วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 02:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปฌาน
ทั้งหลาย ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะ
วิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้
มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ใน
เพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า โทษในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้ว
พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อ
นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรา
นั้นเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้น
จึงแล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุวิญญาณัญ-
*จายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต
ด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะ
อากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มี
ความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ...
ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็น
ว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน
แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา
เรานั้นเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรา
นั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุอากิญ-
*จัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน
สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่านั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความ
คิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ใน
เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ
ให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ
โดยมาก เหตุนั้น จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตน-
*ฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษ
ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญ-
*ญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป
... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน ... เสพโดยมาก
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ...
เรานั้นแล ... บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเรานั้นอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา เพราะล่วงเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต
นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้า
แลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ
จิตของเราจะพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้น
ในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึง
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญา
เวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง และ
อาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ฯ
ดูกรอานนท์ ก็เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙
ประการนี้ โดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า
ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรอานนท์
ก็เมื่อใดแล เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ โดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตร-
*สัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า
เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ๑ อรูปฌานเป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ๑
นิโรธเป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุผู้มีความเพียร รู้ธรรมเป็นเป็นที่สลัดออกซึ่งกาม และ
อุบายเป็นเครื่องก้าวล่วงรูปทั้งหลาย ถูกต้องธรรมเป็นที่
ระงับสังขารทั้งปวงในกาลทุกเมื่อ ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็น
โดยชอบ ย่อมน้อมไปในธาตุนั้น ภิกษุนั้นแลอยู่จบ
อภิญญา สงบระงับ ก้าวล่วงโยคะได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
หวนระลึกถึงการบรรลุอรูปฌานของตน เป็นผู้เสียใจถึงน้ำตา
ตก เจ้าศากยะทั้งหลายได้ทอดพระเนตรเห็นอสิตฤาษีร้องไห้
จึงตรัสถามว่า ถ้าอันตรายจักมีในพระกุมารหรือหนอ อสิต-
ฤาษีได้ทูลเจ้าศากยะทั้งหลายผู้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ไม่ทรง
พอพระทัยว่า อาตมภาพระลึกถึงกรรมอันไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลในพระกุมารหามิได้ อนึ่ง แม้อันตรายก็จักไม่มีแก่
พระกุมารนี้ พระกุมารนี้เป็นผู้ไม่ทราม ขอมหาบพิตรทั้งหลาย
จงเป็นผู้ดีพระทัยเถิด พระกุมารนี้จักทรงบรรลุพระสัพพัญ-
ญุตญาณ พระกุมารนี้จักทรงเห็นนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จักทรงประกาศธรรม-
จักร พรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย แต่อายุของ
อาตมภาพ จักไม่ดำรงอยู่ได้นานในกาลนี้ อาตมภาพจัก
กระทำกาละเสียในระหว่างนี้ จักไม่ได้ฟังธรรมของพระกุมาร
ผู้มีความเพียรไม่มีบุคคลผู้เสมอ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึง
เป็นผู้เร่าร้อนถึงความพินาศ ถึงความทุกข์ อสิตฤาษียังปีติ
อันไพบูลย์ให้เกิดแก่เจ้าศากยะทั้งหลายแล้ว ออกจากพระ
ราชวัง ไปประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อจะอนุเคราะห์หลาน
ของตน ได้ให้หลานสมาทานในธรรมของพระผู้มีพระภาคผู้มี
ความเพียรไม่มีบุคคลผู้เสมอ แล้วกล่าวว่า ในกาลข้างหน้า
เจ้าได้ยินเสียงอันระบือไปว่า พุทโธ ดังนี้ไซร้ พระผู้มี
พระภาค ได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ย่อมทรงเปิด
เผยทางปรมัตถธรรม เจ้าจงไปทูลสอบถามด้วยตนเอง ใน
สำนักของพระองค์ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นเถิด อสิตฤาษีนั้นผู้มีปรกติเห็นนิพพาน
อันบริสุทธิ์อย่างยิ่งในอนาคต มีใจเกื้อกูลเช่นนั้น ได้สั่งสอน
นาลกดาบส นาลกดาบสเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ รักษาอินทรีย์
รอคอยพระชินสีห์อยู่ นาลกดาบสได้ฟังเสียงประกาศในการ
ที่พระชินสีห์ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ได้ไปเฝ้า
พระชินสีห์ผู้องอาจกว่าฤาษีแล้ว เป็นผู้เลื่อมใส ได้ทูลถาม
ปฏิปทาอันประเสริฐของมุนีกะพระชินสีห์ ผู้เป็นมุนีผู้
ประเสริฐ ในเมื่อเวลาคำสั่งสอนของอสิตฤาษีมาถึงเข้า
ฉะนี้แล ฯ
จบวัตถุกถา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
การข่มไว้ (เพราะได้อรูปฌาน) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละกายทั้งปวงแล้ว.
[๔๗๕] อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี ในอุเทศว่า อชฺฌตฺตญฺจ
พหิทฺธา จ นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสโต ดังนี้. เพราะเหตุไร อากิญจัญญายตนสมาบัติ จึงชื่อว่า
อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี? บุคคลเป็นผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้น
แล้ว ไม่ยังวิญญาณนั้นนั่นแหละ ให้เจริญ ให้เป็นแจ้ง ให้หายไป ย่อมเห็นว่า อะไรๆ
น้อยหนึ่งย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติ จึงชื่อว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นอยู่ทั้งภายในและภายนอกว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี.
[๔๗๖] คำว่า สกฺก ในอุเทศว่า าณํ สกฺกานุปุจฺฉามิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มี-
*พระภาคทรงพระนามว่าสักกะ. พระผู้มีพระภาคเสด็จออกผนวชจากศากยสกุล. แม้เพราะเหตุ
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่า สักกะ. ฯลฯ พระผู้มีพระภาคทรงละความกลัวและความขลาด
เสียแล้ว ปราศจากความขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุดังนี้ พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่า สักกะ.
คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ถึงญาณของบุคคลนั้นว่า เช่นไร ดำรงอยู่อย่างไร มีประการไร มีส่วนเปรียบอย่างไร อันบุคคล
นั้นพึงปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ.
[๔๗๗] คำว่า บุคคลเช่นนั้นควรแนะนำอย่างไร ความว่า บุคคลนั้น ควรแนะนำ
ควรนำไปให้วิเศษ ควรนำไปให้ยิ่ง ควรให้รู้ทั่ว ควรให้พินิจ ควรให้พิจารณา ควรให้เลื่อมใส
อย่างไร? และญาณที่ยิ่งขึ้นไป อันบุคคลนั้นพึงให้เกิดขึ้นอย่างไร?
คำว่า บุคคลเช่นนั้น คือ บุคคลผู้อย่างนั้น ผู้เช่นนั้น ดำรงอยู่อย่างนั้น ผู้มีประการ
อย่างนั้น ผู้มีส่วนเปรียบอย่างนั้น ผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บุคคลผู้เช่นนั้นควรแนะนำอย่างไร? เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ทูลถามถึงญาณของบุคคลผู้มี
รูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว ละกายทั้งหมดแล้ว เห็นอยู่ทั้งภายใน
ภายนอกว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี. บุคคลอย่างนั้นควรแนะนำ
อย่างไร?
[๔๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรโปสาละ) ตถาคตรู้ยิ่งซึ่ง
วิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ทั้งหมด. ย่อมรู้จัก
บุคคลนั้น เมื่อตั้งอยู่ พ้นวิเศษแล้ว มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า.
[๔๗๙] คำว่า วิญญาณฐิติทั้งหมด ความว่า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๔
ด้วยสามารถอภิสังขาร. ย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถปฏิสนธิ.
พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถอภิสังขารอย่างไร? สมจริง
ตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณยึดรูปตั้งอยู่ มีรูปเป็น
อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องส้องเสพ ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความ
เจริญงอกงามไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณยึดเวทนา ฯลฯ ยึดสัญญา ฯลฯ ยึดสังขาร
ตั้งอยู่ มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องส้องเสพ
ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๔ ด้วย
สามารถอภิสังขารอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถปฏิสนธิอย่างไร? สมจริงตาม
พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางหมู่ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑. ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเนื่องในหมู่พรหม
ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่า
หนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหกะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ นี้เป็นวิญญาณ
ฐิติที่ ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้า
วิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖. ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตน-
*ฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งมิได้มี นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗. พระผู้มีพระภาคย่อมทรง
ทราบวิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถปฏิสนธิอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณฐิติทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โปสาละ ในอุเทศว่า โปสาลาติ ภควา
ดังนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรโปสาละ.
[๔๘๐] คำว่า อภิชานํ ในอุเทศว่า อภิชานํ ตถาคโต ดังนี้ ความว่า รู้ยิ่ง รู้แจ้งแทง-
*ตลอด. คำว่า ตถาคต ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ
ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้วไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์. ดูกร
จุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว จริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์
ดูกรจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคต
ย่อมรู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น. ดูกรจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ยังไม่มาถึง ฯลฯ. ดูกรจุนทะ
ถ้าแม้เรื่องที่เป็นปัจจุบัน ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์.
ดูกรจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่เป็นปัจจุบันจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เรื่องนั้นตถาคต
ก็ไม่พยากรณ์. ดูกรจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่เป็นปัจจุบันจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ตถาคตย่อมรู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น. ดูกรจุนทะ ด้วยเหตุดังนี้แล ตถาคตย่อมเป็นผู้
กล่าวโดยกาลอันควร กล่าวจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัย ในธรรมทั้งหลาย
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่าเราเป็นตถาคต. ดูกรจุนทะ
อายตนะใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว
เสาะหาแล้ว พิจารณาแล้วด้วยใจ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว เพราะเหตุ
นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต. ดูกรจุนทะ ตถาคตย่อมตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ในราตรีใด และตถาคตย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด. ตถาคตย่อมกล่าว
บอก เล่า แสดง เรื่องใดในระหว่างนั้น เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้นบัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต. ดูกรจุนทะ ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น
ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ด้วย
ประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต. ดูกรจุนทะ ตถาคตเป็นใหญ่ยิ่ง
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์อันใครๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นโดยถ่องแท้ เป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคตรู้ยิ่ง.
[๔๘๑] คำว่า ย่อมรู้จักบุคคลนั้นผู้ตั้งอยู่ ความว่าพระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้จักบุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก. พระผู้มีพระภาคย่อมรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า
บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้จักบุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงเปรตวิสัย.
พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้
เมื่อกายแตกตายไป จักอุบัติในหมู่มนุษย์. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้
ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระตถาคตตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของ
บุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น
ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. ดูกรสารีบุตร
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน.
ดูกรสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้
ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงเปรต
วิสัย. ดูกรสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักอุบัติ
ในหมู่มนุษย์. ดูกรสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัด
อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตาย
ไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ดูกรสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
แล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทางนั้น
จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย
ปัญญาอันรู้ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมรู้บุคคลนั้นผู้ตั้งอยู่.
[๔๘๒] คำว่า พ้นวิเศษแล้ว ในอุเทศว่า วิมุตฺตํ ตปฺปรายนํ ดังนี้ ความว่า พ้น
วิเศษแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติ คือ น้อมใจไปในสมาบัตินั้น มีสมาบัตินั้นเป็นใหญ่.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้น้อมใจไปในรูป น้อมใจไปใน
เสียง น้อมใจไปในกลิ่น น้อมใจไปในรส น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในสกุล น้อม
ใจไปในคณะ น้อมใจไปในอาวาส น้อมใจไปในลาภ น้อมใจไปในยศ น้อมใจไปในความสรรเสริญ
น้อมใจไปในสุข น้อมใจไปในจีวร น้อมใจไปในบิณฑบาต น้อมใจไปในเสนาสนะน้อมใจไปใน
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร น้อมใจไปในพระสูตร น้อมใจไปในพระวินัย น้อมใจไปในพระอภิธรรม
น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือทรงไตรจีวร
เป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นวัตรน้อมใจไปในองค์ของ
ภิกษุผู้ถือการเที่ยวไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะ
แห่งเดียวเป็นวัตรน้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์
ของภิกษุผู้ถือการไม่ฉันภัตในภายหลังเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร
น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ที่โคนไม้เป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ใน
น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของ ที่แจ้งเป็นวัตร
ภิกษุผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการไม่
นอนเป็นวัตร น้อมใจไปในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตน-
*สมาบัติ วิญญาญัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว.
คำว่า มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า ความว่า สำเร็จมาแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
มีสมาบัตินั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีวิบากเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
หนักอยู่ในกรรม หนักอยู่ในปฏิสนธิ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้มีรูปเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฯลฯ
มีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว มีสมาบัติ
นั้นเป็นเบื้องหน้า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ตถาคตรู้ยิ่งวิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ทั้งหมด
ย่อมรู้จักบุคคลนั้นเมื่อตั้งอยู่ พ้นวิเศษแล้ว มีสมาบัติเป็น
เบื้องหน้า.
[๔๘๓] บุคคลนั้น รู้กรรมว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ
มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้ ครั้นรู้จักกรรมนั้น
อย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้นก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัติ
นั้น. นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นพราหมณ์
อยู่จบพรหมจรรย์.
[๔๘๔] คำว่า รู้กรรมว่าเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ ความว่า กรรมภิสังขาร
อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ตรัสว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ. คือ รู้
ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏซึ่งกรรมาภิสังขารอันให้เป็นไปในอากิญ-
*จัญญายตนภพว่า เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก เป็นเครื่องกังวล เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
รู้กรรมเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ.
[๔๘๕] คำว่า มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบดังนี้ ความว่า ความกำหนัดในอรูป
ตรัสว่า ความเพลินเป็นเครื่องประกอบ. รู้กรรมนั้นว่าเกาะ เกี่ยว พัวพัน ด้วยความกำหนัดในอรูป
คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งความกำหนัดในอรูปว่า
เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องกังวล.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้.
[๔๘๖] คำว่า ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ความว่า ครั้นรู้จัก คือ ทราบ เทียบเคียง
พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครั้นรู้จัก
กรรมนั้นอย่างนี้แล้ว.
[๔๘๗] คำว่า ในลำดับนั้นก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น ความว่า เข้า
อากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วออกจากสมาบัตินั้น แล้วก็พิจารณาเห็น คือ เห็น ตรวจดู เพ่งดู
พิจารณา ซึ่งธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิกอันเกิดในสมาบัตินั้น โดยเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นโรค ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ในลำดับนั้น
ก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น.
[๔๘๘] คำว่า นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ความว่า นั่นเป็นญาณอันแท้จริง
ถ่องแท้ ไม่วิปริต ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น.
[๔๘๙] คำว่า เป็นพราหมณ์ ในอุเทศว่า พฺราหฺมณสฺส วุสีมโต ดังนี้ ความว่า
ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการแล้ว. ฯลฯ บุคคลอันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
แล้ว เป็นผู้คงที่ ท่านกล่าวว่าเป็นพราหมณ์. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์.
คำว่า อยู่จบพรหมจรรย์ ความว่า เสขบุคคล ๗ พวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมอยู่
อยู่ร่วม อยู่ทั่ว อยู่รอบ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. พระอรหันต์อยู่จบแล้ว ทำกรณียกิจเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว
มีประโยชน์ตนอันถึงแล้วโดยลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นกิเลสแล้วเพราะรู้โดย
ชอบ. พระอรหันต์นั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ อยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้มี
สงสาร คือ ชาติ ชราและมรณะ ไม่มีภพต่อไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์อยู่จบ
พรหมจรรย์. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลนั้น รู้กรรมว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ
มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้ ครั้นรู้จักกรรมนั้น
อย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้นก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัติ
นั้น. นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นพราหมณ์
อยู่จบพรหมจรรย์.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของ
ข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบ โปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท
อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง
สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า
เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น
เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท
ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่า
ฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน
เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะ
อรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน
เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ฯ
[๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ
เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุม
พราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วย
อธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท
ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉา
เจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์
เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
ถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน
อย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ไม่เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด
เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ
ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น
เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม
คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วย
อาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล ฯ
จบมาติกากถา
ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง
สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า
เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น
เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท
ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่า
ฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน
เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะ
อรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน
เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ฯ
[๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ
เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุม
พราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วย
อธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท
ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉา
เจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์
เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
ถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน
อย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ไม่เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด
เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ
ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น
เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม
คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วย
อาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล ฯ
จบมาติกากถา
ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ยังญาณให้เกิดในทาน ทมะ สัญญมะ อัปปมัญญา และรูปฌานเหล่านั้น
แล้ว ย่อมอยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้เกิดในวัตรคุณ รูปปฏิมา
และในอาจารกิริยาแล้ว ย่อมอยู่ในกาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้เกิดในการ
จงกรม ความเพียรอันเป็นประธาน และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
แล้ว ย่อมอยู่ตามปรารถนา ๑ ยังญาณให้เกิดในศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุติ และในวิมุตติญาณทัสสนะเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ๑ เรา
ได้ถวายตั่งแผ่นกระดานในพระชินเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เรา
ย่อมได้บัลลังก์อันประเสริฐ อันทำด้วยทอง แก้วมณี และทำด้วยงาช้าง
สารเป็นอันมาก นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแผ่นกระดาน เราได้ถวายตั่ง
รองเท้า ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้
เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราย่อมได้
ยวดยานเป็นอันมาก นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งรองเท้า ๑ ทาสหญิงชาย
ภรรยา และคนอาศัยเลี้ยงชีวิตเหล่าอื่น ย่อมบำเรอเราโดยชอบ นี้เป็น
ผลแห่งการถวายตั่งรองเท้า ๑ เราได้ถวายน้ำมันสำหรับทาเท้าในคณะสงฆ์
ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา คือ ความที่เราเป็นผู้ไม่ป่วยไข้ ๑ มีรูปงาม ๑ เส้นเอ็น
(ประสาท) รับรสได้เร็ว ๑ ความได้ข้าวและน้ำ ๑ ได้อายุยืนนานเป็นที่
ห้า ๑ เราได้ถวายเนยใสและน้ำมันในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อม
ได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้
มีกำลัง ๑ มีรูปสมบูรณ์ ๑ เป็นผู้ร่าเริงทุกเมื่อ ๑ มีบุตรทุกเมื่อ ๑ และ
เป็นผู้ไม่ป่วยไข้ทุกเมื่อ ๑ นี้เป็นผลแห่งการถวายเนยใสและน้ำมัน เรา
ได้ถวายน้ำบ้วนปากในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์
๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้มีลำคอบริสุทธิ์ ๑
มีเสียงไพเราะ ๑ เว้นจากโรคไอ ๑ โรคหืด ๑ กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจาก
ปากของเราทุกเมื่อ ๑ เราได้ถวายนมส้มอย่างดีในพระพุทธเจ้าและคณะสงฆ์
ผู้อุดมแล้ว ได้บริโภคภัตอันไม่ขาดสาย คือ กายคตาสติอันประเสริฐ เรา
ได้ถวายน้ำผึ้งอันประกอบด้วยสี กลิ่นและรสในพระชินเจ้าและในคณะ
สงฆ์แล้วย่อมได้รส คือ วิมุติอันไม่มีรสอื่นเปรียบ ไม่เป็นอย่างอื่น เรา
ได้ถวายรสตามเป็นจริงในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้
เสวยผล ๔ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา เราได้ถวายข้าวและน้ำ
ในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐
ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือเราเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑
เป็นนักปราชญ์ ๑ มีวรรณะ ๑ มียศ ๑ มีสุข ๑ เป็นผู้ได้ข้าว ๑ น้ำ ๑
เป็นคนกล้า ๑ มีญาณรู้ทั่ว ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ย่อมได้คุณ
เหล่านี้ เราได้ถวายธูปในพระสุคตเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด
แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ
เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ เป็นผู้มีกลิ่นตัวหอมฟุ้ง ๑ มียศ ๑
มีปัญญาเร็ว ๑ มีชื่อเสียง ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑ มีปัญญากว้างขวาง ๑
มีปัญญาร่าเริง ๑ มีปัญญาลึกซึ้ง ๑ มีปัญญาเครื่องแล่นไปไพบูลย์ ๑
เพราะผลการถวายธูปนั้น บัดนี้ เราเป็นผู้บรรลุนิพพานอันเป็นสันติสุข ๑
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓
เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดุจช้างตัด
เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔
วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้
ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปิลินทวัจฉเถราปทาน.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรูปฌาน ๔
[๑๙๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุ
จตุตถฌาน อันสหรคตต้องอากาสานัญจายตนสัญญาสหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วย
อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา สหรคตด้วย
อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สหรคต
ด้วยอุเบกขาไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อรูปฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖
อรูปาวจรกุศล จบ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่วิโมกข์ ๘ คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดย
ทำบริกรรมในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๑ โยควจร-
*บุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายนอก ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๒ โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้จัดเป็นวิโมกข์
ที่ ๓ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆ-
*สัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากาสานัญ-
*จายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๔
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็น
วิโมกข์ที่ ๕ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจร-
*บุคคลจึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๖ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๗ เพราะ
ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุสัญญา
เวทยิตนิโรธ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๘
คำว่า สมาธิ ได้แก่สมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจาร-
*มัตตสมาธิ อวิตักกาวิจารสมาธิ
คำว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ปฐมฌานสมาบัติ
ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌานสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน-
*สมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
คำว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ธรรมข้างฝ่ายเสื่อม
คำว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ธรรมข้างฝ่ายวิเศษ
คำว่า ความออก ได้แก่แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า ความออก แม้ความ
ออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่า ความออก
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
[๘๔๖] ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็นจริงของ
พระตถาคต เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงระลึกชาติหนหลังได้หลายๆ ชาติ คือ ชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบ
ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปป์บ้าง หลายวิวัฏฏกัปป์บ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏ-
*กัปป์บ้าง ว่าข้าพเจ้าอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้
มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจาก
ชาตินั้นแล้วไปเกิดในภพโน้น ข้าพเจ้าอยู่ในภพนั้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้
ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติหนหลังได้
หลายๆ ชาติ พร้อมทั้งอาการและอุกเทส ด้วยประการฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความระลึกชาติหนหลังได้นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้
ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
[๘๔๗] ญาณรู้ความจุติและเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถา-
*คต เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ มีทิพพจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักขุของสามัญ
มนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและเกิด เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิว
พรรณทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้เจริญเหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต ประกอบวจีทุจริต ประกอบ
มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือเอามิจฉาทิฏฐิกรรม
เบื้องหน้าแต่ความตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบกายสุจริต ประกอบวจีสุจริต ประกอบมโน
สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือเอาสัมมาทิฏฐิกรรม
สัตว์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ความตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
พระตถาคตมีทิพพจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักขุของสามัญมนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์
ผู้กำลังจุติและเกิด เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ไปสุคติ
ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความจุติและเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความจุติและเกิด
แห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต
[๘๔๘] ญาณรู้ความสิ้นอาสวะ ตามความเป็นจริงของพระ
ตถาคต เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ ทรงรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง ทรงทำให้แจ้ง ทรงเข้า
ถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป อยู่
ในทิฏฐิธรรม
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความสิ้นอาสวะ
ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต ฉะนี้แล
ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายนอก ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๒ โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้จัดเป็นวิโมกข์
ที่ ๓ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆ-
*สัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากาสานัญ-
*จายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๔
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็น
วิโมกข์ที่ ๕ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจร-
*บุคคลจึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๖ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๗ เพราะ
ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุสัญญา
เวทยิตนิโรธ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๘
คำว่า สมาธิ ได้แก่สมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจาร-
*มัตตสมาธิ อวิตักกาวิจารสมาธิ
คำว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ปฐมฌานสมาบัติ
ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌานสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน-
*สมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
คำว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ธรรมข้างฝ่ายเสื่อม
คำว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ธรรมข้างฝ่ายวิเศษ
คำว่า ความออก ได้แก่แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า ความออก แม้ความ
ออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่า ความออก
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
[๘๔๖] ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็นจริงของ
พระตถาคต เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงระลึกชาติหนหลังได้หลายๆ ชาติ คือ ชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบ
ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปป์บ้าง หลายวิวัฏฏกัปป์บ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏ-
*กัปป์บ้าง ว่าข้าพเจ้าอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้
มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจาก
ชาตินั้นแล้วไปเกิดในภพโน้น ข้าพเจ้าอยู่ในภพนั้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้
ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติหนหลังได้
หลายๆ ชาติ พร้อมทั้งอาการและอุกเทส ด้วยประการฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความระลึกชาติหนหลังได้นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้
ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
[๘๔๗] ญาณรู้ความจุติและเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถา-
*คต เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ มีทิพพจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักขุของสามัญ
มนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและเกิด เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิว
พรรณทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้เจริญเหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต ประกอบวจีทุจริต ประกอบ
มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือเอามิจฉาทิฏฐิกรรม
เบื้องหน้าแต่ความตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบกายสุจริต ประกอบวจีสุจริต ประกอบมโน
สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือเอาสัมมาทิฏฐิกรรม
สัตว์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ความตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
พระตถาคตมีทิพพจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักขุของสามัญมนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์
ผู้กำลังจุติและเกิด เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ไปสุคติ
ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความจุติและเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความจุติและเกิด
แห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต
[๘๔๘] ญาณรู้ความสิ้นอาสวะ ตามความเป็นจริงของพระ
ตถาคต เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ ทรงรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง ทรงทำให้แจ้ง ทรงเข้า
ถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป อยู่
ในทิฏฐิธรรม
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความสิ้นอาสวะ
ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต ฉะนี้แล
ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูซิว่าเหลิมสัทธรรมปฏิรูปจะดิ้นไปไหน

ที่กล้าบิดเบื้อนว่า

รูปฌาน อรูปฌาน คือการนั่งหลับตาเฉยๆ

นี่แค่ยกมาบางส่วนเท่านั้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:

โง่เอ๋ยอ่านก็ยังไม่แตก เหยียบหัวเอ็งคงไปได้มั๊งเหลิม :b32: :b32: :b32:


เอ็งคือบุคคลที่ควรข่มว่ะ เหลิม :b1:


นี้ถ้าหากไปอยู่ในถิ่นของเฮียเหลิม..ลานธรรมสนทนา

คุณหลับอยู่..คงได้หลับไม่ได้ตื่น..แหง่ ๆ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 00:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ศึกษา เกี่ยวกับเรื่อง พระนิพพาน จาก พระไตรปิฏก , อรรถกถา , อภิธัมมัตถสังคหะ เทียบเคียงกับคำสอนของ อัตตโนมติ หลวงพ่อต่าง ๆ ดูครับ

พระนิพพาน เถรวาท
http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=76&


ที..หลวงพ่อฤาษี..หลวงพ่อสด..ว่าเป็น..อัตตโนมติของหลวงพ่อต่าง ๆ

แล้ว..อรรถกถา , อภิธัมมัตถสังคหะ ..ไม่ได้เกิดจากหลวงพ่อ..หลวงปู่..หรืองัย?

หรือคิดว่าถูก..เพราะเก่าแก่กว่า..??
หรือเพราะว่า..เข้ากันได้กับความคิดของตนเอง..?? กันแน่..ฮือ

ดูหัวใจตัวเองให้ดี ๆ ก่อนเถอะนะ..เฉลิมศักดิ์.. :b11: :b11:

แต่ว่าก็ว่าเถอะ...ไม่ได้ดูผิด..นะ

ตอนนี้คุณเฉลิม..ยังดูใจตัวเองไม่ได้หรอก..ยังโตไม่พอ..

พัฒนาต่อไปนะครับ..สาธุ

อ้างคำพูด:
แล้วยังไงครับ คุณหลับอยู่ คุณจะสรุปตามอัตตโนมติของอาจารย์คุณว่า นิพพานเป็นอัตตา เป็นดินแดนที่นั่งสมาธิไปถึงได้ใช่ไหมครับ ?


ก็ไม่เห็นท่านว่า..เป็นตัวเป็นตน..เป็นดินเป็นแดน..หรือเป็นอะไร..นี้ครับ

แต่..ถึงได้..กับถึงไม่ได้..นี้..คุณเหลิมไม่ลองดูบ้างหรือคับ??

แม้คนทำได้จะมีน้อย..แต่ก็พอมีให้เห็น
ส่วนคนทำไม่ได้มีมาก...แต่คนทำไม่ได้ก็ยังเห็นศรัทธาท่านอยู่เลย

ส่วนที่เห็นจะใช่เห็นจริง..หรือเห็นเท็จ..ก็เป็นเรื่องของคนเห็น..ชั่งมันเถอะ :b32:

แต่..มันต้องมีอะไร ๆ ..บ้างแหละคุณเฉลิมศักดิ์.. :b10:
หัดมอง..สิ่งที่ซ่อนเร้นจากสิ่งที่เห็น..(ด้วยตา)..บ้างก็ดีนะครับ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
นี้ถ้าหากไปอยู่ในถิ่นของเฮียเหลิม..ลานธรรมสนทนา

คุณหลับอยู่..คงได้หลับไม่ได้ตื่น..แหง่ ๆ
หลับอยุ่ เขียน:



ผมโดนมาแล้ว

ที่นั่นใครแตะอริยะบุคคลอย่างเหลิมไม่ได้

ผมโดนbanจนทุกวันนี้

ที่นั่นมันอโคจร

เป็นแหล่งสัทธรรมปฏิรูปตัวพ่อ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:
ศึกษา เกี่ยวกับเรื่อง พระนิพพาน จาก พระไตรปิฏก , อรรถกถา , อภิธัมมัตถสังคหะ เทียบเคียงกับคำสอนของ อัตตโนมติ หลวงพ่อต่าง ๆ ดูครับ

พระนิพพาน เถรวาท
http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=76&



อ้างคำพูด:
คุณกบ ฯ เขียน

ที..หลวงพ่อฤาษี..หลวงพ่อสด..ว่าเป็น..อัตตโนมติของหลวงพ่อต่าง ๆ

แล้ว..อรรถกถา , อภิธัมมัตถสังคหะ ..ไม่ได้เกิดจากหลวงพ่อ..หลวงปู่..หรืองัย?

หรือคิดว่าถูก..เพราะเก่าแก่กว่า..??
หรือเพราะว่า..เข้ากันได้กับความคิดของตนเอง..?? กันแน่..ฮือ


กรณีธรรมกาย
http://members.tripod.com/~b2b2/tmk/

ถ้าหลักคำสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยู่ไปได้ถึงลูกหลาน
http://members.tripod.com/~b2b2/tmk/tmk14.txt


เมื่อสงสัยคำหรือความใดแม้แต่ในพระไตรปิฎก ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อทันทีอย่างผูกขาด แต่สามารถตรวจสอบก่อน ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักทั่วไปไว้แล้ว ซึ่งสำหรับพวกเราบัดนี้ก็คือการใช้คำสั่งสอนในพระไตรปิฎก ตรวจสอบแม้แต่คำสั่งสอนในพระไตรปิฎกด้วยกันเอง กล่าวคือ หลักมหาปเทส 4 ได้แก่ ที่อ้างอิงใหญ่ หรือหลักใหญ่สำหรับใช้อ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียง เริ่มแต่หมวดแรก ที่เป็นชุดใหญ่ ซึ่งแยกเป็น

1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆ์ทั้งหมู่ขึ้นอ้าง)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)1
(ที.ม. 10/113/104; องฺ.จตุกฺก. 21/180/227)

นอกจากนั้น ถ้าเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จำกัดลงมาในส่วนพระวินัย ก็สามารถใช้หลักมหาปเทส 4 ชุดที่ 2 ตรวจสอบ ซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้ เพราะนักวินัยทราบกันดี (ดู วินย. 5/92/131)

เมื่อพิจารณากว้างออกไป โดยครอบคลุมถึงคำสอนรุ่นหลังๆ หรือลำดับรองลงมา ท่านก็มีหลักเกณฑ์ที่จะให้ความสำคัญในการวินิจฉัยลดหลั่นกันลงมา โดยวางเกณฑ์วินิจฉัยคำสอนความเชื่อและการปฏิบัติ เป็น 4 ขั้น คือ (ดู ที.อ.2/172/; วินย.อ.1/271; วินย.ฎีกา 3/352)

1. สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก
2. สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
3. อาจริยวาท ได้แก่ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกาด้วย)
4. อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น

"สุตตะ" คือพุทธพจน์ที่มาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านถือเป็นมาตรฐานใหญ่ หรือเกณฑ์สูงสุด ดังคำที่ว่า

" แท้จริง สุตตะ เป็นของคืนกลับไม่ได้ มีค่าเท่ากับการกสงฆ์ (ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1) เป็นเหมือนครั้งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังสถิตอยู่" (วินย.อ. 1/272)

" เพราะว่า เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า" (วินย.ฎีกา.2/71)

พาหิรกสูตร (สูตรภายนอก คือสูตรที่ไม่ได้ขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้งใหญ่) ตลอดถึงพระสูตรของนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายใหญ่ที่จัดเป็นหินยานที่สืบต่อจากภิกษุวัชชีบุตร และต่อมาพัฒนาเป็นมหายาน) ท่านก็จัดเข้าเกณฑ์ไว้แล้วว่า

"...ไม่พึงยึดถือ ควรตั้งอยู่ในอัตตโนมตินั่นแหละ หมาย ความว่า อัตตโนมติ ในนิกายของตน (เถรวาท) ยังสำคัญกว่าสูตรที่นำมาจากนิกายอื่น " (วินย.ฎีกา 2/72)
---------------------------------------------------


ขอบคุณครับ คุณกบ สำหรับข้อสังเกต และการคุยที่เป็นมิตร ( แต่อนาคตอาจจะถูกด่าจากคุณกบก็ได้ :b12: )

อ้างคำพูด:
ที..หลวงพ่อฤาษี..หลวงพ่อสด..ว่าเป็น..อัตตโนมติของหลวงพ่อต่าง ๆ

แล้ว..อรรถกถา , อภิธัมมัตถสังคหะ ..ไม่ได้เกิดจากหลวงพ่อ..หลวงปู่..หรืองัย?

หรือคิดว่าถูก..เพราะเก่าแก่กว่า..??
หรือเพราะว่า..เข้ากันได้กับความคิดของตนเอง..?? กันแน่..ฮือ


คุณกบครับ พระพุทธศาสนาเถรวาท อยู่มาได้เกิน ๒,๕๐๐ ปี ก็เพราะ พระโบราณาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ทั้งหลายได้สืบทอด คำสอนพระพุทธเจ้า และ อรรถกถา ไว้ แล้วได้ยกขึ้นเป็น เกณฑ์วินิจฉัย

หากมีการนำ อัตตโนมติของหลวงปู่หลวงพ่อต่าง ๆ ไปตัดสิน พระไตรปิฏก อรรถกถา ว่ามีความถูกต้องกว่า

ในไม่ช้า พระพุทธศาสนาเถรวาท ก็ค่อย ๆ เสื่อมสลายไป เหลือเพียงแต่นิกายของอาจารย์ต่าง ๆ

และในไม่ช้า พระพุทธศาสนาก็จะถูกสัทธรรมปฏิรูปสูญหายไปในที่สุด ( สัพเพธัมมา อนัตตา )


---------------------------------------------------

กรณีการปฏิบัติวิปัสสนา เช่นกัน หากมีหลวงพ่อมาสอนว่า

1. ต้องนั่งสมาธิ ให้เกิดฌานก่อน แล้วจะเกิดวิปัสสนาเอง ไม่ต้องไปศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ต่าง ๆ ของเถรวาท ให้เสียเวลา เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ

2. อาตมาเคยนั่งสมาธิ ติดต่อกับพระพุทธเจ้าได้ ในแดนพระนิพพาน ได้ฟังธรรมโดยตรง สิ่งที่นำมาสอนนี้ ถูกต้องกว่าพระไตรปิฏก

3. อาตมาสามารถนั่งติดต่อกับพระพุทธเจ้าองค์แรกได้ (องค์ปฐม) คำสอนของพระองค์ถูกต้องที่สุด

ฯลฯ

สิ่งที่อ้างว่าได้พบได้เห็นจากนิมิตในสมาธิเหล่านี้ ผมจะใช้หลักกาลามสูตร พิจารณาดูให้ดี หากสิ่งใดขัดแย้งกับพระธรรมวินัย ผมก็ไม่ได้เชื่อตามนั้น ครับ

คุณหลับอยู่ครับ ผมโง่มั่ก ๆ ๆ ที่ไม่ตามอัตตโนมติเหล่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร