วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 06:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ATT00004.gif
ATT00004.gif [ 66.78 KiB | เปิดดู 7011 ครั้ง ]
ความเลื่อมใสศรัทธาต่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ถ้าใช้ให้ถูกต้อง คือ เป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยให้ก้าวหน้า
ต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีข้อเสียเพราะมักจะกลายเป็นความติดใน
บุคคลและกลายเป็นอุปสรรคบั่นทอนความก้าวหน้า
ต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อดีของศรัทธาปสาทะเช่น “อริยสาวกผู้ใดเลื่อมใสอย่างยิ่งแน่วแน่ถึงที่สุดในตถาคต อริยสาวกนั้น

จะไม่สงสัยหรือแคลงใจตถาคตหรือศาสนา (คำสอน) ของตถาคต แท้จริงสำหรับอริยสาวกผู้มีศรัทธา

เป็นอันหวังสิ่งนี้ได้ คือ เขาจักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เพื่อกำจัดอกุศลทั้งหลาย และบำเพ็ญกุศล

ธรรมทั้งหลายให้พร้อมบูรณ์ จักเป็นผู้มีเรี่ยวแรง บากบั่นอย่างมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม

ทั้งหลาย”

(สํ.ม.19/1011/291)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อเสียก็ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อเสีย 5 อย่างในความเลื่อมใสบุคคลมีดังนี้ คือ

1.บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดว่า บุคคลผู้

เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว...

2. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์บังคับให้นั่ง ณ ท้ายสุดสงฆ์เสีย

แล้ว...

3. ...บุคคลนั้น ออกเดินทางไปเสียที่อื่น...

4. ...บุคคลนั้น ลาสิกขาเสีย...

5. ...บุคคลนั้น ตายเสีย...

เขาย่อมไม่คบหาภิกษุอื่นๆ เมื่อไม่คบหาภิกษุอื่นๆ ก็ย่อมไม่ได้สดับสัทธรรม เมื่อไม่ได้สดับสัทธรรม

ก็ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม”

(องฺ.ปญฺจก.22/250/300)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อความเลื่อมใสกลายเป็นความรัก ข้อเสียในการที่ความลำเอียงจะมาปิดบังการใช้ปัญญาก็เกิดขึ้น

อีก เช่น

“ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง 4 ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้ คือ ความรักเกิดจากความรัก โทสะเกิดจากความรัก

ความรักเกิดจากโทสะ โทสะเกิดจากโทสะ

“ ฯลฯ โทสะเกิดจากความรักอย่างไร ? บุคลที่ตนปรารถนา รักใคร่ พอใจ ถูกคนอื่นประพฤติต่อด้วย

อาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ ดังนี้ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น ฯลฯ”

(องฺ.ปญฺจก.21/200/290)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




8DA1E_IMG_2132.jpg
8DA1E_IMG_2132.jpg [ 188.73 KiB | เปิดดู 6989 ครั้ง ]
:b42: :b42: :b41: :b41: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับคนสามัญทั่วไป ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้นที่สำคัญยิ่ง เป็นอุปกรณ์ชักนำให้เดินหน้าต่อไป

เมื่อใช้ถูกต้องจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี
ทำให้การก้าวหน้าไปสู่จุดหมายได้ผลรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้

จึงปรากฏว่าบางคราวผู้มีปัญญามากกว่า แต่ขาดความเชื่อมั่น กลับประสบความสำเร็จช้ากว่าผู้มีปัญญา

น้อยกว่าแต่มีศรัทธาแรงกล้า * ในกรณีที่ศรัทธานั้นไปตรงกับสิ่งที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นการทุ่นแรง

ทุ่นเวลาไปในตัว แต่ตรงข้าม ถ้าศรัทธาเกิดในสิ่งที่ผิดก็เป็นการทำให้เขว ยิ่งหลงชักช้าหน้กขึ้นไปอีก

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* เช่น กรณีพระสารีบุตร ซึ่งบรรลุธรรมช้ากว่าพระสาวกอื่นหลายท่าน ทั้งที่เป็นผู้มีปัญญามาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การขาดศรัทธาเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ชะงัก ไม่ก้าวหน้าต่อไปในทิศทางที่ต้องการ

ดังพุทธพจน์ว่า


“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปในรูปหนึ่งยังสลัดทิ้งตอในใจ 5 อย่างไม่ได้ ยังถอนสิ่งผูกรัดใจ 5 อย่าง

ไม่ได้ ข้อที่ว่าภิกษุนั้นจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้”

“ตอในใจที่ภิกษุนั้นยังสลัดทิ้งไม่ได้ คือ

1. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระศาสดา...

2. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระธรรม...

3. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระสงฆ์...

4. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสิกขา...

5. ภิกษุโกรธเคือง น้อยใจ มีจิตกระทบกระทั่ง เกิดความกระด้างเหมือนเป็นตอเกิดขึ้นในเพื่อน

พรหมจรรย์...

จิตของภิกษุผู้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระศาสดา...ในธรรม...ใน

สงฆ์...ในสิกขา...โกรธเคือง ฯลฯ ในเพื่อนพรหมจรรย์ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความหมั่น

ฝึกฝนอบรม เพื่อความพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อการลงมือทำความพยายาม ภิกษุมีจิตที่ยังไม่น้อม

ไปเพื่อความเพียร...ชื่อว่ามีตอในใจ ซึ่งยังสลัดทิ้งไม่ได้”

(ที.ปา.11/296/250 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




200px-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B22.jpg
200px-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B22.jpg [ 12.45 KiB | เปิดดู 7312 ครั้ง ]
โดยนัยนี้ การขาดศรัทธา มีความสงสัย แคลงใจ ไม่เชื่อมั่น จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนา

ปัญญาและการก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย สิ่งที่ต้องทำในกรณีนี้ก็ คือ ต้องปลูกศรัทธา และกำจัดความ

สงสัย แคลงใจ แต่การปลูกศรัทธาในที่นี้ มิได้หมายถึงการยอมรับ และ มอบความไว้วางใจให้โดย

ไม่เคารพในคุณค่าแห่งปัญญาของตน
แต่หมายถึงการคิดพิสูจน์ทดสอบด้วยปัญญาของตนให้เห็น

เหตุผลชัดเจน จนมั่นใจ หมดความลังเลสงสัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่าน กรัชกาย
ศรัทธา..เชื่อมั่น..เลื่อมใส แต่ไม่งมงาย
:b8: เจริญในธรรม

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 23:20
โพสต์: 70

ชื่อเล่น: pmam
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่มีศรัทธา..เป็นเรื่องที่ดี..หากแต่ว่าต้องมีสติ...ไปพร้อมกันด้วย...ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ทำดีเสมอ... :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: ผู้ที่เคารพศรัทธาสูงสุด คือ พระพุทธองค์ จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการปฏิบัติธรรม

ส่วนพระอาจารย์ท่านต่างๆ คือ ผู้นำธรรมมะของพระพุทธองค์มาแนะนำ จึงไม่ยึดติดกับพระอาจารย์รูปใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 22:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ยึดติดอาจารย์...ปุถุชนแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้..แค่พระเครื่องรูปเหรียญ์แทนท่าน..เป็นหมื่นเป็นแสนก็สู้..ประสาอะไรที่มาว่าอาจารย์ที่เราหราบไหว้หนอ

ก็ตราบใดที่ยังคิดเสมอว่า..นี้ตัวเรา..นี้เมียเรา..ลูกเรา..รถเรา..บ้านเรา..อาจารย์เรา..นี้ของ ๆ เรา
ตราบนั้น..ตัณหาไม่เกิดจากผัสสะ..ไม่มี

แม้ตัณหาจักเกิดแล้ว...ขอเพียงมีสติ..ระลึกถึงคำสอนขององค์พระสัมมาฯ..เชื่อว่า..จะบรรเทาเบาบางความทุกข์ลงได้..

..หายใจเข้า..หายใจออก..ลึก ๆ ..
..ความจริงชีวิตนี้เรามีเพียงลมหายใจเข้าออกนี้..เท่านั้น
:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การปลูกศรัทธาในที่นี้ มิได้หมายถึงการยอมรับ และ มอบความไว้วางใจให้โดยไม่เคารพในคุณค่าแห่งปัญญาของตน
แต่หมายถึงการคิดพิสูจน์ทดสอบด้วยปัญญาของตนให้เห็นเหตุผลชัดเจน จนมั่นใจ หมดความลังเลสงสัย
สาธุอนุโมทามิครับ :b8:

ท่านถึงให้บ่มเพาะอินทรีย์ ๕ ให้แก่กล้าและเสมอกันเป็นคู่ๆเพื่อ balance กัน คือศรัทธาเสมอปัญญา, วิริยะเสมอสมาธิ โดยมีกำลังของสติเป็นแกนกลาง

ศรัทธามากไป ก็งมงาย (เป็นวิปัสนูปกิเลสด้วยครับ ในข้อ อธิโมกข์)
ปัญญามากไป ก็คิดฟุ้งซ่าน (จินตามยปัญญา) จนละเลยการปฏิบัติ (ภาวนามยปัญญา) หรืออาจเกิดความเข้าใจที่ผิด (วิปัสสนูฯ ข้อ (มิจฉา) ญาณ)
วิริยะมากไป ก็เคร่งเครียด เป็นอัตตกิลมถานุโยค (วิปัสสนูฯ ข้อ ปัคคาหะ)
สมาธิมากเกินไป ก็เฉื่อยชา ติดสุข (วิปัสสนูฯ ข้อ โอภาส, ปีติ, ปัสสัทธิ, สุข, อุเบกขา, นิกันติ)
(ปล.แต่ถ้าสติมากเกินไป ขาดสัมปชัญญะ ก็จะเป็นการเพ่งจ้อง ซึ่งคือสมาธิตัวหนึ่ง และเป็นวิปัสสนูฯ ข้อ อุปัฏฐานะ)

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 16 ส.ค. 2010, 00:26, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทุกสิ่งทุกอย่าง มากไป หรือน้อยไป
ย่อมเสียมากกว่าดี.....แล้วใครเคยนึกถึงความศรัทธา
ในตัวเองบ้างหรือเปล่า ว่าควรมีหรือไม่? :b1:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อไม่รู้จึงกลัว
เมื่อกลัวจึงหาทางป้องกันความกลัว
เมื่อแสวงหาทางจึงมีผิดทางบ้างถูกทางบ้าง
ต่อเมื่อถูกทางจึงเดินทานต่อ
เมื่อเดินทางต่อจึงเข้าใกล้
เมื่อเข้าไกล้จึงได้ยิน
เมื่อได้ยินจึงเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจ
เมื่อตั้งใจฟัง จึงพิจารณา
เมื่อพิจารณาจึงเข้าใจ
เมื่อเข้าใจ จึงลงมือทำ
เมื่อลงมือทำจึงเห็นผล ตามคำสอน
เมื่อเห็นผลจึงศรัทธา
เมื่อศรัทธาจึงมุ่งลงมือทำให้ถึงที่สุดแห่งคำสอน
ยิ่งลงมือทำยิ่งเห็นจริง ยิ่งเห็นจริงศรัทธายิ่งมั่นคง


เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ทุก ๆ ท่าน

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร