วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
จิตเกิดดับ หรือไม่ครับ



ดับเพราะอะไร


จิตเกิดดับเหรอ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อาศัยซึ่งกันและกัน..... :b16:


ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันดับไป :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 11 ม.ค. 2010, 14:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Lnd11248.BMP
Lnd11248.BMP [ 109.05 KiB | เปิดดู 4294 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
อโศกะ เขียน:
แล้ว ที่คุณเช่นนั้น คิดเองเออเองว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นแท่ง ไม่เป็นวง เกิดขึ้นในขณะจิตเดียว ตามความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อข้อมูลที่คุณมหาราชันย์ นำเสนอนั้น คุณคิด พิจารณาดีแล้วหรือว่า ถูกต้องตามธรรม

ไม่มีพุทธพจน์รับรอง ความเป็นวง อันเพ้อเจ้อหรอกครับ ถ้ามีจริง ท่านยกมาสิครับ
พระพุทธองค์แสดงปฏิจสมุปปาท โดยความเป็นเหตุปัจจัยเท่านั้นครับ

อโศกะ เขียน:
ตามธรรมที่ว่านี้ ไม่ใช่ธรรมตัวหนังสือในคัมภีร์ แต่หมายถึง ธรรม หรือธรรมชาติที่กำลังแสดงอยู่ในกายและจิตขณะปัจจุบันนี้นะครับ

จิตเกิดดับหรือไม่ครับ ท่านอโศกะ


การนำเอา คาถา โฉลกธรรม หรือข้อธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ดังมีบันทึกในคัมภีร์พระไตรปิฎก มาแจกแจง อธิบาย ขยายความ ให้เข้าใจง่าย โดยเปลี่ยนภาษาตัวหนังสือ มาเป็นรูปภาพ เป็นความเมตตาและกรุณาของครูบาอาจารย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในประเทศพม่า มีสำนักวิปัสสนากรรมฐานจำนวนมากที่นิยมสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท โดยเขียนเป็น แผ่นภาพ แสดงความสืบต่อแห่งลูกโซ่เหตุและปัจจัย เป็นรูปวงกลม ซึ่งทำให้เข้าใจง่าย

ปฏิจจสมุปบาทเป็นแท่ง จบในขณะจิตเดียว พึ่งเคยได้ยินคุณเช่นนั้นกับคุณมหาราชันย์ยกมาแสดง น่าสนใจอยู่ ถ้าเป็นไปได้ กรุณาเขียนเป็นแผ่นภาพขึ้นมาให้ดูน่าจะเป็นประโยชน์มากนะครับ

แล้วเรื่อง ธรรม หรือธรรมชาติที่กำลังแสดงอยู่ในกายและจิตขณะปัจจุบันนี้นะครับ ที่คุณอโศกะว่า ผมว่าน่าจะมีความหมายให้คุณเช่นนั้น วิเคราะห์ออกมาให้ดูว่า สมมุติว่า หู ได้ยิน เสียง แล้วมันจะเป็นไปตามกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทอย่างไร จนครบองค์ 12 อย่างนี้มากกว่า น่าจะลองแสดงภูมิรู้ วิเคราะห์ สภาวการณ์จริงๆ ให้ฟัง ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนดังแสดงในตำรา ลองวิเคราะห์ให้ฟังหน่อยนะครับ ขอบพระคุณ

การสนทนาธรรม เอะอะอะไร ก็ให้อ้างพุทธพจน์อยู่เรื่อย มันก็ไม่เป็นธรรมชาติสิครับ คุยกันเรื่องธรรมชาติจริงๆ อารมณ์ของคนธรรมดาจริงๆ แล้วค่อยเอาหลักธรรมมาจับวิเคราะห์ หาเหตุหาผลกัน น่าจะเป็นการดีกว่านะครับ มิฉนั้นแล้วจะสนทนาธรรมกันสักทีให้ไม่ออกนอกตำราคงต้องไปหา พระมหาเปรียญธรรม มานั่งเป็นพยาน อ้างอิง กันให้ยุ่งไปหมด

ธรรมมะ หรือธรรมชาติในกายและจิตนี้น่าจะเอามาอ้างอิงได้นะครับ


:b8: smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
การนำเอา คาถา โฉลกธรรม หรือข้อธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ดังมีบันทึกในคัมภีร์พระไตรปิฎก มาแจกแจง อธิบาย ขยายความ ให้เข้าใจง่าย โดยเปลี่ยนภาษาตัวหนังสือ มาเป็นรูปภาพ เป็นความเมตตาและกรุณาของครูบาอาจารย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เห็นด้วย เพราะพระพุทธองค์ ก็ไม่ได้ทรงห้าม และทรงสรรเสริญ
อนัตตาธรรม เขียน:
ในประเทศพม่า มีสำนักวิปัสสนากรรมฐานจำนวนมากที่นิยมสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท โดยเขียนเป็น แผ่นภาพ แสดงความสืบต่อแห่งลูกโซ่เหตุและปัจจัย เป็นรูปวงกลม ซึ่งทำให้เข้าใจง่าย


จำนวนไม่ใช่เป็นสิ่งที่แสดงว่า ถูกต้อง เจ้าลัทธิมากมายในสมัยพุทธกาลคงมีมากกว่า สำนักวิปัสสนากรรมฐานในพม่า
การแสดงธรรมที่ผลเป็นเหตุ เหตุเป็นผล ปฏิจสมุปปาทเป็นรูปวงกลม ก็คงมาจากพม่านี่เอง

อนัตตธรรม เขียน:
ปฏิจจสมุปบาทเป็นแท่ง จบในขณะจิตเดียว พึ่งเคยได้ยินคุณเช่นนั้นกับคุณมหาราชันย์ยกมาแสดง น่าสนใจอยู่ ถ้าเป็นไปได้ กรุณาเขียนเป็นแผ่นภาพขึ้นมาให้ดูน่าจะเป็นประโยชน์มากนะครับ

คงเพราะท่านไม่เคยศึกษาปฏิจสมุปปาทที่พระอริยเจ้าทำสังคยนา และสืบต่อกันมาในพระไตรปิฎก เช่นนั้นเพียงนำพระธรรมที่ถูกหลงลืมมาแสดง เพื่อสืบต่อพระธรรมให้คงอยู่ครับ
ส่วนแผ่นภาพ คงไม่ต้อง เพราะพระอรหันตเจ้าท่านทำสังคยนาไว้ดีแล้ว บริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกประการ เช่นนั้นเพียงทำความเข้าใจในพระสัทธรรม
อนัตตธรรม เขียน:
แล้วเรื่อง ธรรม หรือธรรมชาติที่กำลังแสดงอยู่ในกายและจิตขณะปัจจุบันนี้นะครับ ที่คุณอโศกะว่า ผมว่าน่าจะมีความหมายให้คุณเช่นนั้น วิเคราะห์ออกมาให้ดูว่า สมมุติว่า หู ได้ยิน เสียง แล้วมันจะเป็นไปตามกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทอย่างไร จนครบองค์ 12 อย่างนี้มากกว่า น่าจะลองแสดงภูมิรู้ วิเคราะห์ สภาวการณ์จริงๆ ให้ฟัง ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนดังแสดงในตำรา ลองวิเคราะห์ให้ฟังหน่อยนะครับ ขอบพระคุณ


ไม่มีความหมายสำหรับเช่นนั้น ให้อธิบายหรอกครับ

เพราะปฏิจสมุปปาท อธิบายถึงเหตุปัจจัย ของอริยสัจจ์ การสมมติของท่านจึงเลื่อนลอย เพราะจิตทุกดวงมีผัสสะ แต่ความทุกข์ หรือความดับทุกข์เป็นสัจจะที่อธิบายได้โดยปฏิจสมุปปาท.
และอีกประการหนึ่ง การที่ท่านกล่าวว่า "ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนดังแสดงในตำรา" ท่านก็เข้าใจผิดอีกเช่นกัน "พระไตรปิฏก ไม่ใช่ตำราครับ เพราะตำราเกี่ยวกับคำสอนที่แสดงโดยอาจารย์ชั้นหลังๆ ที่แต่งขึ้นภายหลัง ต่างก็นำเอาพุทธพจน์ไปยืนยันความถูกต้องของตำรานั้นๆ ถ้าพระไตรปิฏกเป็นตำราจริง มีอาจารย์ผู้ใดรับรองพุทธพจน์"

สัจจะที่เป็นจริง คือ
ผล ย่อมตรงกับเหตุที่ได้กระทำไว้
เหตุเดียวให้ผลหลายอย่างบ้าง
เหตุหลายอย่างให้ ผลเดียวกันบ้าง
ผลเป็นเหตุไม่ได้
เหตุก็เป็นเหตุให้เกิดเหตุก็ไม่ได้
รูปเป็นผล ขันธ์4 เป็นผลบ้างวิบากบ้าง วิบากให้ผลซ้ำได้หลายๆขณะ เพราะเหตุที่ได้ทำไว้
และอีกมากมาย

ปฏิจสมุปปาทจึงเป็นธรรมที่ลึกซึ้งเกินภูมิปัญญา เช่นนั้น จะนำมาสรุปเป็นรูปภาพที่ไร้สาระอย่างที่ ได้เห็นกันในตอนต้นของหัวกระทู้นี้


อนัตตธรรม เขียน:

การสนทนาธรรม เอะอะอะไร ก็ให้อ้างพุทธพจน์อยู่เรื่อย มันก็ไม่เป็นธรรมชาติสิครับ คุยกันเรื่องธรรมชาติจริงๆ อารมณ์ของคนธรรมดาจริงๆ แล้วค่อยเอาหลักธรรมมาจับวิเคราะห์ หาเหตุหาผลกัน น่าจะเป็นการดีกว่านะครับ มิฉนั้นแล้วจะสนทนาธรรมกันสักทีให้ไม่ออกนอกตำราคงต้องไปหา พระมหาเปรียญธรรม มานั่งเป็นพยาน อ้างอิง กันให้ยุ่งไปหมด


ลานนี้คือลานธรรมจักร ครับ ไม่อาศัยพระพุทธพจน์ จะให้อาศัยอะไรครับ
เหตุและผล ต้องอาศัยพระธรรมของพระพุทธองค์ครับ เข้าใจ และน้อมไปปฏิบัติครับ ไม่คิดเองเออเอง สรุปว่าถูกครับ เช่นนั้นมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นที่พึ่งที่อาศัยครับ

อนัตตธรรม เขียน:
ธรรมมะ หรือธรรมชาติในกายและจิตนี้น่าจะเอามาอ้างอิงได้นะครับ


สัมมาทิฏฐิ คืออะไรครับ
นิพพาน เป็นธรรมชาติในกาย และจิตนี้หรือครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เพราะปฏิจสมุปปาท อธิบายถึงเหตุปัจจัย ของอริยสัจจ์ การสมมติของท่านจึงเลื่อนลอย เพราะจิตทุกดวงมีผัสสะ แต่ความทุกข์ หรือความดับทุกข์เป็นสัจจะที่อธิบายได้โดยปฏิจสมุปปาท.
และอีกประการหนึ่ง การที่ท่านกล่าวว่า "ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนดังแสดงในตำรา" ท่านก็เข้าใจผิดอีกเช่นกัน "พระไตรปิฏก ไม่ใช่ตำราครับ เพราะตำราเกี่ยวกับคำสอนที่แสดงโดยอาจารย์ชั้นหลังๆ ที่แต่งขึ้นภายหลัง ต่างก็นำเอาพุทธพจน์ไปยืนยันความถูกต้องของตำรานั้นๆ ถ้าพระไตรปิฏกเป็นตำราจริง มีอาจารย์ผู้ใดรับรองพุทธพจน์"


เช่นนั้น เขียน:
สัจจะที่เป็นจริง คือ
ผล ย่อมตรงกับเหตุที่ได้กระทำไว้
เหตุเดียวให้ผลหลายอย่างบ้าง
เหตุหลายอย่างให้ ผลเดียวกันบ้าง
ผลเป็นเหตุไม่ได้
เหตุก็เป็นเหตุให้เกิดเหตุก็ไม่ได้
รูปเป็นผล ขันธ์4 เป็นผลบ้างวิบากบ้าง วิบากให้ผลซ้ำได้หลายๆขณะ เพราะเหตุที่ได้ทำไว้
และอีกมากมาย


เช่นนั้น เขียน:
ลานนี้คือลานธรรมจักร ครับ ไม่อาศัยพระพุทธพจน์ จะให้อาศัยอะไรครับ
เหตุและผล ต้องอาศัยพระธรรมของพระพุทธองค์ครับ เข้าใจ และน้อมไปปฏิบัติครับ ไม่คิดเองเออเอง สรุปว่าถูกครับ เช่นนั้นมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นที่พึ่งที่อาศัยครับ


:b35: :b17: :b17: :b17: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


ธรรมชาติของจิต(เกิดและดับไป)

คุณภาพของจิต(อกุศลและกุศล)

จิตเหตุ ผลจิต วิบากผลจิต (ไม่รู้แบ่งถูกหรือเปล่า)

ถ้าพิจารณาตามนี้ ปฏิจสมุปปาท ก็น่าจะเป็นแท่ง จบไปพร้อม จิตดวงนั้นๆ ตามที่ท่านเช่นนั้น กับท่านมหาราชันย์แสดงมา น่าสนใจครับ ทำไมพระพุทธองค์จึงบอกพระอานนท์ว่า ปฏิจสมุปปาท เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง อย่าได้ดูหมิ่นไป

ดังนั้นที่สอนกันต่อๆ มา ว่ามีการเกิด 2 ครั้งในปฏิจสมุปปาท ก็ไม่น่าถูกต้อง เพราะถ้าพิจารณาตามที่ท่านทั้งสองแสดงมา จะมีจิตเหตุ (อกุศลหรือกุศลจิตเป็นเหตุ) เกิดปุญญาภิสังขาร ตามจิตเหตุ จนกระทั้งจิตเหตุดวงนั้น ดับไปหรือเสวยผล เกิดวิบาก จนกระทั้งหมดผลไปด้วย ครบตามสภาวะธรรมในปฏิจสมุปปาท จึงไม่เป็นวงตามที่เข้าใจกัน

แล้วที่บอกว่ามี 2 สาย คือสายเกิด กับ สายดับ ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมดสิครับ ต้องพิจารณาใหม่ว่าจิตเหตุ ก่อนเกิดปุญญาภิสังขารว่าเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต หรือครับ เพราะท่านแสดงไว้ว่า เป็นการอธิบาย ของอริยสัจจ์ ว่าเหตุคืออะไร ผลที่ได้จะคืออะไร อืมน่าคิดนะครับมุมมองด้านนี้

แล้วที่บ้างท่านพยายามบอกว่า เข้าไปตัดในวงจรได้ ก็ไม่น่าจะทำได้แล้วละครับ เพราะเราไม่มีปัญญาเอากิเลสออกจากจิตดวงหนึ่งได้ เนื่องจากมันเกิดและดับเร็วมากตามที่เข้าใจ แถมมันมีวิบากผลอีกซึ่งทำอะไรไม่ได้ มีแต่ต้องสร้างคุณภาพใหม่ที่จิตดวงใหม่เท่านั้นหรือครับ

รบกวนท่านเช่นนั้น ท่านมหาราชันย์ ช่วยอธิบายด้วยครับว่าผมเข้าใจตามที่ท่านแสดงมาถูกหรือเปล่า หรือคุณอโศกะ มีอะไรที่จะมาแย้งหรืออธิบายสนับสนุนแนวคิดว่า ปฏิจสมุปปาท เป็นวงถูกต้องแล้วและสอดคล้องกับธรรมชาติของจิต ตอนนี้ผมเริ่มจะเห็นด้วยกับท่านทั้ง 2 เสียแล้วละครับ สำหรับเรื่องการนำหลักการลงสู่ภาคปฏิบัติตามที่อโศกะพยายามแสดงมาตลอดนั้น ผมว่าถ้าเข้าใจหลักการถูกต้องการปฏิบัติก็ให้ขึ้นกับจริตของผู้ปฏิบัตินั้นๆ ก็แล้วกันครับ หรือกังวลกับผู้เริ่มต้น ก็ไปตั้งกระทู้ใหม่สำหรับผู้เริ่มต้นเลยจะดีกว่า การสนทนาจะได้อยู่ในขอบเขตเดียวกันไงครับ

เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


cool
เช่นนั้นเขียน

สัจจะที่เป็นจริง คือ
ผล ย่อมตรงกับเหตุที่ได้กระทำไว้
เหตุเดียวให้ผลหลายอย่างบ้าง
เหตุหลายอย่างให้ ผลเดียวกันบ้าง
ผลเป็นเหตุไม่ได้
เหตุก็เป็นเหตุให้เกิดเหตุก็ไม่ได้


อนัตตาธรรม ถาม

ผลเป็นเหตุไมได้ เหตุก็เป็นเหตุให้เกิดเหตุก็ไม่ได้ ฟังดูเข้าใจยาก กรุณาอธิบาย เพราะ ตามปฏิจจสมุปบาท แปลให้เข้าใจแบบชาวบ้านๆว่า "เพราะมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้เกิดขึ้น หรือเพราะเหตุนี้ จึงมีผลนี้เกิด แล้วผลนี้กลับกกลายมาเป็นเหตุ ให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง ต่อไปเป็นลูกโซ่ตามกฏของเหตุและผล อย่างเช่น

เพราะมีอวิชชา ความไม่รู้ จึงเป็นเหตุให้เกิด สังขาร ความปรุงแต่ง ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เมื่อปรุงนั้นจิตเป็นผู้ปรุง สังขาร จึงเป็นเหตุให้เกิด วิญญาณ จิตรู้ ขึ้นมา ดังนี้


:b8:
อนัตตธรรม เขียน:

การ สนทนาธรรม เอะอะอะไร ก็ให้อ้างพุทธพจน์อยู่เรื่อย มันก็ไม่เป็นธรรมชาติสิครับ คุยกันเรื่องธรรมชาติจริงๆ อารมณ์ของคนธรรมดาจริงๆ แล้วค่อยเอาหลักธรรมมาจับวิเคราะห์ หาเหตุหาผลกัน น่าจะเป็นการดีกว่านะครับ มิฉนั้นแล้วจะสนทนาธรรมกันสักทีให้ไม่ออกนอกตำราคงต้องไปหา พระมหาเปรียญธรรม มานั่งเป็นพยาน อ้างอิง กันให้ยุ่งไปหมด

เช่นนั้น เขียน

ลานนี้คือลานธรรมจักร ครับ ไม่อาศัยพระพุทธพจน์ จะให้อาศัยอะไรครับ
เหตุ และผล ต้องอาศัยพระธรรมของพระพุทธองค์ครับ เข้าใจ และน้อมไปปฏิบัติครับ ไม่คิดเองเออเอง สรุปว่าถูกครับ เช่นนั้นมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นที่พึ่งที่อาศัยครับ

อนัตตาธรรม ถาม

พุทธพจน์ กับสัจจธรรมความจริง ที่แสดงอยู่ใน กายและจิต ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ จะเป็นอันเดียวกันไหมครับ ผมเห็นว่าความจริงที่กำลังแสดงอยู่ในกายและจิตนี้ หาข้อถกเถียงกันได้ยาก ถ้าได้สัมผัสรู้อย่างเดียวกันแล้ว และ ธรรมมะทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนนั้นพระองค์ก็ทรงค้นพบมาจาก รูป นาม กายใจนี้

ถ้าเป็นพุทธพจน์จริงๆ ต้องเป็นภาษาบาลี การยกพุทธพจน์ควรจะกำกับบาลีมาด้วยจึงจะสมบูรณ์ เพราะการแปลบาลีมาเป็นภาษาไทย มีสำนวนการแปลตั้งหลายสำนวน ดิ้นไปได้มากกว่าคำบาลีที่เป็นต้นฉบับ
เพราะฉนั้นพุทธพจน์ที่แปลเป็นไทยแล้วยกมากล่าวอ้าง อาจเป็นการกล่าวตู่พุทธวัจจนะโดยไม่รู้ตัวได้นะครับ คุณเช่นนั้นมั่นใจหรือครับว่าพุทธธรรมที่แปลมาเป็นภาษาไทยแล้วนั้นถูกต้องทั้งหมด


ผมเคยสังเกตคำบาลีอยู่ 2 คำ ในธรรมคุณ 6 ประการ คือ

1.เอหิปัสสิโก สำนวนสวนโมกข์ และทั่วไปที่นิยมปัจจุบันนี้แปลว่า เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด หมายความว่าธรรมมะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

แต่สำนวนการแปลที่มาจากเมืองไทยใหญ่ประเทศพม่าท่านแปลว่า

ธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น (มีอยู่ในกายนี้) เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดู (พิสูจน์) อยู่เสมอ

2.โอปนยิโก สำนวนสวนโมกข์ และทั่วไปที่นิยมปัจจุบันนี้แปลว่า เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
หมายความว่า ธรรมมะนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

แต่สำนวนการแปลที่มาจากเมืองไทยใหญ่ประเทศพม่าท่านแปลว่า

ความเห็นธรรม (คือความเห็นอนัตตา) นั้น เป็นสิ่งที่ควรพอกพูน ให้เกิดขึ้นในตัวในใจยิ่งๆขึ้นไป (ถ้าพอกพูนได้ถึงที่แล้วจะเป็นเหตุส่งให้ถึง มรรค ผล นิพพาน)

ลองพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมซิครับ ว่าการแปลบาลีทั้ง 2 สำนวนนี้ มีค่าและความหมาย ลึกซึ้ง ต่างกันเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการนำไปปฏิบัติจริง

อนัตตธรรม เขียน:
ธรรมมะ หรือธรรมชาติในกายและจิตนี้น่าจะเอามาอ้างอิงได้นะครับ

เช่นนั้น เขียน

สัมมาทิฏฐิ คืออะไรครับ
นิพพาน เป็นธรรมชาติในกาย และจิตนี้หรือครับ

อนัตตาธรรม เขียน

สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือเห็นอริยสัจทั้ง 4 ทั้งในแง่หัวข้อ ดังสรุปไว้ในคัมภีร์ และในแง่รายละเอียดของสัจจะแต่ละข้อ ซึ่งจะต้องลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ความจริง ซึ่งบางอย่างไม่ได้กล่าวไว้โดยละเอียดในตำรา ผู้ปฏิบัติต้องเจอของจริงด้วยตนเอง

นิพพาน เป็นธรรมชาติ ที่เป็นอมตะธรรม เป็น 1 ไม่มี 2 สามารถเข้าถึงได้ ด้วยการใช้สติ ปัญญา ค้นหาเข้าไปในรูปนาม กาย ใจนี้แหละ (ค้นออกนอกกายใจ ไม่มีเจอ)

:b8: :b8: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
พุทธพจน์ กับสัจจธรรมความจริง ที่แสดงอยู่ใน กายและจิต ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ จะเป็นอันเดียวกันไหมครับ ผมเห็นว่าความจริงที่กำลังแสดงอยู่ในกายและจิตนี้ หาข้อถกเถียงกันได้ยาก ถ้าได้สัมผัสรู้อย่างเดียวกันแล้ว และ ธรรมมะทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนนั้นพระองค์ก็ทรงค้นพบมาจาก รูป นาม กายใจนี้


สวัสดีครับคุณอนัตตาธรรม

ที่คุณกล่าวว่ามีสัจจธรรมเหมือนกันนั้นผมขอถามคำถามเกี่ยวกับคุณภาพกายและคุณภาพจิตของคุณอนัตตาธรรมดังนี้ครับ


กายพระพุทธเจ้าประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการเพราะบารมี 10 เต็มรอบ 3 ครบถ้วนแล้ว


ตอนนี้กายคุณอนัตตาธรรมมีลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการเพราะบารมี 10 เต็มรอบ 3 ครบถ้วนแล้วเหมือนพระพุทธเจ้าแล้วหรือยังครับ ??


จิตของพระพุทธเจ้าทรงเป็นอรหัตตผลจิตพร้อมด้วยสัมมาสัมโพธิ์ญาณ


ตอนนนี้จิตคุณอนัตตาธรรมเป็นอรหัตตผลจิตพร้อมด้วยสัมมาสัมโพธิ์ญาณแล้วหรือยังครับ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
นิพพาน เป็นธรรมชาติ ที่เป็นอมตะธรรม เป็น 1 ไม่มี 2 สามารถเข้าถึงได้ ด้วยการใช้สติ ปัญญา ค้นหาเข้าไปในรูปนาม กาย ใจนี้แหละ (ค้นออกนอกกายใจ ไม่มีเจอ)



ในความเป็นจริงมนุษย์ทุกเชื้อชาติและทุกศาสนา ต่างมีกายและจิตด้วยกันทั้งนั้น


จากข้อความนี้ของคุณอนัตตาธรรมจะบอกว่า ปัจจุบันมนุษย์ทุกเชื้อชาติและทุกศาสนาล้วนมี มัคค 4 ผล 4 และนิพพานอยู่ในกายจิตกันทุกคนอยู่แล้ว ไม่ต้องแสวงหายคุณภาพจิตใหม่หรือสร้างคุณภาพจิตใหม่จากภายนอกเพิ่มเติมอีกแล้วใช่ไหมครับ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




04.jpg
04.jpg [ 16.84 KiB | เปิดดู 4213 ครั้ง ]
คนและสัตว์เหล่านี้ก็มีกายมีจิตครับ
คลุกคลีอยู่กับกายจิตตัวเองอยู่ตลอดเวลาครับ



หวังว่าคุณผู้อ่านคงมองเห็นความแตกต่างของคุณภาพกายและคุณภาพจิตได้นะครับ



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มหาราชันย์เขียน

สวัสดีครับคุณอนัตตาธรรม

ที่คุณกล่าวว่ามีสัจจธรรมเหมือนกันนั้นผมขอถามคำถามเกี่ยวกับคุณภาพกายและคุณภาพจิตของคุณอนัตตาธรรมดังนี้ครับ

กายพระพุทธเจ้าประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการเพราะบารมี 10 เต็มรอบ 3 ครบถ้วนแล้ว

ตอนนี้กายคุณอนัตตาธรรมมีลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการเพราะบารมี 10 เต็มรอบ 3 ครบถ้วนแล้วเหมือนพระพุทธเจ้าแล้วหรือยังครับ ??

จิตของพระพุทธเจ้าทรงเป็นอรหัตตผลจิตพร้อมด้วยสัมมาสัมโพธิ์ญาณ

ตอนนนี้จิตคุณอนัตตาธรรมเป็นอรหัตตผลจิตพร้อมด้วยสัมมาสัมโพธิ์ญาณแล้วหรือยังครับ ??


อนัตตาธรรม ถาม

คุณมหาราชันย์ ถามในมุมของลักษณะเฉพาะ หรือเอกลักษณ์ อย่างนี้ ย่อมแตกต่างกัน

เรื่องธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น พระองค์สอนสามัญธรรม เรื่อง ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ วิธีศึกษา ทุกข์ วิธีค้นหาเหตุทุกข์ และดับเหตุทุกข์ เมื่อเหตุทุกข์ดับแล้ว จะมีผลอะไรเกิดขึ้น นี่เป็นประเด็นสำคัญ

ถ้าผมจะถามกลับว่า พระพุทธเจ้า มีการรับรู้ของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนมนุษย์ทั่วไปไหม

เศษหินที่กระเด็นถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า ทำให้พระองค์เจ็บไหม

พระพุทธเจ้าต้องเสวยพระกระยาหาร เหมือนคนทั่วไปต้องกินอาหารไหม

พระพุทธเจ้ารับรู้อาการ หนาว ร้อน อย่างมนุษย์ทั่วไปไหม

ที่สำคัญ เราจะต้องถามถึงความรู้สึกของเจ้าชายสิทธัตถะ ว่าเหมือนกับผู้คนในยุคสมัยปัจจุบันนี้หรือไม่ จึงจะเป็นการเริ่มต้นจากระดับเดียวกันก่อน คือมนุษย์ธรรมดา ที่ยังไม่บรรลุธรรม

เจ้าชายสิทธัตถะ มีเจ็บ มีปวด มีสบาย มีดีใจ เสียใจ ทุกข์ สุข อย่างคนในสมัยปี 2553 นี้ไหม

พระองค์เห็นคน แก่ คนเจ็บ คนตาย เห็นนักบวช แล้วพระองค์คิดอย่างที่พวกเราคิดไหม

เจ็บ ปวด ร้อน หนาว เย็น อุ่น หนัก เบา แข็ง อ่อน ทุกข์ สุข สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่หรือที่เจ้าชายสิทธัตถะ นำมาเป็นข้อมูล สืบค้น จนพบทางพ้นทุกข์

เราผู้ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ก็เริ่มต้น อย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะเริ่มต้น แต่เราได้เปรียบกว่าพระองค์มากเพราะมีสูตรสำเร็จ หรือผลการค้นพบของพระพุทธองค์เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติไว้แล้ว ไม่ต้องค้นคว้า ทดลอง หาเอาใหม่ด้วยตนเองอีก

คุณมหาราชันย์กรุณาอย่าดึงธรรมมะไปหาความยากซิครับ คุณมีปัญญามาก ศึกษามามาก จำเก่ง เอาธรรมมะมาย่อยสลายให้ง่ายต่อการเข้าใจของผู้คนในยุคปัจจุบันหน่อยซิครับ ขอบพระคุณมาก
:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มหาราชันย์ เขียน

ในความเป็นจริงมนุษย์ทุกเชื้อชาติและทุกศาสนา ต่างมีกายและจิตด้วยกันทั้งนั้น

จาก ข้อความนี้ของคุณอนัตตาธรรมจะบอกว่า ปัจจุบันมนุษย์ทุกเชื้อชาติและทุกศาสนาล้วนมี มัคค 4 ผล 4 และนิพพานอยู่ในกายจิตกันทุกคนอยู่แล้ว ไม่ต้องแสวงหายคุณภาพจิตใหม่หรือสร้างคุณภาพจิตใหม่จากภายนอกเพิ่มเติมอีก แล้วใช่ไหมครับ ??

อนัตตาธรรม ตอบ

ปัจจุบันมนุษย์ทุกเชื้อชาติและทุกศาสนาล้วนมี ธาตุแห่งการจะได้บรรลุ มัคค 4 ผล 4 และนิพพานอยู่ในกายจิตกันทุกคนอยู่แล้ว

ชาติปัจจุบันนี้ได้เกิดเป็นมนุษย์เพราะวิบากแห่งกุศล ที่ทำศีล 5 ไว้ดีในอดีตชาติ ถ้าเกิดมาสุขสบาย มีเวลาเหลือมานั่งเล่นอินเตอร์เนท โต้ตอบ สนทนาธรรมได้อย่างนี้ ก็แสดงว่าทำทานทำบุญมามากด้วย ไม่ต้องไปหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดินเหมือนคนบางกลุ่ม ยิ่งมีปัญญามาก รู้มาก โต้เถียงเก่งอย่างคุณมหาราชันย์นี่ก็แสดงว่าชาติก่อนอาจเป็นครูหรือเจ้าลัทธิอะไรมาก่อน เคยสอนคนมา ได้วิบากแห่งกุศล มาเป็นจ้าวยุทธจักร์ธรรมมะด้านปริยัติในลานธรรมจักรแห่งนี้

งานสำคัญของโอกาสได้กลับมาเกิดเป็นคนอีกครั้งหนึ่งนี้ ทั้งโชคดีได้เกิดพบพระพุทธศาสนา ได้ศีกษาข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีโอกาสเวลาว่างที่จะได้ลงมือพิสูจน์ธรรม ประพฤติ ปฏิบัติธรรมเช่นนี้ ก็พึงควรจะได้มาต่อยอดบุญของตน ด้วยการค้นหากัลยาณมิตร ผู้พูดได้ ทำได้ ถึงจริง คือถึงนิพพานให้พบ แล้วลงมือประพฤติปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ตามคำสอนของพระบรมศาสดา ภายใต้การกำกับ ดูแลของกัลยาณมิตร เอาตัวเอาใจเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จนหมดกิจ

คุณมหาราชันย์ อย่าได้ดูถูกตัวเอง และอย่าได้ดูแคลนมนุษย์คนอื่น ทุกคนล้วนมีบุญสร้างสมมาดี จึงได้มาเกิดเป็นคน มาช่วยกัน แนะนำกัน ให้ทุกคนค้นหาให้พบต้นทุนเดิมทางด้านธรรม ทางด้านกุศลของแต่ละคน แล้วมาเติมเต็มส่วนที่ขาด แล้วต่อยอดปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหน้าที่ของชาวพุทธต่อไป ให้ทันปิดประตูอบายได้ในชาตินี้ กันทุกคน
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี คุณอนัตตธรรม

อ้างคำพูด:
ผล เป็นเหตุไมได้ เหตุก็เป็นเหตุให้เกิดเหตุก็ไม่ได้ ฟังดูเข้าใจยาก


ผลเป็นเหตุไม่ได้
เหตุเป็นเหตุให้เกิดเหตุก็ไม่ได้
ทำความเข้าใจง่ายๆ ดังนี้

สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์ สมุทัยย่อมไม่ใช่ทุกข์ ใช่หรือไม่?
เหตุเป็นเหตุให้เกิดเหตุ ก็ไม่ได้ .... ทำความเข้าใจดังนี้ สมุทัยย่อมไม่ใช่เหตุแห่งสมุทัย ใช่หรือไม่?

ปฏิจสมุปปาท เป็นการอธิบาย เหตุปัจจัยของสภาวธรรมของขันธ์ 5. การเข้าใจแบบชาวบ้านๆ ต้องเข้าใจว่า ชาวบ้านประเภทไหน ชาวบ้านบางท่านก็มีปัญญามาก ชาวบ้านบางท่านก็มีปัญญาบาง ชาวบ้านบางท่านก็ไม่มีปัญญา.

การที่ท่านแสดงว่า” เหตุนี้จึงมีผลเกิด แล้วผลก็กลายมาเป็นเหตุให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งต่อไปเป็นลูกโซ่ตามกฎของเหตุและผล” ย่อมเป็นการรู้มา เรียนมาที่ผิด

เพราะอะไร?
พึงจำไว้ไว้ว่าปฏิจสมุปปาท ไม่ได้แสดงลำดับกาล แต่แสดงเหตุปัจจัยของธรรม แห่งขันธ์ 5(ถ้าพิจารณาโดย ขันธ์5 ....ยังสามารถพิจารณา โดยอายตนะ โดยธา่ตุ แต่เพื่อความเข้าใจง่ายๆ แบบชาวบ้าน ชาวบ้าน ก็ขออนุญาตอ้างโดยขันธ์ 5 )

ปฏิจจสมุปปาท เมื่อแสดงถึงเหตุปัจจัยของธรรม แห่งขันธ์ 5. ขันธ์ 5 ย่อมหมายถึง รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์. ขันธ์ 4 อันเป็นเหตุ ย่อมได้ขันธ์ 5 อันเป็นผลและวิบาก.
ขณะจิตใด ยังมีอวิชชาเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นเหตุจิต หรือ วิบากจิต ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น แก่จิตดวงนั้น

เพราะอวิชชา เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ จิตที่มีอวิชชาเจตสิกเปิดร่วมเกิดพร้อม สังขารเจตสิก(ความปรุงแต่ง)ย่อมมีแก่จิตนั้น. ซึ่งการปรุงแต่ง โดยความเป็นบุญหรือเป็นบาป หรืออเนญชา(อรูปสมาบัติ 4).

ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ
ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป
ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชา ปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา
ดังนั้น เหตุปัจจัยที่ทำให้วิญญาณเข้าถึง บุญ บาปหรือ อเนญชา ก็เพราะสังขารนี่เอง
พระองค์จึงแสดงว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ

กองทุกข์ที่เกิดขึ้น ก็ไม่ได้เกิดที่ไหนไกลตัวไกลจิต เกิดก็เกิดที่ขันธ์ 5 นี้ อันกล่าวโดยย่อก็คือนามรูปนี้ , แม้การทำเหตุ ก็ทำโดยอาศัยขันธ์ 4 (คือ จิต และจิตสังขาร)นี้ ก็คือกองทุกข์โดยความเป็นเหตุ แม้แต่ผลและวิบาก ก็คือกองทุกข์โดยความเป็นผล. นามรูปนี้ ย่อมมี โดยความมีอยู่แห่งวิญญาณขันธ์ ก็สุดแท้แต่ว่าวิญญาณขันธ์ เข้าถึงสังขารประเภทใดที่เป็นเจตสิกธรรมเครื่องปรุงแต่ง ซึ่งก็อีกเช่นกันไม่ใช่การแสดง ลำดับ กาล.
การทำความเข้าใจในเรื่องสฬายตนะก็เช่นเดียวกัน วิญญาณ หรือการรับรู้แต่ละขณะจิต ย่อมไม่ทับซ้อนกัน แต่การเกิดดับของจิตแต่ละขณะรวดเร็วมากจนนึกว่าเกิดพร้อมๆ กัน. ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป จึงสามารถนำมาอธิบายด้วยปฏิจสมุปปาท ตามขณะแห่งวิญญาณขันธ์ของแต่ละอายตนะนั้น. ซึ่งก็มีความสำคัญต่อเจตสิกธรรมอันเกิดกับจิตนั่นเอง.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตธรรม เขียน:
เพราะมีอวิชชา ความไม่รู้ จึงเป็นเหตุให้เกิด สังขาร ความปรุงแต่ง ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เมื่อปรุงนั้นจิตเป็นผู้ปรุง สังขาร จึงเป็นเหตุให้เกิด วิญญาณ จิตรู้ ขึ้นมา ดังนี้


เพราะอวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจจ์ 4, ความไม่รู้ในเหตุปัจจัย, ความไม่รู้กรรมและผลของกรรม เป็นต้น เป็นเจตสิกธรรมที่เกิดกับจิต.

สังขารเจตสิกโดยความเป็นบุญ บาป หรืออเนญชา ย่อมเกิดขึ้น ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ไปตามภพ หรือชนิดของจิต.

จิตตสังขาร เป็นการปรุงการกำหนดคุณภาพของจิตไปตามภพนั้นๆ. สังขารย่อมไม่ใช่เป็นเหตุให้เกิดจิตรู้ตามทีท่านเข้าใจมา

แต่คุณภาพของจิต เป็นชนิดใดเป็นประการใด ก็โดยความปรุงแต่งแห่งสังขารเจตสิกนั้น จึงกล่าวว่า “เพราะสังขาร เป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ” (จำไว้ให้ดีว่า จิตนั้นประภัสสร แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา)

สังขารจึงไม่ได้เป็นตัวสร้างจิต แต่เป็นการปรุงจิตให้เป็นต่างๆ ไป. วิญญาณขันธ์ นั้น บริสุทธิ์ยิ่งนัก ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ชั่วก็รู้ ดีก็รู้ บุญก็รู้ บาปก็รู้ สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ วิญญาณขันธ์นี้มันไม่เลือกว่า จะรู้หรือไม่รู้อะไรหรอก.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 16 ม.ค. 2010, 18:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตธรรม เขียน:
ถ้า เป็นพุทธพจน์จริงๆ ต้องเป็นภาษาบาลี การยกพุทธพจน์ควรจะกำกับบาลีมาด้วยจึงจะสมบูรณ์ เพราะการแปลบาลีมาเป็นภาษาไทย มีสำนวนการแปลตั้งหลายสำนวน ดิ้นไปได้มากกว่าคำบาลีที่เป็นต้นฉบับ
เพราะฉนั้นพุทธพจน์ที่แปลเป็นไทย แล้วยกมากล่าวอ้าง อาจเป็นการกล่าวตู่พุทธวัจจนะโดยไม่รู้ตัวได้นะครับ คุณเช่นนั้นมั่นใจหรือครับว่าพุทธธรรมที่แปลมาเป็นภาษาไทยแล้วนั้นถูกต้อง ทั้งหมด

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒

[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ
เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า

พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา
บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก
เธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า

ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษา
สันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ


(เล่าเรียนพุทธวจนะ ตามภาษาเดิม คือภาษาที่เข้าใจได้ ตามความต่างโครต ต่างชาติ ต่างสกุล ซึ่งหมายความถึงอรรถแห่งธรรมนั้นไม่ผิดไป จากพุทธวจนะ โดยคนไทยก็เรียนตามภาษาไทย คนพม่าก็เรียนตามภาษาพม่า เป็นต้น)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 16 ม.ค. 2010, 18:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตธรรม เขียน:
ผมเคยสังเกตคำบาลีอยู่ 2 คำ ในธรรมคุณ 6 ประการ คือ
I
I
ลอง พิจารณาด้วยใจเป็นธรรมซิครับ ว่าการแปลบาลีทั้ง 2 สำนวนนี้ มีค่าและความหมาย ลึกซึ้ง ต่างกันเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการนำไปปฏิบัติจริง


ความสังเกตของท่านเป็นสิ่งดี น่าอนุโมทนา

แต่เช่นนั้น กลับไม่เพียงสังเกตแต่อย่างเดียว

ความถูกต้องของธรรมคุณ พึงมีความจริงอันนำไปปฏิบัติได้โดยตรงซึ่งพระพุทธองค์ ก็ทรงตรัสสอนเกี่ยวกับธรรมคุณ 6 ประการนั้นไว้ในพระสูตร

การศึกษาจากพระสูตรน่าจะดีกว่า ศึกษาจากคำแปล ของบัณฑิตเหล่านั้น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
พราหมณสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4079&Z=4116&pagebreak=0
ปริพาชกสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4117&Z=4159&pagebreak=0
นิพพุตสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4160&Z=4193&pagebreak=0

Quote Tipitaka:
ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อบุคคลนี้เสวยธรรม
เป็นที่สิ้นราคะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโทสะอันไม่มีส่วนเหลือ
เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโมหะอันไม่มีส่วนเหลือ นิพพานย่อมเป็นคุณชาติอันผู้ได้
บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังได้กล่าวมาแล้วแล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 16 ม.ค. 2010, 18:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร