วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2024, 10:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยมรรค มีองค์ ๘

ในอริยสัจ ๔ กล่าวถึง มรรค มีองค์ ๘ หากจะแปลความหมายตามคำศัพท์ มรรค มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า PATH หรือแปลเป็นไทยว่า ทาง ลักษณะของ PATH คือ เป็นการเดินทางหรือการกำเนิดจากจุดเริ่มต้น ไปจุดต่อๆ ไป ตามลำดับ จนถึงจุดสุดท้าย อาจจะใช้คำว่า ครรลอง หรือวิถี ก็ได้ หลายๆ คนอาจจะแปล มรรค ว่า เป็นหนทางสู่อริยะบุคคล ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์ จึงเกิดการปฏิบัติที่ผิด “มรรค” ที่แท้แล้ว ไม่ใช่หนทางหรือวิธีการสำเร็จเป็นอริยบุคคลแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เองนักปฏิบัติธรรมจึงไม่สามารถบรรลุแม้เป็นโสดาบันขั้นต้นได้

องค์ธรรมต่างๆ ใน มรรค ที่แบ่งเป็น ๘ อย่าง อันได้แก่ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ แท้จริงแล้วเป็นลำดับการเกิดขององค์ธรรม หรือภาวะธรรมต่างๆ ในคนเรา เมื่อองค์ธรรมทั้งหมดที่พึงประสงค์เกิดขึ้นครบ ก็ถือได้ว่าเราสำเร็จเป็นอริยะบุคคลโดยสมบูรณ์

องค์ธรรมองค์แรกที่เราจะต้องยังให้เกิดให้ได้ คือความรู้จริงหรือความไม่หลงผิด หากองค์ธรรมองค์นี้ไม่เกิด องค์ธรรมองค์ต่อๆ ก็จะเกิดไม่ได้ เป็นไปตามหลักของเหตุปัจจัย เมื่อองค์ธรรมองค์แรกเกิด ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้องธรรมองค์อื่นเกิดขึ้นได้ตามลำดับ เป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องฝืน

มิจฉาทิฐินั้นเกิดจากโมหะ ซึ่งมีปัญญาเป็นศัตรู ดังนั้น ขั้นแรกต้องยังปัญญาอินทรีย์ให้แก่กล้าจนปัญญาเกิดทันโมหะให้ได้ โมหะจะเกิดขึ้นแทบทุกครั้งเมื่อจิตเกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์ เราต้องอาศัยการวิปัสสนาภาวนาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์เท่านั้น ปัญญาจึงจะเกิดและมีความแข็งแรง เมื่อเราเจริญวิปัสสนาบ่อยๆ ปัญญาจะเกิดพร้อมกับจิตที่รับรู้อารมณ์ทุกครั้งเหมือนรอยเท้าที่เดินตามจิต ถึงจะถือได้ว่า เรามีสัมมาทิฐิที่สิ้นสาสวะแล้ว

เมื่อสัมมาทิฐิเกิด ทำอะไรก็ไม่หลง เพราะความหลงตามปัญญาไม่ทันแล้ว หรือมันดับไปแล้ว สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ (ศีล) ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปหามาจากไหน ต่อมาเมื่อเราเกิดสิติ ก็ถือว่าเป็นสัมมาสติ และเมื่อภาวะธรรมต่างๆ เหล่านี้เกิด นิวรณ์ธรรมทั้งหลายก็จะอ่อนกำลังลง เพราะองค์ธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นศัตรูกับกิเลสนิวรณ์ทั้งสิ้น เมื่อเราฝึกสมาธิขั้นสูงขึ้น สมาธิที่ได้ก็จะเป็นสัมมาสมาธิ ต่อจากนี้ เราก็สามารถปฏิบัติธรรมในขั้นที่สูงขึ้นไปได้จนถึงขั้นอรหันต์

ปัญญาทำให้เกิดศีล ศีลและปัญญาทำให้เกิดสัมมาสมาธิ หรือเรียงใหม่เป็น ปัญญา ศีล สมาธิ

วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับปุตตุชนคนธรรมดาทั่วไป คือ ทาน ศีล วิปัสสนาภาวนา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 13:11, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฐิเกิด ทุกอย่างก็ง่าย อันนี้เป็นเรื่องจริงที่ผมพบด้วตัวเอง ชัดเจนมาก

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 01:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b13.jpg
b13.jpg [ 48.9 KiB | เปิดดู 6605 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับ กระทู้ดีๆอย่างนี้น่าจะให้มีผูได้อ่านเยอะๆนะครับ สาธุ

******เมื่อสัมมาทิฐิเกิด ทำอะไรก็ไม่หลง เพราะความหลงตามปัญญาไม่ทันแล้ว หรือมันดับไปแล้ว สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ (ศีล) ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปหามาจากไหน ต่อมาเมื่อเราเกิดสิติ ก็ถือว่าเป็นสัมมาสติ และเมื่อภาวะธรรมต่างๆ เหล่านี้เกิด นิวรณ์ธรรมทั้งหลายก็จะอ่อนกำลังลง เพราะองค์ธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นศัตรูกับกิเลสนิวรณ์ทั้งสิ้น เมื่อเราฝึกสมาธิขั้นสูงขึ้น สมาธิที่ได้ก็จะเป็นสัมมาสมาธิ ต่อจากนี้ เราก็สามารถปฏิบัติธรรมในขั้นที่สูงขึ้นไปได้จนถึงขั้นอรหันต์

ปัญญาทำให้เกิดศีล ศีลและปัญญาทำให้เกิดสัมมาสมาธิ หรือเรียงใหม่เป็น


ปัญญา ศีล สมาธิ

วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป คือ ทาน ศีล

วิปัสสนาภาวนา smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
มิจฉาทิฐินั้นเกิดจากโมหะ ซึ่งมีปัญญาเป็นศัตรู ดังนั้น ขั้นแรกต้องยังปัญญาอินทรีย์ให้แก่กล้าจนปัญญาเกิดทันโมหะให้ได้ โมหะจะเกิดขึ้นแทบทุกครั้งเมื่อจิตเกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์ เราต้องอาศัยการวิปัสสนาภาวนาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์เท่านั้น ปัญญาจึงจะเกิดและมีความแข็งแรง เมื่อเราเจริญวิปัสสนาบ่อยๆ ปัญญาจะเกิดพร้อมกับจิตที่รับรู้อารมณ์ทุกครั้งเหมือนรอยเท้าที่เดินตามจิต ถึงจะถือได้ว่า เรามีสัมมาทิฐิแล้ว



สวัสดีครับ

[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ

สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

สัมมาวาจา เป็นไฉน
การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ

สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ

สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ


ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่

อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ
จบสัจจบรรพ
จบธัมมานุปัสสนา


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน ?

คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 19:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ

พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยอะไร?

พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ.

ปัญญา มีอะไรเป็นประโยชน์?

ปัญญา มีความรู้ยิ่งเป็นประโยชน์ มีความกำหนดรู้เป็นประโยชน์ มีความละเป็นประโยชน์.

ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มีเท่าไร?

ธรรม ๒ ประการ คือความได้สดับแต่บุคคลอื่น ๑ ความทำในใจโดยแยบคาย ๑ เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ.

สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรมเท่าไรอนุเคราะห์แล้ว?

สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสากัจฉาอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการนี้แล อนุเคราะห์แล้ว.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ในขณะโสดาปัตติมรรค (มรรคจิตดวงที่ ๑ หรือโสดาปัตติมรรค) สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญาปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัย สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิมีในสมัยนั้น.

ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

สัมมาทิฏฐิในอริยมรรคมีองค์ ๘ (ตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป) เป็นไฉน?
๑) ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
๒) ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 14:19, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ตรัสอธิบายไว้ว่าเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ทั่วถึงความเกิดความดับ ปัญญาที่ให้ถึง รู้เกิดดับ หรือว่าปัญญาคือรู้ทั่วถึงเกิดดับ อันเป็นอริยะคือที่ประเสริฐ อันเป็นปัญญาที่เจาะแทงกิเลส ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยชอบ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เราต้องอาศัยการวิปัสสนาภาวนาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์เท่านั้น ปัญญาจึงจะเกิดและมีความแข็งแรง เมื่อเราเจริญวิปัสสนาบ่อยๆ ปัญญาจะเกิดพร้อมกับจิตที่รับรู้อารมณ์ทุกครั้งเหมือนรอยเท้าที่เดินตามจิต ถึงจะถือได้ว่า เรามีสัมมาทิฐิที่สิ้นสาสวะแล้ว



สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ข้อความนี้มีสัมมาทิฏฐิตามที่คุณยกพระไตรปิฎกมายืดยาวนี่
หรือว่า ยกมาคัดค้านข้อความของตัวเองล่ะครับ

อ่านแล้วสงสัยครับ ว่ายกมาคัดค้านหรือสนับสนุนตัวเองกันแน่

อ้างคำพูด:
เราต้องอาศัยการวิปัสสนาภาวนาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์เท่านั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญินทรีย์ คือความรู้ในการดับทุกข์ เราจะรู้ในการดับทุกข์ก็เพราะรู้จักทุกข์ รู้จักเหตุของทุกข์

ความรู้ที่จะนำมาดับทุกข์ได้ คือ การรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวติให้เท่าทันปัจจุบัน ได้แก่กฎธรรมชาติ ๒ กฎ คือ ไตรลักษณ์ และกฎของเหตุปัจจัย

การสร้าง สัมมาทิฏฐิ ก็คือ การเจริญฝึกฝนปัญญาดับทุกข์ให้แข็งกล้า (วิปัสสนาภาวนา) วิธีการก็คือ การพิจารณาสิ่งที่มากระทบสัมผัสอินทรีย์ ๖ ณ ปัจจุบันให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ พิจารณาสิ่งที่มากระทบสัมผัสว่า ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงในตัวอยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้น คงอยู่ และดับไป (อนิจัง) เป็นกองทุกข์หรือเป็นเหตุของทุกข์ (ทุกขัง) ไม่น่ายึดถือหรือว่างเว้นจากความเป็นตนและของตน (อนัตตา) ฝึกจนกว่าปัญญาจะแข็งกล้า เป็นการวิปัสสนานำสมถะ สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิต

สัมมาทิฏฐิที่ได้จากการฟังธรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง ในขณะที่ยังไม่ได้ผลญาน (มรรคญาน) ปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิก็เป็นอย่างหนึ่ง คือยังไม่มั่นคง เลิกฝึกก็เสื่อมได้ หลังจากที่ได้ผลญานแล้ว ปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง คือมั่นคงถาวร ติดตัวไปข้ามชาติข้ามภพ

ไม่รู้เหมือนกันว่า สิ่งที่นำมาแสดงมีการขัดแย้งกันตรงใหน แล้วท่านตีความว่า "เราต้องอาศัยการวิปัสสนาภาวนาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์เท่านั้น" เป็นอย่างไรครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 20:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกล่าวว่า มรรค ๘ ในอริยะสัจสี่ทางพุทธศาสนา "ที่แท้แล้ว ไม่ใช่หนทางหรือวิธีการสำเร็จเป็นอริยบุคคลแต่อย่างใด " นั้น
แล้วคุณรู้ไหมว่า หนทางหรือวิธีการที่จะสำเร็จเป็นพระอริยะบุคคล มีหนทาง และวิธีการอย่างไรบ้าง แล้วมีหลักธรรมใดที่จะทำให้สำเร็จสู่ชั้นอริยะบุคคล

สิ่งที่คุณกล่าวมาว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นก็ไม่ใช่หนทางที่จะสำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลได้ เพราะ ไตรสิกขา เป็นข้อวัตร ของปุถุชนคนทั่วไป เพื่อเป็นเครื่องอบรม ขัดเกลา ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ไม่รู้เหมือนกันว่า สิ่งที่นำมาแสดงมีการขัดแย้งกันตรงใหน แล้วท่านตีความว่า "เราต้องอาศัยการวิปัสสนาภาวนาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์เท่านั้น" เป็นอย่างไรครับ?


สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ตามความเข้าใจของผมนะครับ

ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ เพราะความรู้นี้ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้เห็นได้ครับ

สัมมาทิฏฐิคือ ความรู้ในอริยะสัจ 4 เท่านั้นครับ


ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ความรู้ที่จะนำมาดับทุกข์ได้ คือ การรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวติให้เท่าทันปัจจุบัน ได้แก่กฎธรรมชาติ ๒ กฎ คือ ไตรลักษณ์ และกฎของเหตุปัจจัย

การสร้าง สัมมาทิฏฐิ ก็คือ การเจริญฝึกฝนปัญญาดับทุกข์ให้แข็งกล้า (วิปัสสนาภาวนา) วิธีการก็คือ การพิจารณาสิ่งที่มากระทบสัมผัสอินทรีย์ ๖ ณ ปัจจุบันให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ พิจารณาสิ่งที่มากระทบสัมผัสว่า ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงในตัวอยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้น คงอยู่ และดับไป (อนิจัง) เป็นกองทุกข์หรือเป็นเหตุของทุกข์ (ทุกขัง) ไม่น่ายึดถือหรือว่างเว้นจากความเป็นตนและของตน (อนัตตา) ฝึกจนกว่าปัญญาจะแข็งกล้า เป็นการวิปัสสนานำสมถะ สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิต



สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ขอถามคำถามนะครับ

ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมมานาน ท่านบอกผมได้ไหมว่า...

สภาวะทุกข์ในอริยะสัจ 4 กับสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ สภาวะทุกข์แบบไหนที่ทำให้คุณศุภฤกษ์ทุกข์มากกว่ากัน ??


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่ขั้นของ ปัญญา ก็มีหลายขั้น..ตามสภาวะจิตและภูมิธรรมของผู้ปฏิบัติ..
-ปัญญาขั้นหยาบ ปัญญาทางโลก..ทั่วไป
-ปัญญาขั้นกลาง ปัญญาที่เป็นสุตปัญญา จินตปัญญา
-ปัญญาขั้นละเอียด ปัญญาญาณที่ฆ่ากิเลส ภาวนามยปัญญา

ทีนี้..เราจะรู้ได้อย่างไร..ว่าตัวเราเอง..มีปัญญาขั้นไหน..
หรือว่า..ตัวเราเอง..เป็นผู้ให้คะแนน..ตนเอง..จนสูงส่ง
ผู้ให้คะแนนเรา..น่าจะเป็น..ครูบาอาจารย์..ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม

บางทีมายากิเลส..สวมรอย..หลอกว่าเป็นธรรมต่างๆนานา...เข้าข้างตนเอง..
ทำให้เราหลงตนเอง..เพราะโมหะ..ของเรา..มันยังครอบงำจิตเรา
โมหะเอง..ก็มีหลายขั้น..เช่นเดียวกันกับปัญญา
ปัญญาขั้นใดก็ปราบโมหะขั้นนั้น..
ตราบใด..ที่จิตเรา..ยังมีโมหะครอบงำ..เราไม่ควรประมาท..หลงตนเอง

การเข้าหาและสนทนากับพระอริยสงฆ์ครูบาอาจารย์จึงเป็นเรื่องที่สมควรที่สุด
ดังคำพุทธพจน์..คบคนพาล พาลหาผิด คบบัณฑิต พาหาผล
เป็นหนึ่งในมงคล 38..
คำตรัสของพระพุทธองค์ ตรัสไว้แล้ว 1 ไม่มี 2 ถูกไม่มีผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่บอกว่าไม่ใช่หนทางหรือวิธีการ ก็เพราะหลายท่านเข้าใจว่าจะต้องไปถือศีล เจริญสติ เจริญสมาธิ เพราะเข้าใจว่า ต้องสร้างองค์มรรคทีละองค์จนครบ สัมมาทิฏฐิที่มีก็ได้มาจากการฟัง ซึ่งขัดแย้งกันกับที่ได้ปฏิบัติและศึกษามา เพราะเราพบว่า มรรคเป็นครรลองการเกิดองค์ธรรม เป็นผลของจากเจริญวิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่เป็นเหตุ

ไตรสิกขา คือ ข้อกำหนดที่พระจะต้องเรียน สรุปเป็นหมวดได้ 3 หมวด คือ เรื่องอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ที่ผมแสดงว่า การให้ไปถือศีล และมาเจริญสมาธิให้ได้ฌาน เพื่อที่จะได้ปัญญา จะได้มาวิปัสสนา ก็เพราะมันไม่ได้มีในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว

ข้อวัตร ของปุถุชนคนทั่วไป น่าจะเป็นฆาราวาสธรรมนะครับ ไม่ใช่ไตรสิกขา

การสำเร็จเป็นอริยะบุึคคล เริ่มจากการสร้างปัญญาสัมมาทิฏฐิก่อน องค์ธรรมอื่นๆ ก็จะสามารถเกิดขึ้นได้จนครบ ๓๗ ประการ จะเป็นแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป หรือจะเร่งรีบให้ได้เลยปัจจุบันทันด่วน ก็มีแสดงไว้ในพระสูตร

อ้างคำพูด:
ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ เพราะความรู้นี้ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้เห็นได้ครับ สัมมาทิฏฐิคือ ความรู้ในอริยะสัจ 4 เท่านั้นครับ

ก็อันเดียวกันแหละ ความรู้ในไตรลักษณ์ก็คือส่วนหนึ่งของอริยสัจ ๔ รู้ก็คือต้องรู้จริงๆ นะครับ ไม่ใช่คิดว่ารู้ ถ้าเอาแบบจิตวิทยาปัจจุบัน ก็คือ รู้ในระดับจิตใต้สำนึก ไม่ใช่ระดับจิตปกติ ที่แสดงในพระไตรปิฎกว่าสัมมาทิฏฐิมี ๒ แบบ คือ รู้จากการได้ฟังคือความเข้าใจของคนทั่วไป กับเป็นที่อนาสวะถึงจะนับเป็นองค์มรรค เราต้องสร้างที่เป็นอนาสวะ

ที่บอกว่าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ใช้รู้ว่าไตรลักษณ์คืออะไรนะครับ หมายความว่าต้องรู้จักวินิจฉัยธรรม ให้เห็นว่าธรรมทุกอย่างไม่เที่ยง เกิด ดับ เป็นความคิดเห็นเป็นความรู้ที่ใช้ดับทุกข์ได้ (ก็คือนิโรธ ในอริยสัจ ๔) ในระยะแรกๆ ก็วินิจฉัยเรื่องหยาบๆ ก่อน (รูป เวทนา อารมณ์) ต่อมาเมื่อมีปัญญาแข็งกล้าระดับหนึ่งแล้ว จึงขยับมาวินิจฉัยเรื่องที่ละเอียดขึ้น (สติปัฏฐาน ๔)

ที่คุณ มหาราชันย์ ยกมา ผมเห็นว่า เป็นนิยามสัมมาทิฏฐิของอริยะบุคคล คือผู้ที่ได้ผลญานแล้ว

วิธีการที่ผมนำมาบอก สำหรับบุคคลทั่วไปที่ยังไม่ได้ฌาน หากเป็นฌานลาภีบุคคลแล้ว การสร้างสัมมาทิฏฐิก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง แต่หลักการก็คงยังเหมือนกัน

สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรคไม่ได้เกิดเอง หรือนึกเอาเองว่าได้แล้ว ต้องสร้างต้องฝึก ถ้ายังไม่ได้ผลญาน ก็ยังใช้ไม่ได้ ถือว่ากำลังทำหรือระหว่างสร้าง ต้องเจริญปัญญาจนได้โสดาปัตติผล จึงจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ได้มรรค ๘ แล้ว ระหว่างโสดาปััติมรรคเป็นมรรค ๔

อ้างคำพูด:
สภาวะทุกข์ในอริยะสัจ 4 กับสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ สภาวะทุกข์แบบไหนที่ทำให้คุณศุภฤกษ์ทุกข์มากกว่ากัน ??

เหมือนกัน เพราะคือสิ่งเดียวกัน วิปัสสนาไปแล้วมันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่วางและว่าง โดยมากผมพิจารณาความเป็นอนัตตา กับ อนิจจัง มากกว่า ทุกข์ เพราะผมเริ่มจากธัมมานุสารี (เป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ผลก็คือใช้เวลาไป ๗-๘ เดือนเพื่ออ่านพระไตรปิฎก) ที่นี่ก็มีกายสักขีบุคคล 3-4 ท่าน แต่ส่วนมากสำเร็จเป็นสัทธาธิมุตบุคคล

เท่าที่ผมติดตามอ่านการแสดงธรรมของคุณมหาราชันย์ พอสรุปได้ว่า ท่านยึดเอาการปฏิบัติของฌานลาภีบุคคลเป็นหลัก ซึ่ง ผมว่า จะหาคนคุยด้วยยาก เพราะคนที่ทำสมาธิจนได้สมาบัติ ๘ จริงๆ มีน้อยมาก ทั่วโลกไม่รู้ถึงพันหรือเปล่า และที่จะมาปฏิบัติธรรมก็ยิ่งน้อยลงไปอีก ที่จะปฏิบัติจนสำเร็จก็น้อยยิ่งกว่าน้อย พวกผมไม่มีไครทำ เพราะสรุปแล้วว่าเสียเวลาเปล่า กายสักขี ที่เกิดนี่ก็ได้มาจากฌานที่ติดตัวมาจากชาติก่อนๆ ไม่ได้มาสร้างเอาชาตินี้สักคน

อ้างคำพูด:
ผู้ให้คะแนนเรา..น่าจะเป็น..ครูบาอาจารย์..ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม

ครับ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ก็โชคดีที่ผมมีผู้ที่สามารถตรวจสภาวะจิตได้ สำเร็จโสดาบัน เป็นกายสักขี มีสมาธิในระดับอรูปฌาน เป็นฆารวาส ยังไม่ได้บวช แต่คงอีกไม่เกิน 2 ปีท่านคงบวช ถึงตอนนั้นก็ลำบาก เพราะพระวินัยห้ามไม่ให้พระประกาศเรื่องพวกนี้

พอเป็นอริยะบุคคลแล้วคุณธรรมมันเกิดเองครับ อย่างที่ผมพยายามบอกว่า อริยะบุุคคลมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา เป็นทรัพย์ รวมๆ เรียกว่า อริยทรัพย์ อริยศีลกับศีลของคนทั่วๆ ไป ไม่เหมือนกัน ตรงที่อริยศีลเป็นนิสัยของผู้นั้น มาจากข้างใน ไม่ได้เป็นเพราะปัจจัยภายนอก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 23:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร