัด แต่บ่อย ก็แว่บมา แว่บไป กำหนดไปตามนั้น แล้วก็รู้ว่า
"ยกย่างเหยียบ" คืออันเดียวกัน สงสัยหนอมีครั้งหนึ่ง

พอนั่งก็กำหนดเหมือนเดิมตามที่เคยรายงาน ครั้งนี้อาการที่หน้าตักมีหนักขึ้นมานิดหนึ่ง มือและ
เท้าติดกันแบบบางๆ ยังคิดอยู่พองยุบหายไปสองครั้งใหญ่ นอกนัันแว่บๆ แบบจางๆ คือขณะ
ที่คิด ก็ยังมีพองยุบอยู่ค่ะ คิดอะไรก็จะจางๆไม่ค่อยชัด เสียงก็ไม่ชัด ก็กำหนดไปตามนั้น
แต่ว่าพองและยุบเหลือนิดเดียว เปรียบเทียบง่ายๆ จากที่พองเหมือนลูกโป่งลูกหนึ่ง ก็เหลือเท่า
กำปั้น ยุบก็แบบแผ่วๆ คือไม่มีสุด ยุบแค่กลางแล้วก็กลับไปพองเลย เช่นกันพองกลางก็ลงมา
ยุบเลย ไม่แรง ไม่มาก แต่รู้ตลอด ก็เช่นกันค่ะ มีความรู้สึกว่าพองยุบคืออันเดียวกัน

ก่อนนั่ง อธิษฐานว่าถ้าลูกจะเจริญกรมมฐานต่อไป ขอให้ลูกออกจากกรรมฐานภายในเวลา
ยี่สิบนาที โดยที่ไม่ได้ตั้งเวลา พอออกหนอลืมตาดูนาฬิกา เลยไปหนึ่งนาทีค่ะ

ไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์
หมด ไม่ว่าจะได้ยิน เห็น นั่งยืน เดิน รู้ ไม่รู้ ชอบไม่ชอบ คิด ไม่คิด สรุปทุกอย่างในโลก
นี้เป็น ไตรลักษณ์ค่ะ นี่คือคำตอบของการบ้านที่อาจารย์ให้ไว้ ถ้าไม่ถูก อาจารย์ไม่ต้องกังวล
นะค่ะ เพราะหลังจากโพสต์นี้แล้วจะกลับไปดูที่อาจารย์โพสต์ไว้ค่ะ

ที่นี่มาอีกเรื่องหนึ่ง ตอนแรกว่าจะไม่เล่า เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวกับการเจริญภาวนา แต่ตอนนี้คิดว่า
น่าจะโยงถึงกัน คือที่ทำงานมีแต่ผุ้หญิงทั้งนั้น กินนอนด้วยกัน แทบจะยี่สิบสี่ชั่วโมง แรกๆก็ไม่ค่อย
สนใจใคร จะอ่านหนังสือบ้าง สวดมนต์บ้าง เล่นเน็ทบ้าง คือถ้าใครพูดด้วยก็จะพูด ปกติจะไม่
ค่อยยุ่งกับใคร ระยะหลังๆชักมีความรู้สึกรำคาญบ้าง ขัดหูขัดตาบ้าง ก็เพียงแต่คิดในใจ ไม่ได้
แสดงออก แต่ชักจะหนักข้อเข้าตอนที่เริ่มทำสมาธิ มีความรู้สึกว่า ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจไปหมด
เขาช่วยก็ติเขาว่าทำไม่เหมือนเรา เขาไม่ช่วยก็ติเขาว่าไม่มาช่วยกันเลย จากที่ไม่ค่อยแสดงออก
ทางกาย ชักเริ่มมีอาการแสดงออกแล้ว แต่ไม่มีใครกล้าว่า เพราะภาพพจน์เก่ายังมีอยู่ว่าเป็นคน
ไม่เรื่องมาก ไม่ค่อยว่าใคร อายตัวเองจังเลยว่าชอบตำหนิคนเขาในใจ ไม่มีใครดีสักคน แล้ว
สองสามวันที่ผ่านมานี่ ยิ่งหนักใหญ่ มีความรู้สึกว่า "ฉันแน่" บ่อยครั้งมาก แต่ก็พยายามไม่
แสดงออกให้ใครรู้อาการเหล่านี้ พอเป็นแล้วก็จะรู้สึกเสียใจตามมา ตำหนิตัวเองอีกว่าทำไมเรา
เป็นคนที่นิสัยใช้ไม่ได้เลย อาการกำเริบขึ้นทุกวันแล้วค่ะ ขอวิธิแก้ด้วย

อาการขนลุก เป็นบ่อยๆ ตอนกรวดน้ำ สวดมนต์ แผ่เมตตา อธิษฐานจิต ก่อนที่จะปฏิบัติ
กรรมฐาน ก็จะอธิษฐานจิต ตามที่อาจารย์โพสต์ไว้ "อิมาหัง ภะคะวา" คำขอสมาทานกรรม
ฐาน ทุกบทที่อาจารย์ให้ไว้ ก็จะขนลุกทุกครั้ง บางครั้งมีแค่ตรงไหล่ลงไปที่แขน ไม่สุดมือ
แต่บางครั้งหลังจากรู้สึกอย่างที่ว่าแล้ว ก็ไปลุกที่หัว มีตลอดค่ะทั้งวันเลย แต่มีแบบนิดเดียวพอ
รู้สึกเท่านั้น ไม่ได้ลุกชัน คือถ้านึกถึงกรรมฐาน หรือเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับศาสนาจะเป็นค่ะ
และเป็นมานานแล้วค่ะ

ตอนนี้มีความรู้สึกจดจ่ออยู่กับการปฏิบัติมาก ถ้าว่างเมื่อไหร่ ใจก็อยากเข้ากรรมฐาน ถ้าทำได้
ก็จะไปทำ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเวลาจะพอ ก็จะกำหนดอยากเดินหนอ อยากนั่งหนอค่ะ เรียกว่าเสพติด
เลยก็น่าจะได้ อาการแบบนี้ต้องแก้ไหมค่ะ?

:b41: :b37: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 03:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


walaiporn เขียน:

ต้องขอภัยด้วยค่ะคุณทักทาย มัวแต่กระเซ้าเย้าแหย่คุณกาม :b9:

เลยลืมบอกอารมณ์กรรมฐานหลักไปค่ะ


ขอบคุณค่ะคุณวลัยพร สำหรับคำแนะนำ
ดีจังเลยค่ะ จะได้รู้แบบหลากหลาย บางทีก็เกรงใจอาจารย์(คุณคงรู้นะค่ะว่าใคร?)
มากที่รบกวนแบบเกาะติดเลย
ยอมรับว่าเหมือนเด็กหัดคลานค่ะ แต่ก็ไม่อยากเกิดอีกแล้วค่ะ "ทุกข์จังหนอ"

tongue

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 03:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เห็นคุณชอบอ่าน .. แนะนำนะคะ สติปัฏฐาน 4 ที่คุณกรัชกายนำมาโพสไว้น่ะค่ะ

ไปไล่อ่านๆดู เพราะสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นี่ เขาเรียกว่าแนวสติปัฏฐาน 4

กาย เวทนา จิต ธรรม มันมีเท่านี้เอง

ส่วนอื่นๆที่คุณเห็นน่ะ อย่างที่บอก มันเป็นเพียงแค่สภาวะ ไม่ต้องไปใส่ใจอะไรกับมันมาก

จะเห็นอะไรก็แค่รู้ แต่ที่ให้จับหลักๆจริงๆคือ ลมหายใจ ท้องพองยุบ เวทนา

อันไหนชัดจับตัวนั้น เปลี่ยนสลับไปมา ความคิดเกิดก็ส่วนความคิด

อยากคิดอะไร ปล่อยให้คิดไป พอสติ สัมปชัญญะดีขึ้น ความคิดก็ดับไปเอง

ให้หมั่นเจริญสติให้มากๆ แต่เท่าที่อ่านๆมที่คุณโพสมา ถือว่าคุณเอาใจใส่ดีนะคะ

ถ้ามีเวลามากพอ น่าจะเดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม.

ถ้าไม่มีเวลาก้ทำเท่าที่ทำได้

คือ มันทำได้ทั้งสองแบบ จะใช้หนอกำหนดก็ได้ หรือจะใช้โดยเอาจิตเป็นตัวรู้ลงไปก็ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


walaiporn เขียน:

เห็นคุณชอบอ่าน .. แนะนำนะคะ สติปัฏฐาน 4 ที่คุณกรัชกายนำมาโพสไว้น่ะค่ะ

ไปไล่อ่านๆดู เพราะสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นี่ เขาเรียกว่าแนวสติปัฏฐาน 4

กาย เวทนา จิต ธรรม มันมีเท่านี้เอง

ส่วนอื่นๆที่คุณเห็นน่ะ อย่างที่บอก มันเป็นเพียงแค่สภาวะ ไม่ต้องไปใส่ใจอะไรกับมันมาก

จะเห็นอะไรก็แค่รู้ แต่ที่ให้จับหลักๆจริงๆคือ ลมหายใจ ท้องพองยุบ เวทนา

อันไหนชัดจับตัวนั้น เปลี่ยนสลับไปมา ความคิดเกิดก็ส่วนความคิด

อยากคิดอะไร ปล่อยให้คิดไป พอสติ สัมปชัญญะดีขึ้น ความคิดก็ดับไปเอง

ให้หมั่นเจริญสติให้มากๆ แต่เท่าที่อ่านๆมที่คุณโพสมา ถือว่าคุณเอาใจใส่ดีนะคะ

ถ้ามีเวลามากพอ น่าจะเดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม.

ถ้าไม่มีเวลาก้ทำเท่าที่ทำได้

คือ มันทำได้ทั้งสองแบบ จะใช้หนอกำหนดก็ได้ หรือจะใช้โดยเอาจิตเป็นตัวรู้ลงไปก็ได้


ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำทั้งคุณวลัยพรและคุณบุญชัย
ตรงไหนที่ติดขัดจะลองใช้วิธีของคุณดูนะค่ะ ถ้าอาจารย์อนุญาติ เข้าใจขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ
สำหรับเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของคุณกรัชกาย ก็กำลังอ่านอยู่ อ่านที่ละนิด ทำความเข้าใจ
ไปเรื่อยๆ อ่านมากไม่ได้ ทั้งปวดตาและปวดหัว เพราะเป็นคนปัญญาทึบค่ะ

ส่วนเรื่องเพิ่มเวลาเดินและนั่งเป็นหนึ่งชั่วโมงนั้น พอจะหาเวลาได้ แต่ต้องรอคำสั่งจากอาจารย์
ก่อน และที่สำคัญยังไม่อยากทำมากตอนนี้ เพราะกลัวค่ะ กลัวว่าจะเบื่อและท้อ ตอนนี้พยายาม
ประคองความรู้สึก อยากทำ อยากรู้ อยากได้ ให้อยู่ระดับกลางๆ พยายามไม่บังคับตัวเอง
คืออยากเดิน พอมีเวลาก็จะไปเดิน ถ้าไม่มีก็จะกำหนด ไม่ฝืนค่ะ กลัวมันพยศ

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกคำแนะนำ รู้สึกดีและอบอุ่นจังเลย ที่รู้ว่ามีคนเอาใจช่วยอยู่
"ชอบหนอ" "อบอุ่นหนอ" "สุขหนอ" อนุโมทนา เจริญในธรรมนะค่ะ มีอะไรแนะนำ
มาได้อีกนะค่ะ น้อมรับด้วยความซาบซึ้งทุกท่านค่ะ

smiley tongue

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
คือเมื่อคืนนี้หลังจากที่รายงานการปฏิบัติให้อาจารย์ทราบแล้วก็เข้านอน โดย
กำหนด "อยากนอนหนอ" พอล้มตัวนอนก็กำหนดพองยุบ ได้ไม่กี่ครั้งก็หลับไป
ตอนพองหรือยุบไม่ทราบ ปกติจะเป็นคนที่หลับลึกคือไม่ค่อยตื่นจนกว่าจะเช้า แต่
เมื่อคืนนี้พอหลับไปได้สักแป๊ป(รู้สึกว่าแป๊ปเดียวจริงๆ) ได้ยินเสียงเหมือนนกหวีด แต่
แหลมกว่า ดังหนึ่งครั้งก็ตื่น รีบกำหนด"เสียงหนอ" แล้วก็หลับไปอีกแป๊ปเดียวก็ได้ยิน
อีกครั้งหนึ่ง ที่นี่ก็กำหนดว่า "รู้หนอ" ครั้งนี้ไม่ยอมหลับง่ายๆ คือกระสับกระส่าย
พลิกไปพลิกมา รู้สึกร้อน ทั้งที่เปิดทั้งแอร์และพัดลม ก็กำหนดพองยุบต่อ ได้สักพัก
กำลังเคลิ้มๆจะหลับ ได้ยินเสียงฝีเท้าคนเดินเข้ามาที่ห้อง ก็นึกว่าเพื่อนที่อยู่ด้วยกัน
กำหนดพองยุบไปเรื่อยๆ เสียงฝีเท้าไม่ยอมหายคือถ้าเป็นเพื่อนถ้าเขาจะเข้ามาในห้อง
ถ้าเห็นว่าหลับอยู่เขาจะออกไป แบบไม่ให้ได้ยินเสียง แต่นี่เหมือนกับจงใจจะให้รู้เดิน
ไปเดินมาประมาณหนึ่งหรือสองนาที ก็นึกรู้ว่าคงไม่ใช่เพื่อน ก็เลยกำหนดว่า"รู้หนอ"
แล้วก็ขนลุก ตามด้วยกลัว ก็กำหนด "กลัวหนอ" พร้อมกับขนลุกนิดหนึ่ง เบาๆ
กระทั่งหลับไปตอนไหนไม่ทราบเหมือนกัน


อนุโมทนาครับ ตั้งใจดีจริงๆ
ทุกอย่างเป็นสภาวะธรรมให้เรากำหนดได้ มีทั้งจริงแท้และปลอมมา
มีทั้งถูกจุดประสงค์และไม่ตรงนัก เรามีหน้าที่กำหนดอย่างเดียว ไม่ต้อง
สงสัยต่อ เมื่อสงสัย แสดงว่าเราฟุ้งไปสิ่งที่รู้แล้ว



taktay เขียน:
ตื่นมาตอนเช้าใจหมกหมุ่นอยู่แต่เเรื่องไตรลักษณ์ ขณะทำงานก็คิด แต่ก็กำหนดทุกอย่าง
เท่าที่จะนึกได้ จับหนอ ถูกหนอ หิวหนอ กลืนน้ำลายหนอ คิดหนอ จนกระทั่งอยากเดิน
หนอ อยากภาวนาหนอ พอเสร็จงาน ก็เข้าไปเดิน และนั่งได้อีกหนึ่งบัลลังค์


กำหนดตอนหมกมุ่นก่อนว่า วิตกหนอๆ จนกว่าจะหายไป
ไตรลักษณ์ เป็นการเรียนรู้เรื่องสภาพของความจริง ไม่ใช่มีไว้ให้หมกมุ่น
ที่ให้อ่าน เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ และจะได้ไม่หลงไปทางอื่นง่าย
อีกทั้ง การพิจารณานั้น เป็นดุจกรรมฐานรอง คือเมื่อเกิดสภาวะที่น่ากลัว
หรือกลัวโดยไม่มีเหตุผลอันเนื่องมาจากกำลังสมาธิ ถ้าในขณะนั้น การกำหนด
ทำไม่ได้ หรือไม่ดีพอ หยิบไตรลักษณ์มาพิจารณาก็ได้
แท้จริงกรรมฐานรองมีหลายวิธี เช่น เมตตาภาวนาก็ได้ พุทธานุสติก็ได้ เป็นต้น
ผมเห็นคุณอ่อนเรื่องนี้ ก็เสริมไป
ที่ให้คิด คิดได้นอกเวลากรรมฐาน เมื่อคิดไม่ออกก็อย่าไปฝืน แสดงว่า
ปัญญาเรายังไม่ถึง

taktay เขียน:
เดินกำหนดตั้งแต่ยืนหนอ อยากเดินหนอ แล้วก็ย่างหนอ เสียงหนอ เห็นหนอ ทุกอย่าง
มีจางๆค่ะ คือคิดก็จางๆไม่ชัด แต่บ่อย ก็แว่บมา แว่บไป กำหนดไปตามนั้น แล้วก็รู้ว่า
"ยกย่างเหยียบ" คืออันเดียวกัน สงสัยหนอมีครั้งหนึ่ง


ปกติอยู่ครับ สภาวะทั้งนั้น บางอย่างชัดบางอย่างไม่ชัด ในขณะนั้น อะไรชัด ก็กำหนดที่นั่น
เมื่อไม่ชัดจนไม่สามารถกำหนดได้ ไปที่นั่งหนอ ถูกหนอ เดี๋ยวไม่นานก็ชัดมาเอง


taktay เขียน:
พอนั่งก็กำหนดเหมือนเดิมตามที่เคยรายงาน ครั้งนี้อาการที่หน้าตักมีหนักขึ้นมานิดหนึ่ง มือและ
เท้าติดกันแบบบางๆ ยังคิดอยู่พองยุบหายไปสองครั้งใหญ่ นอกนัันแว่บๆ แบบจางๆ คือขณะ
ที่คิด ก็ยังมีพองยุบอยู่ค่ะ
คิดอะไรก็จะจางๆไม่ค่อยชัด เสียงก็ไม่ชัด ก็กำหนดไปตามนั้น
แต่ว่าพองและยุบเหลือนิดเดียว เปรียบเทียบง่ายๆ จากที่พองเหมือนลูกโป่งลูกหนึ่ง ก็เหลือเท่า
กำปั้น ยุบก็แบบแผ่วๆ คือไม่มีสุด ยุบแค่กลางแล้วก็กลับไปพองเลย เช่นกันพองกลางก็ลงมา
ยุบเลย ไม่แรง ไม่มาก แต่รู้ตลอด ก็เช่นกันค่ะ มีความรู้สึกว่าพองยุบคืออันเดียวกัน


อาการที่ปรากฏช่วงนี้ อาการของสมาธิเป็นส่วนมาก อาการของปีติหรือความหนักความเบาของ
กายหรือบางส่วนของกาย ก็เป็นอาการสมาธิทั้งนั้น กำหนดตามไปที่รู้ครับ
ส่วนจางๆ ถ้าจางจนกำหนดไม่ได้ ก็กำหนดอิริยาบทนั่งและสัมผัส คือ นั่งหนอ ถูกหนอ เมื่อพองยุบ
ชัด ก็จะรู้สึกชัดได้เอง
เป็นธรรมดาอยู่ว่า ใน ๑ บัลลังค์ ไม่มีสมาธิที่จะเสมอสติได้ในระยะนี้ ผู้ที่ปฏิบัติสูงแล้วเท่านั้น
จะเสมอดี ของเราตอนนี้ก็แบบนี้ คือต้องรู้ตามสภาวะอย่างเดียว เพื่อฝึกสติ

ที่ขีดเส้นไต้ไว้ เป็นอาการ ๒ อารมณ์ เพราะคิดอยู่ ก็สลับไปรู้พองยุบได้ กำหนดอย่างเดียวครับ
กำหนดคิดหนอ หรือ พองยุบก็ได้ เอาที่ชัดหรือที่กำลังต่อเนื่องกับอารมณ์อยู่

taktay เขียน:
ก่อนนั่ง อธิษฐานว่าถ้าลูกจะเจริญกรมมฐานต่อไป ขอให้ลูกออกจากกรรมฐานภายในเวลา
ยี่สิบนาที โดยที่ไม่ได้ตั้งเวลา พอออกหนอลืมตาดูนาฬิกา เลยไปหนึ่งนาทีค่ะ


ถ้าสติสมาธิดี ส่วนมากจะไม่ก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนด ๕ นาที ข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดา
ข้อนี้เป็นการทำงานของสติและจิตที่จดจำระยะเวลาแต่ละช่วงไว้แล้วนำกลับมาใช้
เช่นเราอาจเคยทำกิจกรรมต่างๆไว้เมื่อก่อนตามระยะเวลาที่กำหนด เมื่อสติใสดี ก็ระลึกระยะ
เวลาอัตโนมัติออกมา ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ไป อย่าได้ภูมิใจเกินเหตุมากครับ จะติดได้
ไม่ใช่จุดประสงค์ ถ้าดีใจพอใจที่ตรงตามเวลา กำหนดใจที่พอใจดีใจ พอใจหนอ ดีใจหนอ ครับ

taktay เขียน:
ไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์
หมด ไม่ว่าจะได้ยิน เห็น นั่งยืน เดิน รู้ ไม่รู้ ชอบไม่ชอบ คิด ไม่คิด สรุปทุกอย่างในโลก
นี้เป็น ไตรลักษณ์ค่ะ นี่คือคำตอบของการบ้านที่อาจารย์ให้ไว้ ถ้าไม่ถูก อาจารย์ไม่ต้องกังวล
นะค่ะ เพราะหลังจากโพสต์นี้แล้วจะกลับไปดูที่อาจารย์โพสต์ไว้ค่ะ


อย่ากังวลครับ ถูกหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น กำหนดไปตามที่เกิด สงสัยก็สงสัยหนอ กังวลก็กังวลหนอ
อ่านเรื่องไตรลักษณ์แล้ว เมื่อประสบ จะเข้าใจง่าย
เมื่อเห็นหรือรู้จากวิปัสสนาญาณเองแล้ว ก็จะรู้เองว่าถูกหรือไม่ ผมแย้มไว้เป็นแนว

taktay เขียน:
ที่นี่มาอีกเรื่องหนึ่ง ตอนแรกว่าจะไม่เล่า เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวกับการเจริญภาวนา แต่ตอนนี้คิดว่า
น่าจะโยงถึงกัน คือที่ทำงานมีแต่ผุ้หญิงทั้งนั้น กินนอนด้วยกัน แทบจะยี่สิบสี่ชั่วโมง แรกๆก็ไม่ค่อย
สนใจใคร จะอ่านหนังสือบ้าง สวดมนต์บ้าง เล่นเน็ทบ้าง คือถ้าใครพูดด้วยก็จะพูด ปกติจะไม่
ค่อยยุ่งกับใคร ระยะหลังๆชักมีความรู้สึกรำคาญบ้าง ขัดหูขัดตาบ้าง ก็เพียงแต่คิดในใจ ไม่ได้
แสดงออก แต่ชักจะหนักข้อเข้าตอนที่เริ่มทำสมาธิ มีความรู้สึกว่า ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจไปหมด
เขาช่วยก็ติเขาว่าทำไม่เหมือนเรา เขาไม่ช่วยก็ติเขาว่าไม่มาช่วยกันเลย จากที่ไม่ค่อยแสดงออก
ทางกาย ชักเริ่มมีอาการแสดงออกแล้ว แต่ไม่มีใครกล้าว่า เพราะภาพพจน์เก่ายังมีอยู่ว่าเป็นคน
ไม่เรื่องมาก ไม่ค่อยว่าใคร อายตัวเองจังเลยว่าชอบตำหนิคนเขาในใจ ไม่มีใครดีสักคน แล้ว
สองสามวันที่ผ่านมานี่ ยิ่งหนักใหญ่ มีความรู้สึกว่า "ฉันแน่" บ่อยครั้งมาก แต่ก็พยายามไม่
แสดงออกให้ใครรู้อาการเหล่านี้ พอเป็นแล้วก็จะรู้สึกเสียใจตามมา ตำหนิตัวเองอีกว่าทำไมเรา
เป็นคนที่นิสัยใช้ไม่ได้เลย อาการกำเริบขึ้นทุกวันแล้วค่ะ ขอวิธิแก้ด้วย


ดีครับที่ยังรู้ตัว เมื่อรู้ตัวก็กำหนด ไม่ชอบหนอ ไม่พอใจหนอ
เรากำลังสู้กับกิเลสที่เราสะสมมาในจิตของเรา ก็ย่อมจะโดนการทำร้ายจากเขาบ้าง เรามีสติ
รู้ตัวก็ดีครับ แค่รู้นะครับ

taktay เขียน:
อาการขนลุก เป็นบ่อยๆ ตอนกรวดน้ำ สวดมนต์ แผ่เมตตา อธิษฐานจิต ก่อนที่จะปฏิบัติ
กรรมฐาน ก็จะอธิษฐานจิต ตามที่อาจารย์โพสต์ไว้ "อิมาหัง ภะคะวา" คำขอสมาทานกรรม
ฐาน ทุกบทที่อาจารย์ให้ไว้ ก็จะขนลุกทุกครั้ง บางครั้งมีแค่ตรงไหล่ลงไปที่แขน ไม่สุดมือ
แต่บางครั้งหลังจากรู้สึกอย่างที่ว่าแล้ว ก็ไปลุกที่หัว มีตลอดค่ะทั้งวันเลย แต่มีแบบนิดเดียวพอ
รู้สึกเท่านั้น ไม่ได้ลุกชัน คือถ้านึกถึงกรรมฐาน หรือเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับศาสนาจะเป็นค่ะ
และเป็นมานานแล้วค่ะ


เป็นปีติธรรมดา เกิดได้หลายสาเหตุ สมาธิก็ทำให้เกิดได้ ดีใจภูมิใจก็เกิดได้ ข้อนี้ติดกันนาน
พากันซาบซึ้งอยู่ร่ำไป ไม่ใช่จุดประสงค์ของวิปัสสนา ส่วนดีก็มีบ้าง คือให้เราสงบใจได้ไม่กระสับ
กระส่าย แต่อย่าไปพอใจเพลิดเพลินกับสิ่งเหล่านี้เลย ถ้าทำได้ กำหนดตามเลย

taktay เขียน:
ตอนนี้มีความรู้สึกจดจ่ออยู่กับการปฏิบัติมาก ถ้าว่างเมื่อไหร่ ใจก็อยากเข้ากรรมฐาน ถ้าทำได้
ก็จะไปทำ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเวลาจะพอ ก็จะกำหนดอยากเดินหนอ อยากนั่งหนอค่ะ เรียกว่าเสพติด
เลยก็น่าจะได้ อาการแบบนี้ต้องแก้ไหมค่ะ?
:b41: :b37: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:


เป็นอาการศรัทธาครับ เมื่อศรัทธาเพิ่มก็ทำให้มีความเพียรเพิ่มขึ้น อย่างในก็ตาม
เราคำนึงถึงสติกับสมาธิเป็นตัวนำ ภายในเวลาที่เหมาะสม การทุ่มเทไปหากเราไม่มีสติแล้ว
ก็เท่ากับปฏิบัติขาดทุนครับ

แนะนำเพิ่ม ให้เดิน ๔๐ นั่ง ๒๐ ขอสติมากหน่อย ไม่ค่อยมีโทษ ปรับสติให้ดีขึ้น
จะปรับยากกว่าสมาธิมาก ขอสติก่อน แต่ถ้านั่งกำหนดสติได้ดี ก็จะเกินไปบ้าง
ไม่เป็นไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำทั้งคุณวลัยพรและคุณบุญชัย
ตรงไหนที่ติดขัดจะลองใช้วิธีของคุณดูนะค่ะ ถ้าอาจารย์อนุญาติ เข้าใจขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ
สำหรับเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของคุณกรัชกาย ก็กำลังอ่านอยู่ อ่านที่ละนิด ทำความเข้าใจ
ไปเรื่อยๆ อ่านมากไม่ได้ ทั้งปวดตาและปวดหัว เพราะเป็นคนปัญญาทึบค่ะ


คุณทักทายครับ อย่าใช้คำว่า ถ้าอาจารย์อนุญาต เลย เพราะจริงๆแล้ว เป็นความเห็นที่ผมแนะนำไป
ไม่ใช่เป็นหลักกับกำที่ตายตัวแน่นอน คุณสามารถที่จะทดลองปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านอื่นได้
ถ้าเห็นว่าเหมาะหรือสมควร หรือน่าจะลองดู เพราะแต่ละคำแนะนำนั้น ก็ออกมาจากเจตนาที่ดีทั้งนั้น
ผู้แนะนำแต่ละท่าน ได้รับการฝึกอบรมมาแบบไหน ก็มักจะแนะนำไปแบบนั้น บางอย่างอาจตรงวิสัย
ของผู้ปฏิบัติ บางอย่างอาจไม่ตรงนัก ก็ค่อยลดค่อยเพิ่มกันไป เช่นผม ได้รับการฝึกอบรมมาทั้งภาค
ปริยัติและปฏิบัติ โดยเจตนาของครูอาจารย์ท่านหวังว่า เมื่อปฏิบัติได้แล้ว ประครองตัวเองได้แล้ว หาก
มีเหตุที่ต้องแนะนำกัน ท่านก็หวังว่าเราแนะนำพอได้ อย่างน้อยที่สุด ท่านก็คงหวังว่า เมื่อไม่ปฏิบัติต่อ
เลย ก็ยังจำวิธีการ แนวทาง หรือข้อปฏิบัติข้อระวังไว้ได้ โดยที่วิธีการจะไม่สูญไปหายไป ตัวอย่างวิธีการ
ที่ผมได้รับฝึกฝนมา เมื่อสอบอารมณ์กันแล้ว สิ่งไหนที่พอจะอธิบายได้ในส่วนปริยัติที่ตรงกับปฏิบัติ
ก็จะอธิบายเลย เช่นเรื่องวิปัสสนูปกิเลส บางอาจารย์จะแนะให้กำหนดรู้ไปตามจริง อย่าใส่ใจ ในส่วน
ที่ผมเคยมา ก็จะอธิบายเลยว่า คืออะไร มีกี่อย่าง ตามคัมภีร์เป็นแบบนี้ อาการที่เกิดขึ้นตรงกับข้อนี้
เมื่ออ่านภาษาคัมภีร์พร้อมไปกับการปฏิบัติ ก็จะตีคัมภีร์ปริยัติ แตกออกมาเป็นปฏิบัติได้ เมื่อไม่มีครู
อาจารย์ดูแลก็จะมีวิธีตีคัมภีร์ออกมาแบบอันตรายน้อยที่สุด ข้อนี้สังเกตคนที่อ่านศึกษาและตีความ
หมายคัมภีร์แบบอันตราย มักจะเข้าใจว่าตนเองบรรลุธรรมไปแล้ว

อนึ่ง คุณและผม อาจจะมีวิบากกรรมร่วมกันมามากบ้างน้อยบ้างตามแต่กรรมที่เป็นเหตุ ก็เลยได้มา
พบเจอกันตามแนวทางของวิบาก ข้อนี้ ใครมีวิบากกับใครก็ก็จะออกผลกันกับคนนั้น เช่นอดีตชาติ
อาจเคยร่วมปฏิบัติวิถีทางเดียวกันมา ก็จะมาเรียนรู้แนะนำกันแบบนี้ แม้กับผู้ให้ความเห็นไว้ในกระทู้
นี้ก็ตาม ก็ต้องล้วนมาจากกรรมที่เคยสัมพันธ์กัน ในส่วนของผมไม่สามารถเป็นครูอาจารย์ใครได้
ผมนึกแบบนี้เสมอ หากเป็นกัลยาณมิตรกัน ผมน้อมรับ คอยแนะนำกันไปเท่าที่เข้าใจ

ตามเหตุผลข้างต้น ผมไม่ห้าม ไม่ขัด ไม่ขวาง ถ้าการปฏิบัติจะก้าวหน้าก็ทำไปได้ เป็นผลดีกับ
คุณซะอีก เพราะโดยวิธีไหน อย่างไร ของใครๆ มีที่หวังเดียวกันคือ แก้ปัญหาให้คุณ ทำให้คุณ
เจริญก้าวหน้าได้ก็นับว่าดีที่สุดแล้ว


ขออนุโมทนาในความวิริยะอุตสาหะครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร