วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4 เพราะออกจากฌานแล้วเกือบสองสัปดาห์อารมณ์นิ่งมาก อยากยิ้มก็ยิ้มได้แค่มุมปาก เพราะใจไม่ยิ้มด้วย ไม่มีอารมณ์โศกเศร้าเสียใจ โกรธ
อะไรเลย (สภาวะจิตที่เหนือสุขเหนือทุกข์เหมือนว่านิพพานซะแล้วอะไรประมาณนั้นกระมัง) ทำให้รู้ว่าอุเบกขาแท้จริงมีสภาวะเป็นเช่นไร

ผลของ ฌาน ทำให้ดิฉันมั่นใจว่า
1.กายกับจิตมันแยกกัน ทำให้เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จากที่ไม่แน่ใจ เพราะบางคนว่าตายแล้วสูญ
2.อภิญญา6 มีจริง เพราะฉะนั้นนิพพาน น่าจะมีจริงเช่นกัน
3.อำนาจแห่งฌานสามารถชำระล้างจิตให้บริสุทธิ์ขึ้นได้ ลบล้างอดีตที่แสนเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ความน้อยเนี้อต่ำใจ ที่เคยฝังแน่นในจิตใจออกได้อย่างสิ้นเชิง
4.เชื่อเรื่องภพภูมิ หรือมิติอื่นๆ มีอยู่จริง
5.คำสอนของพระพุทธองค์ล้ำเลิศจริงๆ ทุกคนที่ปฏิบัติตามได้ หมดทุกข์ได้แน่นอน

:b44: ฌาน เป็นเรื่องอจินไตย รู้ได้เฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้
บางคนบอกว่า ฌาน แค่ทับหญ้า วิปัสสนาซิถึงจะของจริง
แต่ดิฉันว่า ฌาน นี่แหละจะส่งเสริมวิปัสสนา ไม่ให้เป็น วิปัสสนึก
เพราะฉะนั้นก็ทำต่อไป ทั้งสมถะ และวิปัสสนานี่แหละ เพราะพระสาวกของพระพุทธองค์
มีผู้กระทำเช่นนี้แล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์มิใช่หรือ จริตใครจริตมัน ความแตกต่างระหว่างบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 18:09
โพสต์: 10

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ ครับ
เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เขาเรียกว่า อุปทานค่ะ
การนั่งมาก นั่งน้อย ไม่ใช่ตัววัดผล ให้ดูสภาวะที่เกิดขึ้น
หากนั่ง แล้วไม่สามารถรู้กายได้ เรียกว่า หลงค่ะ เพราะขาดความรู้สึกตัว
พอหลงสภาวะแล้ว จะเกิดการหลงให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น ว่าเรียกนั่น เรียกนี่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 20:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b44: ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4


ขณะที่กำลังอยู่ในณาน..มีความรู้สึกอย่างไรบ้างครับ..เล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานหน่อยซิครับ..อยากรู้ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
:b44: ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4


อ้างคำพูด:
ขณะที่กำลังอยู่ในณาน..มีความรู้สึกอย่างไรบ้างครับ..เล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานหน่อยซิครับ..อยากรู้


เราก็อยากรู้เหมือนคุณกบฯค่ะช่วยเล่าให้ฟังบ้างน่ะค่ะ :b1:

อ้างคำพูด:
เขาเรียกว่า อุปทานค่ะ
การนั่งมาก นั่งน้อย ไม่ใช่ตัววัดผล ให้ดูสภาวะที่เกิดขึ้น
หากนั่ง แล้วไม่สามารถรู้กายได้ เรียกว่า หลงค่ะ เพราะขาดความรู้สึกตัว
พอหลงสภาวะแล้ว จะเกิดการหลงให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น ว่าเรียกนั่น เรียกนี่


ส่วนข้อความนี้ของคุณน้ำ เราก็สนใจเช่นกันค่ะ
แต่ขอให้คุณน้ำ ช่วยอธิบายแบบกว้างๆอีกได้มั๊ยค่ะ
ขอบคุณค่ะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
อ้างคำพูด:
:b44: ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4


อ้างคำพูด:
ขณะที่กำลังอยู่ในณาน..มีความรู้สึกอย่างไรบ้างครับ..เล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานหน่อยซิครับ..อยากรู้


เราก็อยากรู้เหมือนคุณกบฯค่ะช่วยเล่าให้ฟังบ้างน่ะค่ะ :b1:

อ้างคำพูด:
เขาเรียกว่า อุปทานค่ะ
การนั่งมาก นั่งน้อย ไม่ใช่ตัววัดผล ให้ดูสภาวะที่เกิดขึ้น
หากนั่ง แล้วไม่สามารถรู้กายได้ เรียกว่า หลงค่ะ เพราะขาดความรู้สึกตัว
พอหลงสภาวะแล้ว จะเกิดการหลงให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น ว่าเรียกนั่น เรียกนี่


ส่วนข้อความนี้ของคุณน้ำ เราก็สนใจเช่นกันค่ะ
แต่ขอให้คุณน้ำ ช่วยอธิบายแบบกว้างๆอีกได้มั๊ยค่ะ
ขอบคุณค่ะ :b1:



คุณเต้ cool

การปฏิบัติ ส่วนมากที่เป็นตัวสร้างให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติ แต่ตัวผู้ปฏิบัติจะไม่ค่อยรู้กัน
คือ เมื่อเกิดสภาวะใดๆขึ้นก็ตาม มักจะไปจดจ่อดูแต่สภาวะ ด้วยความอยากรู้
เมื่อเห็นสภาวะนั้นๆแล้ว เกิดความสงสัย แต่ไม่รู้ว่าสงสัย เพราะจากคำบอกว่า



กษมมาตา เขียน:
:b44: สภาวะจิตที่ลอยเด่นดวงเปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้านภากาศนี่ฌานอะไร
มีแต่ตัวผู้รู้ผู้ดู ไม่คิดปรุงแต่งอะไร สักแต่ว่ารู้สักว่าเห็น



เมื่อการให้ค่าหรืออุปทานเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้ขาดสติ สัมปชัญญะ ไปชั่วขณะ
ทำให้ไม่ได้ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น
จึงเป็นเหตุเกิดสภาวะนี้ต่อมา



กษมมาตา เขียน:
:b44: ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4 เพราะออกจากฌานแล้วเกือบสองสัปดาห์อารมณ์นิ่งมาก อยากยิ้มก็ยิ้มได้แค่มุมปาก เพราะใจไม่ยิ้มด้วย ไม่มีอารมณ์โศกเศร้าเสียใจ โกรธ
อะไรเลย (สภาวะจิตที่เหนือสุขเหนือทุกข์เหมือนว่านิพพานซะแล้วอะไรประมาณนั้นกระมัง) ทำให้รู้ว่าอุเบกขาแท้จริงมีสภาวะเป็นเช่นไร

ผลของ ฌาน ทำให้ดิฉันมั่นใจว่า
1.กายกับจิตมันแยกกัน ทำให้เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จากที่ไม่แน่ใจ เพราะบางคนว่าตายแล้วสูญ
2.อภิญญา6 มีจริง เพราะฉะนั้นนิพพาน น่าจะมีจริงเช่นกัน
3.อำนาจแห่งฌานสามารถชำระล้างจิตให้บริสุทธิ์ขึ้นได้ ลบล้างอดีตที่แสนเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ความน้อยเนี้อต่ำใจ ที่เคยฝังแน่นในจิตใจออกได้อย่างสิ้นเชิง
4.เชื่อเรื่องภพภูมิ หรือมิติอื่นๆ มีอยู่จริง
5.คำสอนของพระพุทธองค์ล้ำเลิศจริงๆ ทุกคนที่ปฏิบัติตามได้ หมดทุกข์ได้แน่นอน

:b44: ฌาน เป็นเรื่องอจินไตย รู้ได้เฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้
บางคนบอกว่า ฌาน แค่ทับหญ้า วิปัสสนาซิถึงจะของจริง
แต่ดิฉันว่า ฌาน นี่แหละจะส่งเสริมวิปัสสนา ไม่ให้เป็น วิปัสสนึก
เพราะฉะนั้นก็ทำต่อไป ทั้งสมถะ และวิปัสสนานี่แหละ เพราะพระสาวกของพระพุทธองค์
มีผู้กระทำเช่นนี้แล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์มิใช่หรือ จริตใครจริตมัน ความแตกต่างระหว่างบุคคล





ก็ไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิดอย่างไร ที่จะคิดแบบที่โพสมานี่
เพราะความคิดสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา ตามสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น
อยู่ที่ให้ค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน ให้ค่ามาก ความฟุ้งยิ่งมาก
ไม่ให้ค่า มันก็จะแค่รู้ แล้วเพียรทำความเพียรต่อเนื่อง

เวลาจิตเป็นสมาธิหรือไม่เป้นสมาธิก็ตาม เราควรดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
เพราะยิ่งเราให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นมากเท่าไหร่ ความก้าวหน้าจะเป็นไปได้ยาก
เพราะจะมีแต่ความอยาก อยากให้สภาวะเดิมๆเกิดขึ้น
การปรับอินทรีย์จึงมีความสำคัญมากๆ

หากบคคลมีความศรัทธามาก แต่ปัญญาน้อย ย่อมเป็นคนมีความเลื่อมใสอย่างเซ่อๆคือ
ไม่เลื่อมใสอย่างแน่วแน่ ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่อง

หากบุคคลมีปัญญามาก แต่ศรัทธาน้อย ย่อมแหวกแนวไปสู่ทางฝ่ายเกเร
โอ้อวด เป็นผู้มีอันใครๆ จะแก้ไขไม่ได้

แต่ถ้าศรัทธาเสมอปัญญา บุคคลย่อมเลื่อมใสถูกเรื่องเสมอ

บุคคลใดมีสมาธิมาก แต่วีริยะมีน้อย ความเกียจคร้านย่อมครอบงำเพราะ
สมาธิเป็นฝ่ายของความเกียจคร้าน

บุคคลมีวีริยะมาก แต่สมาธิน้อย อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านย่อมครอบงำ
เพราะวีริยะเป็นฝ่ายของอุทธัจจะ

แต่สมาธิที่ประกอบเข้าวีริยะแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อตกไปในความเกียจคร้าน

วีริยะที่ประกอบเข้ากับสมาธิแล้วก็ไม่ได้เป็นเพื่ออุทธัจจะ

เพราะฉะนั้นจึงจำต้องทำวีริยะกับสมาธิทั้งสองนั้นให้เสมอกัน
เพราะจะสำเร็จอัปปนาสมาธิได้ด้วย วีริยะกับสมาธิที่สม่ำเสมอกัน

สติ จำเป็นในอินทรีย์ทั้ง ๕ ยิ่งสติมีกำลังมากเท่าไหร่ในอินทรีย์ทั้ง ๕ ทุกประการยิ่งดี
เพราะสติย่อมรักษากุศลจิตให้พ้นจากการตกไปในอุทธัจจะ
ด้วยอำนาจแห่ง ศรัทธา วีริยะกับปัญญา


การทำอินทรีย์ให้เสมอกัน

ถ้าศรัทธามากกว่า วีริยะย่อมไม่สามารถทำหน้าที่ คือ การประคอง

สติ ย่อมไม่สามารถทำหน้าที่คือ ปรากฏ

สมาธิ ย่อมไม่สามารถทำหน้าที่คือ ความไม่ฟุ้งซ่าน

ปัญญา ย่อมไม่สามารถทำหน้าที่คือความเห็นแจ้ง

การปรับอินทรีย์ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามสภาวะ
เพราะสภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา

การที่เอาจิตไปจดจ่อกับสิ่งที่ถูกรู้ หรือสภาวะที่เกิดขึ้น
นั่นคือ การส่งจิตออกนอก ย่อมไม่สามารถกลับมารู้ที่กายได้
เมื่อไม่สามารถกลับมารู้ที่กายได้ ปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ย่อมไม่เกิด
สิ่งที่ผู้ปฏิบัติพูดๆมานั้น ล้วนเป็นเพียงความคิดที่เกิดขึ้นต่อสภาวะนั้นเท่านั้นเอง

ที่พูดไปทั้งหมดนี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติโดยสภาวะนะคุณเต้

แต่ถ้าจะพูดในแนวของปริยัติ นั่นอีกเรื่องหนึ่ง
เรื่องกำลังของสมาธิแต่ละระดับ และ สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
ต้องแยกออกมาอีก เหตุที่แต่ละคนทำมาอีก มันต้องประกอบกัน

มีเยอะแยะไป คนที่ได้ฌาน แต่ไม่รู้ว่าตัวเองได้ฌาน
เพราะเป็นฌานที่เกิดในมิจฉาสมาธิ ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ

ขณะที่จิตเป็นสมาธิ
ยิ่งมีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่ในกายและจิตมากเท่าไหร่
การเห็นสภาวะตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 01 ส.ค. 2010, 22:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 01:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b44:
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ
เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย
อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4
(สภาวะจิตที่เหนือสุขเหนือทุกข์เหมือนว่านิพพานซะแล้วอะไรประมาณนั้นกระมัง)
ทำให้รู้ว่าอุเบกขาแท้จริงมีสภาวะเป็นเช่นไร

น่าสนใจ ช่วยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังได้ไหม?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ถ้าสนใจอยากอ่านเข้า รวบเว็บ ที่หน้าหลัก แล้ว เลือกบอร์ดสนทนาธรรม
แล้วเลือก ห้องสนทนาสบายๆสไตล์ธรรมปฏิบัตินะคะ โพสต์ไว้นานแล้ว

ที่มั่นใจว่าเป็น ฌาน เพราะผ่านสภาวะต่าง ๆ ครบถ้วน

ปิติอย่างไร คือ ความอิ่มเอิบใจอย่างมากมายมหาศาล เหมือนได้ทำกุศลมากมายจนบอกไม่ถูก
สุขอย่างไร คือ สุขทุกรูขุมขน ที่สุขบนโลกหาไม่เจอ ประมาณไม่ได้
อุเบกขาอย่างไร คือ ออกจากฌาน แล้วก็มืสภาวะเหมือนที่เล่าให้ฟัง ครั้งแรกที่เจอเพื่อนร่วมงานมักทักทายกันสวัสดี ยิ้มให้กัน แค่พยายามยิ้มให้เขาตอบก็ยังรู้สึกว่าทำได้ยาก

ตั้งแต่นั้นมาสภาวะจิตเปลี่ยนไปมาก ดิฉันเป็นครูนะคะ สอนนักเรียนวัยรุ่น ม.1 - ม.6 ที่โรงเรียนมีนักเรียน 2,000 คน วิชาภาษาอังกฤษ จากที่เคยเป็นคนที่ไม่ได้ดังใจแล้วก็บ่นดุเด็กนักเรียนบ่อยๆ กับเพื่อนก็มีความรู้สึกไม่พอใจบ้าง แต่ปัจจุบันกลายเป็นคนใจเย็น จนนักเรียนบางคนถามว่าอาจารย์โกรธเป็นไหม ไม่เคยเห็นเคยบ่นดุด่าใครเลย ใจเย็นขึ้นมากๆ ค่ะ ไม่ค่อยโกรธใคร ความอยากได้ใคร่มีก็ลดลง คิดว่าเท่าที่มีอยู่นี้ก็พอใจแล้ว เพราะตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้ ลดเวลาจากการทำแต่งาน ๆๆ
หันมาสนใจทางธรรมดีกว่า เพราะเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดค่ะ เคยอธิษฐานจิตขอเข้าสู่กระแสนิพพาน
อย่างน้อยสักชั้นโสดาบันในชาตินี้ค่ะ ใครจะคิดอย่างไรเรื่องเขา ยุ่งกับเรื่องของเราดีกว่า
ทุกคนเกิดมาก็ต่างกัน บางคนได้ชั้นโสดาบัน สกาทาคา มาก่อนแล้ว
บางคนเกิดมาเป็นอนาคามี เป็นพระอรหันต์ในชาตินี้
เขาจะเป็นอะไรก็เรี่องของเขา มันไม่สาคัญสำหรับเรา เราก็เพียรทำของเราไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในมรรคมีองค์ 8 นั้น ท่านให้เจริญทั้งสมถภาวนา (สัมมาสมาธิ) และวิปัสสนาภาวนา (สัมมาสติ + สัมมาทิฏฐิ + สัมมาสังกัปปะ)

สัมมาสมาธิ ท่านอธิบายไว้ว่าคือ ฌาน 1-4 (นับตามพระสูตร)

การมีสัมมาสมาธิ (จิตที่ตั้งมั่น) จะหนุนเสริมการตามระลึกรู้ (สัมมาสติ) ให้ระลึกรู้ตามสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต เช่นกิเลส (อโสภณเจตสิก) ได้ "ชัด" เนื่องจากจิตมีความตั้งมั่นรู้ในอารมณ์เดียว (มรรคให้เจริญ) เช่น ตามรู้ความโกรธที่เกิดขึ้น องค์สัมมาสมาธิจะหนุนให้จิตตามรู้ "สภาวะ" ของความโกรธได้ชัด (ทุกข์ให้รู้) โดยไม่วกไปดู "เหตุ" ของความโกรธ (สมุทัยให้ละ) จากนั้น "สภาวะ" ของความโกรธจะแสดงลักษณะสามัญคือความดับออกมาให้เห็น จิตจะมีอาการตั่งมั่นและเบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ครับ

ดังนั้น ถ้าปฏิบัติจนได้ฌานและใช้ในทางที่ถูก ตัวองค์ฌานจะหนุนเสริมวิปัสสนาทำให้ก้าวหน้าได้เร็วขึ้นครับ เพราะในขณะที่เจริญสติปัฏฐานนั้น องค์สัมมาสมาธิจะหนุนให้จิตนิ่งเป็นผู้รู้ผู้ดูที่ตัว “สภาวะ” ของฐานต่างๆ เช่นกิเลสในจิตได้ชัด โดยไม่ (1) ทวนเข้าไปดูที่เหตุซึ่งทำให้เกิดกิเลส และ (2) ไม่ไปแทรกแซงตัวสภาวะของกิเลสที่กำลังเกิดขึ้น

ซึ่งในขั้นตอนนั้นจะเป็นการใช้จิตที่ตั้งมั่น (a) “รู้ตามหลัง” ในจิตดวงก่อนหน้าที่หลงตามกิเลสไปแล้ว และ (b) “รู้ชัด” เฉพาะสภาวะของกิเลสนั้นโดยไม่ไปรู้ในข้อ 1&2 ข้างต้น จนกระทั่ง (c) “รู้เท่าทัน” ในลักษณะสามัญของกิเลส คือ ไม่เที่ยง (อนิจจัง) โดนบีบคั้น (ทุกขัง) และบังคับไม่ได้ หมดเหตุก็จะดับให้เห็นเอง (อนัตตา) เมื่อเห็นสามัญลักษณะได้ชัดและบ่อยเข้า จิตจะเกิดปัญญายอมรับสภาวะธรรมชาตินี้ได้เองจนกิเลสเบาบางลง (จรเข้ามาในจิตได้สั้นลง + จรเข้ามาน้อยครั้งลงเพราะมีปัญญารู้เท่าทันในการเกิดดับ) จนสุดท้าย (แต่ยังไม่ท้ายสุด) กิเลสเข้ามาจับในจิตไม่ได้ทีละตัวๆ จนกระทั่ง 5 ตัวสุดท้าย (สังโยชน์เบื้องสูง) ที่จะต้องปฏิบัติในขั้นละเอียด ไม่ใช่เพื่อไม่ให้กิเลสเข้ามาจับในจิต แต่ไม่ให้เหลือจิตให้กิเลสจับโดยหมดความยึดมั่นในจิตเพราะจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งว่าจิตนั้นไม่เที่ยง (อนิจจัง) หรือเป็นตัวทุกข์ (ทุกขัง) หรือบังคับไม่ได้ (อนัตตา) ในมุมใดมุมหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2010, 20:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่เพื่อไม่ให้กิเลสเข้ามาจับในจิต แต่ไม่ให้เหลือจิตให้กิเลสจับโดยหมดความยึดมั่นในจิตเพราะจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งว่าจิตนั้นไม่เที่ยง (อนิจจัง) หรือเป็นตัวทุกข์ (ทุกขัง) หรือบังคับไม่ได้ (อนัตตา) ในมุมใดมุมหนึ่ง


สาธุ.. :b8:

แต่ก็อีกนั้นแหละ..

เพราะจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งว่า..จิตนั้นไม่เที่ยง

แล้วอะไรนะ..ที่ไปรู้ไปเห็นว่า..มันไม่เที่ยง

ของไม่เที่ยง..เห็น..ของไม่เที่ยง..แล้วมันจะได้เรื่องได้ราวพอจะให้เชื่อถือความรู้นั้นได้หรือ...รู้แจ้งนะ.. :b10: :b10: :b9: :b9:
(นี้ก็ไม่รู้อะไรทำให้คิด..ออกมาอย่างนี้ก็ไม่รู้..สมอง..จิต..กิเลส..หรืออวิชชา..???) :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


walaiporn เขียน:
การที่เอาจิตไปจดจ่อกับสิ่งที่ถูกรู้ หรือสภาวะที่เกิดขึ้น
นั่นคือ การส่งจิตออกนอก ย่อมไม่สามารถกลับมารู้ที่กายได้
เมื่อไม่สามารถกลับมารู้ที่กายได้ ปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ย่อมไม่เกิด
สิ่งที่ผู้ปฏิบัติพูดๆมานั้น ล้วนเป็นเพียงความคิดที่เกิดขึ้นต่อสภาวะนั้นเท่านั้นเอง


รบกวน อ.น้ำ อธิบายตรงนี้หน่อยนะค่ะ
ไม่ค่อยเข้าใจ อย่างไรถึงเรียกว่าจดจ่อกับสิ่งที่ถูกรู้?
และการส่งจิตออกนอกเป็นอย่างไร?

อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
.ควรทำอย่างไรดี ไม่เอาฌาน ทำแต่วิปัสสนาดีไหม

ถ้าเป็นฌานจริงก็ไม่เห็นจะต้องกลัวเลยนี่ครับ ก็จะช่วยส่งเสริมวิปัสสนาให้จำเริญได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่น่าเป็นห่วงกลัวจะเป็นอุปทานนะครับ
ทดสอบได้ครับ อยู่บ้านก็ลองเปิดแอร์ให้เย็นจัดให้รู้สึกหนาวแล้วลองเข้า ฌาน ของท่านดู ถ้า ปิติ สุข และพวก ยังเกิดอยู่ก็อาจเป็นไปได้ครับ (ห้ามเข้าภวังค์หนีด้วยนะครับ) แต่ถ้าที่บ้านยังไม่ได้ติดแอร์ไดกิ้นอินเวอร์เตอร์ กลางคืนหัวค่ำก็ออกไประเบียงบ้าน ลองนั่งซัก 1 ชม ถ้าเป็นฌาณจริง ยุงมันก็ไม่มายุ่งครับ ถ้าเป็นฌาณปลอมพอยุงกัดซัก 2-3 ตัว เดี๋ยวก็ทนไม่ไหว หนีเข้าบ้านเองละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ของไม่เที่ยง..เห็น..ของไม่เที่ยง..แล้วมันจะได้เรื่องได้ราวพอจะให้เชื่อถือความรู้นั้นได้หรือ...รู้แจ้งนะ.. :b10: :b10: :b9: :b9:
(นี้ก็ไม่รู้อะไรทำให้คิด..ออกมาอย่างนี้ก็ไม่รู้..สมอง..จิต..กิเลส..หรืออวิชชา..???) :b12: :b12:

แหม ! สงสัยได้ลึกซึ้งจัง คุณกบฯ ปกติผมก็เป็นสมถยานิกซึ่งชอบความสุขสงบ (ตัณหาจริต) มากกว่าชอบคิดหาเหตุผล (ทิฏฐิจริต) น่ะครับ :b12: แต่ถ้าจะลองใช้เหตุผล (ซึ่งมันคงพอจะกล้อมแกล้มได้บ้างกระมัง ?) ... :b5:

คงเป็นเรื่องที่น่าจะรู้แจ้งได้ด้วยตัวเอง (ปัจจัตตัง) ว่าเป็นเรื่องเป็นราวที่จะเชื่อได้สนิทใจเพราะประสบและรู้แจ้งได้ด้วยจิตเอง ในสภาวะความไม่เที่ยงของตัวเองแล้วปล่อยวางการยึดถือ (อุปปาทานในขันธ์ คือจิต) ว่าจิตเป็นเราลงได้

คงเหมือนกับคนเบิกบาน เห็นความเบิกบานในตัวเอง ก็คงเป็นเรื่องเป็นราวและเป็นความรู้ที่ให้เชื่อถือด้วยตนเองได้ว่า ตัวเองเบิกบานกระมังครับ คนอื่นจะมามีความรู้ของอาการนั้นๆไม่ได้เลย เพราะเจ้าตัวจะรู้และเชื่อถือของเขาเอง :b16:

อีกประการคือ สิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญญาในการสร้างความรู้แจ้ง โดยเฉพาะจิต ดังนั้น ของไม่เที่ยง เห็นของไม่เที่ยง และมีปัญญาปล่อยวางของที่ไม่เที่ยงนั้นว่าไม่ใช่ตัวตนเราเขา เป็นเพียงแค่ธรรมชาติอย่างหนึ่งเหมือนธรรมชาติทั่วๆไป ก็คงพอจะได้เรื่องได้ราวพอจะให้เชื่อถือความรู้ (แจ้ง) ที่รู้ได้ด้วยตนเอง … กระมังครับ :b12:

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พักนี้ฝนตกบ่อยๆ ยุงชุกชุมตากยุงๆกัดระวังเป็นไข้เลือดออกด้วยนะครับ :b1:

หากจะพิสูจน์ เห็นตัวอย่างที่นี่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... sg63#msg63

ทำที่ห้องนอนตนเองดีแล้ว ปิดประตูล๊อกกุญแจให้เรียบร้อย ใช้กรรมฐานอะไรก็ตามดูรู้ทันไป...จิตใจรับรู้

อยู่กับกรรมฐานนั้น ไม่ได้ยินแม้สิ่งสรรพสิ่งภายนอกทั้งคืนเท่านี้ก็พอเป็นเครื่องพิสูจน์ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ส.ค. 2010, 19:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:

อีกประการคือ สิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญญาในการสร้างความรู้แจ้ง โดยเฉพาะจิต ดังนั้น ของไม่เที่ยง เห็นของไม่เที่ยง และมีปัญญาปล่อยวางของที่ไม่เที่ยงนั้นว่าไม่ใช่ตัวตนเราเขา เป็นเพียงแค่ธรรมชาติอย่างหนึ่งเหมือนธรรมชาติทั่วๆไป ก็คงพอจะได้เรื่องได้ราวพอจะให้เชื่อถือความรู้ (แจ้ง) ที่รู้ได้ด้วยตนเอง … กระมังครับ :b12:

เจริญในธรรมครับ


สาธุ..ที่ตอบครับ :b8: :b8:

เอาสรุปง่าย ๆ ก็แล้วกันนะ..ว่า..

ไม่เห็นขันธ์ 5 เป็นเรา..ไม่เห็นเราเป็นขันธ์ 5 ..ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา..เราไม่มีในขันธ์ 5 ..รูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..นี้ไม่ใช่เรา

อย่างนี้ใช่ไหมครับ?? :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร