วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 21:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมแสดงข้อมูลตรงไปตรงมากับเรื่องสมาธิทั้งสองด้าน สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาเรื่องสมาธิ และแสดงให้เห็นชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้เรื่องสมาธิที่อยู่ในศาสนาพุทธและสมาธินอกศาสนา หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่ากำลังปฏิบัติธรรมตามที่พระพุทธองค์สอน แต่เมื่อมันไม่ใช่ พวกผมก็นำมาเสนอเพื่อให้ทราบทั่วกัน

หากท่านจะแนะนำให้ผู้ใดฝึกสมาธิ โดยเห็นว่าสิ่งที่ผมนำมาเสนอเป็นเพียงความคิดเห็นไม่ใช่ความจริง ก็ขอให้แสดงชัดเจนว่า สิ่งนี้เป็นพุทธวิธีหรือไม่ เพราะจะทำให้คนทั่วใจเข้าใจวิถีพุทธผิด ถ้าสิ่งที่ผมนำมานำเสนอเป็นความจริง ผมก็ต้องหาทางบอกคนที่กำลังปฏิบัตผิดให้ทราบ

สรุปเอาง่ายๆ ใหม่ว่า ฌานสมาบัติเป็นการปฏิบัติของพระ ไม่ใช่ของบุคคลทั่วไป คนทั่วไปจะฝึกสมาธิก็จำกัดไว้ที่ขณิกกสมาธิ

ฌานที่ ๔ นี้ ประกอบด้วยเอกัคคตาและอุเบกขา แต่หากจะเป็นการวางเฉยโดยยังไม่ถึงฌาน แสดงอาการนิ่งแช่ ก็ถือเป็นอาการของสมถะ

พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน สัลเลขสูตร เรื่องเกี่ยวกับสมาธิ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ คือ ให้ผู้ที่ได้มรรคผลแล้วปฏิบัติ พระที่ยังไม่ได้มรรคก็ยังไม่ให้ทำ

ส่วนเรื่องการถูกทำร้ายโดยพวกเจ้ากรรมนายเวร อาจจะไม่ได้เกิดกับทุกคน แต่เกิดได้โดยส่วนมาก ยกมาจากประสบการณ์ตรง กับผู้ที่นั่งสมาธิอีกหลายๆ ท่าน

พวกที่ทำสมาธิจนชำนาญลงร่องจนกลายเป็นคนมีมานะ ยกตัวอย่างอาจารย์ทั้งหกและบรรดาลูกศิษย์ซึ่งมีจำนวนมาก

ในพระไตรปกฎกนั้นมีการเขียนเรื่องราวที่มีความสำพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน หากจะตัดมาเพียงแต่บางส่วนไม่ศึกษาแบบบูรณาการ โอกาสเข้าใจผิดมีมาก หากท่านทั้งหลายแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ก็ขอให้เปิดใจกว้างและสืบสาวราวเรื่องให้ถึงที่สุด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส
ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน
ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึง
ทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน
พระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ
สั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ

[๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา
ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตร
ไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง
คำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระ
สูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ

[๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็น
ธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึง
คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความ
ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง
ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูก
ต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ

[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบ
สวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น
พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ
มหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


27 ปีที่บอกนี้ ถ้าคิดเฉพาะช่วงเวลาปฏิบัติธรรมจริงได้ซักประมาณเท่าไรครับ กรุณาอย่านับรวมคับน่าจะนับแบบชั่วโมงบินของนักบินจะดีกว่า คราวนี้ก็จะได้รู้ว่า 27 ปีที่บอกมานี้จริงๆแล้วปฏิบัติมากน้อยอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ประทีปส่องธรรม วิมุตติปฏิปทา วิถีแห่งความรู้แจ้ง

จิตที่รู้สึกตัวทั่วพร้อม

จิตที่รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีลักษณะดังนี้คือ (1) เป็นจิตที่ตั้งมั่นเป็นตัวของตัวเอง มีความสงบระงับอยู่ตามธรรมดา (มีสัมมาสมาธิ) โดยไม่หลงเพลินไปกับอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 และไม่หลงเพ่งตรึงความรู้สึกให้แนบแน่นอยู่กับกายหรือใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (2) เป็นสภาวะรู้ที่ปลอดโปร่ง เบา รู้สบายๆ รู้กว้างครอบคลุม คือถ้ารู้กายก็รู้สบายๆ ทั้งกาย เหมือนที่รู้สึกถึงความสบายทั่วกายหลังจากเพิ่งอาบน้ำมาใหม่ๆ ถ้ารู้จิตก็รู้อย่างปลอดโปร่งโล่งเบาเหมือนคนไม่มีภาระใดๆ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่สภาวะรู้ที่เบาหวิวหรือเคลิบเคลิ้มเลื่อนลอย และไม่ถึงขั้นรู้ตัวชัดกริบด้วยสติที่แข็งเกินควร (3) เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจทำให้เกิดขึ้น เพียงมีสติรู้ทันความหลงก็เกิดจิตที่รู้สึกตัวขึ้นได้แล้ว แต่หากจงใจรู้สึกตัว จะเป็นความรู้สึกตัวอย่างแข็งๆ หนักๆ นำไปใช้ประโยชน์ ในการเจริญวิปัสสนาไม่ได้จริง

จิตที่รู้สึกตัวทั่วพร้อมสามารถมีสติอัตโนมัติขึ้นมารับรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏอย่างสักว่ารู้ (มีสัมมาสติ) คือรู้โดยไม่ต้องตั้งใจจะรู้ และเมื่อรู้แล้วก็ไม่ถูกอารมณ์ชักพาให้หลงลืมตัว หรือไม่หลงปรุงแต่งความคิดขึ้นมา หรือแม้ความคิดเกิดขึ้น ก็สามารถทรงความรู้ตัวอยู่ได้โดยไม่หลงตามความคิดไป ทำให้สมมุติบัญญัติไม่สามารถปิดบังอารมณ์ปรมัตถ์ (รูปนาม) ได้ จิตที่รู้สึกตัวจึงสามารถรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ ในขณะที่จิตหลงไม่สามารถรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ จะรู้ได้เพียงอารมณ์บัญญัติเท่านั้น และเมื่อจิตรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้แล้ว ก็ย่อมสามารถรู้รูปนามทั้งหลายได้ตรงตามความเป็นจริง จนเกิดภาวนามยปัญญาอันเป็นสัมมาทิฏฐิได้ในที่สุด

สรุปแล้ว ถ้าจะให้จิตเกิดความรู้สึกตัว ก็ให้ใช้สติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น หรือจิตที่หลง/ไหลไปตามอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 (หลวงปู่ดูลย์ ท่านเรียกว่า จิตส่งออกนอก ซึ่งก็คือจิตที่หลงทะยานไปยึดอารมณ์ด้วยอำนาจของตัณหา 6 นั่นเอง) เมื่อรู้ทันแล้ว จิตจะเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและตั้งมั่นอย่างเป็นธรรมชาติธรรมดาที่สุดโดยอัตโนมัติ (ไม่เหมือนความรู้สึกตัวที่แกล้งทำขึ้นด้วยอำนาจของตัณหา ซึ่งจะมีอาการแข็งๆ ทื่อๆ ผิดธรรมดาอย่างยิ่ง) เป็นสภาพรู้ ตื่น เบิกบาน เบา สบาย ประกอบด้วยโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา และเป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง แต่สภาวะอันนี้ก็ทรงอยู่ได้เพียงชั่วขณะ เพราะเป็นความตั้งมั่นด้วยขณิกสมาธิ แล้วจิตก็จะหลงอารมณ์อีก ก็ให้รู้ทันอีก

หัดตามรู้ทันบ่อยๆ เข้า จิตจะจดจำสภาวธรรมต่างๆ ได้มากขึ้นๆ เช่นรู้ว่า หลงดูเป็นอย่างนี้ หลงฟังเป็นอย่างนี้ หลงเหม่อเป็นอย่างนี้ หลงคิดเป็นอย่างนี้ หลงตั้งท่าปฏิบัติเป็นอย่างนี้ หลงหาว่าจะดูอารมณ์ (ทางใจ) อะไรดีเป็นอย่างนี้ หลงเพ่งเป็นอย่างนี้ หลงแทรกแซงจิตและอารมณ์เป็นอย่างนี้ ฯลฯ ทั้งยังจะรู้จักอารมณ์ในฝ่ายรูปธรรมนามธรรมอื่นๆได้ด้วย เช่นรูปยืนเป็นอย่างนี้ อาการหลงว่าเรายืนเป็นอย่างนี้ รูปนั่งเป็นอย่างนี้ อาการหลงว่าเรานั่งเป็นอย่างนี้ ความสุขเป็นอย่างนี้ อาการหลงว่าเราสุขเป็นอย่างนี้ ความทุกข์เป็นอย่างนี้ อาการหลงว่าเราทุกข์เป็นอย่างนี้ ความโกรธเป็นอย่างนี้ อาการที่จิตหลง/ไหลไปตามความโกรธจนกลายเป็นเราโกรธเป็นอย่างนี้ เป็นต้น

ยิ่งจิตรู้จักและจดจำสภาวธรรมได้มากและแม่นยำ สติจะยิ่งเกิดได้เร็วขึ้นๆ และปัญญาจะรู้ทันสภาวธรรมเหล่านั้นเนืองๆ จนเกิดความรู้จริง และรู้ปล่อยวางได้ในที่สุด ดังนั้นผู้ที่หัดสร้างความรู้สึกตัว ด้วยวิธีการมีสติรู้ทันความหลงของจิตที่หลง/ไหลไปทางทวารทั้ง 6 จึงสามารถ เจริญวิปัสสนาต่อไปได้เลย (ไม่เหมือนการทำฌาน ที่ต้องทำฌานก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาด้วยจิตที่ตั้งมั่นในภายหลัง)

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ว่าจิตนึกคิดนั้น ต้องเป็นการตามรู้
ระวังอย่าให้เป็นการดักรู้หรือรอที่จะรู้
และอย่าให้เป็นการเพ่งจิต
เพราะการดักรู้เป็นไปด้วยอำนาจของตัณหา

ครั้งที่ 104 บทที่ 8. ของฝาก
ตอน ใจคิดนึกก็ให้รู้สึก

ถาม แล้วที่ว่าใจคิดนึกก็ให้รู้สึกล่ะครับ เป็นอย่างไร
ตอบ เมื่อจิตเกิดอาการคิด คุณต้องรู้หรือรู้สึกว่าจิตกำลังคิดอยู่ ไม่ต้องสนใจว่าจิตคิด เรื่องอะไร การรู้จิตที่คิดเป็นการรู้อารมณ์ปรมัตถ์ แต่เรื่องที่จิตคิดเป็นอารมณ์บัญญัติ

ช่วงหลังมานี้เริ่มมีผู้มาเล่าให้อาตมาฟังว่า หลวงพ่อเทียนสอนให้ดูความคิด ตรงนี้อาตมาเห็นว่าน่าจะเข้าใจผิดเสียแล้ว ความจริงท่านให้รู้ว่าจิตคิดต่างหาก การไปดูความคิดจะทำให้จิตสงบเพราะเป็นการทำสมถกรรมฐานอย่างหนึ่งโดยมีความคิดซึ่งเป็นบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่การรู้อาการที่จิตคิดจะทำให้เกิดปัญญาเห็นความจริงว่า จิตเป็นอนัตตา คือเขาทำงานของเขาได้เอง โดยไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร

ทันทีที่รู้ว่าจิตคิด จิตจะหยุดคิด เกิดความตื่น รู้สึกตัว หลุดออกจากโลกของความ คิดมาอยู่ในโลกของความจริง และสามารถรู้ กายรู้ใจอันเป็นของจริงหรือเป็นปรมัตถธรรม ได้ หลวงพ่อเทียนท่านจึงกล่าวว่า ต้นทางของ การปฏิบัติอยู่ตรงที่เห็นจิตใจตนเองที่กำลังคิด เพราะตรงจุดนี้แหละเป็นจุดที่เริ่มเห็นรูปนาม อันเป็นจุดเริ่มต้นหรือเป็นต้นทางของการเจริญปัญญาหรือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง

อีกอย่างหนึ่ง การรู้ว่าจิตนึกคิดนั้น ต้องเป็นการตามรู้ ระวังอย่าให้เป็นการดักรู้หรือรอที่จะรู้ และอย่าให้เป็นการเพ่งจิต เพราะการ ดักรู้เป็นไปด้วยอำนาจของตัณหา จิตในขณะนั้นจะไม่มีสติแต่มีตัณหาครอบงำอยู่ ส่วนการเพ่งก็เป็นไปด้วยอำนาจของตัณหาเช่นกัน เมื่อเพ่งแล้วก็เกิดความนิ่ง จิตไม่สามารถจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นได้ตามธรรมชาติธรรมดาของเขา

ถาม แล้วที่ว่ารู้สึกแล้วให้ปล่อยวางนั้น เป็นอย่างไรครับ
ตอบ คำว่าปล่อยวางน่าจะมีความหมายได้ 2 ลักษณะ คือ ประการแรก เป็นการปล่อยวาง ในขั้นของการเจริญวิปัสสนา ท่านหมายความ ว่าให้สักว่ารู้รูปนาม คือเมื่อสติระลึกรู้รูปนาม แล้วก็อย่าไปจงใจจับรูปนามไว้ แต่ให้ปล่อยคือให้สักว่ารู้ แต่พวกเรามักจะชอบส่งจิตเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ เช่นแช่อยู่กับมือ หรือแช่อยู่กับความคิด หลายคนคิดว่าจะต้อง แช่ไว้นานๆ จึงจะเกิดปัญญา อาตมาเพิ่งตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปเมื่อกี้นี้เองในเรื่องเกี่ยวกับการเอาสติเข้าไปตั้งไว้ในอารมณ์รูปนาม คุณลองทบทวนดูก็แล้วกัน

อีกประการหนึ่ง เป็นการปล่อยวางรูปนามอันเป็นผลของการเจริญวิปัสสนา คือเมื่อเราสักว่ารู้รูปนาม รูปนามก็จะแสดงความจริงคือไตรลักษณ์ให้ดู เมื่อจิตเกิดปัญญารู้ถ่องแท้ในความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนามแล้ว จิตจะปล่อยวางความถือมั่นในรูปนาม อันนี้จิตเขาปล่อยของเขาเอง เป็นการปล่อยเพราะเกิดปัญญาอันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนานั่นเอง

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


หยุดดู จึงเห็น หยุดฟัง จึงได้ยิน หยุดคิด จึงรู้ หยุดทุกสิ่ง จึงเข้าใจ
สัปะรดหัวหวาน กลางอมเปรี้ยว ท้ายหวาน
สมาธิ ฌาน ญาณ วิปัสนาเปรียบเหมือนสัปะรด อาศัยกันเป็นอันเดียวกันแต่เรายังกินไม่หมดทั้งลูกเลย
ยังไม่รู้รส สุดท้าย เป็นอัญญะมัญญังกัน ทั้งสมาธิ ฌาน ญาณ วิปัสนาครับ

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 21:07
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฆราวาสที่ไม่ได้บวชพระ แล้วปฏิบัติสมถกัมมัฐฐานได้ฌาน 4 ก็มีอยู่เยอะแยะครับ

มิได้จำกัดว่าสมาธิชั้นสูงๆเหมาะสำหรับพระ

สมาธิระดับสูงไม่ได้อันตรายถึงขนาดนั้น ต้องบอกว่าไม่มีอะไรอันตรายเลย

ทิฏฐิและความเห็นตลอดจนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นของผู้ที่ยังมีกิเลสต่างหากที่น่ากลัว

ตรงกันข้ามกับสมาธิที่ช่วยข่มนิวรณ์ 5 สมถะกับวิปัสสนาบูรพาจารย์ทั้งหลายท่านแยกเพื่อสะดวกแก่การศึกษาเท่านั้นครับ

จะฆราวาส หรือฤาษี หรือพระสงฆ์ ตั้งแต่เกิดมาก็บริโภคกามคุณ 5 เหมือนๆกันครับ ทุกคนเกิดมาก็มีกามาวจรจิตกันทั้งนั้น ไม่มีใครเกิดมามีรูปาวจรจิต หรืออรูปาวจรจิต หรือกิริยาจิต

เมื่อใดมีศีลที่บริสุทธิ์แล้วทำสมาธิโดยไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดย่อมได้รับอานิสงส์เป็นสมาธิเสมอ

แล้วฌาน 4 ที่จมแช่แน่นิ่งนี่มันมีด้วยฤา? สมาธิไม่ว่าจะระดับไหนย่อมมีเจตสิกที่เป็นสหชาติธรรมฝ่ายกุศลเกิดพร้อมกันหลายตัวนะครับ ไม่ควรคิดไปว่าเข้าฌานคือการแปลงร่างเป็นหินไร้สติ ไร้ความคิดจิตใจ

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านครับ cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=24400

การฝึกสมาธิมีข้อเสียอย่างไร

1) สมาธิดับทุกข์ไม่ได้

ๆลๆ

2) พาตัวเองไปติดตาข่ายของมาร

ๆลๆ

3) เปิดโอกาสให้เปรตอสูรกายทำร้ายตนเอง



ต้องขออภัยท่าน จขกท ที่ต้องถามซ้ำน่ะครับ ว่า

มีพระสูตรไหนที่ตรัสว่า การฝึกสมาธิเป็นการเปิดโอกาสให้เปรตอสูรกายทำร้ายตนเองบ้าง???

ขอเป็นระดับพระสูตรเลยน่ะครับ

คำสอนอาจารย์อื่นๆใด(รวมทั้งความเห็นบุคคลอื่นๆด้วย) ถ้าไม่ลงในหลักมหาปเทส ถือว่าคลาดเคลื่อนจากคำสั่งสอนของพระศาสดา


ลองอ่าน มหาปเทส

[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น

ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น
พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย


ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว





เพราะ ถามไปแล้ว แต่ ยังไม่เห็นคำตอบที่เป็นพระพุทธพจน์รองรับ เลยต้องถามซ้ำ

เห็นว่า ท่าน จขกท อ่านพระไตรปิฎกได้มาก เลยอยากทราบแหล่งอ้างอิงตรงนี้ครับ จะได้นำมาเทียบเคียงกับ คำกล่าวที่ว่า การฝึกสมาธิเป็นการเปิดโอกาสให้เปรตอสูรกายทำร้ายตนเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียกว่าทาง สายเอก ผู้ ใฝ่ใจก็เข้าถึงหมดไม่มีแบ่งแยกใช่มะท่าน โมทนาครับ :b23:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ฌานที่ ๔ นี้ ประกอบด้วยเอกัคคตาและอุเบกขา แต่หากจะเป็นการวางเฉยโดยยังไม่ถึงฌาน แสดง อาการนิ่งแช่ ก็ถือเป็นอาการของสมถะ



คุณ...

ที่คุณกล่าว อาการนิ่งแช่ นั้น เขาเรียกว่า ตื้อตัน เป็นลักษณะ ถีนมิทธะนิวรณ์ .
เป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้จิตเป็นสัมมาสมาธิ

ไม่ใช่ อุเบกขาที่เป็นองค์แห่งรูปฌานที่๔ในสมถะ หรอก.... อย่างมั่ว

Onion_L


คำว่า หดหู่ หรือ ถีนมิทธะ นี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการโงกง่วง เวลานั่งภาวนาเท่านั้น

แต่ ครอบคลุมถึง อาการเซื่องซึม-มึนมัว-ตื้อตัน-เฉื่อยเฉา เวลาเจริญสติด้วย.... ซึ่งบางครั้ง อาจจะถูกเข้าใจผิดว่านี่คือ อุเบกขา ไป


จาก พุทธธรรม หน้า 829

"3. ถีนมิธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือ เซ็งและซึม

แยกเป็น

ถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา ง่วงเหงา ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ

กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา หาวนอน โงกง่วง อืด อาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ.....ๆลๆ "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พวกที่ทำสมาธิจนชำนาญลงร่องจนกลายเป็นคนมีมานะ ยกตัวอย่างอาจารย์ทั้งหกและบรรดาลูกศิษย์ซึ่งมีจำนวนมาก



แต่ ผมเห็นว่า

ในปัจจุบัน พวกที่มีมานะสูง คือ พวกที่เรียกตนเองว่า นักวิปัสสนา...

ซึ่ง มักจะแสดงอาการเหยียดสิ่งที่ตนเองเรียกเอาเองว่า สมถะ (คนล่ะสมถะกับ สมถะที่เป็นพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกแปลไทย45เล่ม)


เวลาจะเจริญสติปัฏฐาน หรือ เจริญภาวนาตามหลักอริยมรรค(สมถะ-วิปัสสนา) ก็จะเรียกเสียว่า เจริญวิปัสสนา(ไม่ให้มีสมถะมาปนเปื้อน)

สำนักปฏิบัติธรรมก็เรียกไม่ได้ ต้องเรียกเสียว่า สำนักวิปัสสนา

อาจารย์สอนกรรมฐานก็เรียกไม่ไดเ ต้องเรียกว่า วิปัสสนาจารย์

วิปัสสนา ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายสูงส่ง ถูกนำมาสนองอัตตา-มานะ-ทิฏฐิ ของคนเหล่านี้

สร้างความแตกแยกร้าวฉาน ในหมู่ชาวพุทธ อย่างไม่สมควรจะเกิดขึ้นเลย





ขอมอบ

กลอนล้อกระทู้

ให้ อัศวินวิปัสสนา น่ะครับ

สมถะ เจ้าเสือร้าย ลายพลาดกลอน
ตามรานรอน กั้นกัก ห่างมรรคผล
อัศวิน วิปัสสนา กล้าผจญ
ฆ่าเสือร้าย จึงหลุดพ้น บรรลุธรรม

สมถะ! สมถะ! สมถะ!
หากไม่ละ จักไม่พบสิ่ง เลิศล้ำ
สุทธะ วิปัสสนา เป็นประจำ
ไม่ถลำ ปนสมถะ น่ะเพื่อนเอยๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



อ่านแล้ว :b32:

อื่มม ... วิบากกรรมค่ะ ... สักวันกุศลมากพอ เขาย่อมพบทาง :b16:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะขาดสมถะ จึงวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน

แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็น คือหลงว่าเป็นวิปัสสนา แต่แท้จริงคือสมถะ ที่สมถะยิ่งกว่าสมถะ ดูจิตจนกดข่มเป็นนิสัย ด้านชาจนเหมือนคนไร้ความรู้สึก หลงผิดว่าทึมทึบคืออุเบกขา กลายเป็นคนประหลาดหลุดโลก เป็นอริยะเสียยิ่งกว่าอริยะ คือโสดาบัน สกิทา อนาคามี ยังไม่สำรวมเท่า...

จขกท. บอกว่า เจ้ากรรมนายเวรตามเล่นงาน แสดงว่า ยังก้าวไม่พ้นนิมิตในฌาณ 2 หากถึงฌาณ 3 จะรู้ว่านั่นเป็นเพียงมายา...
ผู้ที่โจมตีสมาธิ (แต่ใช้คำว่า สมถะ เพื่อให้ถูกโจมตีน้อยลง) แท้จริงแล้ว คือผู้ที่ไม่สามารถทำสมาธิได้ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

หลายคนคิดว่า สมาธิเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในการดับทุกข์ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่




เพื่อให้เป็นไปตามหลักการแห่งมหาปเทส ที่ ท่าน จขกท ถือเป็นหลัก

จึงนำพระพุทธพจน์มาวางเทียบกับ คำกล่าวของ ท่าน จขกท เองน่ะครับ


สมาธิภาวนา ๔ ประเภท

-จตุกฺก อํ ๒๑/๕๗/๔๑

(๑) สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

(๒) สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ การได้เฉพาะ ญาณทัสนะ

(๓) สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ

(๔) สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ



ลองพิจารณาเปรียบเทียบกันดูน่ะครับ

ระหว่าง

พระพุทธพจน์ที่ตรัส ถึงสมาธิภาวนาประเภทที่๔ ว่า "ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ"

กับ ที่ท่านจขกท กล่าวในโอกาสต่างๆ กระทู้ต่างๆ ในลักษณะที่ว่า สมาธิใดๆก็ตามย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการดับทุกข์



ใช้หลักมหาปเทศข้อที่๔พิจารณาดู

ถ้า พิจารณาแล้ว คำกล่าวของ ท่าน จขกท ไม่ลงรอยกับพระพุทธพจน์ ก็ควรทำตามที่แนะนำไว้ในมหาปเทส คือ ให้ทิ้งไปเสีย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร