วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต เป็นเพียง "ธาตุรู้" จริงหรือ?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
สวัสดีค่ะ

ความคิดของตัวเองเกิดจากอะไรหรอคะ ??
ใช่จิตที่เป็นธาตุรู้ปรุงแต่งเป็นความคิดขึ้นมาใช่มั้ย?

ทำไมจึงเห็นสิ่งที่มากระทบแล้วคิดว่านั่นถูก นี่ผิด ละคะ ??
นั่นเพราะเราคิดของเราเอง แต่คนอื่นอาจจะคิดเห็นไม่เหมือนเราใช่มั้ย?
อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว จิตใจสงบตั้งมั่น ถูกในมุมมองทางพุทธศาสนาใช่มั้ย?
อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว จิตใจหวั่นไหวเศร้าหมอง ผิดในมุมมองทางพุทธศาสนาใช่มั้ย?


ถูก ผิด มีอยู่ก่อนแล้วรึป่าวคะ ??
ถูก ผิด เป็นของคู่โลกอยู่ก่อนแล้วใช่มั้ย?

ถ้ามีอยู่ก่อนมันซุกซ่อนอยู่ที่ไหนอะคะ ??
สุข ทุกข์ซุกซ่อนอยู่ที่ไหน ถูก ผิดก็ซุกซ่อนอยู่ที่นั่นใช่มั้ย?

ถ้าไม่มีอยู่ก่อนแล้วจู่ๆมันออกมาได้อย่างไรคะ ??
คำตอบอยู่ข้างบนแล้วครับ

:b9: :b9: คำตอบไม่ได้อยู่ที่จิต หรอคะ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ที่ว่า "จิตเป็นเพียงธาตุรู้"
ใช่จิตเป็นธาตุรู้ ถ้าจิตไม่ใช่ธาตุรู้แล้วให้จิตไปเป็นอะไรหละครับ?

เมื่อจิตรู้ถูก ไปอยู่ที่ถูกรึป่าวคะ ??
เมื่อจิตรู้ถูกนั้น ก็แสดงว่า จิตรู้จักทุกข์ รู้จักละเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ดับ รู้จักทางปฏิบัติเพื่อทางดับทุกข์

เมื่อจิตรู้ผิด ไปอยู่ที่ผิดรึป่าวคะ ??
เมื่อจิตรู้ผิดนั้น แสดงว่าจิตไม่รู้จักอริยสัจจ๔ตามความเป็นจริงหนะสิ

ธาตุรู้ไม่ได้รู้อยู่เฉยๆ หรอกหรือคะ ??
ถ้ารู้เฉยๆได้ แต่ไม่ใช่เฉยที่คิดเองเออเองว่าเฉย ก็ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกสิครับ

:b39:


ที่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะว่าไม่ได้รู้อยู่เฉยๆ แต่ไปรู้อยู่กับถูก ผิด สุข ทุกข์ ใช่ป่าวคะ ?

:b9: :b9: ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 00:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


innocent เขียน:

ที่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะว่าไม่ได้รู้อยู่เฉยๆ แต่ไปรู้อยู่กับถูก ผิด สุข ทุกข์ ใช่ป่าวคะ ?

:b9: :b9: ??


น่าจะใช่นะครับ..เกิดอีกเพราะว่าไม่ได้รู้อยู่เฉยๆ ..

พอรู้ปั้ป..เวทนาเกิด..
เกิดแล้วไม่เฉย..ตันหากเกิด..
เกิดแล้วไม่เฉย..อุปาทานเกิด..
เกิดแล้วไม่เฉย..ภพ..ชาต..ก็เลยเกิด

ส่วนจะเรียกว่า..ไปรู้อยู่กับถูก ผิด สุข ทุกข์ ..นี้ก็ไม่รู้นะ

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 03:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue


ขออนุญาตินะคะ เห็นหัวข้อก็เลยลองไปค้นหาดู ก็พบดังข้างล่างนี้ค่ะ...

จิตนั้นถ้าพยายามหาตัวหาตนว่าเป็นอะไร อยู่ที่ใดแล้ว โดยไม่เข้าใจธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แล้ว ก็จะเป็นดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวแสดงไว้ในเรื่อง "จิตคือพุทธะ"
อันเป็นส่วนหนึ่งของ"คำสอนของฮวงโป"เช่นกัน

"จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งที่เห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่ลองไปใช้เหตุผล(ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้" (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม, น.๔๒๓)

จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ที่บ้างก็เรียกกันว่ามโน บ้างก็เรียกว่าหทัย บ้างก็เรียกว่ามนายตนะ บ้างก็เรียกว่ามนินทรีย์ บ้างก็เรียกว่าวิญญาณ ฯ. หลายท่านพยายามหาว่า จิตคืออะไร? เป็นอะไร? อยู่ที่ใด? บ้างก็ว่าเจตภูต บ้างก็ว่าปฏิสนธิวิญญาณที่ลอยละล่องท่องเที่ยวแสวงหาภพใหม่หรือที่เกิดบ้าง บ้างก็ว่ากายทิพย์ บ้างก็ว่าคือสมอง บ้างก็ว่าหัวใจ บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางอก บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางศูนย์กาย บ้างก็ว่ากลางหน้าผาก บ้างก็ว่าเกิดมาแต่ชาติปางก่อน ฯลฯ. ล้วนแล้วแต่ปรุงแต่งกันไปต่างๆนาๆ กล่าวคือเป็นไปตามความเชื่อที่ถ่ายทอดหรือสืบต่อกันมา หรือตามความเข้าใจของตัวของตน ตามอธิโมกข์ ฯ. จึงต่างล้วนตกลงสู่หลุมพรางของความผิดพลาด หรือมายาของจิตทันที จึงเป็นไปดังคำกล่าวข้างต้นที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้กล่าวไว้นั่นเอง

จิตนั้น ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นสังขาร อันคือสิ่งปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง
ที่เกิดขึ้นแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น แล้วย่อมเป็นไปภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ที่ว่า
ย่อมมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ในที่สุด ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเป็นอนัตตา เพราะเกิดมาแต่การที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
หรือมาประชุมกันชั่วขณะหนึ่งหรือระยะเวลาหนึ่ง จึงเกิดจิตหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา
ดังเช่น ตา กระทบ รูป ย่อมเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา อันคือจิตหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
กล่าวคือเมื่อเกิดการกระทบกันของอายตนะภายนอกและภายในในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่
จิตหรือวิญญาณหนึ่งๆก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา จิตจึงมีสภาพที่เกิดดับ เกิดดับๆๆ...เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา
อันเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ นั่นเอง ดังแสดงไว้ในชาติธรรมสูตร

ชาติธรรมสูตร

[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิด(คือชาติ)เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส(ผัสสะ)
มีความเกิด(ของจิตหรือวิญญาณหนึ่งขึ้น จนยังให้เกิดเวทนาขึ้นด้วย)เป็นธรรมดา

(กล่าวคือเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้ ตา รูป จักษุวิญญาณ จักษุผัสสะ...
จิตหนึ่งก็มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วยังให้เกิดเวทนาเป็นธรรมดา)
:b8:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


545 จิตเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด (จากพระสูตร)
http://84000.org/true/545.html

ปัญหา อะไรเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียวที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย....”

บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๔๙)
ตบ. ๒๐ : ๑๑ ตท. ๒๐ : -
ตอ. G.S. ๑ : ๗-๘
------------------------------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๐๓ - ๒๐๙. หน้าที่ ๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42
------------------------------------------------------------------------



อายุของจิตและรูป จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p4/005.htm


อนึ่งจิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ มีความหมายว่า จิตเกิดดับ ไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับไป ๑๗ ดวง หรือ ๑๗ ขณะ หรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุ เท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็น อุปาทขณะ คือขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็นฐีติขณะ คือขณะที่รูปตั้งอยู่ ๔๙ อนุขณะ และเป็นภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ


จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ

“ วิถีจิต “ หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ และตามทวารทั้ง ๖ เรียกว่า วิถีจิตหนึ่ง

นามธรรมคือจิต – เจตสิก ที่เกิดขึ้นก่อนๆ นั้น ย่อมเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนให้จิต - เจตสิกที่เกิดขึ้นภายหลังให้เกิดสืบต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีระหว่างคั่นและเกิดขึ้นโดยลำดับ เป็นแถวเป็นแนว เมื่อจิตดวงก่อนเกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ยังมีอำนาจช่วยอุดหนุนให้จิตดวงหลังเกิดขึ้นแทน สืบต่อกันอยู่เช่นนี้ตลอดไปไม่มีเวลาว่างเว้นเลย จนกว่าจิตนั้นจะได้ทำหน้าที่เป็นจุติจิตของพระอรหันต์จึงจะไม่มีอำนาจอุดหนุนให้จิตดวงอื่นๆ เกิดสืบต่อไปอีกได้
ฉะนั้น การเกิดขึ้นของจิตจึงมีสภาพคล้ายกับจะเป็นแถวเป็นแนว หรือ เป็นกระแสสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย เป็นอยู่อย่างนี้มาหลายต่อหลายภพหลายชาติ จิตที่เกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นกระแสนี้

----------------------------------------------------------------------------------

อรรกถาได้อธิบายไว้ว่า ชั่วลัดมือเดียวจิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ


จากหนังสือ อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ ศ.ดร. ระวี ภาวิไล

๓๓.๔ ตามหลักวิชาอภิธรรมนั้น รูปารมณ์มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต ในช่วงเวลาหนึ่งลัดนิ้วมือ ( ซึ่งเป็นหน่วยวัดเวลาในอดีต สมัยอรรถกถา เทียบเท่ากับ ๑/๔ วินาที) จิตเกิดดับได้แสนโกฏิดวง

จากนี้คำนวณได้ว่า รูปารมณ์มีอายุเพียง ๑๗ *๑/๔ *๑๐ ยกกำลัง – 12 วินาที หรือ เศษ ๔.๒๕ ส่วนล้านล้านวินาที ( ๔.๒๕/๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ วินาที) ซึ่งนับว่าสั้นมาก ข้อนี้หมายความว่า ถ้ารูปารมณ์ คือสีเหลือของมะม่วงและสีขาวของจาน สีทั้งสองจะต้องปรากฏขึ้นและดับไป สลับกันอยู่ประมาณ ๒๓๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้งต่อวินาที ซึ่งเราไม่ได้เห็นการเกิดดับนั้น เราเห็นแต่ลูกมะม่วงและจาน ซึ่งคงอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปร ดังนั้น สิ่งที่เราเห็น หรือคิดว่าเห็น ก็ไม่ใช่รูปารมณ์ แต่เป็นบัญญัติอันถูกจิตปรุงแต่งขึ้น โดยอาศัยรูปารมณ์

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่าเราเห็น ในโลกรอบตัว ก็เป็นบัญญัติธรรมโดยนัยเดียวกันนี้

เพื่อให้หลักการที่กล่าวถึงข้างบนชัดเจน ผู้ศึกษาควรพิจารณาจากประสบการณ์จริง ๆ โดยจะเพ่งพิจารณาสิ่งใดก็ได้ ที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า

๓๓.๕ หลักการทางอภิธรรมอีกประการหนึ่ง ซึ่งควรนำเข้ามาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์เรื่องนี้ก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางจักขุทวาร จะต้องเป็นรูปารมณ์ หรือรูปายตนะเท่านั้น บัญญัติธรรมนั้นไม่ปรากฏทางจักขุทวาร แต่จะเป็นอารมณ์ทางมโนทวาร

ดังนั้นที่ว่าเรา เห็น มะม่วง ซึ่งมีรูปร่างสัณฐานเป็นก้อน เป็นลูกมีสาระนั้น แท้จริงต้องไม่ใช่การ “เห็น” แต่เป็น ความคิด ที่สืบเนื่องต่อจากการเห็นที่แท้จริง ดังนั้น ความมีรูปร่างสัณฐาน ฯลฯ รวมทั้งความเป็น มะม่วง ก็เป็นบัญญัติธรรมที่วิถีจิตทางมโนทวารปรุงแต่งขึ้น

และโดยนัยอันเดียวกันนี้ เราก็อนุมานได้ว่า โลกและชีวิตดังที่ปรากฏเป็นสรรพสิ่งหลากหลาย แผ่กระจายในกาลอวกาศ มีรูปร่างสัณฐานนานัปการ ล้วนเป็นบัญญัติธรรม อันวิถีจิตเนรมิตสร้างสรรค์ขึ้นโดยอาศัยเริ่มต้นจากรูปปรมัตถ์ที่ปรากฏทางทวาร ๕ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่ต้องกาย แต่โลกแห่งบัญญัติธรรมนี้เอง ที่มีอำนาจครอบงำคุมขัง พันธนาการบุคคลไว้ ทั้งที่มันเป็นเพียงมายาการอันสูญเปล่า จากแก่นสารใด ๆ ทั้งสิ้น


---------------------------------------------------------

แนวคิดเรื่องจิต จากอภิธรรมมูลนิธิ
http://www.abhidhamonline.org/thesis/th ... hesis2.htm



แนวคิดเรื่องจิตที่มากไปด้วยจำนวน มากไปด้วยกิจ และมากไปด้วยอารมณ์นี้ แสดงถึงความไม่เที่ยงของจิตว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งต้องรู้อารมณ์ (รูป เสียง ...) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เมื่ออารมณ์นั้นดับไป จิตที่รู้จำเป็นต้องดับลงด้วย



การดับไปนั้นมีผลให้เกิดจิตดวงใหม่ เพื่อรู้อารมณ์ใหม่ อารมณ์เป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปไม่หยุดนิ่ง ผันแปรไปตามทวารต่าง ๆ (ตา หู ...) จึงต้องมีจิตที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน เพื่อรับอารมณ์ที่หลากหลายนั้น ในขณะที่รูปเกิดขึ้นเพราะสมุฏฐานของ กรรม จิต อุตุ อาหาร จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ

1. อดีตกรรม 2. วัตถุรูป (อายตนะภายในและภายนอก) 3. อารมณ์

หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จิตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้

กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีผู้ใดลิขิตขึ้น พระพุทธองค์เองก็มิได้เสกสรรขึ้นมาเอง แต่เป็นผลจากพระสัพพัญญุตาญาณของพระพุทธองค์ ที่ทรงหยั่งรู้เข้าไปถึงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว และนำมาเปิดเผย ถึงเหตุที่ทำให้ธรรมชาติใด ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับตอบคำถามว่า เหตุใดธรรมชาติเหล่านั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้

เท่าที่กล่าวมาในแง่ของเครื่องหมาย ตำแหน่ง การแบ่งประเภท และหน้าที่ เป็นเพียงตัวอย่างพอสังเขปในการศึกษาตัวจิตโดยตรง จิตในกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือก็มีแนวคิดคล้ายกับที่กล่าวมาแล้ว และยังมีแง่มุมที่ลึกละเอียดอีกมากมาย เช่น การแบ่งประเภท โดยการประกอบ (สัมปโยค) โดยสังขาร โดยโสภณ ฯลฯ แต่ของดกล่าวในที่นี้

โดยสรุปแล้ว การที่จิตมีจำนวนมากถึง 89 หรือ 121 ดวง แต่ละดวงมีลักษณะประจำตัวตามภูมิของตน มีเงื่อนไขของการเข้าประกอบ มีเงื่อนไขของการรับอารมณ์ และมีหน้าที่เฉพาะของตน

สิ่งเหล่านี้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ สภาวธรรมของจิตว่า จิตไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือล่องลอยไปมา หรือผุดขึ้นโดยไม่มีจุดหมาย แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัจจัยรองรับ ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ทั้ง 6 เป็นต้น จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์ แต่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมทุกอย่าง สามารถฝึกฝนอบรมจิต ให้สันทัดขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว

ในทางดีสามารถพัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตได้ ส่วนความสันทัดในทางชั่ว เป็นการวนเวียนอยู่เฉพาะในกลุ่มอกุศล ทั้ง 12 ดวง เนื่องจากจิตบางกลุ่มเป็นธรรมชาติที่พัฒนาได้ พระพุทธองค์จึงเสนอวิธีการทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการฝึกฝนและพัฒนาดังกล่าว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณลิ้มธรรม
ขออนุญาตินะคะ เห็นหัวข้อก็เลยลองไปค้นหาดู ก็พบดังข้างล่างนี้ค่ะ...

ชาติธรรมสูตร

[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิด(คือชาติ)เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส(ผัสสะ)
มีความเกิด(ของจิตหรือวิญญาณหนึ่งขึ้น จนยังให้เกิดเวทนาขึ้นด้วย)เป็นธรรมดา




จิตนั้นถ้าพยายามหาตัวหาตนว่าเป็นอะไร อยู่ที่ใดแล้ว โดยไม่เข้าใจธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แล้ว ก็จะเป็นดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวแสดงไว้ในเรื่อง "จิตคือพุทธะ"
อันเป็นส่วนหนึ่งของ"คำสอนของฮวงโป"เช่นกัน



:b8: สาธุครับ คุณลิ้มธรรม กับ พระพุทธพจน์จาก ชาติธรรมสูตร

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๕๓๔ - ๕๘๑. หน้าที่ ๒๕ - ๒๖.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=36


แต่ เรื่องจิต จาก อัตตโนมติ จากฮวงโป ที่นำมาเผยแพร่ ต้องพิจารณาให้ดีครับ เรื่อง จิตเดิม, จิตว่าง เพราะคลาดเคลื่อนจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท

ซึ่งเมื่อเข้าใจเรื่อง จิต ผิดพลาดไป ( จิตดวงเดิม, จิตว่าง, ) ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการเจริญวิปัสสนา

ดังหัวข้อกระทู้ที่ว่า การรู้จักจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนว

ดังข้อคิดที่ พระครูศรีโชติญาณ ท่านได้แสดงไว้ว่า

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม" ( จิตว่าง )

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=10126

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=10128


"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺติ" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ก็จิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา"


ในเอกนิบาตอังคุตตรนิกาย อรรถกถา ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๕๐ ท่านแก้ว่า จิตก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง


พระดำรัสที่ว่า "หลุดพ้นแล้ว" หมายถึง เป็นจิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลที่สัมปยุตด้วยญาณมีเหตุ ๓ เป็นต้น ได้รับการสรรเสริญ มีชื่อเสียง สืบเนื่องมาจากบุตรเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ ก็เพราะเหตุที่บุตรเป็นต้นของตนเหล่านั้นั่นแหละ เป็นคนดีงาม ด้วยเหตุที่ได้รับการศึกษาได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน ฉันใด


ภวังคจิตดวงนี้ที่พระมหามุนีตรัสว่า "หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา" ก็ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิต ซึ่งเกิดขึ้นในขณะของชวนะฉันนั้นฯ


ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร


แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้



แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้

------------------------------------------------------
การรู้จักจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


และการที่จะรู้จัก จิต (นามธรรม , อรูป ) และ รูปธรรม เป็นอย่างดี เป็นบาทฐานของการปฏิบัติเพื่อเกิด วิปัสสนาญาณ ผู้นั้นต้องเกิดปัญญาที่ชื่อว่า รูปนามปริเฉทญาณ เสียก่อน


สำหรับผู้ที่ เจริญสมาธิภาวนา จนได้ ฌาน มาก่อน เมื่อจะ พิจารณาสภาพธรรม ของ จิต และ รูป มีหลักปฏิบัติดังนี้

viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.


วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา

http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry580075
---------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
คุณลิ้มธรรม เขียน
อันเป็นส่วนหนึ่งของ"คำสอนของฮวงโป"เช่นกัน


คำสอนของฮวงโป ผมไม่เคยเห็นจะอธิบายการ เจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา ได้ละเอียดเทียบเท่า พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท เลยครับ

การไปศึกษา อัตตโนมติ ที่ไปอ้างอิงคำสอนฮวงโป จึงต้องพิจารณาให้ดีครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอบคุณ คุณ chalermsak ที่สละเวลาโพสต์ธรรมเพื่อการศึกษา สาธุ

ดิฉันไม่มีอะไรที่ติดขัดข้องใจในเรื่องของ ธรรมของพระพุทธเจ้า

ดิฉันปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ตั้งเเต่ตื่นจนหลับ ตามเเนวทางของพระพุทธเจ้า
โดยผ่านพ่อเเม่ครูบาอาจารย์ที่มีสัมมาทิฐิด้วยศรัทธาเต็มเปี่ยม ก็เท่านั้น

ส่วนสภาวธรรมที่ออกมาจากจิต เเล้วรู้เเจ้งเห็นจริง ตามพระธรรมของพระพุทธเจ้า
ถือว่าเปนผลของการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของตนเอง
ก็เเค่นั้น


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นเพียง "ธาตุรู้" จริงหรือ?


จริงสิครับ จิตเป็นธาตุรู้หรือวิญญาณธาตุ ที่ม่ใช่วิญญาณขันธ์ที่เป็นขันธฺ๑ในขันธ์๕

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำตอบไม่ได้อยู่ที่จิต หรอคะ ?


ใช่ครับ ที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า

ธรรมทั้งหลายล้วนรวมลงที่จิต อยากรู้อะไรก็ค้นดูได้ที่จิต

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะว่าไม่ได้รู้อยู่เฉยๆ แต่ไปรู้อยู่กับถูก ผิด สุข ทุกข์ ใช่ป่าวคะ ?


ใช่ครับ จิตล้วนแต่ชอบส่งออกไปอยู่กับของที่รัก ชอบ ชังฯลฯ

ที่ตนเองคิดว่าไปเองว่า ถูก ผิด สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์....

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลิ้มธรรม เขียน:
tongue


ขออนุญาตินะคะ เห็นหัวข้อก็เลยลองไปค้นหาดู ก็พบดังข้างล่างนี้ค่ะ...

จิตนั้นถ้าพยายามหาตัวหาตนว่าเป็นอะไร อยู่ที่ใดแล้ว โดยไม่เข้าใจธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แล้ว ก็จะเป็นดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวแสดงไว้ในเรื่อง "จิตคือพุทธะ"
อันเป็นส่วนหนึ่งของ"คำสอนของฮวงโป"เช่นกัน

"จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งที่เห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่ลองไปใช้เหตุผล(ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้" (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม, น.๔๒๓)

จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ที่บ้างก็เรียกกันว่ามโน บ้างก็เรียกว่าหทัย บ้างก็เรียกว่ามนายตนะ บ้างก็เรียกว่ามนินทรีย์ บ้างก็เรียกว่าวิญญาณ ฯ. หลายท่านพยายามหาว่า จิตคืออะไร? เป็นอะไร? อยู่ที่ใด? บ้างก็ว่าเจตภูต บ้างก็ว่าปฏิสนธิวิญญาณที่ลอยละล่องท่องเที่ยวแสวงหาภพใหม่หรือที่เกิดบ้าง บ้างก็ว่ากายทิพย์ บ้างก็ว่าคือสมอง บ้างก็ว่าหัวใจ บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางอก บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางศูนย์กาย บ้างก็ว่ากลางหน้าผาก บ้างก็ว่าเกิดมาแต่ชาติปางก่อน ฯลฯ. ล้วนแล้วแต่ปรุงแต่งกันไปต่างๆนาๆ กล่าวคือเป็นไปตามความเชื่อที่ถ่ายทอดหรือสืบต่อกันมา หรือตามความเข้าใจของตัวของตน ตามอธิโมกข์ ฯ. จึงต่างล้วนตกลงสู่หลุมพรางของความผิดพลาด หรือมายาของจิตทันที จึงเป็นไปดังคำกล่าวข้างต้นที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้กล่าวไว้นั่นเอง

จิตนั้น ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นสังขาร อันคือสิ่งปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง
ที่เกิดขึ้นแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น แล้วย่อมเป็นไปภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ที่ว่า
ย่อมมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ในที่สุด ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเป็นอนัตตา เพราะเกิดมาแต่การที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
หรือมาประชุมกันชั่วขณะหนึ่งหรือระยะเวลาหนึ่ง จึงเกิดจิตหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา
ดังเช่น ตา กระทบ รูป ย่อมเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา อันคือจิตหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
กล่าวคือเมื่อเกิดการกระทบกันของอายตนะภายนอกและภายในในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่
จิตหรือวิญญาณหนึ่งๆก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา จิตจึงมีสภาพที่เกิดดับ เกิดดับๆๆ...เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา
อันเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ นั่นเอง ดังแสดงไว้ในชาติธรรมสูตร

ชาติธรรมสูตร

[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิด(คือชาติ)เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส(ผัสสะ)
มีความเกิด(ของจิตหรือวิญญาณหนึ่งขึ้น จนยังให้เกิดเวทนาขึ้นด้วย)เป็นธรรมดา

(กล่าวคือเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้ ตา รูป จักษุวิญญาณ จักษุผัสสะ...
จิตหนึ่งก็มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วยังให้เกิดเวทนาเป็นธรรมดา)
:b8:

:b8: :b8: :b8:


ผมเห็นว่าต้องรบกวนให้ช่วยค้นหลักฐานจากพระสูตรมายืนยันหน่อยนะครับว่า

จิตเป็นอนัตตา และรู้ได้อย่างไรว่าจิตเกิดดับ? ใครเป็นผู้รู้ว่าจิตเกิดดับครับ?

;aa24

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
545 จิตเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด (จากพระสูตร)
http://84000.org/true/545.html

ปัญหา อะไรเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียวที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย....”

บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๔๙)
ตบ. ๒๐ : ๑๑ ตท. ๒๐ : -
ตอ. G.S. ๑ : ๗-๘
------------------------------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๐๓ - ๒๐๙. หน้าที่ ๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42
------------------------------------------------------------------------



อายุของจิตและรูป จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p4/005.htm


อนึ่งจิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ มีความหมายว่า จิตเกิดดับ ไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับไป ๑๗ ดวง หรือ ๑๗ ขณะ หรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุ เท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็น อุปาทขณะ คือขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็นฐีติขณะ คือขณะที่รูปตั้งอยู่ ๔๙ อนุขณะ และเป็นภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ


จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ

“ วิถีจิต “ หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ และตามทวารทั้ง ๖ เรียกว่า วิถีจิตหนึ่ง

นามธรรมคือจิต – เจตสิก ที่เกิดขึ้นก่อนๆ นั้น ย่อมเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนให้จิต - เจตสิกที่เกิดขึ้นภายหลังให้เกิดสืบต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีระหว่างคั่นและเกิดขึ้นโดยลำดับ เป็นแถวเป็นแนว เมื่อจิตดวงก่อนเกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ยังมีอำนาจช่วยอุดหนุนให้จิตดวงหลังเกิดขึ้นแทน สืบต่อกันอยู่เช่นนี้ตลอดไปไม่มีเวลาว่างเว้นเลย จนกว่าจิตนั้นจะได้ทำหน้าที่เป็นจุติจิตของพระอรหันต์จึงจะไม่มีอำนาจอุดหนุนให้จิตดวงอื่นๆ เกิดสืบต่อไปอีกได้
ฉะนั้น การเกิดขึ้นของจิตจึงมีสภาพคล้ายกับจะเป็นแถวเป็นแนว หรือ เป็นกระแสสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย เป็นอยู่อย่างนี้มาหลายต่อหลายภพหลายชาติ จิตที่เกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นกระแสนี้

----------------------------------------------------------------------------------

อรรกถาได้อธิบายไว้ว่า ชั่วลัดมือเดียวจิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ


จากหนังสือ อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ ศ.ดร. ระวี ภาวิไล

๓๓.๔ ตามหลักวิชาอภิธรรมนั้น รูปารมณ์มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต ในช่วงเวลาหนึ่งลัดนิ้วมือ ( ซึ่งเป็นหน่วยวัดเวลาในอดีต สมัยอรรถกถา เทียบเท่ากับ ๑/๔ วินาที) จิตเกิดดับได้แสนโกฏิดวง

จากนี้คำนวณได้ว่า รูปารมณ์มีอายุเพียง ๑๗ *๑/๔ *๑๐ ยกกำลัง – 12 วินาที หรือ เศษ ๔.๒๕ ส่วนล้านล้านวินาที ( ๔.๒๕/๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ วินาที) ซึ่งนับว่าสั้นมาก ข้อนี้หมายความว่า ถ้ารูปารมณ์ คือสีเหลือของมะม่วงและสีขาวของจาน สีทั้งสองจะต้องปรากฏขึ้นและดับไป สลับกันอยู่ประมาณ ๒๓๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้งต่อวินาที ซึ่งเราไม่ได้เห็นการเกิดดับนั้น เราเห็นแต่ลูกมะม่วงและจาน ซึ่งคงอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปร ดังนั้น สิ่งที่เราเห็น หรือคิดว่าเห็น ก็ไม่ใช่รูปารมณ์ แต่เป็นบัญญัติอันถูกจิตปรุงแต่งขึ้น โดยอาศัยรูปารมณ์

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่าเราเห็น ในโลกรอบตัว ก็เป็นบัญญัติธรรมโดยนัยเดียวกันนี้

เพื่อให้หลักการที่กล่าวถึงข้างบนชัดเจน ผู้ศึกษาควรพิจารณาจากประสบการณ์จริง ๆ โดยจะเพ่งพิจารณาสิ่งใดก็ได้ ที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า

๓๓.๕ หลักการทางอภิธรรมอีกประการหนึ่ง ซึ่งควรนำเข้ามาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์เรื่องนี้ก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางจักขุทวาร จะต้องเป็นรูปารมณ์ หรือรูปายตนะเท่านั้น บัญญัติธรรมนั้นไม่ปรากฏทางจักขุทวาร แต่จะเป็นอารมณ์ทางมโนทวาร

ดังนั้นที่ว่าเรา เห็น มะม่วง ซึ่งมีรูปร่างสัณฐานเป็นก้อน เป็นลูกมีสาระนั้น แท้จริงต้องไม่ใช่การ “เห็น” แต่เป็น ความคิด ที่สืบเนื่องต่อจากการเห็นที่แท้จริง ดังนั้น ความมีรูปร่างสัณฐาน ฯลฯ รวมทั้งความเป็น มะม่วง ก็เป็นบัญญัติธรรมที่วิถีจิตทางมโนทวารปรุงแต่งขึ้น

และโดยนัยอันเดียวกันนี้ เราก็อนุมานได้ว่า โลกและชีวิตดังที่ปรากฏเป็นสรรพสิ่งหลากหลาย แผ่กระจายในกาลอวกาศ มีรูปร่างสัณฐานนานัปการ ล้วนเป็นบัญญัติธรรม อันวิถีจิตเนรมิตสร้างสรรค์ขึ้นโดยอาศัยเริ่มต้นจากรูปปรมัตถ์ที่ปรากฏทางทวาร ๕ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่ต้องกาย แต่โลกแห่งบัญญัติธรรมนี้เอง ที่มีอำนาจครอบงำคุมขัง พันธนาการบุคคลไว้ ทั้งที่มันเป็นเพียงมายาการอันสูญเปล่า จากแก่นสารใด ๆ ทั้งสิ้น


---------------------------------------------------------

แนวคิดเรื่องจิต จากอภิธรรมมูลนิธิ
http://www.abhidhamonline.org/thesis/th ... hesis2.htm



แนวคิดเรื่องจิตที่มากไปด้วยจำนวน มากไปด้วยกิจ และมากไปด้วยอารมณ์นี้ แสดงถึงความไม่เที่ยงของจิตว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งต้องรู้อารมณ์ (รูป เสียง ...) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เมื่ออารมณ์นั้นดับไป จิตที่รู้จำเป็นต้องดับลงด้วย



การดับไปนั้นมีผลให้เกิดจิตดวงใหม่ เพื่อรู้อารมณ์ใหม่ อารมณ์เป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปไม่หยุดนิ่ง ผันแปรไปตามทวารต่าง ๆ (ตา หู ...) จึงต้องมีจิตที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน เพื่อรับอารมณ์ที่หลากหลายนั้น ในขณะที่รูปเกิดขึ้นเพราะสมุฏฐานของ กรรม จิต อุตุ อาหาร จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ

1. อดีตกรรม 2. วัตถุรูป (อายตนะภายในและภายนอก) 3. อารมณ์

หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จิตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้

กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีผู้ใดลิขิตขึ้น พระพุทธองค์เองก็มิได้เสกสรรขึ้นมาเอง แต่เป็นผลจากพระสัพพัญญุตาญาณของพระพุทธองค์ ที่ทรงหยั่งรู้เข้าไปถึงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว และนำมาเปิดเผย ถึงเหตุที่ทำให้ธรรมชาติใด ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับตอบคำถามว่า เหตุใดธรรมชาติเหล่านั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้

เท่าที่กล่าวมาในแง่ของเครื่องหมาย ตำแหน่ง การแบ่งประเภท และหน้าที่ เป็นเพียงตัวอย่างพอสังเขปในการศึกษาตัวจิตโดยตรง จิตในกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือก็มีแนวคิดคล้ายกับที่กล่าวมาแล้ว และยังมีแง่มุมที่ลึกละเอียดอีกมากมาย เช่น การแบ่งประเภท โดยการประกอบ (สัมปโยค) โดยสังขาร โดยโสภณ ฯลฯ แต่ของดกล่าวในที่นี้

โดยสรุปแล้ว การที่จิตมีจำนวนมากถึง 89 หรือ 121 ดวง แต่ละดวงมีลักษณะประจำตัวตามภูมิของตน มีเงื่อนไขของการเข้าประกอบ มีเงื่อนไขของการรับอารมณ์ และมีหน้าที่เฉพาะของตน

สิ่งเหล่านี้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ สภาวธรรมของจิตว่า จิตไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือล่องลอยไปมา หรือผุดขึ้นโดยไม่มีจุดหมาย แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัจจัยรองรับ ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ทั้ง 6 เป็นต้น จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์ แต่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมทุกอย่าง สามารถฝึกฝนอบรมจิต ให้สันทัดขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว

ในทางดีสามารถพัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตได้ ส่วนความสันทัดในทางชั่ว เป็นการวนเวียนอยู่เฉพาะในกลุ่มอกุศล ทั้ง 12 ดวง เนื่องจากจิตบางกลุ่มเป็นธรรมชาติที่พัฒนาได้ พระพุทธองค์จึงเสนอวิธีการทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการฝึกฝนและพัฒนาดังกล่าว


ด้วยความสงสัยครับ สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย เมื่อไม่หายสงสัย ต้องขอถามว่า

ที่ว่า"จิตเกิดดับ ไป ๑๗ หน" ใครเป็นผู้นับครับ จึงรู้ว่าเกิดดับตั้ง๑๗ หน

อันนี้ก็เช่นกัน "ชั่วลัดมือเดียวจิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ"

ใครเป็นผู้นับ? เมื่อเกิดดับรวดเร็วขนาดนั้นนับทันด้วยหรือครับ

ผมจึงได้นำพระสูตรที่รับรองไว้ว่า

ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คูหาสยํ เย จิตฺตํ, สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา แปลว่า

ผู้ใดสำรวมจิตซึ่งมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลๆได้

ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็นที่อาศัย นี้ไว้ได้แล้ว

ผู้นั้นย่อมพ้นจากการพันธนาการของมาร (คือกิเลส)ได้

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวคิดเรื่องจิต จากอภิธรรมมูลนิธิ
http://www.abhidhamonline.org/thesis/th ... hesis2.htm


อิอิ


สอนอภิธรรม เรื่องจิต ตกม้าตายเอง

ปนกันมั่ว ในความหมายที่แท้จริง

อันไหนจิตตัวแม่ อันไหนจิตตัวลูก ปนกันมั่วแหลก

แถมเอาจิตตัวลูก ที่เป็นแนวคิด มาอธิบายจิตตัวแม่อีก

เหอๆๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร