วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
เอรากอน เขียน:
:b12: :b12: :b16: :b12:

บ้านคุณริน มีสาระ...มีสาระ...

:b17: :b17: :b17:



อาจารย์ขยันนะคะ
ลำพังตัวหนูเองไม่มีอะไรเลย :b3:
เห็นคุณเอรากอนก็มาติดตามอ่านตลอดเลย
ความจริงคงมีอีกหลายๆ ท่านที่อ่านอยู่แต่ไม่แสดงตัว เลยไม่ทราบว่ามีใครบ้าง
:b16: :b27: :b16: :b27: :b16: :b27: :b16: :b27: :b16:


อืมห์...นั่นจิ่...
ก็ดีแล้ว...ล่ะ ที่จานป้อ...ขยัน... :b8: :b8: :b8:
และก็ดีแล้ว...ที่ช่วงนี้จานป้อมาขยันแถวนี้...
และก็จะยิ่งดี...ถ้าจานป้อ...จะไปขยันแถว ๆ ห้องกระจายเสียงของตัวเองบ้าง...

เพราะถ้า...จานป้อ...ไปขยันแถวห้อง...สมาธิ-สติ .....ชอบลงเป็นชุ๊ดดดดดดด....
ชนิดที่ว่า...ไม่ให้โอกาสนักเรียนขาดเรียนเลย...หง่ะ... :b2: :b2: :b2:

คุณริน...มีเพื่อนนั่งเรียน...
เรียนไปคุย...สบาย ๆ ไปบ้าง...จะได้ไม่เหงา...
ถ้า...คุยมากไป เดี๋ยวจานป้อ...ก็หยิบ ชล็อก...เขวี้ยงเอง..หล่ะ...

:b43: :b43: :b43: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายศัพท์ ที่มี * หน้าผ่านมา

* เวทนา 6 (feeling)

1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา – เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา

2. โสตสัมผัสสชา เวทนา – เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู

3. ฆานสัมผัสสชา เวทนา – เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก

4. ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา – เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น

5. กายสัมผัสสชา เวทนา – เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย

6. มโนสัมผัสสชา เวทนา – เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ

(สํ.สฬ.18/434/287)


* อุเบกขา ในหมวดนี้ เป็นคนละอย่างกับอุเบกขาในหมวดสังขาร (เช่น อเบกขาพรหมวิหาร

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นต้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตอนนี้อธิบายวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายก่อทุกข์ ช่วงเวทนา ตัณหา อุปาทาน)


ดังได้กล่าวแล้วว่า

อารมณ์ คือ โลกที่ปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์ทางอายตนะต่างๆ การรับรู้อารมณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็น

ซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความสามารถในการเกี่ยวข้อกับโลก ทำให้ชีวิตอยู่รอดและดำเนินไปด้วยดี

ในกระบวนการรับรู้นี้

เวทนา ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้บอกให้ทราบว่า อะไรเป็นอันตายแก่ชีวิต

ควรหลีกเว้น

อะไรเกื้อกูลแก่ชีวิต ควรถือเอาประโยชน์ได้

เวทนา จึงช่วยให้กระบวนการรู้ที่ดำเนินต่อไป สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจที่ครบถ้วนบริบูรณ์

เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชน

เวทนา มิได้มีความหมายเพียงเท่านั้น คือ มิใช่เพียงแง่ว่า กระบวนการรับรู้ได้มีส่วนประกอบเพิ่มเข้ามาอีก

อย่างหนึ่ง ที่ช่วยเสริมความรู้ให้สมบูรณ์ อันจะทำให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้นในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม

แต่เวทนายังหมายถึงการที่โลกมีอะไรอย่างหนึ่งเป็นผลตอบแทน หรือ รางวัลแก่มนุษย์ในการเข้าไปเกี่ยวข้อง

กับโลกด้วย

ผลตอบแทนที่ว่านี้ คือ ความเอร็ดอร่อย ความชื่นใจที่เกิดจากอารมณ์ซึ่งเรียกว่า สุขเวทนา

ในกรณีที่กระบวนการรับรู้ดำเนินมาตามลำดับจนถึงเวทนา

ถ้ามนุษย์หันเข้าจับเวทนาไว้ตามความหมายในแง่นี้

มนุษย์ ก็จะหันเหออกไปจากกระบวนการรับรู้

ทำให้กระบวนธรรม อีกอย่างหนึ่งได้โอกาสเข้ามารับช่วงแล่นต่อไปแทนที่

โดยเวทนาจะกลายเป็นปัจจัยตัวเอกที่จะก่อให้เกิดผลสืบเนื่องต่อไป

พร้อมกันนั้น กระบวนการรับรู้ ซึ่งกลายไปเป็นส่วนประกอบและเดินควบไปด้วย

ก็จะถูกกำลังจากกระบวนธรรมใหม่นี้บีบคั้นให้บิดเบือนและเอนเอียงไปจากความเป็นจริง

กระบวนธรรมรับช่วงที่ว่านี้ มักดำเนินไปในแบบง่ายๆ พื้นๆ คือ

เมื่อรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เกิดความรู้สึกสุขสบายชื่นใจ (= เวทนา)

ก็อยากได้ (= ตัณหา)

เมื่ออยากได้ ก็ติดใจ พัวพันจนถึงขั้นยึดติดถือมั่น (= อุปาทาน) ค้างใจอยู่ ไม่อาจวางลงได้

ทั้งที่ตามความเป็นจริง ไม่อาจถือเอาไว้ได้ เพราะสิ่งนั้นๆ ล่วงเลยผ่านพ้นหมดไปแล้ว

จากนั้น ก็เกิดความครุ่นคิดสร้างภาพต่างๆ ที่จะให้ตนอยู่ในภาวะครอบครองอารมณ์อันให้เกิดสุขเวทนา

นั้น พร้อมทั้งคิดปรุงแต่งสร้างวิธีการที่จะให้ได้อารมณ์และสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์นั้น แล้วลงมือกระทำการ

ต่างๆทางกายบ้าง วาจาบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลเสกสรรของมนุษย์เอง

แล้วหมุนเวียนเข้าวงจรที่เริ่มจากเวทนาใหม่อีก

กลายเป็นสังสารวัฏวนอยู่อย่างนั้น

ไม่สามารถก้าวต่อไปสู่ผลเลิศอย่างอื่นที่ชีวิตนี้ยังสามารถเข้าถึงได้ยิ่งกว่านั้นขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




250px-Golden_Rock.jpg
250px-Golden_Rock.jpg [ 23.96 KiB | เปิดดู 2641 ครั้ง ]
พระธาตุอินทร์แขวน

พระธาตุอินทร์แขวน ...ในภาษามอญ หมายความว่า หินรูปหัวฤๅษี พระธาตุอินทร์แขวน ตั้งอยู่ที่เมืองไจ้ก์โถ่ อำเภอสะเทิม เขตรัฐมอญของประเทศพม่า บนยอดเขา Paung Laung เหนือระดับ น้ำทะเล 3,615 ฟุต ลักษณะเด่นของพระธาตุอินทร์แขวนคือ มีลักษณะเป็นก้อนหินสีทองขนาดใหญ่สูง 5.5 เมตร
ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมาอย่างเหลือเชื่อ
พระธาตุอินทร์แขวนนับเป็น1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E% ... 2%E0%B8%A2

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




attachment1.jpg
attachment1.jpg [ 118.94 KiB | เปิดดู 2636 ครั้ง ]
พระพุทธบาทพลวง ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฎ พระบาทพลวงเป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ที่จังหวัดจันทบุรี และถือว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร


http://hilight.kapook.com/view/21876

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ-สังเกตความหมายของศัพท์สังสารวัฏ กับ วิวัฏฏ์ ว่ามีหน้าที่แยกต่างกันตรงไหน


โดยนัยนี้ จะเห็นว่า ช่วงต่อที่กระบวนธรรมจะสืบทอดจากการรับรู้ (= ผัสสะ)ต่อไปนั้นเป็นขั้นตอน

ที่สำคัญอย่างยิ่ง เรียกได้ว่า เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทีเดียว และในภาวะเช่นนี้ เวทนาเป็นองค์ธรรม

ที่มีบทบาทสำคัญมาก

กระบวนธรรมที่ดำเนินไปจะเป็นอย่างไร ต้องขึ้นต่อบทบาทของเวทนาว่าจะมีลักษณะอย่างใด

ทั้งนี้พอจะตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า

ก.กระบวนธรรมที่สืบต่อจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างกระบวนการรับรู้ที่บริสุทธิ์ กับ กระบวนการ

สังสารวัฏ


ในกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ เวทนามีบทบาทเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยๆอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เกิดความรู้

ที่ถูกต้องสมบูรณ์

ส่วนในกระบวนการสังสารวัฏ เวทนาเป็นปัจจัยตัวเอก ที่มีอิทธิพลครอบงำความเป็นไปของกระบวนทั้งหมด

กล่าวได้ว่า มนุษย์จะคิดปรุงแต่งอย่างไร และทำการอะไร ก็เพราะเวทนา และเพื่อเวทนา

หรือชีวิตจะเป็นอย่างไร ก็เพราะเวทนา และเพื่อเวทนา

นอกจากนั้นในกระบวนการสังสารวัฏนี้

มนุษย์มิได้หยุดอยู่เพียงแต่เป็นผู้รับรู้อารมณ์เรียนรู้โลก เพื่อเกี่ยวข้องจัดการกับโลกอย่างได้ผลดีเท่านั้น

แต่ได้ก้าวต่อไปสู่ความเป็นผู้เสพเสวยโลกด้วย


สำหรับกระบวนการรู้บริสุทธิ์นั้น

ถ้าจะพูดให้ชัดเจนตามหลัก ก็ต้องตัดตอนที่ช่วงต่อจากผัสสะนี้ด้วยเหมือนกัน

โดยถือว่า การรับรู้เกิดขึ้นเสร็จสิ้นแล้วที่ผัสสะ

ดังนั้น กระบวนธรรมต่อจากนี้ไปจึงแยกได้เป็นอีกตอนหนึ่ง มีเรียกชื่อว่า กระบวนการญาณทัศนะ

หรือ กระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ เป็นคู่ปฏิปักษ์กับกระบวนการสังสารวัฏ

แต่กระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ข.กระบวนธรรมที่สืบทอดจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางจริยธรรม ระหว่างความดี กับ ความชั่ว

ระหว่างกุศล กับ อกุศล

ระหว่างความหลุดพ้นเป็นอิสระ กับ การหมกติดหมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ


เมื่อกล่าวถึงส่วนอื่นๆ ของกระบวนธรรมแล้ว ก็ต้องย้อนกลับไปพูดถึงอายตนะอีก เพราะกระบวนธรรมต่างๆ

ที่กล่าวมานั้น ต้องอาศัยอายตนะ เริ่มต้นที่อายตนะ

เมื่อว่าองค์ธรรมอื่นๆ สำคัญ ก็ต้องว่าอายตนะสำคัญเหมือนกัน เช่น เมื่อว่าเวทนาเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่ง

ในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก

อายตนะ ก็ย่อมมีความสำคัญมากด้วย เพราะอายตนะเป็นแหล่งหรือเป็นช่องทางที่อำนวยให้เวทนาเกิดขึ้น

เวทนา เป็นสิ่งที่มนุษย์มุ่งประสงค์

อายตนะเป็นแหล่งอำนวยสิ่งที่มุ่งประสงค์นั้น


เท่าที่กล่าวมา สรุปได้ว่า อายตนะ 6 (สฬายตนะ) ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์ 2 อย่างคือ


1. เป็นทางรับรู้โลก หรือ เป็นแหล่งนำโลกมาเสนอต่อมนุษย์ เป็นเครื่องมือสื่อสาร ทำให้มนุษย์ได้รับข้อมูล

แห่งความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถเกี่ยวข้องกับโลกได้ถูกต้อง ทำให้ชีวิตอยู่รอด

และดำเนินไปด้วยดี


2. เป็นช่องทางเสวยโลก หรือ เป็นประตูที่มนุษย์จะเปิดออกไปรับอารมณ์ที่เป็นรสอร่อยของโลกมาเสพเสวย

ด้วยการดู การฟัง การดม การลิ้มรส การแตะต้องเสียดสี ความสนุกสนานบันเทิง

ตลอดจนจินตนาการสิ่งที่หวานชื่นระรื่นใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ความจริง หน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ก็ติดเนื่องอยู่ด้วยกัน

หน้าที่อย่างแรก เรียกได้ว่า เป็นหน้าที่หลัก หรือ หน้าที่พื้นฐานที่จำเป็น

ส่วนหน้าที่ที่สอง เป็นหน้าที่รอง จะว่าเป็นของแถมหรือส่วนเกินก็คงได้

ในกรณีทั้งสองนั้น การทำงานของอายตนะก็อย่างเดียวกัน ความแตกต่างอยู่ที่เจตน์จำนงของมนุษย์

ซึ่งมุ่งไปที่ความรู้หรือมุ่งไปที่เวทนา


สำหรับมนุษย์ปุถุชน ความสำคัญของอายตนะ มักจะก้าวข้ามมาอยู่กับหน้าที่อย่างที่สอง

คือการเสพเสวยโลก จนถึงขั้นที่กลายเป็นว่า หน้าที่อย่างที่หนึ่ง มีไว้เพียงเพื่อเป็นส่วนประกอบสนอง

การทำหน้าที่อย่างที่สอง

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการรับรู้มีไว้เพื่อรับใช้กระบวนการเสพเสวยโลก หรือ รับใช้กระบวนการสังสารวัฏ

เท่านั้น

ทั้งนี้เพราะปุถุชนมักใช้อายตนะ เพื่อมุ่งรับรู้เฉพาะความรู้ส่วนที่จะทำให้ตนได้เสพเสวยอารมณ์อร่อย

ของโลกเท่านั้น หาสนใจสิ่งอื่นพึงรู้นอกจากนั้นไม่

ยิ่งกว่านั้น แม้ความสัมพันธ์กับโลกในภาคแสดงออกด้วยการทำ การพูด การคิด ก็จะกลายเป็นการกระทำ

เพื่อรับใช้กระบวนการสังสารวัฏเช่นเดียวกัน คือ มุ่งทำ พูด คิด เพื่อแสวงหาและให้ได้มาซึ่งอารมณ์

สำหรับเสพเสวย

ยิ่งเป็นปุถุชนที่หนามากเท่าใด ความติดข้องพัวพันอยู่กับหน้าที่อย่างที่สองของอายตนะก็ยิ่งมากขึ้น

เท่านั้น จนถึงขั้นที่ว่า ชีวิตและโลกของมนุษย์วนเวียนอยู่แค่อายตนะ 6 เท่านั้นเอง


เท่าที่กล่าวมานี้ จึงเห็นได้ว่า แม้อายตนะ 6 จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 * และไม่ครอบคลุม

ทุกส่วนแห่งชีวิตของมนุษย์โดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างขันธ์ 5 ก็จริง

แต่มันก็มีบทบาทสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีอำนาจกำกับวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก

จนกล่าวได้ว่า ชีวิตเท่าที่มนุษย์รู้จัก และ ดำเนินอยู่ก็ คือ การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกทางอายตนะ

เหล่านี้ และชีวิตมีความหมายต่อมนุษย์ก็ด้วยอาศัยอายตนะเหล่านี้

ถ้าอายตนะไม่ทำหน้าที่แล้ว โลกก็ดับ ชีวิตก็ไร้ความหมายสำหรับมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความคห.บนที่มี *


* อายตนะ 12 จัดลงในขันธ์ 5 ดังนี้

1. อายตนะ 5 คู่แรก ( จักขุ-รูป โสต-สัททะ ฆานะ-คันธะ ชิวหา-รส กาย-โผฏฐัพพะ)

อยู่ในรูปขันธ์

2. อายตนะภายในที่ 6 คือ มโน หรือ ใจ อยู่ในวิญญาณขันธ์

3. อายตนะภายนอกที่ 6 คือ ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ อยู่ในขันธ์ 4 คือ นามขันธ์ 3

(เวทนา สัญญา สังขาร) และรูปขันธ์ (เฉพาะที่เป็นสุขุมรูปเท่านั้น เช่น อากาศธาตุ ความเป็นหญิง

ความเป็นชาย ความเบา ความอ่อนสลวย ความสืบต่อ ความทรุดโทรม การขยายตัว ความแปรสลาย

ของรูป เป็นต้น) กับทั้งนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะพ้นจากขันธ์


(อภิ.วิ.35/100/85)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อความแห่งหนึ่งในบาลี แสดงกระบวนธรรมเท่าที่กล่าวมานี้ได้อย่างกะทัดรัด

และช่วยเชื่อมความที่กล่าวมาในตอนว่า ด้วยขันธ์ 5 เข้ากับเรื่องที่อธิบายในตอนนี้

ให้ต่อเนื่องกัน มองเห็นกระบวนธรรมได้ครบถ้วนตลอดสายยิ่งขึ้น

จึงยกมาอ้างไว้ดังนี้



“อาศัยตา และ รูป เกิดจักขุวิญญาณ

ความประจวบแห่งธรรมทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (= สัญญา)

หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (= วิตักกะ)

ตริตรึกอารมณ์ใด ย่อมผันพิสดาร ซึ่งอารมณ์นั้น (= ปปัญจะ)

บุคคลผันพิสดาร ซึ่งอารมณ์ใด เพราะผันพิสดารนั้นเป็นเหตุ

ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ (= สัญญาที่ซับซ้อนหลากหลาย) ย่อมผุดพลุ่งสุมรุมเขา ในเรื่องรูป

ทั้งหลาย ที่พึงรู้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน”


(ต่อไปว่า ด้วยอายตนะ และ อารมณ์อื่นๆ จนครบ 6 คู่ ใจความอย่างเดียวกัน)

(ม.มู.12/248/226)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ขยายความคห.บนที่มี *


* อายตนะ 12 จัดลงในขันธ์ 5 ดังนี้

1. อายตนะ 5 คู่แรก ( จักขุ-รูป โสต-สัททะ ฆานะ-คันธะ ชิวหา-รส กาย-โผฏฐัพพะ)

อยู่ในรูปขันธ์

2. อายตนะภายในที่ 6 คือ มโน หรือ ใจ อยู่ในวิญญาณขันธ์

3. อายตนะภายนอกที่ 6 คือ ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ อยู่ในขันธ์ 4 คือ นามขันธ์ 3

(เวทนา สัญญา สังขาร) และรูปขันธ์ (เฉพาะที่เป็นสุขุมรูปเท่านั้น เช่น อากาศธาตุ ความเป็นหญิง

ความเป็นชาย ความเบา ความอ่อนสลวย ความสืบต่อ ความทรุดโทรม การขยายตัว ความแปรสลาย

ของรูป เป็นต้น) กับทั้งนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะพ้นจากขันธ์


(อภิ.วิ.35/100/85)




อาจารย์คะ :b8:
สุขุมรูป หมายถึงอะไรคะ
หนูไม่ได้จับผิดนะคะ แต่เดาความหมายจากตัวอย่างแล้วก็ยังไม่ค่อยแน่ใจค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 21:11, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
อาจารย์คะ :b8:
สุขุมรูป หมายถึงอะไรคะ
หนูไม่ได้จับผิดนะคะ แต่เดาความหมายจากตัวอย่างแล้วก็ยังไม่ค่อยแน่ใจค่ะ



สุขุมรูป หมายถึงรูปละเอียด (สุขุม+รูป) ครับ ศึกษาได้จากหนังสืออภิธรรมชั้นจูฬะ

รูปมีสองอย่างคือโอฬาริกรูป (รูปหยาบ) กับ สุขุมรูป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณรินลบคำถามก่อนหน้าไปแล้ว คุณรินถามไว้ดังนี้

อ้างคำพูด:
อาจารย์คะ
รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายความหมายของคำว่า "เจตสิก" หน่อยได้ไหมคะ
ว่าต่างจากความหมายของคำว่า "จิต" อย่างไร
หนูเคยอ่านการอธิบายความหมายของ "จิต" กับ "เจตสิก" หลายครั้ง แต่ยังงงอยู่

(จำไม่ได้ว่ามีท่านใดเคยโพสต์ไว้บ้างค่ะ)
อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมคะ



อธิบายสั้นๆ ก่อน หากไม่เข้าใจตรงไหนถามต่ออีกได้นะครับ

“เจตสิก” ได้แก่ ธรรมชาติที่เกิดร่วมกับจิต,หรือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้ดีบ้าง ให้ชั่วบ้าง เป็นกลางๆบ้าง

จะอุปมาให้เห็นภาพ เจตสิกเปรียบเหมือนหมึกสี มีสีขาว สีดำ เป็นต้น ที่คนหยดลงในน้ำ

น้ำเปรียบเสมือนจิต หมึกสีเปรียบเสมือน เจตสิก

ลักษณะของมัน คือ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุอย่างเดียวกันกับจิต

(พูดสั้นๆก็ว่า เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกันกับจิต...)

ส่วน จิต มีรูปวิเคราะห์ว่า “ธรรมชาติใด ย่อมคิดซึ่งอารมณ์ เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า จิต”

ดังนั้น จิต แปลว่า ผู้คิด หมายคิดอารมณ์, ธรรมชาติ ที่รู้แจ้งอารมณ์ (ทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ)


เจตสิกมี 52 ท่านจัดไว้เป็นกลุ่มๆ 3 กลุ่มดังนี้

(13)
-ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา (= สมาธิ) ชีวิตินทรีย์ มนสิการ เวทนา สัญญา
-วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ

(14)
-โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
-โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ วิจิกิจจฉา

(25)
-ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา

-สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
-กรุณา มุทุตา ปัญญา

(เวทนา กับ สัญญา ท่านจัดเป็นเวทนาขันธ์ กับ สัญญาขันธ์ อีก 50 ที่เหลือ จัด สังขารขันธ์)


สังขาร(ขันธ์) ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้

ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ

เป็นที่มาของกรรม

เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือ เครื่องปรุงของกรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 มี.ค. 2010, 16:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้คุณรินดูที่ชาวพุทธบ้านเราถกเถียงกันมากอีกแห่งหนึ่ง คือ คำว่า จิต กับ วิญญาณ

ความจริง 2 ศัพท์นี้ มีความหมายเดียวกัน ใช้แทนกันได้

ตามแบบมี 6 ศัพท์ เช่น “จิต มโน มานัส วิญญาณ หทัย มนะ”



คำว่า จิต คัมภีร์อภิธรรมนำไปใช้อธิบายชีวิตส่วนที่เป็นนามธรรม

ส่วนคำว่า วิญญาณ พระสูตรนำไปใช้อธิบายชีวิตส่วนที่เป็นนามธรรม

แล้วขยายออกไปอีก นอกจากจัดเป็นขันธ์ (= วิญญาณขันธ์) แล้ว ยังจัดเป็นอายตนะ(=มนายตนะ)

จัดเป็นธาตุ (=วิญญาณธาตุ) จัดเป็นอินทรีย์ ( = มนิทรีย์)


วิญญาณ แบ่งตามทางที่เกิดเป็น 6 คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ

กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ

(แปลตามแบบว่า การรู้แจ้งอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามลำดับ)

ตามแนวอภิธรรม เรียกวิญญาณขันธ์ทั้งหมดว่า “จิต”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 มี.ค. 2010, 16:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้คุณรินดูต่ออีกครับ

ชีวิตท่านจำแนกเป็นขันธ์ได้ 5 ขันธ์ (ขันธ์แปลว่า กอง)แนวหนึ่ง และอีกแนวหนึ่ง ที่เรียกปฏิจจสมุปบาท

12 อีกแนวหนึ่ง คือ

1.อวิชชา

2. สังขาร

3. วิญญาณ

4. นามรูป

5.สฬายตนะ

6.ผัสสะ

7.เวทนา

8. ตัณหา

9. อุปาทาน

10. ภพ

11. ชาติ

12. ชรามรณะ ... (ทุกขสมุทัย-เกิดทุกข์)


ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกขนิโรธ (ทุกข์ดับ) ก็ดับอวิชชาตัวต้น เมื่ออวิชชาดับ องค์ธรรมฝ่ายดับทุกข์ทั้งสายก็ดับ

ตามๆกัน

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ข้อพิเศษที่ควรรู้ คือ ชีวิตนี้ ท่านอธิบายเป็นสองแนว คือ แนวขันธ์ (ขันธ์ 5) กับแนวปฏิจจสมุปบาท

หากจะเปรียบเทียบกับเรื่องรถ คำอธิบายแนวขันธ์ 5 ก็เหมือนรถที่ตั้งแสดงให้ดูส่วนประกอบต่างๆอยู่กับที่

ส่วนคำอธิบายแนวปฏิจจสมุปบาท เป็นเหมือนอธิบายเรื่องรถที่เดินเครื่องออกแล่นใช้งานจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 มี.ค. 2010, 17:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร