ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

เด้กใหม่ใคร่รู้
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=26229
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  m4p4n1 [ 12 ต.ค. 2009, 12:51 ]
หัวข้อกระทู้:  เด้กใหม่ใคร่รู้

สวัสดีกัลยานมิตรทุกท่านนะครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ ต้องการผู้รู้ช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการศึกษาและปฏิบัติธรรมครับ ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งน่ะครับ..ก็สนใจศึกษาธรรมะมานานแล้วล่ะ..แต่เป็นแบบลุ่มๆดอนๆอาจจะเป็นเพราะด้วยวัย และ สังคม ที่เป็นแบบปัจจุบันนี้นะครับ (โทษสังคมซะงั้น )555 ผมก้เลยไม่ได้ลงมือทำจริงๆจังๆสักที ก้เลยหวังว่าจะพบกัลยานมิตรคอยชี้แนะและชักจูงให้ผมไม่คลายศรัทธาไปมากกว่านี้นะครับ
สิ่งที่ผมอยากจะถามนะครับ รบกวนตอบเป็นข้อๆเลยนะครับ :b16:
1 ผมสงสัยว่าผมควรจะเริ่มศึกษาพระธรรมในเชิงภาคทฎษฎีหรือภาคปฏิบัติก่อนดี...เป็นไปได้มั้ยว่าทำพร้อมกันได้..แต่ผมรูสึกว่าผมอยากเข้าสู่ภาคปฏิบัติเลย ( ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ศึกษาแต่ภาคทฎษฎีอะครับ...ก็เลยไม่รู้ว่าเกิดผล หรือนำไปต่อยอดยังไงดีอ่ะครับ )
2 ผมเคยได้ยินมาว่า การฝึกสมาธิจำเป็นจะต้องมีผู้รู้หรือครูบาอาจารย์คอยสอนคอยแนะนำใช่มั้ยครับ....เพราะถ้าเราฝึกเองอาจจะหลงทางหรือทำไม่ถูกต้อง รบทุกท่านช่วยตอบข้อสงสัยด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าผมถามขอถาม 2ข้อก่อนแล้วกัน ที่จริงมีเยอะมากเลยอ่ะครับ..แต่ผมไม่รูจะเริ่มตรงไหนก่อนดี เอาเป็นว่า ตอนนี้ผมอยากฝึกสมาธิมากๆๆเลยอ่ะครับ :b3:
ถ้าหากผู้รู้ทุกท่านมีข้อแนะนำ หรืออยากเสนอแนะอะไรดีก็ได้ตามอัธยาศัยเลยนะครับ ขอขอบพระคุณทุกความกรุณานะครับ แล้วผมจะมาร่วมสนทนาใหม่นะครับ :b8: :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 12 ต.ค. 2009, 13:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เด้กใหม่ใคร่รู้

บุคคลใดไม่มีปริยัติ ปริปุจฉาก็ไม่มี อธิคมก็ไม่มี ปฏิภาณของบุคคลนั้นจักแจ่มแจ้งได้อย่างไร?
viewtopic.php?f=7&t=25875

การจะปฏิบัติธรรมให้ถูกทางได้นั้น ก็มีลักษณะเดียวกับการกระทำใดๆ ของเราในทางโลก ที่จะทำให้ถูกต้องได้นั้น ต้องมีการศึกษาเรียนรู้สิ่งที่เราจะไปทำนั้นให้รู้และเข้าใจสิในสิ่งนั้นๆ ให้ดีก่อน การกระทำของเราในสิ่งนั้นจะถูกต้องครบถ้วนมีผลสำเร็จเกิดขึ้นตามที่เราได้ตั้งใจไว้ มีเพียงความตั้งใจเฉยๆ ไม่มีความรู้ประกอบ การกระทำของเราไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรมก็ไม่ประสพความสำเร็จ เพราะเป็นการหลับตากระทำ หรือทำโดยความไม่รู้

ถ้าผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจพระธรรมคำสั่งสอน การปฏิบัติจะให้ถูกทางนั้นแทบเป็นไปไม่ได้ พาตัวเองหลงไปในคำสอนของศาสนาอื่นโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว พากันไปหลบทุกข์หลังความสงบ ยิ่งถ้าเข้าใจว่าตัวเองปฏิบัติถูกแล้ว เกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเป็นทิฏฐิมานะ ก็แทบจะเรียกได้ว่าเสียชาติเกิดไปชาติหนึ่ง เป็นการบำเพียรความพอใจไม่พอใจ พากันเดินลงนรกเหมือนจับไปวางไว้ ไปด้วยความเต็มใจไม่ได้มีใครบังคับ

การปฏิบัติธรรมถูกทางนั้นสำคัญต่อชีวิตคนเรามาก ผิดพลาดไม่ได้ ถ้าผิดพลาดหลงทางไปแล้ว โอกาสที่จะกลับมาปฏิบัติถูกทางนั้นแทบจะไม่มีอีกเลยในชีวิต

พุทธศานาเป็นศานาที่ว่าด้วยปัญญา หากมีใครมาชักชวนว่า จงทำตามนี้เกิดอย่างเพิ่งถาม แบบนี้ให้ฟังหูไว้หู พระพุทธองค์ไม่เคยสอนสาวกให้ดำเนินตามทางแบบนี้ การสนทนาธรรมต้องได้ปัญญา

ใบไม้กำเดียวในมือพระพุทธองค์
viewtopic.php?f=7&t=24873

สมาธิในพุทธศาสนานั้น มีความแตกต่างชัดเจนไม่เหมือนกับสมาธิในศานาอื่นๆ กล่าวคือ เป็นสมาธิที่เกิดกับจิตที่เป็นกุศล และมีปัญญาประกอบ (มหากุศลจิตญาณสัมปยุติ) หากปฏิบัติไม่ถูกทางแล้ว จะเป็นความสงบที่เกิดมาจากความพอใจ (อุเบกขา+โลภะ) หรือเกิดกับจิตที่เป็นอกุศล แปลว่า ผู้นั้นกำลังบำเพ็ญลงนรก เพราะกำลังสะสมโลภะโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อเริ่มผิดปลายจะถูกนั้นเป็นไปไม่ได้

ความสงบที่เกิดกับจิตที่เป็นกุศล และที่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล ไม่สามารถแยกออกได้ง่ายๆ แต่หากผู้นั้นมีปัญญาประกอบด้วยแล้ว (คือผู้สำเร็จธรรมตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป) จึงสามารถทำสมาธิได้ ดังนั้น หากยังไม่มีปัญญา การจริญสมถะจึงต้องทำคู่ไปกับการเจริญปัญญาด้วย หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย ให้เจริญปัญญาเป็นหลักก่อน แล้วจึงไปเจริญสมถะภายหลัง

ความสงบของจิต หรือความสงบที่เกิดขึ้นภายในจิตของพุทธศาสนาเรานั้น เป็นผลเกิดจากการที่เราขัดเกลาจิตใจเราให้ละลดเลิกอกุศลกรรมทั้งหลายลงไปได้ ศาสนาอื่นๆ จะให้ไปนั่งสมาธิเป็นบ้าเป็นบอเป็นตอไม้ เพราะหวังฤทธิ์ โดยไม่รู้จักการขัดเกลาจิต ผลที่ออกมาก็คือ ได้ความสงบเฉพาะตอนนั่งสมาธิเท่านั้น พอออกจากสมาธิ ก็เป็นคนดิบปกติเหมือนเดิม มีฤทธิ์เป้นผลานิสงค์ แต่ก็เสื่อมหายไปได้ง่ายๆ

เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เพราะอุปธิวิเวก ความสงบของจิตในระดับปฐมฌานก็เกิดขึ้น เกิดความปิติ สุข มั่นคงไม่เสื่อมถอย (ถือเป็นการสำเร็จธรรมขั้นต้นๆ)

อุปธิวิเวก คือ ธรรมใดๆ ที่เป็นเครื่องมือขัดเกลาจิตใจ สามารถนำเราออกจากกิเลสกามได้ ... :b8:

สมาธิสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ขณิกกะสมาธิ ใช้ในการดำเนินชีวิต การเรียน การทำงาน ฯ สมาธิแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ประกอบกับการเคลื่อนใหว บางตำรายังไม่ถือว่าเป็นสมาธิ สมาธิระดับนี้สามารถฝึกฝนกันได้ร่วมกับกิจกรรม เช่น เล่นกีฬา เต้นรำ ฯ

เจ้าของ:  1เอง [ 12 ต.ค. 2009, 15:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เด้กใหม่ใคร่รู้

viewtopic.php?f=2&t=19826 ลองอ่านตามลิงค์นี้ดูแล้วลองปฏิบัติดูก่อนก้ได้นะครับ ตำรวจไม่จับครับ
เจริญในธรรมนะครับ

เจ้าของ:  bbb [ 12 ต.ค. 2009, 16:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เด้กใหม่ใคร่รู้

ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า....

สัพเพ ธมมํ นาลํ อภินิเวสาย

"สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"


อันนี้หัวใจของพุทธศาสน์ รู้และทำตามได้เท่านี้ ก็เท่ากับรู้พระไตรปิฏกทั้งเล่ม

การปล่อยวางจาก"ตัวเรา..ของเรา" และก้าวสู่ความว่าง


นี่คือเจตนารมณ์อันแท้จริงของพระศาสดา ... ยังมีอันใดอีกหรือ??

อนุโมทนาครับ :b8:

เจ้าของ:  อายะ [ 12 ต.ค. 2009, 18:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เด้กใหม่ใคร่รู้

m4p4n1 เขียน:
1 ผมสงสัยว่าผมควรจะเริ่มศึกษาพระธรรมในเชิงภาคทฎษฎีหรือภาคปฏิบัติก่อนดี...เป็นไปได้มั้ยว่าทำพร้อมกันได้..แต่ผมรูสึกว่าผมอยากเข้าสู่ภาคปฏิบัติเลย ( ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ศึกษาแต่ภาคทฎษฎีอะครับ...ก็เลยไม่รู้ว่าเกิดผล หรือนำไปต่อยอดยังไงดีอ่ะครับ )

2 ผมเคยได้ยินมาว่า การฝึกสมาธิจำเป็นจะต้องมีผู้รู้หรือครูบาอาจารย์คอยสอนคอยแนะนำใช่มั้ยครับ....เพราะถ้าเราฝึกเองอาจจะหลงทางหรือทำไม่ถูกต้อง รบทุกท่านช่วยตอบข้อสงสัยด้วยนะครับ


ความเห็นส่วนตัวนะครับ
ตอบข้อ 1 ควรเริ่มจากทฤษฏีก่อนแต่ไม่จำเป็นต้องให้จบเปรียญ 9 ที่ผมเห็นว่าจำเป็นก็คือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หรือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ โดยเฉพาะอินทรีย์ 5 แล้วก็สิ่งกีดขวางนั่นก็คือ นิวรณ์ 5 และในระหว่างที่ศึกษาอยู่นี้ก็ปฏิบัติไปพลางๆ ด้วย

ตอบข้อ 2 ผมเห็นว่าจำเป็น ผมเปรียบการปฏิบัติเหมือนการทำวิทยานิพนธ์ ผุ้ปฏิบัติเป็นนักศึกษา ครูอาจารย์เปรียบเหมือน อาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาขยันอาจารย์ที่ปรึกษาเก่งและใส่ใจก็จะทำวิทยานิพนธ์ได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว ผมเห็นว่าท่านควรหาครูอาจารย์ครับ แต่จะได้ครูอาจารย์ที่เก่ง สอนไม่ผิด มีเวลาใส่ใจผู้ปฏิบัติ อันนี้ก็ต้องขึ้นกับบารมีที่ได้สั่งสมมาด้วยครับ การหาครูอาจารย์ควรจะยึดธรรมที่ท่านแสดงเป็นสำคัญอย่าไปยึดในอิทธิปาฏิหารที่ท่านแสดง ผมเห็นว่าครูอาจารย์ที่เก่งนั้นควรจะแก้ปัญหาการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติได้ดี ผู้ปฏิบัติมีความก้าวหน้า(ถ้าผู้ปฏิบัติตั้งใจ) สามารถหาสาเหตุของการปฏิบัติไม่ก้าวหน้าได้ ซึ่งในขั้นนี้การศึกษาทฤษฏีมาบ้างก็จะเป็นข้อมูลหนึ่งให้เราสามารถพิจารณาได้ว่าเราควรจะขอเป็นศิษย์ผู้ใดครับ
ผมขอยกตัวอย่างพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ มีอุบาสิกาท่านหนึ่งอยากปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านแนะนำให้อย่าเพิ่งปฏิบัติให้กลับบ้านไปขอขมาบิดามารดาก่อน เนื่องอุบาสิกาท่านนี้เคยล่วงเกินบิดามารดาของตัวเองไว้มาก จิตเกิดความเศร้าหมองมากปฏิบัติอย่างไรก็จะไม่ก้าวหน้า เมื่ออุบาสิกาท่านนั้นกลับไปขอขมาบิดามารดาตัวเองแล้วมาปฏิบัติ ผลของการปฏิบัติก็เป็นไปได้ด้วยดีครับ


ความเห็นผมประมาณนี้ครับ
เจริญธรรมครับ

เจ้าของ:  murano [ 12 ต.ค. 2009, 20:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เด้กใหม่ใคร่รู้

ถ้าเปรียบกับการขับรถ จะทำอย่างไรดี... อ่านหนังสือสอนขับรถอย่างเดียว ศึกษาวิศวกรรมยานยนต์จนทะลุปรุโปร่ง หรือยังไงดี...

อานาปานสติ ทำได้เลย ตั้งแต่วันนี้...

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/