วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 23:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ข้อความที่กรัชกายนำมาโพสต์ไว้นั้น หากคุณรินไม่เข้าใจ หรือ สงสัยตรงไหน ถามได้นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

จะได้เข้าใจไปพร้อมๆกัน :b1:



ขอบพระคุณที่อาจารย์ยังกรุณาอยู่เสมอค่ะ :b8:


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:



หนูอยากทราบความหมายของศัพท์ๆ หนึ่งค่ะ

กรัชกาย เขียน:
(อาสวะ => ) อวิชชา => สังขาร => วิญญาณ =>นามรูป => สฬายตนะ => ผัสสะ => เวทนา

ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ........


สฬายตนะ หมายถึงอะไรคะ
และ สฬะ คำเดียว (ไม่แน่ใจว่าต้องมีสระ อะ หรือเปล่าค่ะ) หมายถึงอะไรคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 11:54, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ข้อความที่กรัชกายนำมาโพสต์ไว้นั้น หากคุณรินไม่เข้าใจ หรือ สงสัยตรงไหน ถามได้นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

จะได้เข้าใจไปพร้อมๆกัน :b1:


ขอบพระคุณที่อาจารย์ยังกรุณาอยู่เสมอค่ะ

หนูอยากทราบความหมายของศัพท์ๆ หนึ่งค่ะ


สฬายตนะ หมายถึงอะไรคะ
และ สฬะ คำเดียว (ไม่แน่ใจว่าต้องมีสระ อะ หรือเปล่าค่ะ)หมายถึงอะไรคะ


สฬ+อายตนะ

“สฬ” แปลงรูป มาจาก “ฉ” ที่แปลว่า หก(6)สนธิกันเป็น “สฬายตนะ” แปลว่า อายตนะ 6

(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

สฬ รูปบาลี ไม่มีสระ อะ แต่เวลาอ่านเหมือนมีสระอะ (สฬะ)

ดู ตัวอย่าง เช่น ปญฺจ แปลว่าห้า (5) เวลาเขียนไม่มีสระ แต่เวลาอ่านเหมือนมีสระอะ (ปญจะ)

แต่เมื่อนำมาใช้ในรูปภาษาไทยประสระได้ เช่น ปญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่ออีกหน่อย)


อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือ แดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้, แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้,

หรือ แหล่งที่มาของความรู้

แปลง่ายๆว่า ทางรับรู้ มี 6 อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


ที่ว่า ที่ต่อ หรือเชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้นั้น ต่อหรือเชื่อมต่อกับอะไร ?

ตอบ เชื่อมต่อกับโลก คือ สภาพแวดล้อมภายนอก



แต่โลกนั้นปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆด้านๆไป เท่าที่มนุษย์จะมีแดนหรือเครื่องมือสำหรับรับรู้

คือ เท่าจำนวนอายตนะ 6 ที่กล่าวมาแล้วนั้น

ดังนั้น อายตนะทั้ง 6 จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลก เป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สำหรับแต่ละอย่างๆ โดยเฉพาะ

สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ ลักษณะอาการต่างๆของโลกเหล่านี้ เรียกชื่อว่า อายตนะเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่ง

ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือเป็นแหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็นฝ่ายภายนอก

เพื่อแยกประเภทจากกันไม่ให้สับสน ท่านเรียกอายตนะพวกแรกว่า อายตนะภายใน

(แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน)

และเรียกอายตนะพวกหลังว่า อายตนะภายนอก (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)

อายตนะภายนอก 6 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย (โผฏฐัพพะ) และสิ่งที่ใจนึก

(ธรรมารมณ์)

โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า อารมณ์ แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต

แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรู้นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 17:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก)ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้

จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น

ตากระทบรูป เกิดความรู้ เรียกว่า เห็น

หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น

ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้ เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์

ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ

วิญญาณทางตา ได้แก่ เห็น

วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน

วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น

วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส

วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สึกถูกต้องกาย

วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจ

สรุปได้ว่า อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6 มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะภายใน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทวาร” แปลว่า ประตู, ช่องทาง

ทั้งอายตนะภายใน 6 หรือ ทวาร 6 มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อินทรีย์ 6”

คำว่า อินทรีย์ แปลว่า ภาวะที่เป็นใหญ่ หมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นเจ้าการ

ในเรื่องนั้นๆ เช่น

ตา เป็นเจ้าการในการรับรู้ รูป

หู เป็นเจ้าการในการรับรู้ เสียง เป็นต้น

อินทรีย์ 6 คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ และมนินทรีย์

คำว่า อินทรีย์ นิยมใช้กับอายตนะ ในขณะทำหน้าที่ของมัน ในชีวิตจริง และเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น การ

สำรวมจักขุนทรีย์ เป็นต้น

ส่วนอายตนะ นิยมใช้ในเวลาพูดถึงตัวสภาวะ ที่อยู่ในกระบวนธรรม เช่น อาศัยจักขุ อาศัยรูป

เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น

และเมื่อพูดถึงสภาวะลักษณะเช่นว่า จักขุไม่เที่ยง เป็นต้น

อีกคำหนึ่ง ที่ใช้พูดกันบ่อยในเวลากล่าวถึงสภาวะในกระบวนธรรม คือคำว่า ผัสสายตนะ แปลว่า ที่เกิด

หรือบ่อเกิดแห่งผัสสะ คือ ที่มาของการรับรู้นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 17:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะภายนอก หรือ อารมณ์ ก็มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกคือ “โคจร” แปลว่า ที่เที่ยว, ที่หากิน

และ “วิสัย” แปลว่า สิ่งผูกพัน, แดนดำเนิน

และชื่อที่ควรกำหนดเป็นพิเศษ ใช้เฉพาะกับอารมณ์ 5 อย่างแรก ซึ่งมีอิทธิพลมาก

ในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก หรือ แบบสังสารวัฏ คือ คำว่า “กามคุณ” (ส่วนที่น่าใคร่

น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)

กามคุณ 5 หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เฉพาะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์

อายตนะ มีความหมายหลายนัย เช่น แปลว่า เป็นที่สืบต่อแห่งจิตและเจตสิก คือ เป็นที่ที่จิตและเจตสิก

ทำหน้าที่กันง่วน

เป็นที่แผ่ขยายจิตและเจตสิกให้กว้างขวางออกไป

เป็นตัวการนำสังสารทุกข์อันยืดเยื้อให้ดำเนินสืบต่อไปอีก

เป็นบ่อเกิด

แหล่ง

ที่ชุมนุม เป็นต้น

(ดูวิสุทธิ.3/61 สงฺคห.ฎีกา 227)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ :b8:
คำแต่ละคำถ้าศึกษาลึกลงไปก็มีรายละเอียดมากมายเลยนะคะ
คำที่มองข้ามไปกลับเป็นคำที่น่าสนใจ :b15:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ ๕ ซึ่งแบ่งซอยไปเป็นหน่วยย่อยต่างๆมากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือในการดำเนิน

ชีวิตทั่วไป มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด

ส่วนประกอบหลายอย่าง มีอยู่และทำหน้าที่ของมันไปโดยมนุษย์ไม่รู้จัก หรือแม้รู้จัก ก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย

เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่าง ทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของ

ไม่รู้และไม้ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ

แม้องค์ประกอบต่างๆในกระบวนการฝ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน

การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ และกระบวนการทำงานทางร่างกาย เราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษา

ทางการแพทยศาสตร์และชีววิทยา

ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักจิตวิทยาและ

ของนักอภิธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 2924 ครั้ง ]
เรามักมองหาธรรมะที่ภายนอก ไกลๆๆตัวไกลชีวิตออกไป ไม่มองเข้ามาที่ชีวิตหรือที่มนุษย์ จึงหลุดออก

จากวงโคจรของธรรมะในกำมือ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มี.ค. 2010, 07:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น ต่ออีกหน่อย)

สรุปได้ว่า อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6 มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้

1. จักขุ – ตา เป็นแดนรับรู้ รูป – รูป เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ - เห็น

2. โสตะ – หู --- ,,--- สัททะ – เสียง--- ,, --- โสตวิญญาณ – ได้ยิน

3 . ฆานะ – จมูก ---,,--- คันธะ – กลิ่น--- ,,--- ฆานวิญญาณ - ได้กลิ่น

4. ชิวหา – ลิ้น --- ,,--- รส – รส--- ,,--- ชิวหาวิญญาณ - รู้รส

5. กาย – กาย ---,,--- โผฏฐัพพะ – สิ่งต้องการ---,,--- กายวิญญาณ - รู้สิ่งต้องกาย

6. มโน – ใจ --- ,,--- ธรรม * – เรื่องในใจ--- ,,--- มโนวิญญาณ - รู้เรื่องในใจ


* นิยมเรียกธรรมารมณ์ เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า ธรรม ที่ใช้ทั่วไป ซึ่งมีความหมาย

กว้างขวางมากหลายนัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b16: :b12:

บ้านคุณริน มีสาระ...มีสาระ...

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ- ที่พึงสังเกตต่อไปนี้ คือความหมาย สัมผัส กับ เวทนา


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิญญาณต้องอาศัยอายตนะ และ อารมณ์กระทบกัน จึงจะเกิดขึ้นได้-

(ม.มู.12/443-4/476-7) ก็จริง

แต่การที่อารมณ์เข้ามาปรากฏแก่อายตนะ ก็มิใช่ว่า จะทำให้วิญญาณเกิดขึ้นได้เสมอไป จำต้องมีความใส่ใจ

ความกำหนดใจ หรือ ความใฝ่ใจประกอบอยู่ด้วย วิญญาณนั้นๆ จึงเกิดขึ้น-(ม.มู.12/346/358)

ดังตัวอย่าง ในบางคราว เช่น เวลาหลับสนิท เวลาฟุ้งซ่าน หรือใจลอยไปเสีย เวลาใจจดจ่อแน่วแน่

อยู่ดับกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ตลอดจนขณะอยู่ในสมาธิ

รูปและเสียงเป็นต้นหลายๆ อย่างที่ผ่านเข้ามา อยู่ในวิสัยที่จะเห็น จะได้ยิน แต่หาได้เห็น หาได้ยินไม่

หรือ ตัวอย่างง่ายๆ ขณะเขียนหนังสือใจจดจ่ออยู่ จะไม่รู้สึกส่วนของร่างกายที่แตะอยู่กับโต๊ะ

และ เก้าอี้ ตลอดจนมือที่แตะกระดาษและนิ้วที่แตะปากกาหรือดินสอ

ในเมื่อมีอายตนะ และ อารมณ์เข้ามาถึงกันแล้ว แต่วิญญาณไม่เกิดขึ้นเช่นนี้ ก็ยังไม่เรียกว่าการรับรู้

ได้เกิดขึ้น

การรับรู้จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้งสามอย่าง คือ อายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ

ภาวะนี้ ภาษาธรรมมีคำเรียกโดยเฉพาะว่า “ผัสสะ” หรือ “สัมผัส” * แปลตามรูปศัพท์ว่า การกระทบ

แต่มีความหมายทางธรรมว่า การประจวบ หรือ บรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ

พูดอย่างเข้าใจกันง่ายๆ ผัสสะ ก็คือ การรับรู้นั่นเอง

ผัสสะ หรือ สัมผัส หรือ การรับรู้นี้ มีชื่อเรียกแยกเป็นอย่างๆ ไปตามทางรับรู้

คือ อายตนะนั้นๆ ครบจำนวน 6 คือ

จักขุสัมผัส

โสตสัมผัส

ฆานสัมผัส

ชิวหาสัมผัส

กายสัมผัส

มโนสัมผัส


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* ผัสสะ และ สัมผัส (contact) นี้ ไม่ควรเข้าใจสับสนกับความหมายในภาษาไทย

แม้คำอื่นๆ คือ อารมณ์ วิญญาณ เวทนา ก็มีความหมายไม่ตรงกันแท้กับที่ใช้ในภาษาไทย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการรับรู้

เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้ว กระบวนธรรมก็ดำเนินต่อไป

เริ่มแต่ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น ปฏิกิริยาอย่างอื่นของจิตใจ การจำหมาย

การนำอารมณ์นั้นไปคิดปรุงแต่ง ตลอดจนการแสดงออกต่างๆ ที่สืบเนื่องไปตามลำดับ

ในกระบวนการนี้

สิ่งที่ควรสนใจเป็นพิเศษในการศึกษาขั้นนี้ ก็คือ ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามา ซึ่งเกิดขึ้นในลำดับถัด

จากผัสสะนั้นเอง

ความรู้สึกนี้ในภาษาธรรมเรียกว่า “เวทนา” แปลว่า การเสวยอารมณ์ หรือ การเสพรสอารมณ์

คือความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้นโดยเป็น สุขสบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

เวทนานี้ถ้าแบ่งตามทางรับรู้ ก็มี 6 เท่าจำนวนอายตนะ คือ

เวทนา ที่เกิดจากสัมผัสทางตา เวทนา ที่เกิดจากสัมผัสทางหู เป็นต้น *

แต่ถ้าแบ่งตามคุณภาพจะมีจำนวน 3 คือ

1. สุข ได้แก่ สบาย ชื่นใจ ถูกใจ

2. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบาย เจ็บปวด

3. อุทกขมสุข ไม่ทุกข์ ไม่สุข คือเรื่อยๆ เฉยๆ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า อุเบกขา *


หรือแบ่งละเอียดลงไปอีกเป็น 5 อย่างคือ

1. สุข ได้แก่ สบายกาย

2. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบายกาย เจ็บปวด

3. โสมนัส ได้แก่ สบายใจ ชื่นใจ

4. โทมนัส ได้แก่ ไม่สบายใจ เสียใจ และ

5. อุเบกขา ได้แก่ เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์


กระบวนการรับรู้ เท่าที่กล่าวมานี้ เขียนให้เห็นง่ายๆ ได้ดังนี้

อายตนะ + อารมณ์ + วิญญาณ = ผัสสะ == > เวทนา

ทางรับรู้---สิ่งที่ถูกรู้---ความรู้---การรับรู้---ความรู้สึกต่ออารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
:b12: :b12: :b16: :b12:

บ้านคุณริน มีสาระ...มีสาระ...

:b17: :b17: :b17:



อาจารย์ขยันนะคะ
ลำพังตัวหนูเองไม่มีอะไรเลย :b3:
เห็นคุณเอรากอนก็มาติดตามอ่านตลอดเลย
ความจริงคงมีอีกหลายๆ ท่านที่อ่านอยู่แต่ไม่แสดงตัว เลยไม่ทราบว่ามีใครบ้าง
:b16: :b27: :b16: :b27: :b16: :b27: :b16: :b27: :b16:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 11 มี.ค. 2010, 13:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร