วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครจะมีความเห็นว่าเช่นไร ถ้าผมจะบอกว่า การวิปัสสนาโดยมีสมถะอยู่เบื้องหน้านั้น ไม่ใช่สำหรับฐานะปุถุชนคนธรรมดาจะนำไปปฏิบัติได้

การวิปัสสนา อันเป็นมหากุศลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพุทธศาสนา เป็นการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน พระพุทธองค์ได้วางแนวทางการปฏิบัติไว้ 3 วิธีด้วยกัน คือ การวิปัสสนาโดยมีสมถะอยู่เบื้องหน้า การวิปัสสนาโดยมีสมถะอยู่เบื้องหลัง และการปฏิบัติคู่ๆ กันไป

ตลอดระยะเวลา 27 ปีที่ผ่านมา ที่พวกผมได้ศึกษาพระธรรมและติดตามการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป เห็นว่า มีการนำแนวการวิปัสสนาที่มีสมถะอยู่เบื้องหน้า หรือใช้สมาธิเป็นบาทในการวิปัสสนามาปฏิบัติกันมาก จึงมีการแนะนำให้ผู้คนไปฝึกสมาธิให้ใจนิ่งเสียก่อนแล้วจึงให้มาวิปัสสนา เมื่อพิจราณาอย่างละเอียดแล้ว เราพบว่า พระพุทธองค์ให้บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งปกติมีสมาธิอยู่แล้วนำไปปฏิบัติ มิใด้มีการให้ฝึกทำสมาธิก่อนแล้งจึงมาวิปัสสนาแต่อย่างใด ในบรรดาผู้ที่เข้ามาปฏิบัติธรรม เมื่อเกิดศรัทรา สละความสุขทางโลก รักษาศีล ยึดมั่นในคำสั่งของพระพุทธองค์ เล่าเรียนพระธรรม สำรวมกายวาจาใจ บ้างก็นุ่งขาวห่มขาว บ้างก็มาบวช กลุ่มคนเหล่านี้จิตใจเป็นกุศลและอกุศลปนๆ กันไป มีกายสงบเป็นปกติ มีใจสงบโดยธรรมชาติ จึงเกิดเป็นสมาธิที่ไม่ได้สร้างหรือฝึกขึ้นมาเพิ่มเติมแต่ประการใด เรียกว่าเนกขัมมะสมาธิ บุคคลเหล่านี้นิยมลี้หลีกห่างจากสังคมมาปฏิบัติธรรมในที่เงียบสงบตามสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ มีจริยวัตรต่างจากคนธรรมดามาก จึงถือได้ว่าบุคคลเหล่านี้มีความบริสุทธ์มากกว่าบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป สามารถละกิเลสกามเบื้องต้นได้ ไม่ได้จัดอยู่ในฐานะปุตุชน เมื่อทำการวิปัสสนา โดยพิจรณากาย เวทนา สังขาร วิญญาณ สัญญา ตามหลักสติปัฏฐานสี่ สามารถสำเร็จธรรมได้มรรคผลด้วยความรวดเร็ว

สำหรับปุตุชนคนธรรมดา ไม่ได้มีคุณสมบัติและจริยวัตรตามที่ได้กล่าวมา ที่สำคัญคือ ใจไม่ได้สงบเป็นธรรมชาติ มีจิตเป็นอกุศลเป็นปกติ จะเกิดจิตที่เป็นกุศลบ้างตอนบำบุญตักบาตรและเจริญวิปัสสนา หากฝืนมาทำสมาธิ จะกลายเป็นว่า มานั่งฝึกสมาธิ แบบฤาษีชีไพร โอกาสที่จะยกจิตให้สูงไปสู่การวิปัสสนานั้นก็น้อยลง และเมื่อใช้สติกำหนดให้จิตไปติดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ด้วยกากับกิริยาการเคลื่อนใหวหรือเวทนาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จึงกลายเป็นว่า จิตไปยึดเอาแค่อารมณ์ที่เกิดกลายเป็นการฝึกสมาธิธรรมดาไป ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญญาแต่อย่างใด สุดท้าย ก็จะหลงเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ บางคนฝึกจนไปถึงฌานก็ไปติดตาข่ายดักพรหมโดยไม่รู้ตัว

สำหรับการปฏิบัติคู่ๆ กันไป เป็นฐานะของผู้ได้ฌานสมาบัติมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น ฤาษี พราหมณ์ นักบวชต่างศาสนา การฝึกสมาธิเพื่อฌานสมาบัตินั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่หลายๆ คนคิด อาจจะต้องใช้เวลาทั้งชีวิต หลายๆ คนอาจจะคิดว่า ถือเป็นการเล่นสนุกก่อนที่จะได้มรรคผล ซึ่งถือว่าเป็นการประมาทในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมากบางคนใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อฝึกสมาธิไม่มีเวลาเหลือพอมาวิปัสสนาก็มี บางคนก็ติดสงบติดอภิญญาจนเลิกวิปัสสนาไปเลย บางคนเข้าใจผิดติดว่าจะต้องได้ฌานสมาบัติก่อนจึงจะสามารถวิปัสสนาได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมาก

ฐานะอันหนึ่งที่เราสามารถทำได้ คือวิปัสสนาเลยโดยใช้ขณิกกะสมาธิที่เรามีกันทุกคน เมื่อเรามีเจตนาในการวิปัสสนา เราก็จะจดจ่ออยู่กับการวิปัสสนานั้น ซึ่งหมายถึง สมาธิของเราก็จะพัฒนาตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ การวิปัสสนานั้น จะนั่ง จะนอน จะเดิน หรือตลอดเวลาที่เราใช้ชีวิต เราก็วิปัสสนาได้ เพราะการวิปัสสนานั้น แปลกันตรงๆ ว่า การพิสูจน์สิ่งที่มากระทบเบื้องหน้าให้รู้เท่าทันความเป็นจริง บ้างก็แปลว่าการวิจัยธรรมหรือวินิจฉัยธรรม บ้างก็แปลว่าการเจริญปัญญา มีเทคนิคง่ายๆ คือ ต้องพิสูจน์หรือพิจราณาสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะเบื้องหน้า หรือเป็นปัจจุบันเท่านั้น สิ่งที่ผ่านไปแล้วเป็นอดีตไม่ต้องไปสนใจมัน ความรู้หรือปัญญาที่จะดับทุกข์ได้นั้นมีเพียงสิ่งเดียว คือ การรู้ทันธรรมชาติ รู้ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ที่เราเรียกกันว่า ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นความจริงอันเป็นที่สุดของธรรมชาติทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างรอบตัวเรา

อย่างไรก็ดี การปฏิบัติเพื่อความดีอันเป็นที่สุดของมนุษย์ คือ เพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการรูปแบบแนวใหน จะต้องประกอบด้วยการทานบารมีและรักษาศีล ผู้ที่มิได้สั่งสมบุญญาบารมีให้ถึงพร้อมย่อมไม่สามารถปฏิบัติธรรมจนสามารถบรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้

ขอให้ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายโปรดพิจารณาความเห็นของผมด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยขน์ที่จะเกิดแก่เราชาวพุทธทั้งหลาย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_R

ชาติให้ใบแดง สอบตก

27 ปีนั้นสุญเปล่า
ขอให้พาพลพรรคไปศึกษาใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าคุณเห็นว่า การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะอยู่เบื้องหน้า(น่าจะตรงกับ แนวทางที่2 ในยุคนัทธวรรค)...ไม่เหมาะสำหรับปุถุชน("ปุถุชน"น่าจะหมายถึง ชาวพุทธที่อยู่ในสังคมเมือง?)


แล้ว คุณเห็นว่า แนวทางไหน ใน4แนวทางนี้เหมาะสมครับ

“๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)
๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)
๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)
๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)…”


บ่ายๆจะแวะมาคุยด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ชาติให้ใบแดง สอบตก

รบกวนช่วยอธิบายรายละเอียดด้วยครับ

อ้างคำพูด:
แล้ว คุณเห็นว่า แนวทางไหน ใน4แนวทางนี้เหมาะสมครับ


๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า

รายละเอียดผมได้อธิบายไว้แล้วครับ ถ้ามีความรู้เพิ่มเติมก็รบกวนบอกกล่าวกันด้วยนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าปุถุชน คุณยังไม่เข้าใจเลย เป็นศัพท์เทคนิคนะ
อธิบายสวรรค์นิิพานเสียดิบดี คำว่าปุถุชน ยังเข้าใจเพี้ยนเลย ไม่ไหวนะ

แล้วก็ไปยกตัวอย่างกลุ่มนุ่งขาวถือศีล 8 มา ว่าพวกนี้สมควรภาวนา
ก็แปลว่าเขาไม่ใช่ปุถุชนหรือ
ที่คุณยกๆมาน่ะ ส่วนมากสมถะภาวนาทั้งนั้น

แล้วมาบอกว่าคนพวกนี้ต่างหาก สมควรวิปัสนา
อ้าว ตกลงไม่ได้สมถะมาก่อนเหรอ
เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ก็นุ่งขาวถือศีล 8 กันมาเลยหรือ

คืออะไรเป็นสมถะ อะไรเป้นวิปัสนา ก็ยังแยกไม่ออกเลยนะ
ยังมาลุบๆคลำอยู่แต่สิ่งปรากฏภายนอก แล้วก็แยกแยะไปเรื่อยเปื่อยตามทิฐิของตน

ไม่อธิบายมากกว่านี้นะ
ได้แต่บอกว่าให้ไปเรียนใหม่


วันก่อนก้ห้ามคนมานั่งสมาธิ ด้วยเงื่อนไขประหลาดๆ
วันนี้ห้ามคนมาเจริญสมถะภาวนาอีก กรรมเวร

ถ้ารู้จริงก็ไม่ต้องไปตั้งหน้าตั้งตาแย้งใครหรอกนะ
บอกวิธีมาเลยว่าถ้าเป้นคนแล้วเนี่ยะ จะไปนิพพานทำยังไง
บอกมาเป็นฉากๆเลย ถึงเรียกว่ารู้จริง

เรื่องแย้งน่ะ ใครๆก้ทำได้
เจ้าเล่ห๋สักหน่อยก็มีลูกเล่นเยอะแยะไป

ตรรกะวิปลาสนะ
ไม่มีใครพูดกับคุณตรงๆอย่างนี้หรอกนะ

โกรธไหม ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เรา้เข้าใจว่า สมัยนี้เขาก็สอนปนๆ กันไป ทั้งสมถะและวิปัสสนา การดูส่วนต่างๆ ของร่างกาย ก็เป็นวิปัสสนาไม่ใช่หรือ การตามดูลมหายใจมันก็ก้ำกึ่งนะ หรือว่าไง... นายสยามตอบหน่อยซิ (คือเราอ่อนทฤษฎีน่ะ)

การวิปัสสนาในแบบครุ่นคิด หาคำตอบ ควรทำเมื่อจิตนิ่งมากๆ หากจิตไม่นิ่งพอ มันก็คาบเกี่ยวกับความฟุ้งซ่าน และมันก็จะนำให้เรา พิจารณาไปในทางที่เราชอบ

Supareak Mulpong เขียน:
ใครจะมีความเห็นว่าเช่นไร


มีความเห็นว่า คุณน่าจะฝึก สมถะสมาธิ ให้มากอีกสักหน่อย เมื่อจิตนิ่งขึ้น จะได้มีแง่มุมที่มากขึ้น เพราะเท่าที่อ่าน ก็รู้สึกว่า เป็นเหตุผล, ข้อวินิจฉัย, ข้อพิจารณา ที่ค่อนข้างจะ ไม่หนักแน่น

บอกตรงๆ ว่า พลศักดิ์ยังแน่กว่า บางทีก็เคลิ้มๆ ไปเหมือนกัน :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

อ้างคำพูด:
แล้ว คุณเห็นว่า แนวทางไหน ใน4แนวทางนี้เหมาะสมครับ


๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า

รายละเอียดผมได้อธิบายไว้แล้วครับ ถ้ามีความรู้เพิ่มเติมก็รบกวนบอกกล่าวกันด้วยนะครับ





คุณลองอ่านดีๆซิครับ

วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า
...จากพระสูตร ที่คุณบอกว่า คุณเห็นว่าเหมาะสมกับปุถุชน


กับที่คุณกล่าวว่า ไม่เหมาะกับปุถุชน(หัวข้อกระทู้) นั้นคือ
อ้างคำพูด:
การวิปัสสนาโดยมีสมถะอยู่เบื้องหน้านั้น



คุณครับ

ลองเพ่งความหมายคำว่า "นำหน้า" กับ ความหมายคำว่า"อยู่เบื้องหน้า"ดีๆ



คำว่า"นำหน้า" คือ เกิดก่อน

คำว่า"อยู่เบื้องหน้า"คือ ภายภาคหน้า



คำว่า สมถะมีวิปัสสนา"นำหน้า"นั้น ก็หมายถึง ตอนนี้เจริญสมถะแต่ในกาลก่อนหน้านี้เจริญวิปัสสนา

ส่วนคำว่า การวิปัสสนาโดยมีสมถะ"อยู่เบื้องหน้า"(ภายภาคหน้า)นั้น หมายถึง ตอนนี้เจริญวิปัสสนาแต่ในกาลเวลาที่ถัดไปภายภาคหน้ามาเจริญสมถะ


ทั้งสองอย่างนี้เหมือนกัน!!! คือ วิปัสสนามาก่อนสมถะทั้งคู่ น่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:

Onion_R

อ้างคำพูด:
ชาติให้ใบแดง สอบตก

27 ปีนั้นสุญเปล่า
ขอให้พาพลพรรคไปศึกษาใหม่

ถึง คุณ Supareak Mulpong

คุณโชคร้ายกว่าผม
ผมได้.. Onion_L

ยังมีโอกาสแก้ตัว..นิ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สำหรับการปฏิบัติคู่ๆ กันไป เป็นฐานะของผู้ได้ฌานสมาบัติมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น ฤาษี พราหมณ์ นักบวชต่างศาสนา


ที่มีการยกตัวอย่างในการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ปรากฏในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล คือ อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลยกเอากรณีที่พระพุทธองค์ตรัสแสดงถึงการเจริญภาวนาของพระสารีบุตร

พระสารีบุตร ท่านไม่ได้อยู่ในกลุ่ม "ผู้ได้ฌานสมาบัติมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น ฤาษี พราหมณ์ นักบวชต่างศาสนา"น่ะครับ. พระสารีบุตร ตอนท่านเป็นอุปติสสะปริพาชก ก็ไม่เคยมีปรากฏว่า ท่านเคยฝึกฌานมาก่อนที่จะมาบรรพชาในพระศาสนาเลย





คุณอาจจะไม่เคยอ่าน พุทธธรรม จึงไม่ทราบว่า ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว

จาก หนังสือพุทธธรรม

โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


สติปัฏฐาน แปลกันว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การปรากฏของสติบ้าง ฯลฯ

ถือเอาแต่ใจความง่ายๆ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิด
ผลดีถึงที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน

การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่อง
นับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว




ท่านพุทธทาส ท่านยังกล่าวถึง
แม้นจิตตานุปัสสนาที่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นวิปัสสนาล้วนๆ นั้น....ในความจริงแล้ว ก็ยังคงมีส่วนแห่งสมถะอยู่ เอาไว้ดังนี้

เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ
เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่าจิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

พิจารณาจิตก็มี ๒ อย่าง

เพียงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรกำหนดเท่านี้ก็เป็นสมถะ กำหนดเพียงภาวะว่าจิตของเรากำลังเป็นอย่างไรเท่านั้นเป็นสมถะ

ถ้าว่ากำหนดข้อเท็จจริงของมันเป็นอย่างไร ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร นี่เรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนา

ๆลๆ......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นคุณ กล่าวถึง การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะเป็นเบื้องหน้า อยู่


ลองอ่าน ต้นฉบับ


[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ๆลๆ


[๕๓๗] กถํ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ

อนิจฺจโต อนุปสฺสนฏฺเฐน วิปสฺสนา ทุกฺขโต อนุปสฺสนฏฺเฐน วิปสฺสนา อนตฺตโต อนุปสฺสนฏฺเฐน วิปสฺสนา

ตตฺถ ชาตานํ ธมฺมานํ จ โวสฺสคฺคารมฺมณตา จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป สมาธิ อิติ

ปฐมํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ เตน วุจฺจติ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํสมถํ ภาเวติ ฯ



ในพระสูตรนี้ ท่านแสดง สมถะ(เอกัคคตา=อารมณ์เดียว อวิกเขโป=ไม่ฟุ้งซ่าน สมาธิ=ตั้งมั่นชอบ) ว่าเป็นผลจากการที่จิตปล่อยวางในธรรมทั้งหลายจากการเจริญวิปัสสนา



ถ้า ท่าน จขกท เห็นว่า สมถะ ในทุกๆกรณีคืออย่างเดียวกับของฤาษีนอกพระศานา แล้ว (จาก กระทู้อื่นๆ)

ช่วยอธิบายทีว่า

ทำไม วิปัสสนาที่เป็นวิชชาของพระพุทธเจ้า จึงยังผลให้บังเกิดสมถะอันเป็นวิชชาของฤาษีนอกพระศาสนาไปได้???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเป็นชุด :b23:

ขอความเห็นเพื่อนสมาชิกหน่อยครับ พระพุทธองค์ให้ปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อมรรคผลใช่ใหมครับ ไม่มีปรากฎว่าให้ทำสมาธิเพื่อมรรคผล หรือเปล่า?

ขอสรุปเป็นเรื่องง่ายๆ อย่างนี้นะครับ คือ ถ้าไปตั้งหน้าตั้งตาทำสมาธิ หรือเจตนาทำให้เป็นสมาธิ โดยที่ยังไม่ได้มรรคผลมาก่อน อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หลังจากได้มรรคผลแล้ว จะทำสมาธิให้ได้ถึงฌานก็ไม่มีโทษ

ถ้าไปทำอะไรที่เป็นกุศลแล้วสมาธิเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ แบบไม่ได้ฝืนทำ อย่างการบวช ถือเป็นสิ่งที่ดีไม่มีโทษ

ส่วนสมาธิที่เกิดตามหลังวิปัสสนา หรือจิตตานุปัสสนา เกิดโดยธรรมชาติ จึงไม่ใช่สมาธินอกศาสนา และแนวการปฏิบัติในพระไตรปิฎกก็ไม่ได้มีระบุแต่อย่างใดว่ามีการวิปัสสนาแต่อย่างเดียว

ฉะนั้น ผมแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ นะครับ คือ ก่อนได้มรรคผลปฏิบัติอย่างหนึ่ง หลังได้มรรคผลปฏิบัติอย่างหนึ่ง พวกที่ยังไม่ได้มรรคผลก็แบ่งออกไปอีก 4 กลุ่ม คือ คนดิบ พระ พวกประพฤติพรรมจรรย์ และนักบวชนอกศาสนา ซึ่งแบ่งตามภาวะของจิต ทีนี้ก็ลองสำรวจตัวคุณดูว่าคุณน่าจะจัดอยู่ในกลุ่มคนประเภทใหน

พวกผมจึงสรุปง่ายๆ ว่า พระพุทธองค์ให้ทุกคนเริ่มจากจุดที่ตนเองยืนและเดินทางตรงไปสู่การวิปัสสนา เพื่อมรรคผลนิพพาน

ส่วนคำศัพท์ ก่อนหน้า เบื้องหน้า ตรงนี้ใช้คำผิด ก็ขออภัยด้วยครับ เจตนาหมายถึงการใช้สมถะนำหน้าวิปัสสนา

ส่วนการที่มีการสอนให้ทำคู่ๆ กันภายหลัง เกิดหลังสมัยพุทธกาล ตรงนี้ขอยกไว้ก่อน เนื่องจากไม่ได้มาจากพระไตรปิฎก ถือว่าเป็นเขาว่า ไม่ใช่พระพุทธเจ้าว่า (วิมุตติมรรค วิสุทธิมรรค แม้กระทั่งอรรถกถา ก็ยังคือเป็นเขาว่าอยู่)

และถ้าอยากจะให้ถึงฝั่งนิพพานสิ่งแรกที่จะต้องศึกษาและทำให้ได้คือ การ ปหารอวิชชา เริ่มตรงนี้ ศึกษาตรงนี้ รับรองได้ไม่มีหลง...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 00:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
มาเป็นชุด :b23:
......
พวกผมจึงสรุปง่ายๆ ว่า พระพุทธองค์ให้ทุกคนเริ่มจากจุดที่ตนเองยืนและเดินทางตรงไปสู่การวิปัสสนา
.......
และถ้าอยากจะให้ถึงฝั่งนิพพานจริงๆ สิ่งแรกที่จะต้องศึกษาและทำให้ได้คือ การ ปหารอวิชชา เริ่มตรงนี้ ศึกษาตรงนี้ รับรองได้ไม่มีหลง...


อย่าไปสรุป ง่าย ๆ ซิครับ..คุณเอ๋ย..

ปรึกษาครูบาอาจารย์แล้วหรือยัง..

และ ต้อง..ครูบาอาจารย์..ตั้งแต่ พระอนาคามี..ถึงอรหันต์..เลย..นะครับ..

เพราะ..ความคิด..ของคุณ..อย่างเดียว..แน่ใจได้มากน้อยแค่ไหน..ละครับ..ว่าถูกต้องแล้ว.นะ

ฟังพระอรหันต์ท่านเทศน์..ก็หลายองค์..ไม่เคยได้ยินว่าท่านไม่ให้ทำสมถะ..แม้แต่ครั้งเดียว

หลวงตาบัวท่านเปรียบ ทำนองว่า..สมถะเสมือนกำลังกาย..วิปัสสนาเสมือนอาวุธกล้า..ถ้านักรบไม่มีผละกำลัง..แม้มีอาวุธที่แหลมคม..จะมีแรงที่ไหนไปฟาดฟันประหารศัตรู ..คือกิเลส..ได้..หรือหากมีแต่กำลัง..ไม่มีอาวุธ..จะไปฆ่าศัตรูก็ไม่ตาย..

หลวงพ่อพุฒ ฐานิโย..เทศน์ว่า..อย่าไปกลัวเลย..ติดสมถะ..ขอให้ติดเถอะน่า..อย่าไปกลัวธรรมที่ยังไม่เกิดกับตัวเลย..

อย่างนี้เป็นต้น..ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ตาบอดคลำช้าง ... เรื่องธรรมดาๆน่ะค่ะ ...

ใครที่มีความรู้ก็ช่วยเมตตานำความรู้นั้นๆมาช่วยให้เขากระจ่างแจ้ง

ทางตัวหนังสือด้วยการอ่าน ยังดีกว่าเขาให้มีศรัทธาแบบขาดปัญญาเช่นนี้

โมทนากับผู้ที่เมตตาช่วยเขาค่ะ :b8:

ไม่มีใครที่จะรู้มาก่อนที่จะไม่รู้ เพียงแต่เจ้าตัวจะละมานะที่มีอยู่ได้มั๊ยหนอ ....

ว่าอันตัวเองนั้นยังไม่รู้อะไรเลย แค่อะไรสักอย่างวิ่งผ่านตาแว๊บเดียว แล้วคว้าเอาไว้ได้

ก็เลยคิดว่า ใช่ ... :b16:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอรวมประเด็นจากกระทู้อื่นๆ(ที่คุณเทียวตั้งกระทู้เปิดประเด็นไว้เต็มไปหมด) มาไว้ กระทู้นี้เลย

ไม่มีเวลาไปตอบตามกระทู้ต่างๆ ที่คุณระดมตั้งเอาไว้ครับ

ขอยกมาคุยที่เดียวเลย...คุยกันไปเรื่อยๆ



อ้างคำพูด:

viewtopic.php?f=2&t=24400

หลายคนคิดว่า สมาธิเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในการดับทุกข์ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่


แล้ว สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(ในสัจจบรรพ มหาสติปัฏฐานสูตร) สมาธินทรีย์(ในสัทธาสูตร) สมถะอันเป็นผลืบเนื่องจากการเจริญวิปัสสนา(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า)... พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่าเป็นสมาธิไม่ใช่หรือ?



อ้างคำพูด:

viewtopic.php?f=2&t=24400

เปิดโอกาสให้เปรตอสูรกายทำร้ายตนเอง


มีพระสูตรไหนที่ตรัสแสดงเช่นนี้ไว้บ้าง?




อ้างคำพูด:

viewtopic.php?f=2&t=24400

ถ้าจะมองคนรอบๆ 2 ประเภทคือ พวกทำสมาธิ กับพวกที่ไม่ทำสมาธิ พวกที่ไม่ทำยังทำบาปหยาบๆ เช่น ฆ่าสัตว์ ลักขโมย กินเหล้า ผิดศีลธรรมหลายข้อ พวกนี้ยังแก้ไขให้ดีได้ง่ายกว่าคนทำสมาธิจนชำนาญลงร่อง ท่านเหล่านี้เรียกว่าทำความผิดอย่างละเอียดลึกซึ้งจนกลายเป็นคนมีมานะ ทิฏฐิไม่ยอมเชื่อบุคลใดๆ หลงตัวเอง บุคคลเหล่านี้แก้ไขให้ดียาก ไม่มีโอกาสฝึกตนถึงมรรคผลนิพานในชาตินี้ได้


มีพระสูตรไหนที่ตรัสแสดงเช่นนี้ไว้บ้าง?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ



อ้างคำพูด:
viewtopic.php?f=2&t=24400

หลายคนคิดว่า สมาธิเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในการดับทุกข์ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่



ในส่วนนี้ของเว็บบอร์ดนี้ คือ ส่วนแยก สมาธิ, สติ


ถึงแม้น คุณ มีความเห็นในคำว่า สมาธิ เป็นถึงขั้นนั้น...
แต่ คุณก็น่าจะเคารพส่วนรวมเขาบ้าง
เว็บนี้ เขาแยกส่วน สมาธิ,สติ ออกมาชัดเจน ก็แสดงว่า ส่วนรวมยอมรับในคำว่า สมาธิภาวนาตามพระพุทธพจน์อยู่

ไม่ใช่ วันๆ ไม่ทำอะไร เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตา ตั้งกระทู้โจมตีสมถะ แบบเป็นบ้าเป็นหลัง เช่นนี้

ถ้า ไม่ตั้งหน้าตั้งตา ตั้งกระทู้โจมตีสมถะ แบบเป็นบ้าเป็นหลัง เช่นนี้...จะไม่ได้เป็นนักวิปัสสนา หรืออย่างไร ไม่ทราบ?



ปัจจุบันก็มีหลายเว็บที่มีความคิดไปในแนวทางเดียวกันกับคุณ ผมเสนอว่าคุณน่าจะเข้าไประดมตั้งกระทู้ในเว็บเหล่านั้น...ผู้ที่เขาเจริญสมาธิภาวนาตามพระพุทธพจน์อยู่ เขาคงไม่เข้าไปยุ่งกับคุณหรอก... ใส่ได้ตามสบายเลย



แสดงสิ่งต่างๆออกมา ก็ สับสนอลหม่านไปหมด...ในกระทู้ที่คุณทำผิดแล้วถูกจับได้แล้วทำหน้าเฉยเมยได้ คุณก็ยกให้เป็นอุเบกขา.... แล้วชี้ว่า นั่นล่ะคือ องค์ธรรมในสมาธิ ซึ่งไม่ดี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron