วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสมาธิสมถะว่าเป็นรัตนะอันประณีต

ไม่เหมือนนักสัทธรรมปฏิรูปเหลิมที่กล่าวร้ายว่านั่งหลับตาเฉยๆ

Quote Tipitaka:
ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็น
ผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะ
เหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตาจิต
ในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวัน
ทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่
ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใด
อย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีต
ในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มี
เลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระศากยมุนีมีพระหฤทัย
ดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่
สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีต ธรรมชาติอะไรๆ
เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ
อันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้ว
ซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
ซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้น
ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย
สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ บุคคล ๘
จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคล
เหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต ทาน
ที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี
แก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระ
โคดม ประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและวจีประโยค
อันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ในกายและ
ชีวิต] พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุ
หยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่า เสวย
ผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจา
นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน
ไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็น
อริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหว
เพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อัน
พระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริย-
บุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึง
กระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็น
รัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่
สัตว์เหล่านี้ สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรา
มาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระอริย
บุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น
[นิพพาน] ทีเดียว อนึ่ง พระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจาก
อบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ [คืออนันตริย-
กรรม ๕ และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
พระอริยบุคคลนั้นยังทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ
ด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านไม่ควร เพื่อจะปกปิดบาป
กรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพานอันตน
เห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พุ่มไม้
ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็น
เครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้น
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอ
ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ
ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรง
แสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพ
ต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจ
ไม่งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือน
ประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ
พระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่า
ใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด
ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระ
ธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์บูชา
แล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุม
กันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกัน
แล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้ไปแล้ว
อย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจง
มีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/read/?11/373/289

Quote Tipitaka:
[๓๗๓] ธรรมอย่างหนึ่งที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือเจโตสมาธิเป็น
อนันตริก ๑- นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่แทงตลอดได้ยาก ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/read/?31/0/2
Quote Tipitaka:
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จ
มาแต่การฟัง] ๑ ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณ
อันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑ ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรม
ฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีต
ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการ
พิจารณา] ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
๑ ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ
[ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑ ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
[ญาณในการเห็นโทษ] ๑ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย
อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิต
ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑ ปัญญาในการระงับประโยค
เป็นผลญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ
ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุม
ในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็น
วัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรม
ภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑
ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
๑ ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้
เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑ ปัญญาในการละ เป็น
ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑ ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ
[ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ
[ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทา-
*ญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญา
ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็น
วิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ
เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหาร
สมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็น
อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑ ทัสนาธิปไตย ทัสนะมี
ความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
ในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ
[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ
ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑ ปัญญา
ในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็น
ปรินิพพานญาณ ๑ ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรม
อันเป็นประธาน] ๑ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑ ปัญญาในความ
ประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑ ปัญญาในการ
ประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑
ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑ ปัญญาในความถูกต้องธรรม
เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑ ปัญญาในการรวมธรรม
เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑ ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑ ปัญญา
ในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออก
จากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑ ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ
หลีกไปแห่งจิต] ๑ ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน
ความหลีกไปด้วยญาณ] ๑ ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑ ปัญญาในความว่าธรรมจริง
เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑ ปัญญาในความ
สำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]
เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วย
อุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจาก
นิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
๑ ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการ
แผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑ ปัญญา
ในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต
๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑ ปัญญาในการ
กำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรม
หลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑ ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง
หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑ ปัญญาในความ
เป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ
[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑ ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็น-
*ทุกขญาณ ๑ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น
นิโรธญาณ ๑ ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑ ทุกขญาณ [ญาณ
ในทุกข์] ๑ ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธญาณ
[ญาณในความดับทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ
เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑ อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๑ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ อินทริยปโรปริยัติญาณ
[ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ อาสยานุสยญาณ
[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ ยมก
ปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/read/?20/526/298

Quote Tipitaka:
[๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศ
ทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน คือ
อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓
นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำ
พอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณ
ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคน
อาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓
หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง จะมายังโลกนี้อีกคราวเดียว
เท่านั้น แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่สิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และ
มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็น
ผู้ผุดขึ้นเกิด จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ใน
ปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบท
เหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีล
ยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จบางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้
บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็น
หมันเลย ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/read/?23/216/394

Quote Tipitaka:
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ฯ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรมีความคิดดังนี้ว่า การเที่ยวไป
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถียังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของ
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอาราม
ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ก็สมัยนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุมสนทนากันในระหว่างว่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ ผู้นั้นล้วน
ไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้น
จากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่อัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้นกล่าว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร
เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
พระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยัง
พระนครสาวัตถี ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า การเที่ยวบิณฑบาตใน
พระนครสาวัตถี ยังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอารามของพวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัย
นั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ใน
ระหว่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย
ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่พวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วย
คิดว่า เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือ
จักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้
ที่เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้เป็น
สอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจาก
เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์
๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์
สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร
นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ เพราะ
สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล
๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต ฯ
ดูกรสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความ
อธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึงความประมาท ฯ


นี่เป็นแค่ตัวอย่างเล็กน้อย

นักสัทธรรมปฏิรูปเหลิมจึงมิควรนำพระสูตรเพี่ยงบางข้อบางตอนมาเพือใช้อัตโนมัติของตนกล่าวอ้างใช้ประโยชน์จากพระสูตรนั้นมาบิดเบือน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หากไร้สมาธิ(สมถะ)ก็ขาดปัญญา

หากไม่มีปัญญาก็ขาดสมาธิ(สมถะ)

สมาธิ(สมถะ)กับปัญญาเป็นสิ่งคู่กัน


และถ้าจะยกเอาท่านพุทธทาสมากล่าวโจมตีเพื่อตอบโต้ผม

ก็ขอให้ตั้งกระทู้ใหม่

ยกเอาข้อที่นักสัทธรรมปฏิรูปเหลิมเห็นว่าผิกมาทีละประเด็น

แบบวิญญูชน

นักสัทธรรมปฏิรูปเหลิมรู้จักไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/read/?12/427-9/458

Quote Tipitaka:
[๔๒๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้กายมีกำลังแล้ว สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้สุขเวทนาที่
เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เราบรรลุ
จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้. เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เราย่อม
ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่
อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.


เหลิมสัทธรรมปฏิรูปถึงกึบกล้าโจมตีพระพุทธเจ้าว่า

การบรรลุฌานของพระพุทธเจ้าในวันตรัสรู้ว่า

คือการนั่งหลับตาเฉยๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การบิดเบือนพระธรรมว่า ฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆคือสัทธรรมปฏิรูป

พวกนอกศาสนานำมาอ้างทำลายศาสนาพุทธเถราวาท

ด้วยอัตตโนมัติมิจฉทิฐิ

ด้วยอคติ

เป็นเรื่องที่ชาวพุทธเรายอมไม่ได้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ต้องออกมารับผิดชอบในการหมิ่นพระพุทธศาสนาในครั้งนี้

การหมิ่นฌานเท่ากับพระพุทธเจ้านั้นสอนผิด

เท่ากับการตรัสรู้เป็นเรื่องไม่จริง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การเพ่งกสิณก็คือการทำสมาธิ สมถะ

ไม่ต้องนั่งหลับตา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานะสติ

คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก

ตามหลักสติปัฏฐานสี่

ก็ไม่จำเป็นต้องนั่งหลับตา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้สอนอริยะธรรมคือพระพุทธเจ้า

เราทุกคนคือผู้เข้ามาศึกษา

จงอย่าตีตนเสมอพระพุทธเจ้าสั่งสอนเสียเอง

เหมือนเหลิมสัทธรรมปฏิรูป

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 05:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณหลับอยู่ ได้ยกพระสูตรมาแสดง

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 070&Z=5199


[๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
เบื้องต้นเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑
จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ฯ



คุณหลับอยู่ครับ เพิ่มเติมในส่วน อรรถกถา ครับ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=362&p=3

เสนาสนะนั้นของภิกษุนั้นสมควรแก่ภาวนา ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นปทัฏฐานแห่งสุขวิหารธรรมในปัจจุบันของการบรรลุคุณวิเศษ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นยอดในประเภทของกรรมฐานนี้ อันพระโยคาวจรไม่สละท้ายบ้าน อันวุ่นวายไปด้วยเสียงหญิง บุรุษ ช้างและม้าเป็นต้น ทำได้ไม่ง่ายนักเพื่อเจริญ เพราะฌานมีเสียงเสียบแทง.
ส่วนพระโยคาวจรกำหนดถือเอากรรมฐานนี้ในป่ามิใช่หมู่บ้าน ยังอานาปานสติจตุตถฌานให้เกิด ทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นการทำได้ง่ายเพื่อบรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอ้างถึงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้.
พระเถระก็เหมือนอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจอาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่.
จริงอยู่ อาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่นั้นเห็นพื้นที่สร้างนครแล้วกำหนดไว้ด้วยดี แนะนำว่า พวกท่านจงสร้างนคร ณ พื้นที่นี้เถิด เมื่อนครสำเร็จลงด้วยดี ย่อมได้สักการะใหญ่ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงกำหนดเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจร แล้วทรงแนะนำว่าควรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นี้ แต่นั้นเมื่อพระโยคาวจรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นั้น บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงได้รักสักการะใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอ ดังนี้.
!
!
จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมสมบูรณ์แก่ผู้มีสติ ผู้มีสัมปชัญญะโดยแท้ แต่เมื่อมนสิการอื่นจากนี้ กรรมฐานก็ยังปรากฏ.
อนึ่ง อานาปานสติกรรมฐานนี้ เป็นการเจริญอย่างหนักๆ เป็นภูมิแห่งมนสิการของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธบุตรผู้เป็นมหาบุรุษนั่นเอง มิได้เป็นนอกไปจากนี้ ทั้งสัตว์นอกนี้มิได้เสพ.
กรรมฐานเป็นอันสงบและสุขุม โดยประการที่ทำไว้ในใจ เพราะฉะนั้น ในที่นี้พึงปรารถนาสติและปัญญามีกำลัง.
เหมือนอย่างว่า ในเวลาเย็บผ้าสาฏกเนื้อเกลี้ยง พึงต้องการแม้เข้มที่ละเอียด แม้ด้ายร้อยเข็มก็ยังต้องการละเอียดกว่านั้นฉันใด ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้เช่นกับผ้าสาฏกเนื้อเกลี้ยงฉันนั้นเหมือนกัน แม้สติเปรียบด้วยเข็ม ปัญญาสัมปยุตด้วยสตินั้นเปรียบด้วยการร้อยเข็ม ก็พึงปรารถนาที่มีกำลัง ก็แลภิกษุผุ้ประกอบด้วยสติปัญญาเหล่านั้น ไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านั้น นอกจากโอกาสที่สัมผัสตามปกติ.
!
!
อนึ่ง ภิกษุผู้มีจตุกฌานเกิดแล้วอย่างนี้ ประสงค์จะเจริญกรรมฐานด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและมรรคแล้ว บรรลุความบริสุทธิ์จงทำฌานนั้นให้คล่องแคล่วถึงความชำนาญด้วยอาการ ๕ อย่างแล้ว กำหนดนามรูปเริ่มตั้งวิปัสสนา.
อย่างไร เพราะภิกษุนั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรชกายและจิตเป็นเหตุเกิดลมอัสสาสะปัสสาสะ.
เหมือนอย่างว่า ลมย่อมสัญจรเพราะอาศัยเครื่องสูบของช่องทองและความพยายาม เกิดแต่การสูญเครื่องของบุรุษฉันใด
ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมสัญจรเพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกัน.
แต่นั้นย่อมกำหนดกายว่า เป็นรูปในเพราะอัสสาสะปัสสาสะ และกำหนดจิตว่าเป็นอรูปในเพราะธรรมอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.
ครั้นภิกษุกำหนดนามรูปอย่างนี้ แล้วแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น เมื่อแสวงหา ครั้นเห็นปัจจัยนั้นแล้ว ปรารภถึงความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลแม้ ๓ แล้วจึงข้ามความสงสัยได้ ข้ามความสงสัยได้แล้ว จึงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเป็นกลาปะ (กอง) เมื่อส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพพยานุปัสสนาเกิด จึงละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น แล้วกำหนดอุทยัพพยานุปัสสนาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสว่า มรรคละความเกิด ถึงภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับ) เมื่อสังขารทั้งปวงปรากฏโดยความเป็นภัย ด้วยภังคานุปัสสนาเป็นลำดับ จึงเบื่อหน่าย พ้นบรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ ตั้งอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณาญาณ ๑๙ เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ การเจริญอานาปานสติสมาธิ ตั้งต้นแต่การนับลมอัสสาสะปัสสาสะนั้น มีวิปัสสนาเป็นที่สุด เป็นอันครบริบูรณ์. นี้เป็นการพรรณนาปฐมจตุกะโดยอาการทั้งปวง ดังนี้แล.


สมถะ-วิปปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21062



21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=21049

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิ ๗ และโสฬสญาณ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry580075
-------------------------------
วิสุทธิ ๗
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm

๒. จิตตวิสุทธิ (สมาธิวิสุทธิ)

หมายถึง จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)

หน้าที่ของสมาธิในสติปัฏฐานนั้น คือ การทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความยินดียินร้ายที่อยู่ในจิตใจ ซึ่งศีลไม่สามารถทำลายความรู้สึกนึกคิดได้ ศีลเพียงแต่กันไม่ให้แสดงออกทางกาย ทางวาจาเท่านั้น นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้นในระดับจิตใจขณะที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว นิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย

สมาธิมีอยู่ ๓ ขั้น คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขณะย้ายอารมณ์ไปตามทวารทั้ง ๖ ด้วยเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิจะติดตามไปด้วยเสมอ ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้จึงเป็นปัจจัยหรือเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา เพราะการเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุผลนั้นเอง ที่เป็นเหตุให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์และของจิตได้ถ้าหากไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์แล้ว ยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะของความเกิด ความดับ ของจิตได้

(วิสุทธิ. อ. ภาค ๒ / ๒๙)

ความเกิดของจิตในอารมณ์หนึ่ง ๆ นั้น รวดเร็วมากจนไม่ทันเห็นความดับของจิตได้ จึงคิดว่าอารมณ์มีอยู่ ดังนั้น สมาธิที่แน่วแน่จึงไม่เป็นบาทแก่วิปัสสนา และไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์ ความสามารถในการรู้ทุกข์ในจิตหรือในอารมณ์นั้น ไม่อาจรู้ได้ด้วยสมาธิ แต่จะรู้ได้ด้วยปัญญา จิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงเป็นบาทให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ได้ ผู้บำเพ็ญเพียรจะโดยสมถะก็ดี หรือวิปัสสนาก็ดี สิ่งสำคัญอยู่ที่อารมณ์ที่ใช้ในการพิจารณา จึงต้องศึกษาเรื่องอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างไร จึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนา และอารมณ์อย่างไรเป็นปัจจัยแก่สมถะ

สมาธิที่เป็นจิตตวิสุทธิ จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐาน เพราะทำลายกิเลส คือ อภิชฌาและโทมนัส ถ้าสมาธิไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้ว จะทำให้เกิดความสงบ มีความสุข มีความพอใจในความสงบหรือความสุขนั้น ความพอใจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งอาศัยสมาธิเกิดขึ้น สมาธิเช่นนี้จึงไม่สามารถทำลายอารมณ์วิปลาสได้

สำหรับการเจริญวิปัสสนาของผู้ที่ได้ฌานแล้ว มีวิธีทำอย่างไร (อัฏฐสาลินี อ. ๑ / ๓๕๕) ที่เรามักได้ยินกันว่า ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา นั้นหมายความว่า ในองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ผู้ที่ได้ฌานมักจะติดในสุข และเพลิดเพลินในสุข ความสุขนี้เกิดจากปิติเป็นเหตุ ฉะนั้น การยกองค์ฌานจึงอาศัยการเพ่งปิติซึ่งเป็นองค์ฌานและเป็นนามธรรมนั่นเอง ธรรมชาติของปิตินั้นจะเพ่งหรือไม่เพ่งก็มีการเกิดดับ แม้จิตที่เป็นสมาธิก็มีการเกิดดับ ปิติซึ่งอาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ยิ่งเกิดดับรวดเร็วมาก ปิตินั่นแหละจะแสดงความเกิดดับให้ปรากฏแก่ผู้เพ่งพิจารณา เมื่อเห็นว่าปิติมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว จิตก็จะดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาด้วยอำนาจของการเพ่งลักษณะของปิติ (ไม่ใช่เพ่งอารมณ์บัญญัติ) วิปลาสก็จับในอารมณ์นั้นไม่ได้

ดังนั้น ถ้าฌานใดที่เพ่งลักษณะ หรือสมาธิใดที่พิจารณาลักษณะที่กำลังเปลี่ยนแปลง
(ลักขณูปนิชฌาน) สมาธินั้นชื่อว่าเป็นบาทของวิปัสสนา และเรียกสมาธินั้นว่า จิตตวิสุทธิ ส่วนสมาธิใดที่เพ่งอารมณ์บัญญัติ (อารัมมณูปนิชฌาน) ไม่เพ่งลักษณะ ไม่จัดว่าเป็นจิตตวิสุทธิ


-------------------------------------------------------------------
viewtopic.php?f=2&t=21049

แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา


---------------------------------------------------------------------------------

เรียนทุกท่านครับ สมาธิที่เราพูดถึงนี้ หมายถึง สมาธิในพระพุทธศาสนา เป็น สมาธิวิสุทธิ เพื่อการเจริญวิปัสสนา ต่อยอดเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ

แต่ในปัจจุบัน มีสำนักปฏิบัติสมาธิมากมาย ที่ไม่ได้แสดงหลักการที่จะนำสมาธิไปต่อยอดเป็นวิปัสสนา

สอนเพียงว่า ปฏิบัติไปเถิดแล้วจะรู้เอง อย่าได้เรียนปริยัติให้มากเป็นอุปสรรคในการทำสมาธิ (ขาดความยำเกรงในพระธรรม ๑ ในสัทธรรมปฏิรูป )

บางสำนักก็ยึดเอานิมิต จากการทำสมาธิ ว่าเป็น วิปัสสนาญาณบ้าง เป็นนิพพานบ้าง แล้วกลับมาบิดเบือนพระสัทธรรม ว่าตนเองได้นั่งสมาธิติดต่อพระพุทธเจ้าได้ และพระพุทธเจ้าได้ยืนยันว่าแนวทางที่ตนเองค้นพบจากสมาธิ ถูกต้องที่สุด (ขาดความยำเกรงในพระพุทธ ๑ ในสัทธรรมปฏิรูป )

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 09 มิ.ย. 2010, 05:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
[quote="เฉลิมศักดิ์"เรียนทุกท่านครับ สมาธิที่เราพูดถึงนี้ หมายถึง สมาธิในพระพุทธศาสนา เป็น สมาธิวิสุทธิ เพื่อการเจริญวิปัสสนา ต่อยอดเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ

แต่ในปัจจุบัน มีสำนักปฏิบัติสมาธิมากมาย ที่ไม่ได้แสดงหลักการที่จะนำสมาธิไปต่อยอดเป็นวิปัสสนา

สอนเพียงว่า ปฏิบัติไปเถิดแล้วจะรู้เอง อย่าได้เรียนปริยัติให้มากเป็นอุปสรรคในการทำสมาธิ (ขาดความยำเกรงในพระธรรม ๑ ในสัทธรรมปฏิรูป )
บางสำนักก็ยึดเอานิมิต จากการทำสมาธิ ว่าเป็น วิปัสสนาญาณบ้าง เป็นนิพพานบ้าง แล้วกลับมาบิดเบือนพระสัทธรรม ว่าตนเองได้นั่งสมาธิติดต่อพระพุทธเจ้าได้ และพระพุทธเจ้าได้ยืนยันว่าแนวทางที่ตนเองค้นพบจากสมาธิ ถูกต้องที่สุด (ขาดความยำเกรงในพระพุทธ ๑ ในสัทธรรมปฏิรูป )

[/quote]
ตัวอย่างมโนทุจริตอัตตโมติของเหลิมสัทธรรมปฏิรูป

ที่แปะพระธรรม ใส่ร้ายผู้อืน

กล่าวตู่พระพุทธธรรม

สุตะไม่จำเป็นต้องปริยัติเพียงอย่างเดียว

มีกัลยณมิตรคอยแนะนำสั่งสอนก็ได้

ศาสนานี้มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่เป็นครู

นี่เป็นสัทธรรมปฏิรูปที่เหลิมปฏิรูปพยายามยัดเยียดตามเวป

ด้วยการปลุกระดมสร้างความแตกแยกระหว่างนักปฏิบัติกับนักปริยัติ

เป็นการทำพระศาสนาแตกแยก

เป็นอนันตริยกรรม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 09 มิ.ย. 2010, 05:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร