วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 13:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากถามว่า การนั่งสมาธิแบบตลุย นั่งเป็นชั่วโมง

และขณะนั่งก็มีอาการเมื่อยทรมาน และฝืนนั่งและกำหนดสติ
ให้หาย เหรอ ตั้งจิตตลุยแม้ตายก็ยอมแบบนี้
มันตึงเกินไปใช่ไหมครับ

ถ้านั่งสมาธิ แต่ขยับตัวบ้าง และก็มาเข้าสมาธิใหม่

จะดีกว่าแบบฝืนไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6: อ่ะนะ...ตลุยนั่งเลยหรอคะ...เครียดเกินไปไม่ดีนะคะ ควรผ่อนคลายบ้าง...พระพุทธเจ้ายังเดินสายกลางเลยค่ะ... :b4: :b4: :b4: ขอเอาใจช่วยนะคะ

:b55: :b55: :b55: นู๋เอค่ะ

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sasikarn เขียน:
:b6: :b6: :b6: อ่ะนะ...ตลุยนั่งเลยหรอคะ...เครียดเกินไปไม่ดีนะคะ ควรผ่อนคลายบ้าง...พระพุทธเจ้ายังเดินสายกลางเลยค่ะ... :b4: :b4: :b4: ขอเอาใจช่วยนะคะ

:b55: :b55: :b55: นู๋เอค่ะ


คือว่า ผมไปอ่านประวัติของหลวงพ่อบางรูปนะครับ เขานั่งสมาธิแบบตะลุยเลย
เลยอยากถามว่า วิธีนี้มันดีเหรอเปล่า อ่านไป แล้วผมไม่เชื่อ ไม่อยากลบหลู่ เลย
เลิกอ่าน เพราะอ่านไป รู้สึกว่าท่านอวดตนอะ ครับ


นั่งสมาธิแบบนี้มันจะได้สมาธิ เหรอฌาณสี่ เหรอเปล่าครับ


ส่วนตัวผมนั่งได้ไม่นานนะคับ พอเมื่อยก็ขยับตัว และนั่งได้คืนละสิบนาทีเอง

เลยอยากทราบนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


the saintp เขียน:
อยากถามว่า การนั่งสมาธิแบบตลุย นั่งเป็นชั่วโมง

และขณะนั่งก็มีอาการเมื่อยทรมาน และฝืนนั่งและกำหนดสติ
ให้หาย เหรอ ตั้งจิตตลุยแม้ตายก็ยอมแบบนี้
มันตึงเกินไปใช่ไหมครับ



สวัสดีครับคุณ"the saintp"

ต้องแยกให้ดีครับ การนั่งแล้วจิตไม่เป็นสมาธิ หรือกับนั่งแล้วจิตเป็นสมาธิ

การนั่งแล้วจิตไม่เป็นสมาธิ ....ย่อมเจ็บ ปวด เมื่อย หิวกระหาย ทรมานเพราะอกุศลจิตครับ


กับนั่งแล้วจิตเป็นสมาธิ ....จิตเป็นกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มีปีติ สุข และอุเบกขาเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่นั่ง กุศลจิตให้ผลเป็นสุข ย่อมไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่เมื่อย ไม่หิวกระหาย ไม่ทรมานใด ๆ ครับ อย่าว่าแต่นั่งแค่ 1 ชั่วโมงเลยครับ นั่งเป็นวันเป็นคืนหรือหลายวันหลายคืน หรือ 7 วัน 7 คืนต่อเนื่องกันก็ได้ครับ เพราะนั่งด้วยความสุขครับ



สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ??
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


จะบำเพ็ญทุกขกิริยารึ ระวังแห้งตายนา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตะลุยโลด

เห็นด้วย

จะได้รู้จักว่า สมาธิ ที่ตึงเกินไป หรือ เกินตัวเรา เป็นอย่างไร

ถ้าสมาธิหย่อน เกินไป ก็ให้สังเกตว่า เกิดจากสาเหตุอะไร

แล้ว ก็จะเข้าตัวเราเองว่า ความพอดีของตัวเรานั้นอยู่ที่ไหน

---***แต่ถ้ากิเลสมากก็ต้องทำมากกๆ นะ ให้ความเพียรนั้นเท่าทันกับกิเลส

ไม่ใช่ กิเลสมาก ความเพียรน้อย


การทำสมาธิ ยิ่งทำ กิเลสยิ่งออกมาแสดงตัว ไม่ใช่ ทำสมาธิแล้ว แช่ นิ่ง ได้ประโยชน์น้อยมาก

(พระพุทธองค์เคยกล่าวไว้ว่า ทำสมาธิตั้งง 100 ปี ไม่เท่า การเห็น การเกิดดับเพียงแค่ ครั้งเดียว ยังดีกว่า เพราะการเห็นการเกิดดับ เป็นการเห็น ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้)

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คงไม่ถึงกับบำเพ็ญทุกขกริยาหรอกครับ

ถามดูอะ พอดีอ่านแล้ว รู้สึกมันมากไป

แต่ตัวเองทำไม่ค่อยได้นานหรอกครับ

นั่งน้อยด้วยซ้ำ พยายามให้ได้ครึ่งชั่วโมงอะ

เมื่อยก็ขยับไปนั่งงอขา และเข้าสมาธิใหม่นะครับ

ขอบคุณเพื่อนธรรมทุกคนที่ให้ข้อมูลนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนั่งให้ทนต่อไป ก็ขึ้นกับว่าสมาธิมีพอแค่ไหนที่จะพอข่มเวทนาในตอนนั้น
จิตสงบดีหรือยัง ถ้าจะนั่งให้ทนต่อความปวด ต้องกำหนดพองหนอ ยุบหนอเป็นเสียก่อน

ผมว่านั่งแบบพุทโธแบบนับลมเข้า1 ลมออก1 นับแบบ 1-1 2-2 3-3 4-4 ไปจนถึง10 แล้วย้อนกลับมา1-1 ใหม่ ทำสักสองสามรอบก็พอเริ่มมีสมาธิบ้างแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิ จุดประสงค์เริ่มต้น ก็เพื่อผ่อนคลายกาย และใจ
ถ้าทำแล้วลำบากจะกลายเป็นทรมานไปเสียเปล่า
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...ขอเล่าการฝึกนั่งสมาธิจากประสบการณ์...
...ไม่ได้ทำแบบเอาเป็นเอาตาย...เวลานั่งมีหลักของใจใช้"พุทโธ"บริกรรม...
...ปกติก็จะนั่งสมาธิได้ไม่นาน...เพราะผ่านการฝึกมาน้อยมาก...
...เวลานั่งพอรู้สึกว่าชาก็จะเริ่มขยับเพราะกลัวว่าเลือดไปเลี้ยงขาไม่พอ...


...ต่อมาได้ฟังเทศนาธรรมท่านสอนว่าการนั่งสมาธิมีเกิดดับวนกลับมาที่เดิม...
...จากปวด...ชา...หายชาและกลับปกติได้ด้วยตัวมันเอง...ก็เลยพยามฝืนนั่งต่อไปเรื่อย...
...ตอนแรกนั่งนานเข้าจะเริ่มปวด...นานไปจะเหน็บชา...ทนอีกนิดชา+ปวดมันหาย...
...จะไม่รู้สึกอะไร...พอออกจากสมาธิก็ลุกเดินได้ปกติ...ไม่มีปวด...ไม่มีชา...จึงถึงบางอ้อ


...พระสายกรรมฐานท่านสอนว่าขณะที่บริกรรมให้จิตยึดติดอยู่คำนั้น...พอปวดก็ให้ตามดูอาการปวด...
...พอชาให้ตามดูอาการชา...ไม่ให้ถอนจากสมาธิ...กำหนดรู้ตามสภาวะที่เกิดขึ้น...
...ถ้ามีสติระลึกได้...คุณก็จะทราบทันทีว่านี่แหละคือทุกข์...อาการของกายที่แสดงออก...
...พอจิตไปยึดก็ยิ่งทุกข์หนักเข้าไปอีก...ปวดก็ให้บริกรรม...ปวดหนอ...ปวดหนอ...


...จิตจดจ่อในสิ่งที่กำลังทำอยู่...นี่แหละคือการทำสมาธิ...ชา...ก็กำหนด...ชาหนอ...
...นานเข้ามันจะวนเข้าไปหาจุดเริ่มต้นหายปวด...หายชา...ลุกเดินได้เฉยเลย...
...คนที่ไม่เข้าวัด...ไม่เข้าใจการปฏิบัติธรรมมีอีกมาก...เพราะไม่รู้เนื้อรู้ตัว...
...ว่าจิตต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าของ...มัวหลงระเริงว่ายังหนุ่ม-สาว...ยังไม่แก่


...ไม่เห็นต้องไปเข้าวัด...ถ้าไม่ฝึกไต้งแต่อายุน้อยๆ...รอไปทำตอนแก่...จะทนปวดได้เหรอ...
...ขนาดอายุเท่านี้ยังทนปวดไม่ได้...สภาพที่คนใกล้ตายยิ่งทรมาณแสนสาหัส...
...เราฝึกสมาธิเพื่อเตรียมไว้ใช้ตอนใกล้ตายนะเจ้าคะ...ตรงนี้แหละคืออัตตาหิอัตตโนนาโถ...
...ตนเป็นที่พึ่งของตน...จิตใครก็ของคนนั้น...งานทางโลกเราตายไปก็มีคนทำแทนเราได้...


...งานทางธรรมถ้าคุณไม่ทำเอง...ก็ไม่มีใครทำแทนคุณได้...เพราะตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอก...

ลองศึกษาธรรมเหล่านี้ดูนะเจ้าคะ

หลักการดำเนินชีวิตที่ควรยึดถือและปฏิบัติ
(พระอาจารย์อินทร์ถวาย วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี)

1. ตายแล้วไม่สูญ จึงควรละความชั่ว แล้วสร้างแต่ความดีตลอดไป เพื่อสะสมอริยทรัพย์(ทรัพย์ภายในติดตัวไปภพหน้า) การสร้างความดี จะพลอยเป็นอุปนิสัยปัจจัยติดตัวไปข้ามภพชาติ
2. ถือศีล 5 เพราะศีล 5คือ “มนุษยธรรม”เป็นการควบคุมกาย วาจา ใจ ให้อยู่อย่างสันติ ไม่เบียดเบียนใคร การรักษาศีลคือการรักษาใจ สำรวมอยู่ที่ใจ ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นนิจศีล (รักษาใจได้ตลอดเวลา) เพื่อจะได้คืบหน้าเป็นศีล 8 ขณะยังอยู่ในโลกนี้ เมื่อจากโลกนี้ไป อย่างน้อยก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ที่มีอายุยืน ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
3. ฝึกพิจารณาสติอยู่กับความตาย (ฝึกมรณานุสติ) ต้องคิดไว้เสมอทุก ๆ วัน จะโดดเด่นที่สุดจากร่างกายตนเองเพื่อไม่ให้หลงลืมตัว ให้ใจปล่อยวางกิเลส มีราคะ(โลภ) โทสะ(โกรธ) โมหะ(หลง) จะหลุดลอยไปได้มาก จงตั้งใจให้ทานรักษาศีลด้วยความไม่ประมาท พยายามฝึกฝนตนเองจนจิตยอมรับว่า
• เราต้องตายแน่แท้ ทุกคนได้รับเสมอหน้ากันโดยไม่มีข้อยกเว้น
• เราต้องพร้อมเสมอที่จะพลัดพรากจากผู้คน พี่น้อง วงศาคณาญาติ ทรัพย์สมบัติ วัดวาศาสนา ครูบาอาจารย์ทุกพระองค์ จึงควรฝึกที่จะไม่กังวล ไม่ห่วงใย ไม่อาลัย ไม่ยึดถือ ไม่เสียดายต่อผู้คนและสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เพราะเราจะต้องตายจากสิ่งนั้น ๆ ไป
• เราต้องพร้อมต้อนรับความแก่ชราคร่ำคร่าทรุดโทรมเสื่อมถอย โรคภัยรุมล้อมเบียดเบียน อันจะก้าวไปสู่ความรุนแรงสาหัสเมื่อจะลาโลกนี้ไป การเตรียมพร้อมที่จะพึ่งตนเองนี้ ควรทำแต่เนิ่น ๆ ขณะยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ยังแข็งแรงอยู่ เพราะเราไม่อาจหลบเลี่ยงจากกฎอนิจจังนี้ได้ ย่อมจะเดินหน้าเรื่อยไปสู่ความแก่ เจ็บ ตายในที่สุด
• ถ้าจะรอฝึกเมื่อจวนตัว ร่างกายที่อ่อนกำลังด้วยความชรา – พยาธิ แม้อยู่ท่ามกลางผู้คน ที่แข็งแรงและเขาจะเอาใจช่วย คำปลอบใจ ก็ไม่อาจทำให้จิตใจเข้มแข็ง และเตรียมพร้อมขึ้นได้ไม่ หากไม่ได้ผ่านการฝึกฝนจนได้หลักจิตหลักใจจนพอตัวมาก่อนหน้านั้นแล้ว และเมื่อฝึกตนจนเป็นที่พึ่งของตนเองได้แล้ว ย่อมจะพลอยเป็นที่พึ่งของคนอื่นต่อไป ได้ด้วยความเมตตา
• ความสิ้นหวังหรือสมหวัง มิได้เกิดจากผู้ใดเลย แต่อยู่ที่ตัวเราเองจะเป็นผู้สร้างขึ้นมา จากธาตุขันธ์ร่างกายและความเป็นมนุษย์ ที่บิดา – มารดามอบให้พร้อมต้นทุน คือการอบรมสั่งสอนอันหาที่ตำหนิมิได้ ถ้าเราฝึกตนเองได้เมื่อใด เราจะจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีหนี้สินต่อผู้ใด เมื่อใจอำลาจากร่างกายด้วยความองอาจกล้าหาญ ไปด้วยความไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว มีสติปัญญาในการจากไปด้วยความพร้อมอย่างแท้จริง

4. ฝึกโอปนยิโก การน้อมจิตใจตนเองต่อทุกสิ่งที่ผ่านพบในชีวิตประจำวัน ให้เห็นประจักษ์ในความไม่เที่ยง เพื่อเกิดความเบื่อหน่าย ต่อสิ่งมายาสมมติที่แสดงการเปลี่ยนแปลงให้เห็นตลอดเวลา เป็นการตอกย้ำจิตไว้เสมอจนจิตเกิดความเคยชิน และยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น เมื่อเห็นสัตว์ตาย เห็นคนตาย ต้องย้อนเข้ามาหาตนว่า เราก็จักตายเช่นเดียวกัน
5. ฝึกสติ เพื่อให้ทันกิเลส และเป็นบาทฐานในการฝึกสมาธิ เริ่มด้วยการฝึกสติในทุกอิริยาบถ โดยกำหนดให้รู้ตัวไว้อยู่เสมอ หากกิเลสเกิดขึ้นเราจะได้รู้ทัน ระงับความรุนแรงของกิเลสนั้นลงได้ เมื่อจิตอยู่ในกรอบของสติแล้ว จะไม่เดือดร้อน ไม่วุ่นวายมีแต่ความเย็นอกเย็นใจ รู้จักปล่อยวาง คือใจไม่ยึดมั่นถือมั่น เหมือนใจนั้นตาย
6. ฝึกสมาธิ เพื่อบังคับจิตให้นิ่ง จิตเป็นหนึ่ง ประจักษ์กับใจตนเองว่า ร่างกายกับจิตเป็นคนละสิ่ง เพื่อจะได้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงจากใจ เป็นการเห็นจากปัญญา มิใช่ด้วยสัญญาและสังขาร เมื่อรู้จักจิตตนเองได้แล้ว ก็จะเห็นได้ทันทีเมื่อกิเลสแสดงตัว จะทำให้เห็นโทษและละได้ง่ายขึ้น แม้ว่าไม่อาจละได้ถึงขั้นขาดลอย แต่ปริมาณย่อมลดลง จากการพัฒนาตนในชาตินี้ ภพชาติต่อไปก็จะเหลือต้นทุนกิเลสต่ำลง ขณะเดียวกันชาตินี้ก็จะเกิดความเข้มแข็งและปัญญา ที่จะยอมรับทุกอย่างตามความเป็นจริง เกิดปัญญาที่ใช้แก้ปัญหาทั้งปวงได้อย่างรอบคอบ และเหมาะสมมากขึ้น


เคล็ดวิธีกำหนดสติในการทำสมาธิตามหลักสติปัฏฐานสี่
(พระครูพิศาลวิริยคุณ วัดป่าดงไร่ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี)
เราสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ โดยกำหนดออกเสียงหรือกำหนดในใจดังนี้
...(ยืน,เดิน,นั่ง,นอน)...อยู่นี่คือกาย
...สุขทุกข์คือเวทนา...
...ความรู้สึกนึกคิดคือจิต...
...สิ่งที่กำหนดรู้คือสติ...
(...กิเลสที่เกิดคือ...อกุศลธรรมและนิวรณ์ธรรม...)
...สิ่งที่พิจารณาเห็นอยู่คือปัญญา...
...ตัวเราของเราไม่มี...

:b51: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
และขณะนั่งก็มีอาการเมื่อยทรมาน และฝืนนั่งและกำหนดสติ
ให้หาย เหรอ ตั้งจิตตลุยแม้ตายก็ยอมแบบนี้
มันตึงเกินไปใช่ไหมครับ




ผมเปรียบเหมือนเล่นกีฬานะครับ เช่น จะไปเข่งวิ่งมาราธอน หรือว่ายน้ำ ผู้ปฏิบัิติต้องค่อยๆ เพิ่มชั่วโมงบินไปเรื่อยๆ แต่ต้องกำหนดอัตราการเพิ่มที่แน่นอนและต้องถือสัจจะต้องทนให้ได้ตามกำหนดเวลาเป็นสำคัญ เช่นจะไปแข่งวิ่ง 10 กิโล ซ้อมวันแรกอาจได้แค่ 2 กิโล วันต่อไปก็เพิ่มวันละ 1 กิโลไปเรื่อยๆ จนครบ 10 โล
การเพิ่มเวลา: ถ้้าเป็นการปฏิบัติใหม่นั้นน่าจะใช้นาฬิกาช่วย วันแรกอาจนั่งครั้งละ 30 นาที วันถัดไปอาจเพิ่มทีละ 15 - 30 นาที ไปเรื่อยๆ ถ้าสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องทุกวันก็น่าจะเพิ่มเวลาได้ไปเรื่อยหากทำได้ประมาณวันละ 2 ชม ก็อาจจะสามารถทำให้บรรเทานิวรณ์ในแต่ละวันได้ดีทีเดียว
การบริหารจัดการกับเวทนา: บางท่านอาจจะกล่าวว่าเมื่อเวทนาเกิดแล้วทนนั่งต่อไปไม่ใช่ทางสายกลางนั้นอันนี้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง สำหรับท่านเมื่อเวทนาเกิดในครั้งแรกๆ มันก็จะทรมานมากทีเดียวถ้า้เป็นไปได้ก็ให้เปลี่ยนเอาจิตมาดูที่เวทนา สลับกับอาการทรมานทางใจ ดูสลับไปสลับมาแล้วแต่อารมณ์ไหนชัดก็ดูอันนั้นไป ทรมานมากแต่ก็คุ้มค่ามากเพราะช่วงที่เวทนาเกิดนี้ท่านจะไม่คิดถึงสิ่งอื่นใดนอกจากเวทนา ดังนั้นช่วงนี้เอง สติ สมาธิ ของท่านจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และถ้าท่านสามารถเพียรกำหนดอย่างต่อเนื่องๆ ในการปฏิบัติครั้งต่อๆ ไปท่านก็จะอยู่กับเวทนาได้อย่างสบาย (ปวดทางกายแต่ไม่ทรมานทางใจ) เมื่อปฏิบัติมาถึงสภาวะนี้เปรียบเสมือนขับรถบนทางด่วน เพราะว่าอาการปวดแจ่มชัดแต่ไม่ทรมานจะทำให้กำหนดได้ง่าย ฐานที่ใช้ให้จิตไปรับรู้ชัดเจน สติ สมาธิ ก็จะเพิ่มได้ดี เวทนานี้แหละ มีทั้ง อนิจจัง ทุกข์ขัง อนันตา ถ้าสามารถเพียรกำหนดเวทนาได้ก็น่าจะเข้าใจคำว่าทุกข์ทางกายและทางจิตได้ดีขึ้นนะครับ


เจริญธรรมคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กับนั่งแล้วจิตเป็นสมาธิ ....จิตเป็นกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มีปีติ สุข และอุเบกขาเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่นั่ง กุศลจิตให้ผลเป็นสุข ย่อมไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่เมื่อย ไม่หิวกระหาย ไม่ทรมานใด ๆ ครับ อย่าว่าแต่นั่งแค่ 1 ชั่วโมงเลยครับ นั่งเป็นวันเป็นคืนหรือหลายวันหลายคืน หรือ 7 วัน 7 คืนต่อเนื่องกันก็ได้ครับ เพราะนั่งด้วยความสุขครับ


ท่านมหาราชันย์คับ เท่าที่ ทขจก เล่ามาแสดงว่าสมาธิของเขานั้นยังไม่สามารถระงับนิวรณ์หรือเวทนาทางกายได้ นั่นก็หมายถึงเขายังต้องเพียรฝึกเพื่อจะให้สมาธิเพิ่มขึ้นไปอีก จนละความรู้สึกทางกายน้อยลงเรื่อยๆ นั่นก็หมายถึงจะรู้สึกถึงเวทนาทางกายต่างๆ น้อยลงเรื่อยๆ คราวนี้จึงค่อยมาเข้า ปีติ สุข ฯ ท่านก็น่าจะตอบ ทขจก ไปเลยว่าได้หรือไม่ได้เพราะอะไรตามที่เขาถามไม่ดีกว่าหรือคับ แล้วอีกอย่างท่านนั่งได้ 7 วัน 7 คืน เลยเหรอครับ

ผมก็อยากถามท่านมหาราชันย์อีกข้อนึงเหมือนกันว่า ถ้านั่งกำหนดแล้วเวทนาเกิด ควรจะขยับดี หรือควรจะทนเพียรกำหนดต่อ อันไหนกันแน่เป็นทางสายกลาง เพราะอะไร ถ้ามีในพระไตรปิฎกช่วยยกเอามาให้ดูด้วยนะครับ เอาให้แจ่มเลยนะครับ


เจริญธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 04 พ.ย. 2009, 22:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
.


คุณอายะ ผมจะกระซิบให้ฟัง

ตามหาราชันย์ แกนั่งไม่เป็นหรอก
คนนั่ง ลองนั่งจริงๆ เขาไม่พูดอย่างนี้หรอก

คนอะไรนั่งปั๊บ ปิติ สุข เรียงหน้ากระดานมาเลย

หรือถ้าคุณคุณมหาราชันย์มีบารมีมากถึงขนาดนั้น
เกิดมาชาตินี้ นั่งทีไร ปิติ สุข เอกัคตา เรียงหน้ากระดานมาเลย
ไม่เคยต้องพบเจอประสบการณ์อะไรอย่างที่เจ้าของกระทู้เล่ามาเลย
อันนี้ชาติก็ต้องขอขมาผู้มีบุญอย่างแรง

:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมใด ต้องปรารภจิตพรหมจรรย์ คือจิตที่ดำเนินไปตามมัคคปฏิปทา ไม่ใช่ทนนั่ง หรือนั่งเพื่อความทน

ถ้าสัมมาทิฏฐิมีในตน
ความสับสนฤๅจักมีได้ที่ไหน
เพราะมิจฉาทิฏฐิที่หุ้มใจ
จึ่งทำให้สับสนกระวนกระวาย

อีกสัมมาสังกัปปะมีในตน
ความสับสนในจิตจักจางหาย
เคยว้าวุ่นครุ่นคิดจิตอันตราย
สับสนคลายเพราะดำหริที่ละวาง

มีสัมมาวาจานำแต่คำสัจจ์
มีสมบัติที่ดีงามยามเอ่ยอ้าง
ไม่กล่าวเท็จเพ้อเจ้อเผลอผิดทาง
เดินตามอย่างนักปราชญ์จำนรรจา

มีสัมมากัมมันตะกระทำชอบ
อยู่ในกรอบความดีมีศีลห้า
กระทำดีละบาปที่หยาบช้า
รับรองว่ามิสับสนส่งผลคุณ

มีสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิต
สุจริตในกุศลผลเกื้อหนุน
จิตผ่องใสในการงานอันก่อบุญ
ใจที่วุ่นสับสนนั้นพลันจางคลาย

มีสัมมาวามะพยายาม
ขจัดความโลภโกรธหลงปลงให้หาย
สร้างกุศลดลปีติสุขใจกาย
สั่งสมไว้ให้จิตนี้มีแต่บุญ

สร้างสัมมาสติพระอริยะ
มีตบะจิตมั่นนั้นเกื้อหนุน
ละยินดีละยินร้ายคลายว้าวุ่น
จิตค้ำจุนด้วยอุเบกขาอริยะธรรม

มีสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น
ฝึกจิตนั้นสงัดกามตามอุปถัมภ์
กำจัดสิ้นซึ่งนิวรณ์อกุศลธรรม
น้อมจิตนำสู่ฌานสี่สติบริสุทธิ์แล.....ฯลฯ


ขอบพระคุณท่าน TOOMAIN ม.1/1

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
อายะ เขียน:
.

หรือถ้าคุณคุณมหาราชันย์มีบารมีมากถึงขนาดนั้น
เกิดมาชาตินี้ นั่งทีไร ปิติ สุข เอกัคตา เรียงหน้ากระดานมาเลย
ไม่เคยต้องพบเจอประสบการณ์อะไรอย่างที่เจ้าของกระทู้เล่ามาเลย
อันนี้ชาติก็ต้องขอขมาผู้มีบุญอย่างแรง

:b32:


ท่านชาติครับ ผมว่าอย่าเพิ่งไปปรามาสท่านมหา รอคำตอบท่านมหาก่อนดีกว่า เพราะท่านมหากล่าวถึง วิตก วิจาร ปิติ สุข ฯ และ การนั่งทีเีดียว 7 คืน 7 วัน ท่านมหาคงจะมีดีอยู่นะครับ :b17:


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 05 พ.ย. 2009, 11:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร