วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 12:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาภาวนา

วิ ( วิเศษ , แจ้ง ฯ. ) + ปสฺสนา ( เห็น ) + ภาวนา ( การอบรม , การเจริญ )

การอบรมเพื่อความเห็นแจ้ง , การเจริญปัญญาเพื่อเห็นอย่างวิเศษ หมายถึง

การเจริญปัญญาเพื่อเห็นแจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงตามลำดับขั้น จากขั้นต้น

คือ การอบรมสติปัฏฐาน เป็นการเจริญวิปัสสนาเพื่อเห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและ

รูปธรรม จนสติปัฏฐานถึงความสมบูรณ์ วิปัสสนาญานซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นพร้อม

กับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ จึงเกิดขึ้นเห็นสภาพธรรมอย่างวิเศษ คือประจักษ์แจ้ง

ไตรลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้น

ของปัญญาที่เจริญยิ่งขึ้น ตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ ๑ ( นามรูปปริจเฉทญาณ ) จนถึง

วิปัสสนาญาณที่ ๑๒ ( อนุโลมญาณ ) จะมีสังขารคือนามธรรมและรูปธรรมเป็นอารมณ์

วิปัสสนาญาณที่ ๑๓ ( โคตรภูญาณ ) วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ ( มรรคญาณ ) วิปัสสนา

ญาณที่ ๑๕ ( ผลญาณ ) มีวิสังขารคือพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิปัสสนาญาณที่ ๑๖

( ปัจจเวกขณญาณ ) มีมรรคจิต ผลจิต พระนิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ

อยู่ เป็นอารมณ์



วิปัสสนาญาณ

วิ ( วิเศษ , แจ้ง , ต่าง ) + ปสฺสนา ( การเห็น ) + ญาณ ( ความรู้ , ปัญญา )

ปัญญาที่เห็นแจ้ง , ปัญญาที่เห็นอย่างวิเศษ , ปัญญาที่เห็นโดยประการต่างๆ

หมายถึง ความสมบรูณ์ของปัญญาซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการอบรมสติปัฏฐาน ได้แก่

ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ ที่เห็นแจ้งสภาพธรรมโดยประการ

ต่างๆ คือ เห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมโดยความเป็นอนัตตา เห็นแจ้ง

ความเกิดดับของนามธรรมรูปธรรม เห็นนามธรรมรูปธรรมโดยความเป็นภัย เห็นโดย

ความเป็นโทษ เห็นโดยความเป็นผู้ใคร่ที่จะพ้นจากสังขาร ฯลฯ



วิปัสสนาญาณมี ๑๖ ขั้น คือ

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของ

นามธรรมและรูปธรรมที่ละอารมณ์ โดยสภาพความเป็นอนัตตา

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความเป็นปัจจัยของนาม-

ธรรมและรูปธรรม คือ รู้ชัดว่านามรูปแต่ละอย่างมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิด

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อของนาม-

ธรรมรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นโทษของการเกิดดับได้ไม่ชัดเจน

๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง การเกิดดับของนามธรรม

รูปธรรมอย่างละเอียด เป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง เห็นโทษของการเกิดดับของ

สภาพธรรมได้ยิ่งขึ้น

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความดับทำลายของนาม

รูป โดยไม่ใฝ่ใจถึงการเกิด

๖. ภยตุปัฎฐานญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นความเป็น

ภัยในสังขารทั้งหลาย

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งรูป โดยเห็นความเป็นโทษ

ในสังขารทั้งหลาย

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นทุกข์โทษ

ภัย จนเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยความที่ใคร่

จะพ้นจากสังขารธรรมทั้งปวง

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูป

เป็นเหตุที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากสังขารธรรม

๑๑. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูป

ที่คมกล้ายิ่งขึ้น จนเกิดความมัธยัสถ์ วางเฉยในสังขารธรรมทั้งปวง

๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญาในอนุโลมชวนะ ๓ ขณะในมัคควิถี ( บริ-

กรรม อุปจาร อนุโลม ) คล้อยตามเพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน

๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาในโคตรภูชวนะ กระทำนิพพานให้เป็น

อารมณ์ ข่มเสียซึ่งโคตรปุถุชนเพื่อถึงอริยโคตร เป็นอาวัชชนแก่มรรคญาณ

๑๔. มรรคญาณ ปัญญาในมัคคจิตซึ่งเป็นโลกุตระ สำเร็จกิจ

ทำลายกิเลส ดับวัฏฏทุกข์ ปิดประตูอบาย ๔ เป็นขณะที่ถึงพร้อมด้วย

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

๑๕. ผลญาณ ปัญญาในผลจิตที่เกิดต่อกัน ๒ – ๓ ขณะ เสวย

วิมุตติสุขอันปราศจากกิเลสซึ่งอริยมัคค์ประหารแล้ว

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในปัจจเวกขณวิถีอันเป็นโลกียะพิจารณา

มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่รวม ๕ วาระ สำหรับ

พระอรหันต์ไม่มีกิเลสที่เหลืออยู่ให้พิจารณา จึงมีปัจจเวกขณวิถีเพียง ๔

วาระ ปัจจเวกขณวิถีของพระอริยบุคคลทั้งหมดจึงมี ๑๙ วาระ


ตรุณวิปัสสนา

ตรุณ ( อ่อน , รุ่น , ใหม่ ) + วิ ( แจ้ง , วิเศษ ) + ทสฺส ---> ปสฺส ( เห็น ) การเห็น

แจ้งอย่างอ่อน , วิปัสสนาญาณขั้นต่ำ หมายถึง วิปัสสนาญาณที่ ๑ ที่ ๒

และที่ ๓ คือ นามรูปปริทเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ และสัมมสนญาณ เพราะ

เป็นวิปัสสนาญาณเริ่มต้น จึงไม่มีกำลังเหมือนวิปัสสนาญาณขั้นสูงที่เป็นพลววิปัสสนา

พลววิปัสสนา

พลว ( มีกำลัง , แข็งแรง ) + วิ ( แจ้ง , วิเศษ ) + ทสฺส ปสฺส ( เห็น )

การเห็นแจ้งที่มีกำลัง , วิปัสสนาญาณอย่างกล้าแข็ง หมายถึง วิปัสสนาญาณที่

พ้นจากตรุณวิปัสสนาแล้ว ได้แก่ วิปัสสนาญาณที่ ๔ ( อุทยัพพยญาณ ) เป็นต้นไป

ที่ชื่อว่า พลววิปัสสนาเพราะปราศจากการตรึกถึงนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังประจักษ์

แจ้ง
คำว่า วิปัสสนากับสติปัฏฐาน ในบางแห่งมีความหมายเหมือนกัน ในบางแห่งมีความ

หมายแตกต่างกัน คือ เหมือนกันโดยนัยที่ว่า สติปัฏฐานไม่ใช่กุศลขั้นทาน ศีล หรือ

สมถภาวนา แต่เป็นกุศลขั้นวิปัสสนา ต่างกันโดยนัยว่า สติปัฏฐานเป็นขั้นอบรมเจริญ

สติปัญญา แต่เมื่อปัญญาสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ เรียกว่า วิปัสสนา

มีความสัมพันธ์กันโดยนัยว่า เพราะมีการอบรมเจริญสติปัฏฐานบ่อยๆ เนืองๆ วิปัสสนา-

ญาณจึงเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่อบรมสติปัฏฐานวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นไม่ได้ จริงๆ แล้วเป็น

เรื่องของภาษาที่ใช้





วิปัสสสนา หมายถึง ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมะตามความเป็นนจริง เช่น

วิปัสสานาญาณขั้นที่ 1 ปัญญาที่แยกนามธรรมรูปธรรม ส่วนสติปัฏฐานเป็นเบื้องต้น

เป็นปัญญาที่ยังไม่คมกล้า ยังไม่สามารถแยกขาดจากนามธรรมรูปธรรมได้

วิปัสสนา คือเห็นแจ้ง เห็นแจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ สภาพธรรม

ที่เห็นแจ้งคือสติและปัญญา

สติปัฏฐาน คือ สติและปัญญา ที่ระลึกรู้ลักษณะอันเป็นที่ตั้งให้สติและปัญญารู้

ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้

ต่างกันโดยพยัญชนะ ความหมายเหมือนกัน

แต่เมื่อมีคำว่าญาณต่อท้าย คือ วิปัสสนาญาน ญาณคือปัญญา ปัญญามีหลาย

ระดับ สติปัฏฐานมีปัญญาเกิดร่วมด้วย เป็นปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมว่า

เป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นปัญญาเบื้องต้นที่จะนำไปสู่สู่วิปัสสนาญาณระดับต่างๆ

วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาที่สมบูรณ์อันเกิดจากการอบรมสติปัฏฐานบ่อยๆ

วิปัสสนาญาณ แยกขาดว่านี้นามธรรมและรูปธรรม แต่สติปัฏฐานยังไม่ได้แยก

ขาดให้รู้ชัดเจนเพียงแต่รู้ว่าเป็นธรรมแต่จะค่อยๆ ละเอียดมากขึ้น แต่ปัญญายัง

ไม่สมบูรณ์เท่าวิปัสสนาญาณ ดังนั้น วิปัสสนากับสติปัฏฐานบางนัยความหมาย

เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณกับสติปัฏฐานเป็นปัญญาที่ต่างระดับกัน แต่

ก็ไม่พ้นไปจากปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ซึ่งอาศัยสติ

ปัฏฐานที่อบรมจนปัญญาสมบูรณ์ถึงระดับวิปัสสนาญาณ

การอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา

ละกิเลสให้เบาบาง จนดับหมดสิ้นได้ตามลำดับ เพราะว่า

เป็นการอบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะที่แท้จริง

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ.









ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา หรือ การฟังพระธรรม

เป็นความรู้ที่เพียงละความไม่รู้ ความเห็นผิด ความเข้าใจผิด

(ในเรื่องราวของธรรม) เพราะไม่เคยฟัง

เพราะไม่เคยรู้ "เรื่องลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย" เท่านั้นเอง.







และความรู้ขั้นนั้น (ขั้นฟัง...พิจารณา)

ยังไม่สามารถละกิเลสให้ดับหมดสิ้นได้

เพราะไม่ใช่ "การประจักษ์แจ้ง" ลักษณะที่แท้จริง

ของสภาพธรรมนั้นๆ ในขณะที่สภาพธรรมนั้นๆ กำลังเกิดขึ้นจริงๆ

เช่นในขณะนี้ เป็นต้น.











ถ้าตราบใดยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน

ยังไม่ได้ดับความยึดมั่นถือมั่นในสภาพธรรมว่าเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน

กิเลสอย่างละเอียดก็ยังมีประจำอยู่ในจิตตลอดเวลา

ถึงแม้ในขณะนอนหลับ ขณะให้ทาน

ขณะรักษาศีล ขณะอบรมเจริญสมถภาวนา.







ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล อบรมเจริญสมถภาวนานั้น

ยับยั้ง ระงับกิเลส คืออกุศลจิต ไม่ให้เกิดขึ้น ตามขั้นของกุศลนั้นๆ

ขณะนั้นๆ กิเลสไม่พอกพูนเพิ่มขึ้น

แต่ว่าไม่ได้ขัดเกลากิเลสอย่างละเอียดให้เบาบางลงเลย.







เหตุกับผล ต้องตรงกัน...เมื่อกิเลสมี ๓ ขั้น คือ

กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด

กุศลที่ขัดเกลากิเลส ก็ต้องมี ๓ ขั้นด้วย

กุศลขั้นศีล ขจัดกิเลสอย่างหยาบ

กุศลขั้นอบรมเจริญสมถภาวนา ระงับกิเลสอย่างกลาง

กุศลขั้นอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา ละกิเลสอย่างละเอียด.







การเจริญกุศลขั้น ศีล และสมาธิ ต้องประกอบด้วยปัญญา

แต่เป็นปัญญาคนละขั้น ไม่ใช่ปัญญาขั้นอบรมเจริญวิปัสสนา.


เช่น คนที่เห็นโทษของกายทุจริต วจีทุจริต

แล้วละเว้นด้วยปัญญาขั้นวิรัติทุจริต.

สำหรับคนที่เห็นโทษของกาม คือ ความติดข้อง

ความพอใจยึดมั่นใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ทำให้จิตใจเร่าร้อน ไม่สงบ

ก็เพียรระงับกิเลสเหล่านั้น ด้วยการระลึกถึงอารมณ์ที่ทำให้จิตสงบ

เป็นการอบรมเจริญสมถภาวนา

ซึ่งต้องเป็นปัญญาขั้นที่เห็นโทษของกาม

และรู้ว่าจิตจะสงบระงับจากกามได้นั้น ต้องอบรมเจริญอย่างไร







แต่การเจริญกุศลขั้นวิปัสสนาภาวนา เป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง

คือ ปัญญาที่รู้ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ

เพื่อละความไม่รู้ ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิดความเห็นผิดและกิเลสต่างๆ

ปัญญาที่เป็นวิปัสสนา เมื่อคมกล้าขึ้น

ก็สามารถดับกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉท

ตามขั้นของการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม.
กิเลสที่เกิดปรากฏให้รู้ได้

ก็เป็นกิเลสอย่างหยาบ และกิเลสอย่างกลาง

ที่รู้ว่ายังมีกิเลสอย่างละเอียดอยู่

ก็เพราะกิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างหยาบ เกิดขึ้นนั่นเอง

เพราะกิเลสอย่างละเอียด

เป็นเหตุให้เกิดกิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างหยาบ.







และกิเลสอย่างละเอียดนั้น จะดับหมดไปได้

ก็เมื่ออบรมเจริญปัญญา จนรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย

ที่ปรากฏตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ

และเมื่อปัญญารู้แจ้งอริยสัจจธรรม ๔

กิเลสอย่างละเอียดจึงจะดับหมดสิ้นไป เป็นประเภทๆ.







ก่อนถึงชาติที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระอริยบุคคล

ก็ต้องอบรมเจริญปัญญามาแล้วในอดีตชาติ เป็นหมื่นเป็นแสนกัปป์

เพราะการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ได้นั้น

จะต้องสะสมอบรมเจริญปัญญา จนกว่าปัญญาแต่ละขั้นจะเกิดขึ้น

ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้ชัด และประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม

ที่ปรากฏตามความเป็นจริง.







ถ้าใครมุ่งปฏิบัติ

โดยไม่เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อน

ก็ไม่สามารถที่จะอบรมเจริญวิปัสสนาได้เลย.

ถ้าไม่พูดถึงกันเรื่องสภาพธรรมเหล่านี้ ให้เข้าใจก่อน

ก็ไม่มีปัญญาขั้นต้นที่เกิดจากการฟัง หรือการศึกษา

เมื่อไม่มีปัญญาขั้นต้น

ก็เจริญปัญญาขั้นต่อไปไม่ได้เลย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 02:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ญาณทั้ง 16 ญาณ หรือที่เรียกว่า โสฬสญาณ นี้ เป็นญาณที่วิปัสนาจารย์ได้แต่งขึ้นเพื่อใช้สอน
ในการเจริญวิปัสสนา ดังที่ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ได้แสดงไว้ใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ว่า


ในญาณ 16 นี้ 14 อย่าง (ข้อ 1-13 และ 16) เป็น โลกียญาณ, 2 อย่าง (ข้อ 14 และ 15) เป็น โลกุตตรญาณ

ญาณ 16 (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ 16 นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้
มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมาโดยประมวล
จากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา


จึงใคร่ขอนำ ญาณ ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกมาเผยแผ่ ให้รู้จักกันนะคะ และญานทั้งหมดนี้มีถึง 73 ญาณ ค่ะ

ญาณเหล่านี้รวมเป็น 73 ญาณ ในญาณทั้ง 73 นี้ 67 ญาณแรก จะเป็นญาณที่เกิดกับพระสาวกทั่วไปค่ะ
และ 6 ญาณสุดท้าย จะเป็นญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น

tongue เจริญในธรรมค่ะ




.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 02:17, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 02:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง] ๑

ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑

ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑

ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑

ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้
เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการพิจารณา] ๑

ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]๑

ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ[ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑

ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ[ญาณในการเห็นโทษ] ๑

ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑

ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑

ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑

ปัญญาในการระงับประโยค เป็นผลญาณ ๑

ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑

ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑

ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑

ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑

ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑

ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑

ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม] ๑

ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑

ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑

ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑


tongue เจริญในธรรมค่ะ


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 02:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 02:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ [ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑

ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ [ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑

ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ๑

ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑

ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑

ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑

ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑

ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑

ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑

ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน
เป็นอานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑

ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ
และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติ น้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต
เป็นอรณวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑

ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓
ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑

ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ ๑

ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ
เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน] ๑

ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑

ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑

ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑

ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรม
เป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑

ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑

ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑

ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑


tongue เจริญในธรรมค่ะ



.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 02:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑

ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑

ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิต] ๑

ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยญาณ] ๑

ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑

ปัญญาในความว่าธรรมจริงเป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑

ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท] เข้าด้วยกัน
และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด]
และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจากนิวรณ์และปฏิปักขธรรม]
เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ] ๑

ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป
เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑

ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท
และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นเจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑

ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่าง
หรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑

ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑

ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
เป็นอาสวักขยญาณ [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑

ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ ๑

ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑

ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ๑

ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑

ทุกขญาณ [ญาณในทุกข์] ๑

ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑

ทุกขนิโรธญาณ [ญาณในความดับทุกข์] ๑

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑

อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑

ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑

นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑

ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑

อินทริยปโรปริยัติญาณ [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑

อาสยานุสยญาณ [ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑

ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑

มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑

สัพพัญญุตญาณ ๑

อนาวรณญาณ ๑


ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗ [ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก
ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ



tongue เจริญในธรรมค่ะ


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 02:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ
มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ปรารภความเพียร
มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้
มีภพเป็นที่เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว
ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก ฯ




[๒๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ งดเว้นเสีย
ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก
ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




03pongs.jpg
03pongs.jpg [ 36.03 KiB | เปิดดู 6856 ครั้ง ]
tongue อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับคุณรสมน ครับ มีเพิ่มเติมนิดหน่อยเพื่อประโยชน์ในการลงมือปฏิบัติจริงกรุณาพิจารณานะครับไม่ทราบว่าจะใช้ได้หรือไม่

รสมน เขียน
วิ ( วิเศษ , แจ้ง ฯ. ) + ปสฺสนา ( เห็น ) + ภาวนา ( การอบรม , การเจริญ )

การอบรมเพื่อความเห็นแจ้ง , การเจริญปัญญาเพื่อเห็นอย่างวิเศษ หมายถึง

การเจริญปัญญาเพื่อเห็นแจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง


วิปัสสนาภาวนา มาจากคำว่า วิ + ปัสสนา + ภาวนา
วิ = วิเศษ คือวิเศษลักษณะ อันได้แก่ปรมัตถธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณะเป็นสัจจะ ไม่เปลี่ยนแปลง อธิบายให้เข้าใจโดยบัญญัติและภาษามนุษย์ไม่ได้ ต้องสัมผัสรู้ที่ใจ อาทิเช่น เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง (ธาตุลม) ร้อน หนาว เย็น อุ่น (ธาตุไฟ) หนัก เบา แข็ง อ่อน (ธาตุดิน) ซึม วับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุม (ธาตุน้ำ) เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม (รส) สุข ทุกข์ เฉย (เวทนาและธัมมารมณ์) สัมผัสของทวารทั้ง 6

ปัสสนา มาจาก ทัศนา = ดู เห็น รู้ เป็นองค์คุณของปัญญามรรคสัมมาทิฐิ

ภาวนา = ทำให้เกิดมี ทำให้เจริญ ในงานนี้หมายถึงตัวปัญญามรรคสัมมาสังกัปปะ เวลาทำงานคือ ตัวสังเกต พิจารณาค้นหาเหตุ ผล และคำตอบ ว่าทุกข์คืออะไร อะไรเป็นเหตุที่แท้จริงของทุกข์

แปลความหมายโดยย่อ วิปัสสนาภาวนา คือการเจริญสติปัญญาให้เห็นธรรมตามความเป็นจริง


แปลโดยความหมายเพื่อการปฏิบัติ ปัสสนาภาวนา คือการเจริญสติและปัญญาเฝ้าเห็น ดู รู้ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ เพื่อให้เห็นธรรมตามความเป็นจริง จนละความเห็นผิด มิจฉาทิฐิ คือเห็นว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู และมานะทิฐิ กูมี กูเก่ง กูรู้ กูฯลฯ ได้จนหมดสิ้น tongue

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนครับ สาธุ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยๆ ครับ คำว่า วิปัสสนาคือตัวปัญญา ปัญญาที่เห็นแจ้ง รู้แจ้ง แล้วเห็นอะไร เห็นอย่างไรจึงได้ชื่อว่าเห็น"วิปัสสนา" ถึงจะได้ชื่อว่า เห็นแจ้ง รู้แจ้ง จะคล้ายกันกับคำว่า "โลกะวิทู" :b41:
จะต้องมีเห็น 4 อย่างจึงจะถือว่าเป็นวิปัสสนาได้
1. เห็นปัจจุบัน คือเห็นรูป กับ นาม มันทันกันพอดี ไม่ก่อนหรือไม่หลังกันคือถ้าเกิดก่อนเป็นอดีต ยังไม่เกิดเป็นอนาคต ที่เกิดขณะนั้นอยู่ป็นปัจจุบัน เอาที่เกิดปัจจุบันนี่แหละมากำหนดซึ่งได้ปัจจุบันธรรมขึ้น
2. เห็นรูปกับนาม คือเห็นขันธ์ห้า คือ รุป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อเหลือสามคือรูป เจตสิก จิต ย่อเหลือ คือ รูปกับนาม หรือกายกับใจนั่นเอง เห็นรูปกับนามนี้คืออารมณ์ของวิปัสสนา
3. เห็นพระไตรลักษณ์ คือ เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องมี3อย่างครบเท่านั้น จะมีหนึ่งหรือสองไม่ได้
4. เห็นมรรคผล นิพพาน :b39: :b39: :b39:

มีคำพูดที่ว่าคนที่มีชีวิตอยู่." ภาวนาเห็นวิปัสสนาเพียงแค่วันเดียว ดีกว่าทำสมาธิอยู่ครบร้อยปี แต่ไม่เคยเห็นวิปัสสนาเลย" :b40: :b40: :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น....สมาธิใด ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใด เทียมเท่า?




พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้สรรเสริญ สมาธิแม้นระดับฌานที่เป็นโลกียะ ว่า เป็นธรรมเครื่องละกิเลส. ซึ่ง ถ้าเป็น โลกียะสมาธิชนิดนี้ แม้นเจริญอยู่ร้อยปี ก็ไม่สามารถเป็นเหตุให้ละกิเลสได้ ..... จะมีอานิสงส์ คือ ความสุขทางใจในปัจจุบัน(สมาธิภาวนาประเภทที่๑ ในพระบาลีโรหิตัสวรรค) และ บังเกิดญาณทัศนะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๒ ในพระบาลีโรหิตัสวรรค)

แต่ พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนให้พระสาวก เจริญยิ่ง ใน สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๓ ในพระบาลีโรหิตัสวรรค) และ ตรัสสรรเสริญสมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๔ ในพระบาลีโรหิตัสวรรค)

สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๔ ในพระบาลีโรหิตัสวรรค) ก็คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค หรือ อานันตริยสมาธิ(อานันตริกสมาธิ) นั้นเอง


จากพระสูตร

http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... =7&Roman=0

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี

ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ ปริวณฺณยี สุจึ
สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ
สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ




และ จาก

http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... 11&Roman=0

[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


ๆลๆ


[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ





ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
สมาธิระดับรูปฌาน หรือ อรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ





ขออนุญาต นำบทธรรม เรื่อง อานันตริกสมาธิ มาลงเสนอ

ด้วยเห็นว่า ชาวพุทธในรุ่นปัจจุบัน ส่วนใหญ่ จะไม่เคยทราบถึง สมาธิ(เอกัคคตาจิต)ชนิดนี้.... ที่ หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

ไม่ใช่ สมาธิ ที่ต้องไปเจริญเป็นร้อยปี....

และ ถ้า การเจริญวิปัสสนาจะบรรลุมรรคผลได้ สมาธิ(เอกัคคตาจิต)ชนิดนี้จะต้องปรากฏขึ้น เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




004wpa800.jpg
004wpa800.jpg [ 101.57 KiB | เปิดดู 6757 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ญาณทั้ง 16 ญาณ หรือที่เรียกว่า โสฬสญาณ นี้ เป็นญาณที่วิปัสนาจารย์ได้แต่งขึ้นเพื่อใช้สอนในการเจริญวิปัสสนา

อ้างอิงจากคุณกระบี่ไร้เงา

ญาณ 16 ไม่ใช่วิปัสสนาจารย์แต่งขึ้นครับ แต่เป็นการพิสูจน์ธรรมของพระวิปัสสนาจารย์ ที่เป้นปฏิสัมภิทาจารย์
ท่านได้ค้นพบสภาวะธรรมอันละเอียดอ่อนที่เกิดขึ้นตามลำดับวาระจิตของโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา เบื้องแรก ชัดในวาระจิตของท่านเอง พิสูจน์กับบรรดาลูกศืษย์ทั้งหลายก็เป็นดุจเดียวกัน ท่านจึงเมตตานำมารจจนาขึ้นไว้เป้นคู่มือ หรือมิเตอร์เครื่องชี้วัดระดับความเจริญก้าวหน้าของญาณ หรือปัญญาวิปัสสนา ทั้ง 16 ขั้นตอน

ญาณ 16 นั้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
:b8:
กลุ่มแรก อนิจจวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่ นาม - รูป ปริเฉทญาน จนถึงภังคญาณ เกิดกับผู้ปฏิบัติในระยะ 1 - 3 วันแรก
:b8:
กลุ่มที่ 2 ทุกขวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่ ภยญาณ ไปจนถึง ปฏิสังขาญาณ เกิดกับผู้ปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 3 - 4 ถึง 6 - 7 แล้วแต่ความสามารถ
:b8:
กลุ่มที่ 3 อนัตตวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่ สังขารุเปกขาญาณ ไปจนถึง ปัจจเวกขณญาณ เกิดกับผู้ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 6 - 7 ไปไม่จำกัดแล้วแต่กำลัง สติ ปัญญา บารมีของแต่ละท่านแต่ละคน
:b8:
พระวิปัสสนาจารย์ที่เมตตารจจนาขึ้นมารู้สึกว่าจะเป็น ท่านที่เขียนคัมภีร์วิสุทธิมรรคซึ่ง ดูเหมือนจะชื่อว่าท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ถูก ผิด กรุณาชี้แนะด้วยครับ ผมไม่ค่อยเก่งคัมภีร์สักเท่าไรครับ ขออภัย
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กลุ่มแรก อนิจจวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่ นาม - รูป ปริเฉทญาน จนถึงภังคญาณ เกิดกับผู้ปฏิบัติในระยะ 1 - 3 วันแรก
กลุ่ม ที่ 2 ทุกขวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่ ภยญาณ ไปจนถึง ปฏิสังขาญาณ เกิดกับผู้ปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 3 - 4 ถึง 6 - 7 แล้วแต่ความสามารถ
กลุ่ม ที่ 3 อนัตตวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่ สังขารุเปกขาญาณ ไปจนถึง ปัจจเวกขณญาณ เกิดกับผู้ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 6 - 7 ไปไม่จำกัดแล้วแต่กำลัง สติ ปัญญา บารมีของแต่ละท่านแต่ละคน


อันนี้อีก ท่านเอามาจากไหนคับมันมีกฏเกณฑ์อย่างนี้ด้วยหรือคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha2.gif
buddha2.gif [ 15.7 KiB | เปิดดู 6712 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
อันนี้อีก ท่านเอามาจากไหนคับมันมีกฏเกณฑ์อย่างนี้ด้วยหรือคับ

อ้างอิงคุณอายะ

อโศกะตอบ

เอามาจาการปฏิบัติจริง พิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆรอบ (หลวงพ่อสอนก่อน แล้วผมพิสูจน์ตาม ครับ)
:b8: smiley

คุณอายะลองเข้าคอร์สสัก 10 วัน พิสูจน์ดูซิครับ :b12: :b16: Onion_L

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอามาจาการปฏิบัติจริง พิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆรอบ (หลวงพ่อสอนก่อน แล้วผมพิสูจน์ตาม ครับ):b8: smiley


เรียนคุณอโศกะ ให้ใบเหลืองผมซะแล้วนะครับ :b16: ผมต้องขอโทษด้วยที่ถามค่อนข้างจะรุนแรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อความความถูกต้องตามหลักธรรม ระยะเวลาที่สำเร็จในญาณแต่ละญาณนั้นไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวครับ เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ผู้แนะนำ การทำความเพียร การรู้จักปรับอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ บารมี(การทำกรรมฐานในอดีตชาติ) และผลกรรมของแต่ละบุคคลฯ ดังนั้นจึงค่อนข้างลำบากที่จะบอกว่าญาณนี้ใช้เวลาเท่าใด ถ้าอยากได้จริงก็ต้องเก็บสถิติจากผู้ปฺฏิบัติหลายๆ ท่านอาจจะเป็น 1000 เป็นหมื่นคน แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย หรือทำอินเทอร์โพเลท ก็ว่าไปแล้วจึงจะได้ค่านี้มา การเอาข้อมูลจากผู้ปฏิบัติเพียงคนเดียวมาเป็นบรรทัดฐานนั้นจะไม่ไช่ค่าที่แท้จริงทางสถิติและค่านี้ก็อาจใช้ไม่ได้กับบางคนเพราะเป็นค่าทางสถิติ ซึ่งถ้าเป็นดังนั้นจากที่ท่านกล่าวมานั้นอาจจะทำให้บางคนเข้าใจผิดได้ครับ และถ้าจะเก็บสถิติคนที่ผ่านญาณ 16 ได้นั้น ท่านว่า หมื่นคนจะมีซักกี่คนกันละครับ หรือท่านว่าไม่จริงครับ

อ้างคำพูด:
คุณอายะลองเข้าคอร์สสัก 10 วัน พิสูจน์ดูซิครับ :b12: :b16: Onion_L

10 ไม่เคย แต่เคยมากกว่านั้นครับมิต้องเป็นห่วง



เจริญธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 10 พ.ย. 2009, 20:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




AWE_0010.JPG
AWE_0010.JPG [ 33.68 KiB | เปิดดู 6680 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณอายะ ยิ่งสนทนาก็ยิ่งดี ยิ่งสนุก ยิ่งแตกฉานนะครับ อนุโมทนา
:b12:
ท่านอาฬารดาบส อุทกดาบส และท่านกาลเทวินดาบส ล้วนแล้วแต่เข้าคอร์สกันมาองค์ละหลายปี จนมีฤทธิ์ จนเป้นอาจารย์สอนสมถะภาวนาแก่เจ้าชายสิทธัตถะ จนเป็น รูปพรหมและอรูปพรหม แต่ ไม่สามารถบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ เป็นเพราะท่านทั้ง 3 ขาด หรือตกหล่นอะไรไป ทราบไหมครับ
:b27:
นักปฏิบัติธรรมเกือบทั่วทั่งโลกนี้ ก็ขาดสิ่งที่ฤาษีทั้ง 3 ท่านขาดเช่นกัน คุณอายะทราบไหมครับว่าขาดอะไร ใบ้ให้หน่อยก็ได้ว่า เป็นองค์ธรรมสำคัญที่สุดมีอยู่ในมรรค มีองค์ 8 นั่นแหละครับ ลองค้นหาคำตอบกันดูซิครับทั้งคุณอายะ และท่านที่สนใจติดตามอ่านกระทู้นี้
:b8:
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




51245_0017.JPG
51245_0017.JPG [ 32.31 KiB | เปิดดู 6679 ครั้ง ]
tongue ลืมบอกคุณอายะไป
อนิจจวิปัสสนา
ทุกขวิปัสสนา
และอนัตตวิปัสสนา
ที่ว่านั้น ไม่ใช่สถิติจากคนๆเดียว เป็นสถิติที่ผู้ที่ได้ช่วยหลวงพ่อสอบอารมณ์ผู้ปฏิบัติมาประมาณ 3 - 4 พันคน สอบเองอีกหลายร้อยคน ได้พบว่า

ช่วงเริ่มต้น จิตผู้ปฏิบัติยังหบาบ จะเห็น อนิจจัง ชัดกันเป็นส่วนมาก

เข้าวันที่ 2 - 3 ทุกขังจะชัด

7 - 8 วันขึ้นไป จิตข้ามเวทนาได้ อนัตตาจะชัด

ธรรมชาติของจิตมนุษย์ธรรมดาทั่วไปจะเป็นอย่างนั้น

ยกเว้นคนที่ ฝึกสมถะมามากๆ นานปี สมาธิของเขาจะเป็นโมหะบังธรรมชาติธรรมดาเหล่านี้ไว้เกือบหมด

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร