วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 17:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




007.jpg
007.jpg [ 40.7 KiB | เปิดดู 3966 ครั้ง ]
“ทัสสนวิสุทธิญาณ”



“ทัสสนวิสุทธิญาณ” คือ “ปัญญาในความสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกัน และ การแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมหมวดเดียวกัน”



ปัญญาในความสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกัน และ การแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมหมวดเดียวกันเป็นทัสสนวิสุทธิญาณอย่างไร ฯ



คำว่า “ธรรมทั้งปวง”ได้แก่............

ขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒
กุศลธรรม
อกุศลธรรม
อัพยากตธรรม
กามาวจรธรรม
รูปาวจรธรรม
อรูปาวจรธรรม
โลกุตตรธรรม




เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน”


ความว่า ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒ คือ ....

โดยสภาพถ่องแท้
โดยสภาพมิใช่ตัวตน
โดยสภาพจริง
โดยสภาพควรแทงตลอด
โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง
โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้
โดยสภาพที่เป็นธรรม
โดยสภาพที่เป็นธาตุ
โดยสภาพที่อาจรู้
โดยสภาพควรทำให้แจ้ง
โดยสภาพที่ควรถูกต้อง
โดยสภาพที่ควรตรัสรู้

ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒ นี้



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ขยายความ”

“อ้างอิง....................................
คำว่า “ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน”

ความว่า ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒ คือ ..........
โดยสภาพถ่องแท้
โดยสภาพมิใช่ตัวตน
โดยสภาพจริง
โดยสภาพควรแทงตลอด ”

*************************************


“ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน”
สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา - ธรรมทั้งปวงท่านสังเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน ได้แก่ ธรรมที่เป็นสังขตะและอสังขตะทั้งหมด
สังเคราะห์ คือกำหนดด้วยหมวดเดียวกัน

โดยสภาพถ่องแท้ - “ตถฏฺเฐน” คือ โดยสภาพเป็นจริง หมายถึง โดยมีอยู่ตามสภาพของตน

โดยสภาพมิใช่ตัวตน - “อนตฺตฏฺเฐน” คือ โดยสภาพเว้นจากตัวตน อันได้แก่ ผู้กระทำ และผู้เสวย

โดยสภาพจริง- “สจฺจฏฺเฐน” คือ โดยสภาพที่ไม่ผิดจากความจริง หมายถึง โดยความเป็นสภาพของตนไม่เป็นอย่างอื่น

โดยสภาพควรแทงตลอด - “ปฏิเวธฏฺเฐน”- คือ ควรแทงตลอดด้วยญาณ “การแทงตลอด” หมายถึง โดยความไม่ลุ่มหลง และโดยอารมณ์ด้วยญาณโลกุตระ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ขยายความ.....(ต่อ)....”


“อ้างอิง....................................
คำว่า “ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน”

ความว่า ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒ คือ ..........

โดยสภาพถ่องแท้
โดยสภาพมิใช่ตัวตน
โดยสภาพจริง
โดยสภาพควรแทงตลอด ”
โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง
โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้
โดยสภาพที่เป็นธรรม
โดยสภาพที่เป็นธาตุ



โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง- “อภิชานนฏฺเฐน” คือ โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่งธรรมนั้นๆ โดยอารมณ์ด้วยญาณที่เป็นโลกิยะ โดยความไม่หลง และโดยอารมณ์ด้วยญาณที่เป็นโลกุตระ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “สพฺพํ ภิกฺขเว อภิญฺเญยฺยํ” - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง

โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ - “ปริชานนฏฺเฐน” คือ โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ธรรมทั้งหลายที่รู้ยิ่งแล้ว โดยสภาวะด้วยญาณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตระโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหล่ะโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น และโดยการออกไปเป็นต้น เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “สพฺพํ ภิกฺขเว ปริญเญยฺยํ” - ดูก่อนภิกษุทั้งปวง สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้

โดยสภาพที่เป็นธรรม - “ธมฺมฏฺเฐน” คือ โดยสภาพที่เป็นธรรม มีการทรงไว้ซ่งสภาพ เป็นต้น

โดยสภาพที่เป็นธาตุ - “ธาตฏฺเฐน”- คือ โดยสภาพที่เป็นธาตุ มีความไม่มีชีวะเป็นต้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ขยายความ....(ต่อ)....”


“อ้างอิง....................................


คำว่า “ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน”

ความว่า ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒ คือ ..........


โดยสภาพถ่องแท้
โดยสภาพมิใช่ตัวตน
โดยสภาพจริง
โดยสภาพควรแทงตลอด
โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง
โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้
โดยสภาพที่เป็นธรรม
โดยสภาพที่เป็นธาตุ ”
โดยสภาพที่อาจรู้
โดยสภาพควรทำให้แจ้ง
โดยสภาพที่ควรถูกต้อง
โดยสภาพที่ควรตรัสรู้




โดยสภาพที่อาจรู้- “ญาตฏฺเฐน” คือ โดยสภาพที่อาจรู้ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ สภาพที่อาจรู้หมายถึง.........
........... ทิฏฐํ = รูปที่เห็น
........... สุตํ = เสียงที่ได้ยิน
........... มุตํ = อารมณ์ ๓ ที่รู้
........... วิญญาตํ = ธรรมที่รู้แล้วเป็นรูป หมายถึง สภาพที่อาจเห็นได้


โดยสภาพควรทำให้แจ้ง - “สจฺฉิกิริยฏฺเฐน” คือ โดยสภาพที่ควรทำให้ประจักษ์โดยอารมณ์


โดยสภาพที่ควรถูกต้อง - “ผุสนฏฺเฐน” คือ โดยสภาพที่ควรถูกต้องบ่อย ๆ โดยอารมณ์ของสภาพที่ทำให้ประจักษ์แล้ว


โดยสภาพที่ควรตรัสรู้ - “อภิสมยฏฺเฐน”- คือ โดยสภาพที่ควรตรัสรู้ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“กามฉันทะ” เป็นความต่าง “เนกขัมมะ” เป็นอันเดียวกัน

“พยาบาท” เป็นความต่าง “ความไม่พยาบาท” เป็นอันเดียวกัน

“ถีนมิทธะ” เป็นความต่าง “อาโลกสัญญา” เป็นอันเดียวกัน

“อุทธัจจะ” เป็นความต่าง “ความไม่ฟุ้งซ่าน” เป็นอันเดียวกัน

“วิจิกิจฉา” เป็นความต่าง “การกำหนดธรรม” เป็นอันเดียวกัน

“อวิชชา เป็นความต่าง “ญาณ” เป็นอันเดียวกัน

“อรติ” เป็นความต่าง “ความปราโมทย์” เป็นอันเดียวกัน

“นิวรณ์” เป็นความต่าง
............. “ปฐมฌานสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน
............. “ทุติยฌานสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน
............. “ตติยฌานสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน
............. “จตุตถฌานสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน
............. “อากาสานัญจายตนสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน
............. “วิญญาณัญจายตนสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน
............. “อากิญจัญญายตนสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน
............. “เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ” เป็นอันเดียวกัน

“กิเลสทั้งปวง” เป็นความต่าง “อรหัตมรรค” เป็นอันเดียวกัน



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ขยายความ”


“อ้างอิง....................................

“กามฉันทะ” เป็นความต่าง “เนกขัมมะ” เป็นอันเดียวกัน

**************************



กามจฺฉนฺโท นานตฺตํ - “กามฉันทะ” เป็นความต่าง
หมายถึง กามฉันทะมีสภาพต่างๆ เพราะมีอารมณ์ต่างๆ โดยมีความฟุ้งซ่าน

พึงทราบ “กิเลสทั้งหมด” ....... ด้วยประการฉะนี้



เนกฺขมฺมํ เอกตฺตํ - “เนกขัมมะ” เป็นอันเดียวกัน
หมายถึง เนกขัมมะมีสภาพเป็นอันเดียวกันโดยมีจิตเป็นเอกัคคตา และโดยไม่มีความฟุ้งซ่านของอารมณ์ต่างๆ

พึงทราบ “กุศลทั้งปวง” ....... ด้วยประการฉะนี้



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “ในการแทงตลอด”

ความว่า พระโยคาวจร...................



............. ย่อมแทงตลอด “ทุกขสัจ” เป็นการแทงตลอด “ด้วยการกำหนดรู้”


............. แทงตลอด “สมุทัย” สัจ เป็นการแทงตลอด “ด้วยการละ”


............. แทงตลอด “นิโรธสัจ” เป็นการแทงตลอด “ ด้วยการทำให้แจ้ง”


............. แทงตลอด “มรรคสัจ” เป็นการแทงตลอด “ด้วยการเจริญ”




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ขยายความ / อธิบายความ”


“อ้างอิง....................................
คำว่า “ในการแทงตลอด”

โดยสภาพควรแทงตลอด - “ปฏิเวธฏฺเฐน”- คือ ควรแทงตลอดด้วยญาณ “การแทงตลอด” หมายถึง โดยความไม่ลุ่มหลง และโดยอารมณ์ด้วยญาณโลกุตระ

**************************


…………เพราะการแทงตลอดความต่างๆ และ “ความเป็นอันเดียวกัน” ท่านสงเคราะห์เป็นอันเดียวกัน ย่อมสำเร็จด้วยการแทงตลอด “สัจจะ” ในขณะแห่ง “มรรค”

ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงยกบทว่า “ปฏิเวโธ” ขึ้น แล้วแสดงถึงการตรัสรู้สัจจะ


………. “ปริญฺญา ปฏิเวธํ ปฏวิชฺฌติ”
............. พระโยคาวจรย่อมแทงตลอด “ทุกขสัจ” เป็นการแทงตลอด “ด้วยการกำหนดรู้” คือ ตรัสรู้ด้วย ปริญญาภิสมยะ

........ในการตรัสรู้สัจจะในขณะมรรคเป็นอันเดียวกันแห่งมรรคญาณ ย่อมมีกิจ ๔ อย่าง คือ
.............ปริญญา
.............ปหานะ
.............สัจฉิกิริยา
.............ภาวนา



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


…..เหมือนอย่างเรือทำกิจ ๔ อยู่ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง คือ
.............ละฝั่งใน
.............ตัดกระแสน้ำ
.............นำสินค้าไป
.............ถึงฝั่งนอก ...ฉันใด


.......พรโยคาวจรย่อมตรัสรู้สัจจะ ๔ ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง คือ..
.............ตรัสรู้ “ทุกข์” ด้วย “การกำหนดรู้”
.............ตรัสรู้ “สมุทัย” ด้วย “การละ”
.............ตรัสรู้ “มรรค” ด้วยการ “เจริญ”
.............ตรัสรู้ “นิโรธ” ด้วยการ “ทำให้แจ้ง”......ฉันนั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ขยายความ / อธิบายความ.....(ต่อ)”


พระโยคาวจรกระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ย่อมบรรลุ ย่อมเห็น ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยสามารถกิจ เหมือนอย่างว่า...........


“เรือละฝั่งใน” .........ฉันใด.....พระโยคาวจร “กำหนดรู้ทุกข์” อันเป็นมรรคญาณ ...ฉันนั้น

“เรือตัดกระแสน้ำ” .....ฉันใด.....พระโยคาวจร “ละสมุทัย”...ฉันนั้น

“เรือนำสินค้าไป”.......ฉันใด ....พระโยคาวจร “เจริญมรรค” เพราะเป็นปัจจัยมีเกิดร่วมกัน....ฉันนั้น

“เรือถึงฝั่งนอก”.....ฉันใด....พระโยคาวจร “ทำให้แจ้งนิโรธ” อันเป็นฝั่งนอก...ฉันนั้น


พึงทราบข้ออุปมาอุปมัย ด้วยประการฉะนี้




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “ทสฺสน วิสุทธิ”

ความว่า .............

............. ในขณะ โสดาปัตติมรรค ทัสนะย่อมหมดจด

............. ในขณะ โสดาปัตติผล ทัสนะหมดจดแล้ว

............. ในขณะ สกทาคามิมรรค ทัสนะย่อมหมดจด

............. ในขณะ สกทาคามิผล ทัสนะหมดจดแล้ว

............. ในขณะ อนาคามิมรรค ทัสนะย่อมหมดจด

............. ในขณะ อนาคามิผล ทัสนะหมดจดแล้ว

............. ในขณะ อรหัตมรรค ทัสนะย่อมหมดจด

............. ในขณะ อรหัตตผล ทัสนะหมดจดแล้ว



ชื่อว่า “ญาณ” เพราะอรรถว่า “รู้ธรรมนั้น ”

ชื่อว่า “ปัญญา” เพราะอรรถว่า “รู้ชัด”


เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวง เป็นหมวดเดียวกัน และการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมหมวดเดียวกัน เป็น “ทัสสนวิสุทธิญาณ”



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ขยายความ / อธิบายความ”



อ้างอิง....................................

............. ในขณะโสดาปัตติมรรค “ทัสนะย่อมหมดจด”

............. ในขณะโสดาปัตติผล “รู้ทัสนะหมดจดแล้ว” ………..


************************************


“ทัสนะย่อมหมดจด - ทสฺสนํ วิสุชฺฌติ” คือ ญาณทัสนะย่อมถึงความหมดจดด้วยการละกิเลสอันทำลายมรรคนั้นๆ



“ทัสนะหมดจดแล้ว - ทสฺสนํ วิสุทธํ” คือ ญาณทัสนะถึงความหมดจดแล้ว โดยถึงความหมดจดแห่งกิจของมรรคญาณนั้นในขณะเกิดผลนั้นๆ


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร