วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 12:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นที่ผิดเรียกว่ามิจฉาทิฐิ

ความเห็นที่ถูกเรียกว่า สัมมาทิฐิ ได้กล่าวแล้วว่า (ท่านกล่าวก่อนเรื่องนี้) ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฐิ

ได้แก่ ปรโตโฆสะที่ไม่ดีไม่งาม สภาพแวดล้อมทางสังคมที่ชั่วร้าย เฉพาะอย่างยิ่งปาปมิตร

และอโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย ไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น คิดไม่ถูกวิธี



ส่วนปัจจัยของสัมมาทิฐิ ได้แก่ ปรโตโฆสะที่ดีงาม การหล่อหลอมกล่อมเกลาในทางที่ถูกต้อง

จากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดี เฉพาะอย่างยิ่งกัลยาณมิตร หรือการเสวนากับสัตบุรุษ

และโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยแยบคาย รู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดถูกวิธี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 มี.ค. 2011, 19:33, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ แบ่งเป็น ๒ ประเภท หรือ ๒ ระดับ คือ


๑. โลกียสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับโลกีย์ คือ ยังเนื่องในโลก ขึ้นต่อโลก

ได้แก่ ความเห็น ความเชื่อ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตที่ถูกต้องตามหลักแห่งความดี

เป็นไปตามคลองธรรม หรือ สอดคล้องกับศีลธรรม ดังตัวอย่างในพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงไว้แล้วข้างต้น

โดยทั่วไปสัมมาทิฏฐิประเภทนี้ เกิดจากปรโตโฆสะ คือปัจจัยฝ่ายภายนอก หรือ องค์ประกอบทางสังคม

ด้วยอาศัยศรัทธาเป็นเครื่องเชื่อมโยงหรือชักนำ *

เฉพาะอย่างยิ่งเกิดจากการหล่อหลอมกล่อมเกลาของสังคม เช่น การอบรมสั่งสอนทางศีลธรรม

การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เป็นต้น แม้สัมพันธ์กับโยสิโสมนสิการ ก็มักเป็นโยสิโสมนสิการแบบเร้ากุศล

ทิฏฐิระดับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า เช่นว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด อะไรดีกว่า อะไรเลวกว่า

ควรจะเป็น ไม่ควรจะเป็น หรือว่าน่าเป็น ไม่น่าเป็น อย่างไร เป็นต้น

ตลอดจนหลักความเชื่อ หลักความเห็นต่างๆ ที่จะรักษาคุณค่าที่ดีงามถูกต้องไว้

เพราะเหตุที่เกิดจากการหล่อหลอมของสังคม มีการถ่ายทอดโดยปรโตโฆสะ

ทิฏฐิประเภทนี้ จึงมีลักษณะเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ มาตรฐาน ความเชื่อถือ ชนิดที่มนุษย์ปรุงแต่ง

สร้างสรรค์ หรือบัญญัติวางกันขึ้น เป็นของซ้อนเข้ามา หรือต่างหากจากกฎธรรมดาของธรรมชาติอีกทีหนึ่ง

และดังนั้น จึงมีลักษณะของความเป็นโลกียะ คือมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยผิดแปลกแตกต่างกันออกไป

ตามกาลเทศะ

เปลี่ยนแปลงได้ตามอิทธิพลของสภาพแวดล้อม และ ความเป็นไปของสังคม ทิฏฐิจำพวกข้อถูกใจ

ความใฝ่นิยมหรือค่านิยมทั้งหลาย ล้วนรวมอยู่ในทิฏฐิประเภทโลกียะนี้ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ารายละเอียดข้อปลีกย่อยของทิฏฐินี้จะเปลี่ยนแปลงต่างกันไปได้ตามถิ่นฐาน

และกาลสมัย

แต่ก็มีหลักกลางสำหรับวัดความเป็นสัมมาทิฏฐิ คือคามสอดคล้องกับหลักกรรมหรือกฎแห่งกรรม

เพราะหลักกรรมเป็นกฎธรรมดา หรือ หลักความจริงที่รองรับความเป็นไปแห่งพฤติกรรมทั้งหมดของมนุษย์

โดยนัยนี้ โลกียสัมมาทิฏฐิ จึงมีกฎธรรมชาติรองรับอยู่หรือสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติ

และด้วยเหตุนี้

บางครั้ง ท่านจึงจำกัดความหมายของโลกียสัมมาทิฏฐิโดยระบุลงไปว่า ได้แก่ กัมมัสสกตาญาณ*

(* เช่น อภิ.วิ.35/822/443)คือ ความรู้ว่าคนมีกรรมเป็นของตน หรือรู้ว่าชีวิตเป็นไปตามกฎแห่งกรรม

หรือ พูดอีกอย่างหนึ่งคือรู้ หรือเชื่อว่า พฤติกรรมและผลสืบเนื่องจากพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์เป็นไป

ตามกฎธรรมดา ของความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย



โลกียสัมมาทิฏฐินี้ จึงส่องถึงค่านิยมพื้นฐาน เช่น ความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ความใฝ่ผลสำเร็จ

ที่เกิดจากการกระทำ หรือความเพียรพยายาม ความสามารถและสติปัญญาของตนเอง

ความรู้จักพึ่งตนเอง และการช่วยเหลือกันด้วยเรี่ยวแรงกำลังของมนุษย์เองเป็นต้น

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

พึงสังเกตด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับกรรมในระดับนี้ เป็นเพียงความเชื่อที่สอดคล้องกับกฎแห่งกรรม

หรือรู้ว่ามนุษย์จะเป็นไปตามกฎแห่งกรรมนั้นเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการรู้เข้าใจตัวกฎ หรือหยั่งรู้ถึงความเป็นไป

ตามเหตุปัจจัยนั้นโดยตรง

ทั้งนี้เพราะความรู้เข้าใจที่หยั่งถึงตัวกฎหรือเหตุปัจจัยนั้นโดยตรง ย่อมจัดเข้าในจำพวกโลกุตรสัมมาทิฏฐิ

ซึ่งเป็นข้อต่อไป

นอกจากนั้นอาจวัดความเป็นโลกียสัมมาทิฏฐิ ด้วยวิธีพูดอย่างอื่นอีก เช่นว่า ได้แก่ ทิฏฐิชนิดที่เกื้อกูล

เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคม หรือว่าได้แก่ทิฏฐิชนิดที่ทำให้ก้าวหน้าไปในมรรคได้คือ

ส่งผลแก่องค์มรรคข้ออื่นๆได้ ตั้งแต่ช่วยให้เกิดสัมมาสังกัปปะ เป็นต้น

และในเมื่อเป็นความรู้ความเข้าใจที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ โลกียสัมมาทิฏฐินี้

จึงอาจเชื่อมต่อให้ก้าวไปยังโลกุตรสัมมาทิฏฐิได้ด้วย

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

* พึงอ้าง “สทฺธามูลิกา จ สัมมาทิฏฺฐิ” เป็นสัมมาทิกฐิ ที่มีศรัทธาเป็นมูล

ใน ที.อ.1/285 ม.อ.1/182 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. โลกุตรสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับโลกุตระ คือเหนือโลก ไม่ขึ้นต่อโลก

ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก และชีวิตถูกต้องตามความเป็นจริง

หรือรู้เข้าใจตามสภาวะของธรรมชาติ

พูดง่ายๆ ว่ารู้เข้าใจธรรมชาตินั่นเอง



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


สัมมาทิฏฐิประเภทนี้ เกิดจากโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล

ปรโตโฆสะที่ดี หรือกัลยาณมิตร อาจช่วยได้เพียงด้วยการกระตุ้นให้บุคคลนั้นใช้โยนิโสมนสิการ

แล้วรู้เข้าใจเอง


หมายความว่า สัมมาทิฏฐิประเภทนี้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้เพียงด้วยการรับฟัง แล้วเชื่อตามคนอื่นด้วย

ศรัทธา เพราะต้องเป็นการรู้จักที่ตัวสภาวะเอง ต้องเอาธรรมชาตินั่นเองเป็นข้อพิจารณาโดยตรง


และด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีลักษณะเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อยึดถือที่ปรุงแต่งหรือบัญญัติวางซ้อนเพิ่มขึ้นมา

ต่างหากจากธรรมดาของธรรมชาติ และจึงเป็นอิสระจากการหล่อหลอมของสังคม

ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการเกี่ยวข้องกับธรรมเองแท้ๆ ซึ่งมีสภาวะ

และธรรมดาเสมอเหมือนกันทุกถิ่นฐานทุกกาลสมัย



โดยนัยนี้ สัมมาทิฏฐิประเภทนี้ จึงมีลักษณะเป็นโลกุตระ คือไม่ขึ้นต่อกาล ไม่จำกัดกาล เป็นความรู้

ความเข้าใจเดียวกัน จำเป็นสำหรับปรีชาญาณ และความหลุดพ้นในทุกถิ่นทุกกาลเสมอเหมือนกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ ตามความหมายอย่างที่ ๒ นี้

ที่ท่านจัดเป็นโลกุตระนั้น หมายเอาเฉพาะที่เป็นความรู้ ความเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง

ถึงขั้นเป็นมรรคเป็นผลทำให้เป็นอริยบุคคลเท่านั้น

แต่กระนั้น ก็ตามสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นมรรคเป็นผลนั้น ก็สืบเนื่องไปจากสัมมาทิฏฐิแบบเดียวกันที่เป็นของ

ปุถุชนนั่นเอง

ดังนั้น จึงขอเรียกสัมมาทิฏฐิตามความหมายอย่างที่ ๒ นี้ขั้นที่เป็นของปุถุชนว่า สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระ*



พึงเห็นความสำคัญของสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตระ หรือ แนวโลกุตระนี้ว่า เป็นธรรมที่มีผลลึกซึ้งกว่า

โลกียสัมมาทิฏฐิมาก

สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพอย่างที่เรียกว่าถอนรากถอนโคน

สัมมาทิฏฐิระดับนี้เท่านั้น จึงกำจัดกิเลสได้ มิใช่เพียงกด ข่ม หรือทับไว้

และทำให้เกิดความมั่นคงในคุณธรรมอย่างแท้จริง ไม่แกว่งไกวโอนไปตามค่านิยมที่สังคมหล่อหลอม

เพราะมองเห็นความจริงผ่านทะลุเลยระดับสังคมไปถึงสภาวธรรมที่อยู่เบื้องหลังแล้ว

จึงไม่เต้นส่ายไปกับภาพปรุงแต่งในระดับสังคม


ความที่ว่านี้ มีความหมายสำคัญในแง่ของการศึกษาด้วย เพราะจะเป็นข้อพิจารณาเกี่ยวกับพัฒนาการ

ของบุคคลว่า ควรจะสัมพันธ์กับสังคมและธรรมชาติอย่างไร

ควรได้รับอิทธิพล หรือ ได้รับประโยชน์จากสังคมและธรรมชาตินั้นแค่ไหนเพียงไร


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

* เรียกตามอรรถถาว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ

เรียกตามบาลีเดิมว่า สัจจานุโลมิกญาณ

(ในชั้นอรรถกถา ท่านใช้สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ๙ โดยเฉพาะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 10:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ดังที่ทราบอยู่แล้วว่า สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระเกิดจากโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ จึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งควรย้ำไว้อีกครั้งหนึ่งว่า

ตามปกติ พฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนจะเป็นไปตามอำนาจของค่านิยม ที่เกิดจากการหล่อหลอมทางสังคม

เช่น ละเว้นการกระทำไม่ดีอย่างนั้น และกระทำการที่ดีอย่างนี้ ตามคำอบรมสั่งสอนบอกเล่าถ่ายทอด

เล่าเรียนหรือจดจำแบบอย่างมา

ถ้าเมื่อใด ปุถุชนไม่ตกอยู่ในอำนาจของค่านิยมเช่นนั้น เขาก็จะตกเป็นทาสของตัณหา ที่เรียกกัน

ในสมัยใหม่ว่า อารมณ์ของตนเอง *

แต่โยนิโสมนสิการ ช่วยให้หลุดพ้นได้ทั้งจากอิทธิพลของค่านิยมทางสังคม และจากความเป็นทาส

แห่งตัณหาหรืออารมณ์กิเลสของตนเอง ทำให้มีพฤติกรรมอิสระที่เป็นไปด้วยปัญญา



จึงอาจพูดสรุปได้ว่า ปุถุชนจะคิดจะทำการใดๆก็ตาม หากขาดโยนิโสมนสิการเสียแล้ว

ถ้าไม่ตกอยู่ในอำนาจของค่านิยมจากภายนอก ก็ย่อมตกเป็นทาสแห่งตัณหาของตนเอง

เมื่อใด มีโลกุตรสัมมาทิฏฐิ

เมื่อนั้น เขาก็จะหลุดพ้นจากอำนาจปรุงแต่งของสังคมได้อย่างแท้จริง

เมื่อใด ทิฐิกลายเป็นสัมมาทิฏฐิ

เมื่อนั้น ก็จัดเป็นปัญญาหรือไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา *(* ขุ.ม.29/49/51 ฯลฯ)

แม้ว่าในขั้นแรกเริ่มสัมมาทิฏฐินั้นจะยังเป็นเพียงความเห็นหรือความเชื่ออยู่

ทั้งนี้ เพราะความเห็นหรือความเชื่อนั้น สอดคล้องกับความเป็นจริง มีความเข้าใจตามสภาวะหรือตามเหตุปัจจัย

เป็นที่อ้างอิง เริ่มเดินหน้าออกจากอำนาจครอบงำของอวิชชาและตัณหา

ต่อจากนั้นไป แม้ว่าความเห็นหรือความเชื่อนั้นจะกลายเป็นความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง

ที่เรียกว่าญาณแล้ว

ก็ยังคงเรียกด้วยชื่อเดิมว่า สัมมาทิฏฐิได้เรื่อยไป เพื่อสะดวกในการมองเห็นความเจริญเติบโต

หรืองอกงามที่ต่อเนื่องกัน


โดยนัยนี้ สัมมาทิฏฐิจึงมีความหมายกว้างขวาง คลุมตั้งแต่ความเห็นและความเชื่อถือที่ถูกต้องไปจนถึงความรู้

ความเข้าใจตามสภาวะที่เป็นจริง

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

* ความจริงทั้งค่านิยมที่ผิดและอารมณ์ (emotion) ล้วนเนื่องด้วยตัณหาทั้งสองอย่าง

แต่ต่างกันที่ว่าอย่างแรกเป็นตัณหาซึ่งปรุงแปลง หรือ แต่งตัวแล้ว อย่างหลังเป็นตัณหาสด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 มี.ค. 2011, 19:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2009, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคในฐานะข้อปฏิบัติหรือทางชีวิตทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์


“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทา ไม่ว่าของบรรพชิต หรือของคฤหัสถ์

บรรพชิตก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม ปฏิบัติผิดแล้ว เพราะการปฏิบัติผิดนั้นเป็นเหตุ

ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ ก็มิจฉาปฏิปทาคืออะไร คือ มิจฉาทิฐิ มิจฉาสังกัปปะ

มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ


“เราย่อมสรรเสริญสัมมาปฏิปทา ไม่ว่าของบรรพชิตหรือของคฤหัสถ์

คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติชอบแล้ว เพราะการปฏิบัติชอบนั้นเป็นเหตุ

ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จได้ ก็สัมมาปฏิปทาคืออะไร คือสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”

(สํ.ม.19/68/23)

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

ญายธรรมอันเป็นกุศล จะแปลว่า กุศลธรรมที่เป็นทางรอดก็ได้

ญายะหรือญายธรรม หมายถึงโลกุตรมรรค, สัจธรรม, หรือนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพือให้เข้าใจธรรมกว้างขึ้น พึงศึกษาสัมมทิฐิระดับพื้นฐานลิงค์นี้ด้วย


viewtopic.php?f=2&t=26943

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร