วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
เจริญในบัญญัตินะครับท่านมหาราชันย์


สวัสดีครับคุณอโศกะ

คุณใช้ภาษาไม่ตรงกับสภาวะธรรมครับ





อโศกะ เขียน:
แต่ที่ยกมาทั้งหมดนี้เป็นพุทธวิสัย ส่วนสาวกวิสัยนั้น หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ แม้แต่อัครสาวกทั้ง 2 ท่าน คือ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ การบรรลุธรรมครั้งแรกของทั้ง 2 ท่านเป็นอย่างไร คุณมหาราชันย์คงจะรู้ดีนะครับ ข้อธรรมสั้นๆที่พระอัสชิกล่าวออกมา ก็ทำให้ท่านอุปปติสสะ เจริญปัญญาพิจารณาตาม แล้ววิจิกิจฉาก็ดับก่อน สักกายะทิฐิก็ดับตาม เจริญมรรค 8 ต่อ อีก 15 วันก็จึงบรรลุถึงอรหัตผล



เราพูดกันถึงคุณอะโศกะเดินตามรอยพระพุทธเจ้าครับ
เข้าใจคำพูดของคุณเองให้ถูกต้องครับ





อโศกะ เขียน:
การเดินตามรอยเท้ารอยบาทของพระพุทธเจ้านี่เป็นสำนวนโวหาร แปลความหมายก็คือ ปฏิบัติธรรมตามคำแนะนำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือเจริญมรรค 8 ทำความแจ้งสมบูรณ์ในอริยสัจทั้ง 4 ประการ เพียงเท่านี้ก็อาจบรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าได้



ข้อนี้คุณกล่าวถูกต้องครับ





อโศกะ เขียน:
การพูดกล่าวอ้างว่าต้องได้ฌาณอย่างพระพุทธเจ้าเสียก่อนจึงค่อยบรรลุธรรมได้นั้น เป็นความสุดโต่งทางด้านความเห็น ผู้ที่เจริญมรรคมาดี จิตเป็นกลางดีแล้วเขาจะไม่กล่าวอย่างนั้น เพราะการบรรลุธรรมของมนุษย์ เทวดา พรหมแต่ละท่าน หาได้เหมือนกัน หรือออกมาจากเบ้าหลอมเดียวกันไม่

บางท่านก็มีสมถะอันดีนำหน้ามาก่อนแล้วเจริญวิปัสสนาตาม ก็บรรลุธรรม

บางท่านก็เจริญวิปัสสนานำหน้า แล้วสมถะเกิดขึ้นหนุนภายหลัง จึงบรรลุธรรม

บางท่านก็เจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา หรือ วิปัสสนาควบคู่กับสมถะ แล้วบรรลุธรรม

บางท่านก็เจริญวิปัสสนาล้วนๆแล้วก็บรรลุธรรม



ข้อนี้คุณรู้ผิด คุณเข้าใจผิครับ

การเจริญสมณะธรรมต้องมีการกำจัดนิวรณ์ 5 ครับ
จิตที่ปราศจากนิวรณ์ 5 เรียกจิตชนิดนั้นว่า ฌานจิตครับ


ส่วนคำว่า
วิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ
ข้อนี้เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดเรื่องวิปัสสนาของคุณครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
***แต่ถ้าใครมีความ สังเกต พิจารณาดี จะเห็นได้ว่า ในปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ได้ทรงแสดง Scop หรือขอบเขตแห่งธรรมไว้ชัดเจนแต่แรกแล้วว่า
ดูก่อนปัญจวัคคีย์ ทางสุดโต่ง 2 ทาง เธอไม่พึงกระทำคือ

1.อัตตกิลมถานุโยโค ซึ่งมีความหมายโดยลึกซึ้งว่า การประพฤติสมถะภาวนาโดยไม่มีปัญญาประกอบด้วย

2.กามสุขัลลิกานุโยโค ซึ่งมีความหมายโดยลึกซึ้งว่า การประกอบการบุญ ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิภาวนา โดยไม่มีปัญญาประกอบด้วย



ข้อนี้เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณครับ

อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ได้รับความทุกข์ครับ ฌานสมาบัติเป็นกุศลให้ผลเป็นสุขเจริญแล้วมีกิเลสบางเบา ควรแก่การตรัสรู้ในเบื้องหน้าครับ
กามสุขัลลิกานุโยโค การพัวพันในกามสัญญาด้วยรูป เสีง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ครับ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
คุณมหาราชันย์อย่ามาทำให้ธรรมมะคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลายเป็นเรื่องยากเย็น จนดูเหมือนจะพ้นวิสัยที่คนธรรมดาสามัญจะปฏิบัติได้ เลย



ข้อนี้คุณอโศกะเข้าใจผิดครับ

ผลทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายครับ

แต่คุณอโศกะต่างหากที่แสดงธรรมในส่วนที่ไม่เป็นจริง และเป็นไปไม่ได้
รู้ผิดเข้าใจผิดมาตั้งแต่ต้น

ผมขอสรุปคำว่า สมถะและวิปัสสนาให้คุณอโศกะได้เข้าใจอีกครับครับ



สรุปความแตกต่างระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้อย่างนี้ครับ

สมถะ คือความตั้งอยู่แห่งจิต หรือความดำรงอยู่แห่งจิต หรือสมาธินั่นเองครับ
วิปัสสนา คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ

หรือสรุปง่าย ๆ สั้น ๆ สมถะคือสมาธิ วิปัสสนาคือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ
สมถะและวิปัสสนาเป็นองค์ธรรมปที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับองค์ธรรมอื่น ๆ ในจิต


สมถะนั้นมีในจิตทุกชนิดครับ ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ ยกเว้นในจิตวิจิกิจฉา ไม่มีสมภะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ของโลกุตตระกุศลจิต


ส่วนวิปัสสนามีเฉพาะในกุศลจิตเท่านั้นครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาไม่มีในอกุศลจิตครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนา จึงมี 4 สภาวะธรรมครับ
1.วิปัสสนาในกามาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ทำหน้าที่ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้

2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.1.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในปฐมฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในทุติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละวิตก ละวิจารได้
2.3.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในตติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร และละปีติได้
2.4.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน (ที่ใช้คำว่าจตุตถฌานเพราะมีอุเบกขาและเอกคตารมณ์เหมือนในจตุตถฌานครับ) ที่ประกอบด้วย อรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้
3.1.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.2.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย วิญญานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.4.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละอากิญจัญญายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

4.วิปัสสนาใน โลกุตตระกุศลจิตหรืออริยมัคคจิต 4 คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ ได้

4.1.วิปัสสนาใน โสดาปัตติมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา และละสีลพตปรามาสได้

4.2.วิปัสสนาใน สกทาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส และทำลายกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้

4.3.วิปัสสนาใน อนาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น

4.4.วิปัสสนาใน อรหัตตมัคคมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะละพยาบาท ละรูปราคะ ละอรูปราคะ ละมานะ ละอุทธัจจะ และละอวิชชาได้หมดสิ้น


องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาในกุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันครับ



ความแตกต่างของสมถะและวิปัสสนาพอจะสรุปได้โดยย่ออย่างนี้ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
คุณมหาราชันย์เคยได้รู้หรือเปล่าว่าเวลาลงมือปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจริงๆ หรือแม้แต่สมถะภาวนา นั้น ต้องทิ้งบัญญัติ เอาบัญญัติความรู้ทางทฤษฎีทั้งหลาย กองทิ้งไว้นอกกายใจเสียก่อน คุณจึงจะมีโอกาสได้สัมผัส สภาวธรรม ปรมัตถธรรม อนัตตาธรรม เอหิปัสสิโกธรรม หรือสัจจธรรม ในกายและจิตของคุณ สัมมผัสของจริงแล้วคุณจึงจะได้พบทางออก ทางรอดสู่ มรรค ผล นิพพาน

คิดนึก ปรุงแต่ง ตามสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา จนไปถึงพระนิพพานนั้น เป็นไปไม่ได้

หยุดบัญญัติ หยุดความคิด นึก ปรุงแต่ง ให้เหลือแต่ สติ ปัญญา ผู้รู้ โดยธรรมชาติ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต เข้าไปในกาย จิต ณ ปัจจุบันขณะนั่นแหละ จึงจะมีโอกาสได้สัมผัส สามัญลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ นิพพาน



คุณอโศกะใช้ภาษาไม่ตรงกับสภาวะธรรมครับ
ข้อความเหล่านี้แสดงถึงคุณรู้มาผิดเข้าใจผิดครับ

ต้องเจริญโสดาปัตติมัคคจึงจะบรรลุโสดาปัตติผล
ต้องเจริญสกทาคามีมัคคจึงจะบรรลุสกทาคามีผล
ต้องเจริญอนาคามีมัคคจึงจะบรรลุอนาคามีผล
ต้องเจริญอรหัตตมัคคจึงจะบรรลุอรหัตตผลครับ


ญาณส่วนใหญ่ได้มาเป็นของแถมของอริยะผลครับ
ญาณไม่ได้เป็นเหตุครับ แต่โลกุตตระกุศลจิตเป็นเหตุครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2009, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




PT_0034.JPG
PT_0034.JPG [ 117.58 KiB | เปิดดู 2683 ครั้ง ]
tongue
ในชีวิตประจำวัน จิต เจตสิก รูป เกิดเพราะปัจจัย เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

เพราะมีปัจจัยทำให้จิตประเภท โลภะ โทสะ โมหะ เห็น ได้ยิน เป็นต้น เกิดขึ้น จิต

ประเภทนั้นๆก็เกิดขึ้น จะห้าม หรือบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เมื่อต้องการสภาพจิตที่

ดี ๆ เช่น เมตตา สติปัฏฐาน ปัญญา เกิดขึ้น แต่เพราะไม่มีปัจจัยจิตเหล่านี้ก็ไม่เกิด

ขึ้น บังคับไม่ได้ แม้ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา ความไม่สบายใจ ไม่อยากให้เกิดขึ้น

เพราะมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ห้ามหรือบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ แม้รูปร่างกายของเรา บังคับ

ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ก็ไม่ได้ การบังคับบัญชาไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน ไม่เป็น

ไปตามอำนาจ ชื่อว่า อนัตตา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใคร ๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้

คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึง

การแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูญ ไปจากอาการที่เป็น

ไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ

๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็น

สิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑
ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว มีทั้งธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้ว

ก็ดับไป ไม่ยั่งยืน เป็นสังขารธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวัน

เพราะในชีวิตประจำวัน มีสภาพธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา และมีธรรม

อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่เกิดไม่ดับคือ พระนิพพาน ผู้ที่จะประจักษ์

แจ้งพระนิพพานได้นั้นต้องเป็นพระอริยบุคคล เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ธรรมทั้งหลาย

ทั้งปวง ไม่มีเว้นอะไรเลย เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่

ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความ

เจริญขึ้นของปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูก เห็นถูก จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ก็จะค่อย ๆ

รู้ขึ้นไปตามลำดับ
ปัญจวัคคิยสูตร

ว่าด้วยอนัตตลักษณะ
[๑๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสปตน

มฤคทายวันกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเบญ

จวัคคีย์ ฯลฯ แล้ว

ตรัสว่า


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ตัวตน ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้ว

ไซร้ รูปนี้ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอ

รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่

ตัวตน ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า
ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนามิใช่ตัวตน ก็หากเวทนานี้จักเป็นตัวตนแล้ว

ไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาว่า ขอ

เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่เวทนา

มิใช่ตัวตน ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา

ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญามิใช่ตัวตน ก็หากสัญญานี้จักเป็นตัวตน

แล้วไซร้ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสัญญา

ว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะ

เหตุที่สัญญามิใช่ตัวตน ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตาม

ความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้

เป็นอย่างนั้นเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารมิใช่ตัวตน ก็หากสังขารนี้จักเป็นตัวตน

แล้วไซร้ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสังขาร

ว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุ

ที่สังขารมิใช่ตัวตน ฉะนั้น

สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอ

สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณมิใช่ตัวตน ก็หากวิญญาณนี้จักเป็นตัว

ตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาใน

วิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ก็เพราะเหตุที่วิญญาณมิใช่ตัวตน ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

และไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้

เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตัวตนของเรา ?

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตัวตนของเรา ?

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ ๑๓๗
[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รูปอย่างใด อย่าง

หนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอกหยาบหรือ

ละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึง

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น

อดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ เวทนาทั้งหมดนั้น

เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง

อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ

ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน

ชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่

ใช่ตัวตนของเรา สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ

ปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ สังขารทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็น

ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น

นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น

อดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว

หรือประณีต ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญ

ความข้อนั้น ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราเราไม่เป็นนั่น นั่น

ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่าง

นี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ใน

วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุด

พ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้จบลงแล้ว ภิกษุเบญจ

วัคคีย์ต่างมีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แหละเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็มีจิต

หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น.
จบ ปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗
อรรถกถาปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗

ในปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปญฺจวคฺคิเย ได้แก่นักบวช ๕ รูป มีพระอัญญาโกณฑัญญเถระเป็นต้น

ซึ่งเป็นอุปัฏฐากเดิม.


บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า วันแรม ๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ปัญจวัคคีย์ผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลตามลำดับ ตั้งแต่ทรงประกาศธรรมจักรในวัน-

อาสาฬหปุณณมีว่า บัดนี้เราจักแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอทั้งหลาย.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ตรัสคำนี้ คือ อนัตตลักขณสูตร ซึ่งเป็นไปโดย

นัยเป็นต้นว่า ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดังนี้.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่าอนัตตา ด้วยเหตุ ๔ อย่างที่กล่าว

แล้วในก่อน. เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. เพราะโดยฐานะเพียงเท่านี้พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสอนัตตลักษณะเท่านั้น มิได้ตรัสอนิจจลักษณะและทุกขลักษณะ บัดนี้ ทรง

แสดงลักษณะเหล่านั้น เพื่อรวมแสดงลักษณะทั้ง ๓ จึงทรงเริ่มคำนี้.


พึงทราบดังนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตา. คำอธิบายอย่างพิสดารในคำว่า ยงฺกิญฺ จิ รูปํ เป็นต้น กล่าวไว้แล้วใน

ขันธนิเทศ ตอนว่าด้วยปัญญาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง พึง

ทราบตามทำนองที่กล่าวแล้วนั่นและ ก็ในพระสูตรนี้ ท่านกล่าวอนัตตลักษณะเท่านั้น

แล.
จบ อรรถกถาปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗

๗. ฏีกาปัญจวัคคียสูตร

(ในฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น อนัตตลักขณสูตร ทั้งพระบาลี อรรถกถาและฏีกา)

๕๙. ข้อความว่า อุปัฏฐากเดิม หมายถึง ชนผู้เคยเป็นอุปัฏฐาก ในคราวที่ทรง

ตั้งความเพียรครั้งแรก ฯ

ข้อความว่า ด้วยเหตุ ๔ อย่างที่กล่าวแล้วในก่อน หมายถึง เหตุ ๔ อย่าง

ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คือ
๑) เพราะเหตุที่เป็นธรรมไม่เป็นไปในอำนาจ

๒) เพราะเหตุที่เป็นธรรมไม่มีเจ้าของ

๓) เพราะเหตุที่เป็นธรรมว่างเปล่า

๔) เพราะเหตุที่เป็นธรรมปฏิเสธอัตตา
ข้อความว่า โดยฐานะเพียงเท่านี้ หมายถึง โดยการแสดงพระสูตรเพียงเท่านี้

เริ่มตั้งแต่ รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดังนี้ ไปจนถึง

เอวํ เม วิญฺญาณํ มา อโหสิ ขอวิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้ ฯ

ข้อความว่า ตรัสลักษณะเหล่านั้น หมายถึง ได้ตรัสลักษณะที่ยังมิได้ตรัส

นั่นแหละให้ยิ่งขึ้น, หาได้ตรัสอนัตตลักษณะที่ตรัสแล้วให้ยิ่งขึ้นไปไม่ ฯ

ข้อความว่า รวมแสดง หมายถึง ประมวล ฯ

ข้อความว่า คำอธิบายอย่างพิสดาร หมายถึง อรรถกถา (กถาแสดงเนื้อความ

พระบาลี) โดยพิสดาร

ข้อความว่า ทรงแสดงอนัตตลักษณะเท่านั้น หมายถึง ตรัสเฉพาะอนัตตลักษณะ

เพราะเป็นพระสูตรมากไปด้วยอนัตตลักษณะ และเพราะมีอนัตตลักษณะเป็นประธาน ฯ

จริงอยู่ อนัตตลักษณะเท่านั้น จัดว่าเป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพราะแม้ลักษณะอื่นๆมีอนิจจตา

เป็นต้น ที่ตรัสไว้ ก็เพื่อแสดงอนัตตลักษณะนั้นนั่นแหละ ในเบญจขันธ์นั้น ตามอัธยาสัยของ

เวไนยสัตว์ เช่นนั้น ฯ
จบ ฏีกาปัญจวัคคิยสูตร

หมายเหตุ แปลจาก คัมภีร์สังยุตตฏีกา ทุติยภาค ฉบับมหาจุฬา ฯ หน้า ๒๗๐


[๗๔๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้
ในกาลที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
พวกภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา
จักเป็นผู้เลิศ
:b8: cheesy Lips Lips

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2009, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ในชีวิตประจำวัน จิต เจตสิก รูป เกิดเพราะปัจจัย เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

เพราะมีปัจจัยทำให้จิตประเภท โลภะ โทสะ โมหะ เห็น ได้ยิน เป็นต้น เกิดขึ้น จิต

ประเภทนั้นๆก็เกิดขึ้น จะห้าม หรือบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เมื่อต้องการสภาพจิตที่

ดี ๆ เช่น เมตตา สติปัฏฐาน ปัญญา เกิดขึ้น แต่เพราะไม่มีปัจจัยจิตเหล่านี้ก็ไม่เกิด

ขึ้น บังคับไม่ได้ แม้ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา ความไม่สบายใจ ไม่อยากให้เกิดขึ้น

เพราะมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ห้ามหรือบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ แม้รูปร่างกายของเรา บังคับ

ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ก็ไม่ได้ การบังคับบัญชาไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน ไม่เป็น

ไปตามอำนาจ ชื่อว่า อนัตตา




สวัสดีครับคุณอโศกะ

ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีด้วยนะครับที่คุณเริ่มอ่านพระไตรปิฎก


จิต เจตสิก และรูป ในปุถุชนบางคนเลือกไม่ได้ บังคับไม่ได้
แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเลือกได้ครับ
เลือกกุศลจิต หรืออัพพยากตาจิตได้ครับ ไม่ปล่อยให้ อกุศลจิตเกิดขึ้น

เลือกเจริญรูปฌาน 4 รูปขันธ์อันเกิดจากกามสัญญาย่อมเกิดไม่ได้ครับ

เลือกเจริญอรูปฌาน 4 รูปขันธ์อันเกิดจากกามสัญญา และรูปสัญญาย่อมเกิดไม่ได้ครับ

เลือกเจริญโลกุตตระฌาน 4 คือเจริญโสดาปัตตมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคคได้ครับ กามสัญญา รูปสัญญา และอรูปสัญญาย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ครับ

เมื่อบรรลุอริยะผลแล้ว
ผู้บรรลุภูมิพระโสดาบัน ก็สามารถเลือเสวยโสดาปัตติผลสมาบัติได้ครับ

ผู้บรรลุภูมิพระสกทาคามี ก็สามารถเลือเสวยสกทาคามีผลสมาบัติได้ครับ

ผู้บรรลุภูมิพระอนาคามี ก็สามารถเลือเสวยอนาคามีผลสมาบัติได้ครับ

ผู้บรรลุภูมิพระอรหันต์ ก็สามารถเลือเสวยอรหัตตผลสมาบัติได้ครับ


แม้กายจะแก่ กายจะเจ็บ เขาก็ไม่ใส่ใจครับ เพราะละเหตุให้เกิดสักกายะทิฏฐิได้แล้วครับ



ขอบคุณที่ศึกษาพระไตรปิฎกนะครับ

และหวังว่าคุณอโศกะจะได้ศึกษาพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นอีกนะครับ




[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด
เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว
พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตรจบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2369929c0yk14k3ni.gif
2369929c0yk14k3ni.gif [ 441.99 KiB | เปิดดู 2656 ครั้ง ]
:b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b46: tongue

อโศกะ เขียน:
[๗๔๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้
ในกาลที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
พวกภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา
จักเป็นผู้เลิศ


สาธุ.....
พุทธพจน์ที่คุณอโศกะยกมานั้น ต่อจากพุทธพจน์นี้ค่ะ บริบทต้องมาด้วยกันค่ะ

ในจุนทสูตร ..... ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร ค่ะ


Quote Tipitaka:

[๗๓๗] พ. ดูกรอานนท์
ข้อนั้น เราได้บอกเธอทั้งหลายไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า
จักต้องมีความจาก ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้น
จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน?
สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
มีความทำลายเป็นธรรมดา

การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้



[๗๓๘] ดูกรอานนท์
เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ลำต้นใดซึ่งใหญ่ กว่าลำต้นนั้นพึงทำลายลง ฉันใด

เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตรปรินิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน?

สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้วปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา
การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.



[๗๓๙] ดูกรอานนท์
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย


ดูกรอานนท์
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่อย่างนี้แล.



[๗๔๐] ดูกรอานนท์
ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี
จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

พวกภิกษุเหล่านี้นั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.




รูปภาพสาธุ ..... เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 22 พ.ย. 2009, 21:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2009, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1487.jpg
100_1487.jpg [ 1.7 KiB | เปิดดู 2636 ครั้ง ]
tongue เรียนถามคุณมหาราชันย์

จากข้อธรรมในพระสูตรหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดที่คุณได้ศึกษาเรียนรู้มาเป็นอย่างดีนี้ ถ้าหากจะนำไปสู่การปฏิบัติจริง จะทำอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น
:b12:
****เมื่อได้ดระทำศีลสังวรณ์ คือทบทวนข้อศีล ตรวจสอบศีล และทำใจไว้ดีแล้ว จึงทำอินทรีย์สังวรณ์ต่อ โดยการสำรวม กาย วาจา ใจ ไว้ดีแล้ว จึงมานั่งบัลลังก์ลงในที่อัสงัด กาายตั้งตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีโยนิโส ตั้งใจ มีมนสิการ ตั้งสติ ปัญญาขึ้นมา เพื่อจะเจริญสมาธิ เจริญปัญญาไปตามแนวทางแห่งมรรค 8

:b1:
ต่อจากนั้นควรทำอย่างไรต่อไป กรุณา อธิบาย (ต้องการเจริญวิปัสสนานำหน้า ควบคู่ไปกับสมถะภาวนา ที่ไม่อาศัยกรรมฐาน 40)

:b8: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2009, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1475.jpg
100_1475.jpg [ 1.96 KiB | เปิดดู 2628 ครั้ง ]
tongue ฝากความรู้เรื่องปรมัตถธรรมถึงคุณมหาราชันย์

วันหนึ่ง ๆ "บัญญัติ" ปิดบัง "ลักษณะของปรมัตถธรรม"

ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ.


จึงทำให้ไม่รู้ ลักษณะของ ปรมัตถธรรม

คือ ลักษณะของสถาพธรรมตามความเป็นจริง.


เช่น

สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทางตา

ความจริงแล้ว ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

แต่เป็น สีสัน วัณณะ

คือ รูปธรรม ประเภทหนึ่ง

ซึ่งปรากฏได้ เมื่อมีการกระทบกับจักขุปสาท เท่านั้น.


เมื่อใดที่ "ปัญญา" เจริญขึ้น

จนสามารถ รู้ ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง

ในขณะที่กำลังเห็น

ก็จะสามารถละคลาย "ความยึดถือ" ในสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฏทางตา

ว่าเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน.


และ รู้ "ความต่างกัน"

ของขณะที่เป็น ปรมัตถอารมณ์

และ บัญญัติอารมณ์ ได้ทุกทาง

(ทั้ง ๖ ทวาร)


.


ขณะที่กำลังฝัน.....มีอะไร เป็นอารมณ์.?


ทุกคนมีขณะที่ฝันแน่นอน

เพราะว่า ผู้ที่ไม่ฝันเลย คือ พระอรหันต์.!


ในเมื่อทุกคนฝัน และ เมื่อตื่นขึ้นมา

ก็บอกว่า เห็นญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือ สิ่งต่าง ๆ ฯลฯ


ฝันเห็นบัญญัติ หรือ ฝันเห็นปรมัตถธรรม.?


ถ้าไม่พิจารณา ก็จะไม่รู้เลย....เพราะเสมือนว่า เห็น.!

แต่ ความจริงนั้น....เมื่อถามว่า เห็นอะไร.?

ก็ตอบว่า เห็นคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ


นั่นคือ การฝันเห็น เรื่องราว คือ "บัญญัติ"


เพราะว่า

ขณะนั้น จักขุทวารวิถีจิต ไม่ได้เกิดขึ้นเลย

เพราะว่า กำลังหลับ.


แต่

มโนทวารวิถีจิต เกิดขึ้น

และ คิดนึกถึงเรื่องราวของบัญญัติ

จากสิ่งที่เคยเห็น หรือ เคยได้ยิน

เป็นต้น.


เช่น

ท่านที่เคยอ่านหนังสือพิมพ์

ซึ่งมีเรื่องราวต่าง ๆ และ มีรูปภาพประกอบด้วย

ขณะที่กำลังรู้เรื่องราว และ เห็นภาพต่าง ๆ นั้น

ล้วนเป็นขณะที่คิดนึกถึง "บัญญัติ" ทั้งสิ้น.


.


ฉะนั้น

ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด....ชีวิตปกติ ในวันหนึ่ง ๆ

จึงไม่รู้ลักษณะของ ปรมัตถ์ ว่าต่างกับ บัญญัติ อย่างไร.!


เพราะไม่ว่าจะเห็นทางตา อ่านหนังสือ ฯลฯ

หรือทำกิจการงานอยู่ที่ไหน ขณะใด

ก็คิดนึกถึง "บัญญัติ" ทั้งนั้น.!


ฯลฯ


.


สภาพปรมัตถธรรมในชีวิตประจำวัน

ถูกปกปิดไว้ด้วย "อวิชชา" คือ ความไม่รู้

คือ ไม่รู้ ความต่างกัน

ของ ปรมัตถธรรม และ บัญญัติ.


ฉะนั้น

จึงไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน นั้น.....เป็นอย่างไร.!


.


ด้วยเหตุนี้

การศึกษาเรื่องของจิต เจตสิก รูป โดยละเอียด

จึงเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ "ปัญญาในขั้นการฟัง" เจริญขึ้น

เป็นสังขารขันธ์ เกื้อกูล

ปรุงแต่งให้เกิดสติ ระลึก รู้ ลักษณะของ ปรมัตถธรรม

ซึ่งทำให้ ละคลายความยึดมั่น ใน "นิมิต-อนุพยัญชนะ"

ซึ่งเป็น "อาการปรากฏของบัญญัติ"



.


ถาม.

บัญญัติ เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ไหม.?


ตอบ.


ไม่ได้.!

ปรมัตถธรรม เท่านั้น

ที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ได้.


เช่น

ขณะที่รับประทานอาหาร

ในขณะที่ รส เกิด-ปรากฏ โดยกระทบกับชิวหาปสาท

เป็นปัจจัยให้ จิตเกิดขึ้น รู้รสนั้น ทางชิวหาทวารวิถีจิต.


เริ่มตั้งแต่ ชิวหาทวาราวัชชนจิต-ชิวหาวิญญาณ-สัมปฏิจฉันนจิต-

สันตีรณจิต-โวฏฐัพพนจิต-ชวนจิต-ตทาลัมพนจิต

แล้ว รสนั้น ดับไป.

จึงไม่มี บัญญัติที่เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ข้าว ปลา อาหาร เป็นต้น


เพราะว่า รส ที่ปรากฏ คือ ปรมัตถธรรม.

แต่เมื่อ (รูปต่าง ๆ) รวมกันแล้ว คิดว่า เป็น อาหารชนิดต่าง ๆ

ขณะนั้น จิต รู้ บัญญัติ.!


ขณะที่เป็นสติปัฏฐาน

จึงหมายถึง

ขณะที่สติ ระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

ซึ่งเป็น ปรมัตถธรรม.

และ มีการพิจารณา สังเกต รู้ว่า สภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ วัตถุสิ่งต่าง ๆ


ขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด

ก็จะไม่มีการแยก ลักษณะของปรมัตถธรรม ออกจาก บัญญัติ

จึง มีความเห็นผิด

คือ ยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

หรือ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อยู่ตลอดเวลา.

ฯลฯ


เริ่มตั้งแต่ ขณะนี้เลย.!

เช่น กำลังได้ยินเสียง....มีบัญญัติไหม.?


เสียง เป็น ปรมัตถธรรม.


ขณะที่จิตรู้ความหมายของเสียงนั้น

คือ ขณะที่จิตรู้บัญญัติ ทางมโนทวารวิถีจิต

เป็นขณะที่จิตเกิดขึ้น นึก เป็น คำ ๆ

ถ้าสติปัฏฐานเกิด ระลึก ได้

ก็ระลึก รู้ ว่า ขณะนั้น เป็น "จิตประเภทหนึ่ง"

เป็น จิต ที่กำลัง รู้คำ ทีละคำ.


ถาม.


สติปัฏฐาน ระลึกรู้ ปรมัตถธรรม

แต่ไม่ระลึกรู้ บัญญัติ.

อย่างนี้แสดงว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย จะพ้นจากมโนทวาร ไม่ได้เลย ใช่ไหม.....?

เช่น เมื่อเห็นทางตา สภาพที่เห็นเกิดขึ้น มีภวังคจิต คั่น

แล้วจึงรู้ต่อ ทางมโนทวาร.?


ตอบ.


วิถีจิต ทางมโนทวาร

จะต้องรู้อารมณ์เดียวกันกับอารมณ์ที่วิถีจิตทางปัญจทวาร รู้.!


หมายความว่า

ถ้า ชวนจิตทางปัญจทวาร เป็น โลภมูลจิต

ชวนจิต ทางมโนทวาร "วาระแรก"

ก็เป็น โลภมูลจิต ประเภทเดียวกัน.


จักขุทวารวิถีจิต กับ มโนทวารวิถีจิต

(แม้มีภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะ)

เกิดสืบต่อกันอย่างรวดเร็วมาก.!


อุปมาเหมือนนก ที่บินไปเกาะที่กิ่งไม้

ทันทีที่นกเกาะกิ่งไม้

เงาของนกก็ปรากฏที่พื้นดิน ฉันใด

เมื่อ อารมณ์ปรากฏทางปัญจทวาร

ก็ปรากฏต่อทางมโนทวารทันที

หลังจากที่ภวังคจิต เกิดคั่นหลายขณะ อย่างรวดเร็วที่สุด

ฉันนั้น.


ฉะนั้น

จึงทำให้ไม่รู้ ว่า รูปารมณ์ที่ปรากฏทางตา

เป็นเพียงปรมัตถธรรมอย่างหนึ่ง

ซึ่งปรากฏ เมื่อกระทบกับจักขุปสาท.


ถาม.


ขณะที่เห็น ว่า เป็นปากกา

ก็แสดงว่า คำ ว่า ปากกา เป็นการรู้บัญญัติทางมโนทวารแล้ว.?


ตอบ.


ยังไม่ได้คิดถึง คำ ว่า ปากกา

ก็มี บัญญัติ เป็นอารมณ์ก่อนแล้ว.!

ฉะนั้น

บัญญัติ จึงไม่ได้หมายเฉพาะแต่ สัททบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ

ซึ่งหมายถึง เสียง หรือ คำ.


ถาม.


ขณะที่เห็น แล้วจำได้

ขณะนั้น เป็น บัญญัติ แล้วใช่ไหม.?


ตอบ.


ที่ชื่อว่า "บัญญัติ" เพราะรู้ได้ ด้วยประการนั้น ๆ


ถาม.


นั่นหมายความว่า ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

ต้องผ่านทางมโนทวารด้วย ใช่ไหม.?


ตอบ.


อารมณ์ทั้ง ๕ คือ

รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์

เป็นอารมณ์ที่จิตสามารถรู้ได้ ๒ ทาง

คือ ทางปัญจทวาร (เฉพาะทางของตน ๆ แต่ละทวาร)

และ ทางมโนทวาร

โดยมี ภวังคจิต เกิดคั่น การรู้อารมณ์

ระหว่าง ทางปัญจทวาร และ ทางมโนทวาร.


ถาม.


สมมติว่า รับประทานส้มเปรี้ยว

ขณะที่เปรี้ยว เป็นบัญญัติแล้ว ใช่ไหม.?


ตอบ.


รสเปรี้ยว เป็น ปรมัตถธรรม

ขณะคิดนึกถึง รสเปรี้ยว เป็น จิตคิดนึกถึงบัญญัติ

คำ ที่เรียกว่า รสเปรี้ยว เป็น สัททบัญญัติ

ขณะตั้งชื่อ เรียกชื่อว่า รสเปรี้ยว เป็น นามบัญญัติ.


ถ้าไม่มีเสียง ไม่มีคำ ไม่มีความหมาย

เรื่องราวต่าง ๆ ก็จะไม่มีมากมาย เหมือนอย่างที่เป็นอยู่นี้.!


เมื่อเสียง เป็นอารมณ์แก่ โสตทวารวิถีจิต ดับไปแล้ว

ก็เป็นอารมณ์ของจิตที่เกิดสืบต่อรู้อารมณ์ คือ เสียงที่ดับไปแล้วนั้น

ทางมโนทวารวิถีจิต วาระแรก ด้วย

หลังจากที่ภวังคจิต เกิดคั่นแล้วหลายวาระ.


"สัญญา" ที่กระทำกิจ จำ เสียงต่าง ๆ

เป็นปัจจัยให้นึกถึง คำต่าง ๆ หรือ ชื่อต่าง ๆ


ฯลฯ

.


ถ้าไม่มีสภาพธรรม "ชื่อ" ก็ไม่มี

แต่เมื่อมีสภาพธรรมแล้ว...ที่ไม่มีชื่อ มีไหม.?


ข้อความในอัฏฐสาลินี อรรถกถา มีว่า


ธรรมทั้งหมดแล ชื่อว่า "อธิวจนปถธรรม"

คือ

"ธรรม เป็นเหตุของชื่อ"


สภาพธรรมบางอย่าง ที่ยังไม่มีชื่อ เช่นต้นไม้
ก็ยังเรียกว่า ต้นไม่มีชื่อ หรือ บอกว่า ต้นไม้นี้ ไม่รู้จักชื่อ

เป็นต้น.


ฉะนั้น

ทุกอย่าง จึงมีชื่อที่จะให้รู้ได้

ด้วยเหตุนี้

จึงไม่มีธรรมใดเลย ที่จะไม่เป็นเหตุของ "ชื่อ"


.


ถ้าไม่มีชื่อ

ก็ไม่สะดวกที่จะทำให้เข้าใจกันได้.


ฉะนั้น

แม้ว่าจะเป็น ปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

แต่ก็ยังไม่พ้นจากชื่อ.


ซึ่งพระผู้มีพระภาคฯ

ทรงบัญญัติตามลักษณะของสภาพธรรมนั้น ๆ

คือ

ขันธบัญญัติ ๕

อายตนบัญญัติ ๑๒

ธาตุบัญญัติ ๑๘

สัจจบัญญัติ ๔

อินทรียบัญญัติ ๒๒

บุคคลบัญญัติ หลายจำพวก.


แสดงให้เห็นว่า

แม้พระธรรมที่ทรงแสดง

ก็ไม่พ้นจาก "ชื่อ"

หรือ "นามบัญญัติ" ต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 442

๓. สุตสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว

[๑๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการ-

พราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใด

ผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนเห็นว่า เราเห็นอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี ผู้ใด

ผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนได้ฟังมาว่า เราได้ฟังมาอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้น

ไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนทราบ (ทางจมูก ลิ้น กาย) ว่า เราทราบ

อย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนรู้แจ้ง (ทางใจ)

ว่า เรารู้แจ้งอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่กล่าวสิ่งที่เห็น

ทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว เราไม่

กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ไม่

ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่ทราบทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่

ทราบทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ควรกล่าว

และไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว ดูก่อนพราหมณ์ แท้จริง

เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม

เสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคล

กล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรา

กล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ควรกล่าว ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าว

สิ่งที่ได้ฟังมาอันใด... สิ่งที่ได้ทราบอันใด ... สิ่งที่รู้แจ้งมาอันใดทำให้อกุศล

ธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาเห็นปานนั้น ...

สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น . . . สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่

เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาอันใด... สิ่งที่ได้ทราบมาอันใด. . . สิ่งที่รู้แจ้ง

อันใด ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมา

เห็นปานนั้น ... สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น . . . สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า

ควรกล่าว. ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ ชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.

จบสุตสูตรที่ ๓
ควรพูดตามหลักวาจาสุภาษิต ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 439
๘. วาจาสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่
ติเตียนองค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือวาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูก
กาล ๑ เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑ เป็น
วาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจา
สุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน.
จบวาจาสูตรที่ ๘
ถ้าพูดตามหลักวาจาสุภาษิตนี้แล้ว ถ้าเขายังโกรธ ก็คงไปทำอะไรเขาไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

[๖๖๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าว

คำล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้น พึงรู้วาทะลับหลังใด ไม่เป็นจริง

ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าววาทะลับหลังนั้นเป็นอันขาด

แม้รู้วาทะลับหลังใดจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อ

จะไม่กล่าววาทะลับหลังนั้น และรู้วาทะลับหลังใด จริง แท้ ประกอบด้วย

ประโยชน์ ในเรื่องนั้นพึงเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อจะกล่าววาทะลับหลังนั้น .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการหลังนั้น พึงรู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด ไม่เป็นจริง

ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็นอันขาด

แม้รู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียก

เพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และรู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้

ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็นผู้รู้จักกาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อ

หน้านั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อ

หน้า นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.
smiley :b8: :b27: :b16: :b12: :b1:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ฝากความรู้เรื่องปรมัตถธรรมถึงคุณมหาราชันย์

วันหนึ่ง ๆ "บัญญัติ" ปิดบัง "ลักษณะของปรมัตถธรรม"



สวัสดีครับคุณอโศกะ

ผมว่าเราคงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ครับ ถ้าคุณไม่ใช้ศัพท์ความรู้ในพระไตรปิฎกนะครับ
ตอนนี้คุณพยายามจะอธิบายศัพท์ที่คุณรู้ผิดเข้าใจผิด แก่ผม

คุณจะอธิบายอะไรมาให้ผมทราบได้ครับ
แต่กรุณานำศัพท์มาจากพระไตรปิฎกนะครับ
ที่คุณยกมานี้เป็นศัพท์ในตำรานอกพระไตรปิฎกครับ ผมถือว่าไม่ใช่พระธรรมเทศนา เป็นคำสอนนอกพระพุทธศาสนาครับ



ผมขอยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
คำว่าปรมัตถ์ในพระไตรปิฎก หมายถึง อริยะมัคคจิต 4 อริยะผลจิต 4 และนิพพานครับ

ส่วนคำว่าบัญญัติที่คุณใช้มานั้น หมายถึงนิรุตติครับ
และคำว่า ปรมัตถ์ที่คุณใช้มานั้น หมายถึงสภาวะธรรมครับ
ในคนภาษาเดียวกัน นิรุตติ กับสภาวะธรรม ต้องสอดคล้องตรงกันเสมอครับ ไปไหนไปด้วยกันไม่มีแยกจากกันครับ


ปัจจุบันคุณอโศกะรู้ศัพท์มาผิด เข้าใจศัพท์มาผิดครับ


เอาภาษาตามพระไตรปิฎกนะครับ
ภาษาศัพท์ที่สร้างขึ้นใหม่จากตำราอื่น ซึ่งไม่ตรงตามพระไตรปิฎกตามที่คุณยกมาไม่เอาครับ
เพราะสนทนากันคนละทีคนสภาวะธรรมในเรื่องเดียวกัน
ผมรู้ว่าคุณพูดเรื่องอะไร แต่คุณไม่รู้ไม่เข้าใจสิ่งที่ผมพูด เพราะศัพท์ไม่ตรงกัน ก็เสียเวลาเปล่าครับ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
เรียนถามคุณมหาราชันย์

จากข้อธรรมในพระสูตรหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดที่คุณได้ศึกษาเรียนรู้มาเป็นอย่างดีนี้ ถ้าหากจะนำไปสู่การปฏิบัติจริง จะทำอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น

****เมื่อได้ดระทำศีลสังวรณ์ คือทบทวนข้อศีล ตรวจสอบศีล และทำใจไว้ดีแล้ว จึงทำอินทรีย์สังวรณ์ต่อ โดยการสำรวม กาย วาจา ใจ ไว้ดีแล้ว จึงมานั่งบัลลังก์ลงในที่อัสงัด กาายตั้งตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีโยนิโส ตั้งใจ มีมนสิการ ตั้งสติ ปัญญาขึ้นมา เพื่อจะเจริญสมาธิ เจริญปัญญาไปตามแนวทางแห่งมรรค 8


ต่อจากนั้นควรทำอย่างไรต่อไป กรุณา อธิบาย (ต้องการเจริญวิปัสสนานำหน้า ควบคู่ไปกับสมถะภาวนา ที่ไม่อาศัยกรรมฐาน 40)



สวัสดีครับคุณอโศกะ


ถ้าคุณอโศกะต้องการทราบการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง กรุณาตั้งกระทู้ใหม่ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3891_resize_resize.JPG
100_3891_resize_resize.JPG [ 53.96 KiB | เปิดดู 2605 ครั้ง ]
tongue
เลื่อนตัวเองขึ้นแต่....อย่า....ลดคนอื่นลง


อาจารย์สอนยูโดชาวญี่ปุ่นอายุปูนปัจฉิมวัยคนหนึ่งชวนลูกศิษย์
หนุ่มชาวอเมริกันเดินทอดน่องไปตามชายหาดยามเย็น
ช่วงหนึ่งของการสนทนาอาจารย์ใช้ไม้เท้าขีดเส้นสองเส้นคู่ขนาน
ลงไปบนผืนทรายขาวละเอียด เส้นหนึ่งยาวประมาณ 5 ฟุต
อีกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 3 ฟุต

"เธอลองทำให้เส้นที่ยาว 3 ฟุตยาวกว่าเส้นที่ยาว 5 ฟุต
ให้อาจารย์ดูหน่อยสิ"

เสียงอาจารย์บอกเป็นเชิงท้าทายอยู่ในที
ลูกศิษย์อเมริกันหยุดคิดพินิจเส้นทั้งสองอยู่ครู่หนึ่ง
ก็เผยยิ้มที่ริมฝีปากเหมือนค้นพบคำตอบ


เธอบรรจงใช้เท้าข้างหนึ่งค่อย ๆ ลบรอยเส้นตรง
ที่ยาวประมาณ 5 ฟุตนั้นให้สั้นลงจนเหลือนิดเดียว
โดยวิธีนี้เส้นที่ยาวราว 3ฟุตจึงโดดเด่นขึ้นมาแทน
ลบเสร็จเธอเงยหน้าสบตาอาจารย์พลางขอความเห็น

"เช่นนี้ใช้ได้หรือยังครับ"

ผู้เป็นอาจารย์ใช้ไม้เท้าเคาะหัวเธอเบาๆหนึ่งทีก่อนบอกว่า

"ใช้วิธีนี้ชีวิตเธอก็มีแต่จะล้มเหลว รู้ไหม?
คนที่คิดจะยกตัวเองให้สูงขึ้นโดยการทำร้ายคู่แข่งนั้น
ไม่สู้ฉลาดเลยทางทีดีจงยกตัวเองขึ้นแต่อย่าลดคนอื่นลง"

ว่าแล้วอาจารย์ก็ขีดเส้นทั้งสองใหม่ แล้วสาธิตให้ดู
โดยการปล่อยเส้นที่ยาว 5 ฟุตไว้อย่างเดิม
แต่ขีดเส้นที่ยาว 3 ฟุตให้ยาวขึ้นเป็น10 ฟุต

ฝ่ายลูกศิษย์ยังคงกังขา

"คู่แข่งของเธอ ไม่ใช่ศัตรู แต่คือ ครูของเธอ
และเขาคือคนสำคัญที่จะทำให้เธอได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสง่างาม
เธอลองคิดดู หากไร้เสียซึ่งคู่แข่ง
เธอจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองมีศักยภาพในการทำงานขนาดไหน
ไม่มีอัปลักษณ์ เธอจะรู้จักความสวยงามได้อย่างไร
คู่แข่งขันของเรายิ่งเก่ง ยิ่งฉลาดล้ำ
ก็จะทำให้เรารู้จักขยับตัวเองขึ้นไปให้สูงส่งยิ่งขึ้น
นักสู้ที่ดีนั้นเขายืนหยัดอยู่ในสังเวียนได้เพราะมีคู่ต่อสู้ที่เข้มแข็งคู่ต่อสู้
ที่อ่อนแออาจทำให้เราเป็นผู้ชนะ แต่ชัยชนะนั้นมักไม่ยืนยง

"คนที่พยายามจะเลื่อนตัวเองขึ้นไป โดยการฆ่าน้อง ฟ้องนาย และขายเพื่อน
ถึงแม้จะทำได้สำเร็จ แต่นั่นก็เป็นความสำเร็จที่ปราศจากเกียรติคุณ ไม่อาจเอ่ยอ้างได้อย่างเต็มภาคภูมิ
การเลื่อนตัวเองขึ้นไปโดยวิธีที่ไม่ชอบธรรมกับการเลื่อนตัวเองขึ้นไป
โดยปล่อยให้คนอื่นได้ก้าวไปตามวิถีทางของเขาอย่างเสรีนั่น
มีผลลัพธ์ต่างกันเพียงไร........"

"การเลื่อนตัวเองขี้น พร้อมกับลดคนอื่นลง
เธออาจชนะแต่ก็มีศัตรูเป็นของแถม"


"การเลื่อนตัวเองขึ้นแต่ไม่ลดคนอื่นลง
เธออาจเป็นผู้ชนะพร้อมกับมีเพื่อนแท้เพิ่มขึ้นมากมาย วิธีไหนจะดีกว่ากัน?"

cool

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
การเลื่อนตัวเองขึ้นไปโดยวิธีที่ไม่ชอบธรรมกับการเลื่อนตัวเองขึ้นไป
โดยปล่อยให้คนอื่นได้ก้าวไปตามวิถีทางของเขาอย่างเสรีนั่น
มีผลลัพธ์ต่างกันเพียงไร........"

"การเลื่อนตัวเองขี้น พร้อมกับลดคนอื่นลง
เธออาจชนะแต่ก็มีศัตรูเป็นของแถม"


"การเลื่อนตัวเองขึ้นแต่ไม่ลดคนอื่นลง
เธออาจเป็นผู้ชนะพร้อมกับมีเพื่อนแท้เพิ่มขึ้นมากมาย วิธีไหนจะดีกว่ากัน?



สวัสดีครับคุณอโศกะ

ทุคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา..
มีเสรีในการหันมาศึกษาพระพุทธศาสนา
มีเสรีในการหันมานับถือพระพุทธศาสนา
มีเสรีในการปฏิบัติตามพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีเสรีในการบรรลุธรรมเลื่อนภูมิจิตของตนให้สูงขึ้นด้วยการปฏิบัติตามพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีเสรีในกรอบแห่งทางสู่มัคคผลนิพพานเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน




แต่.....
..ถ้าคุณอโศกะใช้เสรีในการนิยามศัพท์ใหม่ ๆ ลบล้างนิยามศัพท์ในพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

..ถ้าคุณอโศกะใช้เสรีในการนิยามศัพท์วิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ลบล้างนิยามศัพท์วิธีการปฏิบัติในพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
..และถ้าคุณอโศกะใช้เสรีในการนำคำสอนอื่นมาปฏิบัติแทนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...คุณอโศกะย่อมเกิดมาเพื่อเป็นศัตรูกับการบรรลุธรรมของตนเองโดยแท้
...และพลาดโอกาสในการบรรลุธรรมในศาสนาของพระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้



ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2009, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3442_resize.JPG
100_3442_resize.JPG [ 108.68 KiB | เปิดดู 2584 ครั้ง ]
tongue ขอความแจ่มใสในจิต และ สุข สงบ เย็น จงบังเกิดมีแก่คุณมหาราชันย์

อนุโมทนากับเมตตาและวิริยะของคุณมหาราชันย์ในการพิมพ์ข้อความต่างๆมาแนะนำสั่งสอนในกระทู้นี้

ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้้ ที่ทำให้มีเรื่องที่จะได้พูดคุย สนทนาธรรมกันกับ มิตรสหายในธรรม

ถึงเวลาที่จะต้องทำความเข้าใจกับคุณมหาราชันย์อย่างละเอียดละออต่อไป


ส่วนคำว่า วิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ
ข้อนี้เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดเรื่องวิปัสสนาของคุณครับ

เจริญในธรรมครับ

อ้างอิงจากคุณมหาราชันย์

อโศกะตอบ
ผมได้เห็นคำเขียนของคุณมหาราชันย์ว่า ข้อนี้เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณครับ หลายครั้งหลายที่มาก

วันนี้ผมอยากจะเรียนถามว่า คุณมหาราชันย์ เอาอะไรมาเป็นมาตรการ หรือมาตรฐาน วินิจฉัย ตัดสินว่า คนนั้นผิด คนนี้ถูกต้อง

ถ้าจะเอา ทิฐิ บัญญัติ ปริยัตติ สัญญา ที่ได้มาจากสุตตมยปัญญา และ จินตมยปัญญา มาตัดสิน ความ ผิด ถูก ของผู้คนแล้ว ในโลกนี้ไม่มีใครผิดหรอกครับ ทุกคนถูกต้องหมด ถูกต้องตามความรู้ ความเห็น ที่เขาได้ได้บันทึกไว้ในสัญญาของแต่ละคน

อย่างที่คุณมหาราชันย์และหลายๆท่านกำลังเป็นอยู่ขณะนี้ ทุกคนก็ตา่งยึดมั่นในสัญญาที่ตนเองได้บันทึกไว้ในจิต ในสมอง หยาบ ละเอียด วิจิตร พิสดาร มาก น้อย แล้วแต่การบันทึกของแต่ละคน สัญญาทั้งหมดนี่แหละที่เป็นเหตุ ปัจจัยให้เกิด ความเห็น (ทิฐิ)ของบุคคลแต่ละคน อย่างคุณมหาราชันย์ ก็ถูกต้องทั้งหมดแหละ ถูกต้องตามสัญญาและทิฐิของคุณมหาราชันย์

แต่การจะมาบอกว่าใครไม่มีสัญญาอย่างผมหรือเท่าผม คนนั้นผิด รู้ผิด ใครมีสัญญาและความเห็นอย่างผม เท่าผม คนนั้น ถูกต้อง อย่างนี้ก็ไม่น่าจะใช่ จะอ้างว่ามาจากปิฎก มาจากคัมภีร์ มาจากตำรา ครูบาอาจารย์คุณยังไม่เชื่ออีกเหรอ ความรู้จากตำรา หรือปริยัติทั้งหลายนั้นถ้ายังไม่ได้นำมาลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ความจริง จนเห็นผลถูกต้อง แน่ชัดแล้ว ล้วนยังเชื่อถือไม่ได้ทั้งสิ้น ดังกาลามสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ พระองค์ทรงท้าหรือแนะนำให้พิสูจน์ก่อนจึงเชื่อ

ตัวอย่าง คำเขียนของคุณมหาราชันย์ที่กล่าวว่า "วิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ"

คำพูดนี้อาจจะถูกตามสัญญา ของคุณมหาราชันย์ แต่ทราบไหมว่าคำพูดนี้ไม่ถูกต้องตามธรรม

เพราะในพระสูตรนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนวิปัสสนาล้วนๆไว้เยอะแยะมากมาย หลายที่ แต่พระองค์มิได้ทรงตรัสบอกตรงๆ ว่า ตอนนี้กำลังจะสอนวิปัสสนาล้วนๆ นะ พระองค์ทรงทิ้งไว้ให้สาวกใช้สติ ปัญญา สังเกต พิจารณษ ค้นหา จนพบคำตอบด้วยตนเอง ดังเช่น

พระองค์์มักทรงตรัสถามสาวกว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูป นี้ เที่ยงหรือไม่ สาวกตอบ ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
(พ) เมื่อไม่เที่ยง (อนิจจัง)จึงทำให้เป็นอย่างไร (สวก) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) พระเจ้าข้า
(พ) ความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์นี้ บังคับบัญชาทำให้เป็นไปดั่งใจได้ไหม (สวก) บังคับบัญชาไม่ได้พระเจ้าข้า (อนัตตา)

คำถามทั้งหมดที่พระพุทธองค์ตรัสถามพระสาวกนั้น เป็นการปลุกวิปัสสนาภาวนาล้วนๆ ให้เกิดขึ้นมาในจิตของพระสาวก ณ ปัจจุบันขณะนั้นเลยทีเดียว

พระพาหิยะ ก็เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากๆ ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีเวลาน้อย จวนแจ คับขัน พระพุทธองค์ ทรงประทานวิปัสสนาภาวนา หรือวิปัสสนาปัญญาตรงๆ สั้นๆ ให้กับสาวกทันที อย่างเช่น พระองค์ทรงตรัสบอกว่า "พาหิยะ เมื่อเธอเห็น จงสักแต่ว่าเห็น" นี่เป็นการปลุกวิญญาณแห่งวิปัสสนาภาวนาของผู้คนให้ตื่นขึ้นมาค้นหาคำตอบทันที ถ้าเราจะวิเคราะห์ กระบวนการที่เกิดขึ้นกับพระพาหิยะ จะได้เห็นว่า มรรคทั้ง 8 ข้อ โพธิปักขิยะธรรมทั้ง 37 ข้อ จะมาประชุมพร้อมกันทำงานในเวลาเดียวกันนั้นทันที การประชุมทำงานพร้อมกัน เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน สนับสนุนกันของมรรคทั้ง 8 นั้น ท่านรวามเรียกว่า "วิปัสสนาภาวนา"

ข้ออื่นที่ยังค้างจะมาสนทนาต่อคราวต่อไปครับ สาธุ

:b8: tongue :b27: :b12:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
พระองค์์มักทรงตรัสถามสาวกว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูป นี้ เที่ยงหรือไม่ สาวกตอบ ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
(พ) เมื่อไม่เที่ยง (อนิจจัง)จึงทำให้เป็นอย่างไร (สวก) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) พระเจ้าข้า
(พ) ความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์นี้ บังคับบัญชาทำให้เป็นไปดั่งใจได้ไหม (สวก) บังคับบัญชาไม่ได้พระเจ้าข้า (อนัตตา)

คำถามทั้งหมดที่พระพุทธองค์ตรัสถามพระสาวกนั้น เป็นการปลุกวิปัสสนาภาวนาล้วนๆ ให้เกิดขึ้นมาในจิตของพระสาวก ณ ปัจจุบันขณะนั้นเลยทีเดียว



สวัสดีครับคุณอโศกะ
ข้อนี้เป็นการตีความผิด รู้ผิด เข้าใจผิดของคุณแล้วครับ
เพราะอนัตตลักขณสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคี ซึ่งบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
พระปัญจวัคคีสดับพระสัทธรรมเทศนา มีจิตเป็นโสดาปัตติผลจิตอันมี ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานมาเป็นบาทรองรับ จิตของพระปัญจวัคคีจึงประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนาขณะฟังธรรม จิตนั้นเป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตไม่เสื่อมจากฌาน

ผมจึงยืนยันว่าคุณอโศกะตีความเอาเอง ด้วยความรู้ผิดและความเข้าใจผิดครับ


เมื่อจิตเป็นจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายขณะฟังธรรม จะเรียกว่าวิปัสสนาล้วนจึงเป็นไปไม่ได้





อโศกะ เขียน:
พระพาหิยะ ก็เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากๆ ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีเวลาน้อย จวนแจ คับขัน พระพุทธองค์ ทรงประทานวิปัสสนาภาวนา หรือวิปัสสนาปัญญาตรงๆ สั้นๆ ให้กับสาวกทันที อย่างเช่น พระองค์ทรงตรัสบอกว่า "พาหิยะ เมื่อเธอเห็น จงสักแต่ว่าเห็น" นี่เป็นการปลุกวิญญาณแห่งวิปัสสนาภาวนาของผู้คนให้ตื่นขึ้นมาค้นหาคำตอบทันที ถ้าเราจะวิเคราะห์ กระบวนการที่เกิดขึ้นกับพระพาหิยะ จะได้เห็นว่า มรรคทั้ง 8 ข้อ โพธิปักขิยะธรรมทั้ง 37 ข้อ จะมาประชุมพร้อมกันทำงานในเวลาเดียวกันนั้นทันที การประชุมทำงานพร้อมกัน เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน สนับสนุนกันของมรรคทั้ง 8 นั้น ท่านรวามเรียกว่า "วิปัสสนาภาวนา"

ข้ออื่นที่ยังค้างจะมาสนทนาต่อคราวต่อไปครับ สาธุ



ข้อนี้ก็เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณอโศกะครับ
พระพาหิยะนั้นเมื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีปีติแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ไม่มีช่องว่างไม่มีระหว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสห้ามการแสดงธรรมถึง 3 ครั้ง เพื่อให้อินทรีย์เหมาะแก่การฟังพระธรรมเทศนา จิตของพระพาหิยะปราศจากนิวรณ์ 5 ขณะฟังธรรม เป็นจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์ เมื่อฟังพระธรรมเทศนาจบจิตท่านตั้งอยู่ในอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 และวิชชา 3 เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ตรัสรู้เร็วพลัน


ผมจึงยืนยันว่า คุณอโศกะตีความเองอย่างผิด ๆ คุณรู้มาผิด คุณเข้าใจผิดครับ


ปัญหาคือคุณอโศกะไม่ยอมรับความจริงว่าคุณรู้ผิด เข้าใจผิดในพระพุทธศาสนาครับ

เมื่อจิตเป็นจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายขณะฟังธรรม จะเรียกว่าวิปัสสนาล้วนจึงเป็นไปไม่ได้

เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร