วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 09:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


,มีแบบนี้ด้วยครับ คุณศิรัสพล หากใครรู้จัก ริวที่มีจิตสัมผัส อะไรนั่น หรือไอ้ที่ทำผมแมนจูเอผ้าผูกตาแล้วเดินข้ามถนนไม่ให้รถชนได้ ๆลๆ

บุคคลลักษณะเช่นนั้น ประมาณนั้น มีในพระไตรปิฏกด้วยผมเคยอ่านเจอ
พวกนี้มันไม่ใช่วิปัสสนาอะไรหรอกนะครับ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 15:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="ศิรัสพล"]จริงๆ เรื่องนี้ไม่น่าจะมาถกเถียงกัน

ยังไงมันต้องมีอยู่แล้วล่ะครับ ไอ้เหลิมมันจะเอาวิปัสสนึกล้วนๆ

แล้วที่ผมคุยกับคุถmesค้างไว้นั่น เมื่อถึงพระสติปัฏฐานสูตรซึ่งเป็นโลกุตระฌาณนั้น ก็ต้องมี ธรรมเอก
ซึ่งธรรมเอกนี้ มีอยู่หลายผุดตั้งปฐมฌาณขึ้นไป


ไอ้เหลิมมันก็ จะเอาคำว่าธรรมกายไปเป็นวัดธรรมกายให้ได้ ฌาณสมถะมันไม่เอาเลย
แล้วดันมาบอกว่ามันฝึกหายใจแยกนามรูป มันแยก คำนามง่ายๆยังไม่ออกเล้ยยย ๆลๆ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="chalermsak"]
คุณตรงประเด็นครับ ในทางกลับกันล่ะครับ

ผู้ที่ ศึกษาพระธรรม, สิกขา (ศีล,สมาธิ, วิปัสสนาปัญญา) ไม่ดีพอ

มุ่งเน้นการทำสมาธิ โดยเข้าใจผิดว่า ตนเองกำลังทำวิปัสสนา

ได้รูปฌาน แล้วเข้าใจผิดว่าว่า ได้ วิปัสสนาญาณ

แบบนี้ ก็เป็นการสัทธรรมปฏิรูปได้

เหมือนที่ คุณตรงประเด็นพยายามชี้ว่า การจะเจริญวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยสมาธิระดับฌาน เท่านั้น

นั้นคือการสัทธรรมปฏิรูปอย่างหนึ่ง

คุณตรงประเด็น เคยชี้แนะประเด็นเหล่านี้ไหมครับ มีแต่จะให้นั่งหลับตาทำสมาธิอย่างเดียว

--------------------------------------------


แนวความคิดของคนที่ขัดแย้งปฏิเสธ มรรค8 มรรค4 หลักไตรสิกขา แต่คาดเดาเอาตามตัณหา เจตนาโจมตีพระปฏิบัติ อวดตัวว่าเป็นนักอภิธรรม ซึ่งการคาดเดาเป็นด้วยความไร้เดียงสา...


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 23:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


อ้างคำพูด:

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษ

มี

สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;


สัทธรรม ๗ คือ
๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา


ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร;
ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาสแปลว่า “เทียม” “ปลอม” “ไม่แท้”
เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า “สัทธรรมเทียม” หรือ “ธรรมปลอม”

สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม





ลองออกความเห็นมา หากไม่ใช่พระอริยะจริงๆก็ปฏิรูปกันหมดทุกคนใช่หรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติใน
ก่อนได้]
๒. จุตูปปาตญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักกำหนดจุติ
และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย]
๓. อาสวักขยญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป] ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๔๙๑๑ - ๗๐๑๕. หน้าที่ ๒๐๒ - ๒๘๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b8: :b8: :b8:



ศิรัสพล เขียน:
จริงๆ เรื่องนี้ไม่น่าจะมาถกเถียงกัน

หากถามว่าวิปัสสนาญาณสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องได้ฌานก่อนหรือไม่ อันนี้ต้องถามก่อนว่า วิปัสสนาญาณที่เท่าไร?
ญาณลวงหรือเปล่าครับ

หากบอกว่าวิปัสสนาญาณอะไรก็ได้ จะตอบได้ว่าหากวิปัสสนาญาณอ่อนๆ เช่น นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีฌานเป็นพื้นฐานก็ได้ ตามแนวของผู้ปฏิบัติแบบ "สมถะอันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น"

จะเชื่อถือได้หรือครับ
แต่ถ้าหากเป็นวิปัสสนาญาณระดับที่ทำให้เกิดการข้ามโคตรจากปุถุชนเป็นอริยบุคคลจะไม่มีฌานไม่ได้ เพราะว่าตามหลักพระสูตร หรืออภิธรรมแล้ว จะมีการกล่าวเอาไว้ว่าจะต้องเกิด "มัคคสมังคี" คือ มรรค ๘ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ "สัมมาสมาธิ"

"สัมมาสมาธิ" ที่จัดว่าเป็นองค์มรรค พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้สรุปได้ว่าจะเริ่มตั้งแต่ ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุถฌาน
แน่นอนครับ
ซึ่งก็ตรงกับหลักอภิธรรมที่ว่า โลกุตรจิต ๘/๔๐ ที่แยกออกได้เป็น มรรคจิต ๔/๒๐, ผลจิต ๔/๒๐ เมื่อแยกตามเภทนัยทั้ง ๙ แล้ว จัดว่าเป็น "ฌานจิต" ดังนั้นจิตที่จะทำให้เกิด มรรค-ผล ได้ย่อมจะต้องเป็นจิตที่ไม่มีฌานไม่ได้

โดยการจะเกิดสัมมาสมาธิที่เป็นองค์มรรค หรือเกิดมรรคจิตที่เป็นโลกุตรจิตขึ้นนี้ สามารถทำได้ ๔ แนวทาง


คุณศิรัสพลเคยระลึกชาติได้ คุณทำฌาณไหนมีญาณไหนครับ (หลายๆคนในนี้เช่นคุณชาติสยามผมมั่นใจว่าคงจำกันได้เพราะผมก็เคยไปโพสในกระทู้คุณศิรัสพลเช่นกัน
คุณศิรัสพลเคยระลึกชาติได้ คุณทำฌาณไหนมีญาณไหนครับ (เป็นแบบนี้ไหมครับ... บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติใน
ก่อนได้]
คุณศิรัสพลดำเนินจิตอย่างไรครับ หากมีระบุไว้ในพระไตรปิฏก เยี่ยมครับ ลองยกมาเป็นวิทยาทานหน่อ่ยครับ
สาธุครับ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 16 มิ.ย. 2010, 11:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คูณศิรัสพลเขียน



ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

ปรารถถึงเพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง ได้ถามคำถามรวมถึงบอกให้เล่าถึงประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่พอจะผ่านมา ในตอนแรกพิจารณาเห็นว่าไม่ควรเล่า ต่อมาหลังจากสนทนากันก็เห็นว่ามีเพื่อนกัลยาณมิตรท่านอื่น ก็นำประสบการณ์การปฏิบัติมาเล่าเป็นธรรมทานกัน จึงเห็นว่าน่าจะนำมาเล่าบ้าง คงจะพอเป็นธรรมทานได้....

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับ ที่เขียนให้อ่านต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเคยเป็นมา ไม่มีเจตนาจะโอ้อวด ยกตนข่มท่าน เพราะเนื่องจากไม่มีอะไรพิเศษจะอวดอยู่แล้ว แต่เพียงเพื่อเป็นธรรมทานแก่ผู้ปฏิบัติ หรือให้เป็นกำลังใจแก่ผู้ที่กำลังฝึก และเพื่อเป็นความรู้นำไปเปรียบเทียบกับในพระไตรปิฏก เทียบเคียงกับประสบการณ์ของผู้รู้ท่านอื่น ว่าการเข้าฌานเป็นอย่างไร มีจริงหรือไม่ คิดเสียว่าเป็นการเล่าสู่ให้ฟังแบบเป็นเรื่องเป็นราวก็แล้วกันนะครับ...

เมื่อก่อนผมฝึกปฏิบัติอยู่ที่บ้านเกิด จังหวัดราชบุรี บ้านของผมอยู่ใกล้กับวัด และอยู่ใกล้แม่น้ำ ซึ่งเป็นสถานที่เงียบสงบ สมควรแก่การปฏิบัติธรรม ตอนนั้นผมยังมิได้ไปสมัครในสำนักใด ไม่ได้รู้จักพระไตรปิฏกแต่อย่างไร เพียงแค่รู้จักการฝึกสมาธิ คือ การภาวนาด้วย "พุท-โธ" จากหนังสือใบ้หวยมุมธรรมะ ของแม่กระผม...

ผมเริ่มฝึกด้วยคำภาวนานี้ในทุกวันเช้าและเย็นช่วงละครึ่งชั่วโมง ซึ่งด้วยความรู้ที่มีเพียงน้อยนิด พร้อมด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ คิดแต่เพียงว่าให้จิตใจของผมสงบ ใช้เรียนหนังสือได้ดีเท่านั้น ไม่ได้รู้ว่าอะไร คือ รูปฌาน อรูปฌาน มรรคผลนิพพาน หรืออยากบรรลุอรหันต์เลย รู้เพียงแค่ว่าเมื่อลมหายใจเข้าบริกรรมว่า "พุท" เมื่อลมหายใจออกบริกรรมว่า "โธ" ...

ผมฝึกอยู่ได้อย่างนี้ประมาณ 2 เดือนเห็นจะได้ สมาธิของผมเริ่มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่รู้ว่าดีขึ้นด้วยอาการว่าเบาสบาย ลมหายใจของผมปรากฏชัด และยาวขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งผมหายใจยาวยึ่งรู้สึกว่าสบาย ผมคงสภาพอย่างนี้ไป ระยะหนึ่งเกิดมีแสงสว่างขึ้นทั่วภายในตาของผมคล้ายสีขาว ดั่งว่ามีผ้าขาวมาอยู่ตรงหน้าผม เพียงชั่วเดียวแสงสว่างนั้นได้จางลง ในขณะที่เกิดแสงสว่างขึ้นนั้น ผมไม่ได้สนใจเป็นพิเศษแต่ประการใด ผมยังคงกำหนดอยู่ที่คำภาวนาของผมอย่างเดิมต่อไป....

ผมกำหนดภาวนาต่อไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าขนของผมลุกไปทั่วร่าง ห้ามอย่างไรก็ห้ามไม่อยู่ แต่การขนลุกทำให้ผมรู้สึกดีมากขึ้น ผมจึงปล่อยให้อาการขนลุกเป็นไป จากนั้นอาการขนลุกของผมก็หายไปเอง...

อาการต่อไปที่ปรากฏขึ้นแก่ผม มีอยู่ว่า ตัวของผมเบาหวิวบ้าง หนังอื้งบ้าง ตัวบวมบ้าง ตัวเล็กบ้าง ภายในการหลับตามีแสงสว่างปรากฏขึ้น เป็นดวงสีขาวนวลๆ ตอนนั้นผมรู้สึกสุขใจมาก จิตใจของผมมันแช่มชื่นอย่างที่สุด มีความรู้สึกอยากนั่งไปตลอดไม่อยากเลิกฝึกเสีย...(ซึ่งบางวันนั่งตอนหัวค่ำ กำหนดลมหายใจไปอยู่อย่างนั้น มารู้สึกตัวอีกทีตอนเลิกฝึกว่าเช้าแล้วหรือนี่ เหมือนเรานั่งเพียงแป๊บเดียวเอง ต้องฝืนใจตัวเองให้เลิกก่อน จริงๆไม่อยากจะเลิกเลย)

จากนั้นสักพักหนึ่ง คำภาวนา "พุท-โธ" ของผมได้หายไป ผมเองก็รู้ว่าคำภาวนานั้นได้หายไป ผมพยายามนำกลับมาแต่ว่าสักพักก็ได้หายไปเสียอีก ผมจึงปล่อยให้มันเป็นไป คำภาวนาของผมหายไปก็ช่าง ต่อจากนั้น

ผมจึงรู้ด้วยใจในสมาธิของผมว่าที่จริงแม้คำภาวนานั้นจะหายไป แต่ก็เหมือนกับว่าคำภาวนาของผมนั้นยังคงอยู่ เพราะรู้สึกได้ว่ายังอยู่ แต่ผมเพียงไม่ได้ยินเสียงที่พูดขึ้นในใจเท่านั้น....

ผมกำหนดรู้อยู่อย่างนั้นๆ เรื่อยเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้ ลมหายใจของผมรู้สึกแผ่วเบาลง มันเบามากจนผมคิดว่าสมาธิของผมไม่ดีเสียแล้ว ผมจึงพยายามกำหนดรู้ลมหายใจมากยิ่ง แต่ยิ่งกำหนดรู้ลมหายใจมากยิ่งขึ้น กลับกลายเป็นว่าลมหายใจของผมได้หายไป....

จากนั้นเพียงชั่วครู่เท่านั้น ได้เกิดสิ่งที่ผมไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิต ได้แก่ ขณะที่ผมรู้ว่าลมหายใจของผมหายไป ผมยังรู้ด้วยตนเองว่า ขณะนั้นหูของผมไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย ผมพยายามไปฟังเสียงภายนอกอย่างไรก็ไม่ได้ยิน...

จากนั้นนิดเดียวขณะกำลังพยายามฟังเสียงต่างๆ อยู่นั้น เพียงชั่วครู่เท่านั้น ผมก็ได้ยินเสียงรถยนต์ที่อยู่ปากซอยห่างจากบ้านไปไกลพอสมควรประมาณ 400 เมตร มันดังชัดมากเหมือนอยู่ไกล้ๆ หู ผมจึงพยายามฟังเสียงอย่างอื่นอีก แล้วก็ได้ยินเสียงในห้องที่ผมได้ล็อคประตูไว้อย่างดี หน้าต่างที่มีลูกกรงกั้นไว้ บ้านซึ่งวันนั้นมีผมอยู่เพียงคนเดียว

ผมได้ยินเสียงฝีเท้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คล้ายกับเสียงการเดินของคน กำลังเดินผ่านประตูเข้ามาในห้อง แล้วเสียงเท้านั้นก็มาหยุดตรงหน้าผม จากนั้นผมรู้สึกว่ามีลมวูบหนึ่ง ผ่านที่จมูกของผมไปอย่างชัดเจน...

แล้วสักพักหนึ่ง สิ่งที่ผมรู้สึกพบเจอนั้น ได้ค่อยๆ เดินจากไปทางประตูหลังห้องที่ถูกล็อคไว้ จากนั้น ผมจึงออกจากสมาธิ แล้วสวดมนต์ แผ่เมตตา และก็นอน..

จากประสบการณ์ครั้งนั้นผมได้ไปเล่าให้กับเพื่อนของผมฟังแต่ก็ไม่มีใครเชื่อ เพื่อนของผมคิดว่าผมโกหก ผมก็สงสัยว่าเป็นอะไรกันแน่จนต่อมาได้รู้จักพระไตรปิฏก และได้ศึกษา ปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้ไปเรียนหลักสูตรครูสมาธิที่วัดธรรมมงคล ของหลวงพ่อวิริยังค์ ได้มีการเรียนเรื่องฌานต่างๆ

จึงเข้าใจว่าสิ่งที่ผมพบเจอนั้นเหมือนกันทุกอย่างกับในพระไตรปิฏกและจากประสบการณ์ของผู้ได้ฌาน ซึ่งก็คืออาการหนึ่งของผู้ที่ได้จตุถฌาน และเป็นอาการของผู้ที่ได้ทิพพโสต (หูทิพย์) เสียงฝีเท้าที่ผมได้ยิน สิ่งที่เข้ามาใกล้กับหน้าผม คือ เสียงทิพย์จากฝีเท้า และใบหน้าของกุมาร ในบ้านของผมที่พ่อผมได้เลี้ยงเอาไว้บนหิ้งพระ นอกห้องนั่นเอง...

ขอเล่าเพียงเท่านี้ครับ ตามประสบการณ์ที่มีมา หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ

ปล. เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล และเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณครับ

ขอให้เกิดปัญญาเห็นธรรม




...ระยะหนึ่งเกิดมีแสงสว่างขึ้นทั่วภายในตาของผมคล้ายสีขาว ดั่งว่ามีผ้าขาวมาอยู่ตรงหน้าผม เพียงชั่วเดียวแสงสว่างนั้นได้จางลง ในขณะที่เกิดแสงสว่างขึ้นนั้น ผมไม่ได้สนใจเป็นพิเศษแต่ประการใด ผมยังคงกำหนดอยู่ที่คำภาวนาของผมอย่างเดิมต่อไป....



จึงเข้าใจว่าสิ่งที่ผมพบเจอนั้นเหมือนกันทุกอย่างกับในพระไตรปิฏก.....


....ซึ่งก็คืออาการหนึ่งของผู้ที่ได้จตุถฌาน และเป็นอาการของผู้ที่ได้ทิพพโสต (หูทิพย์)



เหมือนตรงไหนครับ บอกหลับอยุ่ด้วยเถิด :b8: อีกประการแสดงว่า คุณศิรัสพลต้องผ่านฌาณ 1 2 3 มาแล้ว เพราะมีอาการเหมือนฌาณ4


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 16 มิ.ย. 2010, 11:31, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:

...ระยะหนึ่งเกิดมีแสงสว่างขึ้นทั่วภายในตาของผมคล้ายสีขาว ดั่งว่ามีผ้าขาวมาอยู่ตรงหน้าผม เพียงชั่วเดียวแสงสว่างนั้นได้จางลง ในขณะที่เกิดแสงสว่างขึ้นนั้น ผมไม่ได้สนใจเป็นพิเศษแต่ประการใด ผมยังคงกำหนดอยู่ที่คำภาวนาของผมอย่างเดิมต่อไป....

จึงเข้าใจว่าสิ่งที่ผมพบเจอนั้นเหมือนกันทุกอย่างกับในพระไตรปิฏก.....

....ซึ่งก็คืออาการหนึ่งของผู้ที่ได้จตุถฌาน และเป็นอาการของผู้ที่ได้ทิพพโสต (หูทิพย์)


เหมือนตรงไหนครับ บอกหลับอยุ่ด้วยเถิด :b8: อีกประการแสดงว่า คุณศิรัสพลต้องผ่านฌาณ 1 2 3 มาแล้ว เพราะมีอาการเหมือนฌาณ4


สวัสดีครับคุณหลับอยู่

สิ่งที่คุณได้นำประสบการณ์ที่ผมเคยเล่าไว้มาลง แล้วเกิดคำถามขึ้น ผมขอตอบดังต่อไปนี้ครับ

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าเป็นประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติผ่านมา (แล้วก็ผ่านไป) ไม่ได้เอามาเพื่อโอ้อวดใดๆ หากย้อนกลับไปในสถานการณ์ตอนนั้นคงจะเข้าใจถึงเหตุผลในการนำมาลง...

หากเราเป็นนักปฏิบัติ หรือเคยได้ปฏิบัติสมาธิจนมีความก้าวหน้า หรือมีความสงบแห่งจิตใจก็สามารถนำมาเทียบเคียงสภาวกับที่เล่าไปได้ว่าตรงกันหรือไม่อย่างไรครับ...

แต่หากเราเป็นนักปฏิบัติ หรือไม่ได้เป็นก็แล้วแต่ แต่ว่ายังไม่ได้ผ่านสภาวความสงบอะไรมากนัก อาจจะยังมองไม่เห็นหรือว่ายังคงไม่กระจ่างถึงว่าตรงกันกับคัมภีร์ หรือในพระไตรปิกฏอย่างไร ตรงนี้จะขออธิบายให้ทราบตามที่ยกย่อหน้ามาถามดังนี้ครับ

ข้อความ : "...ระยะหนึ่งเกิดมีแสงสว่างขึ้นทั่วภายในตาของผมคล้ายสีขาว ดั่งว่ามีผ้าขาวมาอยู่ตรงหน้าผม เพียงชั่วเดียวแสงสว่างนั้นได้จางลง ในขณะที่เกิดแสงสว่างขึ้นนั้น ผมไม่ได้สนใจเป็นพิเศษแต่ประการใด ผมยังคงกำหนดอยู่ที่คำภาวนาของผมอย่างเดิมต่อไป...."

อธิบาย : ท่อนนี้จะเทียบได้กับการเกิดปีติในระดับก่อนที่จะได้ฌานครับ ปีติมี ๕ อย่างดังนี้

ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ
๑. ขุททกปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลกๆ ดุจฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา
๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ

ข้อความ : "....ซึ่งก็คืออาการหนึ่งของผู้ที่ได้จตุถฌาน และเป็นอาการของผู้ที่ได้ทิพพโสต (หูทิพย์)"

อธิบาย : ตรงนี้ประเด็นคำถามที่ต้องการทราบจริงๆ น่าจะเป็นเรื่องฌาน ๑ ถึง ๔ กับเรื่องทิพพโสต ดังนั้นขอยกพระสูตรต่อไปนี้มาอธิบายน่าจะครอบคลุม แล้วคุณสามารถนำเอาไปเทียบเคียงได้

>>>>>>>>>>>>>>>>>>
เรื่องปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน
>>>>>>>>>>>>>>>>>>

รโหคตวรรคที่ ๒
รโหคตสูตร

. . . . . . . . . .
[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขาร
ทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน
วิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะย่อมดับ

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=5793&w=รโหคตสูตร


>>>>>>>>>>>>>>>>>>
เรื่องทิพยโสต
>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ทิพยโสตญาณ
[๑๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุ อัน
บริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง
เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง
เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่
เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=1347&w=สันทิฏฐิกสามัญญผลปุจฉา


ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจครับไม่ได้บอกว่าคุณศิรัสพลโอ้อวดครับอย่าเข้าใจผิด ครับ smiley

เป็นธรรมเอก ... ไม่มีหรือ ครับ??? จุดนี้สิครับ ลี้ลับ หากนับตามอักษรในพระไตรปิฏกจะมีมั่งไม่มีมั่งที่มีก็เยอะ ที่ไม่ระบุไว้ก็มี แบบที่คุณยกมานี่ ไม่มี ระบุไว้ว่าเป็นธรรมเอกผุดขึ้น...หริอเปล่า แต่เป็นการทำฌาณ ตั้งแต่ปฐมฌาณ ถึง 2,3,,4
แล้วในสภาวะตรงนั้นจริงๆ แล้วต้องมีหรือไม่ครับ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 17 มิ.ย. 2010, 09:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
เข้าใจครับไม่ได้บอกว่าคุณศิรัสพลโอ้อวดครับอย่าเข้าใจผิด ครับ smiley

เป็นธรรมเอก ... ไม่มีหรือ ครับ??? จุดนี้สิครับ ลี้ลับ หากนับตามอักษรในพระไตรปิฏกจะมีมั่งไม่มีมั่งที่มีก็เยอะ ที่ไม่ระบุไว้ก็มี แบบที่คุณยกมานี่ ไม่มี ระบุไว้ว่าเป็นธรรมเอกผุดขึ้น...หริอเปล่า แต่เป็นการทำฌาณ ตั้งแต่ปฐมฌาณ ถึง 2,3,,4
แล้วในสภาวะตรงนั้นจริงๆ แล้วต้องมีหรือไม่ครับ



ขอบคุณที่ถามคำถามนี้ เป็นคำถามที่ดีครับ

คำว่า "ธรรมเอก" เช่น "ธรรมเอกผุดขึ้น" เป็นต้น อันปรากฏในที่ต่างๆ ของพระไตรปิฏก เราจะเห็นว่ามีมากในสมาธิระดับขั้นทุติยฌาน แต่ในบางพระสูตรก็มีการใช้คำๆ นี้ ตั้งแต่ปฐมฌานไปจนกระทั่ง "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" ก็มีเช่นเดียวกัน เช่น โมคคัลลานสังยุตต์ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากต้องการจะทราบว่าประสบการณ์ปฏิบัติสมาธิจริงๆ ที่เล่าไป ไม่ใช่แต่ที่คุณนำมาลง แต่จากแห่งต่างๆ ตรงไหนเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เราจะต้องทำความเข้าใจกับข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ให้ดีเสียก่อน

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌานหมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]
ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เขาก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่มีสหาย ดังนี้บ้าง
ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น. สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).

ที่มา : เล่มที่ ๑ อรรถกถา พระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ปฐมภาค (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


สรุปข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ที่ปรากฏมากในทุติยฌานนั้นหมายถึง "สมาธิอันปราศจากวิตกและวิจารนั่นเองได้ปรากฏขึ้น"

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในฌานอื่นๆ หมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" นี้ นอกจากทุติยฌานแล้ว ยังมีปรากฏในฌานอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งนี้เพราะมีการใช้คำว่าธรรมเอกผุดขึ้นในความหมายอื่นๆ ยกมาให้อ่านบางส่วน ดังนี้

ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่า สงบ
เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่า ประณีต เพราะหมายความว่า
เอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ
ชื่อว่า ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียว
เป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่า ไม่ต้องข่ม คือ กันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วย
สัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้. ภิกษุนี้ ชื่อว่า ทำจิตให้หมุนกลับ
แล้วบรรลุพระอรหัตผล ด้วยเหตุที่ประมาณเท่านี้.

ที่มา : เล่ม ๓๔ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุภ-ติกนิบาต (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)

. . . . . . . . . . . . . . .

บทว่า เอโกทิภาวิเต ได้แก่ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น อธิบาย
ว่า ถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว.

ที่มา ๕๓ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


ที่นี้คงจะทราบแล้วถึงความหมายของคำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ว่าโดยสรุป คือ ทำให้สมาธิในระดับฌานที่ต้องการปรากฏขึ้นมาได้นั่นเอง หากนำมาเทียบกับประสบการณ์ข้างต้น ตอนที่...

- สามารถทำให้วิตก วิจารสงบระงับไป ได้แก่ คำบริกรรม "พุทโธ" ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของทุติยฌาน ปรากฏขึ้น

- ส่วนบางวันบางวันนั่งตอนหัวค่ำ กำหนดลมหายใจไปอยู่อย่างนั้น มารู้สึกตัวอีกทีตอนเลิกฝึกว่าเช้า เหมือนเรานั่งเพียงแป๊บเดียว ต้องฝืนใจตัวเองให้เลิกก่อน จริงๆไม่อยากจะเลิกเลย (ตรงนี้จะมีสุขอย่างมากอยู่ตลอดเวลา "สุข" ยังละไม่ได้) และรวมทั้งตอนหลังจากคำบริกรรม "พุทโธ" หายไปแล้วได้กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นๆ เรื่อยเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้ ลมหายใจของรู้สึกแผ่วเบาลง มันเบามาก ตรงนี้ เทียบได้กับ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของตติยฌาน ปรากฏขึ้น

- และตอนที่กระทำให้ กายสังขารสงบระงับไป ได้แก่ ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ(ลมหายใจเข้า-ออก) ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของจตุถฌาน ปรากฏขึ้น

ขออธิบายแต่เพียงเท่านี้ครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
จริงๆ เรื่องนี้ไม่น่าจะมาถกเถียงกัน

หากถามว่าวิปัสสนาญาณสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องได้ฌานก่อนหรือไม่ อันนี้ต้องถามก่อนว่า วิปัสสนาญาณที่เท่าไร?

หากบอกว่าวิปัสสนาญาณอะไรก็ได้ จะตอบได้ว่าหากวิปัสสนาญาณอ่อนๆ เช่น นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีฌานเป็นพื้นฐานก็ได้ ตามแนวของผู้ปฏิบัติแบบ "สมถะอันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น"

แต่ถ้าหากเป็นวิปัสสนาญาณระดับที่ทำให้เกิดการข้ามโคตรจากปุถุชนเป็นอริยบุคคลจะไม่มีฌานไม่ได้ เพราะว่าตามหลักพระสูตร หรืออภิธรรมแล้ว จะมีการกล่าวเอาไว้ว่าจะต้องเกิด "มัคคสมังคี" คือ มรรค ๘ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ "สัมมาสมาธิ"

"สัมมาสมาธิ" ที่จัดว่าเป็นองค์มรรค พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้สรุปได้ว่าจะเริ่มตั้งแต่ ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุถฌาน

ซึ่งก็ตรงกับหลักอภิธรรมที่ว่า โลกุตรจิต ๘/๔๐ ที่แยกออกได้เป็น มรรคจิต ๔/๒๐, ผลจิต ๔/๒๐ เมื่อแยกตามเภทนัยทั้ง ๙ แล้ว จัดว่าเป็น "ฌานจิต" ดังนั้นจิตที่จะทำให้เกิด มรรค-ผล ได้ย่อมจะต้องเป็นจิตที่ไม่มีฌานไม่ได้

โดยการจะเกิดสัมมาสมาธิที่เป็นองค์มรรค หรือเกิดมรรคจิตที่เป็นโลกุตรจิตขึ้นนี้ สามารถทำได้ ๔ แนวทาง



เห็นด้วย ในสาระส่วนใหญ่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:


ขอบคุณที่ถามคำถามนี้ เป็นคำถามที่ดีครับ

คำว่า "ธรรมเอก" เช่น "ธรรมเอกผุดขึ้น" เป็นต้น อันปรากฏในที่ต่างๆ ของพระไตรปิฏก เราจะเห็นว่ามีมากในสมาธิระดับขั้นทุติยฌาน แต่ในบางพระสูตรก็มีการใช้คำๆ นี้ ตั้งแต่ปฐมฌานไปจนกระทั่ง "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" ก็มีเช่นเดียวกัน เช่น โมคคัลลานสังยุตต์ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากต้องการจะทราบว่าประสบการณ์ปฏิบัติสมาธิจริงๆ ที่เล่าไป ไม่ใช่แต่ที่คุณนำมาลง แต่จากแห่งต่างๆ ตรงไหนเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เราจะต้องทำความเข้าใจกับข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ให้ดีเสียก่อน

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌานหมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]
ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เขาก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่มีสหาย ดังนี้บ้าง
ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น. สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).

ที่มา : เล่มที่ ๑ อรรถกถา พระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ปฐมภาค (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


สรุปข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ที่ปรากฏมากในทุติยฌานนั้นหมายถึง "สมาธิอันปราศจากวิตกและวิจารนั่นเองได้ปรากฏขึ้น"

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในฌานอื่นๆ หมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" นี้ นอกจากทุติยฌานแล้ว ยังมีปรากฏในฌานอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งนี้เพราะมีการใช้คำว่าธรรมเอกผุดขึ้นในความหมายอื่นๆ ยกมาให้อ่านบางส่วน ดังนี้

ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่า สงบ
เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่า ประณีต เพราะหมายความว่า
เอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ
ชื่อว่า ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียว
เป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่า ไม่ต้องข่ม คือ กันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วย
สัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้. ภิกษุนี้ ชื่อว่า ทำจิตให้หมุนกลับ
แล้วบรรลุพระอรหัตผล ด้วยเหตุที่ประมาณเท่านี้.

ที่มา : เล่ม ๓๔ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุภ-ติกนิบาต (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)

. . . . . . . . . . . . . . .

บทว่า เอโกทิภาวิเต ได้แก่ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น อธิบาย
ว่า ถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว.

ที่มา ๕๓ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


ที่นี้คงจะทราบแล้วถึงความหมายของคำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ว่าโดยสรุป คือ ทำให้สมาธิในระดับฌานที่ต้องการปรากฏขึ้นมาได้นั่นเอง หากนำมาเทียบกับประสบการณ์ข้างต้น ตอนที่...

- สามารถทำให้วิตก วิจารสงบระงับไป ได้แก่ คำบริกรรม "พุทโธ" ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของทุติยฌาน ปรากฏขึ้น

- ส่วนบางวันบางวันนั่งตอนหัวค่ำ กำหนดลมหายใจไปอยู่อย่างนั้น มารู้สึกตัวอีกทีตอนเลิกฝึกว่าเช้า เหมือนเรานั่งเพียงแป๊บเดียว ต้องฝืนใจตัวเองให้เลิกก่อน จริงๆไม่อยากจะเลิกเลย (ตรงนี้จะมีสุขอย่างมากอยู่ตลอดเวลา "สุข" ยังละไม่ได้) และรวมทั้งตอนหลังจากคำบริกรรม "พุทโธ" หายไปแล้วได้กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นๆ เรื่อยเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้ ลมหายใจของรู้สึกแผ่วเบาลง มันเบามาก ตรงนี้ เทียบได้กับ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของตติยฌาน ปรากฏขึ้น

- และตอนที่กระทำให้ กายสังขารสงบระงับไป ได้แก่ ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ(ลมหายใจเข้า-ออก) ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของจตุถฌาน ปรากฏขึ้น

ขออธิบายแต่เพียงเท่านี้ครับ

ขอให้เจริญในธรรม

-------------------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. (อรรกถาที่คุณศิรัสยกมา)


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธอ
อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้
มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ


ปฐมฌาณมีวิตกวิจารหรือไม่ครับ ??? :b1: หากปฐมณาณมีวิตกวิจารณ์ ในพระสูตรมี่ผมลอกมาพระพุทธองค์ตรัสว่าอย่างไรครับ ผมเลยต้องบอกว่าที่บอกว่ามีฌาณมีฌาณ ขั้นปฐมฌาณ ครบเครื่องหรือเปล่าครับ

ยังมีอีกครับ เอาตอนนี้ให้เป๊ะก่อน เรื่องธรรมเอกนี่ ผมเลยถามว่าที่คุณศิรัสพลระลึกชาติได้นี่ :b10: :b10: :b10:

เพราะแค่ขั้นปฐมฌาณ จะมีบอกคำปรากฏไว้ว่า มีธรรมเอก และที่ไม่บอกไว้ก็มี และหากเอาอรรกถาของคุณศิรัสยกมา กับโมคลาสังยุตต์สูตร (พุทธพจน์)ดูสิครับว่ายังไง กว่าจะเข้าฌาณ2ต้องครอบเครื่องก่อนหรือเปล่า


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 18 มิ.ย. 2010, 08:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:


เห็นด้วย ในสาระส่วนใหญ่ครับ



เห็นคุณหมอตรงๆ ชอบยกคำสอนสายป่ามาให้ศึกษากัน
ผมถามว่า ธรรมเอกในแต่ละขั้นนี่ เกี่ยวกับดวงพุทธไหมครับและมีดวงพุทธโธกี่แบบ กี่ลักษณะกี่ขั้นตอนในของสายหลวงปู่มั่นครับ
ปล หากคุณหมอตรงๆ ไม่เห็นความสำคัญของธรรมเอก ผุดขึ้นตั้งมั่นในภายในหรือดวงพุทธโธ (หลวงปู่มั่น) ดวงธรรมต่างๆ(หลวงพ่อสด)และสายปฏิบัติ ที่ไม่โด่งดังอีกมากมายหลายๆแห่ง ซึ่ง
ไม่เห็นทางเห็นในทาง ปริยัติว่าเป็นสาระสำคัญก็ ล๊อกก็ได้นะครับ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
จริงๆ เรื่องนี้ไม่น่าจะมาถกเถียงกัน

หากถามว่าวิปัสสนาญาณสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องได้ฌานก่อนหรือไม่ อันนี้ต้องถามก่อนว่า วิปัสสนาญาณที่เท่าไร?

หากบอกว่าวิปัสสนาญาณอะไรก็ได้ จะตอบได้ว่าหากวิปัสสนาญาณอ่อนๆ เช่น นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีฌานเป็นพื้นฐานก็ได้ ตามแนวของผู้ปฏิบัติแบบ "สมถะอันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น"

แต่ถ้าหากเป็นวิปัสสนาญาณระดับที่ทำให้เกิดการข้ามโคตรจากปุถุชนเป็นอริยบุคคลจะไม่มีฌานไม่ได้ เพราะว่าตามหลักพระสูตร หรืออภิธรรมแล้ว จะมีการกล่าวเอาไว้ว่าจะต้องเกิด "มัคคสมังคี" คือ มรรค ๘ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ "สัมมาสมาธิ"

"สัมมาสมาธิ" ที่จัดว่าเป็นองค์มรรค พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้สรุปได้ว่าจะเริ่มตั้งแต่ ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุถฌาน



ถ้าไม่ใช่ปฐมฌาณจะเรียกว่าเป็นสัมมาสมาธิได้หรือครับวิปัสสนานั้นก็เป็นวิปัสสนูกิเลสหรือเปล่าครับเพราะเมื่อไม่มีปฐมฌาณนิวรณ์ห้าก็ต้องมีหรือไงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ศิรัสพล เขียน:


ขอบคุณที่ถามคำถามนี้ เป็นคำถามที่ดีครับ

คำว่า "ธรรมเอก" เช่น "ธรรมเอกผุดขึ้น" เป็นต้น อันปรากฏในที่ต่างๆ ของพระไตรปิฏก เราจะเห็นว่ามีมากในสมาธิระดับขั้นทุติยฌาน แต่ในบางพระสูตรก็มีการใช้คำๆ นี้ ตั้งแต่ปฐมฌานไปจนกระทั่ง "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" ก็มีเช่นเดียวกัน เช่น โมคคัลลานสังยุตต์ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากต้องการจะทราบว่าประสบการณ์ปฏิบัติสมาธิจริงๆ ที่เล่าไป ไม่ใช่แต่ที่คุณนำมาลง แต่จากแห่งต่างๆ ตรงไหนเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เราจะต้องทำความเข้าใจกับข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ให้ดีเสียก่อน

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌานหมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]
ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เขาก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่มีสหาย ดังนี้บ้าง
ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น. สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).

ที่มา : เล่มที่ ๑ อรรถกถา พระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ปฐมภาค (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


สรุปข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ที่ปรากฏมากในทุติยฌานนั้นหมายถึง "สมาธิอันปราศจากวิตกและวิจารนั่นเองได้ปรากฏขึ้น"

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในฌานอื่นๆ หมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" นี้ นอกจากทุติยฌานแล้ว ยังมีปรากฏในฌานอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งนี้เพราะมีการใช้คำว่าธรรมเอกผุดขึ้นในความหมายอื่นๆ ยกมาให้อ่านบางส่วน ดังนี้

ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่า สงบ
เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่า ประณีต เพราะหมายความว่า
เอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ
ชื่อว่า ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียว
เป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่า ไม่ต้องข่ม คือ กันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วย
สัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้. ภิกษุนี้ ชื่อว่า ทำจิตให้หมุนกลับ
แล้วบรรลุพระอรหัตผล ด้วยเหตุที่ประมาณเท่านี้.

ที่มา : เล่ม ๓๔ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุภ-ติกนิบาต (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)

. . . . . . . . . . . . . . .

บทว่า เอโกทิภาวิเต ได้แก่ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น อธิบาย
ว่า ถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว.

ที่มา ๕๓ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


ที่นี้คงจะทราบแล้วถึงความหมายของคำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ว่าโดยสรุป คือ ทำให้สมาธิในระดับฌานที่ต้องการปรากฏขึ้นมาได้นั่นเอง หากนำมาเทียบกับประสบการณ์ข้างต้น ตอนที่...

- สามารถทำให้วิตก วิจารสงบระงับไป ได้แก่ คำบริกรรม "พุทโธ" ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของทุติยฌาน ปรากฏขึ้น

- ส่วนบางวันบางวันนั่งตอนหัวค่ำ กำหนดลมหายใจไปอยู่อย่างนั้น มารู้สึกตัวอีกทีตอนเลิกฝึกว่าเช้า เหมือนเรานั่งเพียงแป๊บเดียว ต้องฝืนใจตัวเองให้เลิกก่อน จริงๆไม่อยากจะเลิกเลย (ตรงนี้จะมีสุขอย่างมากอยู่ตลอดเวลา "สุข" ยังละไม่ได้) และรวมทั้งตอนหลังจากคำบริกรรม "พุทโธ" หายไปแล้วได้กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นๆ เรื่อยเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้ ลมหายใจของรู้สึกแผ่วเบาลง มันเบามาก ตรงนี้ เทียบได้กับ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของตติยฌาน ปรากฏขึ้น

- และตอนที่กระทำให้ กายสังขารสงบระงับไป ได้แก่ ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ(ลมหายใจเข้า-ออก) ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของจตุถฌาน ปรากฏขึ้น

ขออธิบายแต่เพียงเท่านี้ครับ

ขอให้เจริญในธรรม

-------------------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. (อรรกถาที่คุณศิรัสยกมา)


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธอ
อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้
มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ


ปฐมฌาณมีวิตกวิจารหรือไม่ครับ ??? :b1: หากปฐมณาณมีวิตกวิจารณ์ ในพระสูตรมี่ผมลอกมาพระพุทธองค์ตรัสว่าอย่างไรครับ ผมเลยต้องบอกว่าที่บอกว่ามีฌาณมีฌาณ ขั้นปฐมฌาณ ครบเครื่องหรือเปล่าครับ

ยังมีอีกครับ เอาตอนนี้ให้เป๊ะก่อน เรื่องธรรมเอกนี่ ผมเลยถามว่าที่คุณศิรัสพลระลึกชาติได้นี่ :b10: :b10: :b10:

เพราะแค่ขั้นปฐมฌาณ จะมีบอกคำปรากฏไว้ว่า มีธรรมเอก และที่ไม่บอกไว้ก็มี และหากเอาอรรกถาของคุณศิรัสยกมา กับโมคลาสังยุตต์สูตร (พุทธพจน์)ดูสิครับว่ายังไง กว่าจะเข้าฌาณ2ต้องครอบเครื่องก่อนหรือเปล่า


ผมว่าคุณหลับอยู่ฟุ้งซ่าน หรือวิจิกิจฉาไปแล้วล่ะครับ หากอยากได้คำตอบกระจ่างๆ แนะนำให้เอาประสบการณ์ของผมไปให้ระดับอาจารย์สายพระป่าวิเคราะห์ดีกว่าครับ ระดับนั้นอ่านปุ๊ปไม่ต้องคุยอธิบายอะไรมากก็เข้าใจน่ะครับ เอาอย่างนี้แล้วกันครับ คือ คุณยังไม่เคยมีประสบการณ์อธิบายไปก็งงได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
ศิรัสพล เขียน:


ขอบคุณที่ถามคำถามนี้ เป็นคำถามที่ดีครับ

คำว่า "ธรรมเอก" เช่น "ธรรมเอกผุดขึ้น" เป็นต้น อันปรากฏในที่ต่างๆ ของพระไตรปิฏก เราจะเห็นว่ามีมากในสมาธิระดับขั้นทุติยฌาน แต่ในบางพระสูตรก็มีการใช้คำๆ นี้ ตั้งแต่ปฐมฌานไปจนกระทั่ง "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" ก็มีเช่นเดียวกัน เช่น โมคคัลลานสังยุตต์ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากต้องการจะทราบว่าประสบการณ์ปฏิบัติสมาธิจริงๆ ที่เล่าไป ไม่ใช่แต่ที่คุณนำมาลง แต่จากแห่งต่างๆ ตรงไหนเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เราจะต้องทำความเข้าใจกับข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ให้ดีเสียก่อน

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌานหมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]
ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เขาก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่มีสหาย ดังนี้บ้าง
ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น. สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).

ที่มา : เล่มที่ ๑ อรรถกถา พระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ปฐมภาค (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


สรุปข้อความว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ที่ปรากฏมากในทุติยฌานนั้นหมายถึง "สมาธิอันปราศจากวิตกและวิจารนั่นเองได้ปรากฏขึ้น"

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมเอกผุดขึ้นในฌานอื่นๆ หมายถึงอะไร
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" นี้ นอกจากทุติยฌานแล้ว ยังมีปรากฏในฌานอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งนี้เพราะมีการใช้คำว่าธรรมเอกผุดขึ้นในความหมายอื่นๆ ยกมาให้อ่านบางส่วน ดังนี้

ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่า สงบ
เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่า ประณีต เพราะหมายความว่า
เอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ
ชื่อว่า ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียว
เป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่า ไม่ต้องข่ม คือ กันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วย
สัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้. ภิกษุนี้ ชื่อว่า ทำจิตให้หมุนกลับ
แล้วบรรลุพระอรหัตผล ด้วยเหตุที่ประมาณเท่านี้.

ที่มา : เล่ม ๓๔ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุภ-ติกนิบาต (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)

. . . . . . . . . . . . . . .

บทว่า เอโกทิภาวิเต ได้แก่ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น อธิบาย
ว่า ถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว.

ที่มา ๕๓ อรรถกถา พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา (พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน : สยามรัฐ)


ที่นี้คงจะทราบแล้วถึงความหมายของคำว่า "ธรรมเอกผุดขึ้น" ว่าโดยสรุป คือ ทำให้สมาธิในระดับฌานที่ต้องการปรากฏขึ้นมาได้นั่นเอง หากนำมาเทียบกับประสบการณ์ข้างต้น ตอนที่...

- สามารถทำให้วิตก วิจารสงบระงับไป ได้แก่ คำบริกรรม "พุทโธ" ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของทุติยฌาน ปรากฏขึ้น

- ส่วนบางวันบางวันนั่งตอนหัวค่ำ กำหนดลมหายใจไปอยู่อย่างนั้น มารู้สึกตัวอีกทีตอนเลิกฝึกว่าเช้า เหมือนเรานั่งเพียงแป๊บเดียว ต้องฝืนใจตัวเองให้เลิกก่อน จริงๆไม่อยากจะเลิกเลย (ตรงนี้จะมีสุขอย่างมากอยู่ตลอดเวลา "สุข" ยังละไม่ได้) และรวมทั้งตอนหลังจากคำบริกรรม "พุทโธ" หายไปแล้วได้กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นๆ เรื่อยเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้ ลมหายใจของรู้สึกแผ่วเบาลง มันเบามาก ตรงนี้ เทียบได้กับ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของตติยฌาน ปรากฏขึ้น

- และตอนที่กระทำให้ กายสังขารสงบระงับไป ได้แก่ ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ(ลมหายใจเข้า-ออก) ก็คือ การทำให้ธรรมเอกผุดขึ้น ทำให้ "เอโกทิภาวํ" ของจตุถฌาน ปรากฏขึ้น

ขออธิบายแต่เพียงเท่านี้ครับ

ขอให้เจริญในธรรม

-------------------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. (อรรกถาที่คุณศิรัสยกมา)


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธอ
อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้
มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ


ปฐมฌาณมีวิตกวิจารหรือไม่ครับ ??? :b1: หากปฐมณาณมีวิตกวิจารณ์ ในพระสูตรมี่ผมลอกมาพระพุทธองค์ตรัสว่าอย่างไรครับ ผมเลยต้องบอกว่าที่บอกว่ามีฌาณมีฌาณ ขั้นปฐมฌาณ ครบเครื่องหรือเปล่าครับ

ยังมีอีกครับ เอาตอนนี้ให้เป๊ะก่อน เรื่องธรรมเอกนี่ ผมเลยถามว่าที่คุณศิรัสพลระลึกชาติได้นี่ :b10: :b10: :b10:

เพราะแค่ขั้นปฐมฌาณ จะมีบอกคำปรากฏไว้ว่า มีธรรมเอก และที่ไม่บอกไว้ก็มี และหากเอาอรรกถาของคุณศิรัสยกมา กับโมคลาสังยุตต์สูตร (พุทธพจน์)ดูสิครับว่ายังไง กว่าจะเข้าฌาณ2ต้องครอบเครื่องก่อนหรือเปล่า


ผมว่าคุณหลับอยู่ฟุ้งซ่าน หรือวิจิกิจฉาไปแล้วล่ะครับ หากอยากได้คำตอบกระจ่างๆ แนะนำให้เอาประสบการณ์ของผมไปให้ระดับอาจารย์สายพระป่าวิเคราะห์ดีกว่าครับ ระดับนั้นอ่านปุ๊ปไม่ต้องคุยอธิบายอะไรมากก็เข้าใจน่ะครับ เอาอย่างนี้แล้วกันครับ คือ คุณยังไม่เคยมีประสบการณ์อธิบายไปก็งงได้ครับ


ผมว่าคุณหลับอยู่ฟุ้งซ่าน หรือวิจิกิจฉาไปแล้วล่ะครับ
แน่นอนครับ แต่ผู้ที่ไม่รู้ว่าตนยังไม่ได้ฌาณอะไรเลยแต่เข้าใจว่าได้แล้วนี่สิครับ หนักกว่า
:b1: ให้ระดับอาจารย์สายพระป่าวิเคราะห์ดีกว่าครับ (คุณศิรัสเขียน)

ดวงพุทโธไงครับ (ไม่รู้ว่ามีกี่ผุดกี่ดวง)


ดวงพุทโธแบบหลวงปู่มั่น ดวงธรรมแบบหลวงพ่อสดไงครับ นอกจากคนที่ไม่กล้ายอมรับ อะไรลึกๆหลายอย่าง ไปกล่าวว่าเป็นสัทธรรมปฏิรูป คนกล่าวนั้นแลทำสัทธรรมปฏิรูปเอาเอง แม้ปฐมฌาณก็ยังไม่ครบองค์เป๊ะๆ :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 19 มิ.ย. 2010, 08:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร