วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 01:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

๑.ไฉนจึงทรงเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ???

รูปร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณธาตุ(ธาตุรู้ = จิต)
( อ้างอิงจาก “วิภังคสูตร” )

มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่ง รูปขันธ์
ผัสสะ เป็นปัจจัยแห่ง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
รูปและนาม เป็นปัจจัยแห่ง วิญญาณขั
นธ์
( อ้างอิงจาก “มหาปุณณมสูตร” )

มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่งรูป(รูปที่ไม่มีจิตครอง เรียก อนุปาทินกสังขาร เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย)
รูปชนิดนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ ไม่มีธาตุรู้(จิต) จึงรู้อะไรไม่ได้

มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่งรูปขันธ์ (รูปร่างกาย)
(รูปที่มีจิตครอง เรียก อุปาทินกสังขาร)
รูปร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยธาตุ ๔ + ธาตุรู้(จิต) ดังนั้นมนุษย์จึงรู้อะไรได้

รูปขันธ์ มีอายตนะภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เป็นช่องทางของจิตในการติดต่อกับอารมณ์
(รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์)

อายตนะภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อผัสสะกับ
อายตนะภายนอก ๖ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ (เป็นคู่ตามลำดับ )
ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ หรือนามขันธ์ ๔ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

รูปขันธ์ ๑ และนามขันธ์ ๔ รวมเป็นขันธ์ ๕
หรือก็คือ อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ นั่นเอง
หรือเรียกว่า จิตสังขาร (จิตที่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์)


จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง หรือ จิตเป็นต้นนั้น ที่ทรงตรัสถึง
ก็คือ จิตที่ผสมอารมณ์แล้วเกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
หรือ จิตสังขาร หรือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง.


๒.ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิ
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

นั่นก็คือ
ปุถุชน จิตถูกอวิชชาครอบงำ เกิดตัณหา อุปาทาน ยึดถือขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน
ปุถุชน ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้เลย

แต่พระอริยสาวก เห็นขันธ์ ๕ ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงว่า
ขันธ์ ๕ไม่ใช่ของเรา ขันธ์ ๕ไม่เป็นเรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา

ย่อมเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในขันธ์ ๕

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระพุทธพจน์ส่วนนี้ ผู้ศึกษาจำนวนมาก ยึดเอาตามตัวหนังสือที่เห็น
ที่พระองค์ตรัสว่า
“การยึดถือเอาร่างกายเป็นตนยังชอบกว่าการยึดถือเอาจิตเป็นตน”
โดยขาดความเฉลียวใจถึงความนัยที่ซ่อนไว้

โปรดสังเกตพระพุทธพจน์ที่มีมา
เมื่อทรงตรัสถึง ปุถุชน(คนหนาด้วยกิเลส )
จะมีนัยที่ตรงกันข้ามกับพระอริยสาวกเสมอ


พระพุทธพจน์ส่วนนี้ก็เช่นกัน ทรงหมายให้เห็นว่า

ปุถุชนผู้มิได้สดับยึดถือเอาร่างกายเป็นตน ชอบกว่า...
เพราะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า
ร่างกายนี้มีอายุ ๑ ปีบ้าง...๒ ปีบ้าง...ร้อยปีบ้าง...เป็นต้น

แต่พระตถาคตทรงเห็นมากกว่านั้น
ทรงเห็นว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔+ธาตุรู้(จิต)
เพราะมีจิตครอง จึงทำให้เกิดเป็นขันธ์ ๕ ขึ้น
หรือก็คืออารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ หรือ จิตสังขารนั่นเอง

และขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต ตลอดเวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ทรงเปรียบ จิต เหมือน วานร

จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลได้ (เอกจรํ)
วานรตัวเดียว เที่ยวไปในป่าใหญ่

วานรจับกิ่งไม้ เปรียบเหมือน จิตผสมอารมณ์

ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
เหมือนจิตปล่อยอารมณ์นั้น ผสมอารมณ์อื่น ปล่อยอารมณ์เดิม ผสมอารมณ์ใหม่ต่อไป
ตลอดเวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน

นั่นก็คือ จิตปรุงแต่งไปตามอารมณ์
ทำให้เกิดขันธ์ ๕ ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน
จึงทรงให้พระสาวกพิจารณาขันธ์ ๕ ทั้งกลางวันและกลางคืน


ดังปรากฏใน เผณปิณฑสูตร ความว่า

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ
สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด
สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย
และวิญญาณอุปมาด้วยกล.

ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการใดๆ
เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า ฯลฯ

นี้เป็นความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่
เบญจขันธ์เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง
เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้.

ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน.

ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง
พึงกระทำที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปุถุชน จิตมีอวิชชาครอบงำ ทำให้หลงผิดยึดขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน
ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต


ปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายเกิด
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
...ฯลฯ...
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง จึงมีด้วยประการ อย่างนี้

พระอริยสาวกปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา
จิตหลุดพ้นจากการยึดขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เกิดวิชชาขึ้นที่จิตแทนที่
เพราะอวิชชาดับไปจากจิต ทุกข์จึงดับไปจากจิต ไม่ใช่จิตดับ


ปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายดับ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
...ฯลฯ...
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
มหาศักยมุนีโคตมสูตร ปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายเกิด-ฝ่ายดับ

โดยทั่วไปที่มีมาในพระสูตรอื่นๆ จะเขียนไว้ชัดเจน
และเป็นอันเข้าใจตรงกันว่า

พระอริยสาวก ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนด
เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ฯลฯ

พระอริยสาวก จิตหลุดพ้นจากการถือมั่นว่าขันธ์ ๕ เป็นตน
เพราะจิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่ขันธ์ ๕
ถึงขันธ์ ๕ จะแปรปรวนไป จิตหาแปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไปไม่

(อ้างอิง นกุลปิตาสูตร)

ส่วนปุถุชน เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป
เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพราะไม่ได้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
อันปุถุชนมิได้สดับ (ย่อม)รวบรัด ถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า...

นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลิ้มธรรม เขียน:
tongue
อันปุถุชนมิได้สดับ (ย่อม)รวบรัด ถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า...

นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา


จิตปุถุชน กับ จิตพระอริยสาวก ย่อมตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง

จิตปุถุชน ผู้มิได้สดับ..
ย่อมรวบรัด ถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า
ขันธ์ ๕ นั่นของเรา ขันธ์ ๕ นั่นเป็นเรา ขันธ์ ๕ นั่นเป็นตัวตนของเรา

จิตพระอริยสาวก ผู้ได้สดับ...
ย่อมไม่รวบรัด ไม่ถือไว้ด้วยตัณหา ไม่ยึดถือด้วยทิฐิว่า
ขันธ์ ๕ นั่นของเรา ขันธ์ ๕ นั่นเป็นเรา ขันธ์ ๕ นั่นเป็นตัวตนของเรา

อ้างอิงคัททูลสูตรที่ ๑-๒

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
เห็น ตน มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใน ตน
เห็น ตน ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ปุถุชนเมื่อเขาแล่นวนเวียนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอยู่
ย่อมไม่พ้นไปจากรูป ไม่พ้นไปจากเวทนา ไม่พ้นไปจากสัญญา ไม่พ้นไปจากสังขาร ไม่พ้นไปจากวิญญาณ
ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เรากล่าวว่าย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน
ย่อมไม่พิจารณาเห็น ตน มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
ย่อมไม่พิจารณาเห็น ตน ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อริยสาวกนั้นย่อมไม่แล่นวนเวียนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อริยสาวกนั้นเมื่อไม่แล่นวนเวียนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมพ้นจากรูป พ้นจากเวทนา พ้นจากสัญญา พ้นจากสังขาร พ้นจากวิญญาณ
พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์.

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
หลับอยุ่ เขียน:
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ


ผมจะเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นได้ง่ายขึ้นดังนี้ครับ

ถ้าเราเปรียบจิตที่บริสุทธิ์ เป็นเช่นเดียวกับน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งใดๆเจือปนอยู่เลยนั้น

การที่เราเรียกน้ำว่า น้ำแดงบ้าง น้ำแกงบ้าง น้ำปานะบ้างฯลฯ

น้ำเป็นต้นนั้น ชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ขนิดหนึ่งดับไป

จิตที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ พระองค์ทรงหมายถึงจิตสังขาร

ที่เกิดดับไปตามอารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่งจิต อยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ก็แค่นั้นแล


:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๗๔๒ - ๖๘๒๒. หน้าที่ ๒๖๘ - ๒๗๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
หลับอยุ่ เขียน:
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ


ผมจะเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นได้ง่ายขึ้นดังนี้ครับ

ถ้าเราเปรียบจิตที่บริสุทธิ์ เป็นเช่นเดียวกับน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งใดๆเจือปนอยู่เลยนั้น

การที่เราเรียกน้ำว่า น้ำแดงบ้าง น้ำแกงบ้าง น้ำปานะบ้างฯลฯ

น้ำเป็นต้นนั้น ชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ขนิดหนึ่งดับไป

จิตที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ พระองค์ทรงหมายถึงจิตสังขาร

ที่เกิดดับไปตามอารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่งจิต อยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ก็แค่นั้นแล


:b39:


สวัสดีครับคุณธรรมภูต smiley
ที่คุณอธิบายมาหมายถึงจิตเดิมเป็นประภัสสร ที่มัวหมองเพราะกิเลสจรเข้ามาหรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหายมกวรรค - ๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก

เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ

ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น.


ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า

เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป

ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้

เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อม

ท่องเที่ยว เล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค

ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง.

ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง

สอบสวนว่า ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่

พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัย

ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ

เว้นจากปัจจัยมิได้มี.


ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้

ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้

ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว เล่นไป ไม่ใช่

อื่น ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ

[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มี

พระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้น พวก

ข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้

เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง

เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวก

ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์

ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่าน

สาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดี

เลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิด

ขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยัง

ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง

ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น

ดังนี้ จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามก

นั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค.

[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจง

มา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หา

ท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูกรท่านสาติ

พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน.

สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว

จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า

เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป

ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?


สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค

ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?

สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี

ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆ

บุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความ

เกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี
ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย

ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ

ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.

ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น

[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ

สำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้าง

หรือไม่?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า

ซบเซา หมดปฏิภาณ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว

จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ

ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาป

มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกัน

เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ

เว้นจากปัจจัย มิได้มี.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้

ถูกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้นเรากล่าวแล้ว โดยปริยายเป็น

เอนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เรา

ด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้น

ของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.


ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ

[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น

ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ

วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณ

อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรส

ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น

ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศรัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า

มโนวิญญาณ
เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้

ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น

ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น

ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและ

เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น

ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า

ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ

วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A1 ... 5%E0%B8%A3

ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับเรื่องที่สนทนากันอยู่หรือเปล่า
หากผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยคระับ tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวครับ smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต ..
เป็นสังขตะธาตุ หรือ อสังขตะธาตุ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ตรงไหนครับ ที่เขียนว่า จิตเป็นอนัตตา

มีแต่อย่าเห็นผิดว่าจิตสังขารและวิญญาณขันธ์ เป็นอัตตาตัวตน

หรือเป็นของตัวตน เพราะการเห็นผิดอย่างนี้

ถ้าไม่ได้สดับในธรรมของพระองค์แล้วย่อมจะไม่รู้ความจริงได้เลย

เพราะจิตย่อมละเอียดอ่อนนอนเนื่องจนไม่รู้ตัว ใครที่ไม่รู้ตัว??????


onion เพราะ..ความไม่รู้..จึงเปนเช่นนี้เเล..

รูปภาพ

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ ฉันใด

เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้,
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ ฉันนั้น.

อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง
ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้วตั้งใจแล้ว

ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
จงสำเร็จโดยฉับพลัน

สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา
ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่

จันโท ปัณณะระโส ยะถา
เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ

มะณิ โชติระโส ยะถา
เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ


:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 17 พ.ค. 2010, 05:18, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:
มหายมกวรรค - ๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับเรื่องที่สนทนากันอยู่หรือเปล่า
หากผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยคระับ tongue tongue tongue

เกี่ยวข้องกันครับ การรู้จักจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนว
พระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า

พระสาติ มีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสาติมีความเห็นผิดว่า
วิญญาณ(ขันธ์)นี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น
วิญญาณ(ขันธ์)ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว


เพราะ พระสาติ เข้าใจผิดว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์ นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีความเห็นว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์
ก็น่าจะเข้าข่ายมีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าแบบพระสาติ

เพราะ จิตคือตัวเสวยวิบากกรรมทั้งดีทั้งชั่ว
ไม่ใช่วิญญาณขันธ์เสวยวิบากกรรมทั้งดีทั้งชั่ว

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron