วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 13:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เสริมความเข้าใจนิดนะครับ เดินจงกรม คือการตามดูรู้ทันกาย รู้ทันการเคลื่อนไหวกายที่เป็นไปในขณะนั้นๆ

ไม่ต้องแช่เท้ากับพื้น เพื่อจะรู้ว่า พื้นเย็นหรือแข็งนะครับ นั้นเป็นปัจจัยภายนอก แต่เมื่อเหยียบพื้น

แล้วรู้สึกว่าเย็น ว่าร้อยว่าแข็งเอง นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เป็นไร

ทำความเข้าใจไว้ก่อน



ไม่ได้แช่เท้านะคะ เพียงแต่รู้สึกชัดเท่านั้นค่ะ


กรัชกาย เขียน:
(ขอถามนอกประเด็นหน่อย ความสุขแบบเย็นๆดังกล่าว ถามว่า ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้
คุณรินเคยประสบมาก่อนหน้าบ้างไหมครับ)


ไม่เคยค่ะ เวลามีความสุขรู้สึกว่าไม่เย็นนะคะ ความสุขเวลาทำบุญก็ไมใช่แบบนี้ค่ะ



ถ้าเดินไกล ๆ แล้วไม่เมื่อยไม่ล้า เป็นเพราะอานิสงส์ของการเดินจงกรมหรือเปล่าคะ
ที่พระท่านบิณฑบาตไกล ๆ หรือออกธุดงค์เป็นเพราะอานิสงส์ของการเดินจงกรมไหมคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 19 ก.ย. 2009, 12:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1192712930.jpg
1192712930.jpg [ 125.3 KiB | เปิดดู 3798 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เสริมความเข้าใจนิดนะครับ เดินจงกรม คือการตามดูรู้ทันกาย รู้ทันการเคลื่อนไหวกายที่เป็นไปในขณะนั้นๆ
ไม่ต้องแช่เท้ากับพื้น เพื่อจะรู้ว่า พื้นเย็นหรือแข็งนะครับ นั้นเป็นปัจจัยภายนอก แต่เมื่อเหยียบพื้น
แล้วรู้สึกว่าเย็น ว่าร้อยว่าแข็งเอง นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เป็นไร
ทำความเข้าใจไว้ก่อน



ไม่ได้แช่เท้านะคะ เพียงแต่รู้สึกชัดเท่านั้นค่ะ


กรัชกาย เขียน:
(ขอถามนอกประเด็นหน่อย ความสุขแบบเย็นๆดังกล่าว ถามว่า ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้
คุณรินเคยประสบมาก่อนหน้าบ้างไหมครับ)


ไม่เคยค่ะ เวลามีความสุขรู้สึกว่าไม่เย็นนะคะ ความสุขเวลาทำบุญก็ไมใช่แบบนี้ค่ะ



ถ้าเดินไกล ๆ แล้วไม่เมื่อยไม่ล้า เป็นเพราะอานิสงส์ของการเดินจงกรมหรือเปล่าคะ
ที่พระท่านบิณฑบาตไกล ๆ หรือออกธุดงค์เป็นเพราะอานิสงส์ของการเดินจงกรมไหมคะ




ไม่ได้แช่เท้านะคะ เพียงแต่รู้สึกชัดเท่านั้นค่ะ

สาธุ ดีแล้ว พูดดักคอไว้ก่อน :b12: (เหตุเคยมีผู้ตามหาปรมัตถ์อย่างนั้น)


ไม่เคยค่ะ เวลามีความสุขรู้สึกว่าไม่เย็นนะคะ ความสุขเวลาทำบุญก็ไมใช่แบบนี้ค่ะ


สาธุ ชอบแล้ว สุขประเภทนี้พระท่านเรียกว่า นิรามิสสุข ถามเพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน :b1:



ถ้าเดินไกล ๆ แล้วไม่เมื่อยไม่ล้า เป็นเพราะอานิสงส์ของการเดินจงกรมหรือเปล่าคะ
ที่พระท่านบิณฑบาตไกล ๆ หรือออกธุดงค์เป็นเพราะอานิสงส์ของการเดินจงกรมไหมคะ



หากทำกรรมฐาน มีเดินจงกรมเป็นต้นจนองค์ธรรมมีสติเป็นอาทิ เจริญขึ้นทำหน้าของตนแล้ว

ร่างกายจะเบาสบาย คล่องแคล่ว เส้นเอ็นก็หย่อน เพราะการนั่งการเดินจงกรมนั่นเอง

จึงทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อยล้า ทำให้สุขภาพแข็งแรง ฯลฯ

สาธุในวิริยะอุตสาหะ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ก.ย. 2009, 12:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
(เมื่อวานไม่ได้ปฏิบัติค่ะ ไม่มีห้องค่ะ)



ไม่มีห้องสำหรับทำกรรมฐานน่าหรือครับ


ให้แนวคิดเปิดกว้าง ไว้ เรากำลังทำอะไร ยังไง ตรงไหน ก็ปฏิบัติได้

เพียงเราใช้สติระลึกรู้ดูทันกายที่เคลื่อนไหว หยิบวางสิ่งนั้นๆ + ความคิดที่แวบคิดออกสิ่งที่กำลังทำ

กำลังเกี่ยวข้องอยู่ในขณะนั้น ก็รู้ทัน เพียงเท่านี้ก็เป็นการปฏิบัติธรรม หรือเจริญสติเป็นต้นแล้ว

ดังนั้น การปฏิบัติกรรมฐาน หรือจะตั้งอื่นจากนี้ก็ตาม จะไม่เป็นอุปสรรคต่อหน้าที่การงานประจำวัน




ถ้าอย่างงั้นวันไหนไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐานก็ไม่ต้องกังวลใช่ไหมคะ
เพราะเราตามดูอาการเคลื่อนไหวของกาย อารมณ์ ความรู้สึก ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

แต่ถ้าไม่ได้ปฏิบัติหลาย ๆ วัน จะเป็นอะไรไหมคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
(เมื่อวานไม่ได้ปฏิบัติค่ะ ไม่มีห้องค่ะ)



ไม่มีห้องสำหรับทำกรรมฐานน่าหรือครับ

ให้แนวคิดเปิดกว้าง ไว้ เรากำลังทำอะไร ยังไง ตรงไหน ก็ปฏิบัติได้
เพียงเราใช้สติระลึกรู้ดูทันกายที่เคลื่อนไหว หยิบวางสิ่งนั้นๆ + ความคิดที่แวบคิดออกสิ่งที่กำลังทำ
กำลังเกี่ยวข้องอยู่ในขณะนั้น ก็รู้ทัน เพียงเท่านี้ก็เป็นการปฏิบัติธรรม หรือเจริญสติเป็นต้นแล้ว
ดังนั้น การปฏิบัติกรรมฐาน หรือจะตั้งอื่นจากนี้ก็ตาม จะไม่เป็นอุปสรรคต่อหน้าที่การงานประจำวัน



ถ้าอย่างงั้นวันไหนไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐานก็ไม่ต้องกังวลใช่ไหมคะ
เพราะเราตามดูอาการเคลื่อนไหวของกาย อารมณ์ ความรู้สึก ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

แต่ถ้าไม่ได้ปฏิบัติหลาย ๆ วัน จะเป็นอะไรไหมคะ



อ้างคำพูด:
ถ้าอย่างงั้นวันไหนไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐานก็ไม่ต้องกังวลใช่ไหมคะ
เพราะเราตามดูอาการเคลื่อนไหวของกาย อารมณ์ ความรู้สึก ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว


ช่ายแล้ว ไม่ต้องกังวล หากเราตามดูรู้ทันกายกับความคิด คุมให้อยู่กับงานประจำอยู่

งานนั่นๆ ก็เป็นกรรมฐาน (เป็นที่ทำงานของจิต) ปฏิบัติอย่างนี้ไปด้วย จิตจะเชื่องเร็วและง่าย

ต่อการควบคุม

ในการดำเนินชีวิต เรามีอะไรที่ต้องจัดต้องทำ ก็ทำไปตามหน้าที่ ก็ไม่เป็นไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คุณรินอ่านแล้วผ่านเลยนะครับ)


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน


จากใจความย่อของสติปัฏฐาน จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย)

ไม่ใช่หลักการ ที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือ

จำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง

โดยเหตุนี้ จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญ หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่าชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติ

คอยกำกับดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ

ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1

เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1

ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ 1

ความนึกคิดไตร่ตรอง 1


ถ้าดำเนินชีวิต โดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย

ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม

จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐาน แต่ละข้อๆ จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น

ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว

แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย

ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ (เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ)

ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง

และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)





ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา

ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือ

การกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร

ปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมา ในกรณีนั้นๆ


(อ่านยาวๆลิงค์นี้)

viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ก.ย. 2009, 16:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




.5.bmp
.5.bmp [ 260.68 KiB | เปิดดู 3754 ครั้ง ]

คุณริน cool

ฝากข้อความไว้ที่นิทานจากดวงดาวนะคะ
แล้วนี่คือเพลงที่บอกว่าจะนำมาฝากน่ะค่ะ






ผ่อนคลาย สบาย สบาย .....

วางทุกอย่างทิ้งไป สบาย สบาย ....

หลับตาลง อมยิ้ม เบาสบาย ....

พักจิต พักใจ สบาย สบาย ...

ร่างกายผ่อนคลาย จิตใจเบาสบาย ...

หลับตาลง อมยิ้ม อย่างมีความสุข ...

หายใจ สบาย สบาย พร้อมกับภาวนาว่า ...

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ....

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ....

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข .....

ใจเราน้อมรับความสุขด้วยรอยยิ้ม ...

กายเรายิ้ม .... ใจเรายิ้ม .....

ใจเราเต็มเปี่ยมไปด้วย ....

รอยยิ้มแห่งความสุข ...

นำรอยยิ้มแห่งความสุข ....

เผื่อแผ่ให้กับคนที่เรารักและเคารพ ...

ขอให้คนที่เรารักและเคารพมีความสุข ....

นำรอยยิ้มแห่งความสุขเผื่อแผ่ ....

ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ....

ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุข ...

ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้เอิบอิ่มไปด้วย ....

รอยยิ้มความสุข ....

ทุกคนยิ้มอย่างมีความสุข ...

ทุกคนยิ้มอย่างมีความสุข ...

ทุกคนยิ้มอย่างมีความสุข ...

http://www.imeem.com/horayoga/music/cJ1 ... ion/?rel=1

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 19 ก.ย. 2009, 18:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สาธุ ชอบแล้ว สุขประเภทนี้พระท่านเรียกว่า นิรามิสสุข ถามเพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน :b1:



นิรามิสสุข คืออะไรคะ :b8:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
กรัชกาย เขียน:
สาธุ ชอบแล้ว สุขประเภทนี้พระท่านเรียกว่า นิรามิสสุข ถามเพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน


นิรามิสสุข คืออะไรคะ :b8:



นิรามิสสุข คู่กับ สามิสสุข ดูความหมายคร่าวๆ ดังนี้


สามิสสุข สุขอิงอามิส หรือ สุขอาศัยเหยื่อล่อ หรือ สุขทางเนื้อหนัง

นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส หรือ สุขไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ หรือ สุขไม่ขึ้นต่อสิ่งเสพเสวย

ทางประสาท ๕ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย


พุทธศาสนาจัดลำดับความสุขไว้หลายขั้นหลายระดับ แต่รวมๆ มี ๑๐ ขั้น

คุณรินมีเวลาค่อยๆ ศึกษาจากลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=18652

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้คุณริน เดินจงกรมระยะที่ ๖ อย่างเดียวนะครับ เวลา ๕๐ นาทีทั้งจรกรมและนั่ง

เดินมากกว่านั่งไปบ้างก็ไม่เป็นไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ระยะที่ 6

ยกส้นหนอ
ยกหนอ
ย่างหนอ
ลงหนอ…(หย่อนเท้าลงพอรู้สึกว่าลง แต่ยังไม่ถึงพื้น)
ถูกหนอ…(ปลายเท้ายันพื้น)

กดหนอ …(กดส้นเท้าลง)


ตอนลงหนอคือแค่ให้ปลายเท้าแตะพิ้น แล้วค่อยยันตอนถูกหนอเหรอคะ
(ดูเหมือนมันใกล้ ๆ กันน่ะค่ะ)

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif
18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif [ 17.69 KiB | เปิดดู 3613 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
ระยะที่ 6

ยกส้นหนอ
ยกหนอ
ย่างหนอ
ลงหนอ…(หย่อนเท้าลงพอรู้สึกว่าลง แต่ยังไม่ถึงพื้น)
ถูกหนอ…(ปลายเท้ายันพื้น)

กดหนอ …(กดส้นเท้าลง)


ตอนลงหนอคือแค่ให้ปลายเท้าแตะพิ้น แล้วค่อยยันตอนถูกหนอเหรอคะ
(ดูเหมือนมันใกล้ ๆ กันน่ะค่ะ)





“ลงหนอ” เท้ายังไม่สัมผัสหรือแตะกับพื้น ยังค้างอยู่ คือ หย่อนลง พอรู้สึกว่าลง

“ถูกหนอ” เฉพาะนิ้วเท้าแตะพื้น แต่ส้นเท้ายังไม่สัมผัสพื้น

“กดหนอ” กดส้นเท้ากับพื้นครับ


viewtopic.php?f=2&t=20691&st=0&sk=t&sd=a

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 14:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




20081210232854.jpg
20081210232854.jpg [ 160.87 KiB | เปิดดู 3580 ครั้ง ]
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมฝึกตน


http://stu-aff.oop.cmu.ac.th/cmusong/cmu-song03.htm

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์สังวร ในบาลี (พระไตรปิฎก) ท่านจัดเข้าในหมวดสมาธิ

(เช่น ที.สี.9/321/255 )





อินทรีย์สังวร ความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึง การปิดตา ปิดหู ไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน

เป็นต้น

ในขั้นต้น หมายถึง การควบคุมจิตใจ ควบคุมความรู้สึกได้

ในเมื่อเกิดความรับรู้ ทางตา ทางหู เป็นต้น ไม่ให้ถูกชักจูงไปในทางที่ถูกกิเลสครอบงำ


ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ

ที่จะเกิดจากการรับรู้เหล่านั้น

สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ตามต้องการ

(อินทรียภาวนาสูตร ม.อุ. 14/853/541)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืนนี้ทั้งตอนเดินจงกรมและตอนนั่ง ง่วงนอนมากเลยค่ะ จะหลับให้ได้ ถ้าปล่อยให้หลับก็คงหลับแน่ ๆ ค่ะ

วันนี้เดินจงกรมก็ง่วงอีก เลยหลับไปประมาณ 40 นาที
ล้างหน้าเสร็จกลับมาเดินใหม่ ผ่านไป 4-5 นาที ก็ง่วงอีก เลยมาขอคำแนะนำค่ะ น่าอายจัง :b3:

จะว่าเป็นเพราะนอนไม่พอก็ไม่น่าใช่นะคะ เพราะนอนตั้ง 7-8 ชั่วโมง หรือเป็นเพราะนอนมากไป :b14:
หรือเพราะเมื่อวานก่อนปฏิบัติทานข้าวมากไป ทานเสร็จสักครู่หนึ่งก็เดินจงกรมเลย (ตอนกลางวันทานข้าวนิดเดียว ตอนเย็นเลยหิวค่ะ)
ภาวนาว่า "ง่วงหนอ ๆๆ" ก็ไม่หายง่วงค่ะ :b14:



เดินจงกรมระยะที่ 6 แรก ๆ ก็ไม่ค่อยคล่องค่ะ นานไปก็คล่องขึ้น และเดินไวขึ้นเอง
รวมถึงเดินจงกรมวันที่ผ่าน ๆ มาด้วยค่ะ พอคล่องแล้วก็เดินไวขึ้นเอง
ควรเดินให้ช้าลงหรือปล่อยให้เป็นอย่างนี้ดีคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 22 ก.ย. 2009, 14:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




559802.gif
559802.gif [ 57.14 KiB | เปิดดู 3512 ครั้ง ]
คุณรินกำลังเผชิญกับถีนมิทธนิวรณ์ มาทำความรู้จักกับเขาสักหน่อยสิครับ


ถีนมิทธะ (ถีน+มิทธ) ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม

แยกเป็น ถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย

ที่เป็นอาการของจิตใจ

กับ

มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน โงกง่วง อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน

อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทาง กาย

จิตที่ถูกอาการทางกาย และ ทางใจอย่างนี้ครอบงำ

ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

viewtopic.php?f=2&t=19055&st=0&sk=t&sd=a

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร