วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๔๘๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูป โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป โดยเหตุปัจจัย


อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยสัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยเหตุปัจจัย

ประโยคนี้ การกระทำกิจของพระอรหันต์ สำเร็จด้วยอัพยากตจิต ย่อมทำให้รูปอันเป็นอัพยากต (เพราะรูปทั้งหลายเป็นผล คืออัพยากต)โดยเหตุปัจจัย .... เข้าใจซะใหม่ตามนี้นะธรรมภูต

ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป โดยเหตุปัจจัย

ในปฎิสนธิขณะ ของปุถุชนผู้มีจิตเป็นอกุศลวิบาก(อัพยากตจิตอันเป็นอกุศลวิบาก) หรือ กุศลวิบากจิต(อัพยากตจิตอันเป็นกุศลวิบาก)ก็ตาม หรือพระอริยะเสขะบุคคลไม่เกี่ยวกับพระอรหันต์ มีจิตเป็นโลกกุตตรกุศลวิบาก(อัพยากตจิตอันเป็นโลกุตตรกุศลวิบาก) เหตุทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบากในขณะนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่สัปมยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป โดยเหตุปัจจัย

เช่นนั้น เขียน:
(สำหรับหัวข้อนี้ ธรรมภูตต้องศึกษาให้ดีนะ จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป)


ชัดๆนะเช่นนั้น
เอาพระพุทธพจน์ไปเทียบดูเอาเองว่า ขัดกับพระพุทธพจน์มั้ย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริดังนี้ว่า
ธรรมที่เราได้บรรลุนี้แล ลึก เห็นได้โดยยาก รู้ตามได้โดยยาก
เป็นธรรมสงบ ประณีต อันความตรึกหยั่งไม่ถึง ละเอียด
รู้ได้แต่บัณฑิต ส่วนประชาชนนี้ เป็นผู้ยินดี เพลิดเพลินใจในอาลัย
เป็นผู้เห็นปฏิจจสมุปบาทที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ได้โดยยาก
และเห็นได้โดยยาก ซึ่งธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา

^
^
ชัดๆนะเช่นนั้น
พระพุทธพจน์ชัดเจนที่สุดว่า "ซึ่งธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง"
เป็นธรรมที่สังขารทั้งปวงปรุงแต่งไม่ได้อีก สลัดอุปธิทั้งปวง อะไรก็มาชักจูงไม่ได้ใช่มั้ย

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


*เช่นนั้นลองเทียบกับอัพยากฤตธรรมที่เช่นนั้นชอบอ้างว่าต่างกันมั้ย

ธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา


[๓๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ


[๔๘๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น
แม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์
มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

^
^
ชัดๆนะ เช่นนั้น
การศึกษาธรรมควรหัดรู้จักเปรียบเทียบกับพระธรรมและวินัยดูบ้างนะ จะได้ไม่มืดบอดและหลงทาง
ที่เช่นนั้นเคยยกมาก็บอกชัดเจนอยู่แล้วว่า อัพยากฤตธรรมหรืออัพยากฤตจิตนั้น
เมื่อถูกอารมณ์มาสัมปยุต ด้วยอารมณ์รูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ ธรรมมารมณ์
ยังถูกชักจูงให้เกิดสังขารขันธ์ขึ้นมาได้ทุกเมื่อ

ธรรมแบบนี้ เช่นนั้นยังจะเอาไปคู่กับอรหันตผลจิตอีกหรือ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(มหาตัณหาสังขยสูตร)

เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นสุขก็ดี(กุศล) เป็นทุกข์ก็ดี(อกุศล) ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี(อัพยากฤต)
ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น

เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่
ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป
เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ อย่างนี้
.
^
^
ชัดๆนะเช่นนั้น นี่ก็อีกพระสูตรที่ชัดเจนว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ไม่เกี่ยวข้องกับ อัพยากตธรรมเลย

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คงต้องเลิกสนทนากันแล้วล่ะธรรมภูต
ตามสบายนะ .... ธรรมภูต

ชัดๆนะเช่นนั้น

ไม่แปลกใจเลยหนะว่า เช่นนั้นเป็นคนมีทิฐิเช่นนี้เอง
เมื่อหาเหตุผลมากล่าวแย้งไม่ได้ ก็ตามสบายนะ....เช่นนั้น

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ในพระสูตรตรงไหน ที่บอกว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ดำรงอยู่ด้วยอัพยากฤตจิต

พระสูตร แสดงด้วยพยัญชนะและอรรถะอันลึกซึ้ง เหมาะสำหรับผู้มีปัญญามาก
พระอภิธรรม แสดงด้วยพยัญชนะและอรรถที่เป็นบัญญัติต่างๆ มีหัวข้อและรายละเอียด ไม่มีตัวอย่างบุคคลและเรื่องราวประกอบ เหมาะสำหรับสอนผู้มีปัญญาน้อย

ทั้งการศึกษา พระสูตรและพระอภิธรรม สำหรับบุคคลผู้มีปัญญาน้อยกว่านั้นอีกก็ต้องมีครูบาอาจารย์ที่แตกฉานในปฏิสัมภิทา 4 กำกับดูแลอธิบาย ด้วยความเชื่อมโยงกัน ด้วยบัญญัติต่างๆกัน ด้วยอุปมาอุปมัยบ้างตามแต่สติปัญญาของผู้เล่าเรียน

ธรรมภูต น่าจะเล่าเรียนให้ดี อย่าเรียนตามทิฏฐิของตน

ชัดๆนะ เช่นนั้น

อาณิสูตร ....(เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม)

[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก
เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก
เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่
พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

^
^
มีตรงไหนในพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงยกย่อง อัพยากฤตธรรมหรืออัพยากฤตจิตบ้างนะ
อย่าคิดเองเออเองสิ พระสูตรตอบไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า
"เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม"
ไม่ใช่อัพยากฤตธรรมอย่างที่เช่นนั้นเข้าใจเอาเองหนะ

พระพุทธองค์ทรงสอนใบไม้กำมือเดียวเท่านั้น ที่เป็นสาระสำคัญที่นำไปปฏิบัติตาม เพื่อความพ้นทุกข์ได้
พระองค์ทรงยกย่อง อมตะธรรม โลกุตตรธรรม วิราคะธรรม สุญญตวิหารธรรม นิโรธธรรมฯ
แต่ไม่ใช่อัพยากฤตธรรมหรืออัพยากฤตจิตอย่างที่เช่นนั้น คิดเองเออเองขึ้นมาแน่นอน

เช่นนั้น....จงฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา

เช่นนั้น....เล่าเรียนธรรม อย่าเล่าเรียนตามทิฏฐิ โดยทษฎีเท่านั้น
ให้พินิจตามพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว และลงมือปฏิบัติตามจึงจะได้ ดังนี้

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชัดๆนะ เช่นนั้น

เมื่อมีผู้มาตักเตือนด้วยดี เธอจงฟังด้วยดี อย่าเพิ่งเชื่อ จงสมาทานน้อมนำมาปฏิบัติดู
เมื่อผลออกมาดี ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้เกิดขึ้น ผู้รู้ไม่ติเตียน
จงสมาทานต่อไป เพราะเป็นธรรมที่พระบรมศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว

ถ้าสมาทานแล้วไม่ใช่ จงทิ้งไปเสีย อย่าเสียเวลากับสิ่งที่ขาดเหตุผลอยู่อีกเลยนะ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
การกระทำของพระอรหันต์เป็นเพียงกิริยาทางกายที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ไม่มีกิริยาทางจิตอีกแล้ว


เช่นนั้น เขียน:
อร..หัน แบบ ธรรมภูต

ชัดๆนะ เช่นนั้น

ไม่ว่าท่านพระอรหันต์แบบไหน
ล้วนเหลือแต่วิบากกายเท่านั้น มีพระพุทธพจน์ชัดเจนนะเช่นนั้น

จูฬสุญญตสูตร
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัยกามาสวะ
ชนิดที่อาศัยภวาสวะ และชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ

มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย


เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ

และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย

^
^
พระสูตรกล่าวไว้ชัดเจนดีแล้ว หรือเช่นนั้น ยังจะกล่าวตู่พระพุทธพจน์ไม่หนำใจอีก
รู้ชัดว่าไม่ว่างอยู่ก็คือยังมีความกระวนกระวายอาศัยกายนี้เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัยใช่มั้ย เช่นนั้น???
จิตของท่านพระอรหันต์ว่างแล้ว(เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย)จาก
กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ยังจะให้ท่านพระอรหันต์มีกิริยาจิตอีกหรือ เช่นนั้น???...

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมคำสอน
พระธรรมเทศนา ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
หลวงปู่ให้ธรรมโอวาทแก่พุทธศาสนิกชนมากมาย เช่น

13. การภาวนา คือ การอบรมจิตใจให้มีความสงบ เป็นการชำระจิตใจให้สงบจากอารมณ์ต่าง ๆ ยิ่งเป็นการละเอียดไปกว่าการรักษาศีลอีก จิตของเราถ้ายังไม่สงบตราบใดแล้ว มันก็จะต้องยุ่งวุ่นวายอยู่ตราบนั้น เมื่อมาฝึกหัดภาวนา เห็นโทษเห็นภัย ของความยุ่ง ความไม่สงบด้วยตนเองแล้ว เราก็จะพยายามทุกวิถีทางที่จะละความไม่สงบ เมื่อสิ่งใดที่ละได้แล้ว อารมณ์ใดที่วางได้แล้ว เราก็จะต้องรักษาไม่ให้สิ่งนั้น มันเกิดขึ้นมาอีก ไม่ใช่ว่าเราละได้แล้ว ก็แล้วไปเลย ไม่ต้องคำนึงถึงมันอีก อย่างนั้นไม่ถูกต้อง เพราะมันอาจสามารถที่จะฟื้นฟู ขึ้นมาใหม่อีก ถ้ามันเกิดมาทีหลังจะยิ่งร้ายกว่าเก่า (ธรรมเทศนาเรื่อง มาร)

22. นักฝึกหัดจิตทำสมาธิให้แน่วแน่ เป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว จะมองเห็นกิเลสในจิตของตนเอง ทุกกาลทุกเวลาว่า มีกิเลสหยาบและละเอียดหนาบางขนาดไหนเกิดขึ้นที่จิต เกิดจากเหตุอะไร และจะต้องชำระด้วยวิธีอย่างไร จิตจึงบริสุทธิ์ผ่องใส ค้นหากิเลสของตนเองอยู่ทุกเมื่อ กิเลสจะหมดสิ้นไป (ของดีมีในศาสนาพุทธ)

23. การฝึกหัดสมาธิภาวนา คือ การตั้งสติอันเดียว ให้รู้ตัวอยู่เสมอ มันคิดมันนึกอะไร ก็ให้รู้ตัวอยู่เสมอ ยิ่งรู้ตัวชัดเจนเข้ามันยิ่งเป็น เอกัคคตารมณ์ นั่นแหละตัวสมาธิ (อนุสสติ ๑๐)

24. รู้สิ่งอื่นไม่สามารถจะชำระจิตของตนได้ รู้จิตของเรานี่แหละจึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ (อนุสสติ ๑๐)

25. การฝึกหัดจิตนี้ ถ้าอยากเป็นเร็ว ๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็นมันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลาง ๆ แล้วตั้งใจให้แน่วแน่ ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป ก็จะถึงซึ่งความอัศจรรย์ขึ้นมาในตัวของตน แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร (อนุสสติ ๑๐)

26. การเห็นจิตของเรานี่แหละดี มันคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบ คิดละเอียด ก็รู้ดูจนกระทั่งมันวางลง ถ้าเห็นอยู่เสมอ ๆ แล้ว ก็วางหมด (อนุสสติ ๑๐)

27. ปหานปธาน ให้เพียรดูที่จิตของเรานั่นแหละ การกระทำสิ่งใด ๆ ก็เกิดจากจิตเป็นคนบัญชา ถ้าจับจิตเห็นจิตอันนี้แล้ว จะรู้ได้ดีเห็นได้ชัด กายจะทำอะไรผิดหรือถูก ดีหรือชั่ว เป็นบุญหรือเป็นบาป รู้ได้ดีทีเดียว เอาสติไปตั้งไว้ที่จิต คิดค้นอยู่ที่จิต เห็นใจเป็นผู้สั่งกาย ทำอะไร ๆ เห็นอยู่ตลอดเวลา (ธรรมเทศนาเรื่อง เพียรละความชั่ว)

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



ชัดๆช้าๆนะ..ท่านธรรมภูต

หายใจเข้า...(ฆานวิญญาณเกิด)...สูดเข้าไปจนสุดปอด..ลมหายใจเข้านั้นก็..ดับ

หายใจออก..(ฆานวิญญานเกิด..อีก) ปล่อยลมหายใจออก..จนสุด....ก็คือ..ดับ

พอจะมองออกบ้างหรือยัง???


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 30 ส.ค. 2010, 22:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:

ชัดๆช้าๆนะ..ท่านธรรมภูต

หายใจเข้า...(ฆานวิญญาณเกิด)...สูดเข้าไปจนสุดปอด..ลมหายใจเข้านั้นก็..ดับ

หายใจออก..(ฆานวิญญานเกิด..อีก) ปล่อยลมหายใจออก..จนสุด....ก็คือ..ดับ

พอจะมองออกบ้างหรือยัง???

ชัดๆนะ อานาปานา

อานาปานา ยังมองไม่ออกอีกหรือ

ที่ว่าดับหนะ อะไรดับ???

ความรู้สึกว่า ลมหายใจเข้า ดับใช่มั้ย???

ดับไปจากความรู้สึกของเราใช่มั้ย??? ตัวลมหายใจยังอยู่

ถ้าลมหายใจเข้าดับหายไปจริงๆ มิตายไปแล้วหรือ???

แล้วอานาปานา พูดมาทั้งหมด คือรู้อยู่ใช่มั้ยว่า ลมเข้าก็รู้ ลมออกก็รู้ใช่มั้ย???

ลมยังอยู่ ที่เกิดดับนั้นความรู้สึกของเรานั่นเอง ชัดๆนะ อานาปานา

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติภาวนา

[๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด
เพราะอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่.

ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?
ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี

นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า.
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว

...ฯลฯ...

ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้

ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติ ทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป
หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ ดังนี้
.

อ่านเต็มๆที่นี่ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0

^
^
ชัดๆนะ อานาปานา

พระสูตรกล่าวไว้ชัดเจน

ลมเข้าก็รู้ ลมออกก็รู้ ใช่มั๊ย???

ลมดับ-ตอนจะตาย ยังรู้เลยใช่มั๊ย???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



คำคมของผู้เฒ่า

กู๋จ๊ก..คิง..ตั๋ง

~~~ความลึกซึ้ง..ของอรรถ..พยัญชนะ มิอาจหยั่งถึงได้~~~

น่าเสียดาย ใบลาน




แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 04 ก.ย. 2010, 09:29, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee

this nation is last our nation , we don't come back to are born again time stump


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร