วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 09:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"
อ้างคำพูด:
เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู จะเกิดขึ้นมาแทนที่ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู มากขึ้น ๆ ความเห็นผิดเป็นอัตตา ตัวกู ของกูจะผอมลง เบาบาง จางลง ลดลง ๆ ไปเรื่อยๆ จนหมดสิ้นไป ดับหาย ตายขาดไปจากจิตใจในที่สุด แล้วผลอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานธาตุก็จะเกิดปรากฏขึ้นมาในจิตในใจของผู้ปฏิบัติให้รู้แจ้งด้วยตน เอง
"

คุณอโศกะ ช่วยอธิบายอีกทีครับ

สัมมาทิฏฐิ เิกิดตอนไหนกันครับ
และ ญาณ กับปัญญา เป็นสิ่งเดียวกันอย่างไรครับ
และการละ อุปาทาน ละด้วยปัญญา หรือ ละด้วยการรู้สิ่งแปลกปลอม
อุปาทาน เป็นสิ่งแปลกปลอม หรือครับ

กรุณาอธิบาย อีกหนครับ เอาเหตุและ ผล ด้วยครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




dgvani7.gif
dgvani7.gif [ 5.86 KiB | เปิดดู 2655 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คุณเช่นนั้น
คุณอโศกะ ช่วยอธิบายอีกทีครับ

สัมมาทิฏฐิ เิกิดตอนไหนกันครับ
และ ญาณ กับปัญญา เป็นสิ่งเดียวกันอย่างไรครับ
และการละ อุปาทาน ละด้วยปัญญา หรือ ละด้วยการรู้สิ่งแปลกปลอม
อุปาทาน เป็นสิ่งแปลกปลอม หรือครับ

กรุณาอธิบาย อีกหนครับ เอาเหตุและ ผล ด้วยครับ


tongue ยิ่งในธรรมครับ ดุณเช่นนั้น

อโศกะ ตอบ

สัมมาทิฐิ แปลว่าเห็นถูกต้องตามธรรม เกิดขึ้นตามหลังสัมมาสติ เมื่อแรก จะเห็นปัจจุบันอารมณ์ หลังจากนั้นสัมมาสังกัปปะจะเกิดขึ้นมาสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์นั้น จนเกิดสัมมาทิฐิเห็นกระบวนการทำงานทั้งหมดของอารมณ์ ที่เกิดจากผัสสะแต่ละครั้ง เกิดเป็น รู้ อารมณ์ แล้วก็ดับไป จากนั้นอารมณ์ใหม่ก็เกิดขึ้นมาให้สติรู้ทันอีก
:b27:
การรู้เห็นอารมณ์และกระบวนการทำงานของจิตเจตสิกและรูปทั้งหมด เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น ยังไม่เต็มร้อย% อาจแบ่งเปอร์เซนต์ของสัมมาทิฐิโดยอุปมาอุปมัยให้พอเห็นจริงได้ดังนี้

*****1. สัมมาทิฐิ 25 % เห็นสภาวะการทำงานของกายและจิตตามธรรมชาต

*****2. สัมมาทิฐิ 50 % เห็น รูป - นาม แยกออกจากกัน เป็น รูป - นามเวทนา - นามปัญญา - นาม อัตตา (อุปาทาน)

*****3.สัมมาทิฐิ 75 % เห็นความเกิด - ดับ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของรูปนาม

*****4.สัมมาทิฐิเต็ม 100% เห็นว่าธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตา (สัพเพธัมมา อนัตตา)

:b8:
ญาณ กับ ปัญญา คืออันเดียวกัน แต่เรียกตามระดับความหยาบ ละเอียดของปัญญา
ระดับของปัญญาเช่น


*****1.สุตตมยปัญญา หยาบ

**** 2.จินตมยปัญญา ปานกลาง

*****3. ภาวนามยปัญญา ละเอียด

*****บรรดาญาณทั้งหลายน่าจะอยู่ในหมวดภาวนามยปัญญา เช่น โสฬสญาณ หรือ ญาณ 16 เป็นต้น

:b12:
******การละอุปาทาน ละด้วยปัญญา สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องที่เต็มร้อย คือเห็น อนัตตา เพราะ อนัตตา เป็นศัตรู คู่ปรับ ของ อัตตา อุปาทาน ความเห็นผิด ว่าเป็น ตัวตน เรา เขา
:b16:
*****เพราะฉนั้นผู้ที่ใช้สติปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาค้นคว้าเข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ที่สุดเขาจะพบอุปาทาน ความเห็นผิด ว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู แต่ อัตตา ตัวตนนั้น ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงอุปาทาน คือความผูกยึดไว้ของจิต เหมือนการสร้างวิมานไว้ในอากาศ ถ้าสติ สัมปชัญญะสมบูรณ์สัมมาทิฐิเต็ม 100 % ความเห็นผิดหรืออุปาทานนี้ก็จะดับไปเอง
:b1:
******ความรู้เพิ่มเติม อุปาทาน มี 2 ชั้น เหมือน พี่ กับน้อง พี่ คือ สักกายทิฐิ หรืออัตตทิฐิ
น้อง คือ มานะทิฐิ

******มรรค 1 จะฆ่า กูพี่ก่อน

******มรรค 2 - 3 - 4 จะฆ่า กู น้อง กูน้องนี่ตายยาก ต้องฆ่า 3 ครั้ง จึงจะตาย

มรรค 2 เหมือนตัดขา 2 ข้างของ กู ตัวน้อง
มรรค 3 เหมือนตัด แขน 2 ข้าง
มรรค 4 เหมือนตัดคอ ของกูน้อง ถึงตรงนี้ กู ตายเกลี้ยง

กล่าวเป็นอุปมาอุปมัยเช่นนี้คงพอทำให้เข้าใจง่าายนะครับ

อย่าสงสัยเลย ว่าเอามาจากตำราเล่มไหน เอามาจากตำราเล่มที่กว้างศอก ยาว วา หนา คืบ เล่มที่ทุกคนยึดไว้นี่ไงครับ

สาธุ ๆ ๆ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




27-02-08_01.gif
27-02-08_01.gif [ 13.31 KiB | เปิดดู 2643 ครั้ง ]
smiley Onion_L



เฮ้อ Kiss
เข้าใจเอาพระสัทธรรมมาเล่นนะคะเนี่ย ... กรรม Onion กรรมของพุทธศาสนาจริงๆ


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ตอบท่านที่ 3 คุณมหาราชันย์

ขอบพระคุณที่ยังกรุณาตามมาเป็นห่วงกลัวผมจะแสดงธรรมผิด นอกแนว เพราะไม่ค่อยอ้างตำราให้เห็น



สวัสดีครับคุณอโศกะ

อย่าเพิ่งสำคัญตนผิดครับ
ที่ผมมาทักท้วงนั้นเพราะผมปรารถนาดีหวังดีกับท่านผู้อ่านครับ
เพราะสิ่งที่คุณแสดงมาเป็นความรู้ที่ผิด เข้าใจมาผิด เอาความเห็นผิด ๆ เอาความคิดผิด ไร้ที่อ้างอิง ไปตู่ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้อ่านที่ศึกษามาน้อยไม่เข้าใจอรรถธรรมที่ถูกต้องมาก่อน ก็จะนำสิ่งผิดไปศึกษาปฏิบัติผิดทางหลงทาง ผมห่วงใยชาวพุทธครับ ห่วงใยที่มีคนเขลาปัญญาเช่นคุณมาแสดงสิ่งผิด ๆ



อโศกะ เขียน:
ที่ผมไม่พยายามไปเสวนากับคุณมหาราชันย์ อีก พยายามจะหนีให้ไกล เพราะกลัวความรู้ยิ่งในบัญญัติของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยิ่งไปเห็นคุณแสดงภูมิรู้้เรื่องญาณ ตั้ง 26 - 27 ญาณ เป็นกระทู้แยกข้อ เต็มไปหมดทั้งลานธรรมจักร มากกว่าโสฬสญาณ ยิ่งกลัวใหญ่ ไม่กล้าอ่าน ไม่กล้าทักท้วง เพราะกลัวจะได้สัญญาที่สับสน หรือวิปลาสไปจากธรรม ครับ


ภาษาที่ใช้คุณก็ใช้ผิด เข้าใจอรรถธรรมก็ผิด ญาณ ทั้ง 73 ญาณมีในพระไตรปิฎก เล่มที่ 31 ปฏิสัมภิทามรรค ผมมีที่อ้างอิงในการศึกษาและปฏิบัติที่ถูกต้อง ตรงอรรถตรงธรรม ผมไม่ได้แต่งเอง แต่นำมาจากพระไตรปิฎกโดยตรง นำมาเสนอให้ผู้อ่านได้เดินถูกทางสู่มัคคผลครับ

แล้วโสฬสญาณ 16 ของคุณอยู่ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฎกครับ ยกมาให้ผมดูหน่อยครับ

การที่คุณไม่อ่านไม่ทำความเข้าใจญาณ 73 ที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนานั้น เป็นสัญญาที่สับสนแล้วของคุณอโศกะ เป็นความวิปลาสไปจากธรรมของคุณอโศกะอยู่แล้วครับ





อโศกะ เขียน:
อนุโมทนากับธรรมที่คุณแสดง แต่ก็ได้โปรดกรุณาอย่ามาทักท้วงเอาผิดเอาถูกอะไรกับผมอีก ขอให้ผมได้แสดงธรรมไปตามธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธรรมแอพพลายด์ หรือธรรมมะเชิงปฏิบัติ ซึ่งอาจขัดใจนักบัญญัติทั้งหลายบ้างก็ต้องขออภัย


ตราบใดที่คุณยังแสดงธรรมผิด ๆ ให้ท่านผู้อ่านในเว็ปนี้ ตราบนั้นถ้าผมอ่านเจอผมย่อมทักท้วงคุณอีกเสมอครับ เพราะคุณรู้มาผิด ปฏิบัติมาผิด สิ่ที่คุณแสดงไม่ใช่คำสอนในพระพุทธศาสนา ผมและใคร ๆ ย่อมไม่ปล่อยให้คุณแสดงสิ่งผิดต่อไปตามอำเภอใจของคุณอโศกะได้หรอกครับ
ผมจะยังคงตามติดไปแสดงสิ่งถูกต้องให้ท่านผู้อ่านต่อไปครับ




อโศกะ เขียน:
แต่ทุกท่านลองใช้สติ ปัญญา สังเกต พิจารณาดูให้ดี ดูภาพสรุปว่าชี้ออกนอกวัตถุประสงค์ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไหม เป็นไปเพื่อความพอกพูน อัตตา มานะ หรือเป็นไปเพื่อความสละ ละวาง โปรดพิจารณา แล้วก็ทิ้งไว้ให้ผู้อ่านท่านใช้วิจรณญาณเอาเอง


คุณเชื่อผมได้แล้วคุณอโศกะ ปัญญาอย่างคุณไม่อยู่ในฐานะผู้สอน ไม่อยู่ในฐานะผู้แสดงธรรมได้ครับ
คุณต้องเป็นฝ่ายศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติตามคำสอนของผู้รู้ให้ถูกต้อง

สิ่งที่คุณรู้มาและศึกษาปฏิบัติอยู่ตอนนี้เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดในทุกเรื่องราวครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
******การละอุปาทาน ละด้วยปัญญา สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องที่เต็มร้อย คือเห็น อนัตตา เพราะ อนัตตา เป็นศัตรู คู่ปรับ ของ อัตตา อุปาทาน ความเห็นผิด ว่าเป็น ตัวตน เรา เขา


สิ่งที่แสดงมานี่คุณก็รู้มาผิด เข้าใจมาผิด ๆ คิดเองเออเอง กล่าวตู่เอาว่าความคิดเห็นของคุณเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่กลัวบาปกลัวกรรมบ้างหรือครับ ??



อโศกะ เขียน:
*****เพราะฉนั้นผู้ที่ใช้สติปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาค้นคว้าเข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ที่สุดเขาจะพบอุปาทาน ความเห็นผิด ว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู แต่ อัตตา ตัวตนนั้น ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงอุปาทาน คือความผูกยึดไว้ของจิต เหมือนการสร้างวิมานไว้ในอากาศ ถ้าสติ สัมปชัญญะสมบูรณ์สัมมาทิฐิเต็ม 100 % ความเห็นผิดหรืออุปาทานนี้ก็จะดับไปเอง

ดับไปได้เอง ง่ายจังครับ
ไม่ต้องทำเหตุให้ดับก็ดับไปเอง
เป็นไปได้หรือครับ ??

สิ่งที่แสดงมานี่คุณก็รู้มาผิด เข้าใจมาผิด ๆ คิดเองเออเอง กล่าวตู่เอาว่าความคิดเห็นของคุณเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่กลัวบาปกลัวกรรมบ้างหรือครับ ??



อโศกะ เขียน:
อย่าสงสัยเลย ว่าเอามาจากตำราเล่มไหน เอามาจากตำราเล่มที่กว้างศอก ยาว วา หนา คืบ เล่มที่ทุกคนยึดไว้นี่ไงครับ


คำตอบสุดท้ายก็คือเป็นความคิดผิด ๆ ของคุณเอง ไร้ที่อ้างอิงเช่นเดิม
เอาความคิดตัวเองเป็นปทัฏฐานการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่กลัวบาปกลัวกรรมบ้างหรือครับ ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




Namdang_0056.JPG
Namdang_0056.JPG [ 32.03 KiB | เปิดดู 2579 ครั้ง ]
อโศกะ เขียน
ถ้าสติ สัมปชัญญะสมบูรณ์ สัมมาทิฐิเต็ม 100 % ความเห็นผิดหรืออุปาทานนี้ก็จะดับไปเอง

มหาราชันย์ เขียน ดับไปได้เอง ง่ายจังครับ
ไม่ต้องทำเหตุให้ดับก็ดับไปเอง
เป็นไปได้หรือครับ ??
:b12:
อโศกะ วิจารณ์
แค่เห็นคุณมหาราชันย์วิเคราะห์ ข้อความท่อนสั้นๆ เพียงตัวอย่างที่ยกมา ก็แยกแยะไม่ออกว่า ใดเป็นเหตุ ใดเป็นผล อย่างนี้ ก็แสดงออกมาแล้วว่า ความรู้ทั้งหมด หรือสัญญาทั้งหลายที่มี กำลังทับถม สติ ปัญญาโดยธรรมชาติ ให้เสื่อมสมรรถภาพลง จนมองไม่เห็นว่า ข้อความบันทัดเดียวที่ยกมานั้น ส่วนใดเป็นเหตุ ส่วนใดเป็นผล
แล้วอย่างนี้จะป่วยการไปใยกับบัญญัติดีๆที่ยกมายาวยืด แต่น้อมนำไปสู่การปฏิบัติจริงไม่ได้ เพราะเท่าที่เห็นคุณมหาราชันย์ยกมาแสดงภูมิรู้ทั้งหมด ยังไม่ได้เห็นหรือสัมผัสกลิ่นอายของเรื่องราวการปฏิบัติจริงประสบการณ์จริงบ้างเลย

:b16:
ผมจะขอยกตัวอย่างง่ายๆที่สุดมาให้คุณมหาราชันย์ลองใช้ความรู้้ทางบัญญัติที่มีทั้งหมดมาวิตกวิจารณ์ให้ฟังซิว่า

ที่หลวงปู่ชาแสดงธรรมให้ฟังตอนหนึ่งว่า "ก็โยมไปพยายามทำให้ เป็ด มันขันเหมือน ไก่ มันจะเป็นไปได้อย่างไร โยมก็ต้องทุกข์นะซิ ถ้าไปพยายามอย่างนั้น"

หลวงปู่ชาท่านพูดอย่างนี้ คุณมหาราชันย์ลองมาตีความหมายออกมาให้ฟังซิว่า หลวงปู่กำลังสอนข้อธรรมข้อใดแก่ญาติโยม ถ้าเอาหลักฐานทางธรรมมาเทียบเคียงดู
:b11:
คนรู้ธรรม ที่รู้จริงนั้นย่ิอมจะสามารถ นำเอาหลักทฤษฎีทั้งหลายทั้งหมดที่เรียนมา น้อมไปสู่การปฏิบัติจริง จนเกิดผลลัพธ์จริงๆแก่ กายและจิตของเจ้าของ เป็นความ สงบ สุข เย็น

และในทำนองเดียวกันย่อมสามารถจะนำเอาหลักทฤษฎีที่ร่ำเรียนมา มาวิเคราะห์ ข้อธรรมที่ผู้อื่นแสดง ว่าเป็นธรรมมะระดับได อยู่ในทาง หรือนอกทาง
:b1:
ดังนั้นคนที่เขาพูดและอรรถาธิบายเรื่องของ วิปัสสนาภาวนา อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา โพธิปักขิยธรรม 37 ประการนี่เขาจะผิดตรงไหน ต้องชี้ให้ชัดๆ อย่าได้ไปเหมารวมว่าเขาผิด บาปมากนะ การขวางธรรม บังธรรม
:b34:
ไห้ผู้อ่านทั้งหลายท่านใช้วิจารณาญาณ ตัดสินเอาเองเถิด แล้วก็ปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามธรรม
:b18:
ค้นให้พบ ดี ในทุกๆ สิ่ง จิตจะได้ไม่เศร้าหมอง อย่ามัวไปพยายามเพ่งโทษใครอื่นเลย เพราะมีแต่ทำให้จิตเศร้าหมองและก่อวิวาทะ เพ่งโทษตนเองให้มากๆ จึงจะได้ดี
:b20:
อย่าทำธรรมมะอ้นวิเศษของพุทธบิดา ให้ยุ่งยาก ซับซ้อน มากมายไปด้วยศัพท์แสง จนคนทั่วไปกลัว

มาทำของยาก ให้เป็นของง่าย มาย่อพระธรรมทั้ง 84,00 ให้เหลือสักบทเดียว คำเดียว หรือ ประโยคเดียวกันเถิด ผู้คนจะได้จดจำง่ายและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน Onion_L smiley :b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:

ลักษณะของกัลยาณมิตรนั้น

1.ไม่เพ่งโทษใคร แต่ใส่ใจเพ่งโทษตนเอง สอนตนเอง

2. ไม่ตัดสินผู้คน หรือสิ่งต่างๆ ที่กระทบ ด้วยสัญญาหรืออารมณ์ อันเป็นลักษณะของปุถุชน หรือพาลชน อาทิเช่นในลานธรรมต่างๆเรามักจะเห็นคนรู้มาก คอยไปเที่ยวบอกคนโน้น ติคนนี้ ว่าที่คุณรู้มานั้นไม่ตรงกับตำรา ไม่มีในตำรา แสดงว่าคุณรู้มาผิด เพราะผมเช็คแล้วไม่ตรงกับสัญญาที่ผมรู้จดจำมา เพราะที่ผมรู้นี่ตรงกับในคัมภีร์เดี๊ยะเลย ดังนนี้เป็นต้น คนพวกนี้เราจะสังเกตได้ง่ายว่า "ความรู้ท่วมหัว บางทีเอาตัวไม่รอด เพราะพอเจอกับคำพูดข้อเขียนทีแ่ทงใจดำ ก็แสดงโทสะรุนแรงตอบโต้ออกมาในคำพูด เห็นอยู่บ่อยๆ

3. ตัดสินผู้คน หรือสิ่งต่างๆ ที่กระทบ ด้วยปัญญาและธรรม กัลยาณชน บัณฑิต อริยชนนั้น ท่านจะตัดสิน ผู้คนและสิ่งต่างด้วย ปัญญาและธรรม ดังเช่นถ้าท่านเจอข้อคิดข้อเขียนต่างๆ ไม่ว่าจะตรงตามตำราหรือนอกตำรา ท่านจะเอาความรู้ทางทฤษฎีและประสบการณ์ที่ท่านมีมาอย่างถูกต้องมาวินิจฉัย ว่าสิ่งที่บุคคลผู้นี้พูด แสดง เป็นไปตามธรรม ในตำรา และธรรมตามความเป็นจริง หรือปรมัตถธรรม หรือไม่ ส่วนใหญ่ท่านจะเอาตามสัจจธรรม เหตุและผล ที่พิสูจน์ได้ เห็นได้ รู้ด้วยสามัญสำนึกของคนธรรมดาทั้งหลาย

4. เรื่องที่พูด หรือแสดง เมื่อประมวลดูแล้วจะเห็นว่าชี้ตรงไปเรื่องเดียว คือเพื่อความค้นหาสมุทัย ถอนสมุทัยเพื่อให้เกิดผลเป็นความพ้นทุกข์ โดยมี อริยสัจ 4 และมรรค 8 หรือวิธีการเจริญวิปัสสนาภาวนา ่ มัชฌิมาปฏิปทาเป็นหลักใหญ่และสำคัญ

5. ข้อธรรมที่แสดงมักอิงการปฏิบัติและปรมัตถธรรมพูดออกมาเสมอ ใช้บัญญัติเฉพาะที่จำเป็น

6. ท่านมักจะทำเรื่องที่ยาก ให้เป็นง่าย มาก ให้เป็น น้อย วิจิตรพิสดาร มากด้วยศัพท์แสง ให้เป็นเรียบง่าย ใช้บัญญัติและภาษาสามัญธรรมดา ก็สามารถเข้าใจธรรมได้ ดังนี้เป็นต้น





ชอบ "ลักษณะของกัลยาณมิตร" ของคุณจัง...

:b16: :b16: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 18 พ.ย. 2009, 21:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะ เขียน
ถ้าสติ สัมปชัญญะสมบูรณ์ สัมมาทิฐิเต็ม 100 % ความเห็นผิดหรืออุปาทานนี้ก็จะดับไปเอง

มหาราชันย์ เขียน ดับไปได้เอง ง่ายจังครับ
ไม่ต้องทำเหตุให้ดับก็ดับไปเอง
เป็นไปได้หรือครับ ??

อโศกะ วิจารณ์
แค่เห็นคุณมหาราชันย์วิเคราะห์ ข้อความท่อนสั้นๆ เพียงตัวอย่างที่ยกมา ก็แยกแยะไม่ออกว่า ใดเป็นเหตุ ใดเป็นผล อย่างนี้ ก็แสดงออกมาแล้วว่า ความรู้ทั้งหมด หรือสัญญาทั้งหลายที่มี กำลังทับถม สติ ปัญญาโดยธรรมชาติ ให้เสื่อมสมรรถภาพลง จนมองไม่เห็นว่า ข้อความบันทัดเดียวที่ยกมานั้น ส่วนใดเป็นเหตุ ส่วนใดเป็นผล
แล้วอย่างนี้จะป่วยการไปใยกับบัญญัติดีๆที่ยกมายาวยืด แต่น้อมนำไปสู่การปฏิบัติจริงไม่ได้ เพราะเท่าที่เห็นคุณมหาราชันย์ยกมาแสดงภูมิรู้ทั้งหมด ยังไม่ได้เห็นหรือสัมผัสกลิ่นอายของเรื่องราวการปฏิบัติจริงประสบการณ์จริงบ้างเลย



สวัสดีครับคุณอโศกะ

จนกกระทั่งบัดนี้คุณก็ยังไม่ยอมรับว่าตัวคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิด ปฏิบัติมาผิด
ในจิตแต่ละชนิด ย่อมมีคุณภพาของสติแตกต่างกัน...
สติในกามาวจรกุศลนั้นอย่างหนึ่ง
สติในรูปฌานก็อย่างหนึ่ง
สติในอรูปฌานก็อย่างหนึ่ง
สติในโลกุตตระฌานก็อย่างหนึ่ง

ชื่อสติเหมือนกันแต่สภาวะธรรมต่างกันครับคุณอโศกะ


คุณอโศกะปฏิบัติธรรม แต่จิตคุณอโศกะยังพัวพันอยู่กับนามรูป จิตคุณอโศกะก็ยังเป็นกามาวจรจิต สติของคุณอโสกะก็เป็นสติชนิดกามาวจร สติในจิตชนิดกามาวจรย่อมเต็ม 100 % แบบกามมาวจร

สติที่เต็มร้อยอย่างนี้เป็นเหตุ ผลที่ได้เป็นเพียงกามาวจรกุศลวิบากเท่านั้น
แล้วอย่างนี้คุณกล่าวยืนยันว่า


อโศกะ เขียน:
อโศกะ เขียน
ถ้าสติ สัมปชัญญะสมบูรณ์ สัมมาทิฐิเต็ม 100 % ความเห็นผิดหรืออุปาทานนี้ก็จะดับไปเอง


การแสดงธรรมของคุณอโศกะ คือการแสดงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้จริงในโลกครับ


ต้องสติในโลกุตตระฌานจิตอันเป็นเหตุให้สิ้นอุปาทานครับ โลกุตตระฌานวิบากจึงมีได้

คุณจะยอมรับว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด เข้าใจอรรถธรรมผิด ๆ หรือไม่ครับ ??

นักปฏิบัติที่แท้ต้องรู้ทะลุปรุโปร่งทั้งทฤษฎีและปฏิบัติครับคุณอโศกะ แล้วจึงมาแสดงธรรม
ถ้าผมไม่ชำนาญทั้งทฤษฎีและปฏิบัติผมคงไม่กล้าแสดงธรรมกับใครหรอกครับ
แต่เพราะผมชำนาญจึงสามารถนำสิ่งที่ถูกต้องมาแสดงให้คุณได้ครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ผมจะขอยกตัวอย่างง่ายๆที่สุดมาให้คุณมหาราชันย์ลองใช้ความรู้้ทางบัญญัติที่มีทั้งหมดมาวิตกวิจารณ์ให้ฟังซิว่า

ที่หลวงปู่ชาแสดงธรรมให้ฟังตอนหนึ่งว่า "ก็โยมไปพยายามทำให้ เป็ด มันขันเหมือน ไก่ มันจะเป็นไปได้อย่างไร โยมก็ต้องทุกข์นะซิ ถ้าไปพยายามอย่างนั้น"

หลวงปู่ชาท่านพูดอย่างนี้ คุณมหาราชันย์ลองมาตีความหมายออกมาให้ฟังซิว่า หลวงปู่กำลังสอนข้อธรรมข้อใดแก่ญาติโยม ถ้าเอาหลักฐานทางธรรมมาเทียบเคียงดู

คนรู้ธรรม ที่รู้จริงนั้นย่ิอมจะสามารถ นำเอาหลักทฤษฎีทั้งหลายทั้งหมดที่เรียนมา น้อมไปสู่การปฏิบัติจริง จนเกิดผลลัพธ์จริงๆแก่ กายและจิตของเจ้าของ เป็นความ สงบ สุข เย็น

และในทำนองเดียวกันย่อมสามารถจะนำเอาหลักทฤษฎีที่ร่ำเรียนมา มาวิเคราะห์ ข้อธรรมที่ผู้อื่นแสดง ว่าเป็นธรรมมะระดับได อยู่ในทาง หรือนอกทาง



สวัสดีครับคุณอโศกะ

เพราะผมเห็นคุณอยู่นอกเส้นทางมัคคผลไงครับผมจึงกล่าวบอกทางที่ถูกต้องให้คุณอโศกะ
การกระทำใดๆ ถ้าทำเหตุตรงกับผลย่อมเป็นไปได้เสมอครับ


ข้อความนี้ที่คุณอโศกะยกมาก็เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณ
เพราะผมไม่ใช่หลวงพ่อชา
มหาราชันย์กล่าวแต่คำสัจจ์ พูดจาสอดคล้องกับความจริง พูดในสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นประโยชน์แก่ญาติโยม ไม่สร้างปฏิฆะแก่ญาติโยมแน่นอนครับ

สัมมาวาจาไม่มีในข้อความที่คุณยกมากล่าวอ้าง
คนมีสัมมาวาจานั้น ต้องพูดดี พูดเพราะ พูดมีประโยชน์แก่ผู้ฟัง พูดอิงอรรถพูดอิงธรรม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เว้นจากการพูดหยาบคาย

นี่คือการปฏิบัติธรรมของผมครับ


ข้อความที่คุณยกมา ไม่มีสัมมาวาจาครับ
ตอนนี้คุณออกนอกเส้นทางแห่งมัคคผลนิพพานแล้วครับ คุณจะยอมรับความจริงข้อนี้ไหมครับ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ดังนั้นคนที่เขาพูดและอรรถาธิบายเรื่องของ วิปัสสนาภาวนา อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา โพธิปักขิยธรรม 37 ประการนี่เขาจะผิดตรงไหน ต้องชี้ให้ชัดๆ อย่าได้ไปเหมารวมว่าเขาผิด บาปมากนะ การขวางธรรม บังธรรม


สวัสดีครับคุณอโศกะ
ทุกกระทู้ที่ผมแสดงกับคุณอโศกะ ผมชี้ชัดเสมอครับ
ผมได้บุญทุกครั้งที่แสดงธรรมครับ เพราะจิตผมผ่องใสปรารถนาดีขณะแสดงธรรมที่ถูกต้องให้แก่คุณอโศกะ

คนที่บาปตอนนี้คือคุณอโศกะครับ ที่ไม่เอาพระธรรมเทศนามาแสดงธรรม
เอาแต่ความคิดเห็นที่ปรุงแต่งเองจากกายยาววาหนาคืบที่รู้ผิดของคุณมาแสดงแก่ชาวพุทธ
กรรมนี้ย่อมขวางทางธรรมของคุณ บังดวงตาแห่งธรรมของคุณอโศกะเองครับ


อโศกะ เขียน:
อย่าสงสัยเลย ว่าเอามาจากตำราเล่มไหน เอามาจากตำราเล่มที่กว้างศอก ยาว วา หนา คืบ เล่มที่ทุกคนยึดไว้นี่ไงครับ

สาธุ ๆ ๆ


หลักฐานเห็นกันชัด ๆ คุณจะยอมรับบาปข้อนี้ของคุณไหมครับ ??
เพราะเอาความคิดนึกของคุณไปวัดการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เทียบกับที่คุณอโศกะรู้นั้นมันต่างกันราวฟ้ากับดินครับ

เชื่อผมเถอะครับ คุณรู้ผิด คุณเข้าใจผิดจริง ๆ





อโศกะ เขียน:
ไห้ผู้อ่านทั้งหลายท่านใช้วิจารณาญาณ ตัดสินเอาเองเถิด แล้วก็ปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามธรรม


คำตอบที่ถูกต้อง เหตุที่ถูกต้องมีเพียงหนึ่งเดียวครับ
ไม่มีตัวเลือก แสดงธรรมแล้วต้องแสดงธรรมให้ถูกต้องตรงกันเลยครับคุณอโศกะ
ไม่ใช่รอให้ผู้อ่านเขาต้องใช้วิจารณาญาณ ตัดสินเอาเอง จากหลาย ๆ คำตอบ
การแสดงธรรมอย่างนั้นแสดงถึงความไม่มั่นใจในธรรมที่คุณแสดงมา
แสดงถึงความไม่รู้จริงของคุณอโศกะ


ดังนั้นแสดงธรรมแล้วต้องถูกต้องในทันที ในคำตอบเดียวครับ





อโศกะ เขียน:
ค้นให้พบ ดี ในทุกๆ สิ่ง จิตจะได้ไม่เศร้าหมอง อย่ามัวไปพยายามเพ่งโทษใครอื่นเลย เพราะมีแต่ทำให้จิตเศร้าหมองและก่อวิวาทะ เพ่งโทษตนเองให้มากๆ จึงจะได้ดี


ผมไม่ได้เพ่งโทษคุณอโศกะครับ
แต่ผมกำลังแสดงธรรมที่ถูกต้องให้คุณอโศกะและท่านผู้อ่านทราบครับ
เพราะผมหวังบุญจากธรรมทานที่ถูกต้องครับ
การที่ผมแสดงธรรมที่ถูกต้องให้กับท่านผู้อ่าน ผมไม่มีโทษใด ๆ ครับ
จิตผมผ่องใสเสมอ และไม่ได้คิดเรื่องการวิวาทะตามที่คุณกล่าวหา
ผมกำลังแสดงธรรมสัจจะครับ
กำลังปกป้องพระพุทธศาสนาจากการบิดเบือนคำสอนด้วยฝีมือคุณอโศกะครับ






อโศกะ เขียน:
อย่าทำธรรมมะอ้นวิเศษของพุทธบิดา ให้ยุ่งยาก ซับซ้อน มากมายไปด้วยศัพท์แสง จนคนทั่วไปกลัว


ข้อนี้ผมไม่ได้ทำแน่นอนครับ ผมทำของยากให้เป็นของง่ายเสมอครับ
เพราะธรรมที่ผมยกมาแสดงล้วนอิงอรรถอิงธรรมจากพระไตรปิฎกครับ
ผู้อ่านทุกท่านสามารถตรวจสอบความถูกต้องในธรรมที่ผมแสดงได้ทุกเมื่อครับ

จะมีก็แต่คุณอโศกะเท่านั้น ที่แสดงธรรมผิด ๆ เพราะรู้มาผิด เข้าใจมาผิด แล้วนำมาแสดงแก่ท่านผู้อ่านครับ





อโศกะ เขียน:
มาทำของยาก ให้เป็นของง่าย มาย่อพระธรรมทั้ง 84,00 ให้เหลือสักบทเดียว คำเดียว หรือ ประโยคเดียวกันเถิด ผู้คนจะได้จดจำง่ายและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน


ข้อนี้ได้ครับผมชำนาญอยู่แล้วครับ
เลือกเอาตามใจชอบสักบทนะครับคุณอะโศกะ มีให้คุณเยอะครับ



บทที่ 1....

ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ




บทที่ 2...

กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลใด
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
ก็จักเป็นมุนีผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป....ดังนี้





บทที่ 3...

จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?






บทที่ 4...

ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ




......ฯลฯ........


ชอบบทไหนก็สามารถบรรลุมัคคผลได้ทุกบทครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Good-night-hi5-17.jpg
Good-night-hi5-17.jpg [ 28.05 KiB | เปิดดู 2536 ครั้ง ]
:b41: :b45: tongue :b41: :b45: tongue :b41: :b45: tongue :b41: :b45: tongue

มหาราชันย์ เขียน:

ในจิตแต่ละชนิด ย่อมมีคุณภพาของสติแตกต่างกัน...
สติในกามาวจรกุศลนั้นอย่างหนึ่ง
สติในรูปฌานก็อย่างหนึ่ง
สติในอรูปฌานก็อย่างหนึ่ง
สติในโลกุตตระฌานก็อย่างหนึ่ง

ชื่อสติเหมือนกันแต่สภาวะธรรมต่างกันครับ.......


การ
ปฏิบัติธรรม แต่จิต.....ยังพัวพันอยู่กับนามรูป
จิต...ก็ยังเป็นกามาวจรจิต
สติ.....ก็เป็นสติชนิดกามาวจร
สติในจิตชนิดกามาวจรย่อมเต็ม 100 % แบบกามมาวจร


สติที่เต็มร้อยอย่างนี้เป็นเหตุ
ผลที่ได้เป็นเพียงกามาวจรกุศลวิบากเท่านั้น



ต้องสติในโลกุตตระฌานจิตอันเป็นเหตุให้สิ้นอุปาทานครับ
โลกุตตระฌานวิบากจึงมีได้


นักปฏิบัติที่แท้ต้องรู้ทะลุปรุโปร่งทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ




รูปภาพสาธุ .....

ขออนุญาตคุณมหาราชันย์ สรุปส่วนที่เป็นเนื้อหานะคะ
เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการปฏิบัติอย่างยิ่งค่ะ


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 18 พ.ย. 2009, 19:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee258.jpg
ee258.jpg [ 15.39 KiB | เปิดดู 2511 ครั้ง ]
ee224.jpg
ee224.jpg [ 20.64 KiB | เปิดดู 2511 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
สวัสดีครับคุณอโศกะ

จนกกระทั่งบัดนี้คุณก็ยังไม่ยอมรับว่าตัวคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิด ปฏิบัติมาผิด
ในจิตแต่ละชนิด ย่อมมีคุณภพาของสติแตกต่างกัน...
สติในกามาวจรกุศลนั้นอย่างหนึ่ง
สติในรูปฌานก็อย่างหนึ่ง
สติในอรูปฌานก็อย่างหนึ่ง
สติในโลกุตตระฌานก็อย่างหนึ่ง

ชื่อสติเหมือนกันแต่สภาวะธรรมต่างกันครับคุณอโศกะ

:b12:
อโศกะ ตอบ
อนุโมทนาสาธุกับคุณมหาราชันย์ที่มีวิริยะอุตสาหะเขียนอธิบายมายาวยืด
แต่ในที่สุดก็ยังกอดตำราแน่นเปรี๊ยะเหมือนเดิม ไม่กล้าตอบนอกตำรา เพราะกลัวผิด แถมยังไปเห็นว่าใครพูดไม่ตรงตำราถือว่าผิดหมด

******ไม่ลองพิจารณาดูให้ดีๆก่อนหรือว่า บางที่เขาพูดไม่ตรงตำราทั้งหมด แต่ ตรงกับสัจจธรรม มีเหตุ มีผล มีสภาวธรรมรองรับ มีความจริงที่ปรากฎแสดงอยู่ ในธาตุขันธ์ เป็นพยานหลักฐาน

ให้ลองเอาความรู้ตามตำรามาอรรถาธิบายเป็นธรรมมะภาษาง่ายๆ ให้คนเข้าใจ โดยให้ลองวิเคราะห็คำสอนของหลวงปู่ชาที่ท่านพูดง่ายๆ "ว่าโยมไปพยายามทำให้เป็ดมันขันเหมือนไก่" คุณก็ตอบไม่ได้ อธิบายไม่ได้ เลี่ยงไปพูดเรื่องอื่นแทน

ญาณ 24 ญาณ 72 อะไรที่คุณไปรู้มาจากพระไตรปิฎกนั้น ดีอยู่ แต่คุณได้สังเกตไหมว่าท่านแสดงให้บุคคลชนิดใดฟัง จำเป็นไหมว่า ทุกๆคนที่จะบรรลุธรรม ต้องรู้มากเจนจบในญาณ 72 นี้ คนไม่รู้ก็จะหมดสิทธิอย่างนั้นหรือ คนจะบรรลุธรรมได้ ต้องเก่งทั้งบัญญัติ เก่งทั้งปรมัตถ์ ทุกคนอย่างนั้นหรือ

ไม่น่าจะจริงนะเพราะทุกวันนี้มีพระที่เรียนจบมหาเปรียญ 8 - 9 ประโยคกันเยอะแยะ จำนวนพระอรหันต์กลับน้อยไป น้อยไป ผิดกับสมัยก่อน มีแต่พระป่าไม่มีเปรียญอะไรเป็นส่วนใหญ่ แต่ กลับมีอริยะบุคคลเยอะกว่าปัจจุบัน

ท่านปัญจวัคคีย์เรียนธรรมเพียง 2 สูตร ก็ได้บรรลุธรรมถึงอรหันต์ทั้งหมด ผิดกับทุกวันนี้มีคนรู้เจนจบพระไตรปิฎกจำนวนมากแต่อริยบุคคลกลับน้อยลง มันน่าคิดอยู่นะครับ

อีกข้อหนึ่งที่ผมบอกว่าธรรมมะที่ยกมากล่าว ก็เอามาจาก กาย ใจ กว้างศอก ยาว วา หนาคืบ นี้ คุณมหาราชันย์ก็ไม่เข้าใจ นัยยะ

ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอน มิใช่ค้นพบและเอามาจาก รูป - นาม กาย ใจ ขันธ์ 5 ก้อนนี้หรือครับ ผมศึกษาจากข้อธรรมของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักสำคัญเท่าที่จำเป็น แล้วจึงลงมือพิสูจน์ธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงๆ อยู่หลายปี จนประจักษ์แก่ใจตนเองดีพอสมควรแล้วจึงนำมาเล่าสู่ผู้คนฟัง โดยพยายามจะนำมาพูดในภาษาชาวบ้าน ธรรมดาๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ไม่อิงตำรามาก แต่อิงธรรม อิงสัจจธรรม ปรมัตถธรรม อนัตตาธรรม คุณจึงฟังดูแปลก หลายท่านก็อาจจะดูแปลก แต่ลองอ่านดู ศึกษาดูนานๆ เอาเป็นธรรมทัศนะ อีกแง่ มุมหนึ่ง อีกรสชาดหนึ่งดูซิครับ อาจได้ข้อสังเกตอะไรดีๆเยอะเลย

ความเป็นหนอนกอดตำราอย่างที่หลายท่านกำลังเป็น ผมก็เคยเป็นมาแล้ว จนเบื่อหน่าย จึงอยากจะเผยแพร่ธรรมมะในภาษาง่าย ให้คนเข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย รับรองว่าไม่นอกธรรม ไม่นอกทางหรอกครับ ชี้อยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา และอริยสัจจ 4 ตลอด ลองกลับไปทบทวนอ่านดูทั้งหมดอีกทีซิครับ อย่ามาขวางผมเลย

*******ถ้าอยากขวางให้ไปขวางกลุ่มที่เขากำลังพาผู้คนไปหลงติดวัตถุมงคล และเดรัจฉานวิชาทั้งหลายที่กำลังฮิตกันอยู่มากขึ้นทุกวันนี้จะดีกว่านะครับ :b11:

*******สังเกตการณ์ต่อไปอีกสักหน่อยซิครับ ลองกลับมุมมองดู มองต่างมุมดู อาจจะมีอะไรดี ๆ ก็ได้นะครับ

สาธุ ๆ ๆ เบากาย เบาใจ หายขุ่น หายข้อง เป็นพี่ เป็นน้อง ร่วมเดิน กันไป

บนเส้น บนทาง มรรค 8 อันสดใส สู่สุข กาย ใจ ไร้ สิ้น อัตตา


smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




21245_0047.JPG
21245_0047.JPG [ 40.96 KiB | เปิดดู 2499 ครั้ง ]
tongue
อากง..แก่ๆ

กาลครั้งหนึ่ง.....นานมาแล้ว..... มี..อากง..แก่ ๆ...อยู่คนนึ่ง...
อยากจะสอนข้อคิดอะไรบางอย่างให้หลานๆ...ตามป ะสาคนแก่
อากง...จึงเรียกหลานๆ ทั้งสี่มานั่งล้อมโต๊ะสี่มุม....แล้วบอกหลานทั้งสี่ว่า
เอาล่ะหลานๆ ..ตอนนี้หลับตา..นะ..หลับตา.....
พอหลานๆ หลับตา...อากง...ก็เดินเข้าไปห้องเก็บของ...แล้วหยิบโคมไฟเก่าๆ มาอันนึ่ง...
อากง...เปิดฝาครอบ...จุดไฟ...แล้วปิดฝาครอบ... แล้ว...
อากง...ก็บอกหลานทั้งสี่...ว่า...

"ลืมตาขึ้น..แล้วบอก...อากง...ซิว่าโคมไฟสีอะไร...?"

เด็กทั้งสี่ลืมตาขึ้น....ตอบไล่ๆ กัน....ตอบไม่เหมือนกัน...และเริ่ม...ทะเลาะกัน....
คนที่นั่งด้านนึ่งบอกว่า...สีแดง...
อีกด้านนึ่งบอกว่า...เขียว...สีเหลือง.. .
และน้ำเงิน....ตาม ลำดับ...

ทั้งสี่ทะเลาะกันพักนึ่ง....ก็มีเด็กคนนึ่งถาม...อากง...ว่า......

"อากง....ทำไมของอย่างเดียวกัน...มีตั้งหลายสี..........."

อากง...ก็เลยบอกว่า...

"เดี๋ยวนะ...อากง...จะทำอะไรให้ดู...."

อากงเดินมาที่โต๊ะ...หยิบฝาครอบแล้วหมุนให้ดู...ปรากฎว่า....
ฝาครอบสี่ด้าน....สี่สี...แดง...เหลือง...เขียว...น้ำเงิน...
หลังจากนั้น...อากง...ก็บอกว่า....

"เอ๊าตอนนี้บอกอากงซิ...โคมไฟสีอะไร...?"

หลานๆ....ตอบเหมือนกันคือ "สีของเปลวไฟ...."

อากง..เลยบอกว่า... "เอาล่ะหลาน...อากง..ถามอะไรชักสองข้อนะ....
ข้อที่..1.....เมื่อสักครู่นี้....ครั้งแรก...ใครผิด.... "

หลานตอบว่า...."ไม่รู้....."

อากง...บอกว่า...."รึว่า...อากง..ผิด........ "

อากง...เลยบอกอีกว่า...

"ฟังนะ..เจ้าทั้งสี่..นั่งอยู่ในที่เดียวกัน.... มองของ อย่างเดียวกัน...
ในเวลาเดียวกัน...ยังเห็นไม่เหมือนกันเลย.....
ทำไม..? ทำไมถึงไม่มีใครผิดล่ะ...."

อากง..เลยบอกว่า...

"ก็เพราะคนทุกคนมองจากมุมมอง...ของตัวเอง...เห็นในสี่งที่ ตัวเองเห็น....
แต่..ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่าทำไมคนอื่นเห็นอย่างที่เขาเห็น...
เจ้าก็เดินไปมอง ที่มุมของเขา แล้วเราก็จะเห็นอย่างที่เขาเห็น....
แต่ถ้าลองนึกภาพนะ...เจ้าทั้งสี่ นั่งอยู่ที่เดียวกันมองของอย่างเดียวกัน...
ในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกันเล๊ย....
ในอนาคต....เวลาที่อยู่ในสังคม...เป็นไปได้มั๊ย...
คน..ก็มองสี่งต่างๆ....ไม่เหมือนกัน......
เพราะฉนั้น....เวลาที่คนคิดไม่เหมือนเรา.... ใครผิด...
ในอนาคตนะ...เวลาที่เจ้าคิดไม่เหมือนคนอื่น....อย่าไปโกรธว่าเขาผิด...
อย่าไปกลัวว่า...ตัว เองผิด.... เพราะคนแต่ละคน...ก็เห็นสี่งต่างๆ...
จากขอบข่ายประสบการณ์และสี่งแวดล้อมของ ตนเอง....
แต่ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่า...ทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น....เจ้าก็เดินไปมุมของเขา....
และเมื่อเจ้ายอมเข้าใจคนอื่น....อาจเป็นไปได้ว่าคนอื่นก็อาจจะยอมที่จะเดินม า....
และเข้าใจเจ้า....."

คำถามที่..2...อากง..บอกว่า....

"ที่เห็นครั้งแรกกับครั้งหลัง....เป็นของอย่า งเดียวกันมั๊ย..?..."

หลานบอกว่า....อย่างเดียวกัน.....

แล้วเห็นเหมือนกันมั๊ย....?
....ครั้งแรกเห็นอะไร...?

หลานตอบว่า..."ฝาครอบ....และครั้งหลังเห็นเปลวไฟ...."

อากงเลยบอกว่า....

"หลานๆเอ๊ย... ในอนาคตถ้าเลือกได้นะ...
อย่ามองสี่งต่างๆ...เพียงแค่ที่เห็น....
จงเข้าใจสิ่งต่างๆ... อย่างที่เป็น"
:b8: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




clfk.jpg
clfk.jpg [ 41.46 KiB | เปิดดู 2499 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

Quote Tipitaka:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุรุษเปล่า บางพวกในพระธรรมวินัยนี้

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว
ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา

ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น
ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา
บุรุษเปล่าเหล่านั้นเป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์
และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์
ย่อมเล่าเรียนธรรม
ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด
บุรุษเปล่าเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น


ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่าเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว.





ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ
เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง
งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่ข้อมือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง
เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว แม้ฉันใด



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกบุรุษเปล่า บางพวกในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นนั่นแล
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว
ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา
ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่ง การเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น
ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา

บุรุษเปล่าเหล่านั้นเป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์
และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์
ย่อมเล่าเรียนธรรม

ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด
บุรุษเปล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น

ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่าเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะธรรมทั้งหลาย อันตนเรียนไม่ดีแล้ว.


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร