วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 16:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2010, 23:57
โพสต์: 6

ชื่อเล่น: นกเอี้ยง
อายุ: 18

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากปฏิบัติธรรมนะค่ะ แต่แถวบ้านไม่ค่อยมีที่ปฏิบัติธรรม อยากจะทราบน่ะค่ะว่าเราจำเป็นมั้ยว่าจะต้องปฏิบัติธรรมเฉพาะที่สำนักปฏิบัติธรรม หรือวัดเท่านั้น หรือเปล่าค่ะ

คือช่วงนี้รู้สึกว่าตัวเองจิตฟุ้งซ่านเหลือเกิน ติดคอม ติดเพื่อน แล้วก็ยังเรียนหนักอีก

อยากจะละสิ่งเหล่านี้บ้าง มีแนวทางไหนมั้ยค่ะ ?

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิ เวสายะ

" สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันบุคคล ไม่ควรยึดติดถือมั่น "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติธรรมที่บ้านตัวเองก้ได้ครับ..... หาเวลาว่างๆมาทำสมาธิ เหมือนหาที่เงียบ
ตามมหาลัยมุมสงบๆไว้อ่านหนังสือเตรียมสอบไฟนอล คล้ายกัน....


จิตฟุ้งซ่าน ก้เพราะไม่มีเวลาทำจิตให้ว่าง อาจเนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายนอกมารบกวน
ทำให้คิดไปต่างๆนาๆ การทำสมาธิให้จิตสงบได้ดีนั้น จะต้องไม่เอาเรื่องที่ผ่านมาแล้ว
มาคิดอีก หรือเรื่องที่ยังไม่เกิดอย่าเพิ่งไปคิด จิตถึงจะสบาย และควรสวดมนต์ไหว้ก่อน
ก่อนจะฝึกสมาธิ เป็นอุบายให้จิตมีที่ยึดเหนี่ยว ก่อนจะเริ่มนับ1 ในการฝึกต่อไป.... :b44:

ฝึกสักวันละ 5-10 นาที ก้ถือว่าใช้ได้ ขอแต่ผู้ฝึกมีความสนใจที่จะทำ และการฝึกอีกอย่าง
ก้คืออ่านหนังสือ ทำงานบ้าน หรืองานส่งอาจารย์ ก็ให้จดจ่อที่งานตัวเองจะคิดจะทำอะไรใช้
สติพินิจพิจารณาช้าๆ อ่านทบทวนหรือคิดเปรียบเทียบว่าสิ่งที่ทำไปถูกต้องหรือยัง เพื่อให้
เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ทำนั้นยิ่งขึ้น ก็เป็นฝึกสมาธิเช่นกันและให้ผลดีเหมือนกัน
:b40:
ฝึกสมาธิมีหลายแบบบางคนฝึกแบบจ้องที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง บางคนฝึกกับอ่านหนังสือนานๆ หรือบางคน
ฝึกกับการนับ1-100 บางคนฝึกกับดูลมหายใจเข้า-ออก บางคนชอบสวดมนต์นานๆ บางคนฝึกโดยนั่งเฉยหายใจลึกๆไม่คิดเรื่องไหนเลย ให้ความคิดนึกถึงแค่เรื่องๆเดียวคือสิ่งที่ตัวเองฝึกอยู่จนกว่าจิตจะเริ่มนิ่งและสงบ.... :b41:

จิตที่นิ่งและสงบ เมื่อฝึกติดๆกัน จะทำให้ผลการเรียนและการทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมา ความใส่ใจและความสนใจในสิ่งที่ หรือในงานหรือการเรียนจะเปลี่ยนแปลงไปในทางดีกว่าเดิมอย่าง
เห็นได้ชัด และสุขภาพจิตกำลังใจก้ดีขึ้นเช่นกัน :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
ปฏิบัติธรรมที่บ้านตัวเองก้ได้ครับ..... หาเวลาว่างๆมาทำสมาธิ เหมือนหาที่เงียบ
ตามมหาลัยมุมสงบๆไว้อ่านหนังสือเตรียมสอบไฟนอล คล้ายกัน....

เห็นด้วยกับคุณอินทรีย์5 ครับ :b8:

เพิ่มเติมครับ
การปฏิบัติธรรม นอกเหนือจากการไม่ทำบาปอกุศล และทำความดีที่เป็นกุศลแล้ว ในส่วนของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั้น พระพุทธเจ้าสรรเสริญการทำสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง

การทำสมถะ ถ้าจะให้ดีคงต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สะดวก สบาย (สัปปายะ) แก่การทำสมถะ ซึ่งอาจจะไม่ต้องไปไหนไกลเหมือนที่คุณอินทรีย์5 แนะนำ

ส่วนการเจริญวิปัสสนา เป็นการเรียนรู้ให้เกิดปัญญาเพื่อจะดับทุกข์ ด้วยการทำตัวเป็นนักสังเกตที่ดีเข้าไปในกายและใจของตน เพื่อให้เห็นความจริง (ไตรลักษณ์) ของชีวิตซึ่งมีการกระทบกระทั่ง และปฏิกิริยาของกายใจที่ตอบสนองต่อการกระทบกระทั่งนั้นอยู่ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้น การเจริญวิปัสสนา จะเป็นการปฏิบัติธรรมที่ทำได้ทุกที่ และ (เกือบจะ) ทุกเวลาที่สามารถรู้กายใจของตนได้ครับ ซึ่งใกล้ตัวยิ่งกว่าในมหาวิทยาลัย หรือในบ้าน เพราะเราแบกกายและใจติดไปอยู่แล้วในทุกที่ ทุกเวลา :b16:

และถ้าจะรู้กายใจของตนได้ดี ต้องหมั่นเจริญสมถะเพื่อให้จิตคุ้นชินกับการจดจ่อต่อเนื่องที่จะรู้อารมณ์เดียวได้ชัด โดยไม่แส่ส่ายไปหาอารมณ์อื่น จนเห็นความจริงเบื้องต้นของชีวิตได้ชัดว่า ทุกสิ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็จะดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งหมายรวมถึงทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนด้วย

แต่ถ้ายังเห็นว่า ปฏิบัติด้วยตนเองยากอยู่ ก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องแสวงหาครูบาอาจารย์และกัลยาณมิตรตามสถานที่ปฏิบัติธรรม หรือตามวัดที่เชื่อถือได้ว่าไม่สอนและปฏิบัติออกนอกพระไตรปิฎก ก่อนที่จะนำมาปฏิบัติเองในชีวิตประจำวัน ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีเหมือนกันครับ

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 06 ส.ค. 2010, 23:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอี้ยง เขียน:
คือช่วงนี้รู้สึกว่าตัวเองจิตฟุ้งซ่านเหลือเกิน ติดคอม ติดเพื่อน แล้วก็ยังเรียนหนักอีก

อยากจะละสิ่งเหล่านี้บ้าง มีแนวทางไหนมั้ยค่ะ ?

อยากจะละสภาวะทุกข์ ต้องไปละ หรือจัดการที่เหตุที่ทำให้เกิดครับ

จิตที่ฟุ้งซ่าน เกิดจากการที่จิตไปปรุงแต่ง คิดมากในเรื่องต่างๆจนเกิดความฟุ้ง ซึ่งเป็นกิเลสตัวหนึ่ง (อุทธัจจะ) ที่จรเข้ามาในจิต การจะกำจัดกิเลสเพื่อให้ใจบริสุทธิ์ หายหงุดหงิดฟุ้งซ่านนั้น ทำได้หลายวิธีครับ

ขอยกตัวอย่างจากเซนแล้วกัน

จิตใจเปรียบเหมือนกระจกใสบานหนึ่งที่มีฝุ่นเข้ามาจับเป็นคราวๆให้หมอง เปรียบฝุ่นได้กับกิเลสคือ โลภ โกรธ หลง (ฟุ้งซ่าน) ที่จรเข้ามาจับเป็นบางครั้งและทำให้จิตใจขุ่นมัว ไม่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งการทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั้น ทำได้ใน 2 ระดับคือ

1) หมั่นเช็ดถูกระจกเนืองๆอย่าให้ฝุ่นจับ คือการดับกิเลสด้วยการทำสมาธิกดข่มให้ใจเป็นสุข (วิขัมภนะ) เช่น โกรธ, เสียใจ, หงุดหงิดเรื่องเรียน ก็อย่าเก็บไปคิดให้ใจหมอง หาที่สงบๆทำสมาธิหรือเข้าวัดให้สบายใจซะก่อน หรือการใช้องค์ธรรมตรงข้าม (ตทังคะ) เช่น หงุดหงิดเพราะร้อนก็เปิดแอร์ โกรธก็แผ่เมตตาให้อภัย เพื่อให้จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน

2) ทำให้ไม่เหลือกระจกให้ฝุ่นจับ คือการดับกิเลสอย่างตัดขาด (สมุจเฉทะ) ด้วยการเจริญสติอย่างถูกต้อง (มรรค 8) จนจิตเกิดปัญญาเห็นว่าไม่มี “เรา” ซึ่งเป็นผู้ทุกข์ จนถึงการหลุดพ้นทางจิตอย่างสิ้นเชิงเพราะไม่ยึดกายใจ (ปฏิปัสสัทธิ + นิสรณะ) จิตใจจะเบา สอาด สว่าง สงบ เป็นสุขเบิกบาน บริสุทธิ์อย่างแท้จริง

ข้อ 2 ปฏิบัติยากหน่อยสำหรับผู้เริ่มต้นนะครับ แต่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้จิตใจบริสุทธิ์และกำจัดสภาวะทุกข์ต่างๆได้อย่างแท้จริง แต่ถ้ายังเห็นว่ายากอยู่ (ซึ่งถ้าปฏิบัติจริงแล้ว ไม่ถึงกับยากอย่างที่คิดนะครับ) ก็พยายามเช็ดกระจกให้ผ่องใสด้วยการทำสมาธิให้จิตใจสงบ ทำกุศลเช่น ทำบุญหรือแผ่เมตตา เพื่อให้จิตใจแช่มชื่นเบิกบานก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วครับ

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การไปวัดหรือสถานปฏิบัติธรรม มีข้อดีในแง่ที่ศีลสะอาด ทำให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย
สถานที่สัปปายะ สงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
อาจลองไปดูว่าจริตเราเหมาะกับการเจริญสติปัฏฐานแบบใด
เพราะปัจจุบันนี้สถานที่ปฏิบัติธรรมมีหลายแนวทาง
กาย เวทนา จิต ธรรม
ระบุเจาะจงไม่ได้ว่าที่ใดดีที่สุด เพราะแต่ละคนจริตไม่เหมือนกัน
ก็ลองดูที่ถูกกับจริตของตัวเองค่ะ
แล้วมาทำต่อที่บ้านก็ได้ สำคัญที่ความต่อเนื่อง
แต่หากมีโอกาส ก็สอบอารมณ์กับครูบาอาจารย์นะคะ
เพราะหากจุดหมายปลายทางของจขกท.ต้องการปัญญาทางโลกุตระ
จะมีเรื่องของวิปัสสนูปกิเลสที่ขอฝากไว้ล่วงหน้า

ผู้รู้กล่าวว่าวิปัสสนูปกิเลสอาจกลายเป็นกับดักอันละเอียดประณีตล่อให้เราติดกับ
ไปไหนต่อไม่ได้ การปฏิบัติธรรมไม่พัฒนา
มีโอกาสหลงทางได้ เพราะอาจดีใจหลงใหล จนไม่เป็นอันปฏิบัติต่อ
หากไม่ได้ครูบาอาจารย์คอยแก้ไข ชี้ทางที่ถูกต้องให้ วิปัสสนาจะเศร้าหมอง
โลกุตรญาณหรือปัญญาเห็นแจ้งทางธรรมจะไม่เกิด ไม่ต่างจากคนที่หลงในกามสุขทางโลก

สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมองมีดังนี้
แสงสว่าง
เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง แสงสว่าง(โอภาส)มักจะเกิดขึ้น
ทำให้รู้สึกเหมือนมีรัศมีออกมาจากตัว เราอาจรู้สึกตื่นเต้น
เกิดอัตตาที่เห็นว่าเราไม่ธรรมดาได้
ผู้ปฏิบัติต้องรู้เท่าทัน ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นกับแสงสว่างนั้น เพราะปัญญาเห็นแจ้งจะไม่เกิด

โลกียอภิญญา
บางคนปฏิบัติไปแล้วอาจเห็นเทวดา สวรรค์ นรก ป่าหิมพานต์ฯลฯ
สามารถไปเห็นนั่น ได้ยินนี่ รู้ใจคนอื่น
จึงอาจเกิดความคิดว่าตัวเองเก่ง แล้วก็ตกเป็นทาส ถูกกิเลสครอบงำโดยไม่รู้ตัว
แม้จะเป็นปัญญาระดับสูง แต่หากเราไปรู้เห็นแล้วหลง เล่นไม่เลิก จะไปไม่ถึงไหน

ปีติ
เมื่อถึงขั้นหนึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องพบกับปีติ ซึ่งอาการไม่เหมือนกันในผู้ปฏิบัติแต่ละคน
เช่น ตัวลอย ขนลุกซาบซ่านฯลฯ ส่วนมากผู้ปฏิบัติมักเกิดความพอใจและติดใจในปีติเหล่านี้

ปัสสัทธิ (ความสงบ)
เมื่อปฏิบัติจนจิตสงบ กายสงบแล้วจะรู้สึกดีมาก จนยึดติดกับความสงบ
ปฏิบัติทีไรจึงติดอยู่ที่ความสงบนี้ทุกครั้ง ในที่สุดจึงไปไม่ถึงไหน
นั่งเกาะติดยินดีอยู่กับความสงบนี้ตัวเดียว

ความสุข
ตัวนี้แก้ยาก เพราะสุขที่เกิดจากการปฏิบัตินั้น เป็นความสุขที่ละเอียดประณีต
ไม่อยากปล่อยไป ไม่อยากไปไหน อยากอยู่กับความสุขเท่านั้น

ศรัทธา วิริยะ สติ
เมื่อปฏิบัติไปถึงขั้นหนึ่งจะเกิดศรัทธาขึ้นอย่างแก่กล้า ทำให้เกิดแรงฮึด วิริยะเกิด ต้องการลุกขึ้นปฏิบัติธรรมโดยไม่คำนึงถึงกาลเวลา ไม่นอน ข้าวไม่กิน น้ำไม่อาบ สติจะตื่นตัวต้องการปฏิบัติอย่างเดียว ในที่สุดร่างกายก็ทนไม่ไหว

อุเบกขา
ในที่นี้หมายถึง วางเฉยมากจนเกินไป รู้เห็นอะไรมากระทบก็ปล่อยวางหมด ไม่นำสิ่งกระทบไปพิจารณาให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โมหะจะเกิดขึ้นในใจ การปฏิบัติจึงไม่ก้าวหน้า

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คือช่วงนี้รู้สึกว่าตัวเองจิตฟุ้งซ่านเหลือเกิน ติดคอม ติดเพื่อน แล้วก็ยังเรียนหนักอีก

อยากจะละสิ่งเหล่านี้บ้าง มีแนวทางไหนมั้ยค่ะ ?


ไม่รู้จะใช้ได้ผลเหมือนกันมั้ยนะคะ
คือถ้าจิตฟุ้งซ่าน นั่งสมาธิหรือเดินจงกรมก็ยังไม่สงบ
ลองสวดมนต์ยาวๆก่อนซักครึ่งชั่วโมงขึ้นไป
จะทำให้ใจจดจ่อกับบทสวด ช่วยได้มากค่ะ

หรืออีกวิธี
คอยรู้สึกตัวเอาไว้
เพื่อให้จิตคุ้นเคยกับการมีสติ รู้สึกตัว
มีหลายวิธีค่ะ
สวดมนต์สั้นๆ
ประโยคแรก จิตจดจ่ออยู่กับบทสวด ก็รู้ ว่ากำลังจดจ่อกับบทสวด
ประโยคที่สอง จิตหนีไปคิดเรื่องอื่น ก็รู้ ว่ากำลังไปคิดเรื่องอื่น
ประโยคที่สาม พยายามดึงจิตกลับมาที่บทสวด ก็รู้ว่ากำลังดึงกลับมาจดจ่อที่บทสวด
เป็นตัวอย่างนะคะ จริงๆ อาจไม่ได้เรียงตามนี้ เพราะจิตบังคับไม่ได้ค่ะ

นั่งดูลมหายใจ
จิตแนบแน่นอยู่กับลมหายใจ ก็รู้
จิตหนีไปคิดเรื่องอื่น ก็รู้
จิตกลับมาจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ก็รู้

ฯลฯ

ส่วนในชีวิตประจำวัน
ก็คอยรู้สึกถึงความมีอยู่และความเคลื่อนไหวของกายกับใจค่ะ
ที่สำคัญคือความต่อเนื่อง
ไม่นาน จิตเราก็จะเคยชินที่จะรู้สึกตัวไปเอง
พอจะเริ่มคิดฟุ้งซ่าน จิตมันก็จะรู้สึกตัว ก็จะไม่ไปคิดปรุงแต่งต่อให้ฟุ้งขึ้นไปอีก

อย่างตอนที่อ่านถึงบรรทัดนี้
ใจเป็นยังไงบ้างคะ
รู้สึกตัว^^

เจริญในธรรมยิ่งๆค่ะ :b8:

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 01:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่แนะนำให้เริ่มทำด้วยตนเองครับ ถ้าหมายถึงการทำสมาธิภาวนา เพราะถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น วิธิการ เป้าหมายและผลของมัน อันตรายมากอยู่เหมือนกัน ถ้าอยากปฏิบัติจริง ต้องเริ่มละกิเลศอย่างหยาบด้วยทาน และศีลก่อน หากัลยาณมิตร หรือครูบาอาจารย์ที่เป็นสายตรงตามพระไตรปิฎก
เป็นผู้แนะนำ อ่านปริยัตรบ้าง เพื่อให้เห็นแนวทาง(เหมือนหาแผนที่) กำหนดเป้าหมายขั้นที่ต้นว่าจะเอาแค่ไหน(ผลจากการปฏิบัติ) แล้วต้องมีการเตรียมตัว เหมือนคนจะเดินป่าต้องเตรียมตัวอย่างไร มีแผนที่ มีเข็มทิศ มีเป้าหมายถึงเริ่มได้ โดยในเบื้องต้นต้องมีคนแนะนำ หลังจากเขาใจในเรื่องต่างพอสมควรแล้วค่อยเริ่มปฎิบัติ อย่ารีบร้อนลัดขั้นตอน การเตรียมตัวกิก็คือจากทาน ศีลเพื่อละกิเลศอย่างหยาบ จิตใจจะได้นิ่งขึ้น การเตรียมตัวอย่างอื่นเช่นเรื่องร่างกาย ระบบหายใจ การพักผ่อนที่พอเพียง ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่โกรธ ไม่หดหู่อยู่ในใจ การนั่งก้นทนได้นานแค่ไหน เข่าข้อเป็นอย่างไร ทานอาหารอิ่มพอดี(อาหารสัปปายะ)อากาศถ่ายเทดี(อากาศสัปปายะ)สถานที่ค่อนข้างสงบที่ไหนก็ได้(สถานที่สัปปายะ)แล้วเริ่มปฏิบัติ แนวทางง่ายๆก็คือการตามรู้ลมหายใจ เข้าก็รู้ ออกก็รู้ตลอดสายไม่บังคับจะภาวนาก็ได้ไม่ภาวนาก็ได้ตามรู้อย่างเดียวอย่าลืมตัวบังคับลมหายใจ เพราะถ้าไปบังคับลมจะเริ่มเครียดและอาจถึงปวดศรีษะ ในทางตรงกันข้ามถ้าตามรู้ลมหายใจไม่ทันระยะหนึ่งจะเริ่มง่วงและก็นอนในที่สุด ตามรู้ลมหายใจไปเรื่อย เมือไรเผลอคิดเรื่องอื่นก็ดึงจิตกลับมา ตัวอย่างเช่นขณะตามลมหายใจเข้าออกอยู่ได้ยินเสียงสุนัขเห่ากรรโชกจิตหลุดจากภาวนาไปคิดว่าสุนัขใครนะเห่าเสียงดังน่ารำคาญจริง อันนี้เรียกจิตเกิดการปรุงแต่ง จิตยังไม่เริ่มเป็นสมาธิ หริอเป็นสมาธิเป็นช่วงๆแล้วหลุดออกจากภาวนาอีกต้องคอยดึงจิตไว้กับลมหายใจ(คือตัววิตกตามภาษาธรรม)เมื่อจิตเคลียคลออยู่กับลมหายใจตลอด(อาการที่จิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจนี้ภาษาธรรมเขาเรียกว่าวิจารย์) ซึงวิตก กับวิจารย์นี้เป็นองค์ประกอบขั้นต้นขององค์ฌาน ในขั้นตอนต้นๆของการทำสมรรถกรรมฐาน ทำไปเรื่อยจนเมื่อไรสุนัขเห่าได้ยินแต่ไม่ปรุงต่อปล่อยให้เกิดสภาวะสักแต่ว่าเห่าอุปไมเหมือนแสงแดดส่องมาโดนกระจกเงาย่อมสะท้อนกลับไปไม่สามรถทะลุเข้าไปถึงจิต ที่กำลังเคลียคลออยู่กับลมหายใจได้ จิตจึงหยุดการปรุงแต่งชั่วคราว อย่างนี้เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นช่วงสั้นๆ ก็เรียกว่าสมาธิเล็กหรือขณิกะสมาธิ เรียกว่าเริ่มได้ผล(ปฏิเวธ)จากการปฏิบัติสมาธิ เอาแค่นี้ก่อน เป็นไง ถอดใจหรือยัง...ดว้ยควมปราณถนาดี/เจโตวิมุติ :b42: :b42: :b42: :b42:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร