วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 01:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์ :b8:


หนูขอถามอาจารย์เป็นข้อๆ ดังนี้ค่ะ

1. ตลอดชีวิตของคนๆ หนึ่ง มีจิตกี่ดวง หมายความว่า มีจิดดวงเดียว แต่เกิดดับๆ ต่อเนื่องกันไป
หรือจิตดวงหนึ่งเกิดแล้วดับ แล้วเกิดจิตดวงใหม่ขึ้นมาแล้วก็ดับ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

2. หนูได้อ่านเจตสิก 52 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มีศัพท์หลายคำที่ไม่ทราบความหมาย
เลยค้นหาความหมายของศัพท์จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ทั้งฉบับประมวลศัพท์ และประมวลธรรม
พบการอธิบายการแบ่งกลุ่มเจตสิก แต่ขอตัดข้อความมาเพียงส่วนหนึ่งค่ะ

อัญญสมานาเจตสิก เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตต์ทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับ
จิตทุกดวง) ๗ คือ
ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
เวทนา
สัญญา
เจตนา
เอกัคคตา
ชีวิตินทรีย์
มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)
ข. ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือเกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไป
ทุกดวง) ๖ คือ
วิตก (ความตรึกอารมณ์)
วิจาร (ความตรองอารมณ์)
อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์)
วิริยะ
ปีติ
ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เจตสิก&detail=on

คำว่า "จิตทุกดวง" หมายถึง จิตของทุกคน หรือหมายถึงเฉพาะจิดของผู้ใดผู้หนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งคะ

3. เอกัคคตา คือ เอกัคคตา ในฌาน 1-4
วิตก วิจาร คือ วิตก วิจาร ในฌาน 1
ปีติ คือ ปีติ ในฌาณ 1-2
วิริยะ คือ วิริยะ ในอิทธิบาท 4, บารมี 10, และ พละ 5
ฉันทะ คือ ฉันทะ ในอิทธิบาท 4
ใช่หรือไม่คะ คือ ไม่ได้มีความหมายอื่นอีกนอกจากนี้

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 25 มี.ค. 2010, 10:24, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบความหมายเจตนาก่อนนะครับ

คือว่า เจตนา ในทางธรรม มีความหมายลึกซึ้งกว่า เจตนา ที่ใช้กันโดยทั่วไป

คุณริน คงเคยได้ยินคำว่า เจตนา เป็นตัว กรรม หรือ กรรมก็คือเจตนา มาบ้างแล้ว

ศึกษาเรื่องกรรม หรือ เจตนาโดยละเอียดลิงค์นี้ครับ



viewtopic.php?f=4&t=19058&p=86360#p86360

เอามาให้ดูตรงนี้หน่อยดังนี้

เจตนา ในทางธรรม มีความหมายละเอียดอ่อนกว่าที่เข้าใจกันทั่วไปในภาษาไทย

กล่าวคือ ในภาษาไทย มักใช้เจตนาต่อเมื่อต้องการเชื่อมโยงความคิดที่อยู่ภายในกับการกระทำที่แสดงออกมา

ในภายนอก เช่นว่า พูดพลั้งไปไม่ได้เจตนา หรือ เขากระทำการโดยเจตนา เป็นต้น


แต่ในทางธรรม คือ ตามหลักกรรม การกระทำ การพูด ที่แสดงออกภายนอกโดยจงใจก็ดี

ความคิดต่างๆ แม้เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น ๆ ชั่วครู่ชั่วขณะแล้วผ่านไปๆ ภายในจิตใจก็ดี

การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ดี

ความรู้สึกและท่าทีของจิตใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ระลึกหรือนึกขึ้นมา

ในใจก็ดี ล้วนมีเจตนาประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น


เจตนา จึงเป็นเจตน์จำนง ความจงใจ การเลือกอารมณ์ของใจ ตัวนำที่หันเหชักพาทำให้จิตเคลื่อนไหว

โน้มน้อมไปหา หรือ ผละไปจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

เป็นหัวหน้า เป็นผู้จัดการ หรือ เจ้ากี้เจ้าการของจิตว่า จะเอาอะไร ไม่เอาอะไร กับเรื่องใดอย่างไร

เป็นตัวการจัดแจงแต่งวิถีทางของจิต และในที่สุดก็เป็นตัวการปรุงแต่งจิตนั้นให้เป็นไปต่างๆ

เมื่อเจตนาเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ก็คือกรรมเกิดขึ้นทีหนึ่ง

เมื่อกรรมเกิดขึ้นแล้ว ก็มีผลทันที เพราะเมื่อเจตนาเกิดขึ้น ก็คือมีกิจกรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว

จิตมีการเคลื่อนไหว หรือไหวตัวแล้ว


แม้เป็นเพียงความคิดอะไรเล็กน้อย ซึ่งถึงจะไม่มีผลอะไรสำคัญ แต่ก็ไม่ไร้ผลเสียเลย

อย่างน้อย ก็เป็นละอองกรรมอันละเอียดที่สั่งสม หรือ พอกเข้าไว้เป็นเครื่องปรุงแต่งคุณสมบัติของจิตอยู่ภายใน

เมื่อมากขึ้น เช่น จิตเสพความคิดนั้นบ่อยๆ หรือความคิดนั้นรุนแรงขึ้นจนออกมาภายนอก ผลก็แรงขึ้นขยาย

ออกมาเป็นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ เป็นต้น


เช่น เจตนาในการทำร้าย ไม่ต้องพูดถึงกรรมร้ายแรงถึงขั้นจะฆ่าคน

แม้แต่การทำลายสิ่งของที่เล็กๆน้อยๆ เหลือเกิน ถ้าทำด้วยเจตนาทำร้าย คือประกอบด้วยโทสจิตหรือมีความ

โกรธ

อย่างคนฉีกกระดาษด้วยความฉุนเฉียว ทั้งที่กระดาษนั้นไม่มีคุณค่าสำคัญอะไร

แต่ย่อมมีผลต่อสุขภาพจิตหาเหมือนกันไม่กับการฉีกกระดาษของคนที่ทำด้วยจิตปกติโดยรู้ว่า จะไม่ใช้กระดาษ

นั้นแล้ว เมื่อทำการอะไรๆ ด้วยเจตนาอย่างนั้นบ่อยๆ

ผลแห่งการสั่งสมก็จะปรากฏชัดยิ่งขึ้น และอาจขยายกว้างออกไปในระดับต่างๆโดยลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2010, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจารย์คะ
คำถามอื่นเป็นคำถามที่ไม่ควรถามหรือคะ
อาจารย์กรุณาชี้แจงด้วยค่ะ ต่อไปจะได้ไม่ต้องถามคำถามประเภทนี้อีก ไม่ว่าจะที่เว็บนี้หรือที่ใด ๆ ค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หนูขอถามอาจารย์เป็นข้อๆ ดังนี้ค่ะ

1. ตลอดชีวิตของคนๆ หนึ่ง มีจิตกี่ดวง หมายความว่า มีจิตดวงเดียว แต่เกิดดับๆ ต่อเนื่องกันไป หรือ จิตดวงหนึ่งเกิดแล้วดับ แล้วเกิดจิตดวงใหม่ขึ้นมาแล้วก็ดับ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ



1. มีดวงเดียว แต่เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ฯลฯ เกิดที่ไหนดับที่นั้น ความคิดเก่าดับไป

ความคิดใหม่ก็เกิด ฯลฯ สืบต่อกันตั้งแต่เกิดจนตาย (หากนับเป็นจำนวนตัวเลขนับไม่ถ้วน)

ดูคาถานี้ประกอบ

ทูรงฺคมํ เอกจรํ - อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสสนฺติ - โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา

-คนเหล่าใด จักสำรวมจิต ซึ่งไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายนี้เป็นที่อาศัย
คนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกของมาร



เพื่อให้เห็นภาพความคิด หรือ การเกิดดับๆๆ ของจิตได้ชัดขึ้น

คุณรินอ่านเรื่องที่ท่านเล่าประกอบคาถานั้นย่อๆ

ก่อนที่พระศาสดาจะตรัสคาถานี้ เรื่องก็มีอยู่ว่า มีกุลบุตรคนหนึ่งได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว
เกิดความเลื่อมใสจึงออกบวช หลังจากบวชแล้วได้ชื่อว่า สังฆรักขิตเถระ ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล

ท่านมีหลานชายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่าภาคิไนยสังฆรักขิตะ (ชื่อเหมือนหลวงลุง)
เมื่ออายุครบบวชแล้ว จึงออกบวชตามหลวงลุง แล้วจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

วันหนึ่งพระหลานชายได้ผ้ามาสองผืนๆหนึ่งยาว 8 ศอก อีกผืน ยาว 7 ศอก
จึงคิดว่า ผ้าผืนยาว 8 ศอกนี้ จะถวายหลวงลุง
ผืนยาว 7 ศอก จะเก็บไว้ใช้สอยเองว่างั้น :b1:

หลังจากออกพรรษาแล้ว จึงเดินทางไปเยี่ยมหลวงลุงพร้อมกับนำผ้าไปถวายด้วย
ไปถึงหลวงลุงไม่อยู่ ก็จึงจัดแจงปัดกวาดเสนาสนะตักน้ำใช้น้ำฉันรอท่า
หลังจากพระสังฆรักขิตะกลับมาแล้ว พระหลานชายจึงนำผ้ามาวางไว้พูดว่า
ท่านขอรับ ขอท่านจงใช้ผ้าผืนนี้เถิด ดังนี้ แล้วถือพัดก้านตาลยืนพัดอยู่

พระสังฆรักขิตะปฏิเสธ ของฉันมีครบแล้ว เธอเก็บไว้ใช้เถอะนะ
พระหลานชายก็ยืนยันจะถวายให้ได้ ฯลฯ
พระเถระก็ปฏิเสธทุกครั้ง

พระหลานชายยืนพัดไปคิดนึกน้อยใจว่า เวลาเป็นคฤหัสถ์ เรารึก็เป็นหลาน
เวลาบวช เราก็เป็นสัทธิวิหาริก ท่านเป็นอุปัชฌาย์ของเรา
ถึงขนาดนี้ ท่านก็ไม่ประสงค์จะใช้สอยผ้าที่เรานำมาถวาย แบบเนี่ยเราจะบวชอยู่ทำไม สึกดีกว่า

ขณะนั้น พระหลานชาย ได้มีความคิดเห็นว่า การครองเรือนตั้งตัวได้ยาก เราจะขายผ้าผืนยาว 8 ศอกนี้ ซื้อแม่แพะมาสักตัวหนึ่ง ธรรมดาแม่แพะตกลูกเร็ว จะขายลูกแพะที่ตกๆ แล้วเหล่านั้น
เอาเงินมาเป็นต้นทุน เมื่อรวบรวมเงินได้มากแล้ว จักหาเมียสักคน เมื่อหล่อนคลอดลูกแล้ว จะตั้งชื่อลูกเหมือนหลวงลุงนี่แหละ แล้วจะพาลูกพาเมียนั่งยานน้อยขับไปไหว้หลวงลุงที่กุฎี

เมื่อเดินทางมา จักพูดกะภริยาว่า “นี่เธอเอาลูกมานี่ฉันจะอุ้มเขาเอง”
หล่อนก็จะพูดว่า คุณนั่นแหละขับยานไป ฉันอุ้มลูกเอง
แล้วรับลูกไป เมื่อไม่อาจอุ้มไปได้ จึงทิ้งลูกไว้ที่รอยล้อ เมื่อเป็นเช่นนั้น ล้อจักเหยียบลูก

จากนั้น เราจะพูดกะภรรยาว่า หล่อนไม่ให้ฉันอุ้มลูก แล้วก็ไม่สามารถอุ้มลูกไปได้
ดูสิลูกตายเพราะหล่อนแท้ๆ จึงเอาด้ามปฏักตีหลังภริยา

พระหลานชายยืนพัดด้วยคิดอย่างนั้นด้วย เอาด้ามพัดตีหัวหลวงลุง


พระสังฆรักขิตะผู้เป็นลุง คิดว่า เพราะเหตุไรหนอ ? พระหลานชายจึงตีหัวเรา
ก็รู้เรื่องที่พระหลานชายคิดทั้งหมด จึงพูดว่า คุณไม่ได้ตีผู้หญิง (มาตุคาม)

ในเรื่องนี้ พระเถระแก่ๆอย่างเรา มีโทษอะไรด้วยเล่า ?

ภาคิยไนยรักขิตะ จึงคิดว่า ตายแล้วๆ หลวงลุงรู้ด้วยว่าเรา คิดอะไร จึงเกิดความอาย ทิ้งพัดจะหนีไป

ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงให้ภิกษุเรียกพระภาคิไนยสังฆรักขิตะมาถาม ก็ทราบเรื่องทั้งหมดตั้งแต่
พระภาคิยสังฆรักขิตะได้ผ้ามา จนถึงเอาด้ามพัดตีศีรษะพระเถระ

พระศาสดาจึงตรัสว่า มาเถิดภิกษุ เธออย่าคิดไปเลย ธรรมดาจิตนี้มีหน้าที่รับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล
ควรที่ภิกษุจักพยายามเพื่อประโยชน์แก่การพ้นจากเครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ ดังนี้แล้ว
จึงตรัสคาถาดังกล่าวข้างต้น


คุณรินสังเกตดูว่าพระหลานชายยืนพัดให้หลวงลุงอยู่ด้วย ในใจก็คิดฟุ้งสร้างภาพไป
ในอนาคต เช่น การมีครอบครัวลูกเมีย...แต่ละขณะๆจิตเจตสิกมากมายเกิดๆดับๆ ไปด้วยกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 มี.ค. 2010, 07:54, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2010, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น ดูที่ท่านแก้อรรถไว้

ทูรงฺคมํ
เอกจรํ
อสรีรํ
คุหาสยํ
เย จิตฺตํ
โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา


“ทูรงฺคมํ” ก็ชื่อว่า การไปและการมาของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศตะวันออก เป็นต้น

แม้ประมาณเท่าใยแมลงมุม ย่อมไม่มี จิตนั้น ย่อมรับอารมณ์แม้มีอยู่ในที่ไกล เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า “ทูรังคะมัง”


“เอกจรํ” จิต 7-8 ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความรวมกันในขณะเดียว ย่อมไม่มี

ในกาลเป็นที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดขึ้นทีละดวงๆ เมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทีละดวงอีก

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า “เอกะจะรัง”

“อสรีรํ” สรีรสัณฐานก็ดี ประเภทแห่งสีมีสีเขียว เป็นต้น เป็นประการก็ดีของจิต ย่อมไม่มี

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า “อะสะรีรัง”


ถ้ำคือมหาภูต 4 ชื่อว่า คูหา, ก็จิตนี้ อาศัยหทัยรูปเป็นไปอยู่ * เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า “คุหาสะยัง”

(*อีกนัยหนึ่ง แปลว่า จิตอาศัยมหาภูตนี้ คือ หทัยรูป)


“เย จิตฺตํ” ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือ จะเป็นบุรุษหรือสตรี เป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เมื่อไม่ให้กิเลส

ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วเพราะความฟั่นเฟือนแห่งสติ ชื่อว่าจักสำรวมจิต คือจักทำจิต

ให้สงบ ได้แก่ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน


“โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา” ชนเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าจักพ้นจากวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 อันนับว่า

เป็นเครื่องผูกแห่งมาร เพราะไม่มีเครื่องผูกคือกิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 มี.ค. 2010, 16:12, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 3385 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
2. คำว่า "จิตทุกดวง" หมายถึง จิตของทุกคน หรือ หมายถึงเฉพาะจิตของผู้ใดผู้หนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งคะ


จิต (ความคิด) ของใครผู้ใดก็ได้ นาย ก. นาง ข. ฯลฯ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 เม.ย. 2010, 16:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
3. เอกัคคตา คือ เอกัคคตา ในฌาณ 1-4
วิตก วิจาร คือ วิตก วิจาร ในฌาณ 1
ปีติ คือ ปีติ ในฌาณ 1-2
วิริยะ และ ฉันทะ คือ วิริยะ และ ฉันทะ ในอิทธิบาท 4
และเจตนา คือ คำว่า เจตนา ที่ใช้กันโดยทั่วไป

หรือคำเหล่านี้ยังมีความหมายอื่นอีกคะ


3.ความหมาย เจตนา ตอบแล้วนะครับว่าเจตนาที่ท่านใช้ทางธรรมมีความหมายลึกซึ้งกว่า เจตนา ที่ใช้พูดกัน
โดยทั่วไปดังกล่าวแล้วข้างต้น

ส่วนคำศัพท์ที่เหลือ มีความหมายเดียวกันกับที่ใช้โดยทั่วไป แต่เข้มแข็งเจริญขึ้นได้จากการฝึกฝนอบรม
ของบุคคลโดยถูกต้อง หมายความว่าผู้ใดฝึกอบรมถูกต้อง คำหรือองค์ธรรมนั้น ๆ ก็เจริญขึ้นทำหน้าที่ของมันได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายคำเหล่านั้นเพิ่มเติมอีกซักหน่อย


วิตก แปลว่า ความตริ หมายถึง การจรดหรือปักจิตลงไปในอารมณ์หรือยกจิตใส่อารมณ์

วิจาร แปลว่า ความตรอง หมายถึงการฟั้น เคล้า หรือเอาจิตผูกพันอยู่กับอารมณ์

วิตก กับ วิจารต่อเนื่องกัน คือ
วิตก เอาจิตจรดไว้กับอารมณ์
วิจาร เอาจิตเคล้าอารมณ์นั้น
เปรียบได้กับคนเอาภาชนะสำริดที่สนิมจับไปขัด วิตก เหมือนมือที่จับภาชนะไว้ วิจาร เหมือนมือ
ที่ถือแปรงขัดสีไปมา

หรือเปรียบกับช่างปั้นหม้อ วิตก เหมือนมือที่กดไว้ วิจาร เหมือนมือที่แต่งไปทั่วๆ


ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ดื่มด่ำ หรือเอิบอิ่ม หมายเอาเฉพาะปีติชนิดแผ่เอิบอาบซาบซ่าน
ไปทั่วสรรพางค์กาย ที่เรียกว่า ผรณาปีติ

สุข แปลว่า ความสุข หมายถึงความสำราญ ชื่นฉ่ำ คล่องใจ ปราศจากความบีบคั้น
หรือรบกวนใดๆ

ปีติ กับสุข มีลักษณะต่างกัน
กล่าวคือ ปีติ หมายถึง ความยินดีในการได้อารมณ์ที่ต้องการ
ส่วนความสุข หมายถึง ความยินดีในการเสวยรสอารมณ์ที่ต้องการ

ตัวอย่างเช่น คนผู้หนึ่งเดินทางมาในทะเลทรายเหนื่อยอ่อน แสนจะร้อนและหิวกระหาย ต่อมาเขาเห็น
หมู่ไม้และแอ่งน้ำ หรือ พบคนอีกคนหนึ่งซึ่งบอกเขาว่า มีหมู่ไม้และแอ่งน้ำอยู่ใกล้ที่นั้น
หลังจากนั้น เขาก็ได้ไปถึง เข้าพักผ่อนและดื่มน้ำที่หมู่ไม้และแอ่งน้ำนั้นสมใจ
อาการดีใจเมื่อเห็น หรือ ได้ยินข่าวหมู่ไม้และแอ่งน้ำนั้น เรียกว่า ปีติ
อาการชื่นใจ เมื่อได้เข้าพักที่ใต้ร่มไม้และได้ดื่มน้ำ เรียกว่า สุข

อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย หรือความมีใจเป็นกลาง

หรือแปลให้เต็มว่า ความวางทีเฉยดูอยู่ หมายถึงการดูอย่างสงบ หรือดูตามเรื่องที่เกิด ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย หมายถึง วางทีดูเฉยในเมื่ออะไรทุกอย่างเข้าที่ดำเนินไปด้วยดี หรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขวนขวาย
เจ้ากี้เจ้าการ กล่าวคือบริสุทธิ์หมดจดจากธรรมที่เป็นข้าศึกเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องขวนขวายที่จะกำจัดธรรม
ที่เป็นข้าศึกนั้นอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 มี.ค. 2010, 18:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสริมความเข้าใจต่ออีกหน่อย


ในกรณีของฌาน อุเบกขามีในฌานทุกขั้น แต่ในขั้นต้นๆ ไม่เด่นชัด ยังถูกธรรมที่เป็นข้าศึก

เช่นวิตก วิจาร และสุขเวทนา เป็นต้น ข่มไว้ เหมือนดวงจันทร์ในเวลากลางวัน ไม่กระจ่าง ไม่แจ่ม

เพราะถูกแสงอาทิตย์ข่มไว้ ครั้นถึงฌานที่ ๔ ธรรมที่เป็นข้าศึกระงับไปหมด และได้ราตรี

คืออุเบกขาเวทนา (คืออทุกขมสุขเวทนา) สนับสนุน * ก็บริสุทธิ์ ผุดผ่อง แจ่มชัด และพาให้ธรรมอื่นๆ

ที่ประกอบอยู่ด้วยเช่น สติ เป็นต้น ก็พลอยแจ่มชัดบริสุทธิ์ไปด้วย

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* พึงระวังความสับสนระหว่างอุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งได้แก่ตัตรมัชฌัตตตา คือภาวะเป็นกลาง อันเป็น

กุศลธรรม อยู่ในหมวดสังขารขันธ์ กับ อุเบกขาที่เป็นเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า

อทุกขมสุขเวทนา แปลว่า ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ และเป็นของไม่ดีไม่ชั่ว

ในฌานที่ ๔ อุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน มีอุเบกขาเวทนาประกอบร่วมด้วย คือมาทั้งสองอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 มี.ค. 2010, 18:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกัคคตา แปลว่า ภาวะจิตที่มีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ตัวสมาธินั่นเอง มีในฌานทุกขั้น


คำว่า องค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบร่วมอยู่เป็นประจำในฌานขั้นนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยก

ฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น มิใช่หมายความว่า ในฌานมีองค์ธรรม

ทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น

ความจริง องค์ธรรมอื่นๆที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง

และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกเป็นอันมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ

มนสิการ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูธรรมที่เป็นเป็นปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูกันดังนี้


วิตก เป็นปฏิปักษ์ของถีนมิทธะ

วิจาร เป็นปฏิปักษ์ของวิจิกิจฉา

ปีติ เป็นปฏิปักษ์ของพยาบาท

สุข เป็นปฏิปักษ์ของอุทธัจจกุกกุจจะ

สมาธิ หรือ เอกัคคตาเป็นปฏิปักษ์ของกามฉันท์

เมื่อองค์ธรรม คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข สมาธิ เหล่านี้เกิดขึ้นก็ย่อมกำจัดนิวรณ์ให้หมดไป

และเมื่อธรรมเหล่านี้อยู่ นิวรณ์ก็เข้ามาไม่ได้

แต่ในทางตรงข้าม ถ้านิวรณ์ครอบงำใจอยู่ วิตก วิจาร เป็นต้น ก็ทำหน้าที่ไม่ได้

กรณีนี้ยังเชื่อมโยงถึงโพชฌงค์ซึ่งเป็นหมวดธรรมฝ่ายตรงข้ามกับนิวรณ์อีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 มี.ค. 2010, 17:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8951248-9.jpg
Y8951248-9.jpg [ 64.44 KiB | เปิดดู 3355 ครั้ง ]
โพชฌงค์มี ๗ ข้อ คือ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

มีพุทธพจน์จำกัดความหมายของโพชฌงค์สั้นๆว่า

"เพราะเป็นไปเพื่อโพธะ(ความรู้)ฉะนั้น จึงเรียกว่า โพชฌงค์"*

(*สํ.ม.19390/104;435/120)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 มี.ค. 2010, 18:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2010, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เสริมความเข้าใจต่ออีกหน่อย

* พึงระวังความสับสนระหว่างอุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งได้แก่ตัตรมัชฌัตตตา คือภาวะเป็นกลาง อันเป็น

กุศลธรรม อยู่ในหมวดสังขารขันธ์ กับ อุเบกขาที่เป็นเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า

อทุกขมสุขเวทนา แปลว่า ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ และเป็นของไม่ดีไม่ชั่ว

ในฌานที่ ๔ อุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน มีอุเบกขาเวทนาประกอบร่วมด้วย คือมาทั้งสองอย่าง


อย่างกะ...รู้ชัดอยู่ในความรู้สึกเฉย ๆ และก็รู้สึกเฉย ๆ ต่อสิ่งที่รู้สึก...
แบบดูอยู่รู้อยู่เช่นนั้น หรือเจ้าคะ... :b1: :b1: :b1:

:b16: :b16:


ไบกอน...ไม่ได้โดดเรียน...น๊าาา... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง่าาา...ง่าาา...

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์ :b8:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 08 เม.ย. 2010, 10:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร