วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณกรัชกาย

ที่หนูเคยบอกว่านั่งสมาธิแล้วเกิดอะไรแปลก ๆ นอกจากตัวพอง เรื่องเป็นอย่างงี้ค่ะ

วันที่ฝึกนั่งสมาธิแบบนั่งขัดสมาธิวันแรก (ตอนเช้า) พอกำหนดว่า “ยุบหนอ” “พองหนอ” ซักพัก รู้สึกว่าอาการตัวพองจะเกิดเร็วขึ้น พอกำหนดว่า “ตัวพองหนอๆๆ” ประมาณ 1-2 นาที คำภาวนาก็หายไปเอง พอจะกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” ใหม่ ก็เหมือนมีแรงต้านว่าไม่ต้องกำหนดแล้ว เลยกำหนดจิตดูกาย (ไม่แน่ใจว่าทำถูกไหม) คือดูที่คอและไหล่ เห็นกระดูกคอและกระดูกไหล่เป็นสีขาว และดูต่อลงไปที่แขนขวาจนถึงมือก็เห็นกระดูกแขนกับกระดูกมือ และเห็นเนื้อสีแดงเข้มดูชุ่ม ๆ และเหมือนจะแฉะด้วย แล้วก็จะมีภาพพระพุทธรูปมีเฉพาะส่วนศีรษะกับไหล่ขึ้นมา บางทีก็มีวงกลมสีขาววนเข้าสู่จุดศูนย์กลางเรื่อย ๆ หรือไม่ก็เกิดวงกลมสีแดงส้ม บางทีก็เป็นแสงสีขาว พระพุทธรูปจะเห็นหลายครั้ง ครั้งต่อ ๆ มาจะเห็นพระพุทธรูปองค์เดิมแต่เต็มตัวเป็นปางสมาธิ หรือปางแสดงธรรม หรือปางห้ามญาติ แต่ไม่ว่าจะครึ่งตัวหรือเต็มตัว ก็จะเห็นแต่ทางด้านซ้าย ก็กำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ” อยู่ตลอด และครั้งสุดท้ายที่เห็น ก็เห็นครึ่งตัวแบบที่เห็นครั้งแรก และมีเสียงผู้ชายบอกว่า “พอแล้ว” แล้วจิตก็หลุดออกจากสมาธิเลย

พอตอนกลางคืนมานั่งอีก รู้สึกว่าตัวพองเร็วขึ้น พอกำหนดว่า “ตัวพองหนอๆ” ไม่นานเท่าตอนเช้า คำภาวนาก็หายไปเอง พอจะกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” ใหม่ ก็เหมือนมีแรงต้านว่าไม่ต้องกำหนดแล้ว คำภาวนาก็หลุดไปเองอีก ก็เห็นพระพุทธรูปครึ่งตัวเห็นด้านข้างองค์เดิมบ้าง หรือเห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ห่มจีวรสีเข้มเหมือนพระป่ายืนหันหลังแต่เฉียงมาทางซ้ายเล็กน้อย เหมือนกำลังจะเดิน เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนเสด็จออกผนวช หรือเห็นวงกลมสีขาว ตอนที่ไม่เห็นอะไรก็กำหนดจิตดูกายเหมือนเดิม (กำหนดว่า “เห็นหนอๆ” ตลอด) สลับกันไปมาจนจิตหลุดออกจากสมาธิเอง

วันต่อ ๆ มา แทบจะไม่ต้องกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” เลย รู้สึกว่าตัวไม่พองมากเท่าเดิม บางทีก็เห็นผี ก็กำหนดว่า “กลัวหนอๆ” บางทีก็รู้สึกว่าตัวเกร็ง ไม่แน่ใจว่าเกร็งเองหรือเกร็งเพราะกลัวนะคะ เวลากำหนดจิตตามดูสิ่งต่าง ๆ และมีเสียงภายนอกเกิดขึ้น บางครั้งจะไม่ได้ยินเสียง บางครั้งได้ยินเสียงแต่ไม่รู้สึกว่าเสียงรบกวนเรา แต่บางครั้งถ้ารู้สึกว่าเสียงรบกวนจะกำหนดว่า “ได้ยินหนอ”

:b10: ไม่แน่ใจว่าภาพต่าง ๆ ที่เห็น เป็นเพราะเราคิดเอง หรือภาพเหล่านั้นเกิดขึ้นเอง (เลยยังไม่กล้าเล่า) แต่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนเสด็จออกผนวชกับภาพผี ยืนยันว่าเคยเห็นแน่นอนค่ะ เคยเห็นผีในทีวี แบบมีแต่กะโหลกและผ้าสีดำคลุมหัว หรือไม่ก็หน้าตาเละ ๆ

:b5: เวลาเกิดอาการคำภาวนาหลุดหายไปเองควรทำยังไงคะ ไม่แน่ใจด้วยว่าหลุดเอง หรือเราทิ้งมัน

:b23: สับสนอลหม่านจริง ๆ ค่ะ

:b16: อีกอย่างหนึ่งก็คือ ประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา (พอ ๆ กับที่เริ่มนั่งสมาธิ แต่ไม่ได้นั่งทุกวัน) เวลาทำอะไรอยู่ที่ห้องจะฟังเสียงสวดมนต์แบบที่เป็นเพลงหรือเพลงดนตรีบรรเลงจากเว็บฟังธรรม ฟังทุกวันค่ะ ฟังแล้วใจสงบดี เพราะมีอารมณ์ร่วมไปกับเพลง แต่ถ้ามีสมาธิจริง ๆ ก็จะไม่ได้ยินเสียงเพลง แต่เดี๋ยวนี้ถึงจะได้ยินเสียงเพลง ก็จะรู้สึกว่าเพลงไม่ได้รบกวนเรา เสียงเพลงอยู่อีกที่หนึ่ง แต่เราอยู่อีกที่หนึ่ง ถ้าฟังแบบใส่หูฟังจะเห็นชัด เหมือนกับว่าเสียงเพลงอยู่ในหู แต่เราชินแล้ว พอมาฟังเพลงทั่ว ๆ ไป ก็ยังรู้อยู่ว่าเนื้อเพลงร้องว่ายังไง แต่ไม่เกิดความคิดจินตนาการตามเพลงเหมือนเมื่อก่อน ทั้ง ๆ ที่บางเพลงเคยอินกับมันมาก

:b14: ทำไมถึงรู้สึกว่าอยากแต่จะนั่งสมาธิ ไม่อยากทำอย่างอื่นเลยล่ะคะ คิดว่าไม่ใช่ความมุ่งมั่น แต่เหมือนติดมากกว่าค่ะ เป็นแบบนี้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว แต่ลืมเล่าให้ฟังค่ะ แต่ว่าตอนนี้ไม่ค่อยเป็นแล้ว

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 31 ก.ค. 2009, 11:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
หมายความว่าเดินปกติแต่กำหนดจิตว่า "ซ้ายหนอ" "ขวาหนอ" ไปด้วยใช่ไหมคะ ไม่ต้องถึงกับ "ยกหนอ" "ย่างหนอ" "เหยียบหนอ"


นอกบ้าน เราก็เดินปกติ เหมือนเดินทั่วๆไปนั่นแหละ
แต่ภายในเรารู้สึกตัวว่ากำลังคิดทำอะไร

หากเดินเร็ว ตัดคำว่า หนอ ออกก่อนได้ ประยุกต์ให้เหมาะกับการเดิน วิ่ง(ช้า-เร็ว) ในขณะนั้นๆ
(ไม่พึงติด ศัพท์ "หนอ" โดยไม่มีเหตุผล)

เดินจงกรม ก็คือ เดินกลับไปกลับมา หมายความว่า เดินสุดพื้นที่แล้ว ก็กลับหลังหันเดินใหม่
เรียกว่า เดินจงกรม -(ส. จงกรม ป.จงฺกมติ)

หากออกวิ่ง จะเรียกว่า "วิ่งจงกรม" ก็ยังได้ คือ วิ่งกลับไปกลับมา แต่เราตามดูรู้ทันอาการเคลื่อนไหวนั้นๆ

วิ่งก็ตัดหนอออก เอาแต่ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา ฯลฯ ก็วิ่งเพลินไปเท่านั้น :b16:

นั่นเป็นเพียงวิธี,อุบาย, หรือ หนทางเจริญสติ (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) โดยใช้ร่างกายเป็นอารมณ์ :b16: หรือเป็นกรรมฐาน :b16:


อนึ่ง ยกหนอ ย่างหนอ เหยี่ยบหนอ ฯลฯ ระยะสูงขึ้นไป เราฝึกเมื่อต้องการจะปรับอินทรีย์ธรรม
(...วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินรีย์) ขึ้นไปอีก

แบบนี้มาฝึกทำที่ห้อง เมื่อถึงเวลาอันสมควร
ไม่ควรฝึกทำตามท้องถนน ตามห้างสรรพสินค้า :b32: เดี๋ยวชาวพาราจะว่ายัยนีท่าจะเพี้ยน
ตานี่ท่าจะบร้า :b32:

ไม่มีอะไรยุ่งยากเลยใช่ไหมครับ แต่ทิฐิแต่ละคนทำให้ต่าง เพราะไม่เข้าใจเหตุผลการฝึกการกระทำ
ที่แท้จริง ถึงข้างใน จึงติดเพียงรูปแบบ


อ้างคำพูด:
แต่หนูไม่แน่ใจว่า หนูไม่แน่ใจว่า ตัวเองโดนทุบด้วยหรือเปล่า


หุหุ ไม่ทุบหรอกจ้า ทุบสุ่ม ๔ สุ่ม ๕ ได้ที่ไหน :b16: :b32:

ต่อไปมีอะไรข้องใจ ก็ถามนะขอรับ ไม่ต้องเกรงใจ ไม่พึงเก็บไว้ให้เป็นหลักตอทิ่มตำใจ :b12:




มีเวลาค่อยๆศึกษา เกี่ยวกับจงกรมที่ =>

viewtopic.php?f=2&t=20691



ขอบพระคุณค่ะ :b8: :b16:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ คุณเพียรกำหนดนามรูปนั้นต่อไปเถิด :b8:

ตอบสั้นๆ รวมๆให้สบายใจก่อน ส่วนรายละเอียดจะตอบให้อีกครั้งหนึ่ง

โดยรวมไม่มีอะไรเสียหายครับ คุณก็ปฏิบัติถูกต้องแล้ว เห็นพระเห็นอะไรๆ ขณะนั้นๆ “เห็นหนอๆๆ”
ได้ยินเสียงชัด “เสียงหนอๆๆ” ไม่ได้ยินก็ไม่ต้อง ดูอารมณ์ปัจจุบัน คือ พอง-ยุบไป

แล้วที่ว่า เหมือนมีแรงต้าน (ความรู้สึกนึกคิดอีกขณะหนึ่ง) ว่าไม่ต้องกำหนดแล้ว
ให้เรากำหนดแรงต้าน หรือ ความรู้สึกนั้นด้วยก่อน “ไม่กำหนดแล้วหนอๆๆ” แล้วก็พองหนอ ยุบหนอ
นั่งหนอ ต่อไป (เพิ่มรูปนั่งเข้าอีก) พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ (รูปนั่งทั้งองคาพยพ รวมๆ)

มีแรงต้าน หรือ คิดปรุงแต่งอย่างไรขึ้นอีก กำหนดอย่างนั้นอีก (เป็นกิเลสไม่มีอะไรหรอก)

คำภาวนาหาย ก็กำหนดตามนั้น “หายหนอๆๆๆ” (คำภาวนาหาย -กำหนดไปเดี๋ยวก็คืน เป็นไตรลักษณ์ทั้งนั้น ไม่มีอะไรจิรัง หายแล้วก็คืน คืน แล้วก็หาย)
จำไว้ครับ รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้น

เกาะจับรูป (กาย) กับความคิด (นาม) ไป ชีวิตมีเพียงเท่านี้ ที่เกินๆมาเป็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน
กำหนดรู้ หรือ ทำปริญญากิจ ไปตามนั้น

อ้อ ... เดินจงกรม เฉพาะระยะที่หนึ่งบ้างนะครับ อย่างน้อยๆ ก่อนนั่งเดินซัก ๑๐ -๑๕ นาที ก็ยังดี
ไม่เดินเลยไม่ควร

คุณยังนั่ง ๒๐ นาทีอยู่ใช่ไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สาธุ คุณเพียรกำหนดนามรูปนั้นต่อไปเถิด :b8:

ตอบสั้นๆ รวมๆให้สบายใจก่อน ส่วนรายละเอียดจะตอบให้อีกครั้งหนึ่ง

โดยรวมไม่มีอะไรเสียหายครับ คุณก็ปฏิบัติถูกต้องแล้ว เห็นพระเห็นอะไรๆ ขณะนั้นๆ “เห็นหนอๆๆ”
ได้ยินเสียงชัด “เสียงหนอๆๆ” ไม่ได้ยินก็ไม่ต้อง ดูอารมณ์ปัจจุบัน คือ พอง-ยุบไป

แล้วที่ว่า เหมือนมีแรงต้าน (ความรู้สึกนึกคิดอีกขณะหนึ่ง) ว่าไม่ต้องกำหนดแล้ว
ให้เรากำหนดแรงต้าน หรือ ความรู้สึกนั้นด้วยก่อน “ไม่กำหนดแล้วหนอๆๆ” แล้วก็พองหนอ ยุบหนอ
นั่งหนอ ต่อไป (เพิ่มรูปนั่งเข้าอีก) พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ (รูปนั่งทั้งองคาพยพ รวมๆ)

มีแรงต้าน หรือ คิดปรุงแต่งอย่างไรขึ้นอีก กำหนดอย่างนั้นอีก (เป็นกิเลสไม่มีอะไรหรอก)

คำภาวนาหาย ก็กำหนดตามนั้น “หายหนอๆๆๆ” (คำภาวนาหาย -กำหนดไปเดี๋ยวก็คืน เป็นไตรลักษณ์ทั้งนั้น ไม่มีอะไรจิรัง หายแล้วก็คืน คืน แล้วก็หาย)
จำไว้ครับ รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้น

เกาะจับรูป (กาย) กับความคิด (นาม) ไป ชีวิตมีเพียงเท่านี้ ที่เกินๆมาเป็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน
กำหนดรู้ หรือ ทำปริญญากิจ ไปตามนั้น

อ้อ ... เดินจงกรม เฉพาะระยะที่หนึ่งบ้างนะครับ อย่างน้อยๆ ก่อนนั่งเดินซัก ๑๐ -๑๕ นาที ก็ยังดี
ไม่เดินเลยไม่ควร

คุณยังนั่ง ๒๐ นาทีอยู่ใช่ไหมครับ


ขอบพระคุณค่ะ :b8:

ยังนั่ง ๒๐ นาทีอยู่ค่ะ
ถ้านั่งมากหรือน้อยกว่านี้จะเป็นยังไงหรือคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยังนั่ง ๒๐ นาทีอยู่ค่ะ
ถ้านั่งมากหรือน้อยกว่านี้จะเป็นยังไงหรือคะ


ไม่เป็นไรขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ยืน เดิน นั่ง นอน ทำได้หมดครับ อยู่ที่ ใจ ว่าจะสู้ๆ มะ smiley

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


หยุดดู จึงเห็น หยุดฟัง จึงได้ยิน หยุดคิด จึงรู้ หยุดทุกสิ่ง จึงเข้าใจ
นั่งก็ดีแล้ว ไม่เมื่อยมากเหมือนเดิน :b32:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
ชาติสยาม เขียน:
หลวงพ่อพุธ กับหลวงปู่ดูลย์พูดเหมือนกันอย่างหนึ่ง
ว่า "อิริยาบทไหนก็ได้"


สวัสดีค่ะ คุณชาติสยาม
หนูไม่แจ้ง ว่าคุณมีความเห็นหรือรู้สึกอย่างไรค่ะ


หมายถึงว่า อิริยาบทไหน ถ้าวางใจได้ถูกที่แล้วมันก็ใช้ได้ทั้งนั้นแหละครับ

อาจารย์ที่ผมนับถือท่านเทศน์ว่า สมัยพุทธกาล ต้องนั่งคู้บัลลังก์ (นั่งขัดสมาธิ)
เพราะเป้นอิริยาบทที่สามารถดำรงกายได้มั่นคงกว่าอิริยาบทอื่นๆ
สมัยก่อนไม่มีเก้าอี้ แล้วก็อยู่ในป่ากัน ตามดินดอน เนินทราย กกไม้ ร่มไม้
ดังนั้นท่านั่งที่ดีที่สุดเมื่อใช้ชีวิตอยู่ในป่าคือน่านั่งขัดสมาธิ (คู้บัลลังก์)

แต่ว่าถ้าเรามีร่างกายไม่อำนวย เช่นว่าเราแก่แล้ว กระดูกไม่ดี เอ็นไม่ดี
หรือมีเหตุอะไรก็แล้วแต่ ถ้านั่งแล้วลำบากจนทรมาน
ก็สามารถที่จะนั่งท่าอื่นๆได้ เช่นนั่งเก้าอิ้ นั่งในรถเมล์รถไฟ นั่งในรถยนต์
นั่งตรง นั่งยังไง ไหนถ้าวางใจถูกที่ ก็ใช้ได้

ถ้ายังไงหลวงศึกษาวิธีปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อพุธ กับหลวงปู่ดูลย์ดูได้นะครับ
หลวงพ่อพุธก็นับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นอาจารย์

ทั้งสองท่านสอนได้เรียบง่ายที่สุดแล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญชัย เขียน:
หยุดดู จึงเห็น หยุดฟัง จึงได้ยิน หยุดคิด จึงรู้ หยุดทุกสิ่ง จึงเข้าใจ
นั่งก็ดีแล้ว ไม่เมื่อยมากเหมือนเดิน :b32:




ตรงนี้ขอติงคุณบุญชัยนิดนึงนะคะ ..

การที่จะพูดเล่นหรือล้อเล่น ดูนิดนึงนะคะ ..

การที่กล่าวว่า นั่งก็ดีแล้ว ไม่เมื่อยเหมือนเดินน่ะ ไม่ถูกต้องนะคะ ...

เหตุที่ให้เดินจงกรม ก่อนนั่งเพราะอะไร แล้วการเดินจงกรมนั้นสำคัญอย่างไร? คุณน่าจะทราบดีนะคะ

เห็นคุณเคยเล่าไว้นี้คะ ว่าเป็นครูสอนสมาธิ

แล้วไหงสอบตกข้อนี้ไปได้คะ ..

Onion_L

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วันที่ฝึกนั่งสมาธิแบบนั่งขัดสมาธิวันแรก (ตอนเช้า) พอกำหนดว่า “ยุบหนอ” “พองหนอ” ซักพัก รู้สึกว่าอาการตัวพองจะเกิดเร็วขึ้น พอกำหนดว่า “ตัวพองหนอๆๆ” ประมาณ 1-2 นาที คำภาวนาก็หายไปเอง พอจะกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” ใหม่ ก็เหมือนมีแรงต้านว่า ไม่ต้องกำหนดแล้ว



คำภาวนาหาย “หายหนอๆๆ” ก่อน
กำหนดแล้ว ก็จับเกาะพองยุบ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ต่อไป

แต่เหมือนรู้สึกว่ามีแรงต้านดังกล่าว กำหนดก่อน “ไม่ต้องกำหนดแล้วหนอๆๆ”

เมื่อกำหนดตามนั้นแล้ว จับพอง-ยุบ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ต่อไป
(นั่ง่หนอ ดูรูปที่นั่งโดยรวมทั้งหมด ไปต้องวาดภาพลึกถึงเนื้อหนังกระดู ไม่ครับ
นั่งหนอ ดูอาการที่นั่งอยู่ พอแล้ว พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ)


อ้างคำพูด:
เลยกำหนดจิตดูกาย (ไม่แน่ใจว่าทำถูกไหม) คือ ดูที่คอและไหล่ เห็นกระดูกคอและกระดูกไหล่เป็นสีขาว และดูต่อลงไปที่แขนขวาจนถึงมือก็เห็นกระดูกแขนกับกระดูกมือ และเห็นเนื้อสีแดงเข้มดูชุ่ม ๆ และเหมือนจะแฉะด้วย
ตอนที่เห็นในสมาธิไม่คลื่นไส้ ไม่ขยะแขยง
แต่ถ้านึกถึงกระดูกและเนื้อตอนที่ไม่ได้นั่งสมาธิ อย่างเช่นตอนที่กำลังพิมพ์อธิบายอยู่นี้ ก็คลื่นไส้ขยะแขยง แล้วก็จะมีภาพพระพุทธรูปมีเฉพาะส่วนศีรษะกับไหล่ขึ้นมา บางทีก็มีวงกลมสีขาววนเข้าสู่จุดศูนย์กลางเรื่อย ๆ หรือไม่ก็เกิดวงกลมสีแดงส้ม บางทีก็เป็นแสงสีขาว พระพุทธรูปจะเห็นหลายครั้ง
ครั้งต่อ ๆ มาจะเห็นพระพุทธรูปองค์เดิมแต่เต็มตัวเป็นปางสมาธิ หรือปางแสดงธรรม หรือปางห้ามญาติ แต่ไม่ว่าจะครึ่งตัวหรือเต็มตัว ก็จะเห็นแต่ทางด้านซ้าย ก็กำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ” อยู่ตลอด และครั้งสุดท้ายที่เห็น ก็เห็นครึ่งตัวแบบที่เห็นครั้งแรก และมีเสียงผู้ชายบอกว่า “พอแล้ว” แล้วจิตก็หลุดออก
จากสมาธิเอง



คำภาวนาก็หายไปเอง พอจะกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” ใหม่
ก็เหมือนมีแรงต้านว่า “ไม่ต้องกำหนดแล้ว”

มีเสียงผู้ชายบอกว่า “พอแล้ว” แล้วจิตก็หลุดออกจากสมาธิเอง




คุณมีเพียรภาวนา สาธุๆ (หากจะเรียกให้ตรงๆ ก็ว่า วิริยะ เจริญแล้ว)

(อย่างนั้น ไม่ถึงกับผิด แต่หลงกลกิเลสมาร)

ต่อๆ ไป เมื่อได้ยินเสียง "พอแล้ว" กำหนดก่อน “พอแล้วหนอๆๆ”

เห็นรูปพระ รูปอะไร 108 พันประการ “เห็นหนอๆๆๆ”
สังขารธรรมปรุงแต่ง ให้ได้เห็น ให้ได้ยิน ให้ได้กลิ่น เป็นต้นได้มากมาย
แต่ตัวสติที่เข้าไปกำหนดรู้ตามที่มันเป็นนั้นแหละ จะเป็นตัวตัดกระแสเหล่านั้น


ประเด็น => (มีเสียงผู้ชายบอกว่า “พอแล้ว” แล้วจิตก็หลุดออกจากสมาธิเอง)


หากคุณมีสุขภาพกายแข็งแรงสักนิด กรัชกายจะแนะนำให้กำจัดกิเลส (เสียงผู้ชายที่ลวงเราเสีย)
ให้ขาดสะบั่น ด้วยการเพิ่มเวลานั่งอีกซัก ๒-๓ นาที เมื่อถึงจุดที่เคยได้ยินเสียงบอก พอแล้ว กำหนดเลย “พอแล้วหนอๆๆ” แล้วกิเลสตัวนี้จะขาดตอน ไปวกวนกลับมาอีก คือไม่เกิดอีก
ถึงเกิดอีก ความแรงก็ลดลง และหมดไปในที่สุด

แต่เอาเถอะ สุขภาพเราได้แค่นี้ก็แค่นี้ ดีถมไปแล้วครับ
สรุปว่า เมื่อได้ยินเสียงลวง พอแล้วๆ อีก กำหนดตามนั้น “พอแล้วหนอๆๆ”
เมือได้ยินเสียงลวง ไม่ต้องกำหนดแล้วๆ อีก กำหนดตามนั้น “ไม่ต้องกำหนดแล้วหนอๆๆ”
นี่คือวิธีการกำจัดกิเลสทุกชนิด


อาการคลื่นไส้ ก็เช่นกัน รู้สึกคลื่นไส้ ไม่ว่า เกิดตอนไหนขณะใด
แม้จะเลิกทำกรรมฐานมาแล้ว รู้สึกคลื่นไส้ ให้กำหนดด้วย “คลื่นไส้หนอๆๆ”
กำหนดตามนั้นเสียแล้ว ก็ทำงานเราต่อไป

ไม่ต้องตกใจครับ บางคนอ้วกเลย เป็นสภาพของมัน
ผู้ปฏิบัติที่เดินมาถูกทางจะต้องประสบอารมณ์เช่นนี้เป็นธรรมดา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พอตอนกลางคืนมานั่งอีก รู้สึกว่าตัวพองเร็วขึ้น พอกำหนดว่า
“ตัวพองหนอๆ” ไม่นานเท่าตอนเช้า คำภาวนาก็หายไปเอง
พอจะกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” ใหม่ ก็เหมือนมีแรงต้านว่าไม่ต้องกำหนดแล้ว
ภาวนาก็หายไปเองอีก



พอตอนกลางคืนมานั่งอีก รู้สึกว่าตัวพองเร็วขึ้น



รูปนามเกิดดับเร็วขึ้น เพราะสติสัมปชัญญะละเอียดขึ้น เนื่องจากเรากำหนดรูปนามได้ละเอียดขึ้น
จึงเป็นเช่นนั้น

กล่าวไว้ข้างต้นบ้างแล้วว่า เมื่อสภาวธรรมใดเกิด แล้วโยคีไม่กำหนดสภาวธรรมนั้น
วงจรความคิดกก็ไม่ขาด เมื่อไม่ขาด ถึงตรงนั้นอาการนั้นก็ปรากฏอีก ในทุกๆสภาวะครับ
ดังนั้น จึงต้องกำหนดทุกอารมณ์ที่เกิดปรากฏ


อ้างคำพูด:
ก็เห็นพระพุทธรูปครึ่งตัวเห็นด้านข้างองค์เดิมบ้าง หรือเห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ห่มจีวรสีเข้มเหมือนพระป่ายืนหันหลังแต่เฉียงมาทางซ้ายเล็กน้อย เหมือนกำลังจะเดิน เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนเสด็จออกผนวช หรือเห็นวงกลมสีขาว ตอนที่ไม่เห็นอะไรก็กำหนดจิตดูกายเหมือนเดิม (กำหนดว่า “เห็นหนอๆ” ตลอด) สลับกันไปมาจนจิตหลุดออกจากสมาธิเอง



แก้ให้หน่อยนะครับ พอง ยุบ เป็นหลัก พองหนอ ยุบหนอ (ต่อไปเพิ่มว่า นั่งหนอ เป็นหลัก)

เมื่ออยู่ที่หลักคือพองยุบ เมื่อเห็น ได้ยิน วางพอง ยุบ แล้วกำหนด “เห็นหนอๆๆ” เป็นต้น
กำหนดแล้ว จบขณะหนึ่ง แล้วดึงสติให้มาเกาะจับพอง ยุบ ต่อไปใหม่ อย่างนี้ครับ


อ้างคำพูด:
วันต่อ ๆ มา แทบจะไม่ต้องกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” เลย มีแรงต้านว่าไม่ต้องกำหนดแล้ว ตัวไม่พองมากเท่าเดิม บางทีก็เห็นผี ก็กำหนดว่า “กลัวหนอๆ” บางทีก็รู้สึกว่าตัวเกร็ง ไม่แน่ใจว่าเกร็งเองหรือเกร็งเพราะกลัวนะคะ เวลากำหนดจิตตามดูสิ่งต่าง ๆ และมีเสียงภายนอกเกิดขึ้น บางครั้งจะไม่ได้ยินเสียง
บางครั้งได้ยินเสียง แต่ไม่รู้สึกว่าเสียงรบกวนเรา
แต่บางครั้ง ถ้ารู้สึกว่าเสียงรบกวนจะกำหนดว่า “ได้ยินหนอ”



ดังกล่าวแล้ว เมื่อเราไม่กำหนด แรงต้านดังว่า เสียด้วยก่อน ครั้นจะกำหนดกรรมฐาน คือ
พองหนอ ยุบหนอ ต่อ เหมือนมารมาขวาง ไม่ให้ทำ ไม่ให้กำหนด


วันต่อ ๆ มา แทบจะไม่ต้องกำหนด “ยุบหนอ” “พองหนอ” เลย มีแรงต้านว่า ไม่ต้องกำหนดแล้ว


กำหนดแรงต้านนั้นเสียด้วย "ไม่ต้องกำหนดแล้วหนอๆๆ" หากไม่กำหนดตามนั้น ปล่อยไว้จิตจะยึดมั่น
ต่อสิ่งนั้นหนาขึ้นๆ


อ้างคำพูด:
ไม่แน่ใจว่าภาพต่าง ๆ ที่เห็น เป็นเพราะเราคิดเอง หรือภาพเหล่านั้นเกิดขึ้นเอง (เลยยังไม่กล้าเล่า) แต่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนเสด็จออกผนวชกับภาพผี ยืนยันว่าเคยเห็นแน่นอนค่ะ เคยเห็นผีในทีวี แบบมีแต่กะโหลกและผ้าสีดำคลุมหัว หรือไม่ก็หน้าตาเละ ๆ



เกิดจากความจำเก่าๆบ้าง เกิดจากสังขารธรรมปรุงแต่งบ้าง
แต่รายละเอียดจะเกิดจากอะไรก็ตาม สติสัมปชัญญะสมาธิ ที่เติบขึ้นจากกำหนดปัจจุบันธรรมแต่ละขณะๆ
นี่แหละ จะขจัดกวาดล้าง เครื่องเศร้าหมองหรือทุกข์เหล่านั้นให้หมดไปจากจิตใจเอง


อ้างคำพูด:
เวลาเกิดอาการคำภาวนาหายไปเองควรทำยังไงคะ



คำภาวนาหาย แต่ยังเห็นรูปที่นั่ง เห็นพองยุบอยู่ ไหมครับ


เมื่อคำภาวนาหาย กำหนด “หายหนอๆๆๆ ” ก่อนแล้วก็กำหนดรูปที่นั่งบ้าง “นั่งหนอๆๆๆ”
ในรูปกับนามนั้น ส่วนไหนยังปรากฏ ก็ยึดเกาะส่วนนั้นภาวนาไป
แต่พองยุบเป็นหลัก เมื่อกำหนดพองยุบได้ ก็ยึดเกาะพองยุบไป



อ้างคำพูด:
สับสนอลหม่านจริง ๆ ค่ะ



เป็นธรรมดาครับช่วงนี้ แต่ต่อไป กิเลสหยาบๆ จะค่อยๆ ลดลง เพราะการกำหนดรู้แต่ละขณะๆนี่เอง ความอลหม่านก็ลดลง
แรกๆเปรียบก็เหมือนตะกอนในตุ่มน้ำ เมื่อถูกกวนจะเห็นตะกอนเต็มไปหมด


อ้างคำพูด:
อีกอย่างหนึ่งก็คือ ประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา (พอ ๆ กับที่เริ่มนั่งสมาธิ แต่ไม่ได้นั่งทุกวัน) เวลาทำอะไรอยู่ที่ห้อง จะฟังเสียงสวดมนต์แบบที่เป็นเพลงหรือเพลงดนตรีบรรเลงจากเว็บฟังธรรม ฟังทุกวันค่ะ ฟังแล้วใจสงบดี เพราะมีอารมณ์ร่วมไปกับเพลง แต่ถ้ามีสมาธิจริง ๆ ก็จะไม่ได้ยินเสียงเพลง แต่เดี๋ยวนี้ถึงจะได้ยินเสียงเพลง ก็จะรู้สึกว่าเพลงไม่ได้รบกวนเรา เสียงเพลงอยู่อีกที่หนึ่ง แต่เราอยู่อีกที่หนึ่ง
ถ้าฟังแบบใส่หูฟังจะเห็นชัด เหมือนกับว่าเสียงเพลงอยู่ในหู แต่เราชินแล้ว
พอมาฟังเพลงทั่ว ๆ ไป ก็ยังรู้อยู่ว่าเนื้อเพลงร้องว่ายังไง แต่ไม่เกิดความคิดจินตนาการตามเพลงเหมือนเมื่อก่อน ทั้ง ๆ ที่บางเพลงเคยอินกับมันมาก



เป็นธรรมดาครับ เมื่อองค์ธรรมฝ่ายกุศล เช่น สติ สมาธิ ปัญญา เป็นต้นมีกำลังมากขึ้น
ก็เหมือนเป็นตัวกั้นอกุศลทางตา หู จมูก ฯลฯ ไม่ให้เข้าไปกระทบความรู้สึกจนเสียศูนย์ได้ง่ายๆ
ต่อไปก็จะเข้าใจ คำว่า เห็นเพียงเห็น ได้ยินเพียงได้ยิน แต่รู้ทุกอย่างว่าอะไร เสียงอะไร
แต่ไม่อินไปกับมัน


อ้างคำพูด:
ทำไม ถึงรู้สึกว่าอยากแต่จะนั่งสมาธิ ไม่อยากทำอย่างอื่นเลยล่ะคะ คิดว่าไม่ใช่ความมุ่งมั่น แต่เหมือนติดมากกว่าค่ะ เป็นแบบนี้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว แต่ลืมเล่าให้ฟังค่ะ แต่ว่าตอนนี้ไม่ค่อยเป็นแล้ว



เพราะสมาธิล้ำองค์ธรรมข้ออื่น เช่น วิริยะ ครับ
กรัชกายจึงบอกคุณก่อนหน้าว่า ให้เดินจงกรมระยะที่หนึ่งบ้าง แต่ไม่เสียอะไรครับ
เมื่อหยุดพักการปฏิบัติสมาธิก็ลดลงได้

เมื่อรู้สึกว่า อยากนั่ง แต่เรามีติดพันงานประจำวัน รู้สึกอยากจะนั่ง กำหนดความคิด
“อยากนั่งหนอๆๆ” ก่อน แล้วก็ทำงานเฉพาะหน้าต่อไป เอางานนั้นเป็นกรรมฐาน
เท่านี้เองครับ
สาธุ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณคุณชาติสยามและคุณบุญชัยที่ให้คำแนะนำว่าจะทำสมาธิในอิริยาบถใดก็ได้นะคะ

ที่เปลี่ยนจากนอนมาเป็นนั่งขัดสมาธิก็เพราะหนูอยากจะลองนั่งขัดสมาธิดูบ้าง
อยากนั่งขัดสมาธิให้ได้เป็นปกติ เพราะตอนนี้อาการป่วยดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน
เวลาทำอะไรที่ต้องนั่งก็จะนั่งขัดสมาธิเหมือนกันค่ะ เมื่อยเมื่อไหร่ค่อยเปลี่ยนท่า

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำแบบละเอียดค่ะคุณกรัชกาย :b8:

อย่างงี้แปลว่าต้องตามรู้ทุกขณะจิตใช่ไหมคะ
แปลว่าสติยังไม่มากพอ

เช้าของวันหลังจากวันที่คุณกรัชกายแนะนำว่าถ้ารู้สึกว่าตัวพองให้กำหนดว่า "ตัวพองหนอๆ"
ตอนที่ตื่นขึ้นมา ขณะลืมตาได้ยินเสียงผู้ชายพูดว่า " ให้กำหนดว่า 'ตัวพองหนอๆ' " ด้วยค่ะ
เป็นเพราะอะไรคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อย่างงี้แปลว่า ต้องตามรู้ทุกขณะจิตใช่ไหมคะ
แปลว่า สติยังไม่มากพอ



ถูกครับ ตามดูรู้ทันทุกๆ ขณะ แล้วกำหนดจิตตามนั้นด้วย

รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้น มีอาการอย่างไร กำหนดตามอาการ แล้วสติสัมปชัญญะสมาธิ ฯลฯ
จะเจริญขึ้นๆ ตามปริมาณที่กำหนดรู้นั้น
ศึกษาธรรมชาติ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ คร่าวๆ ๓ คห. หน้าสุดท้ายลิงค์นี้ครับ

viewtopic.php?f=2&t=21861&start=30


นำมาให้พิจารณาตรงนี้หน่อยหนึ่ง ลิงค์นั้นคุณรินรสดูต่อจากตรงนี้ไป =>



ในเวลาปฏิบัติจริง ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่น ๆ ควบอยู่ด้วย
ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วย อย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ


ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึง
เพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้าง และ รักษาความดี)
2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)
3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)

ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่ามี สัมปชัญญะ
สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ
สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา

ดังนั้น การฝึกฝน ในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนด


อ้างคำพูด:
เช้าของวันหลัง จากวันที่คุณกรัชกายแนะนำว่า ถ้ารู้สึกว่าตัวพองให้กำหนดว่า
"ตัวพองหนอๆ"
ตอนที่ตื่นขึ้นมา ขณะลืมตาได้ยินเสียงผู้ชายพูดว่า ให้กำหนดว่า 'ตัวพองหนอๆ' " ด้วยค่ะ
เป็นเพราะอะไรคะ


ตอนที่ตื่นขึ้นมา ขณะลืมตาได้ยินเสียงผู้ชายพูดว่า ให้กำหนดว่า 'ตัวพองหนอๆ' " ด้วยค่ะ
เป็นเพราะอะไรคะ



เพราะสัญญาครับ ไม่เสียหายอะไร ไม่ต้องตกใจ ต่อไปได้ยินอีก “คิดหนอๆๆ” เสียด้วย

อย่างนี้ขอรับ เราเพิ่งตื่นนอน คือ ยังงัวเงี่ยๆอยู่ พูดง่ายๆว่า ตื่นยังไม่เต็มร้อย

ขณะนั้น จิตยังไม่มีอารมณ์ภายนอกเสพ ก็เสพอารมณ์ทางใจ (ธรรมารมณ์) ที่ตนเคยเสพก่อนหน้า
ต่อเมื่อเรารู้สึกตัวตื่นเต็มที่ จิตก็จะรับรู้อารมณ์ทางอายตนะต่างๆ ตามปกติ
แล้วความรู้สึกดังกล่าว ก็เหมือนถูกอารมณ์ใหม่ปัจจุบันทับเงียบไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
อย่างงี้แปลว่า ต้องตามรู้ทุกขณะจิตใช่ไหมคะ
แปลว่า สติยังไม่มากพอ



ถูกครับ ตามดูรู้ทันทุกๆ ขณะ แล้วกำหนดจิตตามนั้นด้วย

รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้น มีอาการอย่างไร กำหนดตามอาการ แล้วสติสัมปชัญญะสมาธิ ฯลฯ
จะเจริญขึ้นๆ ตามปริมาณที่กำหนดรู้นั้น
ศึกษาธรรมชาติ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ คร่าวๆ ๓ คห. หน้าสุดท้ายลิงค์นี้ครับ

viewtopic.php?f=2&t=21861&start=30


นำมาให้พิจารณาตรงนี้หน่อยหนึ่ง ลิงค์นั้นคุณรินรสดูต่อจากตรงนี้ไป =>



ในเวลาปฏิบัติจริง ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่น ๆ ควบอยู่ด้วย
ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วย อย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ


ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึง
เพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้าง และ รักษาความดี)
2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)
3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)

ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่ามี สัมปชัญญะ
สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ
สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา

ดังนั้น การฝึกฝน ในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนด


อ้างคำพูด:
เช้าของวันหลัง จากวันที่คุณกรัชกายแนะนำว่า ถ้ารู้สึกว่าตัวพองให้กำหนดว่า
"ตัวพองหนอๆ"
ตอนที่ตื่นขึ้นมา ขณะลืมตาได้ยินเสียงผู้ชายพูดว่า ให้กำหนดว่า 'ตัวพองหนอๆ' " ด้วยค่ะ
เป็นเพราะอะไรคะ


ตอนที่ตื่นขึ้นมา ขณะลืมตาได้ยินเสียงผู้ชายพูดว่า ให้กำหนดว่า 'ตัวพองหนอๆ' " ด้วยค่ะ
เป็นเพราะอะไรคะ



เพราะสัญญาครับ ไม่เสียหายอะไร ไม่ต้องตกใจ ต่อไปได้ยินอีก “คิดหนอๆๆ” เสียด้วย

อย่างนี้ขอรับ เราเพิ่งตื่นนอน คือ ยังงัวเงี่ยๆอยู่ พูดง่ายๆว่า ตื่นยังไม่เต็มร้อย

ขณะนั้น จิตยังไม่มีอารมณ์ภายนอกเสพ ก็เสพอารมณ์ทางใจ (ธรรมารมณ์) ที่ตนเคยเสพก่อนหน้า
ต่อเมื่อเรารู้สึกตัวตื่นเต็มที่ จิตก็จะรับรู้อารมณ์ทางอายตนะต่างๆ ตามปกติ
แล้วความรู้สึกดังกล่าว ก็เหมือนถูกอารมณ์ใหม่ปัจจุบันทับเงียบไป



ขอบพระคุณค่ะ :b8:

เมื่อคืนฝึกเดินจงกรมระยะที่ 1 15 นาที
รู้สึกว่าขณะเดินไม่ค่อยฟุ้งซ่านนะคะ
แต่ก็นึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นตอนกลางวันบ้าง มีมาแว้บเดียว ยังไม่ทันกำหนดก็หายไปเอง 1 ครั้ง แต่บางทีก็ต้องกำหนดว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" 4-5 ครั้ง จึงจะหาย 5 ครั้ง

พอมานั่งแรก ๆ ก็กำหนด "ยุบหนอ" "พองหนอ" ประมาณเกือบ 10 นาที ไม่เห็นอะไร ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

หลังจากนั้นก็เห็นพระพุทธรูปครึ่งตัวบน (องค์เดียวกับที่เคยเห็น) ยิ้ม

บางทีก็เห็นพระพุทธรูปปางประทับยืนขนาดเล็ก ตอนแรกก็ยืนเฉยๆ ต่อมาท่านตีลังกานานประมาณ 5-6 นาที แล้วก็เห็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดเล็ก ยิ้มน้อย ๆ แล้วยื่นบาตรออกมาเหมือนกับว่าจะให้เราเอาเงินใส่บาตร พร้อมกับมีเสียงผู้ชายหัวเราะว่า "ฮิๆ" ตอนแรกกำหนดว่า "เห็นหนอ" 3-4 ครั้ง พร้อมกับการอมยิ้ม แต่พอขำมาก ๆ ก็หัวเราะเลย หัวเราะจนตัวโยน แต่ยังหลับตาและกำหนดว่า "ขำหนอๆ"

นั่งสมาธิคราวนี้นึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อตอนกลางวันบ่อยมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร แค่ไปเจอคนนู้นคนนี้เท่านั้นเอง กลับนึกถึงมากกว่าทุกวันในช่วงประมาณ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ก็กำหนดว่า "คิดถึงหนอ" หรือ "ฟุ้งซ่านหนอ"

เมื่อคืนไม่มีแรงต้านว่าไม่ต้องกำหนดแล้ว และรู้สึกว่าตัวกำลังจะพองแต่ไม่พองแป๊บหนึ่งแล้วหายไปไม่กลับมาอีกเลย และทำสมาธิได้นานประมาณ 30 นาที (ไม่ได้ตั้งนาฬิกาปลุกว่านั่ง 20 นาที) ถึงจะออกจากสมาธิเอง คือมีอะไรต่าง ๆ เกิดขึ้นแบบที่เล่ามา แต่ไม่ลืมตาเลย ถ้าจะลืมก็เหมือนฝืน เลยสงสัยว่าในขณะนั้นว่าทำไมยังออกจากสมาธิซะทีเพราะรู้สึกว่านานกว่าปกติ แต่มีเมื่อยบ้าง ก็ขยับแข้งขยับขาเอา

ปกติก็ไม่ได้ตั้งนาฬิกาปลุกเพราะเป็นคนตกใจง่ายมากค่ะ ถ้าตั้งไว้ก็กลัวสมาธิและสติหลุดกะทันหัน จะทำให้กังวลว่าใกล้ถึงเวลารึยัง ถ้านาฬิกาปลุกห้ามตกใจนะ แต่จะนั่งได้ประมาณ 20 นาที หรือขาดเกินนิดหน่อย ทำได้นานกว่าเดิมแต่เปลี่ยนอิริยาบถแบบนี้จะเป็นอะไรไหมคะ

แล้วก็ไม่มีพระพุทธรูปครึ่งตัวและเสียงผู้ชายพูดว่า "พอแล้ว" ค่ะ

วันนี้อาการอยากแต่จะนั่งสมาธิ ไม่อยากทำอย่างอื่นหายไปนะคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร