วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[url]http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รูปฌาน[/url]
Quote Tipitaka:
รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ
วิตก(ตรึก)
วิจาร(ตรอง)
ปีติ(อิ่มใจ)
สุข(สบายใจ)
เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา




[url]http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อรูป_๔[/url]
Quote Tipitaka:
อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน,
ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ
๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยาง
ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกร
มหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง
คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่
ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รูปฌาน ๔
ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้
เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณา
เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือน
การพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตนย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์
แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง.
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง.
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็น
จรณะของเธอประการหนึ่ง ดูกรอัมพัฏฐะ แม้นี้แลคือจรณะนั้น.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รูปฌาน ๔
ภิกษุนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่า
ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า
ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ดูกรผู้มีอายุ ข้อนั้นเรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้
กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง.
ภิกษุนั้นบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้
เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
ไม่ควรจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ดูกรผู้มีอายุ
เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง.
ภิกษุนั้นมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง บรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่า ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้
ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
ดูกรผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เราจึงมิได้กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า
ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รูปฌาน ๔
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละแล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ
ปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึง
ใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยางซึม
ไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ข้อนี้เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.
[๓๒๖] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกร
มาณพ เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.
[๓๒๗] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมาณพ เปรียบ
เหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอ
ประการหนึ่ง.
[๓๒๘] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัว
ตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอ
ประการหนึ่ง.
ดูกรมาณพ สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสรรเสริญและทรงยัง
ประชุมชนนี้ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ อนึ่ง ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้น
ไปอยู่อีก.
ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะนี้
บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่บริบูรณ์ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นสมาธิขันธ์อันเป็นอริยะของท่านพระอานนท์ ที่
บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกพระศาสนานี้เลย ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ก็สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกพระศาสนานี้พึงเห็นสมาธิขันธ์อันเป็นอริยะที่บริบูรณ์แล้ว
อย่างนี้ในตน เขาเหล่านั้นจะพึงพอใจด้วยสมาธิขันธ์เพียงเท่านี้ พอแล้วด้วยสมาธิขันธ์เพียง
เท่านี้ว่า เราได้ทำสมาธิขันธ์เสร็จแล้ว สำคัญตนว่า เราได้บรรลุถึงประโยชน์แห่งสามัญคุณ ไม่
มีกรณียกิจอะไรๆ ที่ยิ่งขึ้นไปอีก. แต่ท่านพระอานนท์ก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า อนึ่งในธรรมวินัยนี้ยัง
มีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก.
อริยปัญญาขันธ์
[๓๒๙] ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ปัญญาขันธ์อันเป็นอริยะที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
สรรเสริญและยังทรงประชุมชนนี้ ในสมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่นั้น เป็นไฉน.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รูปฌาน ๔
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์
แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.
ดูกรโลหิจจะ สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด ศาสดานี้แล
ไม่ควรท้วงในโลก อนึ่ง การท้วงศาสดาเห็นปานนี้ นั้น ก็ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม
ประกอบด้วยโทษ.
ดูกรโลหิจจะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ดูกรโลหิจจะ สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด ศาสดานี้แล ไม่ควร
ในโลก อนึ่ง การท้วงศาสดาเห็นปานนี้ นั้น ก็ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม ประกอบด้วยโทษ.
ดูกรโลหิจจะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข ดูกรโลหิจจะ สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด ศาสดา
นี้แล ไม่ควรท้วงในโลก อนึ่ง การท้วงศาสดาเห็นปานนี้ นั้น ก็ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม
ประกอบด้วยโทษ.
ดูกรโลหิจจะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ดูกรโลหิจจะ
สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด ศาสดานี้แล ไม่ควรท้วงในโลก
อนึ่ง การท้วงศาสดาเห็นปานนี้ นั้นก็ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม ประกอบด้วยโทษ.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็น
วิโมกข์ข้อที่ ๒
๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓
๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดย
ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔
๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖
๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗
๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘
ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ
เหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง
ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า
อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป
กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รูปฌาน ๔
[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
เครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติ-
*สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อม
อยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม
เครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ใน
วินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
[๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ
ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา
ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ
ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย-
*ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่-
*ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย-
*ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน
ฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย-
*ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย-
*ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรม
เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา
[๑๐๔] ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ เธอ
ทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักงดเว้นจากการลักทรัพย์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักประพฤติพรหมจรรย์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงด
เว้นจากการกล่าวเท็จ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้
เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก
ไม่มีจิตพยาบาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักมีความเห็นชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักมีความดำริชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
วาจาชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักมีการงานชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
อาชีพชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักมีความเพียรชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
สติชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
สมาธิชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
ญาณชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
วิมุติชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้ง-
*หลายจักปราศจากถีนมิทธะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักห้าม
พ้นจากวิจิกิจฉา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักไม่มีความโกรธ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก
ไม่ผูกโกรธไว้.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักไม่ยกตนเทียมท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักไม่มีความริษยา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักไม่มีความตระหนี่.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่
โอ้อวด.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่
มีมารยา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่
ดื้อด้าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่
ดูหมิ่นท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ว่าง่าย.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
กัลยาณมิตร.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นคนไม่ประมาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นคนมีศรัทธา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้มีหิริในใจ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้มีสุตะมาก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ปรารภความเพียร.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้ง-
*หลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่าง-
*มั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ
อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.
[๑๐๕] ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย
ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ
ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย
ว่าด้วยทางหลีกเลี่ยงคนชั่ว
[๑๐๖] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับ
หลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับ
หลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้-
*เบียดเบียน
การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน.
การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.
การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวาจาผิด.
การงานชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.
การเลี้ยงชีพชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
ความตั้งใจชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตั้งใจผิด.
ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
วิมุตติชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวิมุตติผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลถูกถีนมิทธะครอบงำ.
ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย.
ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่เข้าไปผูกโกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เข้าไปผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน.
ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักยกตนเทียมท่าน.
ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.
ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.
ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อด้าน.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.
ความเชื่อ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.
ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลุบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยง่าย เป็น
ทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยยาก.
[๑๐๗] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง
กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อม
เป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
การงดเว้นจากอทินนาทาน ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้
ลักทรัพย์ ฯลฯ
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่ายเป็นทางสำหรับ
ความเบื้องบนของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
ว่าด้วยอุบายบรรลุนิพพาน
[๑๐๘] ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จม
อยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้
ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่น
ดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด.
ดูกรจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้-
*เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลักทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เสพเมถุนธรรม.
การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเท็จ.
การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีวาจาผิด.
การงานชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการงานผิด.
การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
ความตั้งใจชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความตั้งใจผิด.
ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
ความพ้นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความพ้นผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำ.
ความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความสงสัย.
ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน.
ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ยกตนเทียมท่าน.
ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ริษยา.
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ตระหนี่.
ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้โอ้อวด.
ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดื้อด้าน.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ประมาท.
ความเชื่อ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่ศรัทธา.
ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย เป็นทาง
สำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก.
[๑๐๙] ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาท
เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้
แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ดูกรจุนทะ กิจอัน
ใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอ
ทั้งหลายแล้ว ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของ-
*พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ ทรงแสดงสนธิ ๕
พระสูตรนี้ ชื่อสัลเลขสูตร ลุ่มลึก เปรียบด้วยสาคร ฉะนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รูปฌาน ๔
[๓๓๕] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเหตุทำ
ปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณ
ของตถาคต) ดังนี้บ้าง ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสียดสีแล้ว) ดังนี้แล้ว
ว่าตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันงาคือญาณของตถาคตแซะขาดแล้ว) ดังนี้บ้าง. อริยสาวกก็ยังไม่ถึง
ความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
ดูกรพราหมณ์ ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่
พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุ
จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ เป็นผู้มี
อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ
บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง ดังนี้. อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ ดังนี้.
[๓๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิ-
*เลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิ-
*วาสานุสติญาณ. ภิกษุนั้น ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สอง
ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ มีผิวพรรณอย่างนั้นๆ มีกำ
หนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้ชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น. ภิกษุนั้น ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อม
ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้, ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ
บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง. อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
ภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
[๓๓๗] ภิกษุนั้น มีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่ง
สัตว์ทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ-
*อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา
ย่อมเข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน-
*สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่-
*ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ
กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน
บริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์
แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวก
ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
อาสวักขยญาณ
[๓๓๘] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ ภิกษุนั้น ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่าเหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรพราหมณ์
แม้ข้อนี้เรากล่าวว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความ
ตกลงใจก่อน อริยสาวกนั้น ย่อมจะถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมา-
*สัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะ
บ้าง ดังนี้. ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูกรพราหมณ์ อริยสาวกย่อมถึงความตกลงใจว่า
พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูกรพราหมณ์
ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง เป็นอันบริบูรณ์แล้วโดยพิสดาร ดังนี้.
[๓๓๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญพระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล
พึงหงายของที่คว่ำ พึงเปิดของที่ปกปิด พึงบอกทางแก่คนหลงทาง หรือพึงส่องประทีปที่โพลง
ด้วยน้ำมันในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ได้ทรงประ
กาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระ
ธรรมและพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึง
พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด.
จบ จูฬหัตถิปโทปมสูตรที่ ๗

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรูปฌาน ๔
[๒๒] ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการ
ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรม
ที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มี
พระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ
หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนะสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อัน
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้
อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่
ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะ
ความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ทสมคฤหบดีบูชาพระอานนท์
[๒๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ ได้กล่าว
กะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ บุรุษกำลังแสวงหาขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง
ได้พบขุมทรัพย์ถึง ๑๑ ขุมในคราวเดียวกัน ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น กำลังแสวงหาประตูอมตะ
ประตูหนึ่ง ได้พบประตูอมตะถึง ๑๑ ประตูในคราวเดียวกัน โดยการฟังเท่านั้น.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรือนของบุรุษมีประตู ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษ
เจ้าของเรือนอาจทำตนให้สวัสดี โดยประตูแม้ประตูหนึ่งๆ ได้ ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จักอาจ
ทำตนให้สวัสดีได้โดยประตูอมตะ แม้ประตูหนึ่งๆ แห่งประตูอมตะ ๑๑ ประตูนี้.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันชื่อว่าอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์
เพื่ออาจารย์ ก็ไฉน ข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านพระอานนท์เล่า. ลำดับนั้น ทสมคฤหบดี
ชาวเมืองอัฏฐกะ ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในเมืองปาตลีบุตร และเมืองเวสาลี พร้อมกันแล้ว
ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต ด้วยมือของตน ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละคู่ๆ
และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร แล้วให้สร้างวิหาร ๕๐๐ ถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.
จบ อัฏฐกนาครสูตร ที่ ๒.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สุขในรูปฌานและอรูปฌาน
[๑๐๑] ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า
และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำ
ของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดี
ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและ
ประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรม
วินัยมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้แล
อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่น
ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีต
กว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส
มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ยังมีอยู่.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา
ได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้แล
อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนี้.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นอันดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนี้.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการ
ทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
[๑๐๒] ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ เพราะสุขอื่น
ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
ดูกรอานนท์ ข้อที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัส
สัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้นั้นจะเป็นไฉนเล่า ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า
ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมิได้ ดูกรอานนท์ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ท่านควรจะกล่าว
ตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคจะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหา
มิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใดๆ พระตถาคตย่อมบัญญัติที่นั้นๆ ไว้ในสุข.
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ พหุเวทนิยสูตร ที่ ๙.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรูปฌาน
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศ
ไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่ง
มีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วย
ธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่า
นั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ
ดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้น ถ้าไม่บรรลุ จะเป็นโอปปาติกะ
@๑ พระอนาคามี
ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้
ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น
คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์. อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วง
วิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่. เธอพิจารณา
เห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความ
ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น
เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เธอ
รั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่
นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ
นิพพาน ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ
จะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล. ดูกรอานนท์
มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.
ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร ที่ ๔.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยการละรูปฌานและอรูปฌาน
[๑๘๕] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ไม่ควรทำความ
อาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เป็น
ธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย
เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น ดูกรอุทายี
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความ
อาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง
ตติยฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้จตุตถฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลาย
จงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา
ได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้อากาสานัญจายตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสา-
*นัญจายตนฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า
วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราก็กล่าวว่า
ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วย
บริกรรมว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น. แม้อากิญจัญญายตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญ-
*จัญญายตนฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะ
ล่วงอากิญจัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น. แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย
จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดูกร
อุทายี ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น. เรากล่าว
การละกระทั่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยประการฉะนี้แล. ดูกรอุทายี เธอเห็นหรือหนอ
ซึ่งสังโยชน์ละเอียดก็ดี หยาบก็ดีนั้น ที่เรามิได้กล่าวถึงการละนั้น?
ไม่เห็นเลย พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ท่านพระอุทายียินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ ลฑุกิโกปมสูตร ที่ ๖.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง.
ผู้ไม่มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง.
ผู้น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงามอย่างเดียว นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม.
ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์
ข้อที่สี่.
ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญ-
*จายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า.
ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก.
ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด.
ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วเจริญวิโมกข์แปดนั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๑] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญอภิภายตนะ (คือเหตุเครื่องครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึก
และอารมณ์) ๘ ประการ. คือ
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่หนึ่ง.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สอง.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณ
ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สาม.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิวพรรณดี และมี
ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่สี่.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน
มีรัศมีเขียว. ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
ในเมืองพาราณสีมีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
อภิภายตนะข้อที่ห้า.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน
มีรัศมีเหลือง. ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่า
ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน
มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณ
เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน
มีรัศมีแดง. ดอกบานไม่รู้โรยอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
ในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
อภิภายตนะข้อที่เจ็ด.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน
มีรัศมีขาว. ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่า ผ้าที่กำเนิด
ในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
อภิภายตนะข้อที่แปด.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอภิภายตนะ ๘ นั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ
๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อย
ทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณายตนะ ๑๐ นั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่.
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงาน
สรงสนาน ผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสิ
ตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกาย
นี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
[๓๔๔] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบ
เหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลไปมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตก
ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึง
ทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้น
ทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.
[๓๔๕] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะเสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอัน
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัว
หลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำ
หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มแช่ เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มี
เอกเทศไหนๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึง
ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุข
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
[๓๔๖] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่ง
แผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแล้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วเจริญฌานสี่นั้นแล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
[๓๔๗] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอัน
ทำลายกระจัดกระจายเป็นธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.
ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไน
ดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่
ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม
เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกไส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง
มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้นฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่ากายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอัน
ทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่รู้ใน
กายนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้แล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๘] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง
เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชัก
ออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึง
คิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ชักดาบออกจากฝักนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ
งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา
ก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๔๙] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำหายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้. ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนดิน
บนแผ่นดินก็ได้. เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้. ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์
มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือน
ช่างหม้อ หรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำ
ภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด
เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง
เปรียบเหมือนช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณ
ชนิดใด พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่
ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้. ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้. เดินบนน้ำไม่แตก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้. เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้. ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์
ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. ก็เพราะ
สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
บารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๐] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่
ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษ
เป่าสังข์ผู้มีกำลัง จะพึงยังคนให้รู้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยากฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๑] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต
ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าเป็น
สมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่
หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว
เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้
ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต
ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิต
เป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิต
ไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเรา
เป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ
ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ใน
ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน
ภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก
จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไป
บ้านโน้นในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้ว
เรากลับจากบ้านนั้นมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ ดังนี้. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนเรือนสอง
หลังที่มีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ตรงกลางที่เรือนนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปบ้าง
กำลังเดินวนเวียนอยู่บ้างที่เรือน ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่
เราบอกแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๔] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือน
สระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่ง
และหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง
ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบ
ต่างๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้นดังนี้
ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองใน
ปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[๓๕๕] ดูกรอุทายี นี้แลธรรมข้อที่ห้าอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.
ดูกรอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่ ฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. สกุลุทายีปริพาชกยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล.
จบ มหาสกุลุทายิสูตร ที่ ๗.
-----------------------------------------------------

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นั้นได้มีความคิดว่า โทษในรูปฌานทั้งหลาย เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบเรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลายแล้วพึงกระทำ
ให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌานแล้ว พึงเสพโดยมาก ข้อนั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เราเห็น
โทษในรูปฌานทั้งหลาย ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ...
ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ
ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปฌาน
ทั้งหลาย ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะ
วิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้
มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ใน
เพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า โทษในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้ว
พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อ
นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรา
นั้นเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้น
จึงแล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุวิญญาณัญ-
*จายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต
ด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะ
อากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มี
ความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ...
ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็น
ว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน
แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา
เรานั้นเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรา
นั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุอากิญ-
*จัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน
สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่านั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความ
คิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ใน
เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ
ให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ
โดยมาก เหตุนั้น จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตน-
*ฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษ
ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญ-
*ญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป
... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน ... เสพโดยมาก
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ...
เรานั้นแล ... บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเรานั้นอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา เพราะล่วงเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต
นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้า
แลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ
จิตของเราจะพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้น
ในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึง
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญา
เวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง และ
อาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ฯ
ดูกรอานนท์ ก็เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙
ประการนี้ โดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า
ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรอานนท์
ก็เมื่อใดแล เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ โดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตร-
*สัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า
เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๔

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron