วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2024, 16:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ธาตุที่คุณกล่าวอ้างอิงมาทั้งหมดนั้น ล้วนป็นธาตุผสมทั้งสิ้น
มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นเช่น กามตัณหา+ธาตุรู้=กามธาตุ รูป+ธาตุรู้=รูปธาตุฯลฯ


ธาตุทั้งหลายที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นสังขตะธรรมทั้งสิ้น

อวิชชาไม่มีทางเป็นจิตหรอกนะ เพราะอวิชชาเป็นตัวกิเลสที่เข้าครอบงำจิตในภายหลัง(มีปรากฏการเกิด)
อวิชชาไม่มีคุณสมบัติอย่างที่คุณว่าเลย อวิชชาคือความรู้ผิดไปจากความเป็นจริงของจิต ไม่ใช่จิต
อวิชชาจะเสื่อมไป เมื่อมีวิชชามาแทนที่ เนื่องจากจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว
ถ้าอวิชชาไม่แปรปรวนไป แล้วจะมีใครเล่าบรรลุถึงพระนิพพานได้


ธาตุผสม ที่ท่านธรรมภูต เข้าใจ
กามตัณหา+ธาตุรู้=กามธาตุ รูป+ธาตุรู้=รูปธาตุฯลฯ


เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ อวิชชาธาตุ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ
ก็คือ เวทนา+ธาตุรู้
สัญญา+ธาตุรู้
สังขาร+ธาตุรู้
อวิชชา+ธาตุรู้
ปฐวี+ธาตุรู้
อาโป+ธาตุรู้
วาโย+ธาตุรู้
เตโช+ธาตุรู้

ใช่หรือไม่?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 26 พ.ค. 2010, 10:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
ธาตุที่คุณกล่าวอ้างอิงมาทั้งหมดนั้น ล้วนป็นธาตุผสมทั้งสิ้น
มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นเช่น กามตัณหา+ธาตุรู้=กามธาตุ รูป+ธาตุรู้=รูปธาตุฯลฯ


ธาตุทั้งหลายที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นสังขตะธรรมทั้งสิ้น

อวิชชาไม่มีทางเป็นจิตหรอกนะ เพราะอวิชชาเป็นตัวกิเลสที่เข้าครอบงำจิตในภายหลัง(มีปรากฏการเกิด)
อวิชชาไม่มีคุณสมบัติอย่างที่คุณว่าเลย อวิชชาคือความรู้ผิดไปจากความเป็นจริงของจิต ไม่ใช่จิต
อวิชชาจะเสื่อมไป เมื่อมีวิชชามาแทนที่ เนื่องจากจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว
ถ้าอวิชชาไม่แปรปรวนไป แล้วจะมีใครเล่าบรรลุถึงพระนิพพานได้


ธาตุผสม ที่ท่านธรรมภูต เข้าใจ
กามตัณหา+ธาตุรู้=กามธาตุ รูป+ธาตุรู้=รูปธาตุฯลฯ


เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ อวิชชาธาตุ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ
ก็คือ เวทนา+ธาตุรู้
สัญญา+ธาตุรู้
สังขาร+ธาตุรู้
อวิชชา+ธาตุรู้
ปฐวี+ธาตุรู้
อาโป+ธาตุรู้
วาโย+ธาตุรู้
เตโช+ธาตุรู้

ใช่หรือไม่?

ไม่ใช่ครับ คุณรู้หรือแกล้งไม่รู้กันแน่

ในโลกนี้ล้วนต้องมีแม่ธาตุเป็นต้นกำเนิดทั้งสิ้น

ที่คุณยกมานั้น คุณจะเอาแม่ธาตุมาพูดทำไม? ธาตุดินก็คือธาตุดิน ธาตุน้ำก็คือธาตุน้ำฯลฯ

ส่วนสังขตธรรมธาตุทั้งหลาย ถ้าไม่มีธาตุรู้เข้าไปรู้ จะรู้ได้ยังว่าว่าเป็นสังขตะธาตุ

อ่านบทความที่ผมนำมาให้สักหลายรอบ จะเข้าใจดีขึ้น

ธาตุในพระพุทธศาสนา

คำว่า ธาตุ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เดิม หรือ สิ่งที่เป็นต้นเดิม
เป็นสภาพที่รักษาคุณสมบัติเดิมของตนเองไว้
โดยไม่มีการเปลี่ยนแปรหรือเสื่อมสิ้นไปตามกาลเวลาที่ล่วงไป ๆ

หมายความว่า เดิมมีคุณภาพอย่างไร ก็คงมีคุณภาพอย่างนั้นอยู่เสมอ
เช่น ธาตุดิน ก็ย่อมรักษาความแค่นแข็งของตัวเองไว้ ไม่กลับกลายหรือเสื่อมเป็นธาตุอื่น
ธาตุน้ำก็ย่อมรักษาความเอิบอาบ,เหลวและไหลไว้ตลอดกาล ไม่กลับกลายเป็นธาตุไฟไปได้
ดังนี้เป็นต้น

มีพระบาลีในวิภังคสูตร ว่าไว้ดังนี้

ฉ ธาตุโย อยํ ปุริโส แปลว่า

ในรูปร่างกายของคนเรานี้ มีธาตุอยู่ ๖ ธาตุ คือ
ธาตุดิน,ธาตุน้ำ,ธาตุลม,ธาตุไฟ,อากาศธาตุ,วิญญาณธาตุ(จิต)

ซึ่งประชุมปรุงแต่งให้เป็นรูปร่างกายอยู่ได้ ถ้าขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไปเสีย
รูปร่างกายนี้ก็ย่อมวิปริต,พิกล พิการ,แตกทำลายลงได้

ทั้งนี้หมายความว่า
ธาตุทั้ง ๖ แต่ละธาตุ ต่างก็รักษาคุณภาพของตัวเองไว้ตลอดทุกกาลสมัย
ไม่มีการเสื่อมสูญ หรือที่เรียกว่า ไม่ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์เลย

ส่วนรูปร่างกายซึ่งเกิดจากธาตุทั้ง ๖ มาประชุมพร้อมกันนั้น
ย่อมต้องปรวนแปรไปจากเดิมตามกาลเวลาที่ล่วงไป ไม่อาจตั้งอยู่คงที่ได้

กล่าวคือ
รูปร่างกายตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์ ไม่ว่าเป็นรูปชนิดใดก็ตาม
ซึ่งเรียกว่า ไม่เที่ยง(อนิจฺจํ),เป็นทุกข์(ทุกฺขํ),ไม่ใช่ตัวตน(อนตฺตา)จัดเป็นธาตุผสม

รายละเอียดของธาตุ ๖

๑.ธาตุดิน (ความแค่นแข็ง)
๒.ธาตุน้ำ (ความเอิบอาบเหลวไหล)
๓.ธาตุลม (ความพัดไหวไปมา)
๔.ธาตุไฟ (ความร้อน)
๕.อากาศธาตุ (ความว่าง)
๖.วิญญาณธาตุ (ธาตุรู้ คือ จิต)

ธาตุทั้ง ๖ เหล่านี้ เป็นธาตุแท้ดั้งเดิม ที่ไม่ไ่ด้เ้กิดจากเหตุปัจจัยใดๆทั้งสิ้น
สามารถเรียกว่าเป็น แม่ธาตุ ซึ่งเป็นแดนเกิดของธาตุผสมต่างๆทุกชนิดในโลกนี้ทีเดียว.

ธาตุแต่ละธาตุเหล่านี้ ไม่ได้แยกตัวกันอยู่เป็นเอกเทศเลย ต้องคุมตัวเข้าผสมกันเสมอ
ถ้าต้องสลายตัวออกจากกลุ่มธาตุที่ได้ผสมกันแล้ว,กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ตาม
ย่อมต้องเข้าผสมกับกลุ่มธาตุอื่นต่อไปอีกเสมอ

ธาตุที่ ๑ ถึงธาตุที่ ๕ เป็นธาตุที่รวมกันเข้าเป็นรูป,ในเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม
รูป,เสียง,กลิ่น,รส,ความสัมผัสทางกาย และความนึกคิดทางใจ ที่เรียกว่า อารมณ์
เหล่านี้เกิดขึ้นจากการผสมตัวของธาตุหรืออาศัยธาตุดังกล่าวเป็นแดนเกิดทั้งสิ้น

สำหรับอากาศธาตุนั้น โดยปรกติมักละไว้ในฐานที่เข้าใจเสมอ คือไม่ค่อยเอ่ยถึง
คงเอ่ยถึงแต่เพียง ๔ ธาตุ คือ ธาตุดิน,ธาตุน้ำ,ธาตุลม,ธาตุไฟ เท่านั้น
เมื่อรวมกันแล้วเรียกว่า มหาภูตรูป ๔ (รูปที่หลอกลวงที่เกิดจากธาตุ๔)

ดังนั้น มหาภูตรูป ๔ จึงตกอยู่ในอำนาจ พระไตรลักษณ์
ต้องปรวนแปรเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเป็นธรรมดา.

ส่วนแต่ละธาตุที่ผสมกันขึ้นเป็นรูปนั้น ย่อมดำรงตัวเที่ยงแท้เป็นเช่นนั้น
เมื่อ รูป แตกแยกออกเมื่อใด
ธาตุดิน ก็แยกไปเป็นดิน
ธาตุน้ำ ก็แยกไปเป็นน้ำ
ธาตุไฟ ก็แยกไปเป็นไฟ
ธาตุลม ก็แยกไปเป็นลม
และธาตุรู้ ก็เคลื่อนจุติออกไปตามกรรมของตน ไม่ได้ดับตายหายสูญไปไหนเลย

รวมความว่า
ธาตุแต่ละธาตุ (ดิน, น้ำ, ลม,ไฟ) ที่ได้รวมกันเป็นรูปนั้น,เที่ยงแท้ถาวรในฝ่ายรูปธรรม.

และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้ คือ จิต )นั้น,ก็เที่ยงแท้ถาวรในฝ่ายนามธรรม
ต้องเคลื่อนตัวออกไปเมื่อมหาภูตรูปแตกแยกเสมอ.

ดังพุทธพจน์ที่มาในมหาปรินิพพานสูตรต่อไปนี้ คือ

“จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อทสฺสนา,
สงฺสริตํ ทีฆมทฺธานํ ตาสุตาเสว ชาติสุ แปลว่า

ความเวียนว่ายของเราเข้าไปในชาติน้อยใหญ่ทั้งหลายอันยาวนานนับไม่ถ้วนนั้น
เพราะมิได้เห็นอริยสัจ ๔ตามความเป็นจริง ดังนี้”

ผู้ที่มีสติปัญญาทั้งหลาย อย่างเช่นเราๆท่านๆ ย่อมต้องเข้าใจว่า
มีสิ่งที่มีลักษณะเที่ยงแท้เป็นแก่นสารอยู่สิ่งหนึ่ง คือ

จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เข้าไปเวียนว่ายจากพระชาติหนึ่งถึงอีกพระชาติหนึ่ง
และพระชาติติดต่อกันไปเป็นเวลาอันยาวนานนับไม่ถ้วน,ก่อนตรัสรู้
และจิตดวงนี้ได้ยืนตัวเป็นประธานอยู่ทุกชาติ ไม่ว่าจะเปลี่ยนพระชาติไปกี่ครั้งกี่หนก็ตาม

ทั้งนี้ย่อมแสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่ได้ดับตายหายสูญไปไหน
แต่รูปร่างกาย ซึ่งถือเอากำเนิดเป็นชาตินั้นต่างหาก,ที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร
คือ เปลี่ยนชาติใหม่ทุกชาติ

ถ้าจิตเกิดดับเป็นคนละดวง คือ เปลี่ยนใหม่ตามร่างกายในแต่ละพระชาติด้วยแล้ว
ก็ย่อมตรัสว่าพระองค์ได้ทรงเข้าไปเวียนว่ายในพระชาติเหล่านั้น,ไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น จิตจึงไม่ใช่สภาพธรรมที่เกิดดับ
แต่จิตชั้นพระสัมมาสัมพุทโธ รู้อยู่ว่า รูปร่างกายในแต่ละพระชาติ
เกิดแล้วก็ตายไป ตามกาลเวลาที่ผ่านไปๆโดยลำดับ นานแสนนานมาแล้ว
ซึ่งเป็นใจความในพุทธพจน์ข้อนี้ และได้ทรงตรัสต่ออีกว่า

“ตานิ เอตานิ ทิฏฺฐานิ ภวเนตฺติ สมูหตา
อุจฺฉินฺนํ มูลํ ทุกฺขสฺส นตฺถิ ทานิ ปุนพฺ ภโวติ แปลว่า

บัดนี้ เราได้ถอนความเห็นผิดในเรื่องภพ
และมูลเหตุแงทุกข์ออกเสียหมดสิ้นแล้ว,ภพใหม่ต่อไปจึงไม่มีอีก”

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ไม่ใช่ครับ คุณรู้หรือแกล้งไม่รู้กันแน่
ในโลกนี้ล้วนต้องมีแม่ธาตุเป็นต้นกำเนิดทั้งสิ้น
ที่คุณยกมานั้น คุณจะเอาแม่ธาตุมาพูดทำไม? ธาตุดินก็คือธาตุดิน ธาตุน้ำก็คือธาตุน้ำฯลฯ
ส่วนสังขตธรรมธาตุทั้งหลาย ถ้าไม่มีธาตุรู้เข้าไปรู้ จะรู้ได้ยังว่าว่าเป็นสังขตะธาตุ


ธรรมภูต เขียน:
ธาตุในพระพุทธศาสนา
คำว่า ธาตุ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เดิม หรือ สิ่งที่เป็นต้นเดิม
เป็นสภาพที่รักษาคุณสมบัติเดิมของตนเองไว้
โดยไม่มีการเปลี่ยนแปรหรือเสื่อมสิ้นไปตามกาลเวลาที่ล่วงไป ๆ

หมายความว่า เดิมมีคุณภาพอย่างไร ก็คงมีคุณภาพอย่างนั้นอยู่เสมอ
เช่น ธาตุดิน ก็ย่อมรักษาความแค่นแข็งของตัวเองไว้ ไม่กลับกลายหรือเสื่อมเป็นธาตุอื่น
ธาตุน้ำก็ย่อมรักษาความเอิบอาบ,เหลวและไหลไว้ตลอดกาล ไม่กลับกลายเป็นธาตุไฟไปได้
ดังนี้เป็นต้น

มีพระบาลีในวิภังคสูตร ว่าไว้ดังนี้

ฉ ธาตุโย อยํ ปุริโส แปลว่า

ในรูปร่างกายของคนเรานี้ มีธาตุอยู่ ๖ ธาตุ คือ
ธาตุดิน,ธาตุน้ำ,ธาตุลม,ธาตุไฟ,อากาศธาตุ,วิญญาณธาตุ(จิต)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านธรรมภูต

ก้อนหิน มีปัจจัยให้ธาตุรู้ เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
ธาตุรู้ มีปัจจัยให้ธาตุดิน เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
สัญญีภพ มีปัจจัยให้ธาตุดินปรากฏหรือไม่

เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดๆ ธาตุชนิดหนึ่งจะเรียกว่า ธาตุรู้ หรือไม่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งใดมีวิญญาณครอง
สิ่งใดไม่มีวิญญาณครอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทั้งนี้ย่อมแสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่ได้ดับตายหายสูญไปไหน
แต่รูปร่างกาย ซึ่งถือเอากำเนิดเป็นชาตินั้นต่างหาก,ที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร
คือ เปลี่ยนชาติใหม่ทุกชาติ

ไฟเทียนที่กำลังลุกไหม้อยู่ ตอน5นาที ก่อน กับไฟเทียนที่กำลังลุกไหม้ ณ ปัจจุบันนั้น จะว่าเป็นไฟดวงเดียวกันก็ไม่ได้เพราะดวงไฟเมื่อ5นาทีก่อนนั้นดับไปแล้ว แต่จะว่าเป็นไฟคนละดวงเลยก็ไม่ได้ เพราะดวงไฟ ณ ปัจจุบันขณะ ก็เกิดขึ้นเพราะไฟดวงเก่าและเชื้อเพลิงเป็นเหตุปัจจัย

ดังเช่นร่างกายมนุษย์เมื่อ 10 20 ปีก่อน กับร่างกาย ณ ปัจจุบันนั้น จะว่าเป็นร่างกายเดียวกันก็หาไม่ เพราะ ร่างกายได้แบ่ง และผลัดเปลี่ยนเซลล์ใหม่แทนที่เซลล์เดิมจนหมดแล้ว แต่จะว่าเป็นคนละคนกันเลยก็ไม่ได้ เพราะ ร่างกายปัจจุบันก็เกิดขึ้นเพราะร่างกายเก่า(เซลล์เก่า)เป็นเหตุปัจจัย

ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นรูปหรือนาม กายหรือใจ ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย และดับลงเมื่อหมดเหตุปัจจัย แต่เพราะสันตติ(ความเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว)นั้นปิดบังความจริงไว้ การเจริญสติปัฏฐานที่ท่านกล่าวว่าเป็นเอกายนมรรคหรือทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุกข์นั้น ท่านจึงให้ตั้ง สติ และสัมปชัญญะ(ปัญญา) ที่ฐานทั้ง 4 หรือโดยย่อคือรูปนาม หรือกายใจ ก็เพื่อให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม หรือกายใจนั้นเอง จึงจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัดได้

ผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: กุมารทอง
104541-2.jpg
104541-2.jpg [ 57.97 KiB | เปิดดู 3713 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
ท่านธรรมภูต

ก้อนหิน มีปัจจัยให้ธาตุรู้ เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
ธาตุรู้ มีปัจจัยให้ธาตุดิน เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
สัญญีภพ มีปัจจัยให้ธาตุดินปรากฏหรือไม่

เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดๆ ธาตุชนิดหนึ่งจะเรียกว่า ธาตุรู้ หรือไม่



smiley smiley smiley อยากรู้เหมือนกันครับ :b10: ว่าพวกเครื่องราง เสือ,ปลัดขิก,กุมารทองหนุมาน กระโดดได้

นี่ยังไง ปลุกเสกเรียกขันธ์ ใช้อำนาจจิตบังคับ เรียกวิญญาณเข้ามาอยู่ หรือ ๆลๆ ยังไง กัน บ้างก็ว่ามีวิทยาธรคอยบังคับ :b10:
เคยได้คุยกับจอมขมังเวทย์คนนึง เขาบอกว่า "ถ้าเป็นกุมารทองของเก่าอายุ 200-300ปีขึ้นไป เป็นแค่เศษดินเศษไม้แล้ว วิญญาณมันไปเกิดแล้ว..."
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ท่านธรรมภูต

ก้อนหิน มีปัจจัยให้ธาตุรู้ เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
ธาตุรู้ มีปัจจัยให้ธาตุดิน เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
สัญญีภพ มีปัจจัยให้ธาตุดินปรากฏหรือไม่

เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดๆ ธาตุชนิดหนึ่งจะเรียกว่า ธาตุรู้ หรือไม่

ก้อนหินเป็นธาตุผสมระหว่างธาตุสี่ เป็นรูปที่ไม่มีจิตครองหรือที่เรียกว่าอนุปาทินกสังขาร

ส่วนรูปร่างกายมนุษย์เป็นธาตุผสมระหว่างธาตุสี่เหมือนกัน
แต่เป็นรูปที่มีจิตครอง(ธาตุรู้)หรือที่เรียกว่า อุปาทินกสังขาร

ดังนั้นมนุษย์จึงรู้อะไรได้ เพราะจิตเป็นธาตุรู้ ถึงไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้

ส่วนภพคือที่อาศัยของจิต

เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดๆ ธาตุชนิดหนึ่งจะเรียกว่า ธาตุรู้ หรือไม่
คุณกำลังจะสื่ออะไรบอกให้ชัดเจนหน่อย อย่ามัวอมพะนำอยู่เลย

อยากจะพูดอะไรแสดงได้เต็มที่ จะได้รู้ว่ารู้อะไรบ้าง รู้สึกว่าจะไม่เข้าใจเรื่องจิตนะ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:
อ้างคำพูด:
ทั้งนี้ย่อมแสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่ได้ดับตายหายสูญไปไหน
แต่รูปร่างกาย ซึ่งถือเอากำเนิดเป็นชาตินั้นต่างหาก,ที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร
คือ เปลี่ยนชาติใหม่ทุกชาติ

ไฟเทียนที่กำลังลุกไหม้อยู่ ตอน5นาที ก่อน กับไฟเทียนที่กำลังลุกไหม้ ณ ปัจจุบันนั้น จะว่าเป็นไฟดวงเดียวกันก็ไม่ได้เพราะดวงไฟเมื่อ5นาทีก่อนนั้นดับไปแล้ว แต่จะว่าเป็นไฟคนละดวงเลยก็ไม่ได้ เพราะดวงไฟ ณ ปัจจุบันขณะ ก็เกิดขึ้นเพราะไฟดวงเก่าและเชื้อเพลิงเป็นเหตุปัจจัย

ดังเช่นร่างกายมนุษย์เมื่อ 10 20 ปีก่อน กับร่างกาย ณ ปัจจุบันนั้น จะว่าเป็นร่างกายเดียวกันก็หาไม่ เพราะ ร่างกายได้แบ่ง และผลัดเปลี่ยนเซลล์ใหม่แทนที่เซลล์เดิมจนหมดแล้ว แต่จะว่าเป็นคนละคนกันเลยก็ไม่ได้ เพราะ ร่างกายปัจจุบันก็เกิดขึ้นเพราะร่างกายเก่า(เซลล์เก่า)เป็นเหตุปัจจัย

ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นรูปหรือนาม กายหรือใจ ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย และดับลงเมื่อหมดเหตุปัจจัย แต่เพราะสันตติ(ความเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว)นั้นปิดบังความจริงไว้ การเจริญสติปัฏฐานที่ท่านกล่าวว่าเป็นเอกายนมรรคหรือทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุกข์นั้น ท่านจึงให้ตั้ง สติ และสัมปชัญญะ(ปัญญา) ที่ฐานทั้ง 4 หรือโดยย่อคือรูปนาม หรือกายใจ ก็เพื่อให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม หรือกายใจนั้นเอง จึงจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัดได้

ผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue


ตกลงเทียนเป็นประธานของเหตุที่เกิดขึ้นที่เทียนใช่มั้ย???

ถึงเราจะไปจุดเทียนเกิด-ดับกี่ครั้ง ก็ยังเป็นเทียนเล่มเดิมใช่มั้ย???

ส่วนไฟที่เกิดขึ้นดับไป จะกี่ครั้งก็ตาม ไฟก็ยังมีคุณลักษณ์เช่นเดิมคือร้อน

ร่างกายคนเรานั้น ถึงจะแก่ไปบ้าง พิกลพิการไปบ้าง เจ็บไข้ได้ป่วยไปบ้างฯลฯ

ก็ยังเป็นของคนๆนั้นใช่มั้ย???

จิตที่อาศัยร่างกายนั้น ย่อมรู้อยู่ตลอดเวลาใช่มั้ยว่าร่างกายมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง???

ตนเองย่อมรู้ดีว่าที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเป็นร่างกายของตนเอง ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาของมัน

เป็นเรื่องปรกติของโลก ที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกๆคนใช่มั้ย??? ไม่มียกเว้นให้กับใครคนใดคนหนึ่ง

ฉะนั้น กายส่วนกาย จิตส่วนจิต ต้องฝึกให้แยกออกจากกันให้ได้

โดยไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์๕ ดั่งในอนัตตลัขณสูตรได้กล่าวไว้ใช่มั้ย?

ใครเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน???

ใครเป็นผู้หลุดพ้น??? กายที่ตายเน่าเข้าโลงได้เป็นผู้หลุดพ้น? หรือ จิตของผู้ปฏิบัติเป็นผู้หลุดพ้น???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ท่านธรรมภูต

ก้อนหิน มีปัจจัยให้ธาตุรู้ เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
ธาตุรู้ มีปัจจัยให้ธาตุดิน เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
สัญญีภพ มีปัจจัยให้ธาตุดินปรากฏหรือไม่

เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดๆ ธาตุชนิดหนึ่งจะเรียกว่า ธาตุรู้ หรือไม่



smiley smiley smiley อยากรู้เหมือนกันครับ :b10: ว่าพวกเครื่องราง เสือ,ปลัดขิก,กุมารทองหนุมาน กระโดดได้

นี่ยังไง ปลุกเสกเรียกขันธ์ ใช้อำนาจจิตบังคับ เรียกวิญญาณเข้ามาอยู่ หรือ ๆลๆ ยังไง กัน บ้างก็ว่ามีวิทยาธรคอยบังคับ :b10:
เคยได้คุยกับจอมขมังเวทย์คนนึง เขาบอกว่า "ถ้าเป็นกุมารทองของเก่าอายุ 200-300ปีขึ้นไป เป็นแค่เศษดินเศษไม้แล้ว วิญญาณมันไปเกิดแล้ว..."

คุณหลับอยู่ เชื่อผมเถอะครับ มาฝึกฝนอบรมให้รู้จักจิตที่มีวิชชาภาวนากำกับดีกว่า

จนเข้าถึงจิตที่แท้จริง ย่อมมีพลังที่สูงส่งกว่าพลังทั้งหลายที่คุณกล่าวมาเสียอีก

ส่วนเรื่องเชิญวิญญาณนั้น เป็นเรื่องของคนที่ร้อนวิชา ต้องอาศัยพลังจิตเช่นกัน

แต่พลังจิตที่เกิดจากวิชาทางด้านนั้น ไม่ช่วยให้จิตพ้นทุกข์ไปได้หรอกครับ

ต้องมาฝึกฝนอบรมสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อให้จิตมีฐานที่ตั้งของสติอย่างมั่นคง

นั่นเองแหละครับ ที่จะช่วยให้พ้นทุกข์ได้

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42:


(มหาตัณหาสังขยสูตร)

จิตนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของตัวตน เกิดดับ เกิดดับ...ขึ้นตามเหตุปัจจัยการกระทบกัน
ดังข้างต้นในมหาตัณหาสังขยสูตร จึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย
จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเรา
จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนาอย่างแท้จริง

ที่หมายถึงเมื่อกระทบกันของอายตนะภายนอกและอายตนะภายใน ในผู้ยังดำรงขันธ์
หรือชีวิตินทรีย์อยู่ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ
แต่เพราะความที่ไปควบคุมเหตุบางประการได้ระยะหนึ่งเท่านั้ัน
จึงเกิดมายาหลอกลวงจิตให้เห็นผิดไปว่าควบคุมบังคับมันได้

จิตจึงแปรปรวนไปตามเหตุหรือสิ่งที่กระทบสัมผัสอันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ
โดยอาศัยส่วนหนึ่งของกายเป็นประตูหรือทวารเชื่อมอีกด้วยโดยอายตนะภายในต่างๆนั่นเอง
และกายก็ยังเป็นแหล่งแสดงผลของจิตอีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้นแม้แต่กายจริงๆแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งหรือเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตอีกด้วย
ตลอดจนขันธ์ต่างๆของจิตเองอันมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ต่างก็ล้วนเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้นเช่นกัน
จึงต่างก็ล้วนมีเหตุมีปัจจัยของมันเองทั้งสิ้น

ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง จิตจึงเป็นสิ่งที่แปรปรวน ลึกลับสุดหยั่ง และควบคุมบังคับได้ยาก
เพราะเกิดแต่เหตุปัจจัยมากหลายดังที่กล่าวมา
และยังมีมายาของจิตนั่นเองที่พยายามเสกสรรปั้นแต่งด้วยอำนาจของตัณหา
อันยังให้เกิดอุปาทานให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริง

ด้วยธรรมชาติของชีวิตดังนี้นี่เอง เมื่อใจคิดนึกปรุงแต่ง กล่าวคือฟุ้งซ่าน
ก็ย่อมเกิดจิตต่างๆขึ้นเป็นธรรมดา และเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา
ดังได้กล่าวโดยละเอียดไว้แล้วในขันธ์ ๕

ด้วยเหตุนี้นี่เองจึงจำเป็นต้องมีสติรู้เท่าทันจิต กล่าวคือจิตสังขารที่ครอบคลุมทั้งเวทนา
และจิตสังขารคิด แล้วหยุดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งเสีย
กล่าวคือเมื่อยังปรุงแต่งฟุ้งซ่านอยู่ย่อมยังให้เกิดทุกขเวทนาขึ้นได้เป็นธรรมดา

ดังนั้นเราจึงพอให้แค่ความหมายแก่จิต เพียงเพื่อใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกันว่า

จิต คือ องค์ประกอบอันสำคัญยิ่งของชีวิตทั้งหลาย
ส่วนที่นอกเหนือไปจากส่วนรูปหรือรูปขันธ์(ร่างกายหรือตัวตน)
แต่ถึงกระนั้นกายนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของจิตอีกด้วย หรือ

จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ กล่าวคือ สภาวธรรมของชีวิตที่รับรู้อารมณ์
กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่กระทบ, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ;

ส่วนคำถามที่ว่า จิตอยู่ที่ไหน? นั้น เป็นคำตอบเดียวเช่นกับเงานั่นเอง
กล่าวคือจิตไม่มีตัวตนแท้จริงเป็นอนัตตาเหมือนดังเงาดังที่กล่าวข้างต้น

เมื่อมีเหตุเป็นปัจจัยกัน จิตหนึ่งก็เกิดขึ้น ไม่มีเหตุก็ไม่เกิด จึงอิงหรือขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
ไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง กล่าวคือในผู้มีชีวิตินทรีย์อยู่
เมื่ออายตนะภายนอกกระทบหรือประจวบกับอายตนะภายใน
จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

จิตหรือวิญญาณ จึงเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ดีแล้ว ในมหาตัณหาสังขยสูตรตอนหนึ่งว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น

เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณเจ้าพระธรรมปิฏก
ก็ได้กล่าวถึงจิตไว้ดังนี้

"จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน
ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น
คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป

เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕
จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์.

ส่วนคัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว
เเจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน ๘๙ หรือโดยพิสดารมี ๑๒๑ เรียกว่า จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

แบ่ง โดยชาติหรือลักษณะของการเกิดแบบต่างๆ เป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗)
วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐;
แบ่ง โดยภูมิ เป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒
และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)."

ดังคำอรรถกถาธิบายข้างต้น จะเห็นการจำแนกจิต
จิต โดยตามความเป็นจริงแล้วจึงเกิดได้หลายดวง

ดวงที่เป็นเพียงสรรพนามที่มีความหมายถึงอาการ
จึงหมายถึงว่า จิตเกิดอาการของจิตได้หลายอาการในชั่วขณะหนึ่งเช่นกัน
ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

และในขณะเดียวกันนั้นหูก็กระทบในเสียงก็ย่อมมีจิตอีกดวงย่อมเกิดขึ้นร่วมด้วยเป็นธรรมดา
และถ้าในขณะนั้นธรรมารมณ์(เช่นคิด)กระทบใจ ก็ย่อมมีอีกจิตหนึ่งร่วมเกิดขึ้นด้วยอีกเป็นธรรมดา ฯ.

จึงเกิดจิตได้หลายดวงหรืออาการในขณะหนึ่งๆ เพียงแต่ว่าจิตดวงใดเด่นหรือเป็นเอกอยู่ในขณะนั้นๆ
หมายถึงแสดงอาการออกมาอย่างเด่นชัดที่สุดในขณะนั้นๆนั่นเอง

อุปมาได้ดังพลุที่ยิงขึ้นท้องฟ้าในงานเทศกาล อันย่อมประกอบด้วยพลุจำนวนมากนับสิบนับร้อย
แต่ ณ ขณะหนึ่งๆนั้น ย่อมมีพลุที่งามเด่นในสายตาอยู่หนึ่ง
แต่แล้วต่างก็ล้วนต้องดับไปเป็นที่สุด จิตก็เป็นไปเช่นดังพลุ หรือดังเงาที่กล่าวข้างต้นนั่นเอง

เงานั้นเกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น วัตถุทึบแสง และแสง
เมื่อสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือเหตุ มีอาการแปรปรวนอันใดเป็นธรรมดา
เงานั้นก็ต้องแปรปรวนหรืออิงขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยนั้นๆ
มิสามารถควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนา
เพราะแปรปรวนหรืออิงกับเหตุอันมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันเหล่านั้นเป็นธรรมดาอย่างจริงแท้แน่นอน
ไม่มีตัวตนที่แท้จริง หรือตัวตนไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง จิตก็เช่นเดียวกัน

แต่เงานั้นเมื่อมีอาการแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแล้ว เป็นทุกข์ไหม?
ย่อมไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัณหาทะยานอยากหรือไม่อยากใดๆในเงานั้นนั่นเอง
อันเป็นสิ่งที่เราพึงต้องพยายามปฏิบัติให้เป็นเช่นนั้นต่อจิตหรือผลของจิตเช่นกัน

เนื่องจากจิตเกิดแต่เหตุได้มากหลาย มาเป็นปัจจัยกัน
จิตจึงกวัดแกว่ง แปรปรวนได้ง่าย ควบคุมบังคับได้ยาก
จึงต้องหัดควบคุมจิตไม่ให้กวัดแกว่ง แปรปรวน หรือฟุ้งซ่าน

เราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการฝึกจิตให้มีสติ ระลึกรู้เมื่อปรุงแต่ง
และมีปัญญาอย่างแจ่มแจ้งไม่คิดนึกปรุงเพราะรู้เข้าใจว่า
ถ้าคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านเสียแล้วย่อมก่อให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นนั่นเอง

:b8: :b8: :b8:



แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 04:18, แก้ไขแล้ว 11 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ท่านธรรมภูต

ก้อนหิน มีปัจจัยให้ธาตุรู้ เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
ธาตุรู้ มีปัจจัยให้ธาตุดิน เข้าไปตั้งอยู่ได้หรือไม่
สัญญีภพ มีปัจจัยให้ธาตุดินปรากฏหรือไม่

เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดๆ ธาตุชนิดหนึ่งจะเรียกว่า ธาตุรู้ หรือไม่



smiley smiley smiley อยากรู้เหมือนกันครับ :b10: ว่าพวกเครื่องราง เสือ,ปลัดขิก,กุมารทองหนุมาน กระโดดได้

นี่ยังไง ปลุกเสกเรียกขันธ์ ใช้อำนาจจิตบังคับ เรียกวิญญาณเข้ามาอยู่ หรือ ๆลๆ ยังไง กัน บ้างก็ว่ามีวิทยาธรคอยบังคับ :b10:
เคยได้คุยกับจอมขมังเวทย์คนนึง เขาบอกว่า "ถ้าเป็นกุมารทองของเก่าอายุ 200-300ปีขึ้นไป เป็นแค่เศษดินเศษไม้แล้ว วิญญาณมันไปเกิดแล้ว..."

คุณหลับอยู่ เชื่อผมเถอะครับ มาฝึกฝนอบรมให้รู้จักจิตที่มีวิชชาภาวนากำกับดีกว่า

จนเข้าถึงจิตที่แท้จริง ย่อมมีพลังที่สูงส่งกว่าพลังทั้งหลายที่คุณกล่าวมาเสียอีก

ส่วนเรื่องเชิญวิญญาณนั้น เป็นเรื่องของคนที่ร้อนวิชา ต้องอาศัยพลังจิตเช่นกัน

แต่พลังจิตที่เกิดจากวิชาทางด้านนั้น ไม่ช่วยให้จิตพ้นทุกข์ไปได้หรอกครับ

ต้องมาฝึกฝนอบรมสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อให้จิตมีฐานที่ตั้งของสติอย่างมั่นคง

นั่นเองแหละครับ ที่จะช่วยให้พ้นทุกข์ได้

:b39:




คุณธรรมภูตเข้าใจผมผิดนะครับ เมื่อก่อนพวกนี้ผมเล่นมาพอควรแต่ในฐานะผู้ใช้ไม่ใช่ผู้สร้างเสก :b1:

เอาง่ายๆผมถามคุณธรรมภูตว่า พวกกุมารทอง ๆลๆ พวกนี้ เป็นธาตุ แบบที่คุณธรรมภูตยกมา แล้วของพวกนี้ มีธาตุรู้ ครองอยู่ด้วยหรือเปล่าครับ??? smiley แจกแจงหน่อยก็ดีนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านธรรมภูตครับ พุทธศาสนาปฏิเสธ อัตตา(ปรมัตถสัจจ)มาตลอดนะครับ ไม่ว่า จะเป็นส่วนรูปหรือนาม สังขตธรรมหรืออสังขตธรรม ผมคงยุติประเด็น การรู้จักจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนวนี้แล้วครับ
สุดท้ายนี้หากได้ล่วงเกินขอได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue


แก้ไขล่าสุดโดย ภัทรพงศ์ เมื่อ 21 ส.ค. 2010, 05:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 01:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:
ท่านธรรมภูตครับ พุทธศาสนาปฏิเสธ อัตตามาตลอดนะครับ ไม่ว่า จะเป็นส่วนรูปหรือนาม สังขตธรรมหรืออสังขตธรรม ผมคงยุติประเด็น การรู้จักจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนวนี้แล้วครับ
สุดท้ายนี้หากได้ล่วงเกินขอได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue


คุณปฏิเสธเอาเองเออเองนะสิครับคุณภัทรพงศ์ :b6: :b32:

Quote Tipitaka:
จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง [มหาวารวรรค]


สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 424-425

เมื่อพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว สามเณรจุนทะผู้เป็นอุปัฏฐากของท่าน ได้นำเอาบาตร

และจีวรของท่านไปแจ้งข่าวนั้นให้พระอานนท์ทราบ พระอานนท์ได้พาสามเณรจุนทะ

เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค และแสดงความทุกข์โศกอันใหญ่หลวงของตนต่อพระผู้มีพระ

ภาค ?

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า “ดูก่อนอานนท์ พระสารีบุตรพาเอาสีลขันธ์ สมาธิขันธ์

ปัญญาขันธ์ วิมุติขันธ์ หรือวิมุติญาณทัสสนะขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ ? หามิได้พระ

เจ้าข้า...

“ดูก่อนอานนท์ ข้อนั้นเราได้บอกเธอทั้งหลายไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า จักต้องมีการจาก

การพลัดพรากความเป็นอื่นไปจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เราจะพึงได้

ตามใจปรารถนาในของรักของชอบใจนี้ได้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุง

แต่งแล้ว มีการแตกสลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ของสิ่งนั้นอย่าได้แตกสลายเลย

ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

“ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนมีต้นไม้ใหญ่มีแกนยืนต้นอยู่ กิ่งใดใหญ่กว่าเพื่อน กิ่งนั้น

พึงทำลายไป ฉันนั้นเหมือนกันแล อานนท์ เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีสาระตั้งมั่นอยู่ พระ

สารีบุตรได้ปรินิพพานไปแล้ว เพราะฉะนั้นเราจะพึงได้ตามปรารถนาในเรื่องนี้แต่ที่ไหน

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดำรงชีวิตอยู่เถิด...

“ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี จักเป็นผู้มีตน

เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่ง

อื่นเป็นที่พึ่ง ดำรงชีวิตอยู่ ภิกษุเหล่านั้นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักอยู่เหนือความมืด....”




ที่มา
บ้านธัมมะ > กระดานสนทนา > พระสุตตันตปิฎก


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 29 พ.ค. 2010, 01:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 01:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ก้อนหินเป็นธาตุผสมระหว่างธาตุสี่ เป็นรูปที่ไม่มีจิตครองหรือที่เรียกว่าอนุปาทินกสังขาร
ส่วนรูปร่างกายมนุษย์เป็นธาตุผสมระหว่างธาตุสี่เหมือนกัน
แต่เป็นรูปที่มีจิตครอง(ธาตุรู้)หรือที่เรียกว่า อุปาทินกสังขาร
ดังนั้นมนุษย์จึงรู้อะไรได้ เพราะจิตเป็นธาตุรู้ ถึงไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้
ส่วนภพคือที่อาศัยของจิต
เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดๆ ธาตุชนิดหนึ่งจะเรียกว่า ธาตุรู้ หรือไม่
คุณกำลังจะสื่ออะไรบอกให้ชัดเจนหน่อย อย่ามัวอมพะนำอยู่เลย
อยากจะพูดอะไรแสดงได้เต็มที่ จะได้รู้ว่ารู้อะไรบ้าง รู้สึกว่าจะไม่เข้าใจเรื่องจิตนะ


ท่านธรรมภูต
การที่ เช่นนั้น เฝ้าถาม เรื่องจิต ต่อท่านธรรมภูต เพียงเพื่อสะกิดท่านธรรมภูต ให้รู้ว่า
เว้นเสีย จาก นิพพาน เป็นอสังขตะธรรม แล้ว ธรรมทั้งปวงหรือ สิ่งทั้งปวง เป็นสังขตะ

ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุไฟ แม้แต่วิญญาณธาตุ ก็เป็นสังขตะ ล้วนแล้วแต่ ไม่พ้นไปจาก สามัญลักษณะทั้ง 3 คือไตรลักษณ์ ทั้งสิ้น

เมื่อท่าน รู้ธาตุดิน เป็นเพียงความเป็นธาตุดิน
เมื่อท่านรู้ ธาตุน้ำ เป็นเพียงความเป็นธาตุน้ำ
เมื่อท่านรู้ ธาตุลมเป็นเพียงความเป็นธาตุลม
เมื่อท่านรู้ ธาตุไฟ เป็นเพียงความเป็นธา่ตุไฟ
เมื่อท่านรู้ ธาตุรู้ เป็นเพียงความเป็นธาตุรู้
...

สักกายะ หรืออัตตาย่อมตั้งขึ้นได้

เพราะท่านไม่เห็นปัจจัย แห่งธาตุ เหล่านั้น

ในบรรดาธาตุดิน ธาตุดินอันเป็นภายนอกก็มี ธาตุดินอันเป็นภายในก็มี
ในบรรดาธาตุน้ำ ธาตุน้ำอันเป็นภายนอกก็มี ธาตุน้ำอันเป็นภายในก็มี
ในบรรดาธาตุลม ธาตุลมอันเป็นภายนอกก็มี ธาตุลมอันเป็นภายในก็มี
ในบรรดาธาตุไฟ ธาตุไฟอันเป็นภายนอกก็มี ธาตุไฟอันเป็นภายในก็มี

ธาตุ ทั้ง4 นั้นจะปรากฏ โดด ก็หามิได้ เพราะ ธาตุทั้ง 4 นั้นล้วนเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
ผู้ศึกษาย่อมไม่อาจสำคัญในความเป็นธาตุดิน
ผู้ศึกษาย่อมไม่อาจสำคัญในความเป็นธาตุน้ำ
ผู้ศึกษาย่อมไม่อาจสำคัญในความเป็นธาตุลม
ผู้ศึกษาย่อมไม่อาจสำคัญในความเป็นธาตุไฟ

แม้แต่ ธาตุรู้ ก็ยังมีธาตุ 4 อันเป็นภายในเช่นกัน
รู้หนักแน่น รู้โอนเอน รู้ซ่านไป รู้เร่าร้อน รู้มาก รู้น้อย ย่อมมีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุอันเป็นภายใน เป็นปัจจัย แม้ธาตุรู้ ยังต้องอาศัยวิญญาณเป็นอาหาร เช่นกัน

แม้แต่จุติจิต ปฏิสนธิจิต ที่เคลื่อนไป ดำเนินไป ก็ยังมีกรรมเป็นอาหาร

ท่านเพียงแต่เข้าใจคุณสมบัติของธาตุ ว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร แต่ท่านยังไม่เข้าใจ สังขตะ และอสังขตะ ซึ่งเหตุการณ์หรือลักษณะ ความเข้าใจที่ท่านเป็นอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่ประการใด
เพราะ สิ่งที่ท่านรู้ท่านเข้าใจ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนไว้ ใน มูลปริยายสูตร ในพระสูตรแรกสุด ที่มีบันทึกไว้ในมัชฌิชมนิกาย มูลปัณณาสก์

เช่นนั้น ถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพียงเพื่อให้ท่านได้ มีฉันทะเข้าไปศึกษาในพระสูตร บทนั้นให้ดี ซึ่งแม้แต่ เช่นนั้น เองก็ยังต้องศึกษาอีกมากเช่นกัน

จิตนั้นเที่ยวไปดวงเดียว ... แต่เมื่อท่านค้นหาที่จิตนั้นย่อมไม่เจอ สิ่งทั้งปวงล้วนมีเหตุปัจจัย เว้นเสียแต่อสังขตะธรรม คือนิพพาน อันเป็นความดับแห่งเหตุ ปัจจัย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร