วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 10:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00029_10.gif
00029_10.gif [ 20.8 KiB | เปิดดู 3673 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
ตอนนี้สภาวะคล้าย ๆ กับที่เคยเกิดก่อนหน้านี้ คือหายใจเร็วและแรง และหัวใจเต้น (แรง)
เพราะฉะนั้นตอนนี้ยังไม่มีคำถามค่ะ
รายงานเท่านี้ก่อนค่ะ :b8:


หายใจเร็วแรง หัวใจเต้นแรง ก็เป็นช่วงระยะของมัน

เอางี้ เพิ่มเวลาจงกรมระยะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ให้มากขึ้นอีก ๕ นาที เป็น ๓๕ นาที นั่ง ๒๐ นาทีเท่าเดิม
เพื่อลดสมาธินทรีย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 11:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หายใจเร็วแรง หัวใจเต้นแรง ก็เป็นช่วงระยะของมัน

เอางี้ เพิ่มเวลาจงกรมระยะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ให้มากขึ้นอีก ๕ นาที เป็น ๓๕ นาที นั่ง ๒๐ นาทีเท่าเดิม
เพื่อลดสมาธินทรีย์



ค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 12:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


s006 วิธีพองหนอยุบหนอต่างจากวิธีหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ ยังไงคะ...แล้ววิธีไหนน่าจะดีสำหรับคนที่ฝึกนั่งใหม่ ๆ ค่ะ...อยากทราบจริง ๆ

:b8: :b8: เอเองจ้า

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




4944342.gif
4944342.gif [ 25.28 KiB | เปิดดู 3614 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
แล้ววิธีไหนน่าจะดีสำหรับคนที่ฝึกนั่งใหม่ ๆ ค่ะ...อยากทราบจริง ๆ


ตอบคำถามนี้ก่อน ประเด็นที่เหลือคุณเอนำไปตั้งกระทู้ใหม่นะครับ

แล้วเราจะสนทนากันได้ยาวๆ เพราะกระทู้นี้ก็ยาวหลายหน้าแล้วด้วย


ที่ว่า


แล้ววิธีไหนน่าจะดีสำหรับคนที่ฝึกนั่งใหม่ ๆ ค่ะ...อยากทราบจริง ๆ



สำหรับผู้เริ่มต้นฝึก น่าจะเป็นอุปกรณ์ภายนอกก่อน เช่น ทำวัตรสวดมนต์ ใช้งานประจำวัน

เป็นต้นว่า กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า ล้างจาน ระลึกรู้สึกตัวอยู่กับงานเหล่านั้น


ศึกษาการใช้งานฝึกอิทธิบาทที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744


หรือจะนับลูกประคำก็ได้ ถ้ามี



เหตุผลที่แนะนำให้ใช้อารมณ์นอกตัวฝึกก่อน เพราะการใช้ลมหายใจฝึก เข้าถึงจิตด้านในเร็วเกินไป

สำหรับผู้ใหม่ จึงต้องค่อยๆ ดึงเข้ามา ครั้นเห็นว่า จิตพอเชื่องๆบ้างแล้ว ค่อยมาใช้

อานาปานสติกรรมฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 19:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คืนนี้สภาวะโดยรวมยังเหมือนเดิมค่ะ

แต่สงสัยว่าการเดินจงกรมแต่ละระยะให้ผลต่างกันอย่างไร และทำไมถึงมีทั้งที่ต้องเดินระยะใดระยะหนึ่ง และหลายระยะคะ และการเดินจงกรมระยะที่ 1 กับระยะที่ 3 ต่างกันอย่างไรคะ ลองสังเกตจากผลการปฏิบัติของตัวเองแล้ว (ทบทวนดูหลังปฏิบัติเสร็จค่ะ) แต่ดูไม่ออกค่ะ สงสัยมานานแล้วค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่สงสัยว่าการเดินจงกรมแต่ละระยะให้ผลต่างกันอย่างไร และทำไมถึงมีทั้งที่ต้องเดินระยะใดระยะหนึ่ง และหลายระยะคะ และการเดินจงกรมระยะที่ 1 กับระยะที่ 3 ต่างกันอย่างไรคะ ลองสังเกตจากผลการปฏิบัติของตัวเองแล้ว (ทบทวนดูหลังปฏิบัติเสร็จค่ะ) แต่ดูไม่ออกค่ะ สงสัยมานานแล้วค่ะ



มีเหตุผลอยู่ครับ
จงกรมท่านแบ่งเป็น ๖ ระยะ

ระยะ๑-๓ ใช้เพิ่มวิริยะ หรือ เร้าจิตปลุกจิตให้ตื่นตัว เป็นคู่ปรับกับความเกียจคร้าน (โกสัชชะ)
เป็นคู่ปรับกับถีนมิทธะนิวรณ์ (ความโงกง่วงเหงาหาวนอน) เมื่อวิริยะมากเกินสมาธิ
การเคลื่อนไหวร่างกายจะรู้สึกเบาๆ คล่อง ความคิด (จิต) จะเบาโล่งคล่องแคล่ว


ระยะ ๔-๖ เพิ่มสมาธิ ระยะยิ่งสูง ก็ยิ่งเพิ่มสมาธิ เมื่อเราจงกรมระยะสูงๆแล้ววิริยะอ่อน
จะรู้สึกว่าร่างกายหนักๆ รู้สึกอืดอาดไม่แคล่วคล่อง ไม่กระฉับกระเฉง
รู้สึกบีบๆกล้ามเนื้อ ความคิด (จิต) ก็ไม่คล่อง รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ซึ่งตรงข้ามกับสภาพ
วิริยะข้างต้น



ดังนั้น ผู้ปฏิบัติพึงสังเกตตนเองด้วย แล้วก็ใช้จงกรมปรับแก้ เรียกว่า ปรับอินทรีย์
ให้เสมอกัน


คุณริน นั่ง ๒๐ นาที โดยไม่ต้องขยับตัวเลยก็ได้แล้วใช่ไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณริน นั่ง ๒๐ นาที โดยไม่ต้องขยับตัวเลยก็ได้แล้วใช่ไหมครับ



ขยับตัว หมายถึง ขยับเพราะเมื่อยหรือเปล่าคะ
ถ้าตามความหมายนี้ ระยะนี้ไม่ขยับตัวค่ะ คงเพราะชินแล้วกระมังคะ
และนั่งตัวตรงดีค่ะ เป็นมาสักระยะหนึ่งแล้วค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




lp164.gif
lp164.gif [ 12.34 KiB | เปิดดู 3584 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณริน นั่ง ๒๐ นาที โดยไม่ต้องขยับตัวเลยก็ได้แล้วใช่ไหมครับ



ขยับตัว หมายถึง ขยับเพราะเมื่อยหรือเปล่าคะ
ถ้าตามความหมายนี้ ระยะนี้ไม่ขยับตัวค่ะ คงเพราะชินแล้วกระมังคะ
และนั่งตัวตรงดีค่ะ เป็นมาสักระยะหนึ่งแล้วค่ะ



ถ้าอย่างนั้น เพิ่มอิริยาบถนั่งขึ้นอีก ๕ นาที เป็น ๒๕ นาที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
ขยับตัว หมายถึง ขยับเพราะเมื่อยหรือเปล่าคะ
ถ้าตามความหมายนี้ ระยะนี้ไม่ขยับตัวค่ะ คงเพราะชินแล้วกระมังคะ



ความจริงแล้วที่ไม่เมื่อยเป็นเพราะชินหรือเพราะอะไรคะ
ถ้าชินเราจะไม่เห็นความปวดเมื่อย (เวทนา) ว่าเป็นไตรลักษณ์ใช่ไหมคะ เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ :b8:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 03:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 03:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: รู้สึกว่ากระทู้นี้ยาวแล้วค่ะ :b3: ปิดกระทู้นี้แล้วตั้งกระทู้ใหม่จะดีไหมคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 15:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความจริงแล้วที่ไม่เมื่อยเป็นเพราะชินหรือเพราะอะไรคะ



มีสองส่วน เส้นเอ็นหย่อนร่างกายจึงยืดหยุ่นปรับตัวได้ดีขึ้น ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งคือจิตใจไม่บีบคั้นจากตัวมันเอง


อ้างคำพูด:
ถ้าชินเราจะไม่เห็นความปวดเมื่อย (เวทนา) ว่าเป็นไตรลักษณ์ใช่ไหมคะ เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมคะ


อันนี้เข้าใจผิดเลย มีหลายแห่งหลายสำนักที่เข้าใจว่าต้องเกิดทุกขเวทนาจึงจะปฏิบัติถูกต้อง

ถึงกับมีบางแห่ง ทำให้ร่างกายเกิดทุกขเวทนา เช่น เอาไฟลนตามแขนตามขา เป็นต้น

แล้วก็ดูเวทนา เป็นวิธีการที่ผิด นั่นเป็นวิธีของพวกนิครนถ์ในครั้งพุทธกาลเขาทำกัน



คิดรินศึกษาแนวคิดของพุทธดังนี้

วิธีปฏิบัติต่อความสุข (รวมทั้งต่อความทุกข์ด้วย) ที่ตรัสไว้ ๔ ข้อ คือ


๑. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่มิได้ถูกทุกข์บีบอัด

๒. ไม่ละทิ้งความสุขที่ชอบธรรม

๓. ไม่สยบหมกมุ่น (แม้แต่) ในความสุขที่ชอบธรรมนั้น


๔. เพียรพยายามทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป -(โดยนัย คือ เพียรปฏิบัติให้ลุถึงสุขที่ประณีตขึ้นไป

จนสูงสุด)


ศึกษาต่อที่

viewtopic.php?f=2&t=24004


กับที่

viewtopic.php?f=2&t=19000



ไตรลักษณ์ เปิดเผยตัวมันเองเป็นปกติอยู่แล้ว ทั้งร่างกาย และจิตใจ คือทั้งลมเข้าลมออก

(พอง-ยุบ) และความคิด

แต่โยคีต้องใช้เวลาสังเกตนิ่งๆเงียบๆ คือ หมายความต้องกำหนดตามดูรู้ทัน พองยุบ กับความคิด

(กาย ใจ) เนืองๆ ต่อเนื่องนานๆ เป็นชั่วโมงๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 3534 ครั้ง ]

คุณรินดูภาพการปฏิบัติ (ปฏิปทา) ของแต่ละคนๆ ว่าต่างกันอย่างไร
ทำไมบางคนขณะปฏิบัติถึงได้ยากลำบาก ประสบทุกขเวทนามากมาย
บางคนก็ปฏิบัติไปแบบสบายๆ
ฯลฯ
ดูครับ ตัดๆมา




ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะ ความพร้อมหรือแก่กล้าของอินทรีย์ต่างๆ

บางคนอาจฝึกซ้อมไม่ต้องมาก ก็ประสบความสำเร็จโดยง่าย

บางคนอาจฝึกหัดใช้เวลานาน แต่ฝึกไปสบายๆก็สำเร็จ

บางคนทั้งฝึกยากลำบาก ทั้งต้องใช้เวลายาวนาน จึงสำเร็จ

บางคนจะฝึกหัดอย่างไร ก็ไม่อาจประสบความสำเร็จเลย

นอกเหนือจากความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ความสำเร็จและความช้าเร็ว เป็นต้น

ยังขึ้นต่อปัจจัยอื่นอีก โดยเฉพาะการฝึกที่ถูกวิธี

การมีผู้แนะนำหรือครูดีที่เรียกว่ากัลยาณมิตร ตลอดจนสภาพในกาย และ

สภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นต้น

โดยนัยนี้ ท่านจึงจำแนกการปฏิบัติธรรมที่ประสบความสำเร็จออกเป็น ๔ ประเภท

เรียกว่า ปฏิปทา ๔ คือ

๑. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ ช้า

๒. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติยากลำบาก แต่รู้ เร็ว

๓. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้ ช้า

๔. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติสะดวกสบาย ทั้งรู้ เร็ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ :b8:

อันที่จริงเพียงแต่สงสัยว่าความเคยชินจะทำให้ไม่รู้อะไรมากกว่าเดิมหรือเปล่าประมาณนี้ค่ะ ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติเท่าไหร่ค่ะ

ระยะหลัง ๆ ที่คุณกรัชกายยกความรู้ทางด้านปริยัติหรือแนะนำลิงค์ให้อ่านประกอบ ซึ่งบางครั้งก็เข้าใจหรือพอจะจับประเด็นได้ บางครั้งต้องอ่านหลายรอบจึงจะเข้าใจ แต่หลาย ๆ ครั้งก็ไม่เข้าใจ เลยไม่รู้ว่าจะถามอะไรค่ะ

และรู้สึกว่าคุณกรัชกายจริงจังมากขึ้น หนูก็เลยเกร็งค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 17:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar98249_1.gif
avatar98249_1.gif [ 47.05 KiB | เปิดดู 3466 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
ขอบพระคุณค่ะ :b8:

อันที่จริงเพียงแต่สงสัยว่าความเคยชินจะทำให้ไม่รู้อะไรมากกว่าเดิมหรือเปล่าประมาณนี้ค่ะ ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติเท่าไหร่ค่ะ

ระยะหลัง ๆ ที่คุณกรัชกายยกความรู้ทางด้านปริยัติหรือแนะนำลิงค์ให้อ่านประกอบ ซึ่งบางครั้งก็เข้าใจหรือพอจะจับประเด็นได้ บางครั้งต้องอ่านหลายรอบจึงจะเข้าใจ แต่หลาย ๆ ครั้งก็ไม่เข้าใจ เลยไม่รู้ว่าจะถามอะไรค่ะ

และรู้สึกว่าคุณกรัชกายจริงจังมากขึ้น หนูก็เลยเกร็งค่ะ



ที่นำหลักฐานทางคัมภีร์มา ก็เพราะพูดพาดพิงถึงองค์ธรรมนั้นๆไว้ (ยังมีเรื่องอินทรีย์อีก) เจตนา
เพื่อให้ผู้อ่านท่านอื่นนอกจากคุณ ซึ่งมิได้ปฏิบัติได้รู้ประกอบไปด้วย

สำหรับคุณรินเอง ไม่ต้องอ่านก็ได้หรืออ่านๆแล้วผ่านไปเลย ไม่ต้องตีความตัวอักษรเอง

ดังนั้นต่อไป คุณมีหน้าที่ปฏิบัติ รับรู้สิ่งที่เกิดแก่คุณขณะที่ปฏิบัติก็พอนะครับ


ประโยคคำสั่งที่ให้คุณนั่งเพิ่มอีก ๕ นาที เป็น ๒๕ นาทีนั่นหรือครับว่าจริงจัง

อันที่จริงควรปรับเวลาขึ้นหลายวันแล้ว แต่กรัชกายก็รอๆความพร้อมคุณ คือว่า ไม่ต้องการ
ให้คุณหักโหม หรือ เคร่งเครียดเกินไป ด้วยคุณมีภาระหน้าที่อื่นด้วย เช่นว่า เรียนหนังสือ เป็นต้น
มิได้มุ่งแต่ปฏิบัติกรรมฐานเพียงอย่างเดียว จึงให้ค่อยเป็นค่อยไป

ความจริงผู้อยู่ในวัยหนุ่มสาว สุขภาพแข็งแรง ควรปรับเวลาขึ้นครั้งละ ๑๐ นาทีนะ แต่เหตุอย่างที่บอกแหละ

คุณรินอย่าเกร็งหรือเกรงใจหรือคิดนอกเรื่องนะครับ

หากกรัชกายไม่เต็มใจทำ ก็ไม่ทำ ใครจะมาทำอะไรกรัชกายได้ใช่ไหมครับ
คุณสบายใจประเด็นนี้ได้ สบายๆ


เบิร์ด :b32:


http://www.imeem.com/sundayman/music/b_8W5ByI/bird/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 18:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ที่นำหลักฐานทางคัมภีร์มา ก็เพราะพูดพาดพิงถึงองค์ธรรมนั้นๆไว้ (ยังมีเรื่องอินทรีย์อีก) เจตนาเพื่อให้ผู้อ่านท่านอื่นนอกจากคุณ ซึ่งมิได้ปฏิบัติได้รู้ประกอบไปด้วย

สำหรับคุณรินเอง ไม่ต้องอ่านก็ได้หรืออ่านๆแล้วผ่านไปเลย ไม่ต้องตีความตัวอักษรเอง

ดังนั้นต่อไป คุณมีหน้าที่ปฏิบัติ รับรู้สิ่งที่เกิดแก่คุณขณะที่ปฏิบัติก็พอนะครับ



ค่ะ :b8:



กรัชกาย เขียน:
ประโยคคำสั่งที่ให้คุณนั่งเพิ่มอีก ๕ นาที เป็น ๒๕ นาทีนั่นหรือครับว่าจริงจัง



ไม่ใช่อย่างนั้นค่ะ คือหมายถึงบรรยากาศของกระทู้ทำนองนี้ค่ะ
(ความจริงตัวหนูเองก็มีส่วนทำให้บรรยากาศเป็นแบบนี้)



กรัชกาย เขียน:
อันที่จริงควรปรับเวลาขึ้นหลายวันแล้ว แต่กรัชกายก็รอๆความพร้อมคุณ คือว่า ไม่ต้องการให้คุณหักโหม หรือ เคร่งเครียดเกินไป ด้วยคุณมีภาระหน้าที่อื่นด้วย เช่นว่า เรียนหนังสือ เป็นต้น
มิได้มุ่งแต่ปฏิบัติกรรมฐานเพียงอย่างเดียว จึงให้ค่อยเป็นค่อยไป

ความจริงผู้อยู่ในวัยหนุ่มสาว สุขภาพแข็งแรง ควรปรับเวลาขึ้นครั้งละ ๑๐ นาทีนะ แต่เหตุอย่างที่บอกแหละ

คุณรินอย่าเกร็งหรือเกรงใจหรือคิดนอกเรื่องนะครับ

หากกรัชกายไม่เต็มใจทำ ก็ไม่ทำ ใครจะมาทำอะไรกรัชกายได้ใช่ไหมครับ
คุณสบายใจประเด็นนี้ได้ สบายๆ


จริงไหม เบิร์ด


http://www.imeem.com/sundayman/music/b_8W5ByI/bird/



ขอบพระคุณค่ะ :b8:
ต่อไปจะไม่พูดเรื่องนี้แล้วค่ะ :b21:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร