วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 22:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ต่อเนื่องจากกระทู้นี้ค่ะ :b1:
viewtopic.php?f=2&t=25475&st=0&sk=t&sd=a


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ช่วงหลายวันมานี้เวลาฟังเพลง (จากที่หยุดฟังไปช่วงหนึ่ง เพราะช่วงนั้นเบื่อมาก)
มีความรู้สึกเหมือนมีเนื้อเพลงไหลผ่านไปเรื่อยๆ
ส่วนมากจะไม่ค่อยจินตนาการตามเพลง ยิ่งฟังไปหลายๆ เพลงยิ่งมีความสุขแบบเย็นๆ
ตัวนิ่งแข็งทื่อ และรู้สึกเหมือนไม่หายใจเหมือนตอนนั่งกรรมฐานเลยค่ะ
แต่ยกเว้นเพลงที่ฝังใจมากนะคะ เพราะจะมีสิ่งที่โยงกับเพลงผุดขึ้นมา ลมหายใจถี่ขึ้น
หัวใจเต้นแรง ไม่ค่อยมีความสุขเย็น
และในชีวิตประจำวันก็ยังรู้สึกว่าความสุขเย็นนี้ติดตัวเราเกือบตลอดเวลา
จนบางครั้งคิดว่าตัวเองไม่สบายหรือเปล่า
ความรู้สึกมีความสุขแบบเย็นๆ อย่างนี้น่าจะมีเหตุมาจากอย่างอื่นอีกไหมคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 21:14, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
และในชีวิตประจำวันก็ยังรู้สึกว่าความสุขเย็นนี้ติดตัวเราเกือบตลอดเวลา
จนบางครั้งคิดว่าตัวเองไม่สบายหรือเปล่า
ความรู้สึกมีความสุขแบบเย็นๆ อย่างนี้น่าจะมีเหตุมาจากอย่างอื่นอีกไหมคะ



เป็นลักษณะของปัสสัทธิครับ

ปัสสัทธิ ความสงบเยือกเย็นในใจ (tranquility)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ดูความหมายองค์ธรรมดังกล่าวกว้างๆ

ปัสสัทธิ ความสงบกายใจ หมายถึงผ่อนคลายกายใจ สงบระงับ เรียบเย็น ไม่เครียด

ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 18:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์สังวร ความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึงการปิดหู ปิดตา

ไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน เป็นต้น

ในขั้นต้น หมายถึง การควบคุมจิตใจ ควบคุมความรู้สึกได้ ในเมื่อเกิด

ความรับรู้ ทางตา ทางหู เป็นต้น

ไม่ให้ถูกชักจูงไปในทางที่ถูกกิเลสครอบงำ

ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ

ที่จะเกิดจากการรับรู้เหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ตามต้องการ

(ดู อินทรีย์ภาวนาสูตร ม.อุ.14/853/541)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 18:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ช่วงหลายวันมานี้เวลาฟังเพลง (จากที่หยุดฟังไปช่วงหนึ่ง เพราะช่วงนั้นเบื่อมาก)
มีความรู้สึกเหมือนมีเนื้อเพลงไหลผ่านไปเรื่อยๆ
ส่วนมากจะไม่ค่อยจินตนาการตามเพลง ยิ่งฟังไปหลายๆ เพลงยิ่งมีความสุขแบบเย็นๆ
ตัวนิ่งแข็งทื่อ และรู้สึกเหมือนไม่หายใจเหมือนตอนนั่งกรรมฐานเลยค่ะ


เทียบความรู้สึกท่อนข้างบน ^ กับกับข้างล่าง V ต่างกัน

อ้างคำพูด:
แต่ยกเว้นเพลงที่ฝังใจมากนะคะ เพราะจะมีสิ่งที่โยงกับเพลงผุดขึ้นมา ลมหายใจถี่ขึ้น
หัวใจเต้นแรง ไม่ค่อยมีความสุขเย็น


สมมุติเราฟังเพลง (ฟังเสียง) โดยปล่อยให้เสียงที่กระทบหูนั้นไหลไปตามปกติของมัน

(เสียงก็เป็นสักแต่ว่าเสียง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน) ขณะนั้นองค์ธรรม มีสมาธิ เป็นต้น เกิดได้

เช่นเดียวกับเราเพ่งดูสิ่งหนึ่งสิ่งใดนิ่งๆ สมาธิก็เกิดได้

แต่เมื่อเห็นหรือได้ยินเป็นต้นแล้ว ความยินดียินร้ายเกิดขวางกระแสนั้น ก็มีอาการอย่างท่อนล่างดังว่า

ลมหายใจเร็วๆถี่ๆ หัวใจเต้นแรง รู้สึกกระสับกระส่าย ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 19:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ช่วงหลายวันมานี้เวลาฟังเพลง (จากที่หยุดฟังไปช่วงหนึ่ง เพราะช่วงนั้นเบื่อมาก)
มีความรู้สึกเหมือนมีเนื้อเพลงไหลผ่านไปเรื่อยๆ
ส่วนมากจะไม่ค่อยจินตนาการตามเพลง ยิ่งฟังไปหลายๆ เพลงยิ่งมีความสุขแบบเย็นๆ
ตัวนิ่งแข็งทื่อ และรู้สึกเหมือนไม่หายใจเหมือนตอนนั่งกรรมฐานเลยค่ะ
แต่ยกเว้นเพลงที่ฝังใจมากนะคะ เพราะจะมีสิ่งที่โยงกับเพลงผุดขึ้นมา ลมหายใจถี่ขึ้น
หัวใจเต้นแรง ไม่ค่อยมีความสุขเย็น
และในชีวิตประจำวันก็ยังรู้สึกว่าความสุขเย็นนี้ติดตัวเราเกือบตลอดเวลา
จนบางครั้งคิดว่าตัวเองไม่สบายหรือเปล่า
ความรู้สึกมีความสุขแบบเย็นๆ อย่างนี้น่าจะมีเหตุมาจากอย่างอื่นอีกไหมคะ



โดยภาพรวมการปฏิบัติกรรมฐานของคุณรินเดินหน้าเรื่อยๆ :b1:

แต่เสริมความรู้เข้าใจอีกหน่อยที่ว่า


ช่วงหลายวันมานี้เวลาฟังเพลง (จากที่หยุดฟังไปช่วงหนึ่ง เพราะช่วงนั้นเบื่อมาก)

ความรู้สึกในวงเล็บ เพราะอารมณ์ตอนนั้นอยู่ในขั้นตอนที่ ๑

(แต่ ณ ตอนนี้คุณก้าวเข้าสู่ขั้นตอนที่ ๒ แล้ว พึงปฏิบัติต่อไปครับ)

ขั้นตอนที่ ๑ นั้น ผู้ปฏิบัติจะเบื่อหน่ายอะไรต่ออะไรไปหมด ไม่อยากเจอะเจอผู้คน

เบื่องานเบื่อครอบครัว อยากบวชเข้าป่าเข้าดง ฯลฯ

คุณรินอ่านทำความเข้าใจทั้งสองขั้นตอนดูดังนี้ ครับ


ตามปกติ ผู้เจริญปัญญาด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ จะพัฒนาความเข้าใจ ต่อโลกและชีวิตให้เข้มคมชัดเจน

ยิ่งขึ้น พร้อมกับมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพจิต เป็นขั้นตอนสำคัญ ๒ ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ ๑

เมื่อเกิดความรู้เท่าทันสังขาร มองเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่เป็นตัวตนชัดเจนขึ้นในระดับ

ปานกลาง จะมีความรู้สึกทำนองเป็นปฏิกิริยาเกิดขึ้น คือ รู้สึกในทางตรงข้ามกับความรู้สึกที่เคยมีมาแต่เดิม

ก่อนนั้นเคยยึดติดหลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น มัวเมา เพลิดเพลินอยู่กับสิ่งนั้น

คราวนี้ พอมองเห็นไตรลักษณ์เข้าแล้ว ความรู้สึกเปลี่ยนไป กลายเป็นรู้สึกเบื่อหน่าย รังเกียจ อยากหนีไปเสีย

ให้พ้น

บางที ถึงกับรู้สึกเกลียดกลัว หรือ ขยะแขยง นับว่าเป็นขั้นที่ความรู้สึกแรงกว่าความรู้

แม้ว่า จะเป็นขั้นตอนที่ปัญญายังไม่สมบูรณ์ และ ความรู้สึกยังเอนเอียง แต่ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ หรือ บางทีถึง

กับจำเป็น ในขณะที่จะถอนตนให้หลุดออกไปได้จากความหลงใหลยึดติด ซึ่งเป็นภาวะที่มีพลังแรงมาก

เพื่อจะสามารถก้าวต่อไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์ ในขั้นตอนที่ ๒ ต่อไป

ในทางตรงข้าม ถ้าหยุดอยู่เพียงขั้นนี้ ผลเสียจากความรู้สึกที่เอนเอียงก็จะเกิดขึ้นได้


ขั้นตอนที่ ๒

เมื่อความรู้เท่าทันนั้น พัฒนาต่อไป จนกลายเป็นความรู้เห็นตามความเป็นจริง ปัญญาเจริญเข้าสู่ภาวะสมบูรณ์

เรียกว่า รู้เท่าทันธรรมดาอย่างแท้จริง ความรู้สึกเบื่อหน่าย รังเกียจ และ อยากจะหนีให้พ้นไปเสียนั้น

ก็จะหายไป กลับรู้สึกเป็นกลาง ทั้งไม่หลงใหล ทั้งไม่หน่ายแสยง ไม่ติดใจ แต่ก็ไม่รังเกียจ ไม่พัวพัน

แต่ก็ไม่เหม็นเบื่อ

มีแต่ความรู้ชัดตามที่มันเป็น และความรู้สึกโปร่งโล่งเป็นอิสระ พร้อมด้วยท่าทีของการที่จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ

ไปตามความสมควรแก่เหตุผล และตามเหตุปัจจัย

พัฒนาการ ทางจิตปัญญาขั้นนี้ ในระบบการปฏิบัติของวิปัสสนา ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ -

(ญาณ อันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร) เป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็น ในการที่จะเข้าถึงความรู้

ประจักษ์แจ้งสัจจะและความเป็นอิสระของจิตโดยสมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 21:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ :b8:


กำลังจะกลับไปกระทู้ก่อนหน้าแล้วก๊อปข้อความด้านบนนี้มาพอดีเลยค่ะ
เพราะตอนที่อยู่ในขั้นที่ 1 คิดว่าตัวเองคงผ่านขั้นนี้ไม่ได้แน่ๆ
ถูกความเบื่อหน่ายเล่นงานจนสะบักสะบอมเลยค่ะ
เพราะเกิดความเบื่อหน่ายอย่างมากจริงๆ ค่ะ ทำให้คิดแต่จะไปบวชหรืออยู่คนเดียว
จะได้มีเวลาปฏิบัติมากๆ แต่ตอนนี้พอจะเข้าใจแล้วว่าไม่จำเป็น
แต่ก็ได้ยินมานานมาก ก่อนจะมาปฏิบัติแล้วค่ะ ว่าคนที่จะปฏิบัติธรรมต้องปลีกวิเวก ไปอยู่ป่าอยู่เขา หรือไปบวช
ช่วงที่อยู่ในขั้นที่ 1 ก็เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้นะคะ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


กระทู้นี้อาจจะไม่ค่อยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติเหมือนกระทู้ที่ผ่านมา
แต่อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ด้วยค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 23:17, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กระทู้นี้อาจจะไม่ค่อยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติเหมือนกระทู้ที่ผ่านมา
แต่อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ด้วยค่ะ


tongue ขออนุญาตคุณรินเข้ามาฟังบ้างนะคะ
เผื่อว่าจะนำไปปรับใช้บ้างค่ะ :b16:

พอจะไหวมั้ยคะจารย์...เรื่องอื่นๆ ที่ไม่เชิงเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ... :b12:
ขออนุโมทนานะคะ :b8:
...มารอฟังด้วยคน :b19:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
อ้างคำพูด:
กระทู้นี้อาจจะไม่ค่อยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติเหมือนกระทู้ที่ผ่านมา
แต่อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ด้วยค่ะ


tongue ขออนุญาตคุณรินเข้ามาฟังบ้างนะคะ
เผื่อว่าจะนำไปปรับใช้บ้างค่ะ :b16:

พอจะไหวมั้ยคะจารย์...เรื่องอื่นๆ ที่ไม่เชิงเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ... :b12:
ขออนุโมทนานะคะ :b8:
...มารอฟังด้วยคน :b19:





ไม่ค่อยมีเรื่องเกี่ยวกับการปฎิบัติเพราะสภาวะก็วนไปวนมา คล้ายกับที่เคยผ่านมาน่ะค่ะ :b16:
ส่วนเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติ ความจริงก็เกี่ยวนะคะเพราะเป็นผลเนื่องการปฎิบัติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือไม่ก็เรื่องศาสนานี่แหละค่ะ
แต่ก็ไม่รู้ว่ากระทู้นี้จะอยู่นานแค่ไหนนะคะ เพราะเป็นเรื่องของอนาคตค่ะ :b16:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 07:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่างๆ คุณรินค่อยๆอ่านเพื่อความรู้เข้าใจ ปัญญา 16 ขั้น หรือมักได้ยินคุ้นหูว่า ญาณ 16 (โสฬสญาณ)

link นี้ครับ

viewtopic.php?f=2&t=28038&st=0&sk=t&sd=a

ว่า ตำราท่านจัด ไตรสิกขา, วิสุทธิ 7, วิปัสสนาญาณ 9, โสฬสญาณ เข้าด้วยกันยังไง ขัดกันหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณริน ศึกษาศัพท์ธรรมอีกซักศัพท์หนึ่งที่เราได้ยืนบ่อยๆคือ “อริยะ”

ดูครับว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรแล้วพระพุทธเจ้านำมาใช้แนวพุทธอย่างไร



คำว่า “อริยะ” ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า “อารยะ” เป็นชื่อเรียกเผ่าชนที่อพยพเข้ามาทางตะวันตก

เฉียงเหนือของชมพูทวีป คือประเทศอินเดียเมื่อหลายพันปีมาแล้ว และรุกไล่ชนเจ้าถิ่นเดิมให้ถอยร่นลงไป

ทางใต้และป่าเขา

พวกอริยะหรืออารยะนี้ (เวลาเรียกเป็นเผ่าชนนิยมใช้ว่า พวกอริยกะ หรืออารยัน) ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ

และเหยียดชนเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นพวกมิลักขะ หรือมเลจฉะ คือพวกคนเถื่อน คนดง คนดอย

เป็นพวกทาส หรือพวกทัสยุ

ต่อมา เมื่อพวกอริยะเข้าครอบครองถิ่นฐานมั่นคง และจัดหมู่ชนเข้าในระบบวรรณะลงตัวให้พวกเจ้าถิ่นเดิม

หรือ พวกทาสเป็นวรรณะศูทรแล้ว

คำว่าอริยะ หรืออารยะ หรืออารยัน ก็หมายถึงชน ๓ วรรณะต้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์

ส่วนพวกศูทรและคนทั้งหลายอื่น เป็นอนารยะทั้งหมด


การถืออย่างนี้ เป็นเรื่องของชนชาติ เป็นไปตามกำเนิดจะเลือกหรือแก้ไขไม่ได้

เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา พระองค์ได้ทรงสอนใหม่ว่า ความเป็นอริยะหรืออารยะไม่ได้อยู่

ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่ธรรมซึ่งประพฤติปฏิบัติ และฝึกฝนอบรมให้มีขึ้นในจิตใจของบุคคล

ใครจะเกิดมาเป็นชนชาติใด วรรณะไหนไม่สำคัญ ถ้าประพฤติอริยธรรมหรืออารยธรรม ก็เป็นอริยะคือ

อารยชนทั้งนั้น

ใครไม่ประพฤติก็เป็นอนริยะ หรือ อนารยชนทั้งสิ้น

สัจธรรม ก็ไม่ต้องเป็นของที่พวกพราหมณ์ผูกขาดโดยจำกัดตามคำสอนในคัมภีร์พระเวท แต่เป็นความจริง

ที่เป็นกลางมีอยู่โดยธรรมดาแห่งธรรมชาติ

ผู้ใดรู้แจ้งเข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่โดยธรรมดานี้ ผู้นั้นก็เป็นอริยะหรืออารยะ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษาพระเวท

ของพราหมณ์แต่ประการใด และเพราะการรู้สัจธรรมนี้ทำให้คนเป็นอริยะ

สัจธรรมนั้น จึงเรียกอริยสัจจ์-

(สํ.ม.19/1703/543 ฯลฯ)

เมื่อว่าตามหลัก บุคคลที่จะเข้าใจอริยสัจ ก็คือท่านที่เป็นโสดาบันขึ้นไป ดังนั้นคำว่า “อริยะ” ที่ใช้ในคัมภีร์

โดยทั่วไป จึงมีความหมายเท่ากับทักขิไณยบุคคล และอริยสัจจ์ ๔ บางคราวท่านก็เรียก

ว่า อริยธรรม หรืออารยธรรม -

(ขุ.สุ.25330/393 ฯลฯ)

อย่างไรก็ตาม คำว่า อริยธรรม หรือ อารยธรรมนี้ท่านไม่ได้จำกัดความหมายตายตัว แต่ยักเยื้องใช้ได้

กับธรรมหลายหมวด

บางทีผ่อนลงหมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ บ้าง ศีล ๕ บ้างก็มี ซึ่งโดยหลักการก็ไม่ขัดกันแต่ประการใด

เพราะผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ได้อย่างถูกต้องตามความหมายอย่างแท้จริง (ไม่กลายเป็นสีลัพพตปรามาสไป)

และมั่นคงยั่งยืนไม่ด่างพร้อยตลอดชีวิต ก็คือคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถาอธิบายว่า อริยะมี ๔ ประเภทคือ

๑. อาจารอริยะ อารยชน โดยความประพฤติ คือ ผู้ดำรงอยู่ในหลักแห่งความดีงาม

๒. ทัสสนอริยะ อารยชน โดยรูปร่างลักษณะอาการที่เห็นแล้วน่านิยมเลื่อมใส

๓. ลิงคอริยะ อารยชน โดยเพศ คือนุ่งห่มครองเพศเป็นสมณะ

๔. ปฏิเวธอริยะ อารยชน โดยการตรัสรู้ ได้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
กำลังจะกลับไปกระทู้ก่อนหน้าแล้วก๊อปข้อความด้านบนนี้มาพอดีเลยค่ะ
เพราะตอนที่อยู่ในขั้นที่ 1 คิดว่าตัวเองคงผ่านขั้นนี้ไม่ได้แน่ๆ
ถูกความเบื่อหน่ายเล่นงานจนสะบักสะบอมเลยค่ะ
เพราะเกิดความเบื่อหน่ายอย่างมากจริงๆ ค่ะ ทำให้คิดแต่จะไปบวชหรืออยู่คนเดียว
จะได้มีเวลาปฏิบัติมากๆ แต่ตอนนี้พอจะเข้าใจแล้วว่าไม่จำเป็น
แต่ก็ได้ยินมานานมาก ก่อนจะมาปฏิบัติแล้วค่ะ ว่าคนที่จะปฏิบัติธรรมต้องปลีกวิเวก ไปอยู่ป่าอยู่เขา หรือไปบวช
ช่วงที่อยู่ในขั้นที่ 1 ก็เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้นะคะ



ตรงนี้หมายความว่าผ่านขั้นที่ 1 เช่นกันหรือเปล่าคะ
คือลองเอามาเทียบดูน่ะค่ะ
(แก้ไขหลายครั้ง ส่วนที่เป็นคำถามหายไปด้วยเลยค่ะ)

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 19:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลุดจากขั้นที่ตอนที่ ๑ ไปแล้ว เข้าสู่ขั้นตอนที่ ๒ แต่ว่าขั้นนี้ยังไม่แข็งแรงพอ

คุณพึงปฏิบัติอย่างเช่นเคยมา ทั้งยามใช้ชีวิตปกติประจำวัน

จะทำงานอะไรยังไงพึงตามดูรู้ทันกายใจขณะนั้นๆ อย่างที่แนะนำก่อนหน้าครับ (กระทู้ที่๒)

อ้างคำพูด:
(ไม่ค่อยมีเรื่องเกี่ยวกับการปฎิบัติ เพราะสภาวะก็วนไปวนมา คล้ายกับที่เคยผ่านมาน่ะค่ะ)


เกี่ยวกับการปฏิบัติทั้งนั้นครับ ชีวิตประกอบด้วยกายกับจิตใจเท่านั้น เหตุที่สภาวะวนไปวนมา เพราะอยู่

ขั้นที่สอง แต่องค์ธรรมต่างๆ มีสติสัมปชัญญะสมาธิ เป็นต้น ไม่มีกำลังพอ นี่ข้อสังเกตอันหนึ่ง

และอีกอันหนึ่ง เช่นที่ว่า

อ้างคำพูด:
แต่ยกเว้นเพลงที่ฝังใจมากนะคะ เพราะจะมีสิ่งที่โยงกับเพลงผุดขึ้นมา ลมหายใจถี่ขึ้น
หัวใจเต้นแรง ไม่ค่อยมีความสุขเย็น


คือว่า จิตใจยังไม่เป็นกลางกับสังขารธรรมจริงๆ ดังนั้นเราจะต้องกำหนดอารมณ์ปัจจุบันให้มากขึ้น

แต่ก็ไม่ถึงกับเร่งนะครับ ค่อยทำค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน แต่พึงปฏิบัติให้ชำนาญจนเป็นไปเองครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 09:30, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หลุดจากขั้นที่ตอนที่ ๑ ไปแล้ว เข้าสู่ขั้นตอนที่ ๒ แต่ว่าขั้นนี้ยังไม่แข็งแรงพอ

คุณพึงปฏิบัติอย่างเช่นเคยมา ทั้งยามใช้ชีวิตปกติประจำวันจะทำงานอะไรยังไงพึงตามดูรู้ทันกายใจ ณ เดี๋ยว

นั้นขณะนั้น อย่างที่แนะนำก่อนหน้าครับ

อ้างคำพูด:
(ไม่ค่อยมีเรื่องเกี่ยวกับการปฎิบัติ เพราะสภาวะก็วนไปวนมา คล้ายกับที่เคยผ่านมาน่ะค่ะ)


เกี่ยวกับการปฏิบัติทั้งนั้นครับ ชีวิตประกอบด้วยกายกับจิตใจเท่านั้น เหตุที่สภาวะวนไปวนมา เพราะอยู่

ขั้นที่สอง แต่องค์ธรรมต่างๆ มีสติสัมปชัญญะสมาธิ เป็นต้น ไม่มีกำลังพอ นี่ข้อสังเกตอันหนึ่ง

และอีกอันหนึ่ง เช่น(
อ้างคำพูด:
แต่ยกเว้นเพลงที่ฝังใจมากนะคะ เพราะจะมีสิ่งที่โยงกับเพลงผุดขึ้นมา ลมหายใจถี่ขึ้น
หัวใจเต้นแรง ไม่ค่อยมีความสุขเย็น)


คือ จิตใจยังไม่เป็นกลางกับสังขารธรรมจริงๆ ดังนั้นเราจะต้องกำหนดอารมณ์ปัจจุบันให้มากขึ้น แต่ก็ไม่ถึงกับ

เร่งนะครับ ค่อยทำค่อยไป ไม่ต้องเร่งร้อน แต่พึงปฏิบัติให้ชำนาญจนเป็นไปเองครับ



หมายความว่าเวลาที่เราก้าวไปถึงขั้นใดๆ ไม่ได้หมายความว่าสภาวะของเราจะต้องเป็นไปตามขั้นนั้นๆ ทุกอย่างใช่ไหมคะ เพราะขึ้นอยู่กับองค์ธรรมต่างๆ ด้วย ความจริงแล้วก็มีหลายอย่างที่ยังไม่เป็นกลางค่ะ แล้วเป็นเพราะไม่ค่อยกำหนดอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้นหรือคะ แบบนี้ถือว่าบกพร่องมากไหมคะ เพราะทั้งขณะปฏิบัติและในชีวิตประจำวัน จะรู้สึกว่ามีสภาวะทั้งใหม่และเก่าปนกันค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 20:57, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หมายความว่าเวลาที่เราก้าวไปถึงขั้นใดๆ ไม่ได้หมายความว่าสภาวะของเราจะต้องเป็นไปตามขั้นนั้นๆ ทุกอย่างใช่ไหมคะ เพราะขึ้นอยู่กับองค์ธรรมต่างๆ ด้วย ความจริงแล้วก็มีหลายอย่างที่ยังไม่เป็นกลางค่ะ แล้วเป็นเพราะไม่ค่อยกำหนดอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้นหรือคะ แบบนี้ถือว่าบกพร่องมากไหมคะ เพราะทั้งขณะปฏิบัติและในชีวิตประจำวัน จะรู้สึกว่ามีสภาวะทั้งใหม่และเก่าปนกันค่ะ




ยังนี้ครับ ขั้นนี้อาจยากสักหน่อย

องค์ธรรมสำคัญ คือ อินทรีย์ ๕ เมื่อองค์ธรรมดังกล่าวจะเจริญขึ้นได้ก็จากการกำหนดรู้ดูทันปัจจุบันอารมณ์แต่ละ

ขณะๆนั่น แล้วจึงทำหน้าที่ของมันได้เต็มกำลัง กิเลสใหม่ก็แทรกเข้ามารบกวนจิตใจไม่ได้ เพราะไม่มีช่อง

โหว่ให้เข้ามา และนขณะเดียวกันการกำหนดทันขณะปัจจุบัน ก็เป็นการขจัดกิเลสเก่าซึ่งหมักหมมให้หมดไป

จิตใจก็จริงเป็นกลางต่อสังขารธรรม


ส่วนสภาวะอย่างที่เคยประสบแบบก่อนๆ เช่น เห็นสิ่งนั่นสิ่งนี้ ได้ยินเสียงคนพูดอย่างนั้นอย่างนี้เป็นต้น

จะหมดไป (ตอนนี้)อาจยังมีตกค้างอยู่บ้าง แต่ก็เจือจางเต็มที แต่จะถูกขจัดหมดไปในที่สุด (เพราะว่า

เหมือนภาวะขยะ)

ต่อๆ ไปก็จะมีแต่สภาวธรรมหลัก คือ ความเป็นไตรลักษณ์ (สามัญลักษณะ) ของกรรมฐาน (คือ พอง-ยุบ)

กับความคิด (ตัวรู้อารมณ์)ซึ่งเกิดดับๆๆๆ เนื่องกันอยู่ โยคีต้องเกาะภาวะเหล่านั้นไป จนถึงที่สุดของมัน

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ถามว่า บกพร่องไหม ไม่หรอกครับ เราฝึกครับ ก็คล้อยๆฝึกกีฬาอะไรสักอย่างหนึ่ง จะต้องฝึกจนกว่าจะ

ชำนาญและเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ถึงได้บอกว่า ให้ค่อยทำไปค่อยๆฝึกไป สะสมพลธรรมไปเรื่อยๆ

แล้วในขณะที่กำลังฝึกอยู่นั่นก็หมั่นสังเกตจิตใจสังเกตความรู้สึกเอาเองในแต่ละวันๆ แล้วก็หมั่นอุดช่องโหว่เอา

เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 21:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 106 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร