วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสมาธิ แต่ละอย่างๆ ดังนี้ …(ต่อ)…

…..ด้วยสามารถแห่งอุทธุมาตกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งวินีลกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งวิปุพพกสัญญา
…..ด้วยสามารถ แห่งวิฉิททกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งวิกขายิตกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งวิกขิตตกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งหตวิกขิตตกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งปุฬุวกสัญญา
…..ด้วยสามารถแห่งอัฏฐิกสัญญา



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสมาธิ แต่ละอย่างๆ ดังนี้ …(ต่อ)…

…..ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกยาว
…..ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว
…..ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกสั้น
…..ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้าสั้น
…..ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความ เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหาย ใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจออก
…..ด้วยสามารถ แห่งความตั้งจิตไว้หายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
…..ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า


ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถ แห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น
สมถะมีก่อน ญาณมีภาย หลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์ แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทโธ เขียน:
คัดจากบางส่วน
จากหนังสือ แนวทางคำสอนในการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น
แจกในงานครบรอบวันเกิดของหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
ที่วัดศรีสว่าง จ.หนองบัวลำภู
บันทึกและตรวจสอบธรรมโดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต




วิสุทโธ เขียน:
นี่แหละ...แนวทางปฏิบัติภาวนากรรมฐาน
ที่หลวงปู่ใหญ่มั่น ท่านอบรมในภาคปฏิบัติ..

อ่านทบทวน..หลายๆหน..สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ..สำคัญผิด..
ในเรื่อง สติ สมาธิ วิปัสสนา..
ลองตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติของตนเองเปรียบเทียบ..
มันแตกต่างจาก...พวกคาดเดาอนุมานตรึกนึกคิดตามตรรกของตนเอง..ที่คิดเองเออเอง..
โดยเฉพาะเรื่อง...สติปัฐฐาน 4..ของหลวงปู่ใหญ่มั่น อบรมด้วยกายและจิต..




วิสุทโธ เขียน:
การเรียนศึกษาเป็นการต่ออายุพระศาสนา
การปฏิบัติธรรมเป็นการทรงพระศาสนา
ศึกษาตำรา..เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติประพฤติธรรม
เป็นแผนที่ธรรมที่เราต้องศึกษาเพื่อยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม
ถ้าเราไม่มุ่งปฏิบัติมุ่งเอาแต่เรียนศึกษาอย่างเดียวเท่านั้น..
ก็เหมือนเราเอาแต่อ่านแผนที่แต่ไม่เคยเดินทางไปในสถานที่นั้น
ไม่ใช่เอาความรู้จากตำรา..เอาความจำมาเป็นความจริง
ถ้าคุณธรรมเกิดจากการเรียนการท่องจำ..เปรียญ 9 เป็นพระอริยทุกองค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 01:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ …

เนกขัมมะ แปลว่า การออก, การออกบวช, ความไม่มีกามกิเลส, การออกซึ่งกามทั้งหลาย

บุคคลผู้ได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ เนกขัมมะเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละกามฉันทะเสียแล้ว พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งเนกขัมมะ

ปัญญาในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วย ปัญญาเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีความไม่พยาบาทเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี

ดูกรภิกษุภิกษุยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ อย่าถึงความ
ชะล่าใจด้วยเหตุเพียงศีลและวัตร ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยการได้
สมาธิ ด้วยการนอนในที่สงัด หรือด้วยเหตุเพียงความดำริเท่านี้ว่า เรา
ถูกต้องสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ ซึ่งปุถุชนเสพไม่ได้ ฯ


เนกขัมมะธรรม มิได้เกิดขึ้นโดยง่าย การปฏิบัติโดยใช้เนกขัมมะธรรมนนั้น เป็นการปฏิบัติสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ผู้สละทุกอย่างทางโลกแล้ว ความสงบในใจที่เกิดขึ้น หรือเนกขัมมสมาธิของพระนั้นเป็นผลมาจากการละด้วยปัญญา ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคล
พึงหวังได้


อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติ หลงลืมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่ง
ธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ. .. บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความ
ปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือ
ธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียง
กลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรม
ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติ
พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์
นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้
บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่ง
ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรม
ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดง
ธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้าแต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔
ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
ด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 02:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทโธ เขียน:
อ่านทบทวน..หลายๆหน..สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ..สำคัญผิด..
ในเรื่อง สติ สมาธิ วิปัสสนา..
ลองตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติของตนเองเปรียบเทียบ..
มันแตกต่างจาก...พวกคาดเดาอนุมานตรึกนึกคิดตามตรรกของตนเอง..ที่คิดเองเออเอง..
โดยเฉพาะเรื่อง...สติปัฐฐาน 4..ของหลวงปู่ใหญ่มั่น อบรมด้วยกายและจิต..


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๒. สัพพาสวสังวรสูตร
ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง
[๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น
อาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร? เห็นอยู่อะไร?
ความสิ้นอาสวะจะมีได้ แก่ภิกษุผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคายอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น

เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
2. ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
3. ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
4. ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
5. ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
6. ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
7. ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น (โยนิโสมนสิการ)
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรม
อันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ
ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน?
เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะ
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรม
ที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ

ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา
ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร
หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต
กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ
สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้
มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.


เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้

บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น


ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า :-
1.ตนของเรามีอยู่ หรือว่า
2. ตนของเราไม่มีอยู่หรือว่า
3.เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า
4.เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่า
5.เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน
6.อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรานี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์ นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของแน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้


ข้อนี้เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบ
สัตว์ไว้คือทิฏฐิ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ
เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควร
มนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริย-
*สาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวก
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้น
เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น


.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 02:54, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
2. ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
3. ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
4. ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
5. ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
6. ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
7. ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการสังวร(สำรวมอินทรีย์ 6)
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย

1.ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในจักขุนทรีย์อยู่
ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ
นั้น ผู้สำรวมจักขุนทรีย์อยู่อย่างนี้.
2. ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในโสตินทรีย์อยู่ ...
3. ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในฆานินทรีย์อยู่ ...
4. ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในชิวหินทรีย์อยู่ ...
5. ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในกายินทรีย์อยู่ ...
6. ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในมนินทรีย์อยู่ ก็
อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมใน
มนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวม
ในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 02:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
2. ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
3. ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
4. ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
5. ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
6. ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
7. ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัด
หนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิด
อวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่
เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไป
เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย
จะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา
ฉะนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ
ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีก
ออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัด
เวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้น
แก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น
เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 02:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 02:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
2. ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
3. ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
4. ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
5. ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
6. ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
7. ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

ว่าด้วยอาสวะที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว
ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อ
ถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรงต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็ง
เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพล่าชีวิตเสียได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิด
ขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มี
แก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 02:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
2. ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
3. ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
4. ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
5. ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
6. ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
7. ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

ว่าด้วยอาสวะที่พึงละได้เพราะความเว้นรอบ
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้ายสุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว แอ่งน้ำครำ บ่อน้ำครำ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เทียวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก

ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น
เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นรอบ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 02:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
2. ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
3. ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
4. ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
5. ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
6. ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
7. ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

ว่าด้วยอาสวะที่พึงละได้เพราะความบรรเทา
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว

ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี
ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี
ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี
ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่งอาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
2. ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
3. ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
4. ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
5. ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
6. ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
7. ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี

ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการอบรม
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...เจริญปิติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
ผู้อบรมอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม.

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า

อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น
อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการสังวร อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความอดกลั้น
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว เพราะการเว้นรอบ
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการบรรเทาอาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มี-
*พระภาค ฉะนี้แล.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตลบ..


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 22:13, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทโธ เขียน:
สัมมาทิฏฐิเจริญขึ้นที่ธรรมเป็นกลาง คือ อัพยากตาธรรม เจริญขึ้นเป็นมัชฌิมาปฏิปทาได้เกิดขึ้นในสภาวะธรรมที่เป็นกลาง




สัมมาทิฏฐิเกิดที่ธรรมเป็นกุศลครับ ไม่ใช่อัพยากตาธรรมเพียงอย่างเดียว อัพยากตาธรรมเป็นผลหรือวิบากแห่งมัคคครับ


โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 04 ต.ค. 2009, 22:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 01:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาให้กับทุกท่านอ่ะค่ะ...แต่ว่า :b6: :b6: :b6: ที่อ่านมาทั้งหมดรู้สึกว่ายังมะค่อยเข้าใจเท่าไหร่เนื่องจากศัพท์ทางพุทธศาสนาเยอะมาก...สงสัยต้องหา Dic ศัพท์ภาษาบาลีแปลเป็นไทยมาเป็นตัวช่วยอ่ะคะ :b9: :b9: :b9: อ่านแล้วรู้สึกตัวเองเบาปัญญามากเลย :b3: :b3: :b3:

:b9: :b9: :b9: นู๋เอค่ะ

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร