วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้จักเรื่องจิตผิดๆ ย่อมทำให้การเรียนรู้
และการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนว

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
เช่นเดียวกับบุคคลที่ติดกระดุมเสื้อผิดเม็ดแรก
เม็ดต่อๆไปก็จะติดผิดตามไปด้วยตลอดแนว

การเปรียบเทียบแบบนี้จะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจน
ถึงเหตุแห่งความเข้าใจผิดๆนั้น
แต่กลับเข้าใจเอาเองแบบผิดๆว่า สิ่งที่ตนเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว

เพราะสามารถติดกระดุมได้ตลอดแนวเช่นกัน
แต่เป็นแถวเป็นแนวที่ผิดรูปไปไม่ลงตัวกันพอดีเท่านั้น
โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากตนเองนั้นใส่เสื้อตัวนั้นอยู่
ทำให้มองไม่เห็นสิ่งที่ตนเองทำลงไป
แต่ก็ไม่ถึงกับไม่รู้เลย เพียงแต่คุ้นชินกับสิ่งที่ทำ
ต้องให้บุคคลอื่นที่เคยผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว ชี้ให้เห็นตามความเป็นจริง

เนื่องจากบุคคลที่เคยผ่านมาแล้วนั้น
ย่อมมีวิธีการที่ติดกระดุมเม็ดแรกไม่ให้ผิดพลาดได้เลย
โดยมีพระพุทธพจน์เป็นกระจกคอยส่องให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในการติดกระดุมเม็ดแรก

เราควรต้องคอยเอาพระพุทธพจน์มาเทียบเคียง
กับผลของการปฏิบัติที่ผ่านๆมา ว่าเราหลงทางอยู่หรือไม่

การเริ่มต้นนั้นสำคัญมากๆ
เมื่อเริ่มต้นผิดก็จะทำให้ผิดตลอดแนวได้เช่นกัน

โดยเฉพาะเรื่องจิต ซึ่งเป็นหัวใจหลักในพระพุทธศาสนาของ "เรา”
พวกเราชาวพุทธพึงต้องศึกษาเรื่องจิตให้เข้าใจอย่างถูกตรง ตามพระพุทธพจน์
จึงจะทำให้การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างถูกต้อง

ในโอวาทปาติโมกข์นั้น พระพุทธองค์ท่านทรงกล่าวไว้ชัดเจนว่า
ให้เราชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่สำคัญมาก เพื่ออะไร?
เพื่อให้จิตหลุดพ้นหรือจิตพ้นวิเศษจากอารมณ์ต่างๆ(อุปกิเลสทั้งหลายทั้งดีทั้งชั่ว)

เมื่อมีความเข้าใจผิดๆว่าจิตเป็นของเหลวไหลเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
เป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัยไม่ได้แล้วเลยนั้น
เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองไปเพื่ออะไร?

เราจะชำระได้ละหรือ ในเมื่อจิตเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา
ในเมื่อจิตเป็นของเหลวไหล เป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้ จะชำระจิตไปทำไม?

ถ้าจิตเป็นของแบบที่ว่ามานั้นแล้ว
เราควรปล่อยจิตทิ้งไปหรือทำลายทิ้งไปเสียให้สิ้นไม่ดีกว่าหรือ?
ต้องไปชำระให้สะอาดบริสุทธิ์เพื่ออะไร?
เพราะว่า เมื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจด(เป็นธรรมธาตุ)ได้แล้ว
จิตก็ยังเป็นของเหลวไหล เกิดดับ เป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้อยู่ดี

ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน พระพุทธองค์คงไม่สอนให้เรามัวเสียเวลา
กับการชำระของที่เกิดๆดับๆ เหลวไหลเป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้

ก่อนอื่น เราชาวพุทธต้องมารู้จักจิตที่แท้จริงเสียก่อน
คำว่า “จิต” คือธาตุรู้ เมื่อเป็นธาตุรู้ จะต้องทรงไว้ซึ่งความรู้
อะไรเกิดขึ้นก็รู้ อะไรดับไปก็รู้ ไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้

ถ้าตัวมันเองเกิดๆดับๆ จิตต้องเป็นสภาพธรรมที่รู้บ้างไม่รู้บ้างสิ
จะมาเรียกว่าธาตุรู้ไม่ได้เลย เพราะเดี๋ยวรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง
ต้องเรียกว่าธาตุรู้บ้างไม่รู้บ้างจึงจะถูกต้อง

เมื่อเป็นธาตุรู้ย่อมไม่กลับกลายเป็นธาตุอื่นไปได้
ย่อมต้องเป็นธาตุรู้อยู่ต่อไปตลอดเวลาวันยังค่ำ
เพียงแต่มีการรู้ถูก(รู้เห็นตามความเป็นจริง)หรือรู้ผิดจากความเป็นจริงเท่านั้น


ถ้ารู้ถูกก็เกิดวิชชาขึ้นที่จิต จิตมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต
ส่วนที่จิตรู้ผิดนั้น เพราะจิตรู้ผิดไปจากความเป็นจริงถูกอวิชชาครอบงำมานานแล้ว
แม้ผู้มีปัญญายังไม่รู้เลยว่า จิตถูกอวิชชาครอบงำมาตั้งแต่เมื่อไหร่

แต่จิตที่เข้ามาเกิดในภพภูมิต่างๆ เช่น ภพมนุษย์นั้น
เพราะ กิเลส กรรม วิบาก ที่นอนเนื่องอยู่ที่จิต เป็นตัวเหตุที่ผลักดันให้เข้ามาเกิดในภพภูมิต่างๆ
เพื่อมาชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ในสิ่งที่ตนเองได้เคยก่อไว้
ไม่ใช่มาชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ของใครผู้หนึ่งผู้ใดที่เคยก่อไว้เลย
เป็นการชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ของตนเองแท้ๆนั่นเทียวที่ได้เคยก่อไว้

การชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ของใครของเค้า
จิตเรา กิเลส กรรม วิบาก ก็เป็นของเราที่เคยก่อไว้
จะเป็นของคนอื่นใดที่เคยก่อไว้เป็นไปไม่ได้เลย
และรับชดใช้ กิเลส กรรม วิบากให้แทนกันก็ไม่ได้เช่นกัน

ดั่งพระพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ว่า
“ใครที่ทำกรรมดีกรรมชั่วเช่นใด ย่อมได้รับผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วเช่นนั้น”

ฉะนั้น “จิต”จึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญอย่างมากที่พวกเราชาวพุทธต้องฝึกฝนอบรม
ให้จิตเกิดความชำนิชำนาญในการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ต่างๆ
ได้อย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว(สติปัญญา)

ไม่ใช่ใช้เพียงแค่สัญญาที่ตนเองเข้าใจผิดๆคิดว่าเป็นปัญญา
นึกว่าปล่อยวางได้ แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่
ในจิตใจของตนเองยังคุกรุ่นอยู่กับอารมณ์เหล่านั้น
และเก็บกักอารมณ์เหล่านั้นไว้เป็นธรรมารมณ์ต่อไป
พร้อมที่จะระเบิดอารมณ์เหล่านั้นออกมาได้อีกตลอดเวลา
เมื่อมีเหตุปัจจัยแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างพร้อมมูล

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราควรต้องฝึกฝนอบรมจิตของเรา
ให้รู้จักการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์(อุปกิเลส)ทั้งหลาย
ไม่ใช่เที่ยวไปอบรมจิตของใคร(คนอื่น)ไม่ได้หรอก
ต้องเป็นจิตของใครของมันที่ต้องอบรมจิตตนเอง

เราต้องฝึกฝนอบรมจิตของเราหรือของใครของมันให้เกิดสติปัญญา(การปล่อยวางอารมณ์)ให้ได้
เมื่อจิตถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอุปกิเลสต่างๆทั้งหลายได้แล้ว
จนจิตกลายเป็นธรรมธาตุแล้ว จิตจะกลับมายึดถือตนเองเพื่ออะไรอีก?
ในเมื่อตนเอง(จิต)รู้จักการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้แล้ว

โดยหลักการแล้ว เราต้องมารู้จักสักกายทิฐิ(ความรู้เห็นเรื่องกาย)ที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร?
มีมาในพระพุทธพจน์เรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง”


เพื่อให้มารู้จักกายในกาย(จิต) เมื่อรู้จักกายในกาย(จิต)
ย่อมรู้จักเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมแบบต่อเนื่องได้
เมื่อถึงขั้นนี้แล้วย่อมรู้จักจิตที่แท้จริง
เมื่อรู้จักจิตที่แท้จริงแล้ว ผู้ปฏิบัติ(เรา)จะตั้งจิตที่มีสติไว้ฐานไหนอย่างต่อเนื่องก็ได้เช่นกัน

ส่วนใครที่บอกว่า เริ่มต้นจากฐานไหนก็ได้ทั้งนั้น
เป็นการกล่าวแบบไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง
เพราะยังไม่เคยรู้จักจิตที่แท้จริง(กายในกาย)เลย

ยังเข้าใจแบบผิดๆว่าจิตบังคับไม่ได้
ถ้าจิตบังคับบัญชาไม่ได้
เราจะมาฝึกฝนอบรมจิตให้เป็นไปอย่างใจหวังไปเพื่ออะไร?

มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า “จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้”

แสดงว่าจิตไม่ใช้ตัวทุกข์ และต้องฝึกฝนบังคับบัญชาได้ จึงนำสุขมาให้ได้

ตัวอย่างคนที่เคยทำผิดคิดมิชอบมาก่อน ชีวิตนี้ก็ไม่ต้องได้กลับตัวกลับใจกันเลยสิ
เพราะยังเข้าใจแบบผิดๆว่าจิตของตนเองนั้นไม่สามารถบังคับบัญชาให้กลับตัวกลับใจได้....เอวัง

ธรรมภูต

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผิด ถูก เกิดจากอะไรหรอคะ ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถูก ผิด เกิดจากการไม่ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"ครับ

โดยมีลมหายใจเครื่องกำกับ

จึงจะเข้าใจสภาวะธรรมที่แท้จริงของจิต

ว่าจิตเป็นเพียงธาตุรู้ ไม่ใช่ตัวสุข ตัวทุกข์

แต่เพราะจิตไปยึดอารมณ์ จึงทำให้เกิดสุข-ทุกข์ขึ้นที่จิต

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ถูก ผิด เกิดจากการไม่ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"ครับ

โดยมีลมหายใจเครื่องกำกับ

จึงจะเข้าใจสภาวะธรรมที่แท้จริงของจิต

ว่าจิตเป็นเพียงธาตุรู้ ไม่ใช่ตัวสุข ตัวทุกข์

แต่เพราะจิตไปยึดอารมณ์ จึงทำให้เกิดสุข-ทุกข์ขึ้นที่จิต


:b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ถูก ผิด เกิดจากการไม่ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"ครับ

โดยมีลมหายใจเครื่องกำกับ

จึงจะเข้าใจสภาวะธรรมที่แท้จริงของจิต

ว่าจิตเป็นเพียงธาตุรู้ ไม่ใช่ตัวสุข ตัวทุกข์

แต่เพราะจิตไปยึดอารมณ์ จึงทำให้เกิดสุข-ทุกข์ขึ้นที่จิต


อิอิ

ปฎิบัติยังไงคร๊าบ จิตปนกันมั่วหมดแล้วคร๊าบ

จิตเป็นเพียงธาตุรู้

จิตที่เกิดทุกข์เกิดสุข

เอามาปนกันมั่วแล้วคร๊าบบ



มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า “จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้”

แสดงว่าจิตไม่ใช้ตัวทุกข์ และต้องฝึกฝนบังคับบัญชาได้ จึงนำสุขมาให้ได้


อิอิ

อย่างนี้ แสดงถึงจิตตัวเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ น๊าคร๊าบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
การรู้จักเรื่องจิตผิดๆ ย่อมทำให้การเรียนรู้
และการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนว

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
เช่นเดียวกับบุคคลที่ติดกระดุมเสื้อผิดเม็ดแรก
เม็ดต่อๆไปก็จะติดผิดตามไปด้วยตลอดแนว

การเปรียบเทียบแบบนี้จะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจน
ถึงเหตุแห่งความเข้าใจผิดๆนั้น
แต่กลับเข้าใจเอาเองแบบผิดๆว่า สิ่งที่ตนเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว

เพราะสามารถติดกระดุมได้ตลอดแนวเช่นกัน
แต่เป็นแถวเป็นแนวที่ผิดรูปไปไม่ลงตัวกันพอดีเท่านั้น
โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากตนเองนั้นใส่เสื้อตัวนั้นอยู่
ทำให้มองไม่เห็นสิ่งที่ตนเองทำลงไป
แต่ก็ไม่ถึงกับไม่รู้เลย เพียงแต่คุ้นชินกับสิ่งที่ทำ
ต้องให้บุคคลอื่นที่เคยผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว ชี้ให้เห็นตามความเป็นจริง

เนื่องจากบุคคลที่เคยผ่านมาแล้วนั้น
ย่อมมีวิธีการที่ติดกระดุมเม็ดแรกไม่ให้ผิดพลาดได้เลย
โดยมีพระพุทธพจน์เป็นกระจกคอยส่องให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในการติดกระดุมเม็ดแรก

เราควรต้องคอยเอาพระพุทธพจน์มาเทียบเคียง
กับผลของการปฏิบัติที่ผ่านๆมา ว่าเราหลงทางอยู่หรือไม่

การเริ่มต้นนั้นสำคัญมากๆ
เมื่อเริ่มต้นผิดก็จะทำให้ผิดตลอดแนวได้เช่นกัน

โดยเฉพาะเรื่องจิต ซึ่งเป็นหัวใจหลักในพระพุทธศาสนาของ "เรา”
พวกเราชาวพุทธพึงต้องศึกษาเรื่องจิตให้เข้าใจอย่างถูกตรง ตามพระพุทธพจน์
จึงจะทำให้การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างถูกต้อง

ในโอวาทปาติโมกข์นั้น พระพุทธองค์ท่านทรงกล่าวไว้ชัดเจนว่า
ให้เราชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่สำคัญมาก เพื่ออะไร?
เพื่อให้จิตหลุดพ้นหรือจิตพ้นวิเศษจากอารมณ์ต่างๆ(อุปกิเลสทั้งหลายทั้งดีทั้งชั่ว)

เมื่อมีความเข้าใจผิดๆว่าจิตเป็นของเหลวไหลเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
เป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัยไม่ได้แล้วเลยนั้น
เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองไปเพื่ออะไร?

เราจะชำระได้ละหรือ ในเมื่อจิตเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา
ในเมื่อจิตเป็นของเหลวไหล เป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้ จะชำระจิตไปทำไม?

ถ้าจิตเป็นของแบบที่ว่ามานั้นแล้ว
เราควรปล่อยจิตทิ้งไปหรือทำลายทิ้งไปเสียให้สิ้นไม่ดีกว่าหรือ?
ต้องไปชำระให้สะอาดบริสุทธิ์เพื่ออะไร?
เพราะว่า เมื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจด(เป็นธรรมธาตุ)ได้แล้ว
จิตก็ยังเป็นของเหลวไหล เกิดดับ เป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้อยู่ดี

ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน พระพุทธองค์คงไม่สอนให้เรามัวเสียเวลา
กับการชำระของที่เกิดๆดับๆ เหลวไหลเป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้

ก่อนอื่น เราชาวพุทธต้องมารู้จักจิตที่แท้จริงเสียก่อน
คำว่า “จิต” คือธาตุรู้ เมื่อเป็นธาตุรู้ จะต้องทรงไว้ซึ่งความรู้
อะไรเกิดขึ้นก็รู้ อะไรดับไปก็รู้ ไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้

ถ้าตัวมันเองเกิดๆดับๆ จิตต้องเป็นสภาพธรรมที่รู้บ้างไม่รู้บ้างสิ
จะมาเรียกว่าธาตุรู้ไม่ได้เลย เพราะเดี๋ยวรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง
ต้องเรียกว่าธาตุรู้บ้างไม่รู้บ้างจึงจะถูกต้อง

เมื่อเป็นธาตุรู้ย่อมไม่กลับกลายเป็นธาตุอื่นไปได้
ย่อมต้องเป็นธาตุรู้อยู่ต่อไปตลอดเวลาวันยังค่ำ
เพียงแต่มีการรู้ถูก(รู้เห็นตามความเป็นจริง)หรือรู้ผิดจากความเป็นจริงเท่านั้น


ถ้ารู้ถูกก็เกิดวิชชาขึ้นที่จิต จิตมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต
ส่วนที่จิตรู้ผิดนั้น เพราะจิตรู้ผิดไปจากความเป็นจริงถูกอวิชชาครอบงำมานานแล้ว
แม้ผู้มีปัญญายังไม่รู้เลยว่า จิตถูกอวิชชาครอบงำมาตั้งแต่เมื่อไหร่

แต่จิตที่เข้ามาเกิดในภพภูมิต่างๆ เช่น ภพมนุษย์นั้น
เพราะ กิเลส กรรม วิบาก ที่นอนเนื่องอยู่ที่จิต เป็นตัวเหตุที่ผลักดันให้เข้ามาเกิดในภพภูมิต่างๆ
เพื่อมาชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ในสิ่งที่ตนเองได้เคยก่อไว้
ไม่ใช่มาชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ของใครผู้หนึ่งผู้ใดที่เคยก่อไว้เลย
เป็นการชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ของตนเองแท้ๆนั่นเทียวที่ได้เคยก่อไว้

การชดใช้ กิเลส กรรม วิบาก ของใครของเค้า
จิตเรา กิเลส กรรม วิบาก ก็เป็นของเราที่เคยก่อไว้
จะเป็นของคนอื่นใดที่เคยก่อไว้เป็นไปไม่ได้เลย
และรับชดใช้ กิเลส กรรม วิบากให้แทนกันก็ไม่ได้เช่นกัน

ดั่งพระพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ว่า
“ใครที่ทำกรรมดีกรรมชั่วเช่นใด ย่อมได้รับผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วเช่นนั้น”

ฉะนั้น “จิต”จึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญอย่างมากที่พวกเราชาวพุทธต้องฝึกฝนอบรม
ให้จิตเกิดความชำนิชำนาญในการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ต่างๆ
ได้อย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว(สติปัญญา)

ไม่ใช่ใช้เพียงแค่สัญญาที่ตนเองเข้าใจผิดๆคิดว่าเป็นปัญญา
นึกว่าปล่อยวางได้ แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่
ในจิตใจของตนเองยังคุกรุ่นอยู่กับอารมณ์เหล่านั้น
และเก็บกักอารมณ์เหล่านั้นไว้เป็นธรรมารมณ์ต่อไป
พร้อมที่จะระเบิดอารมณ์เหล่านั้นออกมาได้อีกตลอดเวลา
เมื่อมีเหตุปัจจัยแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างพร้อมมูล

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราควรต้องฝึกฝนอบรมจิตของเรา
ให้รู้จักการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์(อุปกิเลส)ทั้งหลาย
ไม่ใช่เที่ยวไปอบรมจิตของใคร(คนอื่น)ไม่ได้หรอก
ต้องเป็นจิตของใครของมันที่ต้องอบรมจิตตนเอง

เราต้องฝึกฝนอบรมจิตของเราหรือของใครของมันให้เกิดสติปัญญา(การปล่อยวางอารมณ์)ให้ได้
เมื่อจิตถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอุปกิเลสต่างๆทั้งหลายได้แล้ว
จนจิตกลายเป็นธรรมธาตุแล้ว จิตจะกลับมายึดถือตนเองเพื่ออะไรอีก?
ในเมื่อตนเอง(จิต)รู้จักการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้แล้ว

โดยหลักการแล้ว เราต้องมารู้จักสักกายทิฐิ(ความรู้เห็นเรื่องกาย)ที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร?
มีมาในพระพุทธพจน์เรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง”


เพื่อให้มารู้จักกายในกาย(จิต) เมื่อรู้จักกายในกาย(จิต)
ย่อมรู้จักเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมแบบต่อเนื่องได้
เมื่อถึงขั้นนี้แล้วย่อมรู้จักจิตที่แท้จริง
เมื่อรู้จักจิตที่แท้จริงแล้ว ผู้ปฏิบัติ(เรา)จะตั้งจิตที่มีสติไว้ฐานไหนอย่างต่อเนื่องก็ได้เช่นกัน

ส่วนใครที่บอกว่า เริ่มต้นจากฐานไหนก็ได้ทั้งนั้น
เป็นการกล่าวแบบไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง
เพราะยังไม่เคยรู้จักจิตที่แท้จริง(กายในกาย)เลย

ยังเข้าใจแบบผิดๆว่าจิตบังคับไม่ได้
ถ้าจิตบังคับบัญชาไม่ได้
เราจะมาฝึกฝนอบรมจิตให้เป็นไปอย่างใจหวังไปเพื่ออะไร?

มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า “จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้”

แสดงว่าจิตไม่ใช้ตัวทุกข์ และต้องฝึกฝนบังคับบัญชาได้ จึงนำสุขมาให้ได้

ตัวอย่างคนที่เคยทำผิดคิดมิชอบมาก่อน ชีวิตนี้ก็ไม่ต้องได้กลับตัวกลับใจกันเลยสิ
เพราะยังเข้าใจแบบผิดๆว่าจิตของตนเองนั้นไม่สามารถบังคับบัญชาให้กลับตัวกลับใจได้....เอวัง

ธรรมภูต

อิอิ เข้าใจแบบนี้ถูก เข้าใจแบบนี้ผิด

จิตเป็นเพียงธาตุรู้ แล้วถูกผิดมาจากไหน ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ถูก ผิด เกิดจากการไม่ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"ครับ

โดยมีลมหายใจเครื่องกำกับ

จึงจะเข้าใจสภาวะธรรมที่แท้จริงของจิต

ว่าจิตเป็นเพียงธาตุรู้ ไม่ใช่ตัวสุข ตัวทุกข์

แต่เพราะจิตไปยึดอารมณ์ จึงทำให้เกิดสุข-ทุกข์ขึ้นที่จิต


อ๋อๆๆๆๆๆ

เพราะไม่เข้าใจสภาวะธรรมที่แท้จริง

จึงไปยึดถูก ผิด ละจ้าๆๆ

อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 03:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


innocent เขียน:
ผิด ถูก เกิดจากอะไรหรอคะ ??




เกิดจากอุปทานที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มากระทบ
ว่านั่นถูก นี่ผิด ตามความคิดของตัวเองค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


noohmairu เขียน:
อิอิ เข้าใจแบบนี้ถูก เข้าใจแบบนี้ผิด

จิตเป็นเพียงธาตุรู้ แล้วถูกผิดมาจากไหน ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:

จิตรู้ถูก เกิดจากการสร้างสติหรือเจริญสติให้เกิดขึ้นที่จิต

ไม่ให้จิตหลงไหลไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบ

จิตรู้ผิด เกิดจากจิตของแต่ละคนที่มีคนละดวงนั้น มีกิเลส กรรม วิบากกดดันอยู่

จึงยังเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภพภูมิต่างๆ เพราะมีอวิชชาครอบงำอยู่ คือ

จิตไม่รู้จักอริยสัจจ๔ตามความเป็นจริงครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
innocent เขียน:
ผิด ถูก เกิดจากอะไรหรอคะ ??




เกิดจากอุปทานที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มากระทบ
ว่านั่นถูก นี่ผิด ตามความคิดของตัวเองค่ะ


:b3: สวัสดีค่ะ

ความคิดของตัวเองเกิดจากอะไรหรอคะ ??
ทำไมจึงเห็นสิ่งที่มากระทบแล้วคิดว่านั่นถูก นี่ผิด ละคะ ??
ถูก ผิด มีอยู่ก่อนแล้วรึป่าวคะ ??
ถ้ามีอยู่ก่อนมันซุกซ่อนอยู่ที่ไหนอะคะ ??
ถ้าไม่มีอยู่ก่อนแล้วจู่ๆมันออกมาได้อย่างไรคะ ??

:b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
noohmairu เขียน:
อิอิ เข้าใจแบบนี้ถูก เข้าใจแบบนี้ผิด

จิตเป็นเพียงธาตุรู้ แล้วถูกผิดมาจากไหน ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:

จิตรู้ถูก เกิดจากการสร้างสติหรือเจริญสติให้เกิดขึ้นที่จิต

ไม่ให้จิตหลงไหลไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบ

จิตรู้ผิด เกิดจากจิตของแต่ละคนที่มีคนละดวงนั้น มีกิเลส กรรม วิบากกดดันอยู่

จึงยังเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภพภูมิต่างๆ เพราะมีอวิชชาครอบงำอยู่ คือ

จิตไม่รู้จักอริยสัจจ๔ตามความเป็นจริงครับ

:b39:


ที่ว่า "จิตเป็นเพียงธาตุรู้"
เมื่อจิตรู้ถูก ไปอยู่ที่ถูกรึป่าวคะ ??
เมื่อจิตรู้ผิด ไปอยู่ที่ผิดรึป่าวคะ ??
ธาตุรู้ไม่ได้รู้อยู่เฉยๆ หรอกหรือคะ ??

:b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


innocent เขียน:
walaiporn เขียน:
innocent เขียน:
ผิด ถูก เกิดจากอะไรหรอคะ ??




เกิดจากอุปทานที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มากระทบ
ว่านั่นถูก นี่ผิด ตามความคิดของตัวเองค่ะ


:b3: สวัสดีค่ะ

ความคิดของตัวเองเกิดจากอะไรหรอคะ ??
ทำไมจึงเห็นสิ่งที่มากระทบแล้วคิดว่านั่นถูก นี่ผิด ละคะ ??
ถูก ผิด มีอยู่ก่อนแล้วรึป่าวคะ ??
ถ้ามีอยู่ก่อนมันซุกซ่อนอยู่ที่ไหนอะคะ ??
ถ้าไม่มีอยู่ก่อนแล้วจู่ๆมันออกมาได้อย่างไรคะ ??

:b9:




ตอบ


innocent เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
ปัญญาที่เกิดจากการปรุงแต่งไม่มีหรอกครับอันนั้นเรียกว่าสัญญา(ปัญญาทางโลก)

ส่วนปัญญาทางธรรมนั้น เป็นปัญญาที่เกิดจากการปล่อยวางอารมณ์ได้สำเร็จครับ

ปัญญาที่เป็นหนึ่งนั้น ล้วนต้องเกิดจากการประกอบภาวนานุโยค

เพื่อให้จิตเกิดปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตทางอายตนะทั้ง๖

ผมขอถามหน่อยนะครับว่า สติและปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนครับ?

:b39:


ปัญญาทางธรรมที่ปล่อยวางอารมณ์ได้สำเร็จแล้วหมายความว่าต้องไปจับอารมณ์ก่อนแล้วค่อยปล่อยวางทีหลังรึป่าวคะ ?
ปัญญาที่เกิดจากการประกอบจะเป็นปัญญาที่เป็นหนึ่งอย่างแท้จริงได้อย่างไรคะ ?
สิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาก็เป็นขันธ์ ปัญญาขันธ์ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใช่ป่าวคะ ?

อ้างคำพูด:
ผมขอถามหน่อยนะครับว่า สติและปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนครับ?

รู้แต่ว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมดับไป ใช่ป่าวคะ ?

:b9:



:b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
innocent เขียน:
walaiporn เขียน:
innocent เขียน:
ผิด ถูก เกิดจากอะไรหรอคะ ??




เกิดจากอุปทานที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มากระทบ
ว่านั่นถูก นี่ผิด ตามความคิดของตัวเองค่ะ


:b3: สวัสดีค่ะ

ความคิดของตัวเองเกิดจากอะไรหรอคะ ??
ทำไมจึงเห็นสิ่งที่มากระทบแล้วคิดว่านั่นถูก นี่ผิด ละคะ ??
ถูก ผิด มีอยู่ก่อนแล้วรึป่าวคะ ??
ถ้ามีอยู่ก่อนมันซุกซ่อนอยู่ที่ไหนอะคะ ??
ถ้าไม่มีอยู่ก่อนแล้วจู่ๆมันออกมาได้อย่างไรคะ ??

:b9:




ตอบ


innocent เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
ปัญญาที่เกิดจากการปรุงแต่งไม่มีหรอกครับอันนั้นเรียกว่าสัญญา(ปัญญาทางโลก)

ส่วนปัญญาทางธรรมนั้น เป็นปัญญาที่เกิดจากการปล่อยวางอารมณ์ได้สำเร็จครับ

ปัญญาที่เป็นหนึ่งนั้น ล้วนต้องเกิดจากการประกอบภาวนานุโยค

เพื่อให้จิตเกิดปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตทางอายตนะทั้ง๖

ผมขอถามหน่อยนะครับว่า สติและปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนครับ?

:b39:


ปัญญาทางธรรมที่ปล่อยวางอารมณ์ได้สำเร็จแล้วหมายความว่าต้องไปจับอารมณ์ก่อนแล้วค่อยปล่อยวางทีหลังรึป่าวคะ ?
ปัญญาที่เกิดจากการประกอบจะเป็นปัญญาที่เป็นหนึ่งอย่างแท้จริงได้อย่างไรคะ ?
สิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาก็เป็นขันธ์ ปัญญาขันธ์ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใช่ป่าวคะ ?

อ้างคำพูด:
ผมขอถามหน่อยนะครับว่า สติและปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนครับ?

รู้แต่ว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมดับไป ใช่ป่าวคะ ?

:b9:



:b38:


:b9: ???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ

ความคิดของตัวเองเกิดจากอะไรหรอคะ ??
ใช่จิตที่เป็นธาตุรู้ปรุงแต่งเป็นความคิดขึ้นมาใช่มั้ย?

ทำไมจึงเห็นสิ่งที่มากระทบแล้วคิดว่านั่นถูก นี่ผิด ละคะ ??
นั่นเพราะเราคิดของเราเอง แต่คนอื่นอาจจะคิดเห็นไม่เหมือนเราใช่มั้ย?
อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว จิตใจสงบตั้งมั่น ถูกในมุมมองทางพุทธศาสนาใช่มั้ย?
อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว จิตใจหวั่นไหวเศร้าหมอง ผิดในมุมมองทางพุทธศาสนาใช่มั้ย?


ถูก ผิด มีอยู่ก่อนแล้วรึป่าวคะ ??
ถูก ผิด เป็นของคู่โลกอยู่ก่อนแล้วใช่มั้ย?

ถ้ามีอยู่ก่อนมันซุกซ่อนอยู่ที่ไหนอะคะ ??
สุข ทุกข์ซุกซ่อนอยู่ที่ไหน ถูก ผิดก็ซุกซ่อนอยู่ที่นั่นใช่มั้ย?

ถ้าไม่มีอยู่ก่อนแล้วจู่ๆมันออกมาได้อย่างไรคะ ??
คำตอบอยู่ข้างบนแล้วครับ

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่า "จิตเป็นเพียงธาตุรู้"
ใช่จิตเป็นธาตุรู้ ถ้าจิตไม่ใช่ธาตุรู้แล้วให้จิตไปเป็นอะไรหละครับ?

เมื่อจิตรู้ถูก ไปอยู่ที่ถูกรึป่าวคะ ??
เมื่อจิตรู้ถูกนั้น ก็แสดงว่า จิตรู้จักทุกข์ รู้จักละเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ดับ รู้จักทางปฏิบัติเพื่อทางดับทุกข์

เมื่อจิตรู้ผิด ไปอยู่ที่ผิดรึป่าวคะ ??
เมื่อจิตรู้ผิดนั้น แสดงว่าจิตไม่รู้จักอริยสัจจ๔ตามความเป็นจริงหนะสิ

ธาตุรู้ไม่ได้รู้อยู่เฉยๆ หรอกหรือคะ ??
ถ้ารู้เฉยๆได้ แต่ไม่ใช่เฉยที่คิดเองเออเองว่าเฉย ก็ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกสิครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron