วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 20:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2010, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Walaiporn เขียน

เออหนอ !!!!!
จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก จะว่าอะไรก็ว่าตามนั้น
ทุกอย่างล้วนมีเหตุมาก่อน ผลจึงเป็นเช่นนั้น

ใครเห็นอย่างไร ควรเสนอไปเช่นนั้น
เราไม่เบียดเบียนท่าน ท่านย่อมไม่เบียดเบียนเรา

ส่วนคนอ่าน อ่านแล้วจะเชื่อใครคนไหนนั้น ทุกอย่างล้วนมีเหตุกับผลมารับรอง
ใครเคยสร้างเหตุร่วมกัน ย่อมเชื่อกัน ใครไม่เคยสร้างเหตุร่วมกัน ย่อมไม่เชื่อกัน

แล้วจะถกกันไปใย ถกไปเพื่อใคร มีแต่เป็นการสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น
ถูกผิด ล้วนเป็นเพียงความคิดของแต่ละคน

เราชื่นชมนะ ทุกคนล้วนมีดี เป็นผู้ใฝ่ศึกษา
มีข้ออรรถข้อธรรม มาแบ่งปันกันมากมาย


วิธีไม่ให้เกิดวิวาทะ

จงอย่าเอ่ยถึงอีกฝ่ายหนึ่งหรือฝ่ายใด
แต่จงแสดงในสิ่งที่ตนต้องการจะแสดง


เมื่ออ่านข้อความของคนๆนั้นแล้ว ไม่เห็นด้วย
ก็จงอย่าไปว่าเขา อย่าไปคิดตำหนิติติงเขา


แต่จงนำข้อความที่คิดว่าถูกสำหรับตัวเองนั้นมาแสดง
โดยไม่ต้องไปพาดพิงหรืออ้างอิงถึงใครๆ


อนัตตาธรรมเขียน

วันนี้ได้โอกาสที่จะขอบพระคุณคุณวลัยพร กับข้อชี้แนะอันทรงคุณค่าที่อ้างอิงมา ข้างบนนี้
ผมน้อมรับด้วยความเต็มใจ ขอบพระคุณ และ อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งครับ


การมาแสดงความคิดเห็น และสนทนาธรรมในลานธรรมจักรนี้ หรือเวบธรรมมะอื่นๆก็ตาม ก็มักจะมีเหตุการณ์อย่างที่คุณวลัยพร สังเกตเห็นและให้ข้อชี้แนะไว้

ใหม่ๆ ผมก็อดตอบโต้ไม่ได้ เพราะบนลานแสดงความคิดเห็น ไม่น่าจะมีใครมาคอยเป็นเชคเกอร์ คอยชี้ว่าคนนั้นผิด คนนี้ ถูก อย่างจะแจ้งแดงแจ๋ น่าจะเป็นการแสดงเหตุ แสดงผล ให้พิจารณากันดีกว่า

ถูก-ผิด นั้นควรจะปล่อยให่้เป็นวินิจฉัยของผู้อ่านแต่ละท่าน จะใช้วิจรณาญาณ และหลักการทางพุทธศาสนาที่ถูกต้องมาตัดสินใจกันเอาเอง อย่างนี้น่าจะเกิดความสงบ ไม่มีวิวาทะในความเห็นกันรุนแรง

ธรรมทัศนะเป็น ของดี เป็นทางเลือก ประกอบการวินิจฉัย ตัดสินใจ ของผู้ศึกษาแต่ละท่าน แต่ละคน

ไม่มีใคร ผิด ไปเสียหมด และก็ไม่มีใคร ถูกต้องไปเสียหมด พึงค้นหาแต่สิ่งดีๆ คุณงามความดี แง่ดี ให้ได้จากทุกสิ่ง แม้สิ่งนั้นคนทั้งโลกจะเห็นว่า ร้ายทีี่สุด นี่คือการปฏิบัติตามโอวาทปาติโมกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่า
ละชั่ว (ความไม่ดี ทั้งปวง)

ทำแต่ดี (คิด ค้นหา พูด เขียน ทำ แต่สิ่งที่ดีๆ)

ชำระจิตของตนให้ขาวรอบ (ด้วยสมถะและวิปัสสนาภาวนา)

ความเศร้าหมองและปฏิฆะ จะไม่บังเกิดขึ้นเลยกับผู้ประพฤติได้เช่นนี้

สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2010, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่า

ละชั่ว (ความไม่ดี ทั้งปวง)

ทำแต่ดี (คิด ค้นหา พูด เขียน ทำ แต่สิ่งที่ดีๆ)

ชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ( ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 )

ความเศร้าหมองและปฏิฆะ จะไม่บังเกิดขึ้นเลยกับผู้ประพฤติได้เช่นนี้




ขออนุญาติเปลี่ยนข้อความนะคะ เป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4
ถ้าบอกว่า จากสมถะและวิปัสสนา เดี๋ยวถกกันไม่เลิก
เพราะการเจริญสติปัฏฐาน 4 จะครอบคลุมหมด ใครๆก็นำมาโต้แย้งไม่ได้

อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 19 ม.ค. 2010, 21:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue
อ้างคำพูด:
Walaiporn เขียน

พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่า

ละชั่ว (ความไม่ดี ทั้งปวง)

ทำแต่ดี (คิด ค้นหา พูด เขียน ทำ แต่สิ่งที่ดีๆ)

ชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ( ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 )

ความเศร้าหมองและปฏิฆะ จะไม่บังเกิดขึ้นเลยกับผู้ประพฤติได้เช่นนี้

ขออนุญาติเปลี่ยนข้อความนะคะ เป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4
ถ้าบอกว่า จากสมถะและวิปัสสนา เดี๋ยวถกกันไม่เลิก
เพราะการเจริญสติปัฏฐาน 4 จะครอบคลุมหมด ใครๆก็นำมาโต้แย้งไม่ได้

อนุโมทนา สาธุค่ะ

อนัตตาธรรมเขียน

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับในเมตตาของคุณ Walaiporn

ไหนๆ จะเปลี่ยนแล้ว เอาให้สมบูรณ์เลยว่า

ชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ( ด้วยการเจริญมรรค มีองค์ 8)

ดีไหมครับ จะได้เกิดสมดุลย์ของการทำงานร่วมกัน ของ ปัญญา ศีล สติ สมาธิ นะครับ
(กลัวผู้คนจะไปเน้นสติเกินพอดีครับ)

:b8: :b8: :b8: :b27: :b16: :b12:
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับในเมตตาของคุณ Walaiporn

ไหนๆ จะเปลี่ยนแล้ว เอาให้สมบูรณ์เลยว่า

ชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ( ด้วยการเจริญมรรค มีองค์ 8)

ดีไหมครับ จะได้เกิดสมดุลย์ของการทำงานร่วมกัน ของ ปัญญา ศีล สติ สมาธิ นะครับ
(กลัวผู้คนจะไปเน้นสติเกินพอดีครับ)
:b8: :b8: :b8: :b27: :b16: :b12:
smiley




[color=#0000FF]
แลกเปลี่ยนมุมมองกันนะคะ :b12:

แล้ว มรรค มีองค์ 8 นี่ เกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะคะ ถ้าไม่มาเจริญสติปัฏฐาน
เหมือนกับคำว่า โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ ก็ล้วนเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน
คำบัญญัติทุกคำ อาจจะเรียกแตกต่างกันไป แต่นั่นคือ สติปัฏฐาน 4 นะคะ


อนัตตาธรรม เขียน:
(กลัวผู้คนจะไปเน้นสติเกินพอดีครับ)[/color]
:b8: :b8: :b8: :b27: :b16: :b12:
smiley



สติยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีไม่ใช่หรือคะ?
อย่าลืมว่า สติ จะมี สัมปชัญญะ ที่เป็นตัวปัญญาอยู่ด้วยนะคะ
ถ้าคิดว่าสติยิ่งมาก ยิ่งไม่ดี ช่วยกรุณานำคำกล่าวนั้นมาให้อ่านจะได้ไหมคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 ม.ค. 2010, 18:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




8.jpg
8.jpg [ 114.94 KiB | เปิดดู 4072 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
Walaiporn เขียน

แลกเปลี่ยนมุมมองกันนะคะ

แล้ว มรรค มีองค์ 8 นี่ เกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะคะ ถ้าไม่มาเจริญสติปัฏฐาน
เหมือนกับคำว่า โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ ก็ล้วนเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน
คำบัญญัติทุกคำ อาจจะเรียกแตกต่างกันไป แต่นั่นคือ สติปัฏฐาน 4 นะคะ

อนัตตาธรรม เขียน:
(กลัวผู้คนจะไปเน้นสติเกินพอดีครับ)

สติยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีไม่ใช่หรือคะ?
อย่าลืมว่า สติ จะมี สัมปชัญญะ ที่เป็นตัวปัญญาอยู่ด้วยนะคะ
ถ้าคิดว่าสติยิ่งมาก ยิ่งไม่ดี ช่วยกรุณานำคำกล่าวนั้นมาให้อ่านจะได้ไหมคะ?


อนัตตาธรรม เขียน

ดีแล้วครับที่แลกเปลี่ยนธรรมทัศนะกันด้วยเมตตา


คุณWalaiporn เคยศึกษา ปฐมเทศนาไหมครับ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรนะครับ
วันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม พระองค์ได้ทรงแสดง Scope หรือขอบเขตแห่งธรรมที่พระองค์ค้นพบโดยทรงเริ่มต้นด้วยการเตือนปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ว่า

ทางสุดโต่ง 2 ทาง คือ การประกอบการทรมาณตน กับการปล่อยตามใจตน เธอไม่พึงกระทำ (2 เรื่องนี้ก็มีรายละเอียดที่ต้องวิเคราะห์ ตีความให้ถูกต้อง ลึกซึ้งมาก)

เธอพึงเดินตามทางสายกลาง คือมรรค มีองค์ 8 จากนั้นพระองค์ก็ทรงแสดงเรื่องอริยสัจ 4 และผลการพิสูจน์อริยสัจ 4 ของพระองค์ อันประกอบด้วยปริวัต 3 และมีอาการ 12


ในสวดมนต์แปลเรื่องมรรคมีองค์ 8 นั้น ได้กล่าวถึงรายละเอียดของมรรคแต่ละมรรคไว้ดีแล้ว แต่มีครูบาอาจารย์ที่ท่านมีเมตตาได้กรุณา ช่วยอธิบายขยายความว่า

มรรค 8 ข้อแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ

ก.ปัญญามรรค มี 2 ข้อได้แก่ สัมมาทิฐิ กับสัมมาสังกัปปะ

ข.ศีลมรรค มี 3 ข้อ ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

ค.สมาธิมรรค มี 3 ข้อ ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

สติปัฏฐาน 4 ที่คุณ ณWalaiporn กล่าวเน้นนั้น เป็นตัว มรรคข้อที่ 7 สัมมาสติ

ถ้าเรามาเน้นหนักเฉพาะข้อที่ 7 แล้วมรรคอีก 6 ข้อ เอาไปไว้ที่ไหน การเดินมรรคของเราจะไม่สมดุลย์ อาจทำให้หลงทางได้ง่ายนะครับ


ลองทำใจให้กว้างๆ กลางๆ สร้างมุมมองใหม่ที่ดียิ่งขึ้น จะได้ความสมบูรณ์ ดุลยภาพแห่งการเจริญธรรมนะครับ

ลองไปดูภาพมรรค 8 ที่ท่านอโศกะยกมาประกอบน่าจะทำให้เข้าใจวิธีเจริญมรรค 8 และความสำคัญของมรรคทั้ง 8 ข้อ มากขึ้นนะครับ

สุดท้าย พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองไว้ชัดเจนว่า

"สัมมาวิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ" ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสัมมา (คือมรรคทั้ง 8 ข้อ)อยู่ ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์


อีกคำหนึ่งครูบาอาจารย์กล่าวไว้ว่า

"ปัญญา อบรม สติ สมาธิ สมาธิ อบรมสติ ปัญญา"

" สติ เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ ถ้ามากเกินพอดี จะทำให้ปัญญาไม่มีโอกาสได้ทำงาน เพราะ สติจะตัดอารมณ์ ไม่ทันได้สังเกต พิจารณาอารมณ์ แล้วหลบเข้าไปในสมาธิที่ลึกเกินไป วิปัสสนาภาวนาจึงไม่เจริญ"

"ปัญญา ถ้ามากเกินหน้าสติ สมาธิ ก็จะทำให้ ฟุ้งซ่าน จิตไม่ตั้งมั่น"

"สมาธิยิ่ง ปัญญาหย่อน ปัญญายิ่ง สมาธิหย่อน"

ลองลงมือปฏิบัติจริงๆ แล้วสังเกตดูดีๆนะครับ


"สติ สมาธิ ปัญญา ล้วนเป็นเหตุ ปัจจัย ซึ่งกันและกัน อิงอาศัยกันเจริญไป" วันหลังจะเขียนเป็นรูปมาให้ดูครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:

อีกคำหนึ่งครูบอาจารย์กล่าวไว้ว่าา

"ปัญญา อบรม สติ สมาธิ สมาธิ อบรมสติ ปัญญา"

" สติ เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ ถ้ามากเกินพอดี จะทำให้ปัญญาไม่มีโอกาสได้ทำงาน เพราะ สติจะตัดอารมณ์ ไม่ทันได้สังเกต พิจารณาอารมณ์ แล้วหลบเข้าไปในสมาธิที่ลึกเกินไป วิปัสสนาภาวนาจึงไม่เจริญ"

"ปัญญา ถ้ามากเกินหน้าสติ สมาธิ ก็จะทำให้ ฟุ้งซ่าน จิตไม่ตั้งมั่น"

"สมาธิยิ่ง ปัญญาหย่อน ปัญญายิ่ง สมาธิหย่อน"

ลองลงมือปฏิบัติจริงๆ แล้วสังเกตดูดีๆนะครับ


"สติ สมาธิ ปัญญา ล้วนเป็นเหตุ ปัจจัย ซึ่งกันและกัน อิงอาศัยกันเจริญไป" วันหลังจะเขียนเป็นรูปมาให้ดูครับ





คำกล่าวนี้ ไม่เคยได้ยินค่ะ " ปัญญา อบรม สติ สมาธิ สมาธิ อบรมสติ ปัญญา"
เคยได้ยินแต่ " ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา "


คำกล่าวของครูบาฯ ตรงนี้ต้องขออภัยนะคะ :b8:
ไม่ใช่ว่าน้ำไม่เชื่อครูบาฯ เพียงแต่จะบอกว่า ครูบาฯและเราไม่มีความแตกต่างกันหรอกค่ะ
ท่านรู้แค่ไหน ท่านก็อธิบายได้แค่นั้น

การที่เราจะเชื่อในคำกล่าวนั้นๆได้ เราต้องเห็นด้วยตัวเองก่อนค่ะ เราถึงจะนำมากล่าวอ้างได้
เพราะเวลาคนถาม เราจะได้อธิบายสภาวะได้ถูก ว่าเหตุ ( การกระทำ )เป็นยังไง แล้วผลเป็นยังไง

อย่างเช่น คำกล่าวที่พี่นำมาอ้าง " สติ เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ ถ้ามากเกินพอดี จะทำให้ปัญญาไม่มีโอกาสได้ทำงาน เพราะ สติจะตัดอารมณ์ ไม่ทันได้สังเกต พิจารณาอารมณ์ แล้วหลบเข้าไปในสมาธิที่ลึกเกินไป วิปัสสนาภาวนาจึงไม่เจริญ"


ตรงนี้ไม่ใช่ว่า น้ำไปติติงครูบาฯว่า ท่านนำมากล่าวไม่ถูกนะคะ นั่นคือ สิ่งที่ท่านรู้
แล้วท่านนำมาบอกกล่าวเท่านั้นเอง

คนที่สมถะแน่น ย่อมผ่านฌานที่ 4 จนถึง ฌานที่ 8 ได้
การจะผ่านฌานแต่ละฌานได้ ต้องมี สติ สัมปชัญญะเป็นองค์ประกอบ
คำว่า " สมาธิ ที่ลึกเกินไป " นั่นคงจะหมายถึง อัปนาสมาธิ
และหมายถึงผู้ที่ได้ฌานในระดับต่างๆ แต่เป็นฌานแบบฤาษี ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
ฌานแบบฤาษี น้ำยกมาให้อ่านนะคะ

ฌานที่ 1 มีความตรึกต่ออารมณ์ ลมหายใจปรากฏชัด มีปีติ และสุข
ฌานที่ 2 ละความตรึกต่ออารมณ์ได้ ลมหายใจปรากฏชัด มีปีติ และสุขมากขึ้น
สำหรับสองข้อนี้ จะเกิดขึ้นได้ กับการทำสมาธิทั่วๆไป
คือ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ เพียงแต่โยคีอาจจะไม่รู้ว่ามีคำเรียก

ฌานที่ 3 ลมหายใจแผ่วเบา มีความสุขมาก ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด
ฌานที่ 4 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด
ฌานที่ 5 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัดอารมณ์ละเอียดอ่อนกว่ารูปฌาน
ฌานที่ 6 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด...
ฌานที่ 7 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด...
ฌานที่ 8 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด อารมณ์ละเอียดอ่อนที่สุด


มันจะมีความแตกต่างโดยสภาวะนะคะ ฌานแบบฤาษี กับ สัมมาสมาธิ ( จุตตถฌาน )
ตรงนี้ น้ำขอถามพี่นะคะ สัมมาสมาธิหรือจตุตถฌานนั้น สภาวะเป็นยังไงคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 22 ม.ค. 2010, 18:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโศกทั้งหลาย

ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท

เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่

สงบระงับแล้วมีสติในการทุกเมื่อ





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
Walaiporn (คุณน้ำ) เขียน

คำกล่าวนี้ ไม่เคยได้ยินค่ะ " ปัญญา อบรม สติ สมาธิ สมาธิ อบรมสติ ปัญญา"
เคยได้ยินแต่ " ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา "

คำกล่าวของครูบาฯ ตรงนี้ต้องขออภัยนะคะ
ไม่ใช่ว่าน้ำไม่เชื่อครูบาฯ เพียงแต่จะบอกว่า ครูบาฯและเราไม่มีความแตกต่างกันหรอกค่ะ
ท่านรู้แค่ไหน ท่านก็อธิบายได้แค่นั้น

การที่เราจะเชื่อในคำกล่าวนั้นๆได้ เราต้องเห็นด้วยตัวเองก่อนค่ะ เราถึงจะนำมากล่าวอ้างได้
เพราะเวลาคนถาม เราจะได้อธิบายสภาวะได้ถูก ว่าเหตุ ( การกระทำ )เป็นยังไง แล้วผลเป็นยังไง

อย่าง เช่น คำกล่าวที่พี่นำมาอ้าง " สติ เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ ถ้ามากเกินพอดี จะทำให้ปัญญาไม่มีโอกาสได้ทำงาน เพราะ สติจะตัดอารมณ์ ไม่ทันได้สังเกต พิจารณาอารมณ์ แล้วหลบเข้าไปในสมาธิที่ลึกเกินไป วิปัสสนาภาวนาจึงไม่เจริญ"


ตรงนี้ไม่ใช่ว่า น้ำไปติติงครูบาฯว่า ท่านนำมากล่าวไม่ถูกนะคะ นั่นคือ สิ่งที่ท่านรู้
แล้วท่านนำมาบอกกล่าวเท่านั้นเอง

คนที่สมถะแน่น ย่อมผ่านฌานที่ 4 จนถึง ฌานที่ 8 ได้
การจะผ่านฌานแต่ละฌานได้ ต้องมี สติ สัมปชัญญะเป็นองค์ประกอบ
คำว่า " สมาธิ ที่ลึกเกินไป " นั่นคงจะหมายถึง อัปนาสมาธิ
และหมายถึงผู้ที่ได้ฌานในระดับต่างๆ แต่เป็นฌานแบบฤาษี ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
ฌานแบบฤาษี น้ำยกมาให้อ่านนะคะ

ฌานที่ 1 มีความตรึกต่ออารมณ์ ลมหายใจปรากฏชัด มีปีติ และสุข
ฌานที่ 2 ละความตรึกต่ออารมณ์ได้ ลมหายใจปรากฏชัด มีปีติ และสุขมากขึ้น
สำหรับสองข้อนี้ จะเกิดขึ้นได้ กับการทำสมาธิทั่วๆไป
คือ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ เพียงแต่โยคีอาจจะไม่รู้ว่ามีคำเรียก

ฌานที่ 3 ลมหายใจแผ่วเบา มีความสุขมาก ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด
ฌานที่ 4 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด
ฌานที่ 5 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัดอารมณ์ละเอียดอ่อนกว่ารูปฌาน
ฌานที่ 6 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด...
ฌานที่ 7 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด...
ฌานที่ 8 ลมหายใจหยุด ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด อารมณ์ละเอียดอ่อนที่สุด


มันจะมีความแตกต่างโดยสภาวะนะคะ ฌานแบบฤาษี กับ สัมมาสมาธิ ( จุตตถฌาน )
ตรงนี้


น้ำขอถามพี่นะคะ สัมมาสมาธิหรือจตุตถฌานนั้น สภาวะเป็นยังไงคะ?

อนัตตาธรรม เขียน

น้องน้ำก็รู้มาถูกต้องเกือบทั้งหมดแล้วนี้ (สภาวะของฌาณ 5 - 8 ต้องแยกคุยกันใหม่อีกทีนะครับ) และพูดสภาวะตามธรรมชาติที่สัมผัสรู้ด้วยตนเองจริงๆด้วย ดีจัง อนุโมทนาด้วย

การใช้บัญญัติคือคำพูดหรือ ตัวหนังสือเขียนนั้น อธิบายธรรมได้ยาก เพราะอาจผิดเพี้ยนกันตรงศัพท์บัญญัติที่ใช้

แต่เมื่อมีประสบการณ์จริงแล้ว ธรรมมะ หรือ ปรมัตถธรรมเป็นอันเดียวกันคือต้องสัมผัสรู้ที่ใจ


สิ่งที่แปลกหูแปลกตาสำหรับน้องน้ำก็คือท่อนนี้
" ปัญญา อบรม (สติ) สมาธิ สมาธิ อบรม (สติ) ปัญญา"
เคยได้ยินแต่ " ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา "

ศัพท์บัญญัติอย่างนี้ไม่เคยได้ยิน ใช่ แต่ลองได้ยินสิ่งที่ไม่เคยชินดูบ้าง แล้วพิสูจน์ธรรมด้วยการปฏิบัติจริงดู

โดยปรมัตถ์ ความจริง น้องน้ำลองพิจารณาดูซิว่า สติ จะถูกอบรมไปด้วยไหม ถ้าปัญญามีความละเอียดถูกต้องมากยิ่งขึ้น

คำถามว่า สัมมาสมาธิหรือจตุตถฌานนั้น สภาวะเป็นยังไง

ในคำถาม มีบาลีอยู่ 4 คำคือ สัมมา สมาธิ จตุถฌาณ กับ สภาวะ

สัมมาสมาธิ = สัมมา = ชอบ ถูกต้อง ดีงาม สมาธิ = ความตั้งมั่นของจิต
แปลความหมายโดยรวมให้เข้าใจง่ายว่า ความตั้งมั่นของจิต ที่ ชอบ ถูกต้อง ดีงาม

สัมมาสมาธิ ตามคำอธิบายในมรรค 8 แปล ท่านหมายถึง ฌาณที่ 1 ถึง ฌาณที่ 4 องค์ธรรมที่บอกระดับของฌาณ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา อุเบกขา (อทุกขมสุขเวทนา)

ฌาณ 4 ตามตำราบอกว่าเหลือแต่ เอกัคตากับอุเบกขา สภาวะคือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับกรรมฐานที่ยึด หรือ รู้ อยู่เฉยๆ ลมหายใจละเอียดมากจนดูเหมือนไม่มี ถ้าจะให้หยุดลมหายใจจริงๆ ต้องลงไปอธิษฐานดับที่ฌาณ 1 แล้ว กลับขึ้นสู่ฌาณ 4 ถ้าความสงบและอินทรีย์สมำ่เสมอดี จิตจะเข้าสู่ อัปนาฌาณ (อะ ปาณะ = ไม่มีลมหายใจ) ดับลมหายใจและความรู้สึกทั้งหมด แข็งทื่ออยู่เหมือนคนตาย หรือถ้าชำนาญมากแล้ว ก็ดับลมหายใจ รู้อยู่เฉยๆ

อาการที่สังเกตได้ของคนถึงฌาณ 4 คือ ร่างกายเหมือนถูกตรึงไว้กับที่ นิ่งสนิทเป็นหนึ่งเดียว เหมือนอยู่ในสุ่มไก่ครอบไว้ หยุดปฏิกิริยาทุกอย่างไว้ชั่้วคราว

การเข้าออก ๆ จากฌาณ 1 - 4 นั้นเป็นการเตรียมความพร้อมของสมาธิให้เป็นสัมมา แต่สมาธิ จะเป็นสัมมาจริงๆ เต็มที่เมื่อนำมาสนับสนุนสติ ปัญญาให้เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาสภาวธรรมที่เิกิดขึ้นใน รูป - นาม กาย - ใจได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ได้เป็นเวลานานๆ จนเห็นและเข้าใจซึ้งถึงความจริง ตลอดกระบวนการ ของธรรมชาติว่ามีแต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


เรื่องสติมีกำลังมากเกิน ให้ลองสังเกต ได้หลายอย่าง เช่น ตอนที่มีความเจ็บขาเกิดขึ้นเพราะนั่งนาน
ถ้าเราบริกรรมว่า เจ็บหนอ ๆ ๆ ไปนานๆ สติเกาะติดอยู่กับคำบริกรรมว่า เจ็บหนอ ๆ ๆ จนลืมความเจ็บไป เจ็บหาย

ถ้าจะเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนา เมื่อความเจ็บเกิดขึ้น ไม่ตัดเจ็บด้วยสติและคำบริกรรม ให้มีสติรู้ทันความเจ็บ ปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาความเจ็บ จะได้เห็น เวทนา ความรู้สึกไม่พอใจความเจ็บเกิดขึ้น สติรู้ทัน ปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาความไม่พอใจหรือความยินร้ายที่เกิดขึ้น ก็จะได้เห็น อัตตา ทีี่่มาดิ้นรนแก้ไขความเจ็บและความไม่พอใจ เกิดเป็น ตัณหา สั่งการให้ลุก เลิก ขยับ เปลี่ยนท่า ฯ ลฯ ถึงตรงนี้ ถ้าสติ ปัญญา ตบะ ขันติ ไม่ยอมทำตามอำนาจของอัตตาและตัณหา ที่สุดก็จะได้เห็นความจริงว่า อัตตา ตัวกู จริงๆนั้นไม่มี (อนัตตา) ก็จะเกิดการ วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง คือเอาออกเสียได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ด้วยปัญญาเห็นความจริง


น้องน้ำครับ เรากำลังจะจมลึกลงไปในเนื้อหา ถ้าเรียนรู้ปริยัติหรือบัญญัติมาไม่เหมือนกัน เดี๋ยวก็จะไหลไปลงล๊อคเก่า หรือหลุมดำแห่งการถกเถียงกันเรื่อง สมถะ กับ วิปัสสนา เรื่องฌาณ เรื่อง ญาณ ฯ ลฯ ดังที่น้องน้ำเคยติงๆไว้

ถอนตัวขึ้นมาอยู่ตรงกลางๆ แล้วคุยกันต่อไป น่าจะดีนะครับ เอาแค่ธรรมทัศนะก็พอ อย่าเอาผิด เอาถูก หาผิด หาถูก ในบัญญัติกันให้มากเกินเลยนะครับ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:

ฌาณ 4 ตามตำราบอกว่าเหลือแต่ เอกัคตากับอุเบกขา สภาวะคือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับกรรมฐานที่ยึด หรือ รู้ อยู่เฉยๆ ลมหายใจละเอียดมากจนดูเหมือนไม่มี ถ้าจะให้หยุดลมหายใจจริงๆ ต้องลงไปอธิษฐานดับที่ฌาณ 1 แล้ว กลับขึ้นสู่ฌาณ 4 ถ้าความสงบและอินทรีย์สมำ่เสมอดี จิตจะเข้าสู่ อัปนาฌาณ (อะ ปาณะ = ไม่มีลมหายใจ) ดับลมหายใจและความรู้สึกทั้งหมด แข็งทื่ออยู่เหมือนคนตาย หรือถ้าชำนาญมากแล้ว ก็ดับลมหายใจ รู้อยู่เฉยๆ

อาการที่สังเกตได้ของคนถึงฌาณ 4 คือ ร่างกายเหมือนถูกตรึงไว้กับที่ นิ่งสนิทเป็นหนึ่งเดียว เหมือนอยู่ในสุ่มไก่ครอบไว้ หยุดปฏิกิริยาทุกอย่างไว้ชั่้วคราว



ถอนตัวขึ้นมาอยู่ตรงกลางๆ แล้วคุยกันต่อไป น่าจะดีนะครับ เอาแค่ธรรมทัศนะก็พอ อย่าเอาผิด เอาถูก หาผิด หาถูก ในบัญญัติกันให้มากเกินเลยนะครับ สาธุ
[/color]



ไม่เป็นไรค่ะ cool
น้ำถามสภาวะ แต่พี่นำบัญญัติมาตอบ แถมบัญญัติก็เป็นฌานของฤาษี ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
ขอจบการสนทนาแค่นี้นะคะ ขอบคุณที่สนทนาด้วยค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
....


ชอบภาพที่ท่านเอามาลงจังเลยยยยย...
หมายถึง ภาพคน นะเจ้าคะ :b17: :b17: :b17:

การอธิบายก็ ok ค่ะ...ปวดหัว พอรับได้.. อิ อิ...

แต่ไม่ใช่ความบกพร่องของผู้อธิบาย...นะเจ้าคะ
เพราะขี้เกี้ยมพร่องในเรื่องความเข้าใจศัพท์ธรรมบางคำ
ขี้เกี้ยม...อ่อนภาษาธรรม...เจ้าค่ะ
แต่ท่านก็อธิบายขยายความ...ประกบตามให้... ขอบคุณ...เจ้าค่ะ

และก็ชอบบทความ block นี้ของท่านจัง

ถ้าจะเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนา เมื่อความเจ็บเกิดขึ้น ไม่ตัดเจ็บด้วยสติและคำบริกรรม ให้มีสติรู้ทันความเจ็บ ปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาความเจ็บ จะได้เห็น เวทนา ความรู้สึกไม่พอใจความเจ็บเกิดขึ้น สติรู้ทัน ปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาความไม่พอใจหรือความยินร้ายที่เกิดขึ้น ก็จะได้เห็น อัตตา ทีี่่มาดิ้นรนแก้ไขความเจ็บและความไม่พอใจ เกิดเป็น ตัณหา สั่งการให้ลุก เลิก ขยับ เปลี่ยนท่า ฯ ลฯ ถึงตรงนี้ ถ้าสติ ปัญญา ตบะ ขันติ ไม่ยอมทำตามอำนาจของอัตตาและตัณหา ที่สุดก็จะได้เห็นความจริงว่า อัตตา ตัวกู จริงๆนั้นไม่มี (อนัตตา) ก็จะเกิดการ วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง คือเอาออกเสียได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ด้วยปัญญาเห็นความจริง

ต้องขอโทษนะคะ
ถ้าคุณน้ำไม่สนทนากับท่านแล้ว แต่รบกวนท่านช่วยพร่ำต่อ ได้รึเปล่าเจ้าคะ
แต่แยกไปเปิดกระทู้ของท่าน จะดีกว่ามั๊ย...เจ้าคะ แบบเกรงใจท่านอโศกะ

เพราะ รู้สึกว่าสิ่งที่ท่านนำเสนอมันจะคุ้น ๆ
เข้าแก๊บกับสิ่งที่ตัวเองเคยเจอ ๆ มาชอบก๊ล ชอบกล
แต่ขี้เกี้ยมไม่ตั้งคำถามได้มั๊ย...เจ้าคะ...
เพราะสภาวะบางอย่างที่เคยผ่าน ๆ มาในขณะปฏิบัติ...
คือตอนที่ปฏิบัติ ขี้เกี้ยมก็ดุ่ย ๆ ทำไป ก็ไม่ได้ซักไม่ได้ถาม ไม่ได้พูดคุยกับใคร...
คือ... ก็สักแต่ว่า ทำ ๆ มันไป...หง่ะ...
มันก็เลยเหมือนผ่านมา และผ่านไป โดยที่ขี้เกี้ยมไม่รู้ว่ามันคืออะไร...
ขี้เกี้ยมใช้คำพูดกับสิ่งที่ตัวเองเจอไม่ถูก...อย่างเช่น

ฌาณ 4 ตามตำราบอกว่าเหลือแต่ เอกัคตากับอุเบกขา สภาวะคือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับกรรมฐานที่ยึด หรือ รู้ อยู่เฉยๆ ลมหายใจละเอียดมากจนดูเหมือนไม่มี ถ้าจะให้หยุดลมหายใจจริงๆ ต้องลงไปอธิษฐานดับที่ฌาณ 1 แล้ว กลับขึ้นสู่ฌาณ 4 ถ้าความสงบและอินทรีย์สมำ่เสมอดี จิตจะเข้าสู่ อัปนาฌาณ (อะ ปาณะ = ไม่มีลมหายใจ) ดับลมหายใจและความรู้สึกทั้งหมด แข็งทื่ออยู่เหมือนคนตาย หรือถ้าชำนาญมากแล้ว ก็ดับลมหายใจ รู้อยู่เฉยๆ

อาการที่สังเกตได้ของคนถึงฌาณ 4 คือ ร่างกายเหมือนถูกตรึงไว้กับที่ นิ่งสนิทเป็นหนึ่งเดียว เหมือนอยู่ในสุ่มไก่ครอบไว้ หยุดปฏิกิริยาทุกอย่างไว้ชั่้วคราว

การเข้าออก ๆ จากฌาณ 1 - 4 นั้นเป็นการเตรียมความพร้อมของสมาธิให้เป็นสัมมา แต่สมาธิ จะเป็นสัมมาจริงๆ เต็มที่เมื่อนำมาสนับสนุนสติ ปัญญาให้เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาสภาวธรรมที่เิกิดขึ้นใน รูป - นาม กาย - ใจได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ได้เป็นเวลานานๆ จนเห็นและเข้าใจซึ้งถึงความจริง ตลอดกระบวนการ ของธรรมชาติ


ในการปฏิบัติแบบสุ่มสี่สุ่มห้าของขี้เกี้ยม ก็เจอ และเข้าใจตามนั้น...
แต่อย่าถาม...เพราะมันเป็นไปเอง...เพราะขี้เกี้ยม...มั่ว ๆ มา... จิง จิง :b12:
และตอนปฏิบัติขี้เกี้ยมก็ไม่เคยต้องไปพูดเรื่องนี้กับใคร
มันเป็นความเข้าใจ...ลอยออกมาในสภาวะนั้น ๆ และเมื่อไม่ต้องพูดกับใคร
ขี้เกี้ยมก็ไม่เคยใส่ภาษาอะไรลงไป ก็คือปล่อยมันเป็นเช่นนั้น ๆ ไปตามเรื่องตามราว...

ยังไงท่านเล่าต่อได้รึเปล่าคะ เล่ายังไงก็ได้
ไปเปิดกระทู้เกี่ยวกับ ประสบการณ์สมาธิในแบบฉบับของท่านก็ได้...
ขี้เกี้ยมจะไปติดตาม...นะเจ้าคะ... :b9: :b9:
แบบอยากจะชำแหละ...ความเข้าใจของตัวเอง...หงะ...ค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 23 ม.ค. 2010, 21:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 03:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
รูป แปลกดีครับ :b16:


Onion_L
คงไม่แปลกอย่างเดียวหรอกครับ ผิดโดยสิ้นเชิงครับ



สวัสดี คุณเช่นนั้น (ตามชื่อ...คงหมายถึง "ตถตา" ใช่มั๊ยครับ) Onion_L

ของแนะนำตัว........เพิ่งเข้ามาลานธรรมจักรเมื่อวาน

คุณเช่นนั้น บอกว่าลำดับของปฏิจจสมุปบาท ผิดโดยสิ้นเชิง

ผมไม่ขอวิจารณ์ ลักษณะของการใช้คำพูดดีกว่า แต่

เป็นการพูดที่แสดงไม่เห็นว่า
ไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรม...แล้วคิดจะคุยเรื่องอภิธรรม

ผังปฏิจจสมุปบาท เป็นผังลำดับการ
เป็นเหตุเป็นผลของสภาวธรรมแต่ละอย่าง

คำพูดข้างต้นเป็นเพียง "วาทะ"

แล้วถ้าผังดังกล่าวผิด , ของทราบ "ที่ถูกหน่อยได้มั๊ยครับ

หมายเหตุ.-

ผมไม่ได้เห็นด้วยกับคุณอโศกะ ในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดทุกเรื่องนะครับ

เพียงแต่บอกว่าผังที่นำมาลงนั้น ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:
คำพูดข้างต้นเป็นเพียง "วาทะ"

แล้วถ้าผังดังกล่าวผิด , ของทราบ "ที่ถูกหน่อยได้มั๊ยครับ

หมายเหตุ.-

ผมไม่ได้เห็นด้วยกับคุณอโศกะ ในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดทุกเรื่องนะครับ

เพียงแต่บอกว่าผังที่นำมาลงนั้น ถูกต้อง


ตามสบาย :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 ม.ค. 2010, 14:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เส้นขนาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ตามสบาย :b17: :b17:



วันนี้รู้สึกจะมีปีติ สุข มากเป็นพิเศษนะครับคุณเช่นนั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




41_1718.jpg
41_1718.jpg [ 41.25 KiB | เปิดดู 3905 ครั้ง ]
แล้วถ้าผังดังกล่าวผิด , ของทราบ "ที่ถูกหน่อยได้มั๊ยครับ

หมายเหตุ.-

ผมไม่ได้เห็นด้วยกับคุณอโศกะ ในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดทุกเรื่องนะครับ

เพียงแต่บอกว่าผังที่นำมาลงนั้น ถูกต้อง


ตามสบาย :

.....................................................
เห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน เจริญธรรมนั้นไว้เนืองๆ

แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ เมื่อวานนี้, 14:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง.

อนัตตาธรรม เขียน

ชอบใจคำที่กาสีแดงไว้นี่จังเลย ต่อไปคนภูมิธรรมน้อยๆ ไม่ค่อยรู้ปริยัติในตำรามาก จะได้คุยกันสบายๆ

สาธุ อนุโมทนากับการการปล่อยวางที่มีคุณค่าครับ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร